By Marwaan Macan-Markar
ที่มา – IPS
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
กรุงเทพ – ด้วยอำนาจ พ.ร.บ.ฉุกเฉินในกำมือรัฐบาลไทยของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาใช้บีบบังคับการเคลื่อนไหวประท้วงของฝ่ายตรงข้าม หากใช้ไม่ถูกวิธี จะต้องชำระด้วยบทเรียนราคาแพงทางการเมือง
วันที่ ๒๘ มิถุนายน กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าจะเริ่มสอบสวนตัวบุคคล และบริษัทจำนวน ๘๓ ราย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ประท้วง ซึ่งใช้สัญลักษณ์ในการประท้วงด้วยสี “เสื้อแดง” และได้เข้ายึดพื้นที่สัญลักษณ์ของกรุงเทพนานเกินสองเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งกำลังวางแผนจะออกหมายเรียกตัว ญาติของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีต่างๆ นายทหารระดับสูงของกองทัพที่ปลดเกษียณ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแกนนำเสื้อแดงนั้น ได้ยอมรับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินซึ่งมีอำนาจในวงกว้างใช้เป็นเครื่องมือเพื่อติดตามการหมุนเวียนของเงิน ที่โยงไปถึงการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง ทักษิณ ซึ่งถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารปี ๒๕๔๙ และกำลังลี้ภัยเพื่อเลี่ยงโทษจำคุกในข้อหาทุจริต เสมือนผู้คอยบงการทางการเมืองของ น.ป.ช. ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงที่สงบลงไปในเวลานี้ ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนหลายหมื่นคนที่มารวมตัวกันเพื่อกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ยุบสภา และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น
การปราบปรามอย่างรุนแรงระหว่างกองทัพไทยด้วยอาวุธหนักพร้อมมือ และ น.ป.ช.ฝ่ายติดอาวุธในเดือนเมษายน และกลางเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๘๘ ศพ ซึ่งเป็นชาวบ้าน ๘๐ ศพ และได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑,๘๐๐ กว่าคน ในช่วงที่กองทัพได้รับคำสั่งให้เคลียร์พื้นที่ถนนในกรุงเทพ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินถูกประกาศใช้ครั้งแรกในต้นเดือนเมษายน เพื่อใช้รับมือกับกลุ่มต่อต้านเสื้อแดงในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง และได้ขยายเวลาออกไปอีกหลายอาทิตย์เพื่อครอบคลุมถึงต่างจังหวัดซึ่งมีอาชีพทำนา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ น.ป.ช.ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามที่สุด
ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล อ้างความชอบธรรมของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า “เราต้องการให้แน่ใจว่าสถานการณ์ได้กลับสู่ความสงบ ซึ่งต้องให้มั่นใจว่า ทั้งปัจจัยเสี่ยง และความวิตกในด้านความมั่นคงซึ่งเป็นกุญแจหลักได้รับการดูแล” “เรากำลังจับตาดูเงินซึ่งใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวอย่างผิดกฎหมายนี้ การใช้สื่อเพื่อยุยงให้เกิดการประจันหน้ากัน และการใช้อุปกรณ์อาวุธ”
เขากล่าวกับไอพีเอสว่า “การสอบสวนการโอนถ่ายเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในด้านความมั่นคง” “พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้เราสามารถใช้อำนาจจากทุกองค์กรมาร่วมทำงานกัน ก่อนที่ทุกคดีจะถูกส่งฟ้องศาล”
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลควบคุมในสามเดือน ให้อำนาจรัฐบาลที่จะจัดการโหมทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อด้วยความลำเอียงใส่ความผู้ต่อต้าน เพื่อให้แน่ใจว่าสื่อหลักจะเน้นเสนอแต่แง่มุมของรัฐบาลอภิสิทธิ์เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ในการรับมือเรื่องเงินสนับสนุน แรกเริ่ม รัฐบาลประกาศรายชื่อบุคคลและรายชื่อบริษัทต้องสงสัย ๑๗๐ รายชื่อ ที่เดาว่าให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจำนวนหลายสิบล้านบาทกับกลุ่มเสื้อแดง และสุดท้ายถูกตัดเหลือเพียง ๘๓ รายชื่อ หนังสือพิมพ์ต่างตีปีกขานรับโดยการแฉข้อมูลส่วนตัวในบัญชีธนาคารของบุคคลเหล่านี้ ที่ทำได้ก็เพราะอำนาจอันล้นฟ้าของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงกฎหมายอื่นๆที่ถูกนำมาร่วมบังคับใช้
