ผมเขียนบอกท่านโฆษกพรรคเพื่อไทย “พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์” ไปว่า เวียนเทียนบัตรเหลืองที่เป็นห่วงว่าจะเอามาใช้ในการเลือกตั้งซ่อมที่เขต 6 กรุงเทพฯ มันไม่แน่นอนเท่าเปลี่ยนหีบคะแนน กับกาบัตรยัด
พอวันจันทร์ ท่าน ส.ส.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ให้สัมภาษณ์โครมออกมาว่า คนที่จะเปลี่ยนหีบบัตร
ก็คือทหาร
ร.ต.ท.เชาวริน บอกว่า เคยเจอตอนเลือกตั้งล่วงหน้าปี 2550 ดังนั้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าเขต 6 ลงคะแนน 3 วัน 16-17-18 ก.ค.53 พรรคเพื่อไทยจะตั้งการ์ดเฝ้าหีบคะแนน 4 ชุด ๆ ละ10 คน กะละ 6 ชั่วโมง
ท่านรัฐมนตรีเชาวรินครับ เฝ้า 24 ชั่วโมงก็เอาไม่อยู่หรอกครับ เพราะท่านไม่มีอำนาจรัฐในมือ
และที่ไประบุว่าทหารจะทำนั้นไม่กลัวทหารเขาโกรธเอาหรือครับ
ก็อย่างว่าแหละนะครับ เลือกตั้งซ่อมเขต 6 กรุงเทพฯ มันยิ่งใหญ่มาก ผมเชื่อว่าฝ่ายรัฐบาลคงไม่มืออ่อนปล่อยให้ตัวเองแพ้ ถ้าแพ้ละก็ฝ่ายแดงหยันตายเลย ผมเชื่อว่าปชป.จะหาเสียงเต็มที่อย่างถูกกฎหมาย
ได้อ่านข้อเขียนในหน้า 5 บ้านเมืองของ “นายสบาย” ที่เขียนรายงานเรื่อง ประชาชนประเทศกินี ได้เลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่แล้ว เมื่อวันอาทิตย์ 27 มิ.ย.53 และวันเดียวกัน ประชาชนประเทศคีร์กีซสถาน ก็ได้ออกเสียงประชาติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังการโค่นล้มระบอบครอบครัวของประธานาธิบดีบาคิเยฟ เรียบร้อยแล้ว
ทหารกินี ฆ่าหมู่ประชาชน และข่มขืนผู้หญิง ในสนามฟุตบอลเมื่อวันที่ 28 ก.ย.52 หลังจากนั้นแค่ 9 เดือน 27 มิ.ย.53 ทหารก็แพ้ ยอมให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย
ส่วนคีร์กีซสถานเร็วกว่า สู้แค่ 3 วันจบ ชาวบ้านเริ่มชุมนุมไล่ประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 6 กับ 7 มีนาฯ 53 บาคิเยฟก็เผ่นหนีออกนอกประเทศ แล้วมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ไม่อ้อยอิ่ง เร็วมากราวๆ 3 เดือนก็เสร็จ
ข้อเขียนในหน้า 5 ถามตบท้ายไว้ว่า ประชาชนกินีกับคีร์กีซสถานถูกทหารฆ่าเสียก่อนจึงได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แล้วประชาชนไทยล่ะ ถูกฆ่าเหมือนกันแล้วได้อะไร
ผมตอบให้เอามั้ย ได้มาเยอะนะครับ
1.ได้คณะค้นหาความจริงของคุณปู่คณิต ณ นคร
2.ได้คณะกำกับการปฏิรูปประเทศของคุณปู่อานันท์ ปันยารชุน
3.ได้สมัชชาปฏิรูปประเทศของคุณปู่ประเวศ วะสี
4.ได้คณะแก้รัฐธรรมนูญของว่าที่คุณปู่สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
5.วันที่ 1 กรกฎาฯ นี้ ก็จะได้กิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ที่จะมาเป็นอาสาสมัครรับโทรศัพท์รับบริจาคความคิด
ชอบมั้ยกิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ถ้าชอบ เช้าวันพฤหัสฯ ก็เชิญไปทำข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล
คอลัมน์ :ฉลามเขียว
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
แยกขังแกนนำนปช.ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
เจ้าหน้าที่เรือนจำจับแกนนำ นปช. 11 คนแยกขังตามแดนต่างๆแล้ว หลังศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว ระบุเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูงหากให้ประกันเกรงว่าจะหลบหนี รัฐบาลเล็งหาวิธีกระชับอำนาจให้อยู่ในมือต่อไป จ่อส่งทหารออกมาปฏิบัติการอีกครั้งหลังเกิดเหตุยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมัน แย้มอาจงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯขึ้นมาใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ที่จะยกเลิก สั่งจับตากลุ่มข้าราชการฝักใฝ่เสื้อแดงหลังพบฝ่ายตรงข้ามรับรู้ความเคลื่อนไหวหน่วยงานรัฐตลอด “หมอพรทิพย์” ตรวจจักรยานยนต์ที่คนร้ายใช้ยิงอาร์พีจีพบเขม่าดินปืน
ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งกรณีที่ทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวในข้อหาร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1-3
ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
ศาลมีคำสั่งว่า หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าข้อหาร่วมกันหรือใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานก่อการร้ายมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิตและเป็นภัยแก่ประชาชนโดยส่วนรวม หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงผู้ต้องหาหลบหนี มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำ นปช. 11 คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้ถูกแยกขังกระจัดกระจายตามแดนต่างๆแล้ว ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควร ดังนั้น จะไปยื่นเรื่องต่อนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้นำทั้งหมดมาขังอยู่ในแดนเดียวกัน
ครม. ถกต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินวันที่ 6 ก.ค.
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศอฉ. ยังมีเวลาพิจารณาอีก 5 วัน ก่อนส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 6 ก.ค.
“กำลังพิจารณาเรื่องการเพิ่มกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายครั้งหลังจากที่สั่งให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เมื่อมีเหตุต่างๆเกิดขึ้นจึงต้องมาพิจารณาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะการใช้ที่ผ่านมาได้ผล และจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น” นายถวิลกล่าวพร้อมยอมรับว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพกับความปลอดภัย หากทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยได้ก็ถือว่าคุ้มค่า
“สุเทพ” ไม่พูดใครยิงอาร์พีจี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. กล่าวว่า ที่ยังเกิดเหตุร้ายอยู่เพราะว่ามีรอยรั่วในการดูแล เนื่องจากสถานที่สำคัญมีมากแต่กำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย
“เรื่องยิงถังน้ำมันกรมพลาธิการทหารบกผมยังไม่อยากพูดว่าเป็นฝีมือของใคร เดี๋ยวจะเป็นประเด็นโต้แย้งกันอีก ความรุนแรงไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดแต่มีมาต่อเนื่อง” นายสุเทพกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะต่อเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งทาง ศอฉ. กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ต้องไม่ประมาท ศอฉ. ประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
สัปดาห์หน้ารู้โฟกัสพื้นที่ไหน
“เมื่อมีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเราจะทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่ลงไปในจุดไหน อย่างไร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ขณะนี้มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหา ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขและมีหลายมาตรการที่ช่วยป้องปรามได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเครือข่ายที่สร้างความวุ่นวายก็มีทรัพยากรมากพอสมควร แต่เชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างปรกติสุข แม้จะมีอุปสรรคแต่หากหลายฝ่ายร่วมมือกันก็จะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะเข้าตรวจสอบถังบรรจุน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ที่ถูกคนร้ายยิงจรวดอาร์พีจีเข้าใส่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ
พบรถคนร้ายใช้ยิงอาร์พีจี
พ.ต.อ.กิตติ สุขสมภักดิ์ ผกก.กลุ่มงานสืบสวน พ.ต.ท.ฐิติพงศ์ สุริยะฉาย รอง ผกก. พ.ต.ท.สมชาย ขำสัจจา สว.สส.กลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นนทบุรี พร้อมกำลังได้ออกตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งอย่างละเอียด จนกระทั่งมาถึงบริเวณปากซอยทรายทอง 20 พบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีน้ำเงิน ทะเบียน วขก 235 กทม. จอดทิ้งอยู่ ชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีผู้นำมาจอดทิ้งไว้ตั้งแต่วันเกิดเหตุยิงอาร์พีจี ซึ่งเมื่อคณะของ พญ.คุณหญิงพรทิพย์รับทราบจึงเดินทางมาตรวจสอบ พบบริเวณเบาะนั่งมีกระเป๋าเป้สีน้ำตาลพาดอยู่ ภายในไม่พบหลักฐานอะไร เบื้องต้นได้เก็บรอยนิ้วมือตามรถและกระเป๋าเป้ ทำให้พบคราบเขม่าดินปืนติดอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าน่าจะเป็นรถที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ
ตัวแทน “อ้อ-เอม-โอ๊ค” แจงธุรกรรม
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตัวแทนคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพชร นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อสอบถามข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน
นายกิตติพร อรุณรัศม์ ทนายความนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ได้นำเอกสารบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้อง 6 บัญชีที่ถูก ศอฉ. อายัดมาชี้แจงเป็นการเบื้องต้น
“เงินของคนในครอบครัวชินวัตรถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อายัดมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ถึงวันที่ 28 เม.ย. 2553 ไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรได้ และเงินส่วนใหญ่ก็ถูกศาลสั่งยึดไปแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวจะเป็นท่อนำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงตามข้อกล่าวหา”
“ทักษิณ” ต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง
นายกิตติพรกล่าวอีกว่า การชี้แจงวันนี้ชี้แจงในนามตัวแทนนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คงชี้แจงแทนไม่ได้ เพราะติดข้อหาก่อการร้ายคงต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนกรณีของคุณหญิงพจมานมอบอำนาจให้นายสมพร พงษ์สุวรรณ เป็นทนายความเข้าชี้แจงแทน
ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์คำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาสามารถร้องขอความช่วยเหลือทางคดีกับสภาทนายความได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งขณะนี้มีผู้ขอความช่วยเหลือ 400 รายแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการบริเวณที่ชุมนุม เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงพบมูลค่าความเสียหายกว่า 144 ล้านบาท
ศอฉ. ยังไม่ถกใช้กำลังทหารคุมพื้นที่
ด้านการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพเป็นประธานเมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่กองบัญชาการองทัพบก มีรายงานว่ายังไม่มีการพิจารณานำกำลังทหารออกมาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย โดยให้ตำรวจแต่ละพื้นที่รับผิดชอบไปก่อน แต่หากเกินกำลังตำรวจจึงจะพิจารณานำทหารออกมาช่วย ที่ประชุมยังรับทราบรายงานจากฝ่ายข่าวที่พบการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด โดยมีการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆจึงต้องเฝ้าติดตามพฤติกรรมต่อไป
สั่งฟัน “ทักษิณ” เบี้ยวแจงธุรกรรม
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ไม่เข้าชี้แจงการทำธุรกรรมการเงินให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปของกฎหมาย นอกจากนี้ยังรับทราบความคืบหน้าคดีความที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ 205 คดี และความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ลอบยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบกด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะดูว่าเมื่อยกเลิกพื้นที่ใดแล้วตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้หรือไม่ และต้องดูด้วยว่าหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสามารถสนธิกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าทำได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลัวตำรวจรับมือไม่ได้
“รัฐบาลกำลังรอการรายงานจาก ศอฉ. โดยดูจากเรื่องการชุมนุมทางการเมือง การทำธุรกรรมทางการเงิน การปลุกระดมยั่วยุ และการก่อวินาศกรรม ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพิจารณาว่าจะต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้หรือไม่ ซึ่งเรื่องการก่อวินาศกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ ศอฉ. พิจารณา รวมถึงเรื่องการปลุกระดมทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง การปล่อยข่าวลือ การชุมนุมแฝงอะไรต่างๆ ส่วนเรื่องธุรกรรมทางเงินและเรื่องคดีก่อการร้ายดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ หลักคิดคือในพื้นที่เปราะบางถ้ายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วต้องมั่นใจว่าคุมสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะใน กทม. และพื้นที่รอบๆ ส่วนต่างจังหวัดอย่างอุดรธานี เชียงใหม่ ต้องดูว่าตำรวจสามารถทำงานได้หรือไม่ถ้ามีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าตำรวจดูแลได้ก็สามารถยกเลิกได้” นายปณิธานกล่าว
สั่งจับตาเจ้าหน้าที่รัฐสายข่าวเสื้อแดง
ส่วนการยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมันของกรมพลาธิการนั้น นายปณิธานกล่าวว่า กลุ่มที่ปฏิบัติการมีศักยภาพและดูเหมือนว่ากลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติการเป็นอย่างดี รับรู้ความเคลื่อนไหวของภาครัฐตลอดเวลา ชัดเจนว่ากลุ่มที่ปฏิบัติการเชื่อมโยงกับการชุมนุมที่ผ่านมา และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการก่อวินาศกรรม เชี่ยวชาญเรื่องการใช้อาวุธ มีผู้ให้ความช่วยเหลือในการหลบหนี ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ
เล็งงัด พ.ร.บ.มั่นคงฯใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ขณะนี้กำลังจับตาดูพฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มที่มีศักยภาพในการก่อวินาศกรรมอยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีไม่มากแต่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผ่านมา” นายปณิธานกล่าวและว่า หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจเสนอให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาราจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ส่วนแรกที่ให้มีการเฝ้าระวังร่วมกันของตำรวจและพลเรือน โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) เป็นเจ้าภาพดูแล และมีทหารเป็นผู้ช่วยพนักงาน และหากใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯส่วนที่สองที่มีการประกาศพื้นที่ความมั่นคงและมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีอำนาจเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ไม่มีการคุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อเสนอให้ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพราะมีแต่เสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือให้คงไว้เท่านั้น
เจ้าหน้าที่เรือนจำจับแกนนำ นปช. 11 คนแยกขังตามแดนต่างๆแล้ว หลังศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว ระบุเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูงหากให้ประกันเกรงว่าจะหลบหนี รัฐบาลเล็งหาวิธีกระชับอำนาจให้อยู่ในมือต่อไป จ่อส่งทหารออกมาปฏิบัติการอีกครั้งหลังเกิดเหตุยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมัน แย้มอาจงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯขึ้นมาใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ที่จะยกเลิก สั่งจับตากลุ่มข้าราชการฝักใฝ่เสื้อแดงหลังพบฝ่ายตรงข้ามรับรู้ความเคลื่อนไหวหน่วยงานรัฐตลอด “หมอพรทิพย์” ตรวจจักรยานยนต์ที่คนร้ายใช้ยิงอาร์พีจีพบเขม่าดินปืน
ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งกรณีที่ทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวในข้อหาร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1-3
ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
ศาลมีคำสั่งว่า หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าข้อหาร่วมกันหรือใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานก่อการร้ายมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิตและเป็นภัยแก่ประชาชนโดยส่วนรวม หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงผู้ต้องหาหลบหนี มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำ นปช. 11 คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้ถูกแยกขังกระจัดกระจายตามแดนต่างๆแล้ว ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควร ดังนั้น จะไปยื่นเรื่องต่อนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้นำทั้งหมดมาขังอยู่ในแดนเดียวกัน
ครม. ถกต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินวันที่ 6 ก.ค.
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศอฉ. ยังมีเวลาพิจารณาอีก 5 วัน ก่อนส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 6 ก.ค.
“กำลังพิจารณาเรื่องการเพิ่มกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายครั้งหลังจากที่สั่งให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เมื่อมีเหตุต่างๆเกิดขึ้นจึงต้องมาพิจารณาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะการใช้ที่ผ่านมาได้ผล และจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น” นายถวิลกล่าวพร้อมยอมรับว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพกับความปลอดภัย หากทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยได้ก็ถือว่าคุ้มค่า
“สุเทพ” ไม่พูดใครยิงอาร์พีจี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. กล่าวว่า ที่ยังเกิดเหตุร้ายอยู่เพราะว่ามีรอยรั่วในการดูแล เนื่องจากสถานที่สำคัญมีมากแต่กำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย
“เรื่องยิงถังน้ำมันกรมพลาธิการทหารบกผมยังไม่อยากพูดว่าเป็นฝีมือของใคร เดี๋ยวจะเป็นประเด็นโต้แย้งกันอีก ความรุนแรงไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดแต่มีมาต่อเนื่อง” นายสุเทพกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะต่อเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งทาง ศอฉ. กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ต้องไม่ประมาท ศอฉ. ประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
สัปดาห์หน้ารู้โฟกัสพื้นที่ไหน
“เมื่อมีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเราจะทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่ลงไปในจุดไหน อย่างไร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ขณะนี้มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหา ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขและมีหลายมาตรการที่ช่วยป้องปรามได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเครือข่ายที่สร้างความวุ่นวายก็มีทรัพยากรมากพอสมควร แต่เชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างปรกติสุข แม้จะมีอุปสรรคแต่หากหลายฝ่ายร่วมมือกันก็จะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะเข้าตรวจสอบถังบรรจุน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ที่ถูกคนร้ายยิงจรวดอาร์พีจีเข้าใส่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ
พบรถคนร้ายใช้ยิงอาร์พีจี
พ.ต.อ.กิตติ สุขสมภักดิ์ ผกก.กลุ่มงานสืบสวน พ.ต.ท.ฐิติพงศ์ สุริยะฉาย รอง ผกก. พ.ต.ท.สมชาย ขำสัจจา สว.สส.กลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นนทบุรี พร้อมกำลังได้ออกตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งอย่างละเอียด จนกระทั่งมาถึงบริเวณปากซอยทรายทอง 20 พบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีน้ำเงิน ทะเบียน วขก 235 กทม. จอดทิ้งอยู่ ชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีผู้นำมาจอดทิ้งไว้ตั้งแต่วันเกิดเหตุยิงอาร์พีจี ซึ่งเมื่อคณะของ พญ.คุณหญิงพรทิพย์รับทราบจึงเดินทางมาตรวจสอบ พบบริเวณเบาะนั่งมีกระเป๋าเป้สีน้ำตาลพาดอยู่ ภายในไม่พบหลักฐานอะไร เบื้องต้นได้เก็บรอยนิ้วมือตามรถและกระเป๋าเป้ ทำให้พบคราบเขม่าดินปืนติดอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าน่าจะเป็นรถที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ
ตัวแทน “อ้อ-เอม-โอ๊ค” แจงธุรกรรม
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตัวแทนคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพชร นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อสอบถามข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน
นายกิตติพร อรุณรัศม์ ทนายความนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ได้นำเอกสารบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้อง 6 บัญชีที่ถูก ศอฉ. อายัดมาชี้แจงเป็นการเบื้องต้น
“เงินของคนในครอบครัวชินวัตรถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อายัดมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ถึงวันที่ 28 เม.ย. 2553 ไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรได้ และเงินส่วนใหญ่ก็ถูกศาลสั่งยึดไปแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวจะเป็นท่อนำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงตามข้อกล่าวหา”
“ทักษิณ” ต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง
นายกิตติพรกล่าวอีกว่า การชี้แจงวันนี้ชี้แจงในนามตัวแทนนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คงชี้แจงแทนไม่ได้ เพราะติดข้อหาก่อการร้ายคงต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนกรณีของคุณหญิงพจมานมอบอำนาจให้นายสมพร พงษ์สุวรรณ เป็นทนายความเข้าชี้แจงแทน
ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์คำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาสามารถร้องขอความช่วยเหลือทางคดีกับสภาทนายความได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งขณะนี้มีผู้ขอความช่วยเหลือ 400 รายแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการบริเวณที่ชุมนุม เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงพบมูลค่าความเสียหายกว่า 144 ล้านบาท
ศอฉ. ยังไม่ถกใช้กำลังทหารคุมพื้นที่
ด้านการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพเป็นประธานเมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่กองบัญชาการองทัพบก มีรายงานว่ายังไม่มีการพิจารณานำกำลังทหารออกมาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย โดยให้ตำรวจแต่ละพื้นที่รับผิดชอบไปก่อน แต่หากเกินกำลังตำรวจจึงจะพิจารณานำทหารออกมาช่วย ที่ประชุมยังรับทราบรายงานจากฝ่ายข่าวที่พบการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด โดยมีการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆจึงต้องเฝ้าติดตามพฤติกรรมต่อไป
สั่งฟัน “ทักษิณ” เบี้ยวแจงธุรกรรม
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ไม่เข้าชี้แจงการทำธุรกรรมการเงินให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปของกฎหมาย นอกจากนี้ยังรับทราบความคืบหน้าคดีความที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ 205 คดี และความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ลอบยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบกด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะดูว่าเมื่อยกเลิกพื้นที่ใดแล้วตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้หรือไม่ และต้องดูด้วยว่าหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสามารถสนธิกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าทำได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลัวตำรวจรับมือไม่ได้
“รัฐบาลกำลังรอการรายงานจาก ศอฉ. โดยดูจากเรื่องการชุมนุมทางการเมือง การทำธุรกรรมทางการเงิน การปลุกระดมยั่วยุ และการก่อวินาศกรรม ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพิจารณาว่าจะต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้หรือไม่ ซึ่งเรื่องการก่อวินาศกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ ศอฉ. พิจารณา รวมถึงเรื่องการปลุกระดมทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง การปล่อยข่าวลือ การชุมนุมแฝงอะไรต่างๆ ส่วนเรื่องธุรกรรมทางเงินและเรื่องคดีก่อการร้ายดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ หลักคิดคือในพื้นที่เปราะบางถ้ายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วต้องมั่นใจว่าคุมสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะใน กทม. และพื้นที่รอบๆ ส่วนต่างจังหวัดอย่างอุดรธานี เชียงใหม่ ต้องดูว่าตำรวจสามารถทำงานได้หรือไม่ถ้ามีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าตำรวจดูแลได้ก็สามารถยกเลิกได้” นายปณิธานกล่าว
สั่งจับตาเจ้าหน้าที่รัฐสายข่าวเสื้อแดง
ส่วนการยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมันของกรมพลาธิการนั้น นายปณิธานกล่าวว่า กลุ่มที่ปฏิบัติการมีศักยภาพและดูเหมือนว่ากลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติการเป็นอย่างดี รับรู้ความเคลื่อนไหวของภาครัฐตลอดเวลา ชัดเจนว่ากลุ่มที่ปฏิบัติการเชื่อมโยงกับการชุมนุมที่ผ่านมา และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการก่อวินาศกรรม เชี่ยวชาญเรื่องการใช้อาวุธ มีผู้ให้ความช่วยเหลือในการหลบหนี ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ
เล็งงัด พ.ร.บ.มั่นคงฯใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ขณะนี้กำลังจับตาดูพฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มที่มีศักยภาพในการก่อวินาศกรรมอยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีไม่มากแต่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผ่านมา” นายปณิธานกล่าวและว่า หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจเสนอให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาราจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ส่วนแรกที่ให้มีการเฝ้าระวังร่วมกันของตำรวจและพลเรือน โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) เป็นเจ้าภาพดูแล และมีทหารเป็นผู้ช่วยพนักงาน และหากใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯส่วนที่สองที่มีการประกาศพื้นที่ความมั่นคงและมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีอำนาจเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ไม่มีการคุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อเสนอให้ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพราะมีแต่เสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือให้คงไว้เท่านั้น
‘เติ้ง’!!ไม่คิดไถ่บาปบ้างหรือ?
‘
นอนกอด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน! เอาแต่พูด!! ปรองดองยาก!!
เป็นเพราะท่าทีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) หรือไม่??? ที่ทำให้สังคมไทยจับตามองและเชื่อว่า…
รัฐบาลยังไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และสุดท้ายก็น่าจะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทุกเหตุการณ์ของความรุนแรงต่างๆ จะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ตั้งใจจะป่วนสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
การระเบิดข้างๆ พรรคภูมิใจไทย ทางนายเนวิน ชิดชอบ ซีอีโอตัวจริงเสียงจริง นายใหญ่ภูมิใจไทยของแท้ ก็ระบุออกมาเลยว่า มีเจตนามุ่งร้ายตนเองแน่
สุดท้ายก็เข้าล็อคเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะสามารถสรุปเหตุจูงใจได้ง่ายเหมือนกินขนม ว่า เป็นเหตุทางการเมือง
เช่นกันกับที่ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) มีการเรียกนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.น.) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.) เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ กันชนิดพรึ่บเต็มพื้นที่
ชนิดที่ว่าหากเห็นว่ากำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ก็จะประสานขอกำลังจากฝ่ายทหารมาร่วมด้วย
ด้วยเหตุผลว่า เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีก่อเหตุลักษณะเดียวกับที่คลังน้ำมัน กรมพลาธิการทหารบก
แถม พล.ต.ท.สัณฐาน ยืนยันชัดเจนว่า ขณะนี้มีผู้ไม่ต้องการให้บ้านเมืองสงบจริง
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถือโอกาสชงลูกป้อน ศอฉ. และรัฐบาล ให้ชนิดเหน่งๆ หน้าประตูกันเลยทีเดียวว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีความจำเป็น
อ้างว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนคิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นเครื่องมือช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย...
ซึ่งก็เข้าใจ เพราะ พล.ต.ท.สัณฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่รู้ว่า ประเทศอื่นๆ นั้นมองประเทศไทยที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยสายตาอย่างไร รวมทั้งว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
มุมมองของ พล.ต.ท.สัณฐาน ดูจะสอดรับกันพอดิบพอดีกับมุมมองของนายสุเทพ ที่ระบุว่า การพิจารณาตัดสินใจเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก. หรือยกเลิกการประกาศใช้มีหลายทางเลือก
อย่างเช่นว่า อาจจะต่ออายุ 24 จังหวัดเลยก็ได้ ลดเหลือ 21 จังหวัดก็ได้ หรือแม้แต่จะเหลือแค่ 7 จังหวัดก็ได้เช่นกัน
เรียกว่า ลดแรงกดดันจากสายตาของไทยและต่างชาติที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องที่จะยกเลิกทั้งหมด เพียงแค่ลดจำนวนจังหวัดลงเท่านั้นล่ะพอได้
ฉะนั้นก็คงต้องรอลุ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะนายสุเทพจะชงเรื่องนี้เข้า ครม. ให้พิจารณาตัดสินใจว่า จะต่ออายุโดยควบคุมกี่จังหวัดดี
ท่าที วัตถุประสงค์ของรัฐบาล ตลอดจนแนวคิดในการที่จะต้องหาทาง “สยบทางการเมือง” กับพรรคการเมือง กลุ่มคนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องโยงใย ผูกพัน หรือศรัทธาในตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องตีให้แตกกระจุยให้ได้... ไม่เช่นนั้นภารกิจถือว่ายังไม่บรรลุ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ ที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดชัดเจนว่า ขณะนี้แม้ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เชื่อว่า รัฐบาลคงไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
เพราะหากยกเลิกไปแล้วก็ไม่แน่ใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่??
ซึ่งส่วนตัวคงตอบไม่ได้ว่าควรยกเลิกเมื่อใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากมีการเลือกตั้งใหญ่ ก็ต้องถึงเวลาที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบกับการท่องเที่ยว เรื่องนี้มันแย้งกันกับเรื่องความมั่นคง เพราะต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ ถ้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังอยู่” นายบรรหาร กล่าว
รวมทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดอง นายบรรหาร กล่าวอย่างน่าคิดว่า
“ยากจังเลยเรื่องปรองดอง กรรมการที่ตั้งไว้ก็ต้องเหนื่อย ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะปรองดองได้หรือเปล่า ชาตินี้คงปรองดองยาก”
ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมองว่าปรองดองไม่ได้นั้น นายบรรหาร มองว่าเป็นเพราะ ถ้าหากความคิดเห็นต่างกัน ก็ปรองดองกันไม่ได้
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ ก็ต้องกลับไปถามรัฐบาลว่า ตั้งขึ้นมาทำไม แล้วจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่
“ต้องไปถามรัฐบาลเอง ถามผมไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกันก็ยากจะสร้างความปรองดอง ถ้ายอมๆ เขาหมด ใครว่าอย่างไรมาก็ยอมกันหมด ก็โอเคอย่างนั้นปรองดองได้” นายบรรหารระบุ
นั่นคือ มุมมองของนายบรรหาร ที่เชื่อว่า จนถึงวันนี้ สถานการณ์ยังปรองดองยาก
ตรงนี้จึงเป็นคำถามที่ต้องพุ่งกลับเข้าหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า ยังมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองจริงหรือไม่... หากคิดจะปรองดอง สิ่งสำคัญที่สุดไม่น่าจะใช่อย่างที่นายบรรหาร คิด คือ ยอมๆ กันไป
แต่น่าจะเป็นการทำให้สังคมเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแล้ว
และพิสูจน์ความจริงในเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยเฉพาะที่บริเวณวัดปทุมวนาราม ซึ่งรัฐบาล ศอฉ. สภาความมั่นคงฯ และหน่วยข่าวกรอง ควรจะต้องรู้ดีว่า กรณีพฤษภาอำมหิต ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ ก่อให้เกิดรอยบาดหมาง
แต่ยังก่อให้เกิดการ “พูดต่อ” กันไม่รู้จบ และทำให้การปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ยาก
และเช่นกันคำถามก็คงต้องย้อนพุ่งใส่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ด้วยเช่นกันว่า ในฐานะนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะนายใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา
ต้องการให้เกิดการปรองดองจริงๆ หรือไม่???
