
Posted by ภีรเดช โกตมวรีสุรนารถ
หมายเหตุ: บทความหน้าแรกจากแทบลอยด์ไทยโพสต์
ลัทธิชาตินิยมนั้นเป็นอะไรก็ตามที่สามารถจะไปได้ไกลมากๆ คือลัทธิชาตินิยมเป็นเรื่องของความรัก ความรักชาติ เป็นห่วง เป็นพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าล้ำเส้นมันก็กลายเป็นความหลง พอหลงปุ๊บคลั่ง หลงปุ๊บตาบอด หลงก็คลั่ง แล้วมันอาจไปถึงขนาดทำอะไรก็ได้ กลายเป็นพลังลบ เป็นพลังทำลาย อันนี้คือทวิลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมเช่นเดียวกัน มีด้านที่เป็นบวกซึ่งดีมากๆ ถ้าเรารักชาติเราเสียสละ เราทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเราเจริญ ทำได้เยอะมาก
พลังของ ‘ชาตินิยม’ เป็นสิ่งที่อธิบายได้ไม่ง่ายนัก ‘ชาติ’ ทำให้เราขนลุก ทำให้เรารู้สึกว่าจะทำอะไรก็ได้ที่เป็นการเสียสละ ที่คนจำนวนเป็นล้านๆ ที่ต้องตายลงโดยสิ่งที่อธิบายได้ยากยิ่ง
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อธิบายไว้ในงานเขียนเล่มล่าสุด ‘ลัทธิชาตินิยม/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร’..แม้ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา คราวนี้จะไม่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร แต่วาทกรรม ชาตินิยม ก็กำลังถูกปลุกกระแสไม่ต่างกัน แทบลอยด์เลือกสัมภาษณ์ อ.ชาญวิทย์ แม้จะรู้ดีว่าในกระแสรักชาติที่กำลังเชี่ยวเช่นนี้ การหยุด ฟัง นั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ยากก็ตามที
ทวิลักษณ์ชาตินิยม
“ชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ เป็นอุดมคติที่สำคัญมากๆ สำหรับ รัฐ หรือว่าประเทศสมัยใหม่ก็มีทุกประเทศ ผมคิดว่าชาตินิยมของประเทศเรานั้น ที่เป็นมาแต่เดิมเป็นลักษณะผสมระหว่างสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่าเป็น ราชาชาตินิยม กับสิ่งที่เรียกว่า อำมาตยา-เสนาชาตินิยม ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพัฒนามาถึงปัจจุบันแล้วจะมีหัวใจอยู่ที่สถาบันพระมหา กษัตริย์ และในบางครั้งก็จะเอาเรื่องของเชื้อชาติ อย่างเช่นพูดเรื่องความเป็นไทยเข้าไปบวกด้วย เพราะฉะนั้น อันนี้ผมมองว่าเป็นลักษณะดั้งเดิมของลัทธิชาตินิยมของเรา ซึ่งอาจจะบอกได้ว่าเป็นทวิลักษณ์ก็ได้ มีการประสานกันระหว่างสิ่งที่เป็นราชากับเป็นอำมาตยา-เสนาชาตินิยม ก็เป็นเวอร์ชั่นซึ่งรัฐผู้ปกครองใช้มาอย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร เป็นระยะเวลาผมคิดว่าสักเกือบๆ 100 ปีมาแล้วก็ได้”
“พอ มาถึง ณ จุดนี้ ถามว่าลัทธิชาตินิยมฉบับดั้งเดิมจะมีผลหรือไม่ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการปลุกกระแสลัทธิชาตินิยมขึ้นมาอย่างที่เราเห็น กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้หรือขัดแย้งกันเอง ในกลุ่มการเมืองภายในประเทศอย่างที่เราเห็นมาตั้งแต่ปี 2548-2549 ก็ยกประเด็นชาตินิยมฉบับดั้งเดิมนี้ขึ้นมา ว่าด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเราก็เห็นว่ามีการตอกย้ำว่าด้วยเรื่องสถาบันกษัตริย์อยู่ตลอดเวลา