โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน)
ปกติเราไม่ควรเอาข่าวลือมาเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ควรหยิบคำเล่าลือมาขยายให้ความสำคัญ แต่บรรยากาศความปั่นป่วนด้วยข่าวลือตลอดวันที่ 21 เมษายนนั้น ต้องขอเอามาพูดอย่างจริงจังเสียหน่อย
เพราะการลือระดับเขย่าบ้านเขย่าเมืองหลายริคเตอร์
ลือกันว่ามีปฏิวัติ อลหม่านไปทั่วประเทศ
เริ่มจากบรรยากาศทหารตบเท้า แล้วตามด้วยจอทีวีมืดไป 2 ชั่วโมงเพราะดาวเทียมขัดข้อง
ในสำนักงานหนังสือพิมพ์รับโทรศัพท์ชาวบ้านแทบสายไหม้ ส่วนใหญ่โทร.จากต่างจังหวัดด้วย
สะท้อนให้เห็นอะไร สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคนไทยตกอยู่ในความหวาดผวา
ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากปัญหา ท่าทีที่ขึงขังจริงจังของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง ที่มีกรณีหมิ่นสถาบันเป็นชนวนเหตุ
แล้วหลังจากนั้น นายทหารใหญ่พากันออกมาขานรับ ผบ.ทบ.กันสะพรึบ
ตามด้วยประเพณีตบเท้าตามกรมกองต่างๆ เพื่อแสดงท่าทีสนับสนุน ผบ.ทบ.
พอเริ่มตบหลายหน่วย พร้อมกับการเริ่มพูดจาของผู้การผู้พันอันดุดัน ลักษณะพร้อมจะทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
แบบนี้บรรดาประชาชนเจ้าของเงินภาษีอากรจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แต่ไม่มีสิทธิครอบครองอาวุธเหล่านั้น ก็ย่อมอยู่ในอาการหวั่นไหวเป็นธรรมดา
ด้วยการตบเท้าที่มีปริมาณเกินพอดี การพูดจาที่ทำให้สถานการณ์เขม็งเกลียวเกินไปทำให้เริ่มเกินเลยไปจากการแสดงจุดยืนปกป้องสถาบัน
แน่นอนว่าภาระหน้าที่หลักของกองทัพคือการปกป้องสถาบันสูงสุดของคนไทยทั้งชาติ
เมื่อมีการพาดพิงเบื้องสูงอันทำให้ทหารรู้สึกว่าไม่เหมาะสมก็สามารถแสดงท่าทีได้
แต่ถ้าการตบเท้านั้น ไม่อยู่เพียงแค่ขอบเขตป้องสถาบัน กลายเป็นตบเท้าแสดงพลัง แล้วยังบอกว่า ผบ.ทบ.สั่งอะไรก็ได้ พร้อมจะปฏิบัติทันทีภายในไม่กี่ชั่วโมง
แบบนี้การเคลื่อนไหวของทหารจะเริ่มถูกโยงไปยังสถานการณ์การเมือง
สถานการณ์ที่มีการมองกันมาตลอดว่า โอกาสเลือกตั้งยังไม่แน่นอน เพราะกลุ่มอำนาจบางกลุ่มหวั่นเกรงว่าพรรคการเมืองอีกขั้วจะเป็นฝ่ายชนะ
ก่อนหน้านี้ ผบ.สูงสุดถึงกับต้องนำ ผบ.ทุกเหล่ามายืนแถลงไม่มีการปฏิวัติ ไม่สนับสนุนนายกฯมาตรา 7 ในการเลือกตั้งก็จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ให้การเมืองว่ากันเอง
แต่การตบเท้าในขณะนี้ ทำให้ชาวบ้านลืมคำแถลงเดิมจากที่มองว่าทหารทำได้เพื่อปกป้องสถาบันสำคัญของคนไทย แต่ตอนนี้เริ่มรู้สึกว่าไปเกี่ยวกับจะเลือกตั้งไม่เลือกตั้งไหม
รัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งแสดงท่าทีให้ประเทศเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง กำหนดวันยุบสภาต้นเดือนพฤษภาคม เลือกตั้งปลายมิถุนายน ได้รัฐบาลใหม่สิงหาคม
ต้องถามว่าแล้วรู้สึกอย่างไรกับบรรยากาศในบ้านเมืองวันนี้ ที่มีคนทั้งประเทศผวาพร้อมกันอย่างไม่นัดหมาย
นโยบายจะให้มีเลือกตั้ง คืนอำนาจให้ประชาชนของนายกฯอภิสิทธิ์
ทำไมจึงไม่หนักแน่นเท่าเสียงตบเท้าของทหาร
คำพูดของนายกฯกับเสียงเท้าของทหาร ใครดังกว่ากัน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน)