หากต้องการให้เกิดการปรองดอง นายบรรหารควรจะรู้ดีกว่าใครว่าควรผลักดันอย่างไร ให้ความรู้สึกกฎหมาย 2 มาตรฐานหมดไป ให้ความรู้สึกการมุ่งทำลายล้างกันทางการเมืองหมดไป
ทั้งหมดนายบรรหารรู้ดีอยู่แก่ใจ... ว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นต้นเหตุสำคัญต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังเกิดการขึงพืดเผชิญหน้ากันใช่หรือไม่
นายบรรหาร ซึ่งบอกเองว่า ชาตินี้ไม่รู้ว่าจะปรองดองได้หรือไม่...
ไม่คิดที่จะ “ไถ่บาป” บ้างหรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
นอนกอด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน! เอาแต่พูด!! ปรองดองยาก!!
เป็นเพราะท่าทีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) หรือไม่??? ที่ทำให้สังคมไทยจับตามองและเชื่อว่า…
รัฐบาลยังไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และสุดท้ายก็น่าจะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทุกเหตุการณ์ของความรุนแรงต่างๆ จะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ตั้งใจจะป่วนสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
การระเบิดข้างๆ พรรคภูมิใจไทย ทางนายเนวิน ชิดชอบ ซีอีโอตัวจริงเสียงจริง นายใหญ่ภูมิใจไทยของแท้ ก็ระบุออกมาเลยว่า มีเจตนามุ่งร้ายตนเองแน่
สุดท้ายก็เข้าล็อคเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะสามารถสรุปเหตุจูงใจได้ง่ายเหมือนกินขนม ว่า เป็นเหตุทางการเมือง
เช่นกันกับที่ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) มีการเรียกนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.น.) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.) เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ กันชนิดพรึ่บเต็มพื้นที่
ชนิดที่ว่าหากเห็นว่ากำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ก็จะประสานขอกำลังจากฝ่ายทหารมาร่วมด้วย
ด้วยเหตุผลว่า เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีก่อเหตุลักษณะเดียวกับที่คลังน้ำมัน กรมพลาธิการทหารบก
แถม พล.ต.ท.สัณฐาน ยืนยันชัดเจนว่า ขณะนี้มีผู้ไม่ต้องการให้บ้านเมืองสงบจริง
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถือโอกาสชงลูกป้อน ศอฉ. และรัฐบาล ให้ชนิดเหน่งๆ หน้าประตูกันเลยทีเดียวว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีความจำเป็น
อ้างว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนคิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นเครื่องมือช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย...
ซึ่งก็เข้าใจ เพราะ พล.ต.ท.สัณฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่รู้ว่า ประเทศอื่นๆ นั้นมองประเทศไทยที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยสายตาอย่างไร รวมทั้งว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
มุมมองของ พล.ต.ท.สัณฐาน ดูจะสอดรับกันพอดิบพอดีกับมุมมองของนายสุเทพ ที่ระบุว่า การพิจารณาตัดสินใจเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก. หรือยกเลิกการประกาศใช้มีหลายทางเลือก
อย่างเช่นว่า อาจจะต่ออายุ 24 จังหวัดเลยก็ได้ ลดเหลือ 21 จังหวัดก็ได้ หรือแม้แต่จะเหลือแค่ 7 จังหวัดก็ได้เช่นกัน
เรียกว่า ลดแรงกดดันจากสายตาของไทยและต่างชาติที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องที่จะยกเลิกทั้งหมด เพียงแค่ลดจำนวนจังหวัดลงเท่านั้นล่ะพอได้
ฉะนั้นก็คงต้องรอลุ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะนายสุเทพจะชงเรื่องนี้เข้า ครม. ให้พิจารณาตัดสินใจว่า จะต่ออายุโดยควบคุมกี่จังหวัดดี
ท่าที วัตถุประสงค์ของรัฐบาล ตลอดจนแนวคิดในการที่จะต้องหาทาง “สยบทางการเมือง” กับพรรคการเมือง กลุ่มคนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องโยงใย ผูกพัน หรือศรัทธาในตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องตีให้แตกกระจุยให้ได้... ไม่เช่นนั้นภารกิจถือว่ายังไม่บรรลุ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ ที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดชัดเจนว่า ขณะนี้แม้ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เชื่อว่า รัฐบาลคงไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
เพราะหากยกเลิกไปแล้วก็ไม่แน่ใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่??
ซึ่งส่วนตัวคงตอบไม่ได้ว่าควรยกเลิกเมื่อใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากมีการเลือกตั้งใหญ่ ก็ต้องถึงเวลาที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบกับการท่องเที่ยว เรื่องนี้มันแย้งกันกับเรื่องความมั่นคง เพราะต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ ถ้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังอยู่” นายบรรหาร กล่าว
รวมทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดอง นายบรรหาร กล่าวอย่างน่าคิดว่า
“ยากจังเลยเรื่องปรองดอง กรรมการที่ตั้งไว้ก็ต้องเหนื่อย ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะปรองดองได้หรือเปล่า ชาตินี้คงปรองดองยาก”
ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมองว่าปรองดองไม่ได้นั้น นายบรรหาร มองว่าเป็นเพราะ ถ้าหากความคิดเห็นต่างกัน ก็ปรองดองกันไม่ได้
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ ก็ต้องกลับไปถามรัฐบาลว่า ตั้งขึ้นมาทำไม แล้วจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่
“ต้องไปถามรัฐบาลเอง ถามผมไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกันก็ยากจะสร้างความปรองดอง ถ้ายอมๆ เขาหมด ใครว่าอย่างไรมาก็ยอมกันหมด ก็โอเคอย่างนั้นปรองดองได้” นายบรรหารระบุ
นั่นคือ มุมมองของนายบรรหาร ที่เชื่อว่า จนถึงวันนี้ สถานการณ์ยังปรองดองยาก
ตรงนี้จึงเป็นคำถามที่ต้องพุ่งกลับเข้าหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า ยังมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองจริงหรือไม่... หากคิดจะปรองดอง สิ่งสำคัญที่สุดไม่น่าจะใช่อย่างที่นายบรรหาร คิด คือ ยอมๆ กันไป
แต่น่าจะเป็นการทำให้สังคมเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแล้ว
และพิสูจน์ความจริงในเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยเฉพาะที่บริเวณวัดปทุมวนาราม ซึ่งรัฐบาล ศอฉ. สภาความมั่นคงฯ และหน่วยข่าวกรอง ควรจะต้องรู้ดีว่า กรณีพฤษภาอำมหิต ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ ก่อให้เกิดรอยบาดหมาง
แต่ยังก่อให้เกิดการ “พูดต่อ” กันไม่รู้จบ และทำให้การปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ยาก
และเช่นกันคำถามก็คงต้องย้อนพุ่งใส่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ด้วยเช่นกันว่า ในฐานะนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะนายใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา
ต้องการให้เกิดการปรองดองจริงๆ หรือไม่???
หากต้องการให้เกิดการปรองดอง นายบรรหารควรจะรู้ดีกว่าใครว่าควรผลักดันอย่างไร ให้ความรู้สึกกฎหมาย 2 มาตรฐานหมดไป ให้ความรู้สึกการมุ่งทำลายล้างกันทางการเมืองหมดไป
ทั้งหมดนายบรรหารรู้ดีอยู่แก่ใจ... ว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นต้นเหตุสำคัญต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังเกิดการขึงพืดเผชิญหน้ากันใช่หรือไม่
นายบรรหาร ซึ่งบอกเองว่า ชาตินี้ไม่รู้ว่าจะปรองดองได้หรือไม่...
ไม่คิดที่จะ “ไถ่บาป” บ้างหรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
"นพดล"โผล่วิดิโอลิงค์สายตรงจาก อเมริกา อ้างได้รับเชิญไปชี้แจงเหตุ"พฤษภามหาโหด จาก จนท.นิติบัญญัติมะกัน
"นพดล"โผล่อเมริกา แก้ตัว"เสื้อแดง-แม้ว" ก่อการร้าย วีดีโอลิ้งค์ ตีปี๊บได้รับเชิญไปชี้แจงเหตุ"พฤษภามหาโหด"อ้าง รัฐสภาสหรัฐฯเตรียมออกมติหนุนเจรจา ระบุ"แม้ว"อยู่ยุโรปตะวันออก
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวผ่านระบบวีดีโอลิ้งค์มายังพรรคเพื่อไทยจากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางไปพบปะกับกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นการเดินทางตามคำเชิญเพื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะทางสหรัฐอเมริกาได้ฟังข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาลไทยมาพอสมควรแล้ว อาทิข้อกล่าวหาเรื่อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมุนุมไม่ได้ผู้ก่อการร้าย แต่มาเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม และประเด็นของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย รวมไปถึงกรณีที่เราเห็นว่าประเทศไทยต้องปรองดองอย่างแท้จริง ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรที่ดีกับประเทศไทย ซึ่งถ้าประเทศไทยเข้มแข็งก็สามารถเกื้อกูลกันได้
นายนพดล กล่าวว่า ตนได้นำเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ด้วยการเจรจาแบบ พีช ทอล์ค เพราะแผนการปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ นั้นไม่ใช่แผนการปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนการปฏิรูปประเทศในระยะยาว และเป็นห่วงว่าในการนำโร้ดแม็ปไปปฏิบัติ เพราะในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะปฏิรูปสื่อมวลชน แต่ก็ยังมีการปิดสื่อมวลชนต่างๆ รวมไปถึงเว็บไซด์หลายๆแห่ง ซึ่งเข้าใจว่าในวันที่ 1 ก.ค.ทางรัฐสภาสหรัฐฯ จะพิจารณาออกมติหลายๆ ข้อ ซึ่งมีข้อสำคัญ 2 ข้อคือ
1.สนับสนุนการเจรจาแก้ไขปัญหาภายในประเทศไทยด้วยการพูดคุยกันทุกฝ่ายและ
2.สนับสนุนเป้าหมายของโร้ดแม็ปของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้สนับสนุนเนื้อหาของโร้ดแม็ป แม้มติของรัฐสภาสหรัฐฯ อาจจะไม่มีผลผูกมัดกับใครให้ปฏิบัติตาม แต่ก็น่ายินดีที่ทางสหรัฐฯ สนใจปัญหาในประเทศไทย
“เราได้เสนอการเจรจาแบบ พีชทอล์ค ให้ทางสหรัฐอเมริกาได้เข้าใจว่า คนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากในประเทศไทยนั้นพร้อมและต้องการที่จะปรองดองกับทุกคนในชาติ เพื่อให้ชาติเดินต่อไปได้ โดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกา ก็ห่วงใยสถานการณ์ในไทยและอยากเห็นการปรองดองของคนในชาติ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าถ้าใครกระทำผิด ในตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยสามารถปรองดองกันได้ หากรัฐบามีควมจริงใจหรืออย่างน้อยก็ควรพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาทางการเมือง หรืออย่างน้อยก็ควรแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่การกักขังไว้โดยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ” นายนพดลกล่าว
นายนพดล กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการมาเพื่อเชื้อเชิญให้สหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย แต่เป็นการมาชี้แจงเหตุการณ์ในประเทศไทยให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดยืนสิ่งที่คนเสื้อแดงได้เรียกร้อง รวมไปถึงจุดยืนและท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ และสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย เกี่ยวกับการคง พรก.ฉุกเฉิน และการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน ซึ่งประชาธิปัตย์ อาจจะกล่าวหาว่าเรามาเพื่อชักศึกเข้าบ้าน แต่ยืนยันได้ว่าเป็นการมาสร้างความมั่นใจให้กับชาวต่างประเทศ ซึ่งก็มีฟี๊ดแบ็คกลับมาชัดเจนว่าหลายคนเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมาก และรับทราบเกี่ยวกับตัวละครต่างๆดีพอๆกับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบ้างก็ได้ชี้แจงไป โดยภาพรวมคือทางสหรัฐอเมริกาอยากเห็นความปรองดองของแต่ละฝ่าย โดยควรจะหาทางเจรจากันด้วยการที่ทุกฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่อง และอย่าถือว่าอีกฝ่ายคือผู้ก่อการร้ายและตั้งป้อมว่าจะไม่มีการเจรจาพูดคุยกับผู้ก่อการร้าย โดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และพี่น้องคนไทยไม่ใช่ศัตรูของชาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะคุยและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน ที่สำคัญคือทุกฝ่ายสามารถเดินหาเสียงได้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้โดยไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับทราบการเดินทางมาชี้แจงกับทางสหรัฐฯ หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ แต่คงอยู่แถวๆ ยุโรปตะวันออก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ทราบการเดินทางมาสหรัฐฯของตนเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้พูดความจริง เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างความปรองดองในชาติ ซึ่งยืนยันได้ว่าเราไม่ได้มาด่าทอประเทศ แต่เป็นการมาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่หลายส่วนยังถูกปิดเบือน
“ผมเดินทางมาเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจ้างให้ว่าความคดีก่อการร้ายเลย โดยไม่ได้มีการประสานงานกัน ด้วยความสัตจริง และที่มาก็ไม่ได้หวังผลเกี่ยวกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคดีๆ ต่างในศาลไทยก็ต้องว่าไปตามกฎหมายไทย เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อขอให้ใครช่วยเหลืออะไร เพียงแต่หวังว่าศาลจะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย” นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวผ่านระบบวีดีโอลิ้งค์มายังพรรคเพื่อไทยจากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางไปพบปะกับกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นการเดินทางตามคำเชิญเพื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะทางสหรัฐอเมริกาได้ฟังข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาลไทยมาพอสมควรแล้ว อาทิข้อกล่าวหาเรื่อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมุนุมไม่ได้ผู้ก่อการร้าย แต่มาเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม และประเด็นของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย รวมไปถึงกรณีที่เราเห็นว่าประเทศไทยต้องปรองดองอย่างแท้จริง ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรที่ดีกับประเทศไทย ซึ่งถ้าประเทศไทยเข้มแข็งก็สามารถเกื้อกูลกันได้
นายนพดล กล่าวว่า ตนได้นำเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ด้วยการเจรจาแบบ พีช ทอล์ค เพราะแผนการปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ นั้นไม่ใช่แผนการปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนการปฏิรูปประเทศในระยะยาว และเป็นห่วงว่าในการนำโร้ดแม็ปไปปฏิบัติ เพราะในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะปฏิรูปสื่อมวลชน แต่ก็ยังมีการปิดสื่อมวลชนต่างๆ รวมไปถึงเว็บไซด์หลายๆแห่ง ซึ่งเข้าใจว่าในวันที่ 1 ก.ค.ทางรัฐสภาสหรัฐฯ จะพิจารณาออกมติหลายๆ ข้อ ซึ่งมีข้อสำคัญ 2 ข้อคือ
1.สนับสนุนการเจรจาแก้ไขปัญหาภายในประเทศไทยด้วยการพูดคุยกันทุกฝ่ายและ
2.สนับสนุนเป้าหมายของโร้ดแม็ปของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้สนับสนุนเนื้อหาของโร้ดแม็ป แม้มติของรัฐสภาสหรัฐฯ อาจจะไม่มีผลผูกมัดกับใครให้ปฏิบัติตาม แต่ก็น่ายินดีที่ทางสหรัฐฯ สนใจปัญหาในประเทศไทย
“เราได้เสนอการเจรจาแบบ พีชทอล์ค ให้ทางสหรัฐอเมริกาได้เข้าใจว่า คนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากในประเทศไทยนั้นพร้อมและต้องการที่จะปรองดองกับทุกคนในชาติ เพื่อให้ชาติเดินต่อไปได้ โดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกา ก็ห่วงใยสถานการณ์ในไทยและอยากเห็นการปรองดองของคนในชาติ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าถ้าใครกระทำผิด ในตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยสามารถปรองดองกันได้ หากรัฐบามีควมจริงใจหรืออย่างน้อยก็ควรพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาทางการเมือง หรืออย่างน้อยก็ควรแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่การกักขังไว้โดยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ” นายนพดลกล่าว
นายนพดล กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการมาเพื่อเชื้อเชิญให้สหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย แต่เป็นการมาชี้แจงเหตุการณ์ในประเทศไทยให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดยืนสิ่งที่คนเสื้อแดงได้เรียกร้อง รวมไปถึงจุดยืนและท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ และสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย เกี่ยวกับการคง พรก.ฉุกเฉิน และการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน ซึ่งประชาธิปัตย์ อาจจะกล่าวหาว่าเรามาเพื่อชักศึกเข้าบ้าน แต่ยืนยันได้ว่าเป็นการมาสร้างความมั่นใจให้กับชาวต่างประเทศ ซึ่งก็มีฟี๊ดแบ็คกลับมาชัดเจนว่าหลายคนเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมาก และรับทราบเกี่ยวกับตัวละครต่างๆดีพอๆกับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบ้างก็ได้ชี้แจงไป โดยภาพรวมคือทางสหรัฐอเมริกาอยากเห็นความปรองดองของแต่ละฝ่าย โดยควรจะหาทางเจรจากันด้วยการที่ทุกฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่อง และอย่าถือว่าอีกฝ่ายคือผู้ก่อการร้ายและตั้งป้อมว่าจะไม่มีการเจรจาพูดคุยกับผู้ก่อการร้าย โดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และพี่น้องคนไทยไม่ใช่ศัตรูของชาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะคุยและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน ที่สำคัญคือทุกฝ่ายสามารถเดินหาเสียงได้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้โดยไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับทราบการเดินทางมาชี้แจงกับทางสหรัฐฯ หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ แต่คงอยู่แถวๆ ยุโรปตะวันออก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ทราบการเดินทางมาสหรัฐฯของตนเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้พูดความจริง เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างความปรองดองในชาติ ซึ่งยืนยันได้ว่าเราไม่ได้มาด่าทอประเทศ แต่เป็นการมาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่หลายส่วนยังถูกปิดเบือน
“ผมเดินทางมาเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจ้างให้ว่าความคดีก่อการร้ายเลย โดยไม่ได้มีการประสานงานกัน ด้วยความสัตจริง และที่มาก็ไม่ได้หวังผลเกี่ยวกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคดีๆ ต่างในศาลไทยก็ต้องว่าไปตามกฎหมายไทย เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อขอให้ใครช่วยเหลืออะไร เพียงแต่หวังว่าศาลจะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย” นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
ทนาย "เอม" ยันเงินไม่เคลื่อนไหว
ทนาย "เอม" ยันเงินไม่เคลื่อนไหว แจงโอน 2.2 หมื่นล้าน ให้กรมบัญชีกลาง
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่สำนักการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ นายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความ ซึ่งเป็นตัวแทนของ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เดินทางเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หลังจากนั้นเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การสอบสวนเป็นไปทำนองเดียวกับเมื่อวาน ที่ตนเป็นตัวแทนของนายพานทองแท้ โดยได้นำบัญชีเงินฝากทั้ง 4 บัญชีของธนาคารต่าง ๆ มาชี้แจง เพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีการทำธุรกรรมใด ๆ นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 50 จนถึงปัจจุบัน
การเคลื่อนของเงินในบัญชีรายการใหญ่ มีเพียงครั้งเดียว คือการโอนเงิน 2.2 หมื่นล้านไปยังกรมบัญชีกลาง ตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการสอบถามถึงบัญชีเงินฝากในต่างประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่า การชี้แจงในส่วนของ น.ส.พิณทองทอง น่าจะสิ้นข้อสงสัยแล้ว คงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจงเพิ่มเติมอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ยังได้มอบหมายให้ทนายความนำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษด้วย ขณะที่ นางเยาวเรศ ชินวัตร์ ส่งหนังสือขอเลื่อนนัดในการเข้าให้ข้อมูล แต่ในส่วนของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง ทั้งยังมีรายงานว่า พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร จะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนในช่วงบ่ายด้วยตัวเอง
นายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้นำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวน แต่เพราะดีเอสไอ ยังมีคำถามที่ต้องการให้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเงินในอดีต โดยตนได้ขอเวลาจัดเตรียมเอกสาร แล้วจะเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 21 ก.ค. นี้ ส่วนตัวยืนยันว่าที่ผ่านมาแทบไม่ได้มีการถอนเงินสดออกจากธนาคารเลย จึงมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงให้พนักงานสอบสวนสิ้นข้อสงสัยได้ทั้งหมด.
ที่มา.เดลินิวส์
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่สำนักการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ นายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความ ซึ่งเป็นตัวแทนของ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เดินทางเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หลังจากนั้นเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การสอบสวนเป็นไปทำนองเดียวกับเมื่อวาน ที่ตนเป็นตัวแทนของนายพานทองแท้ โดยได้นำบัญชีเงินฝากทั้ง 4 บัญชีของธนาคารต่าง ๆ มาชี้แจง เพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีการทำธุรกรรมใด ๆ นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 50 จนถึงปัจจุบัน
การเคลื่อนของเงินในบัญชีรายการใหญ่ มีเพียงครั้งเดียว คือการโอนเงิน 2.2 หมื่นล้านไปยังกรมบัญชีกลาง ตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการสอบถามถึงบัญชีเงินฝากในต่างประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่า การชี้แจงในส่วนของ น.ส.พิณทองทอง น่าจะสิ้นข้อสงสัยแล้ว คงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจงเพิ่มเติมอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ยังได้มอบหมายให้ทนายความนำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษด้วย ขณะที่ นางเยาวเรศ ชินวัตร์ ส่งหนังสือขอเลื่อนนัดในการเข้าให้ข้อมูล แต่ในส่วนของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง ทั้งยังมีรายงานว่า พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร จะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนในช่วงบ่ายด้วยตัวเอง
นายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้นำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวน แต่เพราะดีเอสไอ ยังมีคำถามที่ต้องการให้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเงินในอดีต โดยตนได้ขอเวลาจัดเตรียมเอกสาร แล้วจะเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 21 ก.ค. นี้ ส่วนตัวยืนยันว่าที่ผ่านมาแทบไม่ได้มีการถอนเงินสดออกจากธนาคารเลย จึงมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงให้พนักงานสอบสวนสิ้นข้อสงสัยได้ทั้งหมด.
ที่มา.เดลินิวส์
ความผิดพลาดของประเทศไทย
โดย กานดา นาคน้อย
แปลโดย สรินณา อารีธรรมศิริกุล
ที่มา: บทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ
(Overseas Thai Economic and Finance Association : OTEFA) Volume 2 Issue 1
"กานดา นาคน้อย" เขียนบทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี 2540
ขณะที่ฉันกำลังรวมเล่มจดหมายข่าวฉบับนี้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองไทยหรือไม่? วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดประสงค์ของสมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจมากเป็นประวัติการณ์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน บาดเจ็บ 2,000 คน [1] และคาดว่าผลผลิตประชาชาติ (จีดีพี) จะปรับตัวลดลง 2.5% [2] ในเชิงปริมาณผลกระทบเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใหญ่มากจนฉันตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองครั้งนี้ บทความนี้ตอบคำถามจากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายที่มักถามว่า
เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นกับประเทศไทย?
ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี2540
ประการแรก ขอเริ่มอธิบายปัญหาการกระจายรายได้ก่อน การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เพียงแต่ไม่เคยมีกลุ่มมวลชนนำมาเป็นประเด็นเพื่อเดินขบวนต่อต้าน แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นตอนนี้? แม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันกลับแย่ลง จากการอ้างอิงด้วยดัชนีจินี (Gini Coefficient) เมื่อ 40 ปีที่แล้วไทยมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันอันดับดัชนีจินีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวได้กลับตาลปัตรแม้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมได้บรรเทาลงชั่วคราวในปีแรกๆของรัฐบาลทักษิณ [3] ในทางภูมิศาสตร์ดัชนีจินีบ่งชี้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสาหัสกว่าภาคอื่นๆ [4] ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งให้พรรคการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ
ประการต่อมา วิกฤตเงินบาทในปี2540 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรม หลังจากที่บางบริษัทล้มหายตายจากไปในช่วงวิกฤต บริษัทใหม่ได้เกิดขึ้นมาแทน กลุ่มธุรกิจของอดีตนายกฯ ทักษิณและเพื่อนพ้องกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการสื่อสารและสื่อมวลชน การแข่งขันในภาคธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำความร่ำรวยมาสู่ผู้ประกอบการใหม่แต่ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาที่ถูกลงด้วย ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในต่างจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาถูกผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจ [กับการเมืองที่ผ่านมา-ผู้แปล] สามารถรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิกฤตเงินบาทเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดโดยกลุ่มข้าราชการ ด้วยเหตุนี้เองวิกฤตเงินบาทจึงกลายเป็นใบเบิกทางไปสู่การปฎิรูปหน่วยราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นเอกชน ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปหน่วยราชการและแปรรูปรัฐวิาสหกิจทำให้เกิดการต่อต้านจากข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผลสุดท้ายข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณให้กับนักธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ธุรกิจล่มสลายในช่วงวิกฤตเงินบาท ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติระหว่าง “กลุ่มข้าราชการที่ต่อต้านการปฎิรูป” กับ “กลุ่มที่สนับสนุนการปฎิรูป” สะท้อนชัดเจนจากการจลาจลต่อต้านข้าราชการในหลายจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุปคือ วิกฤตเงินบาทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่สั่งสมมานาน ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ด้วยการปฎิรูประบบภาษี กล่าวคือด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะจริงจังกับการปฎิรูประบบภาษีหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป
เอกสารต้นฉบับภาคภาษาอังกฤษ
http://www.krannert.purdue.edu/faculty/knaknoi/otefa/OTEFA_Newsletter_June_2010.pdf
อ้างอิง:
[1] See “Toll from Thai crisis rises to 88 since March,” Press Trust of India May 24 (2010): http://www.ptinews.com/news/665679_Toll-from-Thai-crisis-rises-to-88-since-March
[2] See “Thai Growth Positive, for Now,” Wall Street Journal, May 24 (2010):
http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704226004575263520169821394.html?mod=googlenews_wsj
[3] See Figure 3.7 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
[4] See Table A1.4 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
แปลโดย สรินณา อารีธรรมศิริกุล
ที่มา: บทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ
(Overseas Thai Economic and Finance Association : OTEFA) Volume 2 Issue 1
"กานดา นาคน้อย" เขียนบทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี 2540
ขณะที่ฉันกำลังรวมเล่มจดหมายข่าวฉบับนี้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองไทยหรือไม่? วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดประสงค์ของสมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจมากเป็นประวัติการณ์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน บาดเจ็บ 2,000 คน [1] และคาดว่าผลผลิตประชาชาติ (จีดีพี) จะปรับตัวลดลง 2.5% [2] ในเชิงปริมาณผลกระทบเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใหญ่มากจนฉันตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองครั้งนี้ บทความนี้ตอบคำถามจากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายที่มักถามว่า
เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นกับประเทศไทย?
ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี2540
ประการแรก ขอเริ่มอธิบายปัญหาการกระจายรายได้ก่อน การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เพียงแต่ไม่เคยมีกลุ่มมวลชนนำมาเป็นประเด็นเพื่อเดินขบวนต่อต้าน แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นตอนนี้? แม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันกลับแย่ลง จากการอ้างอิงด้วยดัชนีจินี (Gini Coefficient) เมื่อ 40 ปีที่แล้วไทยมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันอันดับดัชนีจินีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวได้กลับตาลปัตรแม้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมได้บรรเทาลงชั่วคราวในปีแรกๆของรัฐบาลทักษิณ [3] ในทางภูมิศาสตร์ดัชนีจินีบ่งชี้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสาหัสกว่าภาคอื่นๆ [4] ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งให้พรรคการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ
ประการต่อมา วิกฤตเงินบาทในปี2540 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรม หลังจากที่บางบริษัทล้มหายตายจากไปในช่วงวิกฤต บริษัทใหม่ได้เกิดขึ้นมาแทน กลุ่มธุรกิจของอดีตนายกฯ ทักษิณและเพื่อนพ้องกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการสื่อสารและสื่อมวลชน การแข่งขันในภาคธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำความร่ำรวยมาสู่ผู้ประกอบการใหม่แต่ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาที่ถูกลงด้วย ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในต่างจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาถูกผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจ [กับการเมืองที่ผ่านมา-ผู้แปล] สามารถรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิกฤตเงินบาทเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดโดยกลุ่มข้าราชการ ด้วยเหตุนี้เองวิกฤตเงินบาทจึงกลายเป็นใบเบิกทางไปสู่การปฎิรูปหน่วยราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นเอกชน ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปหน่วยราชการและแปรรูปรัฐวิาสหกิจทำให้เกิดการต่อต้านจากข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผลสุดท้ายข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณให้กับนักธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ธุรกิจล่มสลายในช่วงวิกฤตเงินบาท ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติระหว่าง “กลุ่มข้าราชการที่ต่อต้านการปฎิรูป” กับ “กลุ่มที่สนับสนุนการปฎิรูป” สะท้อนชัดเจนจากการจลาจลต่อต้านข้าราชการในหลายจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุปคือ วิกฤตเงินบาทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่สั่งสมมานาน ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ด้วยการปฎิรูประบบภาษี กล่าวคือด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะจริงจังกับการปฎิรูประบบภาษีหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป
เอกสารต้นฉบับภาคภาษาอังกฤษ
http://www.krannert.purdue.edu/faculty/knaknoi/otefa/OTEFA_Newsletter_June_2010.pdf
อ้างอิง:
[1] See “Toll from Thai crisis rises to 88 since March,” Press Trust of India May 24 (2010): http://www.ptinews.com/news/665679_Toll-from-Thai-crisis-rises-to-88-since-March
[2] See “Thai Growth Positive, for Now,” Wall Street Journal, May 24 (2010):
http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704226004575263520169821394.html?mod=googlenews_wsj
[3] See Figure 3.7 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
[4] See Table A1.4 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
เวทีถกร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เห็นพ้องคว่ำทั้งฉบับ ชี้ละเมิดสิทธิ-ขัด รธน.