เรื่องของความไม่จงรักภักดี เรื่องของการทรยศ เรื่องของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็จะเห็นมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 จนกระทั่งเกิดรัฐประหารปี 2549 เราก็เดินมาอย่างนี้ 2550, 2551, 2552 และ ตอนนี้มันขยายออกไปอีกจากความขัดแย้งการเมืองภายในของเหลืองกับแดง ผมว่ามันขยายไปอีกจนกระทั่งกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ คือไทยกับกัมพูชา ผมคิดว่าอันนี้จะมีบทพิสูจน์ว่าชาตินิยมเวอร์ชั่นนี้ ที่ว่าด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะยังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่
ผมคิดว่าอันนี้เป็นบทพิสูจน์นะครับ คือผมคิดว่าในด้านหนึ่งถ้าเรานิยามชาตินิยมอยู่ตรงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็น 3 ใช่ไหม มันก็จบ ถ้าตกลงกันว่าแค่นี้ก็จบ แต่ผมคิดว่าใน 70-80 ปีที่ผ่านมา มันมีปรากฏการณ์อันหนึ่ง ก็คือการเติมคำว่าและเข้าไป คำว่าและนี่สำคัญมาก อย่างเช่นในตอนแรกมีการเติมคำว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เปลี่ยนลักษณะของลัทธิชาตินิยมเก่าไป แน่นอนจากวิวัฒนาการประวัติศาสตร์ทางการเมืองของเรา คำว่าและรัฐธรรมนูญ มันก็ยังไม่เป็นผล มันก็ยังไม่ลงหลัก มีการเปลี่ยนและนี่อยู่เรื่อย และรัฐธรรมนูญฉบับไหนล่ะ จะฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ซึ่งยังเป็นและรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรสยาม จนกระทั่งมาฉบับที่ 3 จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบัน คือฉบับที่ 18 ราชอาณาจักรไทย และคำนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ”
“แต่มันมีอะไรบางอย่างที่ผมสะกิดใจนะ และก็สะดุดตา ก็คือว่าภายหลังเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2535 สถานที่ราชการของทหารอย่างน้อย 2 แห่งที่ถนนราชดำเนินนอก เขียนไว้เหนือตึกกับเหนือประตูทางเข้าของโรงเรียนนายร้อย จปร.เก่าว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ผมคิดว่าตรงนี้น่าสนใจมาก แปลว่ามันจะต้องมีอะไรบางอย่างนับตั้งแต่ปี 2535 และประชาชน คำนี้น่าสนใจมาก เพราะว่ารัฐธรรมนูญเรายังมองเห็นได้ใช่ไหมครับ เราจับต้องได้ เป็นกระดาษ เขียนขึ้นมาอยู่ในสมุดไทยวางอยู่บนพานรัฐธรรมนูญอะไรก็ตาม แต่และประชาชนนี่ อะไรคือประชาชน คำนี้เป็นคำที่ผมว่าเป็นนามธรรมมาก อย่างกรณีประธานาธิบดีลินคอล์น บอกว่าประชาชนธิปไตยคือ การปกครองของประชาชน โดย ประชาชน เพื่อประชาชน ประชาชนนี่คือใคร ใครๆ ก็บอกว่าเป็นประชาชนได้ใช่ไหมครับ ประชาชนในที่สุดแล้วมันจะไปพิสูจน์เอาในวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง 51 ต่อ 49 ก็ถือว่าชนะแล้วในระบอบการปกครองประชาธิปไตยสมัยใหม่ ก็กลายเป็นเสียงข้างมากแล้ว 51 ต่อ 49 ก็อ้างว่าเป็นประชาชนได้ เพราะ ฉะนั้น ตรงนี้ผมคิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของการต่อสู้ ทั้งการเมืองภายในระหว่างสีเหลืองกับสีแดง และคู่ต่อสู้มีทั้งทางฝ่ายของพรรครัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ มีทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ สีเหลือง มีทั้งฝ่ายสีแดง ซึ่งก็อาจจะพูดได้ว่าผู้นำก็คือคุณทักษิณกับคุณชวลิตนั่นเอง มันจะออกมาอย่างไรในการต่อสู้นี้ เพราะในที่สุดแล้วผมคิดว่าต้องมีเลือกตั้งไม่ช้าก็เร็ว และตรงนั้นแหละมันจะพิสูจน์ว่าคำว่าและประชาชน จะ 60 ต่อ 40 หรือ 55 ต่อ 45 จะอยู่กับข้างไหน จะอยู่กับวิธีการตีความและอ้างอิงของชาตินิยมเวอร์ชั่นเดิม หรือจะอยู่กับวิธีการและการตีความของเวอร์ชั่นใหม่ อันนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เราจะต้องจับตากันแบบไม่กะพริบเลย”
เท่ากับพิสูจน์ว่า ชาตินิยมแบบเก่ายังมีประสิทธิภาพแค่ไหน
“ตรงนั้นจะเป็นตัวบอกว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ ตรงนั้นจะเป็นตัวบอกว่าจะใช้ได้ผลไหม แต่ผมคิดว่าใกล้ๆ ตัวเราต้องดูว่าการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 15 จะเป็นอย่างไร จะมีคนมาแค่ไหน จะจบลงในวันเดียวเพื่อแสดงพลังหรือว่าจะขยายต่อไปอีก อันนี้ผมคิดว่าก็คงต้องตามดูอย่างตาไม่กะพริบเช่นกัน เพราะว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ”
ถึงกระนั้น หลังจากอภิสิทธิ์ตอบโต้กัมพูชากลับไป ก็ทำให้โพลล์ความนิยมเพิ่มขึ้นมาก นั่นแสดงว่าคนไทยก็ยังมีฐานความคิดชาตินิยมเก่าอยู่พอสมควร
“ชาตินิยมฉบับดั้งเดิมที่เราใช้กันมาเกือบ 100 ปีฝังรากลึกมากนะครับ กี่เจเนอเรชั่น ถ้าคิดถึงเจเนอเรชั่นที่โดนปลุกระดมอย่างรุนแรง คือเจเนอเรชั่นแม่ผม แม่ผมก็เติบโตเป็นสาวในสมัยประมาณช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณช่วงเปลี่ยนจากสยามเป็นไทย มารุ่นผมซึ่งเป็นรุ่นขิงแก่ และหลังรุ่นผมนี่มีอีกกี่รุ่นล่ะ ผมก็นึกถึงรุ่นลูก หลาน และเหลนด้วยซ้ำบางที ประมาณ 4-5 เจเนอเรชั่น 4-5 ชั่วอายุคน เพราะฉะนั้นมันฝังรากลึกมาก สะกิดปุ๊บมันก็ติด ต้องพูดว่าจุดปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่มันก็มีแต่อีกว่ากระแสนี้จะรักษาได้ยาวเท่าไหร่ นานเท่าไหร่ โพลล์ที่บอกว่า 3 เท่าตัวจะอยู่ไหม คือโพลล์ผมก็คิดว่ามันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา มันมีปัญหามีเทคนิคมีอะไรเกี่ยวกับโพลล์เยอะแยะ ซึ่งคงจะพูดไม่ได้ครอบคลุม แต่ผมคิดว่าเพียงเมื่อประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่แล้ว โพลล์ก็บอกว่าคุณทักษิณนำคุณอภิสิทธิ์ แต่ตอนนี้โพลล์ของคุณอภิสิทธิ์ได้รับความนิยมถึง 3 เท่า แต่อันนี้จะอยู่ไหม และผมคิดว่าเผลอๆ มันไปพิสูจน์เอาเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเมื่อไหร่เราก็ไม่รู้ ตัวตัดสินน่าจะอยู่ตรงนั้น”
ประวัติศาสตร์บาดแผล
การ นัดชุมนุมของพันธมิตรฯ ในวันอาทิตย์นี้ก็น่าจะวัดได้ระดับหนึ่ง ว่ากระแสชาตินิยมจะปลุกขึ้นได้เพียงใด อ.ชาญวิทย์ยังไม่แน่ใจนัก เพราะเงื่อนไขเวลานี้ต่างจากยุคสฤษดิ์-จอมพล ป.
