Learning authoritarianismAugust 28, 2009
ที่มา – Political Prisoners in Thailand
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
ไม่ต้องคลางแคลงใจกันหรอกว่า พรรคเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยจะเรียนรู้การเป็นเผด็จการได้อย่างไร พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยใจกว้างในทางการเมือง แต่ก็เคยนะ สักระยะหนึ่ง เริ่มต้นลงเล่นบนเวทีการเมือง โดยพัฒนาตัวเองมาจากพรรคนิยมเจ้าในวงแคบๆ ไปเป็นพรรคที่ถูกมองว่าเป็น “วงใน” ของอีกรูปแบบหนึ่งของเผด็จการทางทหาร
พรรคได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว จากที่เคยให้การสนับสนุนอย่างระมัดระวังในการทำรัฐประหารของ....และกองทัพในปี พ.ศ.๒๕๔๙ สนับสนุนในการร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๕๕๑ ของกองทัพ ร้องแรกแหกกระเชอสนับสนุนพันธมิตรให้ออกมาเล่นการเมืองบนท้องถนน และจัดตั้งรัฐบาลโดยการแอบสมคบคิดกับกองทัพ และนายเนวิน ชิดชอบ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น พรรคประชาธิปัตย์ได้กลายเป็นพรรคที่นิยมกับการเมืองแบบเผด็จการอย่างรวดเร็ว
ตลอดเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โพลิติคอลพรีซันเนอร์อินไทยแลนด์ (พีพีที) ได้เคยแสดงให้เห็นว่า พรรคได้ตกต่ำจนกลายไปเป็นเผด็จการในการคุมอำนาจทางการเมือง เราไม่ได้ใส่ลิ้งค์ไว้ในที่นี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านใช้ตัวช่วยในการค้นหา(Search) ซึ่งรวมถึง: นายกรัฐมนตรีถูกจับได้ว่าบิดเบือนความจริง, การใช้กองกำลังต่อต้านการประท้วงอย่างรุนแรง, การตรวจสอบสื่ออย่างบ้าคลั่ง, การใช้.....เพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองของตัวเองอย่างเปิดเผย (และ.......มีความสุขร่วมไปด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์) รวมถึงการใช้กฎหมายหมิ่นฯที่โหดร้าย, การจับตัวนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม, การสร้างความหวาดกลัว, การเลือกที่รักมักที่ชังในบรรดาข้าราชการ (แน่ละ มันไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่), การโกงกิน, การทำทารุณกรรมต่อผู้อพยพ, การละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้, และการจัดการที่ล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับการที่ตำรวจและกองทัพใช้อำนาจในทางที่ผิด
เรื่องต่างๆยังมีอีกเพียบ และเริ่มดูจะใกล้เคียงกับที่เคยโจมตีอย่างต่อเนื่องไว้กับรัฐบาลชุดที่แล้ว สิ่งที่น่าวิตกในขณะนี้ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ดูเหมือนจะค้นพบว่า การใช้กำลังปราบปรามอย่างบ้าคลั่งต่อนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้สร้างประโยชน์ให้กับตัวเอง โดยเฉพาะในยามที่ได้รับแรงสนับสนุนจากสื่อที่เซ็นเซอร์ตัวเองและถูกทำให้เชื่อง และชนชั้นกลางที่ขี้ตื่นกลัว พัทยาถือว่าเป็นความหายนะของพรรคประชาธิปัตย์ แต่การปราบปรามผู้ลุกฮือในวันสงกรานต์ แสดงให้เห็นความล้ำหน้าของพรรคประชาธิปัตย์
จากบางกอกโพสต์ (วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒: “กรุงเทพถูกยึด”) ดูจะเหมาะกว่าถ้าพูดว่า: กรุงเทพถูกกองทัพและตำรวจนับพันนายบุกเข้ายึดพื้นที่ การเข้ายึดเพื่อความมั่นคงถูกนำมาอ้างว่าเพื่อป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขี้น แต่การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงภายในที่โหดร้ายนี้ มีความหมายนอกเหนือไปจากแค่เพื่อการป้องกัน แท้จริงแล้วเป็นการป้องกันการประท้วงที่ถูกกฎหมายเสียมากกว่า พระราชวังดุสิต ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภากลายเป็นสถานที่ห้ามเข้า และถนนบริเวณนั้นจะปลอดจากผู้ประท้วงและเสื้อแดง
พีพีทีเชื่อว่า แค่เป็นการฝึกการบ้าอำนาจในการรับมือของรัฐบาล
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และประธานคณะกรรมาธิการการทหาร เป็นผู้อนุมัติให้มีการลงมือปราบปรามอย่างรุนแรง ยังมีพื้นที่อื่นๆซึ่งอาจจะถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ห้ามมิให้มีการประท้วงด้วยเช่นกัน รัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนยังคงอ้างเรื่องเดิมๆของ “มือที่สาม” เป็นข้ออ้างที่กองทัพนำมาใช้เมื่อมีการปราบปรามในทศวรรษที่ผ่านมาเสมอ อภิสิทธิ์ชื่นชมกับความมีประสิทธิภาพของพระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน…ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ภูเก็ตเมื่อเดือนที่แล้ว”
ตำรวจได้เตือนแกนนำ นปช. ในขณะที่รัฐมนตรี สาธิต วงศ์หนอยเตย ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีจิตใจคับแคบได้กล่าวกับสื่อว่า “เขาจะไม่ห้ามสื่อในการรายงานการชุมนุม แต่จะขอร้องให้สื่อให้ความระมัดระวังในการรายงานข่าว และตรวจทานก่อนที่จะเสนอความจริงออกไป” หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือว่า นี่ไม่ใช่การห้าม แต่เป็นแค่การเตือน นี่มันขู่กันอย่างชัดๆ
อีกรายงานจากสื่อ (บางกอกโพสต์ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒: “แต่งตั้งสุเทพเป็นผู้อำนวยการศูนย์ความมั่นคง”) เป็นการแสดงถึงรูปแบบที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นศูนย์ปฎิบัติการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และมีรองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นประธาน ผู้ประท้วงจะถูกตรวจค้นก่อนที่จะเข้าไปยังพื้นที่ นายสุเทพได้อ้างอย่างไม่น่าเชื่อว่า “กองกำลังของรัฐบาลจะยึดมั่นกับหลักการของความเป็นประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน”
อภิสิทธิ์ไม่ต้องการยุบสภา เขาทราบดีว่า พรรคของเขาอาจจะไม่มีทางชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นเขาจึงต้องยืดเวลาออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือจนกระทั่งทั้งตัวเขาและผู้หนุนหลัง มีแผนการเพื่อให้ได้รับชัยชนะ
หนทางซึ่งไปสู่การปกครองแบบเผด็จการนั้น ทั้งสั้นและไม่ราบรื่น และพรรคประชาธิปัตย์ก็กำลังอยู่บนเส้นทางสายนี้ และดูเหมือนจะมีความสุขอย่างเหลือเชื่อกับเส้นทางสายนี้เสียด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น