
เห็นภาพ คนไทยไล่ตีไล่ทุบกันเองบริเวณใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ใครไม่รู้สึกเศร้าใจหรือเสียใจก็คงใจแข็งเกินไปหน่อยล่ะครับ
แต่ถ้าหากผู้มีอำนาจในรัฐบาลจะกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า “เสียใจ” และไม่พยายามหาทางแก้ไข ทำได้แค่นั้น หลายคนคงรู้สึกเสียดายที่ต้องจ่ายภาษี เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา ถ้าหากจะถามว่าใครต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้บ้าง
ผมตอบได้เลยว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนจากพันธมิตรฯ ชาวภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง แทนที่จะนั่งจับเข่าพูดคุยหรือทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายมีจุดยืนหรือมีท่าทีอย่างไร ก็ไม่น่าจะเกิดความรุนแรงเกิดขึ้น หรือถ้า ผู้ว่าฯศรีสะเกษ มีกึ๋นซักหน่อย เปิดโต๊ะเจรจาให้ทุกฝ่ายเข้ามานั่งพูดคุยกัน ปัญหาคงไม่บานปลายถึงขั้นเลือดตกยางออก
และผมก็ไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นแผนของใครบางคน หวังใช้กระแสปกป้องอธิปไตย มากลบความเคลื่อนไหวของ นปช. หรือคนเสื้อแดง ใครกล้าทำอย่างนี้ได้ จิตใจต้องไม่ธรรมดาแล้วล่ะครับ
เกิดปัญหาอย่างนี้แล้วอยากแนะนำ “คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย” รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะที่ดูแลสื่อของรัฐ ก่อนจะผลักดันโครงการ “ไทยสามัคคีไทยเข้มแข็ง” หวังให้คนไทยร้องเพลงชาติร่วมกันจนครบ 76 จังหวัด ช่วยกรุณาให้ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้เกี่ยวกับข้อพิพาทของไทย-กัมพูชา มาช่วยให้ข้อมูลหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาให้ชัดเจนหน่อยเถอะครับ
แม้ว่า “นายกษิต ภิรมย์” รมว.การต่างประเทศ จะเคยชี้แจงบ้างแล้ว แต่ถ้าหากยังทำให้คนในสังคมไทยเข้าใจอย่างถ่องแท้ไม่ได้ ก็ต้องหาคนมาอธิบายให้บ่อยขึ้นอีก อย่างผมมีข้อข้องใจในบางประเด็น ลองตั้งโจทย์ เผื่อว่าจะมีใครมีความเห็นตรงกัน เช่น
1. พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังมีคนกัมพูชาอาศัยอยู่หรือไม่ ในระหว่างที่ทั้งสองประเทศกำลังหาข้อยุติร่วมกันอยู่ ?
2. การหาข้อยุติเพื่อแบ่งผลประโยชน์ในอ่าวไทย ซึ่งมีทั้งแก๊ส น้ำมัน เจรจาไปถึงในระดับไหน เพราะได้ยินว่าทางกัมพูชาได้ว่าจ้างบริษัทจากต่างชาติมาสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว และเราจะได้รับผลประโยชน์อะไรจากขุมทรัพย์ใต้ทะเลบ้าง ?
3. สถานภาพของนายกษิตในฐานะเป็น รมว.การต่างประเทศ มีผลกระทบกับการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่ เนื่องจากเคยเคลื่อนไหวร่วมกับพันธมิตรฯ มาก่อน ถ้าหากมีปัญหาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง รมว.การต่างประเทศหรือไม่ เพื่อให้การเจรจาดำเนินการไปด้วยความราบรื่นและไม่มีอุปสรรค ?
4. ผู้รับผิดชอบจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยต้องมาไล่ทำร้ายกันเอง อันสืบเนื่องมาจากกรณีปราสาทพระวิหาร
วันนี้ผมขอคำตอบเฉพาะหน้าแค่ 4 ข้อนี้ล่ะครับ หากจะมีใครช่วยชี้แจงหรือตอบข้อข้องใจ หรือถ้าหาก เรื่องอะไรที่เป็นความลับ เปิดเผยไม่ได้ เพราะเกรงว่าจะกระทบกับผลประโยชน์ของชาติ (ไม่ใช่ประโยชน์ของใครบางคน) ก็ไม่ว่ากันครับ ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่งก็รักชาติเหมือนกัน แต่เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นมาอย่างนี้แล้ว องค์กรไหนจะผลักดันปราสาทพระวิหารให้เป็น “มรดกโลก” ผมว่าคงต้องระงับไว้ก่อนแล้วล่ะครับ.