“เพราะ ว่าเอาเข้าจริง ถ้าเราดูเรื่องการปลุกกระแสชาตินิยมในอดีต มันถูกปลุกโดยรัฐ ถูกปลุกโดยรัฐบาล แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีส่วนปลุกไม่เต็มที่ คือผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะไม่ปลุกเลยนะ ผมคิดว่ารัฐบาลปลุก รัฐบาลปลุกและก็รัฐบาลใช้เครื่องมือที่มีอยู่ โทรทัศน์บางช่องที่ออกมาเสนอประวัติศาสตร์บาดแผล ประวัติศาสตร์ฉบับพิกลพิการว่าด้วยพระยาละแวกอะไรอย่างนี้ คือ ใช้วาทกรรมว่าพระนเรศวรนั้นล้างแค้นตัดหัวกษัตริย์กัมพูชาเอาเลือดมาล้างพระ บาท ดูแล้วเหมือนกับพระนเรศวรนั้นใจดำอำมหิตมากเลย ล้างแค้นถึงขนาดหนัก แต่เอาเข้าจริงมันเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งถูกทำให้เชื่อว่าพระยาละแวกถูกจับ ตัดหัว แต่ในข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น กษัตริย์กัมพูชาหรือพระยาละแวกหนีไปเมืองลาวได้ อันนี้เป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่ง อ.จันทร์ฉาย ภัคอธิคม ทำการศึกษาค้นคว้า เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เธอทำการค้นคว้าเรื่องพิธีปฐมกรรมพระยาละแวก และเธอก็ได้เป็นศาสตราจารย์ไปเพราะว่างานค้นคว้ายอดเยี่ยมมาก และก็ได้พิสูจน์แล้วว่าพระนเรศวรตีเมืองละแวกได้ แต่ฆ่าพระยาละแวกไม่ได้
แต่ ว่าประวัติศาสตร์อีกอันหนึ่งที่โทรทัศน์ของรัฐเอาขึ้นมาใช้ปลุกระดม ซึ่งผมคิดว่าอันนี้น่าเป็นห่วง มันเป็นการใช้ประวัติศาสตร์บาดแผลมาตอกย้ำ ทำให้เกิดความบาดหมางกับกัมพูชาต่อไป ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้คนไทยรับข้อมูลผิดๆ สืบทอดอคติความคิดที่เป็นลบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
“แต่ ว่าประเด็นที่พูดก็คือว่า การปลุกกระแสชาตินิยมส่วนใหญ่อันนี้ ก็คือทำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มเสื้อสีเหลือง ซึ่งไม่ใช่องค์กรของรัฐ ดังนั้นก็จะต่างกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่างจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม อันนั้นใช้เครื่องมือของรัฐโดยตรงเลย แต่ตรงนี้ต่าง เมื่อต่างแล้วก็อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่เคยเป็นมาในอดีต และมันต่างอีกตรงที่ว่าปัจจุบัน คือสมัยสฤษดิ์กับสมัยจอมพล ป. ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีคู่ต่อสู้ทางการเมือง จึงเล่นได้ค่อนข้างสบายมาก เพียวๆ ไปเลย ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปลุกระดมเรื่องการแพ้คดีเขาพระวิหารนั้น พรรคฝ่ายค้านคือประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็เป็นทนายให้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ดังนั้นไม่มีคนคัดค้าน”