โดย Niwat Puttaprasart
ภาคประชาชนลั่นค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด ระบุเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญ-จำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้าย แรง ด้านที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิลาออก เหตุสนับสนุนร่างกฎหมายจำกัดเสรีภาพ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน “ที่สาธารณะ” หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง
การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด
การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน
การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน
ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย
จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ
เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น
ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย
ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย
บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง
โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก
เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย
พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก
“เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา” กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา
เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข
นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว
จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
*************************
คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……
สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น
จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ด้วยจิตคารวะ
วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
----------------------------------------------------------------------------------------------------
Filed under การเมือง, สังคม Tagged with การเมือง, ประชาไท, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, พรก.ฉุกเฉิน, ระบอบอภิสิทธิ์, สิทธิมนุษยชน, สื่อมวลชน, เผด็จการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาคประชาชนลั่นค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด ระบุเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญ-จำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้าย แรง ด้านที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิลาออก เหตุสนับสนุนร่างกฎหมายจำกัดเสรีภาพ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน “ที่สาธารณะ” หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง
การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด
การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน
การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน
ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย
จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ
เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น
ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย
ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย
บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง
โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก
เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย
พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก
“เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา” กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา
เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข
นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว
จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
*************************
คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……
สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น
จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ด้วยจิตคารวะ
วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
----------------------------------------------------------------------------------------------------
Filed under การเมือง, สังคม Tagged with การเมือง, ประชาไท, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, พรก.ฉุกเฉิน, ระบอบอภิสิทธิ์, สิทธิมนุษยชน, สื่อมวลชน, เผด็จการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เงินบริจาคพันธมิตรฯทะลุ100 ล้าน เสียภาษีหรือยัง ?
"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ " สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ระบบสรรหา ได้ทำหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้ตรวจสอบการเสียภาษี กรณี เงินบริจาค"ASTV-เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)
"เรืองไกร" อ้าง จดหมายของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ทำขึ้นในนามแกนนำ พธม. เพื่อโต้ตอบนายวีระ สมความคิด ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า มีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นในนามบุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากบุคคลอื่นในรูปเงินบริจาค ซึ่งควรถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ที่จะต้องมีการเสียภาษีปีละสองครั้ง
หากจะเข้าใจ ความเป็นมาของปริศนาเงินบริจาค ต้องย้อนกลับไปดู เหตุการณ์ในปี 2551 กลาง สมรภูมิ สงครามครั้งสุดท้าย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหนึ่งในแกนนำ คนสำคัญ ได้ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานที่มั่น ได้มีการใช้ ASTV ถ่ายทอดสด การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ แบบเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง
ด้วยพลานุภาพแห่งพลังทุน มีการเรี่ยไรบริจาคเงินทุกวัน คุยข่มกันว่า หากเพียงแค่เหล่าบรรดาแกนนำเอ่ยปากร้องขอบนเวที ไม่ว่าอะไรก็สามารถเนรมิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว
บนเวที มีการป่าวประกาศ ว่า ยอดเงินบริจาคทะลุ 100 ล้านแล้ว (จ้า) แทบทุกคืน
ก่อนหน้านี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นเวทีเปิด ตู้ ป.ณ.100 ขอรับบริจาคเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายและค่าจ้างพนักงานเอเอสทีวี ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2551 -5 กันยายน 2551 ซึ่งได้มาถึง 13 ล้านบาท โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดรับอีก เพราะเอเอสทีวีสามารถอยู่ได้แล้วจากเงินของผู้ชุมนุมคนละ 200 บาท
ครั้งนั้น นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เคยกล่าวไว้ว่า ค่าใช้จ่ายของกลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ที่วันละ 1 ล้านบาท ในการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ค่าถ่ายทอดสัญญาณ แสงเสียง ค่าน้ำมันปั่นเครื่องไฟ ค่าสวัสดิการ อาหารของคณะทำงาน ค่าตอบแทนวิทยากรและศิลปิน ฯลฯ พร้อมกับแจกแจงข้อมูลเงินบริจาคที่แบ่งเป็น 2 บัญชี คือ บัญชียามเฝ้าแผ่นดิน และ บัญชีเอเอสทีวี
...น่าจะเป็นการชุมนุมโดยอหิงสาที่มีค่าใช้จ่ายต่อวันสูงกว่าการชุมนุมครั้งใด ๆ (ก่อนปี 2551)
เหตุใด บริษัท เอเอสทีวี จึงต้องเปิดขอรับเงินบริจาคกลางเวทีพันธมิตรฯ ? แล้วเงินบริจาคซึ่งถือว่าเป็นรายรับทั้งในส่วนของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน และ บริษัท เอเอสทีวี ที่ว่ากันว่าทะลุ 100 ล้านแล้วนั้น มีการเสียภาษีให้แก่แผ่นดินหรือไม่ เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ
แหล่งข่าวระดับสูงกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เงินบริจาค ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 ถ้าเงินบริจาคเข้าตัวบริษัทก็ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าเงินบริจาคเข้า กระเป๋าบุคคลธรรมดา ถือเป็นกรณีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 เช่นเดียวกัน
ก่อนหน้านี้ มีการก่อตั้ง "มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน" ที่นายสนธิ มีความคิดต้องการให้เป็นเหมือนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่รับเงินเดือนโดยตรงกับประชาชน จนนำไปสู่การจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 เมษายน 2550 มี นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นประธาน
มูลนิธิแห่งนี้ เปิดรับสมัครเป็นสมาชิกหนังสือยามเฝ้าแผ่นดินแทน ด้วยการส่งใบสมัครไปที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของบริษัท บุ๊ค ด็อท คอม, บริษัท เวิล์ดไวด์ มีเดีย, บริษัท ภูเก็ตบลูสกาย
ครั้งนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ผู้ที่สงสัยในการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถตรวจสอบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะทางทีมงานจะนำเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายผ่านบนเว็บไซต์ อีกทั้งการดำเนินงานของพันธมิตรฯ เป็นการดำเนินงานในลักษณะองค์กร
แต่จากวันนั้น จนถึงวันนี้ เงินบริจาค ค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ยังไม่เคยถูกตรวจสอบ โดยเฉพาะกรมสรรพากร ก็แสนดี ...นิ่งเงียบเป็นแมวนอนหวด
ผ่านไป 2 ปี เมื่อพันธมิตรฯทะเลาะกันเอง ข้อมูลก็โผล่ออกมาว่า เงินบริจาค ถูกแบ่งออกเป็น 5 กอง ประกอบด้วย 5 รายการ ดังนี้
1.บริจาคให้นายวีระ สมความคิด ผ่านคุณธิดาลักษณ์ วรรณวัฒนากิจเลขานายสนธิ ลิ้มทองกุล 2. บริจาคให้กองทุนสู้คดี (โดยคุณสุวัตร อภัยภักดิ์ เป็นผู้ดูแล) 3. กองทุนรักษาผู้บาดเจ็บ (โดยคุณพิภพ ธงไชย เป็นผู้ดูแล) 4. มูลนิธิจำลอง ศรีเมือง (โดยพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ดูแล) 5. ASTV (โดยผู้บริหาร ASTV เป็นผู้ดูแล)
จริง ๆ แล้ว เงินที่อยู่ในชื่อบุคคลต่าง ๆ ย่อมอาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 61 ของประมวลรัษฎากร ที่กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบว่า เงินที่บุคคลดูแลนั้น อยู่ในหนังสือสำคัญใด เช่น สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ (บัญชีกระแสเลขที่ 008-1-09707-0 , บัญชีเลขที่ 008-1-09660-0 , บัญชีเลขที่ 008-2-24447-8 หรือบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 157-0-06294-3) และเงินเหล่านั้นได้รับมาตั้งแต่ช่วงปีใด แต่ละปีมีเงินได้เท่าไร มีการเสียภาษีจากเงินได้ที่ปรากฏในหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบการโอนเงินได้ให้แก่บุคคลอื่นนั้น บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปนั้น มีใครบ้าง ได้รับในฐานะอะไร
หากนำเงินดังกล่าวมาหักออกตามสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 61 วรรคสอง ก็ควรตรวจสอบต่อไปด้วยว่า บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปอีกทอดหนึ่งนั้น มีการเสียภาษีแล้วหรือไม่ เช่น ค่าทนายความที่จ่ายครั้งละประมาณ 200,000 บาท จำนวนหลายครั้งรวมเป็นเงินหลายล้านบาท ทนายความผู้รับเงินมีการไปเสียภาษีประเภทเงินได้ค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามมาตรา 40 (6) อีกทอดหนึ่งหรือไม่
สำหรับเงินบริจาคในนามมูลนิธิ ถ้ามีการจดทะเบียนมูลนิธิดังกล่าวโดยถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 จากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
ทั้งนี้ มูลนิธิจะได้รับยกเว้นรายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) คือ เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี
จากข้อมูลของ"เรืองไกร"พบว่า เงินบริจาคของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินเพื่อพันธมิตรสู้คดีตั้งแต่ สิงหาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553 ปรากฏว่า มีเงินเหลือในบัญชี 10,737,284.83 บาท
ถ้าให้ดี "กรณ์ จาติกวณิช" น่าจะสั่งให้กรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบ โดยพลัน !!!
แต่ถ้ากลัวก็บอกมาตรงๆ จะได้รู้ว่า ประเทศนี้ 2 มาตรฐาน จริงๆ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"เรืองไกร" อ้าง จดหมายของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ทำขึ้นในนามแกนนำ พธม. เพื่อโต้ตอบนายวีระ สมความคิด ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า มีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นในนามบุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากบุคคลอื่นในรูปเงินบริจาค ซึ่งควรถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ที่จะต้องมีการเสียภาษีปีละสองครั้ง
หากจะเข้าใจ ความเป็นมาของปริศนาเงินบริจาค ต้องย้อนกลับไปดู เหตุการณ์ในปี 2551 กลาง สมรภูมิ สงครามครั้งสุดท้าย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหนึ่งในแกนนำ คนสำคัญ ได้ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานที่มั่น ได้มีการใช้ ASTV ถ่ายทอดสด การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ แบบเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง
ด้วยพลานุภาพแห่งพลังทุน มีการเรี่ยไรบริจาคเงินทุกวัน คุยข่มกันว่า หากเพียงแค่เหล่าบรรดาแกนนำเอ่ยปากร้องขอบนเวที ไม่ว่าอะไรก็สามารถเนรมิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว
บนเวที มีการป่าวประกาศ ว่า ยอดเงินบริจาคทะลุ 100 ล้านแล้ว (จ้า) แทบทุกคืน
ก่อนหน้านี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นเวทีเปิด ตู้ ป.ณ.100 ขอรับบริจาคเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายและค่าจ้างพนักงานเอเอสทีวี ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2551 -5 กันยายน 2551 ซึ่งได้มาถึง 13 ล้านบาท โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดรับอีก เพราะเอเอสทีวีสามารถอยู่ได้แล้วจากเงินของผู้ชุมนุมคนละ 200 บาท
ครั้งนั้น นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เคยกล่าวไว้ว่า ค่าใช้จ่ายของกลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ที่วันละ 1 ล้านบาท ในการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ค่าถ่ายทอดสัญญาณ แสงเสียง ค่าน้ำมันปั่นเครื่องไฟ ค่าสวัสดิการ อาหารของคณะทำงาน ค่าตอบแทนวิทยากรและศิลปิน ฯลฯ พร้อมกับแจกแจงข้อมูลเงินบริจาคที่แบ่งเป็น 2 บัญชี คือ บัญชียามเฝ้าแผ่นดิน และ บัญชีเอเอสทีวี
...น่าจะเป็นการชุมนุมโดยอหิงสาที่มีค่าใช้จ่ายต่อวันสูงกว่าการชุมนุมครั้งใด ๆ (ก่อนปี 2551)
เหตุใด บริษัท เอเอสทีวี จึงต้องเปิดขอรับเงินบริจาคกลางเวทีพันธมิตรฯ ? แล้วเงินบริจาคซึ่งถือว่าเป็นรายรับทั้งในส่วนของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน และ บริษัท เอเอสทีวี ที่ว่ากันว่าทะลุ 100 ล้านแล้วนั้น มีการเสียภาษีให้แก่แผ่นดินหรือไม่ เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ
แหล่งข่าวระดับสูงกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เงินบริจาค ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 ถ้าเงินบริจาคเข้าตัวบริษัทก็ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าเงินบริจาคเข้า กระเป๋าบุคคลธรรมดา ถือเป็นกรณีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 เช่นเดียวกัน
ก่อนหน้านี้ มีการก่อตั้ง "มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน" ที่นายสนธิ มีความคิดต้องการให้เป็นเหมือนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่รับเงินเดือนโดยตรงกับประชาชน จนนำไปสู่การจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 เมษายน 2550 มี นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นประธาน
มูลนิธิแห่งนี้ เปิดรับสมัครเป็นสมาชิกหนังสือยามเฝ้าแผ่นดินแทน ด้วยการส่งใบสมัครไปที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของบริษัท บุ๊ค ด็อท คอม, บริษัท เวิล์ดไวด์ มีเดีย, บริษัท ภูเก็ตบลูสกาย
ครั้งนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ผู้ที่สงสัยในการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถตรวจสอบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะทางทีมงานจะนำเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายผ่านบนเว็บไซต์ อีกทั้งการดำเนินงานของพันธมิตรฯ เป็นการดำเนินงานในลักษณะองค์กร
แต่จากวันนั้น จนถึงวันนี้ เงินบริจาค ค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ยังไม่เคยถูกตรวจสอบ โดยเฉพาะกรมสรรพากร ก็แสนดี ...นิ่งเงียบเป็นแมวนอนหวด
ผ่านไป 2 ปี เมื่อพันธมิตรฯทะเลาะกันเอง ข้อมูลก็โผล่ออกมาว่า เงินบริจาค ถูกแบ่งออกเป็น 5 กอง ประกอบด้วย 5 รายการ ดังนี้
1.บริจาคให้นายวีระ สมความคิด ผ่านคุณธิดาลักษณ์ วรรณวัฒนากิจเลขานายสนธิ ลิ้มทองกุล 2. บริจาคให้กองทุนสู้คดี (โดยคุณสุวัตร อภัยภักดิ์ เป็นผู้ดูแล) 3. กองทุนรักษาผู้บาดเจ็บ (โดยคุณพิภพ ธงไชย เป็นผู้ดูแล) 4. มูลนิธิจำลอง ศรีเมือง (โดยพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ดูแล) 5. ASTV (โดยผู้บริหาร ASTV เป็นผู้ดูแล)
จริง ๆ แล้ว เงินที่อยู่ในชื่อบุคคลต่าง ๆ ย่อมอาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 61 ของประมวลรัษฎากร ที่กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบว่า เงินที่บุคคลดูแลนั้น อยู่ในหนังสือสำคัญใด เช่น สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารต่าง ๆ (บัญชีกระแสเลขที่ 008-1-09707-0 , บัญชีเลขที่ 008-1-09660-0 , บัญชีเลขที่ 008-2-24447-8 หรือบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 157-0-06294-3) และเงินเหล่านั้นได้รับมาตั้งแต่ช่วงปีใด แต่ละปีมีเงินได้เท่าไร มีการเสียภาษีจากเงินได้ที่ปรากฏในหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบการโอนเงินได้ให้แก่บุคคลอื่นนั้น บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปนั้น มีใครบ้าง ได้รับในฐานะอะไร
หากนำเงินดังกล่าวมาหักออกตามสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 61 วรรคสอง ก็ควรตรวจสอบต่อไปด้วยว่า บุคคลอื่นที่ได้รับเงินไปอีกทอดหนึ่งนั้น มีการเสียภาษีแล้วหรือไม่ เช่น ค่าทนายความที่จ่ายครั้งละประมาณ 200,000 บาท จำนวนหลายครั้งรวมเป็นเงินหลายล้านบาท ทนายความผู้รับเงินมีการไปเสียภาษีประเภทเงินได้ค่าธรรมเนียมวิชาชีพตามมาตรา 40 (6) อีกทอดหนึ่งหรือไม่
สำหรับเงินบริจาคในนามมูลนิธิ ถ้ามีการจดทะเบียนมูลนิธิดังกล่าวโดยถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 จากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
ทั้งนี้ มูลนิธิจะได้รับยกเว้นรายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) คือ เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี
จากข้อมูลของ"เรืองไกร"พบว่า เงินบริจาคของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินเพื่อพันธมิตรสู้คดีตั้งแต่ สิงหาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553 ปรากฏว่า มีเงินเหลือในบัญชี 10,737,284.83 บาท
ถ้าให้ดี "กรณ์ จาติกวณิช" น่าจะสั่งให้กรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบ โดยพลัน !!!
แต่ถ้ากลัวก็บอกมาตรงๆ จะได้รู้ว่า ประเทศนี้ 2 มาตรฐาน จริงๆ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
.ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดย : ยศ สันตสมบัติ
24 มิถุนายน 2475 ถูกปล้นชิงความหมายทางประวัติศาสตร์ไปเนิ่นนาน จนทุกวันนี้ ไม่ได้ยินใครเอ่ยอ้างถึงหลักหกประการของคณะราษฎร
โดยเฉพาะเจตนาในการท้าทายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งในเวลานั้น กลายเป็นระบบล้าสมัย และไร้ประสิทธิภาพในการนำพาสยามประเทศให้พัฒนาสถาพรทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ คณะราษฎรประกอบไปด้วย ข้าราชการพลเรือนและทหาร ซึ่งบางส่วนเป็นอดีตนักเรียนนอกหัวสมัยใหม่ ที่ต้องการชักนำระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมาสู่แผ่นดินสยาม
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ส่งผลให้ชนชั้นนำแห่งสยามประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มเจ้าถูกลดบทบาทลงอย่างชัดเจน และกลุ่มขุนนางข้าราชการเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น แต่สภาวะวุ่นวายโกลาหลของสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำใหม่ ระหว่างพลเรือนและทหาร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล้มเหลวในการปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ ทำให้อุดมการณ์ของคณะราษฎรไม่อาจเป็นจริงได้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่งผลให้สยามประเทศไปไม่ถึงประชาธิปไตย และเป็นได้แค่ระบอบคณาธิปไตยเต็มรูปแบบ ระบบอุปถัมภ์ยังคงจำเริญแข็งแรง และผลิตซ้ำตนเองภายใต้วัฒนธรรมการเมืองแบบรัฐราชการของไทยได้อย่างแข็งขัน
ยิ่งไปกว่านั้น ความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำใหม่ นำไปสู่การช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง บริบททางการเมืองเช่นนี้ เอื้อให้เผด็จการทหารสามารถสถาปนาตนเองอย่างมั่นคงยาวนานนับเนื่องแต่ปี 2489 ไปจนถึง 2516 การยึดอำนาจขับไล่จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2500 ปิดศักราชของยุคนักเรียนนอกในแวดวงการเมืองไทย และนำไปสู่การหวนคืนของทฤษฎีมหาบุรุษอย่างเข้มแข็ง ทหารและราชสำนักค้ำจุนพึ่งพิงกันอย่างแยกไม่ออก นาฏรัฐและระบบมันดาลา บนพื้นฐานของแนวคิดเทวราชา และผู้มีบุญได้รับการสถาปนาใหม่ จนมีพลังอำนาจอย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ความขัดแย้งในกลุ่มทหารจากปัญหาการสืบทอดอำนาจในกลุ่มจอมพลถนอม กิตติขจร และเครือญาติ ผนวกกับกระแสการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มข้น จากขบวนการนิสิตนักศึกษา นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และมีส่วนทำให้เผด็จการทหารที่เคยผูกขาดอำนาจในระบบการเมืองไทยเริ่มอ่อนกำลังลง เปิดโอกาสให้นักการเมืองอาชีพและนักธุรกิจ ตลอดจนชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีบทบาทบนเวทีการเมืองมากขึ้น จนแม้เมื่อกลุ่มทหารช่วงชิงอำนาจกลับคืนไปในปี 2519 แต่การผูกขาดอำนาจโดยกลุ่มทหารเพียงลำพังกลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่อาจกระทำสืบต่อไปได้ การครองอำนาจติดต่อกันนานถึงแปดปีของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่เศรษฐีและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ อาศัยความได้เปรียบจากนโยบายพัฒนาประเทศแบบรวมศูนย์อำนาจที่ดูดซับทรัพยากรทั้งประเทศไปกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางมานานหลายสิบปี จนช่วงชิงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์รวยกระจุกจนกระจาย ชนบทยากจนลงและช่วยตัวเองได้น้อยลง ภาคเกษตรอยู่ในสภาวะล้มละลาย ทำให้เกษตรกรต้องปากกัดตีนถีบดิ้นรนออกไปทำงานนอกภาคเกษตร จนพัฒนาโครงสร้างของอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางชนชั้นในชนบทอย่างมากมายมหาศาล แต่จนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ก็ยังคงกีดกันไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้ "ไอ้พวกบ้านนอก" มีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัญหาทางสังคมการเมืองก็ซับซ้อนตามผลประโยชน์ที่มีมากขึ้น แต่โครงสร้างทางการเมืองที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทำให้ปัญหาถูกหมกเม็ดจนหมักหมมยากแก่การแก้ไข สังคมซับซ้อนขึ้น อำนาจนำจึงไม่อาจทำงานแบบเดิมได้อีกต่อไป แต่โครงสร้างทางการเมืองและชนชั้นนำกลับไม่ยอมเปิดกว้าง ไม่ยอมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้กำหนดชะตากรรมของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ไตรลักษณะของความขัดแย้งในสังคมไทย คือ ความขัดแย้งทางความคิด ผลประโยชน์และอำนาจ ยังคงผลิตซ้ำตัวเองภายใต้โครงสร้างของระบบการเมืองที่ล้าสมัยและกีดขวางการเปลี่ยนแปลงการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความขัดแย้งภายในกลุ่มชนชั้นนำมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น จากปัญหาการสืบทอดอำนาจในวงศ์ตระกูล บวกกับไตรลักษณะของความขัดแย้งแบบเดิม ความขัดแย้งที่เคยเกี้ยเซียะกันมาได้กลับทำไม่ได้อีกต่อไป ส่งผลให้ความขัดแย้งบานปลายและลุกลามออกไปในสู่ประชาชนหลากกลุ่มหลายสี ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาในการทำหน้าที่จัดสรรผลประโยชน์และไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การขาดวัฒนธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และการไม่มีเวทีหรือพื้นที่และกลไกในการเจรจาต่อรองด้วยสันติวิธี ผนวกกับการใช้สื่อในการสร้างวาทกรรมและความชอบธรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ความขัดแย้งหนักหนาสาหัสมากขึ้น
ปรากฏการณ์ความขัดแย้งทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้น ทำให้เราอาจฟันธงได้ว่า 24 มิถุนายน 2553 นับเวลา รวม 78 ปีหลังคณะราษฎร ไทยยังคงเป็นสังคมอำนาจนิยมที่มีการปกครองแบบคณาธิปไตยเฉกเช่นในอดีต จะมีข้อแตกต่างจากเดิมเล็กน้อยตรงที่ว่า ในปัจจุบัน ชนชั้นนำ โดยเฉพาะนักการเมืองและทหาร ไม่อาจแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในอดีต
ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงฝันสวยตรงปลายรุ้งที่จะเลือนหายไปยามฟ้าเปิดหลังฝน ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจำต้องพร่ำบอกตนเองว่า ไม่มีใครสามารถหยิบยื่นประชาธิปไตยให้เราได้ หากเราไม่สร้างขึ้นมาเอง ในทำนองเดียวกัน เราควรจะถามตัวเราเองว่า เราจะเลือกข้างและทะเลาะกันเพราะชนชั้นนำไปทำไม พวกนี้มาแล้วก็ไป ดุจมายาภาพ ประชาชนต่างหากที่เป็นผู้สร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง ถึงเวลาที่พลังประชาชนจะปฏิรูปการปกครอง เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์แห่งวิถีประชาธิปไตยต่อจากคณะราษฎร
24 มิถุนายน 2475 ถูกปล้นชิงความหมายทางประวัติศาสตร์ไปเนิ่นนาน จนทุกวันนี้ ไม่ได้ยินใครเอ่ยอ้างถึงหลักหกประการของคณะราษฎร
โดยเฉพาะเจตนาในการท้าทายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งในเวลานั้น กลายเป็นระบบล้าสมัย และไร้ประสิทธิภาพในการนำพาสยามประเทศให้พัฒนาสถาพรทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ คณะราษฎรประกอบไปด้วย ข้าราชการพลเรือนและทหาร ซึ่งบางส่วนเป็นอดีตนักเรียนนอกหัวสมัยใหม่ ที่ต้องการชักนำระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมาสู่แผ่นดินสยาม
