โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน)
เห็นอาการของวุฒิสภาตอนประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ "กฎหมายลูก" 3 ฉบับ ก็นึกว่าจะมีการยื้อการดึงเอาไว้ แต่สุดท้ายทั้ง 3 ฉบับก็ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาเรียบร้อย
รอส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาว่าจะมีบทบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่มีปัญหานายกฯนำทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หลังจากนั้นนายกฯคงจะทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกายุบสภา รอการโปรดเกล้าฯต่อไป
ที่ถามกันมาตลอดว่า ตกลงจะมีเลือกตั้งหรือเปล่า เพราะเกิดสถานการณ์หวิวๆ ขึ้นหลายรอบหลายระลอกเหลือเกิน
ตอนนี้ก็ดูจะเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น
ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ก็จะเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 พรรคการเมืองคู่แค้น คือ ประชาธิปัตย์ กับเพื่อไทย เป็นมวยคู่เอก
นอกนั้นเป็นการต่อสู้ของพรรคอันดับรองๆ ลงไป ตั้งแต่ ภูมิใจไทย ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ชาติไทยพัฒนา ฯลฯ และอาจจะมีพรรคใหม่ๆ งอกขึ้นตามสถานการณ์อีก 2-3 พรรค
สำหรับพรรคใหญ่ 2 พรรค กว่าจะรอดมาถึงสังเวียนเลือกตั้งได้ อยู่ในสภาพสะบักสะบอม
พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแกนนำรัฐบาล แต่ผลงานที่ผ่านมายังอวดอ้างได้ไม่เต็มปาก
การแก้ไขปัญหาปากท้องยังไม่เข้าตา ทั้งน้ำมันปาล์ม สินค้าราคาแพง การช่วยเหลือน้ำท่วม ตั้งแต่ภาคกลาง อีสาน ไปจนถึงภาคใต้
กรรมการพยายามกดคะแนนให้แล้ว ยังร่อแร่
ส่วนพรรคเพื่อไทย ตอนแรกทำท่ามาแรง กี่โพลๆ คะแนนนำลิ่ว
พักเดียวงานเข้า เจอมรสุมเข้าไป 3-4 ลูกติดๆ ทำเอาระส่ำระสายไปเหมือนกัน
พรรคระดับนี้ต้องเสนอคนเป็นนายกฯ แต่ควานแล้วควานอีก ไม่มีใครเอา
ทั้งโดนบล็อคบ้าง "กลัว" บ้าง
ตอนนี้ไปดึงเอา พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดินมา
เริ่มมีเสียงเรียก "นายกฯประชา" ยังไม่รู้ว่าสักพักจะเจออะไรอีก
สถานการณ์ของ 2 พรรคใหญ่เป็นแบบนี้ ทำให้พรรครองๆ ฝันถึง "ส้มหล่น" ได้เหมือนกัน
คำว่ารองๆ อาจฟังดูไม่สำคัญ แต่ที่จริงสำคัญเอาเรื่องอยู่
เพราะถ้า 2 พรรคใหญ่ ไม่ได้เสียงเกินครึ่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวไม่ได้ ก็จะต้องหันมาใช้บริการพรรคอันดับรองๆ เหล่านี้ ตั้ง "รัฐบาลผสม"แต่สำหรับพรรคใหญ่ รัฐบาลผสมเที่ยวนี้จะไม่ง่ายอีกแล้ว
ถ้าเพื่อไทยเข้าป้ายก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ปชป.เข้าก็เป็นอีกปัญหา
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะรู้ดีกว่าใครว่าพรรคร่วมรัฐบาลเขาบ่นว่ายังไง
ถ้าจะต้องร่วมงานกันอีก อาจจะเกิดเงื่อนไขเรื่องตัวนายกฯขึ้นมาให้ผู้จัดการรัฐบาลได้ปวดหัวเล่นอีกก็ได้
เลือกตั้งครั้งนี้ จึงต้องเตรียม "นโยบาย" ไว้ขาย ไว้โฆษณาหาเสียงให้มากๆ เข้าไว้
เพราะ "ตัวบุคคล" มีแนวโน้ม "ขายยาก"
//////////////////////////////////////////////////////////