“ผมคิดว่าปัจจุบันมันมีกลุ่มการเมืองเยอะแยะที่ไม่เห็นด้วย คุณชวลิต คุณทักษิณนี่ชัดเจน และก็กลุ่มเสื้อแดง รวมทั้งยังมีความหลากหลายอีกเยอะแยะ ผมคิดว่ากลุ่มนักวิชาการถึงแม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ เสียงไม่ดังมากเท่ากับนักวิชาการกระแสหลัก ก็ไม่เห็นด้วยไม่น้อย และผมคิดว่าข้อสำคัญโลกปัจจุบันมันเป็นโลกของอินเทอร์เน็ต คนจำนวนมากเลยที่มีความรู้มีสถานะ สามารถใช้สื่อทางเลือก ไม่พึ่งกับสื่อปกติ ไม่พึ่งอยู่กับโทรทัศน์วิทยุ อย่าง ผมนี่ปกติผมจะไม่ค่อยดูโทรทัศน์ เพราะผมคิดว่าโทรทัศน์นั้นอ่านข่าวและวิจารณ์ข่าวไปในตัว ผมว่าทำให้เรากลายเป็นจำเลยของคนอ่านข่าว มันไม่ให้อิสระเราได้คิด เขาให้เราเลยว่ามันคืออะไร แต่ผมคิดว่าการอ่านหนังสือพิมพ์หรือการอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต มันมีอิสระที่ว่าเราคิดได้ เรามีเวลาคิด เราค่อยๆ อ่านก็ได้ ผมคิดว่าโทรทัศน์นี่เป็นอันตรายมากๆ เพราะฉะนั้นตัวผมเองไม่ค่อยดู ตามอยู่บ้างแต่ว่าไม่ค่อยดู คิดว่ามันทำให้คนไม่สามารถสร้างความคิดอิสระได้ ไม่สามารถจะปลดปล่อย ตกเป็นทาส
เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วมันมีคนจำนวนหนึ่งที่หันไปหาสื่ออื่น ทำให้การปลุกระดมอย่างที่เคยทำมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยจอมพลสฤษดิ์ หรือสมัย 6 ตุลาก็ได้ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สมัย 6 ตุลา 19 มองกลับไป fax ยังไม่มีเลย โทรศัพท์มือถือก็ยังไม่มี พอมาพฤษภาเลือด 2535 มี fax มี โทรศัพท์มือถืออันใหญ่ๆ และก็มีกล้องวิดีโอ ผมคิดว่าเทคโนโลยีสำคัญมากๆ ใครแพ้ใครชนะผมว่าบางทีเทคโนโลยีสำคัญมาก ฉะนั้น ในขณะนี้ใครไม่เล่นอินเทอร์เน็ต ใครไม่มีอี-เมล์เสียเปรียบมากนะ เจเนอเรชั่นผมส่วนใหญ่ไม่เล่นนะ พวกขิงแก่นี่ไม่เล่น แต่ผมบังเอิญต้องไปสอนหนังสือเมืองนอกบ่อยๆ มันก็เลยมีความจำเป็นต้องใช้ เราก็ไม่อายที่จะให้เด็กมาสอน บางทีเราไปอยู่เมืองนอกเราไม่ค่อยอายเท่าไหร่ อยู่เมืองไทยอาจจะอาย ไม่กล้าบอกว่าเล่นอินเทอร์เน็ตไม่เป็น บางคนอาจจะต้องมี e-mail address ไว้ แต่ไม่เคยเปิด เพราะฉะนั้นคนที่ไม่สามารถจับเทคโนโลยีพวกนี้ได้เสียเปรียบมากๆ ก็แปลว่า ในอีกด้านหนึ่งคนจำนวนหนึ่งเขาหันไปหาสื่อทางเลือก ผมคิดว่าอันนี้จะเป็นประเด็นสำคัญมากในแง่ของการต่อสู้ในการเมืองครั้งนี้”
เมื่อเทียบกับยุคก่อน ความขัดแย้งของสองประเทศที่อ่อนไหวขนาดนี้ป่านนี้คงลุกลามไปไกลแล้ว
“มันมีคนออกมาทานมีคนออกมาติง เพราะฉะนั้นมันก็อาจจะไม่ร้อนแรงเท่าที่ควร แต่ก็ไว้วางใจไม่ได้นะครับ เพราะว่าลัทธิชาตินิยมนั้นเป็นอะไรก็ตามที่สามารถจะไปได้ไกลมากๆ คือลัทธิชาตินิยมเป็นเรื่องของความรัก ความรักชาติ เป็นห่วง เป็นพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าล้ำเส้นมันก็กลายเป็นความหลง พอหลงปุ๊บคลั่ง หลง ปุ๊บตาบอด หลงก็คลั่งแล้วมันอาจไปถึงขนาดทำอะไรก็ได้ กลายเป็นพลังลบ เป็นพลังทำลาย อันนี้คือทวิลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมเช่นเดียวกัน มีด้านที่เป็นบวกซึ่งดีมากๆ ถ้าเรารักชาติเราเสียสละ เราทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเราเจริญ ทำได้เยอะมาก แต่ถ้าเราข้ามเส้นบางเส้นไป ซึ่งมันอยู่ตรงไหนเราก็ไม่รู้นะ”