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ส่งผลให้ชนชั้นนำแห่งสยามประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มเจ้าถูกลดบทบาทลงอย่างชัดเจน และกลุ่มขุนนางข้าราชการเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น แต่สภาวะวุ่นวายโกลาหลของสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำใหม่ ระหว่างพลเรือนและทหาร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล้มเหลวในการปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ ทำให้อุดมการณ์ของคณะราษฎรไม่อาจเป็นจริงได้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่งผลให้สยามประเทศไปไม่ถึงประชาธิปไตย และเป็นได้แค่ระบอบคณาธิปไตยเต็มรูปแบบ ระบบอุปถัมภ์ยังคงจำเริญแข็งแรง และผลิตซ้ำตนเองภายใต้วัฒนธรรมการเมืองแบบรัฐราชการของไทยได้อย่างแข็งขัน
ยิ่งไปกว่านั้น ความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำใหม่ นำไปสู่การช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง บริบททางการเมืองเช่นนี้ เอื้อให้เผด็จการทหารสามารถสถาปนาตนเองอย่างมั่นคงยาวนานนับเนื่องแต่ปี 2489 ไปจนถึง 2516 การยึดอำนาจขับไล่จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2500 ปิดศักราชของยุคนักเรียนนอกในแวดวงการเมืองไทย และนำไปสู่การหวนคืนของทฤษฎีมหาบุรุษอย่างเข้มแข็ง ทหารและราชสำนักค้ำจุนพึ่งพิงกันอย่างแยกไม่ออก นาฏรัฐและระบบมันดาลา บนพื้นฐานของแนวคิดเทวราชา และผู้มีบุญได้รับการสถาปนาใหม่ จนมีพลังอำนาจอย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ความขัดแย้งในกลุ่มทหารจากปัญหาการสืบทอดอำนาจในกลุ่มจอมพลถนอม กิตติขจร และเครือญาติ ผนวกกับกระแสการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มข้น จากขบวนการนิสิตนักศึกษา นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และมีส่วนทำให้เผด็จการทหารที่เคยผูกขาดอำนาจในระบบการเมืองไทยเริ่มอ่อนกำลังลง เปิดโอกาสให้นักการเมืองอาชีพและนักธุรกิจ ตลอดจนชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีบทบาทบนเวทีการเมืองมากขึ้น จนแม้เมื่อกลุ่มทหารช่วงชิงอำนาจกลับคืนไปในปี 2519 แต่การผูกขาดอำนาจโดยกลุ่มทหารเพียงลำพังกลายเป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่อาจกระทำสืบต่อไปได้ การครองอำนาจติดต่อกันนานถึงแปดปีของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่เศรษฐีและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ อาศัยความได้เปรียบจากนโยบายพัฒนาประเทศแบบรวมศูนย์อำนาจที่ดูดซับทรัพยากรทั้งประเทศไปกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางมานานหลายสิบปี จนช่วงชิงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์รวยกระจุกจนกระจาย ชนบทยากจนลงและช่วยตัวเองได้น้อยลง ภาคเกษตรอยู่ในสภาวะล้มละลาย ทำให้เกษตรกรต้องปากกัดตีนถีบดิ้นรนออกไปทำงานนอกภาคเกษตร จนพัฒนาโครงสร้างของอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางชนชั้นในชนบทอย่างมากมายมหาศาล แต่จนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ก็ยังคงกีดกันไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้ "ไอ้พวกบ้านนอก" มีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัญหาทางสังคมการเมืองก็ซับซ้อนตามผลประโยชน์ที่มีมากขึ้น แต่โครงสร้างทางการเมืองที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทำให้ปัญหาถูกหมกเม็ดจนหมักหมมยากแก่การแก้ไข สังคมซับซ้อนขึ้น อำนาจนำจึงไม่อาจทำงานแบบเดิมได้อีกต่อไป แต่โครงสร้างทางการเมืองและชนชั้นนำกลับไม่ยอมเปิดกว้าง ไม่ยอมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้กำหนดชะตากรรมของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ไตรลักษณะของความขัดแย้งในสังคมไทย คือ ความขัดแย้งทางความคิด ผลประโยชน์และอำนาจ ยังคงผลิตซ้ำตัวเองภายใต้โครงสร้างของระบบการเมืองที่ล้าสมัยและกีดขวางการเปลี่ยนแปลงการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความขัดแย้งภายในกลุ่มชนชั้นนำมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น จากปัญหาการสืบทอดอำนาจในวงศ์ตระกูล บวกกับไตรลักษณะของความขัดแย้งแบบเดิม ความขัดแย้งที่เคยเกี้ยเซียะกันมาได้กลับทำไม่ได้อีกต่อไป ส่งผลให้ความขัดแย้งบานปลายและลุกลามออกไปในสู่ประชาชนหลากกลุ่มหลายสี ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาในการทำหน้าที่จัดสรรผลประโยชน์และไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การขาดวัฒนธรรมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และการไม่มีเวทีหรือพื้นที่และกลไกในการเจรจาต่อรองด้วยสันติวิธี ผนวกกับการใช้สื่อในการสร้างวาทกรรมและความชอบธรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ความขัดแย้งหนักหนาสาหัสมากขึ้น
ปรากฏการณ์ความขัดแย้งทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้น ทำให้เราอาจฟันธงได้ว่า 24 มิถุนายน 2553 นับเวลา รวม 78 ปีหลังคณะราษฎร ไทยยังคงเป็นสังคมอำนาจนิยมที่มีการปกครองแบบคณาธิปไตยเฉกเช่นในอดีต จะมีข้อแตกต่างจากเดิมเล็กน้อยตรงที่ว่า ในปัจจุบัน ชนชั้นนำ โดยเฉพาะนักการเมืองและทหาร ไม่อาจแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในอดีต
ประชาธิปไตยยังคงเป็นเพียงฝันสวยตรงปลายรุ้งที่จะเลือนหายไปยามฟ้าเปิดหลังฝน ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจำต้องพร่ำบอกตนเองว่า ไม่มีใครสามารถหยิบยื่นประชาธิปไตยให้เราได้ หากเราไม่สร้างขึ้นมาเอง ในทำนองเดียวกัน เราควรจะถามตัวเราเองว่า เราจะเลือกข้างและทะเลาะกันเพราะชนชั้นนำไปทำไม พวกนี้มาแล้วก็ไป ดุจมายาภาพ ประชาชนต่างหากที่เป็นผู้สร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง ถึงเวลาที่พลังประชาชนจะปฏิรูปการปกครอง เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์แห่งวิถีประชาธิปไตยต่อจากคณะราษฎร
อำนาจเผด็จการ
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
การจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงาและประธานกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ขณะรณรงค์กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงและผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตำรวจ สน.ลุมพินีควบคุมตัวตามหมายจับข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กรณีที่นายสมบัติร่วมชุมนุมในช่วง 19 พฤษภาคม บริเวณเลียบทางด่วน ลาดพร้าว 71 และต่อมาถูกส่งไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อรอศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สอบปากคำ
นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนหลายสาขาอาชีพร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำที่คุกคามพลเมืองที่มีคุณูปการต่อสังคม และแสดงให้เห็นความไม่มีความจริงใจของรัฐบาลในการสร้างความปรองดอง โดยเฉพาะการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องรับผิดในการจับกุมคุมขังโดยไม่มีข้อกล่าวหา ทำให้ความปรองดองของรัฐบาลเป็นเพียงการสร้างภาพ เป็นการปรองดองจอมปลอมและหลอกลวง
ที่สำคัญนายสมบัติถือเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นายสมบัติได้เขียนจดหมายถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ให้สนับสนุนการรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและปล่อยตัวประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองทั้งหมด
เพราะการอ้างคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งที่การชุมนุมได้ยุติมากว่า 1 เดือนนั้น รัฐบาลสามารถใช้กฎหมายอาญาปรกติเพื่อติดตามและจัดการกับผู้กระทำความผิดร้ายแรง แต่การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นไม่เพียงรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังถูกมองว่าต้องการปกปิดข้อเท็จจริงในเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคมอีกด้วย
นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินปิดกั้นและแทรกแซงสื่อ ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ด้วยการปิดเคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และเว็บไซต์จำนวนมาก ยิ่งสะท้อนว่ารัฐบาลต้องการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารไม่ให้ประชาชนรับรู้ในความเห็นตรงข้ามหรือเห็นต่างจากรัฐบาล
การใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ครอบจักรวาลและการยัดเยียดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนต้องรับฟังได้จากฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียวนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการแล้ว ยังจะยิ่งตอกย้ำความแตกแยกและความขัดแย้งให้ร้าวลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่การสร้างความปรองดองอย่างที่รัฐบาลประกาศ
การจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงาและประธานกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ขณะรณรงค์กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงและผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตำรวจ สน.ลุมพินีควบคุมตัวตามหมายจับข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กรณีที่นายสมบัติร่วมชุมนุมในช่วง 19 พฤษภาคม บริเวณเลียบทางด่วน ลาดพร้าว 71 และต่อมาถูกส่งไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อรอศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สอบปากคำ
นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนหลายสาขาอาชีพร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำที่คุกคามพลเมืองที่มีคุณูปการต่อสังคม และแสดงให้เห็นความไม่มีความจริงใจของรัฐบาลในการสร้างความปรองดอง โดยเฉพาะการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องรับผิดในการจับกุมคุมขังโดยไม่มีข้อกล่าวหา ทำให้ความปรองดองของรัฐบาลเป็นเพียงการสร้างภาพ เป็นการปรองดองจอมปลอมและหลอกลวง
ที่สำคัญนายสมบัติถือเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นายสมบัติได้เขียนจดหมายถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ให้สนับสนุนการรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและปล่อยตัวประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองทั้งหมด
เพราะการอ้างคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งที่การชุมนุมได้ยุติมากว่า 1 เดือนนั้น รัฐบาลสามารถใช้กฎหมายอาญาปรกติเพื่อติดตามและจัดการกับผู้กระทำความผิดร้ายแรง แต่การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นไม่เพียงรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังถูกมองว่าต้องการปกปิดข้อเท็จจริงในเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคมอีกด้วย
นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินปิดกั้นและแทรกแซงสื่อ ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ด้วยการปิดเคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และเว็บไซต์จำนวนมาก ยิ่งสะท้อนว่ารัฐบาลต้องการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารไม่ให้ประชาชนรับรู้ในความเห็นตรงข้ามหรือเห็นต่างจากรัฐบาล
การใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ครอบจักรวาลและการยัดเยียดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนต้องรับฟังได้จากฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียวนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการแล้ว ยังจะยิ่งตอกย้ำความแตกแยกและความขัดแย้งให้ร้าวลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่การสร้างความปรองดองอย่างที่รัฐบาลประกาศ
"อภิสิทธิ์"ลั่นจะดำเนินการตามกฎหมาย หากเพื่อไทยใช้เวทีหาเสียงกล่าวหา "ฆ่าประชาชน"
"อภิสิทธิ์" ปัดตอบเรื่องเป้าหมายลอบวงระเบิด 40 แห่ง ไม่รู้ใครพูด โบ้ยให้ไปถามที่ประชาธิปัตย์เอง ลั่นการปราศรัยเลือกตั้งซ่อมถ้าโจมตีว่าฆ่าประชาชนจะดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งความผิดส่วนตัวและความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
วานนี้ (28 มิ.ย.) เวลา 16.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุลอบยิงระเบิดอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ว่า ยังไม่ได้รับรายงาน แต่คิดว่าศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) คงจะประเมินเรื่องนี้ คงต้องให้ทาง ศอฉ. วิเคราะห์ว่าเหตุใดการก่อวินาศกรรมถึงกลับมาอีกครั้งในช่วงนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาระบุว่ามีเป้าหมายในการลอบวางระเบิด 40 แห่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ว่าไม่ทราบว่าใครพูด ต้องไปถามเจ้าตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเกิดเหตุวินาศกรรมในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 6 คิดว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องประเมินภาพรวมอยู่แล้ว เพื่อพิจารณาเรื่องการต่ออายุพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ห่วงหรือไม่ว่าอาจเกิดความรุนแรงในช่วงการเลือกตั้งซ่อม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็พยายามให้ทุกฝ่ายช่วยกัน อย่าให้มันเป็นอย่างนั้น เข้าใจว่าการสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในช่วงเช้าของวันที่ 28 มิถุนายนก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ไม่มีอะไร อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต้องช่วยกันเฝ้าระวัง เพราะมันไม่เป็นประโยชน์กับใครหากเกิดความรุนแรงขึ้นในช่วงที่มีการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) อาจใช้เวทีการเลือกตั้งซ่อมเป็นเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดงอีกครั้งนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนต้องพิจารณาว่าแนวทางการดำเนินการของ พท. เป็นแนวทางไหนกันแน่ เพราะปกติการรณรงค์ในการเลือกตั้งเป็นการขอเสียงสนับสนุนเพื่อไปผลักดันนโยบายและไปทำหน้าที่ แต่ถ้าใช้เวทีในลักษณะยุยงให้เกิดความรุนแรง เกิดความไม่สงบขึ้น ก็ทำไม่ได้ หากมีการใส่ร้ายกันก็ผิดกฎหมายเลือกตั้งอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการโจมตีว่านายกรัฐมนตรีฆ่าประชาชนจะฟ้องดำเนินคดีหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะมีทั้งความผิดส่วนตัว และความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งด้วยหากเป็นการใส่ร้าย
ที่มา.มติชนออนไลน์
วานนี้ (28 มิ.ย.) เวลา 16.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุลอบยิงระเบิดอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ว่า ยังไม่ได้รับรายงาน แต่คิดว่าศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) คงจะประเมินเรื่องนี้ คงต้องให้ทาง ศอฉ. วิเคราะห์ว่าเหตุใดการก่อวินาศกรรมถึงกลับมาอีกครั้งในช่วงนี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาระบุว่ามีเป้าหมายในการลอบวางระเบิด 40 แห่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ว่าไม่ทราบว่าใครพูด ต้องไปถามเจ้าตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเกิดเหตุวินาศกรรมในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 6 คิดว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องประเมินภาพรวมอยู่แล้ว เพื่อพิจารณาเรื่องการต่ออายุพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ห่วงหรือไม่ว่าอาจเกิดความรุนแรงในช่วงการเลือกตั้งซ่อม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็พยายามให้ทุกฝ่ายช่วยกัน อย่าให้มันเป็นอย่างนั้น เข้าใจว่าการสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในช่วงเช้าของวันที่ 28 มิถุนายนก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ไม่มีอะไร อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต้องช่วยกันเฝ้าระวัง เพราะมันไม่เป็นประโยชน์กับใครหากเกิดความรุนแรงขึ้นในช่วงที่มีการเลือกตั้ง
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) อาจใช้เวทีการเลือกตั้งซ่อมเป็นเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดงอีกครั้งนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนต้องพิจารณาว่าแนวทางการดำเนินการของ พท. เป็นแนวทางไหนกันแน่ เพราะปกติการรณรงค์ในการเลือกตั้งเป็นการขอเสียงสนับสนุนเพื่อไปผลักดันนโยบายและไปทำหน้าที่ แต่ถ้าใช้เวทีในลักษณะยุยงให้เกิดความรุนแรง เกิดความไม่สงบขึ้น ก็ทำไม่ได้ หากมีการใส่ร้ายกันก็ผิดกฎหมายเลือกตั้งอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการโจมตีว่านายกรัฐมนตรีฆ่าประชาชนจะฟ้องดำเนินคดีหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะมีทั้งความผิดส่วนตัว และความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งด้วยหากเป็นการใส่ร้าย
ที่มา.มติชนออนไลน์
ทำนายเลือกตั้งต้นปี′54 ผ่าน"นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ " นักรัฐศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ "การปฏิวัติสยาม2475"
แนวคิดและทัศนะของนักรัฐศาสตร์ผู้นี้น่าสนใจไม่น้อย สูตรหลายพรรคผสมพันธุ์ !! น่าทัศนา...ไม่ใช่น้อย
ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เคยเป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มา 6 ปี ล่าสุด นักรัฐศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือ " การปฎิวัติสยาม 2475" ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้เข้ามาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่เจ้าตัวบอกว่า "อย่าเรียกผมว่า อรหันต์ ไม่ชอบเลย ไม่ได้อยากจะเป็นด้วย"
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา "ดร.นครินทร์ "ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง" ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แนวคิดและทัศนะของนักรัฐศาสตร์ผู้นี้น่าสนใจ ดังนี้
@มรดกทางการเมืองจาก 2475 ถึงปฎิวัติใหญ่ 2540
ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์ และนักเรียนประวัติศาสตร์ ต้องเริ่มต้นว่า ประชาธิปไตยไทยและประชาธิปไตยของทุกประเทศ มีความมหัศจรรย์ แม้มีรูปแบบความเป็นมาจากแหล่งใด แต่เมื่อไปเติบโตในสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีเนื้อหาที่คลุกเคล้าไปกับสังคมนั้นเสมอ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องประเมิน มีอยู่ 2 มิติ คือ มิติทางประวัติศาสตร์ กับ มิติทางสังคม
มิติทางประวัติศาสตร์นั้น ประชาธิปไตยไทยในหลายสิบปีทีผ่านมา ไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่มีวิวัฒนาการและจุดพลิกผันอยู่หลายจุด แต่ละจุดมีมรดกตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 25 ปีแรกของประชาธิปไตยไทย มีลักษณะกึ่งประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร มีบทบาทนำ หลายคนบอกว่าเป็นเผด็จการ แต่ผมว่า ไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง ตั้งแต่ยุคแรกแล้ว
ความจริงในช่วง 25 ปีแรก เรามีนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่สายอีสานหลายคน ไม่ว่าจะเป็น เตียง ศิริขันธ์ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้ว คนกรุงเทพก็ไม่ควรลืม ไถง สุวรรณทัต จะบอกว่ายุคนี้เป็นเผด็จการ คงไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตยที่กึ่งผสมผสานระหว่างพลังของสังคมกับพลังของคณะราษฎร ผมเรียกว่า กึ่งประชาธิปไตย ที่คณะราษฎรมีบทบาทนำ ความจริงมีมรดกที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันหลายเรื่อง
ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ทำให้ผมนึกถึงประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หลังรัฐประหาร 2490 เรามีรัฐบาลคู่ มีนายกรัฐมนตรี 2 คน อยู่ 7-8 เดือน กบฎบวรเดช มีการยิงถล่มกันที่กรุงเทพดอนเมือง หลายเดือน นายทหารชั้นผู้ใหญ่ตายไปหลายคน เรื่องเหล่านี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นี่ยังไม่พูดเรื่องการเนรเทศ ผู้นำออกนอกประเทศ อย่าลืมว่า นายกรัฐมนตรีคนแรก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี เดือนเดียว แต่พอพ้นตำแหน่งต้องไปอยู่เมืองนอก 14 ปี และสิ้นชีวิตที่ปีนัง มาเลเซีย นี่ยังไม่พูดถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา แม้ไม่ได้ถูกเนรเทศ แต่ก็ถูก อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลย์สงคราม จัดการ
16 ปีถัดมา 2500-2516 เราก้าวเข้ามาสู่ยุคทหารปกครองประเทศจริงๆ เป็นเผด็จการเต็มรูป หรือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มรดกของยุคนี้คือ ประกาศคณะปฎิวัติ ธรรมนูญ มาตรา 17 ความจริง คนที่เติบใหญ่ในการเมืองไทยขณะนี้ ต่างได้ประโยชน์จากการพัฒนาประเทศสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ทั้งสิ้น โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา ระบบมหาวิทยาลัย และระบบการเกษตรกรรมแบบใหม่ในชนบท คนที่ทำพืชไร เติบโต ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น เราจะไม่มีคำว่า เจ้าพ่อ เกิดขึ้น เจ้าพ่อก็คือ ชาวนาที่ร่ำรวย
@ รัฐบาลผสมไม่ใช่ปัญหาของการเมือง
หลังปี 2516 การเมืองไทย ได้ก้าวไปสู่อีกยุคที่การเมืองไทยมีการแบ่งปันอำนาจกันหลายฝ่าย ถ้าดูรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปี 2540 จะพบว่าเป็นรัฐบาลผสมทั้งหมด อาจเป็นการผสมระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ นักรัฐศาสตร์หลายคน เรียกว่า กึ่งพรรคการเมือง กึ่งข้าราชการ หรือ พลังการตลาด กับ พลังของรัฐ แต่อีกมิติหนึ่ง คือ การผสมกันระหว่างผู้นำในกรุงเทพกับผู้นำในต่างจังหวัด ในปี 2517 -2518 เราเห็นการเติบใหญ่ของผู้นำจากชนบท หลายคนก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรี
การก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เราต้องนึกถึงผู้นำจากชนบท ว่า เขาต้องมีที่มีทาง ถ้านับจากคะแนนเสียงจาการเลือกตั้ง คนกรุงเทพ ปกครองประเทศไม่ได้ ถ้าไม่มี ส.ส. จากต่างจังหวัด มาร่วมด้วยช่วยกัน แน่นอนว่า รัฐบาลผสม มีความผันผวน มีการรัฐประหาร แม้ว่าจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่หลังปี 2520 เกิดความวุ่นวายมาก เป็นช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันอำนาจของฝ่ายต่างๆ
ช่วงนั้น นักวิชาการ สื่อ นักธุรกิจ ภาคประชาชน ต่าง รังเกียจ ไม่ชอบเลยกับ คำว่า รัฐบาลผสม แต่สำหรับนักการเมือง ไม่มีปัญหาเลยกับรัฐบาลผสม เหตุที่คนไม่ชอบรัฐบาลผสม เพราะเชื่อว่า เป็นรัฐบาลที่ฮั้วกัน ต่างคนต่างมาแบ่งประเทศกินกัน มองแง่ร้ายมาก ทั้งๆ ที่ รัฐบาลผสม เป็นเรื่องที่ท้าทายความรู้ทางรัฐศาสตร์มาก เพราะรัฐบาลในยุโรปทั้งหมดเป็นรัฐบาลผสม แต่เราตอนนั้น ไม่อยากได้รัฐบาลผสม เราอยากได้รัฐบาล 2 พรรค แต่ท้ายที่สุด เราได้รัฐบาลพรรคเดียว
แต่ที่น่าสนใจคือ ปี 2540 สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้การเมืองไทย ต้องเป็นอยู่ทุกวันนี้ หลายคนชอบ หลายคนไม่เข้าใจ นั่นคือ การนำหลักการตรวจสอบ ผมถือว่าหลังปี 2540 ในความเห็นของผม คือ การปฎิวัติใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจริงๆ เพราะระบบการตรวจสอบ ทำให้การเมืองแบบรัฐสภา ดั้งเดิม ที่เป็นการแบ่งปันอำนาจกันระหว่างหลายฝ่าย เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีตัวละครเพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ บรรดา องค์กรอิสระต่างๆ มีการตรวจสอบการใช้อำนาจ
การเปลี่ยนแปลงในปี 2540 เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม เรามีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คำถามคือ ใครเป็นคนอนุญาตให้ องค์กรพวกนี้ เข้ามาในการเมืองไทย เราไปเอาเข้ามาได้อย่างไร ความจริง เราต้องสำรวจตัวเองว่า ทำไมเราเอาระบบพวกนี้เข้ามา
ผมยังจำได้ว่า ตอนแรกที่มี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แรกๆ คนก็ไม่เข้าใจว่า ศาลฎีกาของนักการเมือง ทำงานอย่างไร เพราะไม่มีใครอยากทำคดีนักการเมือง ท้ายที่สุด นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ติดคุก และที่สำคัญคือ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ต้องมาขึ้นศาลฎีกาแห่งนี้ หลังปี 2540 เนื้อหาประชาธิปไตยไทยเปลี่ยนไปจริงๆ
@ อย่าเอาระบบคิวซีมาใช้กับร้านขายข้าวแกง
ผมอยากเรียกระบบตรวจสอบที่เกิดขึ้นในปี 2540 ว่าเป็นระบบ คิวซี ผมเชื่อว่า คนไทยทำข้าวแกงมานาน แต่ถ้าเอาระบบคิวซี มาใช้กับร้านขายข้าวแกง ผมกล้ายืนยันว่า ร้านขายข้าวแกง เจ๊ง อยู่ไม่ได้ ไล่มาตั้งแต่การปรุงอาหาร การล้างจาน การกำจัดของเสีย สุขอนามัยต่างๆ เอาระบบคิวซี มาตรวจสอบ ร้านข้าวแกง ไม่ได้ เจ๊งทั้งระบบ แน่ๆ แต่เราก็เอาระบบคิวซี เข้ามาในการเมืองไทย หลายคนยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน วุ่นวายมาก ตรวจสอบกันวุ่นวาย เป็นกติกาที่มัดคอตัวเอง เราเดินมาถึงจุดที่เราไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เป็นการตรวจสอบที่ต้องมีลายลักษณ์อักษร ปัญหาหนึ่งก็คือ บ้านเรามีคนเรียนกฎหมายมหาชน น้อยเกินไป ส่วนใหญ่คนเรียนกฎหมายบ้านเราเรียนกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ทำให้สังคมเรามีรากฐานทางกฎหมายมหาชนที่ไม่เข้มแข็ง จนเกิดปัญหาการตีความ การใช้กฎหมายวุ่นวายไปหมด
เรื่องที่สองที่ผมจะกล่าวคือ มิติทางสังคม ประชาธิปไตย ไม่ได้เกิดในสุญญากาศ แต่มันเกิดในสภาพสังคมใดสังคมหนึ่งเสมอ สังคมไทยมีลักษณะพิเศษมาก เราเป็นสังคมที่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนาน เราเป็นพวกที่ชอบ เคลื่อนไหว นักมนุษยวิทยา บอกว่า คนไทย โมบาย หรือ เคลื่อนที่ตลอด ผมไม่เคยเจอว่า ชุมชนใดที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน 700 ปี สังคมไทยมีโครงสร้างการรวมกลุ่ม ตรงกลาง และอุทิศทำงานเพื่อส่วนกลาง น้อยมาก อ่อนแอมาก สะท้อนผ่าน สมาคมต่างๆ หรือ นิติบุคคลอาคารชุด
ทุกคนอยากได้บริการดีๆ แต่ไม่มีใครอยากจ่าย ไม่ใครอยากทำงาน ไม่มีใครอยากเสียสละ คนไทยไม่มีชีวิตตรงกลาง เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาธิปไตยจะเคลื่อนโดนกลุ่มคนชั้นนำ เพราะตัวสมาคมไม่ทำงาน สังคมไทยก็เป็นแบบนี้ หากมองผ่าน องค์กรปกครองท้องถิ่นกว่า 7,500 แห่ง ทั้ง อบต. เทศบาล มีการประชุมปีละไม่เกิน 4 ครั้ง เพื่อประชุมผ่านงบประมาณเท่านั้น
นี่คือ ชีวิตการเมืองของไทย ที่มีลักษณะพิเศษ เฉพาะมาก การเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งหมด เคลื่อนไหวโดยนักเคลื่อนไหวจริงๆ ไม่มากนัก ชีวิตระดับกลาง ประชาคม ท้องถิ่นก็เหมือนกัน มีแต่รูป ไม่มีเนื้อหา สาระอยู่ภายใน ไม่มีแก่นสาร ไม่มีใครยอมเสียสละ ไม่มีใครอยากทำงาน ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ต้องฝ่าฝัน ต้องบากบั่น สร้างวัฒนธรรม และองค์กรใหม่ อีกมาก
@ สังคมแตกแยก หลากหลาย แต่ต้องศิวิไลซ์