และยังสื่อถึงประชาชนตามบ้านด้วยเนื้อหาที่ว่า เสื้อแดงสนใจเพียงต้องการสร้างความรุนแรงบนท้องถนนในเมืองหลวงของไทย แกนนำหลัก น.ป.ช. ๓๙ คนถูกคุมขังด้วยข้อหาผู้ก่อการร้าย ทักษิณ ซึ่งกำลังลี้ภัย ถูกยัดข้อหาคล้ายคลึงกันเพื่อทำให้เรื่องที่รัฐบาลแต่งขึ้นมีความสมจริงสมจัง – ที่ว่าเสื้อแดง ต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวในการเผาตึกอย่างน้อย ๓๐ หลัง และเป็นผู้เดียวที่ใช้อาวุธในระหว่างการเผชิญหน้ากับกองทัพ
สื่อเสื้อแดง – สร้างเครือข่ายอันกว้างไกลทั้งสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุชุมชน นิตยสารจำนวนหนึ่ง และเว็บไซต์ต่างๆ – แต่ยังไม่สามารถแก้มือการใช้วาทศิลป์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ ซึ่งออกมาอย่างถี่ยิบไม่ยั้งมือตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติ สื่อหลายแขนงได้ถูก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำการปิดปาก ในขณะที่ผู้ดำเนินการของสื่อเสื้อแดงที่เหลือต่างยอมรับกับไอเอสพีว่า พวกเขาได้ถูกบังคับให้ต้องเงียบมิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกจับกุม
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นตัวปัญหา เป็นตัวปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ” “กฎหมายช่วยสร้างภาพพจน์ของผู้ประท้วงว่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรง”
นั่นเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องยึดสายการปฏิบัติที่รุนแรงดังกล่าว ในขณะเดียวกันรัฐบาลออกมาสัญญาว่า จะรักษาความแตกแยกทางการเมืองแห่งราชอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ด้วยการเริ่มต้นวิธีสมานฉันท์ จะเป็นการเปิดทางให้กับข้อกล่าวหาต่างๆที่ว่า แท้จริงรัฐบาลเป็นตัวบ่อนทำลาย ในขณะที่รัฐบาลเองอ้างซ้ำซากว่า เป็นผู้รักษามาตรฐานแห่งคุณค่าทางเสรีประชาธิปไตย
นักวิจารณ์ต่างๆกล่าวว่า รัฐบาลอายุ ๑๘ เดือนของอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์แล้วในสิ่งที่ผู้ประท้วงเสื้อแดงเคยกล่าวมาแล้วทั้งหมด – ว่าเป็นรัฐบาลที่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ และบิดพลิ้วไม่ยอมให้เกิดการเลือกตั้งในการจะประกันความเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย มุมมองข้อหลังนี้เกิดขึ้นจากบทบาทของผู้นำกองทัพอันทรงพลังของประเทศ ที่เป็นตัวบงการชักใยอยู่เบื้องหลังในค่ายทหารเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ เพื่อประกันว่าอภิสิทธิ์จะได้เสียงจากพรรคร่วมพอที่จะนำมาซึ่งชัยชนะในการออกเสียงในสภา
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ และเป็นผู้พูดบนเวทีชุมนุมเสื้อแดงโดยเสมอกล่าวว่า รัฐบาลพูดเรื่องการสมานฉันท์ แต่ประเทศกำลังเป็นพยานกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่มีการปราบปราม ว่ากำลังส่งสัญญาณการมุ่งหน้าไปสู่ “การปกครองแบบเผด็จการ” “มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลพลเรือน กองทัพ ศักดินา และสื่อหลัก”
แม้หนังสือพิมพ์ต่างๆซึ่งเข้าข้างรัฐบาลอภิสิทธิ์โดยสันดานได้เริ่มส่งเสียงเตือนถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปัจจุบัน – ที่ให้อำนาจล้นฟ้าในกำมือของกองทัพ ตำรวจ และดีเอสไอ เพื่อไล่ล่าเสื้อแดง – อาจกลายเป็นดาบสองคม
ความเห็นจากบรรณาธิการใน “บางกอกโพสต์” หนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษกล่าวว่า “การยังคงใช้ (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ซึ่งในเวลานี้การชุมนุม (ของเสื้อแดง) ได้สลายตัวไปแล้ว คำถามจึงผุดขึ้นมาว่า รัฐบาลเจตนาจะกุมอำนาจอันล้นฟ้า เพียงเพื่อจะทำการขยี้ “ศัตรู” และหาประโยชน์ทางการเมืองใส่ตัวให้หนักมือขึ้นใช่หรือไม่”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น