--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

ไอวอรี่โคสต์ เสียชีวิตแล้วกว่า 800 ราย: ลี้ภัยไปลิเบอร์เรียนับแสน .

ชาวไอวอรี่โคสต์เสียชีวิตแล้ว 800 ราย

คณะกรรมการสภากาชาดระหว่างประเทศ ระบุว่ามีชาวไอวอรี่โคสต์เสียชีวิตไปแล้ว 800 ราย โดยนาย Guillaume Ngefa รองผู้อำนวยการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติระบุว่าการกระทำในไอวอรี่โคสต์นั้นถือเป็นการสังหารหมู่
โดยยอดผู้เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ถึงวันพุธที่ผ่านมาสูงถึง 220 ราย จากการปะทะกับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลประธานาธิบดี อาลาสเซน แควตตาร่า แห่งไอวอรี่โคสต์
“รัฐบาลยืนกรานที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และปฏิเสธว่าไม่ได้มีความเกี่ยวพันใดๆ กับกองทัพของไอวอรี่โคสต์ ข้อครหานี้ถือเป็นการหมิ่นประมาท” ถ้อยแถลงของรัฐบาล
และกล่าวย้ำว่า “รัฐบาลคาดว่านี่คือการสร้างสถานการณ์จากฝ่ายตรงข้าม”
“กองทัพที่ยังคงภักดีต่ออดีตประธานาธิบดี โรลองต์ กาแบกโบ น่าจะมีส่วนร่วมจากปฏิบัติการดังกล่าว ในการเป็นทหารที่ได้รับการจ้างวานและแสดงความป่าเถื่อนต่อประชาชนในทางตะวันตกของไอวอรี่โคสต์”

การปะทะเดือดในไอวอรี่โคสต์เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผลประกาศว่าประธานาธิบดีกาแบกโบชนะแม้จะมีประเด็นครหาว่าเขาโกงการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม นานาชาติและองค์การสหประชาชาติกลับให้การรับรองและประกาศยอมรับว่า แควตตาร่าเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง

การดำเนินการท่ามกลางการสังหารหมู่ชาวไอวอรี่โคสต์

หัวหน้าฝ่ายกิจการเพื่อมนุษยธรรมแห่งองค์การสหประชาชาติกล่าวเตือนว่า การดำเนินการเพื่อรักษาสันติภาพ และความมั่นคงของสาธารณรัฐลิเบอร์เรีย (Republic of Liberia) อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงยิ่ง หากประชาคมระหว่างประเทศไม่ได้จัดเตรียมทรัพยากรอย่างเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งลิเบอร์เรียถือเป็นประเทศหลักที่จะรับภาระในการรองรับผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไอวอรี่โคสต์ (Côte d’Ivoire)
Valerie Amos รองเลขาธิการองค์การสหประชาชาติฝ่ายกิจการเพื่อมนุษยธรรมและรับผิดชอบประสานงานฝ่ายบรรเทาทุกข์ในภาวะฉุกเฉินได้กล่าวหลังการเยือนลิเบอร์เรียเป็นครั้งที่ 2
“เราจำเป็นต้องดำเนินต่อไปและต้องแน่ใจว่าประเทศนี้จะสามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้อง รองรับผู้ลี้ภัยจากไอวอรี่โคสต์ได้” นาง Amos กล่าว

ชาวไอวอเรียนราว 120,000 ราย ได้ลี้ภัยมาจากไอวอรี่โคสต์ ตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุขัดแย้งการเลือกตั้งประธานาธิบดี และกว่า 110,000 ราย อพยพมายังฝั่งตะวันออกของเมืองลิเบอร์เรีย
“ผู้ลี้ภัยจำนวนมากทิ้งทุกสิ่งอย่างและหลบหนีจากแหล่งพำนักเดิม พวกเขามาถึงลิเบอร์เรียโดยที่ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ขณะเดียวกัน ชาวลิเบอร์เรียนได้แสดงความเอื้อเฟื้อในสิ่งที่พวกเขามี แต่ก็ไม่สามารถรองรับได้มากนัก” นาง Amos กล่าว
เธอยังกล่าวประณามการรายงานข่าวที่ระบุว่ามีการสังหารชาวไอวอรี่โคสต์ไปแล้ว 800 ราย ทางฝั่งตะวันตกของไอวอรี่โคสต์ บริเวณเมือง Duékoué ว่าเป็นความป่าเถื่อนที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
นาง Amos ได้พูดคุยกับชาวไอวอเรียนที่ลี้ภัยมายังลิเบอร์เรีย พวกเขากล่าวว่ามีความยากลำบากยิ่ง ทั้งการอพยพและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองลิเบอร์เรีย
เธอยังได้พบปะกับองค์การด้านมนุษยธรรมและให้ทบทวนการให้ความช่วยเหลือที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการพยายามจัดหาสิ่งที่จำเป็นแก่ผู้ลี้ภัยและให้ที่พำนักแก่พวกเขา
รัฐบาลลิเบอร์เรียน เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ และ NGOs ระหว่างประเทศ (Non-Govermental Organizations: องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ)ได้พยายามให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ และสุขอนามัย รวมทั้งให้ความคุ้มครองพลเรือนชาวไอวอรี่โคสต์แล้ว

ขณะที่ ครอบครัวชาวลิเบอร์เรียนบางรายไม่สามารถให้ความช่วยเหลือชาวไอวอรี่โคสต์ได้ในระยะยาวนัก เนื่องจากพวกเขาก็มีทรัพยากรในการดำรงชีพที่จำกัดเช่นกัน
นาง Amos วิงวอนให้มีการบริจาคภายใต้แผนปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินแห่งลิเบอร์เรีย ราว 146.5 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ขณะนี้มียอดบริจาคอยู่ที่ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนเพียง 23% เท่านั้นจากความต้องการ

ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น