จริงๆ แล้ว สังคมไทยมีความหลากหลายมากกว่าที่เราคิด และแตกแยกมากกว่าที่เราคิด เพียงแต่ว่าคนกรุงเทพมองชนบท ก็มองว่าเป็นหนึ่งเดียว เป็นเอกภาพเดียว แต่ชนชั้นในชนบท ไม่ใช่มีแค่ชาวนารวย ชาวนาจน แต่มีพวกรวยเก่า พวกรวยใหม่ มีกลางบน และกลางล่าง จนแบบไม่มีที่ดินทำกิน ในชนบทมี 5-6 ชนชั้น แต่คนกรุงเทพมองว่า คนชนบท ชาวนาเหมือนกันหมด แต่จริง ๆ มีความแตกต่างกันมาก ยิ่งในเมืองยิ่งแตกต่าง หลากหลาย ฉะนั้นอย่าไปมองว่า สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ผมไม่ค่อยห่วงจินตภาพตรงนี้ แตกต่างไม่เป็นไร แต่ปัญหาว่า มันศิวิไลซ์ หรือเปล่า ต่างหาก คือความแตกแยกมันต้องอยู่กับความศิวิไลซ์ด้วย สิ่งที่ผมสนใจคือ สังคมที่แตกแยก มันต้องมีความศิวิไลซ์ และต้องมีนวัตกรรม ด้วย เช่น ถ้าเรามีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ผมยืนยันได้ว่า เราจะมีพรรคแรงงงานที่เข้มแข็ง เช่นเดียวกันถ้าเราไม่มีกลุ่มเกษตรกร ก็จะไม่มีพรรคเกษตร มันเป็นฐานที่ต่อเนื่องกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในทางการเมือง หลายสังคมที่แตกแยก แต่การเมืองนิ่งได้ เพราะสังคมไม่ใช่การเมืองทั้งหมด สังคมไทยมีคน 63-65 ล้านคน แต่คนในการเมืองมีเพียงไม่กี่พันคน แต่ปัญหาที่ผ่านมา การเมือง ไประดมให้คนมาเล่นการเมือง เหมือนเป็นความเชื่อทางศาสนาไปเลย การเมืองเป็นส่วนย่อยที่ต้องพัฒนากฎกติกา ให้ศิวิไลซ์
@ ฟันธงเลือกตั้งต้นปีหน้า สูตรผสมพันธ์ ความจำสั้น
ผมไม่อยากให้คาดหวังว่า รัฐไทยจะศิวิไลซ์ ทำไมเราไมคาดหวังว่า รัฐไทยจะศิวิไลซ์ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่รัฐที่ศิวิไลซ์ มันไม่ได้มีความเป็นเสรีนิยม มาก่อน เป็นพื้นฐาน ถ้าเราเป็นเสรีนิยมมาก่อนเป็นพื้นฐาน ต้องเป็นแบบแองโกลแซกซอน รัฐไทยโดยธรรมชาติ มีแนวโน้มจะเป็นรัฐบาลอำนาจนิยม เช่น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้ประกาศคณะปฎิวัติ ถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจริงๆ ต้องกวาด ประกาศคณะปฎิวัติออกไปให้หมด จริงๆ แล้ว เราไม่ได้ศิวิไลซ์ขนาดนั้น
เท่าที่ผมมีข้อมูล เลือกตั้งต้นปีหน้า ผมไม่เชื่อว่า จะเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ก่อนครบเทอม อย่างที่ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์เชื่อ ถ้าแหล่งข่าว ผมไม่ผิด เลือกตั้งต้นปีหน้า ผมเชื่อว่า นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็อยากเป็นสุภาพบุรุษ ยกเว้นว่า มีการระเบิด มีการเผา ก็เลือกตั้งต้นปีหน้าไม่ได้
จริงๆ แล้ว ฝ่ายบริหารที่ดี จะไม่ประกาศยุบสภาล่วงหน้า เหตุผลเพราะ ประกาศยุบสภาแล้ว กลไกจะไม่ทำงาน ทุกอย่างจะหยุดนิ่ง เพราะข้าราชการคาดหวังว่า รัฐบาลจะอยู่ไม่นานแล้ว ฉะนั้น ต้องอย่าบอกวันหมดอายุ ครับ ผมเห็นต่างจากอาจารย์ฐิตินันท์ ผมเห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่กลัวการเลือกตั้ง ผมคุยกับแกนนำพรรคบางคน การเมืองหลังการเลือกตั้งจะเป็นสูตรที่ดีที่สุดคือ พรรคการเมืองใหม่ผสมพันธ์กัน เป็นรัฐบาลผสม
สังคมไทยมีความมหัศจรรย์ มีข้อดี อย่างหนึ่งคือ ความจำสั้น อย่าจำอะไรนาน ความจำยาว จะมีความอาฆาตแค้นกันข้ามชั่วรุ่นคน แต่จริงแล้ว คนไทยความจำสั้น เกิดขึ้นเมื่อวานก็ลืมแล้ว เชื่อผมเถอะ แน่นอนว่า ความจำก็ดีอย่างหนึ่ง เหมาะกับคนเรียนประวัติศาสตร์ ถ้าความจำไม่ดี เขียนประวัติศาสตร์ไม่ได้
แต่จำมากไปก็ไม่ดี เพราจะทำให้เราทำงานกับคนรอบข้างไม่ได้เลย ผู้นำไทยก็มีสภาพความจำสั้น ไม่เคยรู้ว่าความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผมจำได้ว่า เหตุการณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 น่ากลัวกว่าครั้งนี้ เช่นเดียวกับกบฎบวรเดช มีการสู้รบกันถึง หินกอง ถึงโคราช กบฎแมนแฮตตันก็น่ากลัวกว่านี้ เราลืมไปหมดแล้ว
ผมว่า ความจำน้อยดีกว่า จะได้ปรองดองกันง่ายๆ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เคยเป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มา 6 ปี ล่าสุด นักรัฐศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือ " การปฎิวัติสยาม 2475" ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้เข้ามาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่เจ้าตัวบอกว่า "อย่าเรียกผมว่า อรหันต์ ไม่ชอบเลย ไม่ได้อยากจะเป็นด้วย"
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา "ดร.นครินทร์ "ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง" ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แนวคิดและทัศนะของนักรัฐศาสตร์ผู้นี้น่าสนใจ ดังนี้
@มรดกทางการเมืองจาก 2475 ถึงปฎิวัติใหญ่ 2540
ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์ และนักเรียนประวัติศาสตร์ ต้องเริ่มต้นว่า ประชาธิปไตยไทยและประชาธิปไตยของทุกประเทศ มีความมหัศจรรย์ แม้มีรูปแบบความเป็นมาจากแหล่งใด แต่เมื่อไปเติบโตในสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีเนื้อหาที่คลุกเคล้าไปกับสังคมนั้นเสมอ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องประเมิน มีอยู่ 2 มิติ คือ มิติทางประวัติศาสตร์ กับ มิติทางสังคม
มิติทางประวัติศาสตร์นั้น ประชาธิปไตยไทยในหลายสิบปีทีผ่านมา ไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่มีวิวัฒนาการและจุดพลิกผันอยู่หลายจุด แต่ละจุดมีมรดกตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 25 ปีแรกของประชาธิปไตยไทย มีลักษณะกึ่งประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร มีบทบาทนำ หลายคนบอกว่าเป็นเผด็จการ แต่ผมว่า ไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง ตั้งแต่ยุคแรกแล้ว
ความจริงในช่วง 25 ปีแรก เรามีนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่สายอีสานหลายคน ไม่ว่าจะเป็น เตียง ศิริขันธ์ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้ว คนกรุงเทพก็ไม่ควรลืม ไถง สุวรรณทัต จะบอกว่ายุคนี้เป็นเผด็จการ คงไม่ใช่ เพราะมีการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตยที่กึ่งผสมผสานระหว่างพลังของสังคมกับพลังของคณะราษฎร ผมเรียกว่า กึ่งประชาธิปไตย ที่คณะราษฎรมีบทบาทนำ ความจริงมีมรดกที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันหลายเรื่อง
ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ทำให้ผมนึกถึงประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หลังรัฐประหาร 2490 เรามีรัฐบาลคู่ มีนายกรัฐมนตรี 2 คน อยู่ 7-8 เดือน กบฎบวรเดช มีการยิงถล่มกันที่กรุงเทพดอนเมือง หลายเดือน นายทหารชั้นผู้ใหญ่ตายไปหลายคน เรื่องเหล่านี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นี่ยังไม่พูดเรื่องการเนรเทศ ผู้นำออกนอกประเทศ อย่าลืมว่า นายกรัฐมนตรีคนแรก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี เดือนเดียว แต่พอพ้นตำแหน่งต้องไปอยู่เมืองนอก 14 ปี และสิ้นชีวิตที่ปีนัง มาเลเซีย นี่ยังไม่พูดถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา แม้ไม่ได้ถูกเนรเทศ แต่ก็ถูก อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลย์สงคราม จัดการ
16 ปีถัดมา 2500-2516 เราก้าวเข้ามาสู่ยุคทหารปกครองประเทศจริงๆ เป็นเผด็จการเต็มรูป หรือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ มรดกของยุคนี้คือ ประกาศคณะปฎิวัติ ธรรมนูญ มาตรา 17 ความจริง คนที่เติบใหญ่ในการเมืองไทยขณะนี้ ต่างได้ประโยชน์จากการพัฒนาประเทศสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ทั้งสิ้น โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา ระบบมหาวิทยาลัย และระบบการเกษตรกรรมแบบใหม่ในชนบท คนที่ทำพืชไร เติบโต ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น เราจะไม่มีคำว่า เจ้าพ่อ เกิดขึ้น เจ้าพ่อก็คือ ชาวนาที่ร่ำรวย
@ รัฐบาลผสมไม่ใช่ปัญหาของการเมือง
หลังปี 2516 การเมืองไทย ได้ก้าวไปสู่อีกยุคที่การเมืองไทยมีการแบ่งปันอำนาจกันหลายฝ่าย ถ้าดูรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปี 2540 จะพบว่าเป็นรัฐบาลผสมทั้งหมด อาจเป็นการผสมระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการ นักรัฐศาสตร์หลายคน เรียกว่า กึ่งพรรคการเมือง กึ่งข้าราชการ หรือ พลังการตลาด กับ พลังของรัฐ แต่อีกมิติหนึ่ง คือ การผสมกันระหว่างผู้นำในกรุงเทพกับผู้นำในต่างจังหวัด ในปี 2517 -2518 เราเห็นการเติบใหญ่ของผู้นำจากชนบท หลายคนก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรี
การก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ เราต้องนึกถึงผู้นำจากชนบท ว่า เขาต้องมีที่มีทาง ถ้านับจากคะแนนเสียงจาการเลือกตั้ง คนกรุงเทพ ปกครองประเทศไม่ได้ ถ้าไม่มี ส.ส. จากต่างจังหวัด มาร่วมด้วยช่วยกัน แน่นอนว่า รัฐบาลผสม มีความผันผวน มีการรัฐประหาร แม้ว่าจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่หลังปี 2520 เกิดความวุ่นวายมาก เป็นช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันอำนาจของฝ่ายต่างๆ
ช่วงนั้น นักวิชาการ สื่อ นักธุรกิจ ภาคประชาชน ต่าง รังเกียจ ไม่ชอบเลยกับ คำว่า รัฐบาลผสม แต่สำหรับนักการเมือง ไม่มีปัญหาเลยกับรัฐบาลผสม เหตุที่คนไม่ชอบรัฐบาลผสม เพราะเชื่อว่า เป็นรัฐบาลที่ฮั้วกัน ต่างคนต่างมาแบ่งประเทศกินกัน มองแง่ร้ายมาก ทั้งๆ ที่ รัฐบาลผสม เป็นเรื่องที่ท้าทายความรู้ทางรัฐศาสตร์มาก เพราะรัฐบาลในยุโรปทั้งหมดเป็นรัฐบาลผสม แต่เราตอนนั้น ไม่อยากได้รัฐบาลผสม เราอยากได้รัฐบาล 2 พรรค แต่ท้ายที่สุด เราได้รัฐบาลพรรคเดียว
แต่ที่น่าสนใจคือ ปี 2540 สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้การเมืองไทย ต้องเป็นอยู่ทุกวันนี้ หลายคนชอบ หลายคนไม่เข้าใจ นั่นคือ การนำหลักการตรวจสอบ ผมถือว่าหลังปี 2540 ในความเห็นของผม คือ การปฎิวัติใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจริงๆ เพราะระบบการตรวจสอบ ทำให้การเมืองแบบรัฐสภา ดั้งเดิม ที่เป็นการแบ่งปันอำนาจกันระหว่างหลายฝ่าย เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีตัวละครเพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ บรรดา องค์กรอิสระต่างๆ มีการตรวจสอบการใช้อำนาจ
การเปลี่ยนแปลงในปี 2540 เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม เรามีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คำถามคือ ใครเป็นคนอนุญาตให้ องค์กรพวกนี้ เข้ามาในการเมืองไทย เราไปเอาเข้ามาได้อย่างไร ความจริง เราต้องสำรวจตัวเองว่า ทำไมเราเอาระบบพวกนี้เข้ามา
ผมยังจำได้ว่า ตอนแรกที่มี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แรกๆ คนก็ไม่เข้าใจว่า ศาลฎีกาของนักการเมือง ทำงานอย่างไร เพราะไม่มีใครอยากทำคดีนักการเมือง ท้ายที่สุด นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ติดคุก และที่สำคัญคือ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ต้องมาขึ้นศาลฎีกาแห่งนี้ หลังปี 2540 เนื้อหาประชาธิปไตยไทยเปลี่ยนไปจริงๆ
@ อย่าเอาระบบคิวซีมาใช้กับร้านขายข้าวแกง
ผมอยากเรียกระบบตรวจสอบที่เกิดขึ้นในปี 2540 ว่าเป็นระบบ คิวซี ผมเชื่อว่า คนไทยทำข้าวแกงมานาน แต่ถ้าเอาระบบคิวซี มาใช้กับร้านขายข้าวแกง ผมกล้ายืนยันว่า ร้านขายข้าวแกง เจ๊ง อยู่ไม่ได้ ไล่มาตั้งแต่การปรุงอาหาร การล้างจาน การกำจัดของเสีย สุขอนามัยต่างๆ เอาระบบคิวซี มาตรวจสอบ ร้านข้าวแกง ไม่ได้ เจ๊งทั้งระบบ แน่ๆ แต่เราก็เอาระบบคิวซี เข้ามาในการเมืองไทย หลายคนยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน วุ่นวายมาก ตรวจสอบกันวุ่นวาย เป็นกติกาที่มัดคอตัวเอง เราเดินมาถึงจุดที่เราไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เป็นการตรวจสอบที่ต้องมีลายลักษณ์อักษร ปัญหาหนึ่งก็คือ บ้านเรามีคนเรียนกฎหมายมหาชน น้อยเกินไป ส่วนใหญ่คนเรียนกฎหมายบ้านเราเรียนกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ทำให้สังคมเรามีรากฐานทางกฎหมายมหาชนที่ไม่เข้มแข็ง จนเกิดปัญหาการตีความ การใช้กฎหมายวุ่นวายไปหมด
เรื่องที่สองที่ผมจะกล่าวคือ มิติทางสังคม ประชาธิปไตย ไม่ได้เกิดในสุญญากาศ แต่มันเกิดในสภาพสังคมใดสังคมหนึ่งเสมอ สังคมไทยมีลักษณะพิเศษมาก เราเป็นสังคมที่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนาน เราเป็นพวกที่ชอบ เคลื่อนไหว นักมนุษยวิทยา บอกว่า คนไทย โมบาย หรือ เคลื่อนที่ตลอด ผมไม่เคยเจอว่า ชุมชนใดที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน 700 ปี สังคมไทยมีโครงสร้างการรวมกลุ่ม ตรงกลาง และอุทิศทำงานเพื่อส่วนกลาง น้อยมาก อ่อนแอมาก สะท้อนผ่าน สมาคมต่างๆ หรือ นิติบุคคลอาคารชุด
ทุกคนอยากได้บริการดีๆ แต่ไม่มีใครอยากจ่าย ไม่ใครอยากทำงาน ไม่มีใครอยากเสียสละ คนไทยไม่มีชีวิตตรงกลาง เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาธิปไตยจะเคลื่อนโดนกลุ่มคนชั้นนำ เพราะตัวสมาคมไม่ทำงาน สังคมไทยก็เป็นแบบนี้ หากมองผ่าน องค์กรปกครองท้องถิ่นกว่า 7,500 แห่ง ทั้ง อบต. เทศบาล มีการประชุมปีละไม่เกิน 4 ครั้ง เพื่อประชุมผ่านงบประมาณเท่านั้น
นี่คือ ชีวิตการเมืองของไทย ที่มีลักษณะพิเศษ เฉพาะมาก การเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งหมด เคลื่อนไหวโดยนักเคลื่อนไหวจริงๆ ไม่มากนัก ชีวิตระดับกลาง ประชาคม ท้องถิ่นก็เหมือนกัน มีแต่รูป ไม่มีเนื้อหา สาระอยู่ภายใน ไม่มีแก่นสาร ไม่มีใครยอมเสียสละ ไม่มีใครอยากทำงาน ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ต้องฝ่าฝัน ต้องบากบั่น สร้างวัฒนธรรม และองค์กรใหม่ อีกมาก
@ สังคมแตกแยก หลากหลาย แต่ต้องศิวิไลซ์
จริงๆ แล้ว สังคมไทยมีความหลากหลายมากกว่าที่เราคิด และแตกแยกมากกว่าที่เราคิด เพียงแต่ว่าคนกรุงเทพมองชนบท ก็มองว่าเป็นหนึ่งเดียว เป็นเอกภาพเดียว แต่ชนชั้นในชนบท ไม่ใช่มีแค่ชาวนารวย ชาวนาจน แต่มีพวกรวยเก่า พวกรวยใหม่ มีกลางบน และกลางล่าง จนแบบไม่มีที่ดินทำกิน ในชนบทมี 5-6 ชนชั้น แต่คนกรุงเทพมองว่า คนชนบท ชาวนาเหมือนกันหมด แต่จริง ๆ มีความแตกต่างกันมาก ยิ่งในเมืองยิ่งแตกต่าง หลากหลาย ฉะนั้นอย่าไปมองว่า สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ผมไม่ค่อยห่วงจินตภาพตรงนี้ แตกต่างไม่เป็นไร แต่ปัญหาว่า มันศิวิไลซ์ หรือเปล่า ต่างหาก คือความแตกแยกมันต้องอยู่กับความศิวิไลซ์ด้วย สิ่งที่ผมสนใจคือ สังคมที่แตกแยก มันต้องมีความศิวิไลซ์ และต้องมีนวัตกรรม ด้วย เช่น ถ้าเรามีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ผมยืนยันได้ว่า เราจะมีพรรคแรงงงานที่เข้มแข็ง เช่นเดียวกันถ้าเราไม่มีกลุ่มเกษตรกร ก็จะไม่มีพรรคเกษตร มันเป็นฐานที่ต่อเนื่องกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในทางการเมือง หลายสังคมที่แตกแยก แต่การเมืองนิ่งได้ เพราะสังคมไม่ใช่การเมืองทั้งหมด สังคมไทยมีคน 63-65 ล้านคน แต่คนในการเมืองมีเพียงไม่กี่พันคน แต่ปัญหาที่ผ่านมา การเมือง ไประดมให้คนมาเล่นการเมือง เหมือนเป็นความเชื่อทางศาสนาไปเลย การเมืองเป็นส่วนย่อยที่ต้องพัฒนากฎกติกา ให้ศิวิไลซ์
@ ฟันธงเลือกตั้งต้นปีหน้า สูตรผสมพันธ์ ความจำสั้น
ผมไม่อยากให้คาดหวังว่า รัฐไทยจะศิวิไลซ์ ทำไมเราไมคาดหวังว่า รัฐไทยจะศิวิไลซ์ รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่รัฐที่ศิวิไลซ์ มันไม่ได้มีความเป็นเสรีนิยม มาก่อน เป็นพื้นฐาน ถ้าเราเป็นเสรีนิยมมาก่อนเป็นพื้นฐาน ต้องเป็นแบบแองโกลแซกซอน รัฐไทยโดยธรรมชาติ มีแนวโน้มจะเป็นรัฐบาลอำนาจนิยม เช่น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้ประกาศคณะปฎิวัติ ถ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจริงๆ ต้องกวาด ประกาศคณะปฎิวัติออกไปให้หมด จริงๆ แล้ว เราไม่ได้ศิวิไลซ์ขนาดนั้น
เท่าที่ผมมีข้อมูล เลือกตั้งต้นปีหน้า ผมไม่เชื่อว่า จะเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ก่อนครบเทอม อย่างที่ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์เชื่อ ถ้าแหล่งข่าว ผมไม่ผิด เลือกตั้งต้นปีหน้า ผมเชื่อว่า นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็อยากเป็นสุภาพบุรุษ ยกเว้นว่า มีการระเบิด มีการเผา ก็เลือกตั้งต้นปีหน้าไม่ได้
จริงๆ แล้ว ฝ่ายบริหารที่ดี จะไม่ประกาศยุบสภาล่วงหน้า เหตุผลเพราะ ประกาศยุบสภาแล้ว กลไกจะไม่ทำงาน ทุกอย่างจะหยุดนิ่ง เพราะข้าราชการคาดหวังว่า รัฐบาลจะอยู่ไม่นานแล้ว ฉะนั้น ต้องอย่าบอกวันหมดอายุ ครับ ผมเห็นต่างจากอาจารย์ฐิตินันท์ ผมเห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่กลัวการเลือกตั้ง ผมคุยกับแกนนำพรรคบางคน การเมืองหลังการเลือกตั้งจะเป็นสูตรที่ดีที่สุดคือ พรรคการเมืองใหม่ผสมพันธ์กัน เป็นรัฐบาลผสม
สังคมไทยมีความมหัศจรรย์ มีข้อดี อย่างหนึ่งคือ ความจำสั้น อย่าจำอะไรนาน ความจำยาว จะมีความอาฆาตแค้นกันข้ามชั่วรุ่นคน แต่จริงแล้ว คนไทยความจำสั้น เกิดขึ้นเมื่อวานก็ลืมแล้ว เชื่อผมเถอะ แน่นอนว่า ความจำก็ดีอย่างหนึ่ง เหมาะกับคนเรียนประวัติศาสตร์ ถ้าความจำไม่ดี เขียนประวัติศาสตร์ไม่ได้
แต่จำมากไปก็ไม่ดี เพราจะทำให้เราทำงานกับคนรอบข้างไม่ได้เลย ผู้นำไทยก็มีสภาพความจำสั้น ไม่เคยรู้ว่าความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผมจำได้ว่า เหตุการณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 น่ากลัวกว่าครั้งนี้ เช่นเดียวกับกบฎบวรเดช มีการสู้รบกันถึง หินกอง ถึงโคราช กบฎแมนแฮตตันก็น่ากลัวกว่านี้ เราลืมไปหมดแล้ว
ผมว่า ความจำน้อยดีกว่า จะได้ปรองดองกันง่ายๆ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สื่อ กับ รัฐ! อะไรควร‘ปฏิรูป’
ใครกัน คือ ผู้ที่ทำลายประเทศชาติตัวจริง? ใครกัน คือ บ่อนทำลายให้ประชาชนหันหน้าเข้ามาห้ำหั่นกัน? คำถามเหล่านี้ถูกโยนมาให้ “รัฐบาล” และ “สื่อสารมวลชน” เป็นผู้ตอบ...เพราะต่างเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ “สมานแผล” ให้เกิดความสามัคคีปรองดองขึ้นในสังคม แต่ความเป็นจริง “สื่อสารมวลชน”
กับ “รัฐบาล” ยังไม่คิดที่จะปรองดองกัน...แล้วพวกเขาจะไปสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นแก่คนในสังคมได้อย่างไร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุผลสำคัญคือการไม่รู้จักคำว่า “หน้าที่”“สื่อมวลชน” มีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง “รัฐบาล” มีหน้าที่บริหารและราชการแผ่นดิน และพร้อมเสมอกับ
การรับการตรวจสอบ แล้วใครกันคือ “ผู้ที่ล้ำเส้น” ทำตัวเป็นมาเฟียประเทศ...สั่งการปิดหูปิตาปิดปากประชาชน...เพียงเพื่อให้ “ความจริง” ไม่กลายมาเป็นภัยมาทำร้ายตัวพวกเขาเอง ดูตัวอย่างได้จากปีนี้ คือ ช่วงเวลาครบรอบ 10 ปีแห่งการสรรหาคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2543 แต่ทำไมเวลายิ่งผ่าน...การบริหารงานกลับยิ่งล้มเหลว เพราะล่าสุดรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ร่างกฎหมายเพื่อขัดขวางมิให้ผู้มีส่วนได้ – ส่วนเสียเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการ...ซึ่งดูท่าจะ “ล้มเหลว” ตั้งแต่ยังไม่ตั้งไข่ การประกาศพรก.ฉุกเฉิน จึงมีเบื้องลึก
เบื้องหลังเกี่ยวกับการจัดสรรสื่อ เพราะทันทีที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกสอดไส้ด้วยผู้ก่อการร้ายบุก เผา ยิง ระเบิดจนวอดวาย ส่งผลให้รัฐบาลออกหน้าโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีใบสั่ง “กำจัด” กลุ่มคนเสื้อแดง จริงๆ แล้ว “สื่อ” ต้องเป็น
เครื่องมือสำคัญที่จะตอบคำถามให้ความกระจ่างกับสังคมแทนรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่ทำไมรัฐบาลกลับมองว่าสื่อคือ “ชนวน” ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ รัฐบาลจึงปฏิบัติการควบคุมสื่อทุกแขนงโดยให้เหตุผลว่า “เข้าข่าย ยุ แหย่ให้เกิดความไม่สงบ” ก่อนสั่งระงับการเผยแพร่สื่อตลอดจน
การเรียกพบเพื่อทำข้อตกลง ได้รับรายงานจาก “วิชาญ อุ่นอก” เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ว่า...ช่วงการชุมนุมทางการเมืองได้มีการหนังสือส่งไปยังวิทยุชุมชนทั่วประเทศเพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนควบคุมเนื้อหารายการที่จะออกอากาศ โดยพยายามให้หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามเกี่ยวกับนโยบาย
การทำงานของรัฐบาล หลังจากนั้นได้มีการเชิญตัวแทนวิทยุชุมชนไปทำความเข้าใจที่ ศอฉ. โดยระบุว่า...การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงนั้นผิดกฎหมายห้ามวิทยุชุมชนเสนอข่าว รวมทั้งขอความร่วมมือให้วิทยุชุมชนเป็นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ยังมีการเรียกวิทยุชุมชนเข้าลงบันทึกความร่วมมือ...
เพื่อควบคุมเนื้อหาในการออกอากาศซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ หลังเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองมีคำสั่งปิดวิทยุชุมชนรวม 14 สถานี ทั้งในรูปแบบมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรและใช้กองกำลังทหารเขาไปรื้อและย้ายที่ทำการสถานี ที่ผ่านมา...วิทยุชุมชนต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแสดงความชัดเจน
ในการสั่งระงับการออกอากาศอย่างไม่มีกำหนด...แต่ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบรับ โดยสถานีที่โดนชะลอสิทธิ์ออกอากาศและโดนเพิกถอนสิทธิการออกอากาศ...นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเอกสารไม่ครบถ้วนแล้ว หลายสถานีได้มีการนำเสนอรายทางที่มีเนื้อหาทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิที่สามารถสื่อสารได้ และข้อมูล
ที่นำเสนอก็ไม่ได้เข้าข่ายที่จะนำไปสู่ความรุนแรง แต่อาจจะอยู่ในลักษณะที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล สุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ระบุว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และมอบหมายให้ศอฉ. รับผิดชอบหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ได้มีการ “สั่งปิดเว็บไซต์” ไปจำนวนมาก โดยไม่มีการชี้แจงว่า...ปิดเพราะอะไร? หรือ ศอฉ. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ผ่านอำนาจของตุลาการ สื่อ กับ รัฐ...เปรียบเสมือน
หยิน กับ หยาง เพราะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิด “ความสมดุล” แต่วันนี้ใครกันที่ทำให้ความสมดุลเหล่านั้นสูญสิ้นไป...ใครกันที่ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง “มีอำนาจ” แล้วใช้อย่างหน้ามืดตามัว เชื่อว่าประชาชนคงตอบได้ “สื่อ” หรือ “รัฐ” ที่ควรถูกจับขึ้นเขียง...โดนชำแหละเพื่อให้เกิดการปฏิรูป!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
กับ “รัฐบาล” ยังไม่คิดที่จะปรองดองกัน...แล้วพวกเขาจะไปสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นแก่คนในสังคมได้อย่างไร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุผลสำคัญคือการไม่รู้จักคำว่า “หน้าที่”“สื่อมวลชน” มีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง “รัฐบาล” มีหน้าที่บริหารและราชการแผ่นดิน และพร้อมเสมอกับ
การรับการตรวจสอบ แล้วใครกันคือ “ผู้ที่ล้ำเส้น” ทำตัวเป็นมาเฟียประเทศ...สั่งการปิดหูปิตาปิดปากประชาชน...เพียงเพื่อให้ “ความจริง” ไม่กลายมาเป็นภัยมาทำร้ายตัวพวกเขาเอง ดูตัวอย่างได้จากปีนี้ คือ ช่วงเวลาครบรอบ 10 ปีแห่งการสรรหาคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2543 แต่ทำไมเวลายิ่งผ่าน...การบริหารงานกลับยิ่งล้มเหลว เพราะล่าสุดรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ร่างกฎหมายเพื่อขัดขวางมิให้ผู้มีส่วนได้ – ส่วนเสียเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการ...ซึ่งดูท่าจะ “ล้มเหลว” ตั้งแต่ยังไม่ตั้งไข่ การประกาศพรก.ฉุกเฉิน จึงมีเบื้องลึก
เบื้องหลังเกี่ยวกับการจัดสรรสื่อ เพราะทันทีที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกสอดไส้ด้วยผู้ก่อการร้ายบุก เผา ยิง ระเบิดจนวอดวาย ส่งผลให้รัฐบาลออกหน้าโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีใบสั่ง “กำจัด” กลุ่มคนเสื้อแดง จริงๆ แล้ว “สื่อ” ต้องเป็น
เครื่องมือสำคัญที่จะตอบคำถามให้ความกระจ่างกับสังคมแทนรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่ทำไมรัฐบาลกลับมองว่าสื่อคือ “ชนวน” ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ รัฐบาลจึงปฏิบัติการควบคุมสื่อทุกแขนงโดยให้เหตุผลว่า “เข้าข่าย ยุ แหย่ให้เกิดความไม่สงบ” ก่อนสั่งระงับการเผยแพร่สื่อตลอดจน
การเรียกพบเพื่อทำข้อตกลง ได้รับรายงานจาก “วิชาญ อุ่นอก” เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ว่า...ช่วงการชุมนุมทางการเมืองได้มีการหนังสือส่งไปยังวิทยุชุมชนทั่วประเทศเพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนควบคุมเนื้อหารายการที่จะออกอากาศ โดยพยายามให้หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามเกี่ยวกับนโยบาย
การทำงานของรัฐบาล หลังจากนั้นได้มีการเชิญตัวแทนวิทยุชุมชนไปทำความเข้าใจที่ ศอฉ. โดยระบุว่า...การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงนั้นผิดกฎหมายห้ามวิทยุชุมชนเสนอข่าว รวมทั้งขอความร่วมมือให้วิทยุชุมชนเป็นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ยังมีการเรียกวิทยุชุมชนเข้าลงบันทึกความร่วมมือ...
เพื่อควบคุมเนื้อหาในการออกอากาศซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ หลังเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองมีคำสั่งปิดวิทยุชุมชนรวม 14 สถานี ทั้งในรูปแบบมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรและใช้กองกำลังทหารเขาไปรื้อและย้ายที่ทำการสถานี ที่ผ่านมา...วิทยุชุมชนต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแสดงความชัดเจน
ในการสั่งระงับการออกอากาศอย่างไม่มีกำหนด...แต่ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบรับ โดยสถานีที่โดนชะลอสิทธิ์ออกอากาศและโดนเพิกถอนสิทธิการออกอากาศ...นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเอกสารไม่ครบถ้วนแล้ว หลายสถานีได้มีการนำเสนอรายทางที่มีเนื้อหาทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิที่สามารถสื่อสารได้ และข้อมูล
ที่นำเสนอก็ไม่ได้เข้าข่ายที่จะนำไปสู่ความรุนแรง แต่อาจจะอยู่ในลักษณะที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล สุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ระบุว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และมอบหมายให้ศอฉ. รับผิดชอบหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ได้มีการ “สั่งปิดเว็บไซต์” ไปจำนวนมาก โดยไม่มีการชี้แจงว่า...ปิดเพราะอะไร? หรือ ศอฉ. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ผ่านอำนาจของตุลาการ สื่อ กับ รัฐ...เปรียบเสมือน
หยิน กับ หยาง เพราะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิด “ความสมดุล” แต่วันนี้ใครกันที่ทำให้ความสมดุลเหล่านั้นสูญสิ้นไป...ใครกันที่ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง “มีอำนาจ” แล้วใช้อย่างหน้ามืดตามัว เชื่อว่าประชาชนคงตอบได้ “สื่อ” หรือ “รัฐ” ที่ควรถูกจับขึ้นเขียง...โดนชำแหละเพื่อให้เกิดการปฏิรูป!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
พรรคตกต่ำ แต่คนได้ดี!!