แต่ถ้าหากผู้มีอำนาจในรัฐบาลจะกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า “เสียใจ” และไม่พยายามหาทางแก้ไข ทำได้แค่นั้น หลายคนคงรู้สึกเสียดายที่ต้องจ่ายภาษี เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา ถ้าหากจะถามว่าใครต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้บ้าง
ผมตอบได้เลยว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนจากพันธมิตรฯ ชาวภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง แทนที่จะนั่งจับเข่าพูดคุยหรือทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายมีจุดยืนหรือมีท่าทีอย่างไร ก็ไม่น่าจะเกิดความรุนแรงเกิดขึ้น หรือถ้า ผู้ว่าฯศรีสะเกษ มีกึ๋นซักหน่อย เปิดโต๊ะเจรจาให้ทุกฝ่ายเข้ามานั่งพูดคุยกัน ปัญหาคงไม่บานปลายถึงขั้นเลือดตกยางออก
และผมก็ไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นแผนของใครบางคน หวังใช้กระแสปกป้องอธิปไตย มากลบความเคลื่อนไหวของ นปช. หรือคนเสื้อแดง ใครกล้าทำอย่างนี้ได้ จิตใจต้องไม่ธรรมดาแล้วล่ะครับ
เกิดปัญหาอย่างนี้แล้วอยากแนะนำ “คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย” รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะที่ดูแลสื่อของรัฐ ก่อนจะผลักดันโครงการ “ไทยสามัคคีไทยเข้มแข็ง” หวังให้คนไทยร้องเพลงชาติร่วมกันจนครบ 76 จังหวัด ช่วยกรุณาให้ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้เกี่ยวกับข้อพิพาทของไทย-กัมพูชา มาช่วยให้ข้อมูลหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาให้ชัดเจนหน่อยเถอะครับ
แม้ว่า “นายกษิต ภิรมย์” รมว.การต่างประเทศ จะเคยชี้แจงบ้างแล้ว แต่ถ้าหากยังทำให้คนในสังคมไทยเข้าใจอย่างถ่องแท้ไม่ได้ ก็ต้องหาคนมาอธิบายให้บ่อยขึ้นอีก อย่างผมมีข้อข้องใจในบางประเด็น ลองตั้งโจทย์ เผื่อว่าจะมีใครมีความเห็นตรงกัน เช่น
1. พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังมีคนกัมพูชาอาศัยอยู่หรือไม่ ในระหว่างที่ทั้งสองประเทศกำลังหาข้อยุติร่วมกันอยู่ ?
2. การหาข้อยุติเพื่อแบ่งผลประโยชน์ในอ่าวไทย ซึ่งมีทั้งแก๊ส น้ำมัน เจรจาไปถึงในระดับไหน เพราะได้ยินว่าทางกัมพูชาได้ว่าจ้างบริษัทจากต่างชาติมาสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว และเราจะได้รับผลประโยชน์อะไรจากขุมทรัพย์ใต้ทะเลบ้าง ?
3. สถานภาพของนายกษิตในฐานะเป็น รมว.การต่างประเทศ มีผลกระทบกับการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่ เนื่องจากเคยเคลื่อนไหวร่วมกับพันธมิตรฯ มาก่อน ถ้าหากมีปัญหาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง รมว.การต่างประเทศหรือไม่ เพื่อให้การเจรจาดำเนินการไปด้วยความราบรื่นและไม่มีอุปสรรค ?
4. ผู้รับผิดชอบจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยต้องมาไล่ทำร้ายกันเอง อันสืบเนื่องมาจากกรณีปราสาทพระวิหาร
วันนี้ผมขอคำตอบเฉพาะหน้าแค่ 4 ข้อนี้ล่ะครับ หากจะมีใครช่วยชี้แจงหรือตอบข้อข้องใจ หรือถ้าหาก เรื่องอะไรที่เป็นความลับ เปิดเผยไม่ได้ เพราะเกรงว่าจะกระทบกับผลประโยชน์ของชาติ (ไม่ใช่ประโยชน์ของใครบางคน) ก็ไม่ว่ากันครับ ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่งก็รักชาติเหมือนกัน แต่เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นมาอย่างนี้แล้ว องค์กรไหนจะผลักดันปราสาทพระวิหารให้เป็น “มรดกโลก” ผมว่าคงต้องระงับไว้ก่อนแล้วล่ะครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น