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน)
เห็นอาการของวุฒิสภาตอนประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ "กฎหมายลูก" 3 ฉบับ ก็นึกว่าจะมีการยื้อการดึงเอาไว้ แต่สุดท้ายทั้ง 3 ฉบับก็ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาเรียบร้อย
รอส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาว่าจะมีบทบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่มีปัญหานายกฯนำทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หลังจากนั้นนายกฯคงจะทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกายุบสภา รอการโปรดเกล้าฯต่อไป
ที่ถามกันมาตลอดว่า ตกลงจะมีเลือกตั้งหรือเปล่า เพราะเกิดสถานการณ์หวิวๆ ขึ้นหลายรอบหลายระลอกเหลือเกิน
ตอนนี้ก็ดูจะเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น
ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ก็จะเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 พรรคการเมืองคู่แค้น คือ ประชาธิปัตย์ กับเพื่อไทย เป็นมวยคู่เอก
นอกนั้นเป็นการต่อสู้ของพรรคอันดับรองๆ ลงไป ตั้งแต่ ภูมิใจไทย ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ชาติไทยพัฒนา ฯลฯ และอาจจะมีพรรคใหม่ๆ งอกขึ้นตามสถานการณ์อีก 2-3 พรรค
สำหรับพรรคใหญ่ 2 พรรค กว่าจะรอดมาถึงสังเวียนเลือกตั้งได้ อยู่ในสภาพสะบักสะบอม
พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแกนนำรัฐบาล แต่ผลงานที่ผ่านมายังอวดอ้างได้ไม่เต็มปาก
การแก้ไขปัญหาปากท้องยังไม่เข้าตา ทั้งน้ำมันปาล์ม สินค้าราคาแพง การช่วยเหลือน้ำท่วม ตั้งแต่ภาคกลาง อีสาน ไปจนถึงภาคใต้
กรรมการพยายามกดคะแนนให้แล้ว ยังร่อแร่
ส่วนพรรคเพื่อไทย ตอนแรกทำท่ามาแรง กี่โพลๆ คะแนนนำลิ่ว
พักเดียวงานเข้า เจอมรสุมเข้าไป 3-4 ลูกติดๆ ทำเอาระส่ำระสายไปเหมือนกัน
พรรคระดับนี้ต้องเสนอคนเป็นนายกฯ แต่ควานแล้วควานอีก ไม่มีใครเอา
ทั้งโดนบล็อคบ้าง "กลัว" บ้าง
ตอนนี้ไปดึงเอา พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดินมา
เริ่มมีเสียงเรียก "นายกฯประชา" ยังไม่รู้ว่าสักพักจะเจออะไรอีก
สถานการณ์ของ 2 พรรคใหญ่เป็นแบบนี้ ทำให้พรรครองๆ ฝันถึง "ส้มหล่น" ได้เหมือนกัน
คำว่ารองๆ อาจฟังดูไม่สำคัญ แต่ที่จริงสำคัญเอาเรื่องอยู่
เพราะถ้า 2 พรรคใหญ่ ไม่ได้เสียงเกินครึ่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวไม่ได้ ก็จะต้องหันมาใช้บริการพรรคอันดับรองๆ เหล่านี้ ตั้ง "รัฐบาลผสม"แต่สำหรับพรรคใหญ่ รัฐบาลผสมเที่ยวนี้จะไม่ง่ายอีกแล้ว
ถ้าเพื่อไทยเข้าป้ายก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ปชป.เข้าก็เป็นอีกปัญหา
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะรู้ดีกว่าใครว่าพรรคร่วมรัฐบาลเขาบ่นว่ายังไง
ถ้าจะต้องร่วมงานกันอีก อาจจะเกิดเงื่อนไขเรื่องตัวนายกฯขึ้นมาให้ผู้จัดการรัฐบาลได้ปวดหัวเล่นอีกก็ได้
เลือกตั้งครั้งนี้ จึงต้องเตรียม "นโยบาย" ไว้ขาย ไว้โฆษณาหาเสียงให้มากๆ เข้าไว้
เพราะ "ตัวบุคคล" มีแนวโน้ม "ขายยาก"
//////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น