พรรคตกต่ำ แต่คนได้ดี!!
เสียงกระชับ คำราม รอดไรฟัน มาจาก “นายหัวชวน หลีกภัย” ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งมธุรสวาจา พรรคเสื่อมสุดๆ แบบ ที่ไม่เคยมี??? เล่นเอา “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ผู้จัดการรัฐบาล หน้าแดงกร่ำ ควันออกหู..เพราะเป็นการตีวัวกระทบชิ่ง..เอาทุกสิ่ง ให้ “เทพเทือก” รับหมด ไงล่ะหนู ฟางเส้นสุดท้าย สำหรับความสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่าง “เทพเจ้าภาคใต้” ชวนหลีกภัย กับ “เทพเทือก” ขาดสะบั้น ไม่มีทางต่อกันติด!!! ๒ ผู้ยิ่งใหญ่ชนกัน....บัลลังก์หนาวสะท้าน?...กลายเป็น “ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์”???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
หนึ่งนั้นเป็น ‘ไอดอล’!!
เป็นครูทางการเมือง ที่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เรียนกลยุทธ์ มาจาก “ชวน หลีกภัย” ทุกขั้นตอน?? อีกหนึ่งนั้นเล่า ก็เป็น “กระเป๋าพรรคประชาธิปัตย์”...ควักจ่ายมือมันส์ แม้แต่ขายสวนยาง “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ก็ทำเพื่อพรรคมาเรื่อย ๆ เมื่อเกิด “ขัดลำกล้อง”...ผิดพ้องข้องใจกัน “อภิสิทธิ์” ย่อมเหนื่อย เพราะฐานเสียง ภายในพรรคประชาธิปัตย์ รู้กันอยู่ว่า ทางหนึ่งเฮละโล สาระพาหนุน “นายหัวชวน”.. อีกทางก็โล้สำเภา เที่ยว “สุเทพ” ที่จัดสรรปันส่วนเก้าอี้ “รัฐมนตรี” ให้ทุกคนอย่างแฮปปี้!!! ที่ “อภิสิทธิ์” หวังนั่งตำแหน่งให้ครบเซ็ท...ทำท่าว่าจะเสร็จ?..โดนเด็ดปีก เร็วๆนี้??
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ไม่ใช่ ‘พระอิฐพระปูน’!!!
โดนอัดเสียน่วม ต่อหน้าแฟนพันธุ์แท้ ผู้มีสายเลือดความเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ก็ทำให้ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้จัดการรัฐบาล งอนเป็นช้อนหอย ไปเลยล่ะคุณ?? และทันทีที่ “เทพเจ้าภาคใต้” นายหัวชวน หลีกภัย นิราศเดินสะบัดก้น ออกจากที่ประชุมบรรยากาศ ก็ไม่สรวลเส “เทพเทือก” เริ่มออกอาการ...หุนหันเกกลับปลั๊พแหลก “บิ๊กชวน” เสียเต็มเกย์ เอ่ยปากกล่าวตำหนิ กับคนสนิทของ “นายหัวชวน” อย่างไม่ไว้หน้า เช่นกัน!!! ถ้าจะให้ดีนะ “ท่านเทพเทือก”...ถ้าคิดจะเชือดกระเดือก...ควรเลือกเวลาที่อยู่หน้า “นายหัวชวน” ดีกว่ามั้ยท่าน???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
‘พระรอด’ สิ้นมนต์ขลัง!!!
รอดแล้ว รอดเล่า รอดซ้ำรอดซาก รอดตัว รอดการโดน “ยุบพรรค” มาได้ทุกครั้ง?? แต่ทว่า ในคดีใช้เงิน ๒๙ ล้าน ของคณะกรรมการเลือกตั้ง ที่ “อภิชาติ สุขัคคานนท์” ประธาน กกต. ให้การสนับสนุน“พรรคประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คง รอดยาก หลักฐานชี้ชัด...ประชาธิปัตย์ถึงกาล จะต้องสิ้นซาก “นายกฯ มาร์ค” ต้องมาเหยียบเปลือกกล้วยล้มง่ายๆ ..ทั้งที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็น “โคตรเซียนการเล่นเกมการเมือง” แต่คราวนี้ต้องพบจุดจบ เสียที!!! กิ้งกือที่มีร้อยขา...ยังเดินตกท่อไม่เป็นท่า?....แล้วมนุษย์ ๒ ขา จะรอดโชคชะตาไปตลอดได้ไงล่ะพี่???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
สัมพันธ์ปึ๊ก แน่นปั๋ง กันมานาน!!
เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ กันมาชั่วอายุคน แล้วล่ะท่าน?? ระหว่างความสัมพันธ์อันดีงาม แสนเลิศหรู ระหว่าง “สนธิ ลิ้มทองกุล” เบอร์หนึ่งแถวหน้ากลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย กับ “คุณพี่ระลึก หลีกภัย” น้องชายร่วมสายโลหิต ของ “ท่านชวน หลีกภัย” อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นซี้เก่าซี้แก่...มิตรแท้ ซึ่งเรียนที่สหรัฐอเมริกา มาด้วยกัน หลายสิบปี ช่วงนี้ พักนี้ มีคนเห็น “คุณพี่ระลึก” เป็น “นินจาเต่า” ชะแว้ปไปพบกับ “สนธิ ลิ้มทองกุล” อยู่บ้อย..บ่อย ท่ามกลางบรรยากาศ ความขุ่นมัว ของ “สนธิ” ที่มีต่อ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่กินใจกันอยู่ไม่เบา!!!ไม่รู้ว่าเป็นการเดินสาย..ให้ “ซุเปอร์ชวน หลีกภัย”...กลับมาเป็นนายกฯ รอบใหม่ หรือเปล่า???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
เสียงกระชับ คำราม รอดไรฟัน มาจาก “นายหัวชวน หลีกภัย” ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งมธุรสวาจา พรรคเสื่อมสุดๆ แบบ ที่ไม่เคยมี??? เล่นเอา “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ผู้จัดการรัฐบาล หน้าแดงกร่ำ ควันออกหู..เพราะเป็นการตีวัวกระทบชิ่ง..เอาทุกสิ่ง ให้ “เทพเทือก” รับหมด ไงล่ะหนู ฟางเส้นสุดท้าย สำหรับความสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่าง “เทพเจ้าภาคใต้” ชวนหลีกภัย กับ “เทพเทือก” ขาดสะบั้น ไม่มีทางต่อกันติด!!! ๒ ผู้ยิ่งใหญ่ชนกัน....บัลลังก์หนาวสะท้าน?...กลายเป็น “ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์”???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
หนึ่งนั้นเป็น ‘ไอดอล’!!
เป็นครูทางการเมือง ที่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เรียนกลยุทธ์ มาจาก “ชวน หลีกภัย” ทุกขั้นตอน?? อีกหนึ่งนั้นเล่า ก็เป็น “กระเป๋าพรรคประชาธิปัตย์”...ควักจ่ายมือมันส์ แม้แต่ขายสวนยาง “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ก็ทำเพื่อพรรคมาเรื่อย ๆ เมื่อเกิด “ขัดลำกล้อง”...ผิดพ้องข้องใจกัน “อภิสิทธิ์” ย่อมเหนื่อย เพราะฐานเสียง ภายในพรรคประชาธิปัตย์ รู้กันอยู่ว่า ทางหนึ่งเฮละโล สาระพาหนุน “นายหัวชวน”.. อีกทางก็โล้สำเภา เที่ยว “สุเทพ” ที่จัดสรรปันส่วนเก้าอี้ “รัฐมนตรี” ให้ทุกคนอย่างแฮปปี้!!! ที่ “อภิสิทธิ์” หวังนั่งตำแหน่งให้ครบเซ็ท...ทำท่าว่าจะเสร็จ?..โดนเด็ดปีก เร็วๆนี้??
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ไม่ใช่ ‘พระอิฐพระปูน’!!!
โดนอัดเสียน่วม ต่อหน้าแฟนพันธุ์แท้ ผู้มีสายเลือดความเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ก็ทำให้ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้จัดการรัฐบาล งอนเป็นช้อนหอย ไปเลยล่ะคุณ?? และทันทีที่ “เทพเจ้าภาคใต้” นายหัวชวน หลีกภัย นิราศเดินสะบัดก้น ออกจากที่ประชุมบรรยากาศ ก็ไม่สรวลเส “เทพเทือก” เริ่มออกอาการ...หุนหันเกกลับปลั๊พแหลก “บิ๊กชวน” เสียเต็มเกย์ เอ่ยปากกล่าวตำหนิ กับคนสนิทของ “นายหัวชวน” อย่างไม่ไว้หน้า เช่นกัน!!! ถ้าจะให้ดีนะ “ท่านเทพเทือก”...ถ้าคิดจะเชือดกระเดือก...ควรเลือกเวลาที่อยู่หน้า “นายหัวชวน” ดีกว่ามั้ยท่าน???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
‘พระรอด’ สิ้นมนต์ขลัง!!!
รอดแล้ว รอดเล่า รอดซ้ำรอดซาก รอดตัว รอดการโดน “ยุบพรรค” มาได้ทุกครั้ง?? แต่ทว่า ในคดีใช้เงิน ๒๙ ล้าน ของคณะกรรมการเลือกตั้ง ที่ “อภิชาติ สุขัคคานนท์” ประธาน กกต. ให้การสนับสนุน“พรรคประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คง รอดยาก หลักฐานชี้ชัด...ประชาธิปัตย์ถึงกาล จะต้องสิ้นซาก “นายกฯ มาร์ค” ต้องมาเหยียบเปลือกกล้วยล้มง่ายๆ ..ทั้งที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็น “โคตรเซียนการเล่นเกมการเมือง” แต่คราวนี้ต้องพบจุดจบ เสียที!!! กิ้งกือที่มีร้อยขา...ยังเดินตกท่อไม่เป็นท่า?....แล้วมนุษย์ ๒ ขา จะรอดโชคชะตาไปตลอดได้ไงล่ะพี่???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
สัมพันธ์ปึ๊ก แน่นปั๋ง กันมานาน!!
เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ กันมาชั่วอายุคน แล้วล่ะท่าน?? ระหว่างความสัมพันธ์อันดีงาม แสนเลิศหรู ระหว่าง “สนธิ ลิ้มทองกุล” เบอร์หนึ่งแถวหน้ากลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย กับ “คุณพี่ระลึก หลีกภัย” น้องชายร่วมสายโลหิต ของ “ท่านชวน หลีกภัย” อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นซี้เก่าซี้แก่...มิตรแท้ ซึ่งเรียนที่สหรัฐอเมริกา มาด้วยกัน หลายสิบปี ช่วงนี้ พักนี้ มีคนเห็น “คุณพี่ระลึก” เป็น “นินจาเต่า” ชะแว้ปไปพบกับ “สนธิ ลิ้มทองกุล” อยู่บ้อย..บ่อย ท่ามกลางบรรยากาศ ความขุ่นมัว ของ “สนธิ” ที่มีต่อ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่กินใจกันอยู่ไม่เบา!!!ไม่รู้ว่าเป็นการเดินสาย..ให้ “ซุเปอร์ชวน หลีกภัย”...กลับมาเป็นนายกฯ รอบใหม่ หรือเปล่า???
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
“ตอหลดตอแหล”
๐ศัตรูที่ร้ายเหลือ ไม่เท่าเกลือเป็นหนอน !!.ฝากความข้อนี้ให้ นักการเมืองทั้งหลายเก็บไปคิดเล่น จะมีอะไรจริงจังหรือแค่รกสมอง? ไม่นานก็ได้เห็น!! ชื่อว่า “การเมือง”และ “อำนาจ” อะไรมันก็เกิดได้ทั้งนั้น.....๐
ช่วงนี้เป็นช่วง “บอลโลกฟีเวอร์ ” รัฐบาล ศอฉ. แฮปปี้มีความสุขสุดๆ?? เพราะ คนไทยหันมาสนใจ “บอลโลก 2010” ที่ถ่ายทอดสดจากแอฟริกาใต้กันหมด!! ละคร “ตอหลดตอแหล” กลิ่นน้ำครำ ทั้งหลายพลอยเจ๊งไปด้วย!! ไม่พูดถึง “บอลโลก” ก็เหมือน “คนขวางโลก”!!.....๐
ถ้าไม่เห็นกับตา ไม่ได้ยินกับหู ไม่อยากเชื่อ!! รมต.ที่งานหนัก อารมย์เครียดอย่าง กรณ์ จาติกวณิช ขุนคลัง 8 แสนล้าน! จะอารมย์บรรเจิด? หน้าตาอิ่มเอิบเมื่อเอ่ยถึง “ทีมชาติอังกฤษ” ตอนสายวันอาทิตย์ที่ 27 ถึงขั้นเชื่อเป็นตุเป็นตะว่า ทีมสิงโตคำราม จะต้องไปชิงชนะเลิศกับ “อาร์เจนตินา”.....๐
10 ชั่วโมงต่อมา “อินทรีเยอรมัน” ทำเหมือนไม่เกรใจ รัฐมนตรีคลังไทย ศิษย์เก่าอ๊อกฟอร์ด ถล่ม “สิงโตอังกฤษ” ซะ 4-1 แพ้ยับเยินยู่ยี่เพราะซูเปอร์สตาร์ระดับ “เวน รูนี่ย์” ยังวิ่งเปะปะรอบสนามเหมือนคนเตะบอลไม่เป็น??.....๐
คนพูดน้อยอย่าง กรณ์ จาติกวณิช ยังพูดถึงบอลโลกอย่างมีความสุข เพราะ “รักและผูกพัน” กับ ทีมชาติอังกฤษ เรียนหนังสือที่นั่นจนมาได้ดิบได้ดีเป็น “รัฐมนตรีคลัง”ดูแลงบประมาณหลายล้านล้าน ของ “THAILAND”.....๐
คนไทยได้แต่หวัง??...“วันหนึ่งข้างหน้า” กรณ์ จาติกวณิช จะรัก(และเกิดอารมย์ผูกพัน)กับราษฎรไทย ที่ถูก เรียกว่า “รากหญ้า” อย่าง “ติดปาก” บ้าง!....๐
เกิดเป็น “โฆษกพรรคเพื่อไทย” จะมายอมแพ้ เทพไท เสนพงศ์ คงไม่ได้?? ไม่แปลก! ถ้า พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ จะต้องออกมาอัด อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดันทุรังตั้ง 19 อรหันต์ เป็นกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มี สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานว่า.. “ไม่เหมาะสม”!!....๐
เกือบทั้งหมดเป็นนักวิชาการที่ฝักใฝ่เสื้อเหลือง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มที่ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถือเป็น “ทายาทอสูร” มีความคิดเป็นปฏิปักษ์กับ นักการเมืองฝ่ายค้าน (มีปากก็ต้องใช้เป็นอาวุธ)....๐
พักนี้ เรตติ้งตก?? พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ไม่ค่อยมีโอกาสออกทีวีถี่ยิบอย่างเก่าก่อน คนแถว “ราบ 11 รอ.” คงมีเหตุผล ที่ไม่ให้ “โฆษกไก่อู” ออกโชว์หน้าหล่อบนจอ เพราะ บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการฆ่าแกงอะไรกันอีก? .....๐
ชักสงสัย หรือนี่จะเป็น “อารมย์ขำ” ของนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย?? อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่หลุดปากออกมา วันนี้(วันอังคารที่ 29) จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และกรรมการสมัชชาปฏิรูปเต็มคณะ กำหนดให้ทั้ง 2 คณะนี้มีอายุการทำงาน 3 ปี!!.....๐
คนในพรรคเพื่อไทย หัวเราะกันตกโต๊ะ!! เพราะฟังแล้วเหมือน “ตลกร้าย” ของ รัฐบาลมาร์ค ที่จับมือกับ อานันท์ ปันยารชุน และอธิการบดี “นิด้า” สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ในการ “เบนเป้าการถูกโจมตี” ไปอีก 3 ปี เพราะหวัง (และเชื่อ) รัฐบาลคณะนี้ จะได้รับการ “ชูมือ” ให้กลับมาอีกครั้งหลังครบเทอม นี่คือชะตากรรมของประเทศไทยและคนไทย 65 ล้านคน??.....๐
คอลัมน์ บางกอกกอสซิบกุหลาบพิษ
ช่วงนี้เป็นช่วง “บอลโลกฟีเวอร์ ” รัฐบาล ศอฉ. แฮปปี้มีความสุขสุดๆ?? เพราะ คนไทยหันมาสนใจ “บอลโลก 2010” ที่ถ่ายทอดสดจากแอฟริกาใต้กันหมด!! ละคร “ตอหลดตอแหล” กลิ่นน้ำครำ ทั้งหลายพลอยเจ๊งไปด้วย!! ไม่พูดถึง “บอลโลก” ก็เหมือน “คนขวางโลก”!!.....๐
ถ้าไม่เห็นกับตา ไม่ได้ยินกับหู ไม่อยากเชื่อ!! รมต.ที่งานหนัก อารมย์เครียดอย่าง กรณ์ จาติกวณิช ขุนคลัง 8 แสนล้าน! จะอารมย์บรรเจิด? หน้าตาอิ่มเอิบเมื่อเอ่ยถึง “ทีมชาติอังกฤษ” ตอนสายวันอาทิตย์ที่ 27 ถึงขั้นเชื่อเป็นตุเป็นตะว่า ทีมสิงโตคำราม จะต้องไปชิงชนะเลิศกับ “อาร์เจนตินา”.....๐
10 ชั่วโมงต่อมา “อินทรีเยอรมัน” ทำเหมือนไม่เกรใจ รัฐมนตรีคลังไทย ศิษย์เก่าอ๊อกฟอร์ด ถล่ม “สิงโตอังกฤษ” ซะ 4-1 แพ้ยับเยินยู่ยี่เพราะซูเปอร์สตาร์ระดับ “เวน รูนี่ย์” ยังวิ่งเปะปะรอบสนามเหมือนคนเตะบอลไม่เป็น??.....๐
คนพูดน้อยอย่าง กรณ์ จาติกวณิช ยังพูดถึงบอลโลกอย่างมีความสุข เพราะ “รักและผูกพัน” กับ ทีมชาติอังกฤษ เรียนหนังสือที่นั่นจนมาได้ดิบได้ดีเป็น “รัฐมนตรีคลัง”ดูแลงบประมาณหลายล้านล้าน ของ “THAILAND”.....๐
คนไทยได้แต่หวัง??...“วันหนึ่งข้างหน้า” กรณ์ จาติกวณิช จะรัก(และเกิดอารมย์ผูกพัน)กับราษฎรไทย ที่ถูก เรียกว่า “รากหญ้า” อย่าง “ติดปาก” บ้าง!....๐
เกิดเป็น “โฆษกพรรคเพื่อไทย” จะมายอมแพ้ เทพไท เสนพงศ์ คงไม่ได้?? ไม่แปลก! ถ้า พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ จะต้องออกมาอัด อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดันทุรังตั้ง 19 อรหันต์ เป็นกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มี สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานว่า.. “ไม่เหมาะสม”!!....๐
เกือบทั้งหมดเป็นนักวิชาการที่ฝักใฝ่เสื้อเหลือง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มที่ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถือเป็น “ทายาทอสูร” มีความคิดเป็นปฏิปักษ์กับ นักการเมืองฝ่ายค้าน (มีปากก็ต้องใช้เป็นอาวุธ)....๐
พักนี้ เรตติ้งตก?? พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ไม่ค่อยมีโอกาสออกทีวีถี่ยิบอย่างเก่าก่อน คนแถว “ราบ 11 รอ.” คงมีเหตุผล ที่ไม่ให้ “โฆษกไก่อู” ออกโชว์หน้าหล่อบนจอ เพราะ บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการฆ่าแกงอะไรกันอีก? .....๐
ชักสงสัย หรือนี่จะเป็น “อารมย์ขำ” ของนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย?? อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่หลุดปากออกมา วันนี้(วันอังคารที่ 29) จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และกรรมการสมัชชาปฏิรูปเต็มคณะ กำหนดให้ทั้ง 2 คณะนี้มีอายุการทำงาน 3 ปี!!.....๐
คนในพรรคเพื่อไทย หัวเราะกันตกโต๊ะ!! เพราะฟังแล้วเหมือน “ตลกร้าย” ของ รัฐบาลมาร์ค ที่จับมือกับ อานันท์ ปันยารชุน และอธิการบดี “นิด้า” สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ในการ “เบนเป้าการถูกโจมตี” ไปอีก 3 ปี เพราะหวัง (และเชื่อ) รัฐบาลคณะนี้ จะได้รับการ “ชูมือ” ให้กลับมาอีกครั้งหลังครบเทอม นี่คือชะตากรรมของประเทศไทยและคนไทย 65 ล้านคน??.....๐
คอลัมน์ บางกอกกอสซิบกุหลาบพิษ
"พนิช-ก่อแก้ว" 2 นครา 2 ชนชั้น
โดย อิศรินทร์ หนูเมือง
ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคเพื่อไทย ใช้นักการเมือง ที่มี "สัญลักษณ์" ลงสนามเลือกตั้งซ่อม เขต 6 กทม.
ทั้ง "พนิช วิกิตเศรษฐ์" ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์
และ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" ตัวแทนพรรคเพื่อไทย
ทั้ง 2 คน 2 ชนชั้น 2 ตัวแทนจาก 2 นครา เชิงสัญลักษณ์
อย่างน้อย "พนิช" ก็ไม่ใช่ตัวแทนจากชนชั้นรากหญ้า
แต่เขาคือ "หลานเขย" เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศวร์ แห่งตระกูล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ
ในครอบครัวของเขา ฝ่ายแม่ สืบเชื้อสายจากตระกูล "จักรพันธุ์" คือ ม.ล.สมพงษ์วดี บุตรสาว ม.ร.ว.พงษ์พรหม จักรพันธุ์
สืบสาแหรกขึ้นไปถึงระดับต้นตระกูล มาจากสาย "เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี" พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ส่วนสายพ่อ เป็นพ่อค้า มาจาก เมืองจีนตระกูล "วิกิตเศรษฐ์" มีรากเถาจากพ่อค้าข้าว เจ้าของโรงสี เมื่อ 100 ปี ที่แล้ว
โบราณว่า 10 พ่อค้า ไม่เท่า 1 พระยาเลี้ยง เป็นความสัตย์
พี่น้องของ "พนิช" ทั้ง 10 คน จึงมีโอกาสไปเรียนเมืองนอกถึง 9 คน
"ฝ่ายคุณแม่ผม ก็ไม่คิดว่าท่านเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด ผมคิดว่าเขาก็เกิดมาในสายราชวงศ์ คุณตาเป็นหม่อมราชวงศ์ คุณแม่ผมเป็นหม่อมหลวงสายจักรพันธุ์ ก็ไม่ได้รวย เมื่อถ้าเทียบกันแล้วคุณพ่อ อาจจะรวยกว่าด้วยซ้ำตอนแต่งงาน"
ในพรรค-พวก-เพื่อนฝูง "พนิช" เป็นทีมฟุตบอล PM11 (priminister11) ทีมเดียวกับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายก รัฐมนตรี เมื่อลงสนามแข่งกับคณะทูต
"พนิช" กับ "อภิสิทธิ์" รู้จักคบหาเป็นเพื่อนกันมาร่วม 3 ทศวรรษ
ตั้งแต่สมัยจบการศึกษาเป็น "นักเรียนนอก" ทำงานร่วมกันในโครงการ "ธนาคารคู่บ้านคู่เมือง" ของธนาคารกรุงเทพ ร่วมรุ่นกับทศ จิราธิวัฒน์, ณินทิรา โสภณพนิช, ไพสิฐ ตู้จินดา
เข้าประจำการในสนามการเมืองที่สำนักประชาธิปัตย์ ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคียงคู่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" เจ้าสำนักการตลาด
ในแวดวงนักธุรกิจ "พนิช" บอกว่า เขารู้จัก "ตระกูลศรีวิกรม์" ดีมาก ตั้งแต่ วัยเด็ก
ส่วนคนจากตระกูล "จิราธิวัฒน์" ทั้ง "ทศ-ปริญญ์" เขาบอกว่าสนิทสนมกัน เป็นอันดี
ช่วงที่วาทกรรม "ไพร่-อำมาตย์" ดังกึกก้องตั้งแต่ท้องถนนสี่แยกราชประสงค์ เข้าไปถึงรั้ววัง
"พนิช" รู้สึกสะดุ้ง-สะเทือน แต่ไม่เข้าใจ "ความหมายที่แท้จริง"
ในทรรศนะ "พนิช" คำว่าอำมาตย์- สายเลือด-การกระทำ เป็นตัวชี้วัดฐานะ มากกว่า "นามสกุล"
เขาตั้งคำถามว่า อะไรคืออำมาตย์ ? รัฐบุรุษ ? พระเจ้าแผ่นดิน ? ทหาร ? ข้าราชการระดับสูง ? หรือเปล่า ?
"ประชาชาติธุรกิจ" เคยตั้งประเด็น "อำมาตย์-ไพร่" คุยกับ "พนิช" เขา อธิบายว่า...
"ผมไม่มีในความคิดของผมว่า ใครเป็นไพร่ หรือไม่เป็นไพร่ เพราะ สำหรับผม ถ้าใครทำสิ่งที่ดี ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ทำผิดกฎหมาย อันนี้เป็นสิ่งที่สังคมควรยอมรับ ไม่ว่าเขาจะเป็น...อะไรก็แล้วแต่"
"ผมบอกตรง ๆ เลยนะ ว่าผมไม่เข้าใจดีพอ และก็ไม่พยายามทำความเข้าใจด้วยว่าอะไรคือไพร่ อะไรคืออำมาตย์ เพราะก่อนมีการชุมนุมซึ่งนำคำว่าไพร่และอำมาตย์มาใช้ ผมไม่เคยพูดถึงคำสองคำนี้ในชีวิต แต่ผมเข้าใจว่าในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมตะวันออก สังคม ตะวันตก ก็มีสิ่งที่เราเรียกว่าความไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องความไม่เท่าเทียมมาทำให้เกิดความขัดแย้งความรุนแรง"
"ไม่ว่ารวยหรือจน เขาก็คือคนขาด คุณธรรม จรรยาบรรณ และไม่รู้ว่า เขาเป็นอำมาตย์หรือไพร่ เพราะผมไม่สามารถ นำ 2 คำนี้มาจัดประเภท คนได้"
..........................
บุคคลเชิงสัญลักษณ์ ที่พรรคเพื่อไทยเลือกส่งลงชิงชัยในชานเมืองกรุงเทพฯ คือ นายก่อแก้ว พิกุลทอง
เพราะ "ก่อแก้ว" เป็นทั้งตัวแทน- เพื่อไทย ตัวแทน-คนเสื้อแดงและตัวแทนของคนรากหญ้า
เขาร่วมเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดง ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง "ความจริงวันนี้สัญจร"
วรรคทองของ "ก่อแก้ว" คือ การ กล่าวปราศรัยในทำนองว่า "ต้องมีการ ปลดรูปบุคคลสำคัญ"
"ก่อแก้ว" กลายเป็น 1 ใน 24 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
โดยมีตำแหน่งอดีตรักษาการผู้อำนวยการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ที่แต่งตั้งโดย "ภูมิธรรม เวชยชัย" อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพ่วงท้าย
เข้าไปปฏิบัติภารกิจ เพื่อทำหน้าที่ ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ของ ร.ส.พ. ที่ขาดทุนมานาน เกือบ 20 ปี
หลังรัฐประหาร 2549 "ก่อแก้ว"เป็นเครือข่ายคนสำคัญของ "จตุพร- ณัฐวุฒิ" ในทีมสถานีโทรทัศน์ "สีแดง" แห่ง "พีทีวี" แต่ไม่เคยได้จัดรายการ ออกอากาศ เพราะสถานีไม่เคยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหาร
เขาจึงเข้าร่วมจัดรายการสัญจร "ต่อต้าน คมช." ที่สนามหลวง
ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ได้อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ NBT ออกอากาศรายการ "ความจริงวันนี้" "ก่อแก้ว" จึงได้มีโอกาสร่วมรายการเป็นพิธีกรรับเชิญ
เขาเป็น "คนปักษ์ใต้" เชื้อสายจีน เครือเถาเดียวกับ "จรัล ดิษฐาอภิชัย" และ "จตุพร-ณัฐวุฒิ"
ดีกรีปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (เกียรตินิยม) และปริญญาโท MBA International Program จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เกียรตินิยม)
อีกไม่กี่วันจะได้พิสูจน์ว่า ตัวแทนจาก 2 ชนชั้น จาก 2 พรรค ใครจะได้ครองใจมหาชนชาวกรุง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคเพื่อไทย ใช้นักการเมือง ที่มี "สัญลักษณ์" ลงสนามเลือกตั้งซ่อม เขต 6 กทม.