ปกติเราไม่ควรเอาข่าวลือมาเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ควรหยิบคำเล่าลือมาขยายให้ความสำคัญ แต่บรรยากาศความปั่นป่วนด้วยข่าวลือตลอดวันที่ 21 เมษายนนั้น ต้องขอเอามาพูดอย่างจริงจังเสียหน่อย
เพราะการลือระดับเขย่าบ้านเขย่าเมืองหลายริคเตอร์
ลือกันว่ามีปฏิวัติ อลหม่านไปทั่วประเทศ
เริ่มจากบรรยากาศทหารตบเท้า แล้วตามด้วยจอทีวีมืดไป 2 ชั่วโมงเพราะดาวเทียมขัดข้อง
ในสำนักงานหนังสือพิมพ์รับโทรศัพท์ชาวบ้านแทบสายไหม้ ส่วนใหญ่โทร.จากต่างจังหวัดด้วย
สะท้อนให้เห็นอะไร สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคนไทยตกอยู่ในความหวาดผวา
ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากปัญหา ท่าทีที่ขึงขังจริงจังของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง ที่มีกรณีหมิ่นสถาบันเป็นชนวนเหตุ
แล้วหลังจากนั้น นายทหารใหญ่พากันออกมาขานรับ ผบ.ทบ.กันสะพรึบ
ตามด้วยประเพณีตบเท้าตามกรมกองต่างๆ เพื่อแสดงท่าทีสนับสนุน ผบ.ทบ.
พอเริ่มตบหลายหน่วย พร้อมกับการเริ่มพูดจาของผู้การผู้พันอันดุดัน ลักษณะพร้อมจะทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
แบบนี้บรรดาประชาชนเจ้าของเงินภาษีอากรจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แต่ไม่มีสิทธิครอบครองอาวุธเหล่านั้น ก็ย่อมอยู่ในอาการหวั่นไหวเป็นธรรมดา
ด้วยการตบเท้าที่มีปริมาณเกินพอดี การพูดจาที่ทำให้สถานการณ์เขม็งเกลียวเกินไปทำให้เริ่มเกินเลยไปจากการแสดงจุดยืนปกป้องสถาบัน
แน่นอนว่าภาระหน้าที่หลักของกองทัพคือการปกป้องสถาบันสูงสุดของคนไทยทั้งชาติ
เมื่อมีการพาดพิงเบื้องสูงอันทำให้ทหารรู้สึกว่าไม่เหมาะสมก็สามารถแสดงท่าทีได้
แต่ถ้าการตบเท้านั้น ไม่อยู่เพียงแค่ขอบเขตป้องสถาบัน กลายเป็นตบเท้าแสดงพลัง แล้วยังบอกว่า ผบ.ทบ.สั่งอะไรก็ได้ พร้อมจะปฏิบัติทันทีภายในไม่กี่ชั่วโมง
แบบนี้การเคลื่อนไหวของทหารจะเริ่มถูกโยงไปยังสถานการณ์การเมือง
สถานการณ์ที่มีการมองกันมาตลอดว่า โอกาสเลือกตั้งยังไม่แน่นอน เพราะกลุ่มอำนาจบางกลุ่มหวั่นเกรงว่าพรรคการเมืองอีกขั้วจะเป็นฝ่ายชนะ
ก่อนหน้านี้ ผบ.สูงสุดถึงกับต้องนำ ผบ.ทุกเหล่ามายืนแถลงไม่มีการปฏิวัติ ไม่สนับสนุนนายกฯมาตรา 7 ในการเลือกตั้งก็จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ให้การเมืองว่ากันเอง
แต่การตบเท้าในขณะนี้ ทำให้ชาวบ้านลืมคำแถลงเดิมจากที่มองว่าทหารทำได้เพื่อปกป้องสถาบันสำคัญของคนไทย แต่ตอนนี้เริ่มรู้สึกว่าไปเกี่ยวกับจะเลือกตั้งไม่เลือกตั้งไหม
รัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งแสดงท่าทีให้ประเทศเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง กำหนดวันยุบสภาต้นเดือนพฤษภาคม เลือกตั้งปลายมิถุนายน ได้รัฐบาลใหม่สิงหาคม
ต้องถามว่าแล้วรู้สึกอย่างไรกับบรรยากาศในบ้านเมืองวันนี้ ที่มีคนทั้งประเทศผวาพร้อมกันอย่างไม่นัดหมาย
นโยบายจะให้มีเลือกตั้ง คืนอำนาจให้ประชาชนของนายกฯอภิสิทธิ์
ทำไมจึงไม่หนักแน่นเท่าเสียงตบเท้าของทหาร
คำพูดของนายกฯกับเสียงเท้าของทหาร ใครดังกว่ากัน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น