ทั้ง "พนิช วิกิตเศรษฐ์" ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์
และ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" ตัวแทนพรรคเพื่อไทย
ทั้ง 2 คน 2 ชนชั้น 2 ตัวแทนจาก 2 นครา เชิงสัญลักษณ์
อย่างน้อย "พนิช" ก็ไม่ใช่ตัวแทนจากชนชั้นรากหญ้า
แต่เขาคือ "หลานเขย" เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศวร์ แห่งตระกูล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ
ในครอบครัวของเขา ฝ่ายแม่ สืบเชื้อสายจากตระกูล "จักรพันธุ์" คือ ม.ล.สมพงษ์วดี บุตรสาว ม.ร.ว.พงษ์พรหม จักรพันธุ์
สืบสาแหรกขึ้นไปถึงระดับต้นตระกูล มาจากสาย "เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี" พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ส่วนสายพ่อ เป็นพ่อค้า มาจาก เมืองจีนตระกูล "วิกิตเศรษฐ์" มีรากเถาจากพ่อค้าข้าว เจ้าของโรงสี เมื่อ 100 ปี ที่แล้ว
โบราณว่า 10 พ่อค้า ไม่เท่า 1 พระยาเลี้ยง เป็นความสัตย์
พี่น้องของ "พนิช" ทั้ง 10 คน จึงมีโอกาสไปเรียนเมืองนอกถึง 9 คน
"ฝ่ายคุณแม่ผม ก็ไม่คิดว่าท่านเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด ผมคิดว่าเขาก็เกิดมาในสายราชวงศ์ คุณตาเป็นหม่อมราชวงศ์ คุณแม่ผมเป็นหม่อมหลวงสายจักรพันธุ์ ก็ไม่ได้รวย เมื่อถ้าเทียบกันแล้วคุณพ่อ อาจจะรวยกว่าด้วยซ้ำตอนแต่งงาน"
ในพรรค-พวก-เพื่อนฝูง "พนิช" เป็นทีมฟุตบอล PM11 (priminister11) ทีมเดียวกับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายก รัฐมนตรี เมื่อลงสนามแข่งกับคณะทูต
"พนิช" กับ "อภิสิทธิ์" รู้จักคบหาเป็นเพื่อนกันมาร่วม 3 ทศวรรษ
ตั้งแต่สมัยจบการศึกษาเป็น "นักเรียนนอก" ทำงานร่วมกันในโครงการ "ธนาคารคู่บ้านคู่เมือง" ของธนาคารกรุงเทพ ร่วมรุ่นกับทศ จิราธิวัฒน์, ณินทิรา โสภณพนิช, ไพสิฐ ตู้จินดา
เข้าประจำการในสนามการเมืองที่สำนักประชาธิปัตย์ ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคียงคู่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" เจ้าสำนักการตลาด
ในแวดวงนักธุรกิจ "พนิช" บอกว่า เขารู้จัก "ตระกูลศรีวิกรม์" ดีมาก ตั้งแต่ วัยเด็ก
ส่วนคนจากตระกูล "จิราธิวัฒน์" ทั้ง "ทศ-ปริญญ์" เขาบอกว่าสนิทสนมกัน เป็นอันดี
ช่วงที่วาทกรรม "ไพร่-อำมาตย์" ดังกึกก้องตั้งแต่ท้องถนนสี่แยกราชประสงค์ เข้าไปถึงรั้ววัง
"พนิช" รู้สึกสะดุ้ง-สะเทือน แต่ไม่เข้าใจ "ความหมายที่แท้จริง"
ในทรรศนะ "พนิช" คำว่าอำมาตย์- สายเลือด-การกระทำ เป็นตัวชี้วัดฐานะ มากกว่า "นามสกุล"
เขาตั้งคำถามว่า อะไรคืออำมาตย์ ? รัฐบุรุษ ? พระเจ้าแผ่นดิน ? ทหาร ? ข้าราชการระดับสูง ? หรือเปล่า ?
"ประชาชาติธุรกิจ" เคยตั้งประเด็น "อำมาตย์-ไพร่" คุยกับ "พนิช" เขา อธิบายว่า...
"ผมไม่มีในความคิดของผมว่า ใครเป็นไพร่ หรือไม่เป็นไพร่ เพราะ สำหรับผม ถ้าใครทำสิ่งที่ดี ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ทำผิดกฎหมาย อันนี้เป็นสิ่งที่สังคมควรยอมรับ ไม่ว่าเขาจะเป็น...อะไรก็แล้วแต่"
"ผมบอกตรง ๆ เลยนะ ว่าผมไม่เข้าใจดีพอ และก็ไม่พยายามทำความเข้าใจด้วยว่าอะไรคือไพร่ อะไรคืออำมาตย์ เพราะก่อนมีการชุมนุมซึ่งนำคำว่าไพร่และอำมาตย์มาใช้ ผมไม่เคยพูดถึงคำสองคำนี้ในชีวิต แต่ผมเข้าใจว่าในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมตะวันออก สังคม ตะวันตก ก็มีสิ่งที่เราเรียกว่าความไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องความไม่เท่าเทียมมาทำให้เกิดความขัดแย้งความรุนแรง"
"ไม่ว่ารวยหรือจน เขาก็คือคนขาด คุณธรรม จรรยาบรรณ และไม่รู้ว่า เขาเป็นอำมาตย์หรือไพร่ เพราะผมไม่สามารถ นำ 2 คำนี้มาจัดประเภท คนได้"
..........................
บุคคลเชิงสัญลักษณ์ ที่พรรคเพื่อไทยเลือกส่งลงชิงชัยในชานเมืองกรุงเทพฯ คือ นายก่อแก้ว พิกุลทอง
เพราะ "ก่อแก้ว" เป็นทั้งตัวแทน- เพื่อไทย ตัวแทน-คนเสื้อแดงและตัวแทนของคนรากหญ้า
เขาร่วมเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดง ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง "ความจริงวันนี้สัญจร"
วรรคทองของ "ก่อแก้ว" คือ การ กล่าวปราศรัยในทำนองว่า "ต้องมีการ ปลดรูปบุคคลสำคัญ"
"ก่อแก้ว" กลายเป็น 1 ใน 24 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
โดยมีตำแหน่งอดีตรักษาการผู้อำนวยการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ที่แต่งตั้งโดย "ภูมิธรรม เวชยชัย" อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพ่วงท้าย
เข้าไปปฏิบัติภารกิจ เพื่อทำหน้าที่ ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ของ ร.ส.พ. ที่ขาดทุนมานาน เกือบ 20 ปี
หลังรัฐประหาร 2549 "ก่อแก้ว"เป็นเครือข่ายคนสำคัญของ "จตุพร- ณัฐวุฒิ" ในทีมสถานีโทรทัศน์ "สีแดง" แห่ง "พีทีวี" แต่ไม่เคยได้จัดรายการ ออกอากาศ เพราะสถานีไม่เคยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหาร
เขาจึงเข้าร่วมจัดรายการสัญจร "ต่อต้าน คมช." ที่สนามหลวง
ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ได้อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ NBT ออกอากาศรายการ "ความจริงวันนี้" "ก่อแก้ว" จึงได้มีโอกาสร่วมรายการเป็นพิธีกรรับเชิญ
เขาเป็น "คนปักษ์ใต้" เชื้อสายจีน เครือเถาเดียวกับ "จรัล ดิษฐาอภิชัย" และ "จตุพร-ณัฐวุฒิ"
ดีกรีปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (เกียรตินิยม) และปริญญาโท MBA International Program จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เกียรตินิยม)
อีกไม่กี่วันจะได้พิสูจน์ว่า ตัวแทนจาก 2 ชนชั้น จาก 2 พรรค ใครจะได้ครองใจมหาชนชาวกรุง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ถ้าพี่ถูกจับ...ใส่เสื้อแดงไปเยี่ยมด้วยนะ
โดย เพียงคำ ประดับความ
ที่มา.ไทยอีนิวส์
ถ้าพี่ถูกจับ...ใส่เสื้อแดงไปเยี่ยมด้วยนะ
แล้ววาระ...นี้ก็เดินทางมาถึง
ท่ามกลางกระแสลมอึงคะนึง
เสรีภาพพี่ถูกขึงตรึงโซ่ตรวน
แม้รู้ว่าจะปวดเจ็บและเหน็บหนาว
กัดกลืนก้อนขื่นคาวร้าวลมหวน
อุดมการณ์พี่มั่นคงไม่เรรวน
ดาวแสงนวลไม่ได้เห็นไม่เป็นไร
ขอหยัดยืนขึ้นท้าท้องฟ้ามืด
จันทร์แสงจืดชืดชาลาลับหาย
อยู่ที่นั่นนอนหลับบ้าง...นะพี่ชาย
ฟูกแข็งไหมไหนผ้าห่มกันลมแรง
บนดินแดนที่แร้นแค้นเสรีภาพ
คนเปื้อนบาปซ่อนกายในคราบแฝง
คุกคือที่ขังคนกล้ามิเปลี่ยนแปลง
รู้ว่าพี่เข้มแข็งแกร่งเพียงพอ
แล้วจะใส่เสื้อแดงไปเยี่ยมนะ
เสรีภาพอาจไม่ได้มา...ด้วยร้องขอ
แต่อย่างไรผองเราจะเฝ้ารอ
ให้ บก. กลับมา...”อาทิตย์สีแดง”
ที่มา.ไทยอีนิวส์
“อภิสิทธิ์ฆ่าประชาชน”ปชป.ทนฟังไม่ได้ขู่ใช้หาเสียงเจอใบแดง
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ประชาธิปัตย์ขู่เพื่อไทยห้ามนำเหตุการณ์กระชับพื้นที่มาใช้หาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม. โดยเฉพาะคำว่า “นายกฯฆ่าประชาชน-นายอภิสิทธิ์ฆ่าประชาชน-พรรคประชาธิปัตย์กระชับพื้นที่แล้วมีคนตาย” หากมีการเอ่ยถึงจะฟ้อง กกต. ให้แจกใบแดงทันที อ้างเป็นเรื่องโกหก ใส่ร้ายป้าสี เปิดสโลแกนหาเสียง “เดินไปข้างหน้า” ช่วย “พนิช” มั่นใจเข้าวินแน่ โต้ไม่มีคนชื่อย่อ “ช” ในพรรคล็อบบี้การเมืองใหม่ถอนตัวจากการแข่งขัน ด้านเพื่อไทยคึกจัดคณะใหญ่ไปรับ “ก่อแก้ว” ถึงเรือนจำคลองเปรม ยันมีสิทธิใส่ชุดนักโทษลงสมัคร เตือนอธิบดีราชทัณฑ์ทำหน้าที่เท่าที่กฎหมายกำหนดก็พอ อดีต กกต. เชื่อไม่มีเหตุรุนแรง ของจริงรอต้นปีหน้าซัดกันดุเดือดแน่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 28 มิ.ย. นี้ นางสาวสุนีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และคณะทำงานฝ่ายกฎหมายจะเดินทางไปพบนายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย ที่เรือนจำกลางคลองเปรม เพื่อทำเรื่องขอเบิกตัวนายก่อแก้วไปยื่นใบสมัคร ส.ส. ที่สำนักงานเขตคลองสามวา ทั้งนี้ ยืนยันว่านายก่อแก้วจะใช้สิทธิใช่ชุดนักโทษไปยื่นใบสมัคร
เตือนอธิบดีกรมคุกอย่าทำเกินหน้าที่
“รับทราบมาว่ามีความพยายามจะดึงเรื่องเพื่อให้นายก่อแก้วออกมายื่นใบสมัครได้ล่าช้า ซึ่งอยากขอความเป็นธรรมจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพราะว่าจะมีผลต่อการจับสลากหมายเลขผู้สมัคร ส่วนที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์บอกว่าจะไม่ให้นายก่อแก้วใส่ชุดนักโทษมายื่นใบสมัครนั้น ขอเรียนว่าอย่าทำอะไรเกินหน้าที่ ทำแค่ที่กฎหมายกำหนดก็พอ” นายพร้อมพงศ์กล่าวและว่า วันที่ 29 มิ.ย. นี้ฝ่ายกฎหมายของพรรคจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบว่าการถอนตัวจากการสมัคร ส.ส. ของ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ เป็นการฮั้วกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เพราะว่าคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่มีมติชัดเจนว่าจะส่ง พล.อ.กิตติศักดิ์ลงสมัครในนามตัวแทนพรรค
จี้ กกต. สอบ ปชป. ฮั้วการเมืองใหม่
“เรื่องนี้ กกต. ต้องตรวจสอบ เพราะหากมีการฮั้วกันจะทำพรรคประชาธิปัตย์ได้เปรียบ พรรคการเมืองใหม่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคอย่างเป็นทางการ มีการแถลงข่าวอย่างชัดเจนว่าจะส่ง พล.อ.กิตติศักดิ์ลงสมัคร และมีแกนนำพรรคพูดชัดเจนว่าการส่งผู้สมัครจะเป็นการตัดคะแนนพรรคประชาธิปัตย์ เท่าที่ทราบมีนักการเมืองชื่อย่อ ช. เป็นคนล็อบบี้ไม่ให้พรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัคร ดังนั้น กกต. ต้องตรวจสอบเรื่องนี้” นายพร้อมพงศ์กล่าว
อดีต กกต. เชื่อหาเสียงไม่รุนแรง
นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต. เชื่อว่าการหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 กทม. จะไม่รุนแรง เพราะ 1 เสียงที่ได้ไม่ค่อยมีความหมายต่อพรรคการเมือง และเป็นการแข่งกันแค่ 2 พรรคคือ พรรคเพื่อไทยที่ส่งนายก่อแก้วลงสมัคร และพรรคประชาธิปัตย์ที่ส่งนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นผู้สมัคร
สมัครแค่ 2 พรรค กกต. ทำงานง่าย
“เมื่อมีผู้สมัครจากพรรคจากพรรคใหญ่แค่ 2 พรรคทำให้ กกต. ทำงานง่าย เพราะติดตามดูแค่ 2 คนนี้เท่านั้น หากจะมีผู้สมัครจากพรรคเล็กพรรคน้อยลงแข่งด้วยก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะถือเป็นแค่สีสัน อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเชื่อว่าจะมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้องกันอุตลุด เพราะคงมีการกล่าวหากันหลายเรื่องในระหว่างการหาเสียงของ 2 พรรคใหญ่” นายยุวรัตน์กล่าวและว่า การเลือกตั้งที่ดุเดือดรุนแรงคือการเลือกตั้งใหญ่ที่คาดว่าจะมีขึ้นต้นปีหน้า เนื่องจากการเมืองทุกวันนี้แตกต่างจากอดีตค่อนข้างมาก เมื่อก่อนเมื่อจบการเลือกตั้งแล้วก็จบกัน แต่เดี๋ยวนี้การแพ้ชนะหมายถึงสถานะทางสังคม คนแพ้อาจโดนลบชื่อออกจากสารบบ อาจอยู่ในประเทศไม่ได้ จึงต้องแข่งกันหนักเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ การเลือกตั้งแบบแพ้ไม่ได้จึงจะเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่แน่นอน
พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบ
นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีต กกต. ระบุว่า การใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลไม่น่าจะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในสนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 เพราะทั้ง 2 พรรคต้องหาเสียงภายใต้กติกาเดียวกัน ส่วนความรุนแรงในการเลือกตั้งนั้นอยู่ที่อารมณ์ การเมืองที่แบ่งขั้วกันชัดเจนหากใช้อารมณ์มากก็รุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในการหาเสียงอยากให้ผู้สมัครทั้ง 2 พรรคนำนโยบายมาใช้หาเสียงเป็นหลัก
ปชป. โต้ข้อหาฮั้วการเมืองใหม่
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรค แถลงว่า การกล่าวหาว่าการที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครจะเป็นผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน เป็นเรื่องไร้สาระ และไม่จริงที่กล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่
เปิดสโลแกนหาเสียง “เดินไปข้างหน้า”
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคจะใช้สโลแกนหาเสียงครั้งนี้ว่า “เดินไปข้างหน้า” โดนจะเน้นทำความเข้าใจเรื่องการแก้ปัญหาของประเทศเป็นหลัก เชื่อว่าผู้สมัครของพรรคจะชนะเลือกตั้งได้
อย่ากล่าวหานายกฯฆ่าประชาชน
“ผมขอเรียกร้องไปยังพรรคเพื่อไทยว่า หากอยากเห็นบ้านเมืองเกิดความสงบสุขอย่างใช้โอกาสนี้ปลุกปั่นให้คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมในครั้งต่อไป ขอให้หาเสียงอย่างสร้างสรรค์ และขอเตือนพรรคเพื่อไทย นายก่อแก้วที่เป็นผู้สมัคร และนายจตุพร หากนำเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ไปหาเสียง พูดเท็จโกหก ใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ พรรคจะส่งเรื่องให้ กกต. พิจารณาให้ใบแดงกับผู้สมัครทันที เช่น การพูดว่านายกฯฆ่าประชาชน นายอภิสิทธิ์ฆ่าประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์กระชับพื้นที่แล้วมีคนตาย” นายสาธิตกล่าวและว่า พรรคไม่ได้ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่ แต่ที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครน่าจะเกิดจากความไม่พร้อมมากกว่า
ฟุ้งประชาชนในพื้นที่ต้อนรับอบอุ่น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคเริ่มต้นรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม กทม. เขต 6 แล้ว โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี
ท้าเพื่อไทยสู้กันด้วยนโยบาย
“การหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้จะรุนแรงหรือไม่อยู่ที่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียว ขอเตือนว่าไม่ควรฉวยโอกาสเอาเหตุการณ์ที่ราชประสงค์มาหาเสียง เพราะจะเป็นการตอกย้ำความแตกแยกในสังคม อยากให้สู้กันด้วยนโยบายมากกว่า” นายเทพไทกล่าวและว่า พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงกำลังจะจัดคอนเสิร์ตบังหน้าเพื่อหาทุนช่วยเหลือนายก่อแก้ว โดยอ้างว่าบัญชีถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อายัด ซึ่งเรื่องนี้ ศอฉ. พูดชัดเจนว่าหากมีความจำเป็นสามารถขอเบิกถอนได้ การหาเสียง กกต. กำหนดไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท น่าจะขอเบิกถอนได้ ที่ไม่ขออนุญาตเบิกถอนเพราะต้องการเอาคอนเสิร์ตบังหน้าเพื่อรับเงินอุดหนุนจากหลายฝ่ายมากกว่า เหมือนกับการจัดคอนเสิร์ตเพื่อนร่วมร้อง พี่น้องร่วมรบ ที่โบนันซ่าเขาใหญ่ ที่ได้เงินมากมายจนส่งผลให้หลังการชุมนุมมี 83 คน โดนอายัดบัญชี ครั้งนี้ขอเรียกว่าเป็นคอนเสิร์ต 3 ก. ช่วยก่อแก้ว ทำก่อการร้าย ใช้ก่อกวน ซึ่งพรรคกลัวว่าจะมีเหตุรุนแรงจากสายแดงฮาร์ดคอร์ เพราะการข่าวทราบว่ามีแผนวางระเบิดหลายจุด
“ช” 10 คนในพรรคไม่รู้เรื่องล็อบบี้
นายเทพไทกล่าวอีกว่า ได้สอบถามคนที่มีชื่ออักษร ช.ช้างในพรรคที่มีเป็น 10 คนแล้ว ทุกคนยืนยันว่าไม่มีใครไปล็อบบี้ให้ พล.อ.กิตติศักดิ์ถอนตัวจากการลงสมัคร ส.ส. ครั้งนี้ตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหา การแอบอ้างอักษรย่อ ช.ช้างจึงน่าจะมาจากคำว่าชั่วที่มักชอบกล่าวหาคนอื่น ส่วนที่พรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องการกระชับพื้นที่มาใช้หาเสียงก็เพราะไม่มีผลงานสภาที่จะไปอวดอ้างกับประชาชน
“พนิช” ไม่มีฤกษ์ยื่นใบสมัคร
นายสมัย เจริญช่าง ส.ส.กทม. เขต 6 และผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเดินทางไปยื่นใบสมัครของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ตัวแทนพรรค ในวันที่ 28 มิ.ย. นี้จะไม่ถือฤกษ์อะไร เพราะฤกษ์งามยามดีก็สู้ความดีของนายพนิชไม่ได้ ซึ่งจากการลงพื้นที่เบื้องต้นพบว่าประชาชนในพื้นที่ให้การตอบรับนายพนิชเป็นอย่างดี
ห่วงหยุดยาวคนไม่อยู่ใช้สิทธิ
นายสมัยกล่าวว่า เป็นห่วง 2 เรื่องคือ 1.อยากเห็นการแข่งขันโดยเอาความดีมาแข่งกันตามกรอบกฎหมาย และ 2.ห่วงเรื่องเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากในวันเลือกตั้งเป็นช่วงวันหยุดยาว เกรงว่าประชาชนจะเดินทางออกไปต่างจังหวัดกันหมด
เพื่อไทยอย่านำคนนอกพื้นที่ช่วยหาเสียง
“การเลือกตั้งใน กทม. ครั้งนี้เป็นครั้งแรกหลังการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังผ่านวิกฤตความรุนแรง จึงไม่อยากเห็นการแข่งขันที่ไร้คุณธรรม โดยเฉพาะการที่นายจตุพรระบุว่าจะพาครอบครัวผู้สูญเสียมาร่วมหาเสียงด้วย ผมไม่รู้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอย่างไร เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ หากมีการปราศรัยให้ร้ายป้ายสีก็หมิ่นเหม่ ผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง และอยากขอให้ให้เกียรติคนในเขตเลือกตั้งด้วย ไม่ควรเอาคนนอกเขตมาทำให้เกิดความวุ่นวาย” นายสมัยกล่าว
“มาร์ค” ห้ามใช้เวลาราชการหาเสียง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้สั่งห้ามรัฐมนตรีและ ส.ส. ของพรรคใช้เวลาราชการ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือของราชการไปใช้หาเสียง ส่วนการประกาศต่ออายุมาตรการช่วยลดค่าครองชีพประชาชนนั้นยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อหาเสียง เพราะเรื่องนี้ทำมานานแล้ว
การเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครเป็นสิทธิ
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า การที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครถือเป็นเอกสิทธิของแต่ละพรรค ไม่ใช่เรื่องการฮั้ว เพราะหากเป็นการฮั้วต้องเป็นการสมยอมกันระหว่างพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเพื่อไทยระบุคนอักษรย่อ ช. ในพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนล็อบบี้ให้ว่าที่ผู้สมัครพรรคการเมืองใหม่ถอนตัว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ผมเห็นอักษรย่อมาเยอะแล้ว ไม่เห็นมีความจริงเลยสักเรื่องที่พูดอักษรย่อมาเนี่ย”
เมื่อถามอีกว่าดีหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่ง เพราะจะได้ไม่ต้องมาตัดคะแนนกันเอง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การแข่งขันเป็นเรื่องปรกติทางการเมือง การจะส่งผู้สมัครหรือไม่เป็นเรื่องที่แต่ละพรรคจะตัดสินใจเอง ที่ผ่านมาเวลาเลือกตั้งซ่อมก็จะมีบางพรรคไม่ส่งผู้สมัคร ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ
“กิตติศักดิ์” ยันไม่ถูกล็อบบี้ให้ถอนตัว
ด้าน พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ยืนยันว่า การประกาศถอนตัวไม่ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม. ไม่ได้เป็นเพราะมีคนชื่อย่อ ช. โทรศัพท์มาล็อบบี้อย่างที่มีการกล่าวหา และขอให้ยุติการกล่าวหา เพราะคนที่พยายามจะพูดถึงนั้นเป็นคนดี มีคุณธรรม ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่าเอามาตรฐานตัวเองมาเปรียบเทียบ
อ้างไม่ลงเพราะไม่อยากยุ่งกับนักโทษ
“ที่ผมตัดสินใจถอนตัวไม่ลงสมัครเพราะไม่ต้องการสังฆกรรมกับนักโทษที่มาลงสมัคร เพราะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง สร้างความเสียหายให้กับประเทศ ที่สำคัญครอบครัวรวมถึงประชาชนที่สนับสนุนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะลงสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ เพราะเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย และก่อนที่จะตัดสินใจถอนตัวก็ได้มีการหารือกับหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค รวมทั้งประธานที่ปรึกษาพรรคการเมืองใหม่แล้ว ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย และการถอนตัวก็ไม่ได้สร้างความเสียหาย เพราะเป็นการถอนตัวก่อนที่จะถึงวันลงสมัคร” พล.อ.กิตติศักดิ์กล่าวและว่า จะลงพื้นที่พบกับประชาชนในพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนเพื่อขอโทษและชี้แจงเหตุผลให้ทราบ แต่จะไม่ช่วยหาเสียงให้ใคร หากประชาชนถามก็จะบอกเพียงว่าให้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกพรรคเทพหรือพรรคมาร เลือกคนชั่วหรือคนดีเข้าไปนั่งเป็นตัวแทนในสภา
ประชาธิปัตย์ขู่เพื่อไทยห้ามนำเหตุการณ์กระชับพื้นที่มาใช้หาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม. โดยเฉพาะคำว่า “นายกฯฆ่าประชาชน-นายอภิสิทธิ์ฆ่าประชาชน-พรรคประชาธิปัตย์กระชับพื้นที่แล้วมีคนตาย” หากมีการเอ่ยถึงจะฟ้อง กกต. ให้แจกใบแดงทันที อ้างเป็นเรื่องโกหก ใส่ร้ายป้าสี เปิดสโลแกนหาเสียง “เดินไปข้างหน้า” ช่วย “พนิช” มั่นใจเข้าวินแน่ โต้ไม่มีคนชื่อย่อ “ช” ในพรรคล็อบบี้การเมืองใหม่ถอนตัวจากการแข่งขัน ด้านเพื่อไทยคึกจัดคณะใหญ่ไปรับ “ก่อแก้ว” ถึงเรือนจำคลองเปรม ยันมีสิทธิใส่ชุดนักโทษลงสมัคร เตือนอธิบดีราชทัณฑ์ทำหน้าที่เท่าที่กฎหมายกำหนดก็พอ อดีต กกต. เชื่อไม่มีเหตุรุนแรง ของจริงรอต้นปีหน้าซัดกันดุเดือดแน่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 28 มิ.ย. นี้ นางสาวสุนีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และคณะทำงานฝ่ายกฎหมายจะเดินทางไปพบนายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย ที่เรือนจำกลางคลองเปรม เพื่อทำเรื่องขอเบิกตัวนายก่อแก้วไปยื่นใบสมัคร ส.ส. ที่สำนักงานเขตคลองสามวา ทั้งนี้ ยืนยันว่านายก่อแก้วจะใช้สิทธิใช่ชุดนักโทษไปยื่นใบสมัคร
เตือนอธิบดีกรมคุกอย่าทำเกินหน้าที่
“รับทราบมาว่ามีความพยายามจะดึงเรื่องเพื่อให้นายก่อแก้วออกมายื่นใบสมัครได้ล่าช้า ซึ่งอยากขอความเป็นธรรมจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพราะว่าจะมีผลต่อการจับสลากหมายเลขผู้สมัคร ส่วนที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์บอกว่าจะไม่ให้นายก่อแก้วใส่ชุดนักโทษมายื่นใบสมัครนั้น ขอเรียนว่าอย่าทำอะไรเกินหน้าที่ ทำแค่ที่กฎหมายกำหนดก็พอ” นายพร้อมพงศ์กล่าวและว่า วันที่ 29 มิ.ย. นี้ฝ่ายกฎหมายของพรรคจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบว่าการถอนตัวจากการสมัคร ส.ส. ของ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ เป็นการฮั้วกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ เพราะว่าคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่มีมติชัดเจนว่าจะส่ง พล.อ.กิตติศักดิ์ลงสมัครในนามตัวแทนพรรค
จี้ กกต. สอบ ปชป. ฮั้วการเมืองใหม่
“เรื่องนี้ กกต. ต้องตรวจสอบ เพราะหากมีการฮั้วกันจะทำพรรคประชาธิปัตย์ได้เปรียบ พรรคการเมืองใหม่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคอย่างเป็นทางการ มีการแถลงข่าวอย่างชัดเจนว่าจะส่ง พล.อ.กิตติศักดิ์ลงสมัคร และมีแกนนำพรรคพูดชัดเจนว่าการส่งผู้สมัครจะเป็นการตัดคะแนนพรรคประชาธิปัตย์ เท่าที่ทราบมีนักการเมืองชื่อย่อ ช. เป็นคนล็อบบี้ไม่ให้พรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัคร ดังนั้น กกต. ต้องตรวจสอบเรื่องนี้” นายพร้อมพงศ์กล่าว
อดีต กกต. เชื่อหาเสียงไม่รุนแรง
นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต. เชื่อว่าการหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 กทม. จะไม่รุนแรง เพราะ 1 เสียงที่ได้ไม่ค่อยมีความหมายต่อพรรคการเมือง และเป็นการแข่งกันแค่ 2 พรรคคือ พรรคเพื่อไทยที่ส่งนายก่อแก้วลงสมัคร และพรรคประชาธิปัตย์ที่ส่งนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นผู้สมัคร
สมัครแค่ 2 พรรค กกต. ทำงานง่าย
“เมื่อมีผู้สมัครจากพรรคจากพรรคใหญ่แค่ 2 พรรคทำให้ กกต. ทำงานง่าย เพราะติดตามดูแค่ 2 คนนี้เท่านั้น หากจะมีผู้สมัครจากพรรคเล็กพรรคน้อยลงแข่งด้วยก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะถือเป็นแค่สีสัน อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเชื่อว่าจะมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้องกันอุตลุด เพราะคงมีการกล่าวหากันหลายเรื่องในระหว่างการหาเสียงของ 2 พรรคใหญ่” นายยุวรัตน์กล่าวและว่า การเลือกตั้งที่ดุเดือดรุนแรงคือการเลือกตั้งใหญ่ที่คาดว่าจะมีขึ้นต้นปีหน้า เนื่องจากการเมืองทุกวันนี้แตกต่างจากอดีตค่อนข้างมาก เมื่อก่อนเมื่อจบการเลือกตั้งแล้วก็จบกัน แต่เดี๋ยวนี้การแพ้ชนะหมายถึงสถานะทางสังคม คนแพ้อาจโดนลบชื่อออกจากสารบบ อาจอยู่ในประเทศไม่ได้ จึงต้องแข่งกันหนักเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ การเลือกตั้งแบบแพ้ไม่ได้จึงจะเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่แน่นอน
พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบ
นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีต กกต. ระบุว่า การใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลไม่น่าจะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในสนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 เพราะทั้ง 2 พรรคต้องหาเสียงภายใต้กติกาเดียวกัน ส่วนความรุนแรงในการเลือกตั้งนั้นอยู่ที่อารมณ์ การเมืองที่แบ่งขั้วกันชัดเจนหากใช้อารมณ์มากก็รุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในการหาเสียงอยากให้ผู้สมัครทั้ง 2 พรรคนำนโยบายมาใช้หาเสียงเป็นหลัก
ปชป. โต้ข้อหาฮั้วการเมืองใหม่
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรค แถลงว่า การกล่าวหาว่าการที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครจะเป็นผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน เป็นเรื่องไร้สาระ และไม่จริงที่กล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่
เปิดสโลแกนหาเสียง “เดินไปข้างหน้า”
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคจะใช้สโลแกนหาเสียงครั้งนี้ว่า “เดินไปข้างหน้า” โดนจะเน้นทำความเข้าใจเรื่องการแก้ปัญหาของประเทศเป็นหลัก เชื่อว่าผู้สมัครของพรรคจะชนะเลือกตั้งได้
อย่ากล่าวหานายกฯฆ่าประชาชน
“ผมขอเรียกร้องไปยังพรรคเพื่อไทยว่า หากอยากเห็นบ้านเมืองเกิดความสงบสุขอย่างใช้โอกาสนี้ปลุกปั่นให้คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมในครั้งต่อไป ขอให้หาเสียงอย่างสร้างสรรค์ และขอเตือนพรรคเพื่อไทย นายก่อแก้วที่เป็นผู้สมัคร และนายจตุพร หากนำเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ไปหาเสียง พูดเท็จโกหก ใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ พรรคจะส่งเรื่องให้ กกต. พิจารณาให้ใบแดงกับผู้สมัครทันที เช่น การพูดว่านายกฯฆ่าประชาชน นายอภิสิทธิ์ฆ่าประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์กระชับพื้นที่แล้วมีคนตาย” นายสาธิตกล่าวและว่า พรรคไม่ได้ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่ แต่ที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครน่าจะเกิดจากความไม่พร้อมมากกว่า
ฟุ้งประชาชนในพื้นที่ต้อนรับอบอุ่น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคเริ่มต้นรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม กทม. เขต 6 แล้ว โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองหัวหน้าพรรค ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี
ท้าเพื่อไทยสู้กันด้วยนโยบาย
“การหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้จะรุนแรงหรือไม่อยู่ที่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียว ขอเตือนว่าไม่ควรฉวยโอกาสเอาเหตุการณ์ที่ราชประสงค์มาหาเสียง เพราะจะเป็นการตอกย้ำความแตกแยกในสังคม อยากให้สู้กันด้วยนโยบายมากกว่า” นายเทพไทกล่าวและว่า พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงกำลังจะจัดคอนเสิร์ตบังหน้าเพื่อหาทุนช่วยเหลือนายก่อแก้ว โดยอ้างว่าบัญชีถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อายัด ซึ่งเรื่องนี้ ศอฉ. พูดชัดเจนว่าหากมีความจำเป็นสามารถขอเบิกถอนได้ การหาเสียง กกต. กำหนดไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท น่าจะขอเบิกถอนได้ ที่ไม่ขออนุญาตเบิกถอนเพราะต้องการเอาคอนเสิร์ตบังหน้าเพื่อรับเงินอุดหนุนจากหลายฝ่ายมากกว่า เหมือนกับการจัดคอนเสิร์ตเพื่อนร่วมร้อง พี่น้องร่วมรบ ที่โบนันซ่าเขาใหญ่ ที่ได้เงินมากมายจนส่งผลให้หลังการชุมนุมมี 83 คน โดนอายัดบัญชี ครั้งนี้ขอเรียกว่าเป็นคอนเสิร์ต 3 ก. ช่วยก่อแก้ว ทำก่อการร้าย ใช้ก่อกวน ซึ่งพรรคกลัวว่าจะมีเหตุรุนแรงจากสายแดงฮาร์ดคอร์ เพราะการข่าวทราบว่ามีแผนวางระเบิดหลายจุด
“ช” 10 คนในพรรคไม่รู้เรื่องล็อบบี้
นายเทพไทกล่าวอีกว่า ได้สอบถามคนที่มีชื่ออักษร ช.ช้างในพรรคที่มีเป็น 10 คนแล้ว ทุกคนยืนยันว่าไม่มีใครไปล็อบบี้ให้ พล.อ.กิตติศักดิ์ถอนตัวจากการลงสมัคร ส.ส. ครั้งนี้ตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหา การแอบอ้างอักษรย่อ ช.ช้างจึงน่าจะมาจากคำว่าชั่วที่มักชอบกล่าวหาคนอื่น ส่วนที่พรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องการกระชับพื้นที่มาใช้หาเสียงก็เพราะไม่มีผลงานสภาที่จะไปอวดอ้างกับประชาชน
“พนิช” ไม่มีฤกษ์ยื่นใบสมัคร
นายสมัย เจริญช่าง ส.ส.กทม. เขต 6 และผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเดินทางไปยื่นใบสมัครของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ตัวแทนพรรค ในวันที่ 28 มิ.ย. นี้จะไม่ถือฤกษ์อะไร เพราะฤกษ์งามยามดีก็สู้ความดีของนายพนิชไม่ได้ ซึ่งจากการลงพื้นที่เบื้องต้นพบว่าประชาชนในพื้นที่ให้การตอบรับนายพนิชเป็นอย่างดี
ห่วงหยุดยาวคนไม่อยู่ใช้สิทธิ
นายสมัยกล่าวว่า เป็นห่วง 2 เรื่องคือ 1.อยากเห็นการแข่งขันโดยเอาความดีมาแข่งกันตามกรอบกฎหมาย และ 2.ห่วงเรื่องเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากในวันเลือกตั้งเป็นช่วงวันหยุดยาว เกรงว่าประชาชนจะเดินทางออกไปต่างจังหวัดกันหมด
เพื่อไทยอย่านำคนนอกพื้นที่ช่วยหาเสียง
“การเลือกตั้งใน กทม. ครั้งนี้เป็นครั้งแรกหลังการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังผ่านวิกฤตความรุนแรง จึงไม่อยากเห็นการแข่งขันที่ไร้คุณธรรม โดยเฉพาะการที่นายจตุพรระบุว่าจะพาครอบครัวผู้สูญเสียมาร่วมหาเสียงด้วย ผมไม่รู้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งอย่างไร เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ หากมีการปราศรัยให้ร้ายป้ายสีก็หมิ่นเหม่ ผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง และอยากขอให้ให้เกียรติคนในเขตเลือกตั้งด้วย ไม่ควรเอาคนนอกเขตมาทำให้เกิดความวุ่นวาย” นายสมัยกล่าว
“มาร์ค” ห้ามใช้เวลาราชการหาเสียง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้สั่งห้ามรัฐมนตรีและ ส.ส. ของพรรคใช้เวลาราชการ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือของราชการไปใช้หาเสียง ส่วนการประกาศต่ออายุมาตรการช่วยลดค่าครองชีพประชาชนนั้นยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อหาเสียง เพราะเรื่องนี้ทำมานานแล้ว
การเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครเป็นสิทธิ
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า การที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครถือเป็นเอกสิทธิของแต่ละพรรค ไม่ใช่เรื่องการฮั้ว เพราะหากเป็นการฮั้วต้องเป็นการสมยอมกันระหว่างพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคเพื่อไทยระบุคนอักษรย่อ ช. ในพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนล็อบบี้ให้ว่าที่ผู้สมัครพรรคการเมืองใหม่ถอนตัว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ผมเห็นอักษรย่อมาเยอะแล้ว ไม่เห็นมีความจริงเลยสักเรื่องที่พูดอักษรย่อมาเนี่ย”
เมื่อถามอีกว่าดีหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ส่ง เพราะจะได้ไม่ต้องมาตัดคะแนนกันเอง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การแข่งขันเป็นเรื่องปรกติทางการเมือง การจะส่งผู้สมัครหรือไม่เป็นเรื่องที่แต่ละพรรคจะตัดสินใจเอง ที่ผ่านมาเวลาเลือกตั้งซ่อมก็จะมีบางพรรคไม่ส่งผู้สมัคร ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ
“กิตติศักดิ์” ยันไม่ถูกล็อบบี้ให้ถอนตัว
ด้าน พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ยืนยันว่า การประกาศถอนตัวไม่ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม. ไม่ได้เป็นเพราะมีคนชื่อย่อ ช. โทรศัพท์มาล็อบบี้อย่างที่มีการกล่าวหา และขอให้ยุติการกล่าวหา เพราะคนที่พยายามจะพูดถึงนั้นเป็นคนดี มีคุณธรรม ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่าเอามาตรฐานตัวเองมาเปรียบเทียบ
อ้างไม่ลงเพราะไม่อยากยุ่งกับนักโทษ
“ที่ผมตัดสินใจถอนตัวไม่ลงสมัครเพราะไม่ต้องการสังฆกรรมกับนักโทษที่มาลงสมัคร เพราะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง สร้างความเสียหายให้กับประเทศ ที่สำคัญครอบครัวรวมถึงประชาชนที่สนับสนุนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะลงสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ เพราะเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย และก่อนที่จะตัดสินใจถอนตัวก็ได้มีการหารือกับหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค รวมทั้งประธานที่ปรึกษาพรรคการเมืองใหม่แล้ว ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย และการถอนตัวก็ไม่ได้สร้างความเสียหาย เพราะเป็นการถอนตัวก่อนที่จะถึงวันลงสมัคร” พล.อ.กิตติศักดิ์กล่าวและว่า จะลงพื้นที่พบกับประชาชนในพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนเพื่อขอโทษและชี้แจงเหตุผลให้ทราบ แต่จะไม่ช่วยหาเสียงให้ใคร หากประชาชนถามก็จะบอกเพียงว่าให้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกพรรคเทพหรือพรรคมาร เลือกคนชั่วหรือคนดีเข้าไปนั่งเป็นตัวแทนในสภา
ไอพีเอส: รัฐบาลไล่ขยี้เสื้อแดงหนักมือด้วยกฎหมาย และการล้างสมอง
By Marwaan Macan-Markar
ที่มา – IPS
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
กรุงเทพ – ด้วยอำนาจ พ.ร.บ.ฉุกเฉินในกำมือรัฐบาลไทยของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาใช้บีบบังคับการเคลื่อนไหวประท้วงของฝ่ายตรงข้าม หากใช้ไม่ถูกวิธี จะต้องชำระด้วยบทเรียนราคาแพงทางการเมือง
วันที่ ๒๘ มิถุนายน กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าจะเริ่มสอบสวนตัวบุคคล และบริษัทจำนวน ๘๓ ราย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ประท้วง ซึ่งใช้สัญลักษณ์ในการประท้วงด้วยสี “เสื้อแดง” และได้เข้ายึดพื้นที่สัญลักษณ์ของกรุงเทพนานเกินสองเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งกำลังวางแผนจะออกหมายเรียกตัว ญาติของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีต่างๆ นายทหารระดับสูงของกองทัพที่ปลดเกษียณ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแกนนำเสื้อแดงนั้น ได้ยอมรับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินซึ่งมีอำนาจในวงกว้างใช้เป็นเครื่องมือเพื่อติดตามการหมุนเวียนของเงิน ที่โยงไปถึงการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง ทักษิณ ซึ่งถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารปี ๒๕๔๙ และกำลังลี้ภัยเพื่อเลี่ยงโทษจำคุกในข้อหาทุจริต เสมือนผู้คอยบงการทางการเมืองของ น.ป.ช. ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงที่สงบลงไปในเวลานี้ ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนหลายหมื่นคนที่มารวมตัวกันเพื่อกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ยุบสภา และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น
การปราบปรามอย่างรุนแรงระหว่างกองทัพไทยด้วยอาวุธหนักพร้อมมือ และ น.ป.ช.ฝ่ายติดอาวุธในเดือนเมษายน และกลางเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๘๘ ศพ ซึ่งเป็นชาวบ้าน ๘๐ ศพ และได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑,๘๐๐ กว่าคน ในช่วงที่กองทัพได้รับคำสั่งให้เคลียร์พื้นที่ถนนในกรุงเทพ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินถูกประกาศใช้ครั้งแรกในต้นเดือนเมษายน เพื่อใช้รับมือกับกลุ่มต่อต้านเสื้อแดงในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง และได้ขยายเวลาออกไปอีกหลายอาทิตย์เพื่อครอบคลุมถึงต่างจังหวัดซึ่งมีอาชีพทำนา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ น.ป.ช.ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามที่สุด
ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล อ้างความชอบธรรมของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า “เราต้องการให้แน่ใจว่าสถานการณ์ได้กลับสู่ความสงบ ซึ่งต้องให้มั่นใจว่า ทั้งปัจจัยเสี่ยง และความวิตกในด้านความมั่นคงซึ่งเป็นกุญแจหลักได้รับการดูแล” “เรากำลังจับตาดูเงินซึ่งใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวอย่างผิดกฎหมายนี้ การใช้สื่อเพื่อยุยงให้เกิดการประจันหน้ากัน และการใช้อุปกรณ์อาวุธ”
เขากล่าวกับไอพีเอสว่า “การสอบสวนการโอนถ่ายเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในด้านความมั่นคง” “พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้เราสามารถใช้อำนาจจากทุกองค์กรมาร่วมทำงานกัน ก่อนที่ทุกคดีจะถูกส่งฟ้องศาล”
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลควบคุมในสามเดือน ให้อำนาจรัฐบาลที่จะจัดการโหมทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อด้วยความลำเอียงใส่ความผู้ต่อต้าน เพื่อให้แน่ใจว่าสื่อหลักจะเน้นเสนอแต่แง่มุมของรัฐบาลอภิสิทธิ์เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ในการรับมือเรื่องเงินสนับสนุน แรกเริ่ม รัฐบาลประกาศรายชื่อบุคคลและรายชื่อบริษัทต้องสงสัย ๑๗๐ รายชื่อ ที่เดาว่าให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจำนวนหลายสิบล้านบาทกับกลุ่มเสื้อแดง และสุดท้ายถูกตัดเหลือเพียง ๘๓ รายชื่อ หนังสือพิมพ์ต่างตีปีกขานรับโดยการแฉข้อมูลส่วนตัวในบัญชีธนาคารของบุคคลเหล่านี้ ที่ทำได้ก็เพราะอำนาจอันล้นฟ้าของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงกฎหมายอื่นๆที่ถูกนำมาร่วมบังคับใช้
และยังสื่อถึงประชาชนตามบ้านด้วยเนื้อหาที่ว่า เสื้อแดงสนใจเพียงต้องการสร้างความรุนแรงบนท้องถนนในเมืองหลวงของไทย แกนนำหลัก น.ป.ช. ๓๙ คนถูกคุมขังด้วยข้อหาผู้ก่อการร้าย ทักษิณ ซึ่งกำลังลี้ภัย ถูกยัดข้อหาคล้ายคลึงกันเพื่อทำให้เรื่องที่รัฐบาลแต่งขึ้นมีความสมจริงสมจัง – ที่ว่าเสื้อแดง ต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวในการเผาตึกอย่างน้อย ๓๐ หลัง และเป็นผู้เดียวที่ใช้อาวุธในระหว่างการเผชิญหน้ากับกองทัพ
สื่อเสื้อแดง – สร้างเครือข่ายอันกว้างไกลทั้งสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุชุมชน นิตยสารจำนวนหนึ่ง และเว็บไซต์ต่างๆ – แต่ยังไม่สามารถแก้มือการใช้วาทศิลป์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ ซึ่งออกมาอย่างถี่ยิบไม่ยั้งมือตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติ สื่อหลายแขนงได้ถูก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำการปิดปาก ในขณะที่ผู้ดำเนินการของสื่อเสื้อแดงที่เหลือต่างยอมรับกับไอเอสพีว่า พวกเขาได้ถูกบังคับให้ต้องเงียบมิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกจับกุม
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นตัวปัญหา เป็นตัวปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ” “กฎหมายช่วยสร้างภาพพจน์ของผู้ประท้วงว่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรง”
นั่นเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องยึดสายการปฏิบัติที่รุนแรงดังกล่าว ในขณะเดียวกันรัฐบาลออกมาสัญญาว่า จะรักษาความแตกแยกทางการเมืองแห่งราชอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ด้วยการเริ่มต้นวิธีสมานฉันท์ จะเป็นการเปิดทางให้กับข้อกล่าวหาต่างๆที่ว่า แท้จริงรัฐบาลเป็นตัวบ่อนทำลาย ในขณะที่รัฐบาลเองอ้างซ้ำซากว่า เป็นผู้รักษามาตรฐานแห่งคุณค่าทางเสรีประชาธิปไตย
นักวิจารณ์ต่างๆกล่าวว่า รัฐบาลอายุ ๑๘ เดือนของอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์แล้วในสิ่งที่ผู้ประท้วงเสื้อแดงเคยกล่าวมาแล้วทั้งหมด – ว่าเป็นรัฐบาลที่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ และบิดพลิ้วไม่ยอมให้เกิดการเลือกตั้งในการจะประกันความเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย มุมมองข้อหลังนี้เกิดขึ้นจากบทบาทของผู้นำกองทัพอันทรงพลังของประเทศ ที่เป็นตัวบงการชักใยอยู่เบื้องหลังในค่ายทหารเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ เพื่อประกันว่าอภิสิทธิ์จะได้เสียงจากพรรคร่วมพอที่จะนำมาซึ่งชัยชนะในการออกเสียงในสภา
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ และเป็นผู้พูดบนเวทีชุมนุมเสื้อแดงโดยเสมอกล่าวว่า รัฐบาลพูดเรื่องการสมานฉันท์ แต่ประเทศกำลังเป็นพยานกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่มีการปราบปราม ว่ากำลังส่งสัญญาณการมุ่งหน้าไปสู่ “การปกครองแบบเผด็จการ” “มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลพลเรือน กองทัพ ศักดินา และสื่อหลัก”
แม้หนังสือพิมพ์ต่างๆซึ่งเข้าข้างรัฐบาลอภิสิทธิ์โดยสันดานได้เริ่มส่งเสียงเตือนถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปัจจุบัน – ที่ให้อำนาจล้นฟ้าในกำมือของกองทัพ ตำรวจ และดีเอสไอ เพื่อไล่ล่าเสื้อแดง – อาจกลายเป็นดาบสองคม
ความเห็นจากบรรณาธิการใน “บางกอกโพสต์” หนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษกล่าวว่า “การยังคงใช้ (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ซึ่งในเวลานี้การชุมนุม (ของเสื้อแดง) ได้สลายตัวไปแล้ว คำถามจึงผุดขึ้นมาว่า รัฐบาลเจตนาจะกุมอำนาจอันล้นฟ้า เพียงเพื่อจะทำการขยี้ “ศัตรู” และหาประโยชน์ทางการเมืองใส่ตัวให้หนักมือขึ้นใช่หรือไม่”
ที่มา – IPS
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑
กรุงเทพ – ด้วยอำนาจ พ.ร.บ.ฉุกเฉินในกำมือรัฐบาลไทยของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาใช้บีบบังคับการเคลื่อนไหวประท้วงของฝ่ายตรงข้าม หากใช้ไม่ถูกวิธี จะต้องชำระด้วยบทเรียนราคาแพงทางการเมือง
วันที่ ๒๘ มิถุนายน กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าจะเริ่มสอบสวนตัวบุคคล และบริษัทจำนวน ๘๓ ราย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ประท้วง ซึ่งใช้สัญลักษณ์ในการประท้วงด้วยสี “เสื้อแดง” และได้เข้ายึดพื้นที่สัญลักษณ์ของกรุงเทพนานเกินสองเดือน จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งกำลังวางแผนจะออกหมายเรียกตัว ญาติของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีต่างๆ นายทหารระดับสูงของกองทัพที่ปลดเกษียณ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแกนนำเสื้อแดงนั้น ได้ยอมรับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินซึ่งมีอำนาจในวงกว้างใช้เป็นเครื่องมือเพื่อติดตามการหมุนเวียนของเงิน ที่โยงไปถึงการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง ทักษิณ ซึ่งถูกปล้นอำนาจจากการทำรัฐประหารปี ๒๕๔๙ และกำลังลี้ภัยเพื่อเลี่ยงโทษจำคุกในข้อหาทุจริต เสมือนผู้คอยบงการทางการเมืองของ น.ป.ช. ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงที่สงบลงไปในเวลานี้ ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนหลายหมื่นคนที่มารวมตัวกันเพื่อกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ยุบสภา และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น
การปราบปรามอย่างรุนแรงระหว่างกองทัพไทยด้วยอาวุธหนักพร้อมมือ และ น.ป.ช.ฝ่ายติดอาวุธในเดือนเมษายน และกลางเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๘๘ ศพ ซึ่งเป็นชาวบ้าน ๘๐ ศพ และได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑,๘๐๐ กว่าคน ในช่วงที่กองทัพได้รับคำสั่งให้เคลียร์พื้นที่ถนนในกรุงเทพ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินถูกประกาศใช้ครั้งแรกในต้นเดือนเมษายน เพื่อใช้รับมือกับกลุ่มต่อต้านเสื้อแดงในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง และได้ขยายเวลาออกไปอีกหลายอาทิตย์เพื่อครอบคลุมถึงต่างจังหวัดซึ่งมีอาชีพทำนา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ น.ป.ช.ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามที่สุด
ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล อ้างความชอบธรรมของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า “เราต้องการให้แน่ใจว่าสถานการณ์ได้กลับสู่ความสงบ ซึ่งต้องให้มั่นใจว่า ทั้งปัจจัยเสี่ยง และความวิตกในด้านความมั่นคงซึ่งเป็นกุญแจหลักได้รับการดูแล” “เรากำลังจับตาดูเงินซึ่งใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวอย่างผิดกฎหมายนี้ การใช้สื่อเพื่อยุยงให้เกิดการประจันหน้ากัน และการใช้อุปกรณ์อาวุธ”
เขากล่าวกับไอพีเอสว่า “การสอบสวนการโอนถ่ายเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในด้านความมั่นคง” “พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้เราสามารถใช้อำนาจจากทุกองค์กรมาร่วมทำงานกัน ก่อนที่ทุกคดีจะถูกส่งฟ้องศาล”
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลควบคุมในสามเดือน ให้อำนาจรัฐบาลที่จะจัดการโหมทำสงครามโฆษณาชวนเชื่อด้วยความลำเอียงใส่ความผู้ต่อต้าน เพื่อให้แน่ใจว่าสื่อหลักจะเน้นเสนอแต่แง่มุมของรัฐบาลอภิสิทธิ์เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ในการรับมือเรื่องเงินสนับสนุน แรกเริ่ม รัฐบาลประกาศรายชื่อบุคคลและรายชื่อบริษัทต้องสงสัย ๑๗๐ รายชื่อ ที่เดาว่าให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินจำนวนหลายสิบล้านบาทกับกลุ่มเสื้อแดง และสุดท้ายถูกตัดเหลือเพียง ๘๓ รายชื่อ หนังสือพิมพ์ต่างตีปีกขานรับโดยการแฉข้อมูลส่วนตัวในบัญชีธนาคารของบุคคลเหล่านี้ ที่ทำได้ก็เพราะอำนาจอันล้นฟ้าของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงกฎหมายอื่นๆที่ถูกนำมาร่วมบังคับใช้
และยังสื่อถึงประชาชนตามบ้านด้วยเนื้อหาที่ว่า เสื้อแดงสนใจเพียงต้องการสร้างความรุนแรงบนท้องถนนในเมืองหลวงของไทย แกนนำหลัก น.ป.ช. ๓๙ คนถูกคุมขังด้วยข้อหาผู้ก่อการร้าย ทักษิณ ซึ่งกำลังลี้ภัย ถูกยัดข้อหาคล้ายคลึงกันเพื่อทำให้เรื่องที่รัฐบาลแต่งขึ้นมีความสมจริงสมจัง – ที่ว่าเสื้อแดง ต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวในการเผาตึกอย่างน้อย ๓๐ หลัง และเป็นผู้เดียวที่ใช้อาวุธในระหว่างการเผชิญหน้ากับกองทัพ
สื่อเสื้อแดง – สร้างเครือข่ายอันกว้างไกลทั้งสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุชุมชน นิตยสารจำนวนหนึ่ง และเว็บไซต์ต่างๆ – แต่ยังไม่สามารถแก้มือการใช้วาทศิลป์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ ซึ่งออกมาอย่างถี่ยิบไม่ยั้งมือตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติ สื่อหลายแขนงได้ถูก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำการปิดปาก ในขณะที่ผู้ดำเนินการของสื่อเสื้อแดงที่เหลือต่างยอมรับกับไอเอสพีว่า พวกเขาได้ถูกบังคับให้ต้องเงียบมิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกจับกุม
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นตัวปัญหา เป็นตัวปิดกั้นเสรีภาพของสื่อ” “กฎหมายช่วยสร้างภาพพจน์ของผู้ประท้วงว่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรง”
นั่นเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องยึดสายการปฏิบัติที่รุนแรงดังกล่าว ในขณะเดียวกันรัฐบาลออกมาสัญญาว่า จะรักษาความแตกแยกทางการเมืองแห่งราชอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ด้วยการเริ่มต้นวิธีสมานฉันท์ จะเป็นการเปิดทางให้กับข้อกล่าวหาต่างๆที่ว่า แท้จริงรัฐบาลเป็นตัวบ่อนทำลาย ในขณะที่รัฐบาลเองอ้างซ้ำซากว่า เป็นผู้รักษามาตรฐานแห่งคุณค่าทางเสรีประชาธิปไตย
นักวิจารณ์ต่างๆกล่าวว่า รัฐบาลอายุ ๑๘ เดือนของอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์แล้วในสิ่งที่ผู้ประท้วงเสื้อแดงเคยกล่าวมาแล้วทั้งหมด – ว่าเป็นรัฐบาลที่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ และบิดพลิ้วไม่ยอมให้เกิดการเลือกตั้งในการจะประกันความเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย มุมมองข้อหลังนี้เกิดขึ้นจากบทบาทของผู้นำกองทัพอันทรงพลังของประเทศ ที่เป็นตัวบงการชักใยอยู่เบื้องหลังในค่ายทหารเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ เพื่อประกันว่าอภิสิทธิ์จะได้เสียงจากพรรคร่วมพอที่จะนำมาซึ่งชัยชนะในการออกเสียงในสภา
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ และเป็นผู้พูดบนเวทีชุมนุมเสื้อแดงโดยเสมอกล่าวว่า รัฐบาลพูดเรื่องการสมานฉันท์ แต่ประเทศกำลังเป็นพยานกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่มีการปราบปราม ว่ากำลังส่งสัญญาณการมุ่งหน้าไปสู่ “การปกครองแบบเผด็จการ” “มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลพลเรือน กองทัพ ศักดินา และสื่อหลัก”
แม้หนังสือพิมพ์ต่างๆซึ่งเข้าข้างรัฐบาลอภิสิทธิ์โดยสันดานได้เริ่มส่งเสียงเตือนถึงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปัจจุบัน – ที่ให้อำนาจล้นฟ้าในกำมือของกองทัพ ตำรวจ และดีเอสไอ เพื่อไล่ล่าเสื้อแดง – อาจกลายเป็นดาบสองคม
ความเห็นจากบรรณาธิการใน “บางกอกโพสต์” หนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษกล่าวว่า “การยังคงใช้ (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ซึ่งในเวลานี้การชุมนุม (ของเสื้อแดง) ได้สลายตัวไปแล้ว คำถามจึงผุดขึ้นมาว่า รัฐบาลเจตนาจะกุมอำนาจอันล้นฟ้า เพียงเพื่อจะทำการขยี้ “ศัตรู” และหาประโยชน์ทางการเมืองใส่ตัวให้หนักมือขึ้นใช่หรือไม่”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)