เส้นที่ว่านั้นอาจต้องมีศัตรูของชาติเสียก่อน
“อันนี้หละมันถึงมีวาทกรรมประหลาดๆ เข้ามา วาทกรรมว่าด้วยพระยาละแวก วาทกรรมว่าด้วยตะกวดลิ้นสองแฉก วาทกรรมว่าด้วยขอมไม่ใช่เขมร วาทกรรมว่าด้วยแผนที่ของฝรั่งเศสฝ่ายเดียว วาทกรรมว่าด้วยทางขึ้นสันปันน้ำอยู่ทางด้านเรา มันเป็นการสร้างทัศนคติที่เป็นลบ เป็นการสร้างอคติอย่างรุนแรงมากๆ”
กระทั่งมาถึงวาทกรรมล่าสุดที่ว่า คลั่งชาติดีกว่าขายชาติ
“ไม่น่าเชื่อนะว่ามันมาจากคนซึ่งมีการศึกษา ส่วนใหญ่แล้วชาตินิยมมักถูกปลุกโดยคนเมืองเป็นส่วนใหญ่ เป็นคนกรุงเทพฯ เป็นคนเมือง เป็นคนที่อย่างน้อยต้องมีปริญญาตรี ผู้นำของลัทธิชาตินิยม ดูกลับไปเถอะครับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”
“สิ่ง ที่ผมคิดว่ามันน่าวิตกมากก็คือ การเมืองภายในของความขัดแย้งที่ไม่ยอมจบไม่ยอมสิ้น ผมคิดว่าเมื่อล้มคุณทักษิณไปได้ด้วยการรัฐประหาร ก็ต่อต้านนอมินีของคุณทักษิณต่อ ก็คือคุณสมัคร สุนทรเวช กับคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในช่วงของการพยายามล้มคุณสมัครกับล้มคุณสมชาย มันมีเหตุบังเอิญเรื่องการขึ้นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร มันกลายเป็นเหมือนกับสวรรค์บันดาล ส่งอะไรมาให้จุดปุ๊บติดปั๊บเลย มันก็กลายเป็นเรื่องที่สามารถจะใช้ถล่มทั้งคุณสมัคร คุณสมชาย คุณนพดลได้ และผมคิดว่ามันก็บานปลายต่อไป ถึงได้คู่ต่อสู้ใหม่คือสมเด็จฮุน เซน บานปลายถึงตรงนั้นกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศไป และมันก็กระทบกว้างมากๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องในบ้านเรา และก็ไม่ใช่เพียงไทยกับกัมพูชา มันกลายเป็นอาเซียน มันกลายไปขึ้นเวทีโลก เป็นสิ่งซึ่งผู้คนทั้งหลายก็มองอย่างวิตกกังวล และเผลอๆ อาจจะค่อนข้างประหลาดใจและเผลอๆ ดูถูกดูแคลนด้วย ประเด็นมันคล้ายกับมันไม่มีวุฒิภาวะหรืออย่างไร ในวงการทูตที่ผมพบเจอในกรุงเทพฯ บรรดาข้าราชการการทูตของต่างประเทศเขาก็รู้สึก บาง คนก็ประหลาดใจ ระคนกับความมองที่เหมือนกับว่าไอ้นี่มันอะไรนะ ทำนองนี้ ซึ่งในด้านหนึ่งมันก็น่าเศร้า อีกด้านหนึ่งเรื่องนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก คือน่าห่วง ผมคิดว่ามันมีสิทธิ์บานปลายมากๆ เลย”
“เลยกลายเป็นเรื่องของคุณทักษิณกับคุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) ผมว่าดูๆ แล้วตกลงใครวางกับดักใคร คุณชวลิตไปพนมเปญกลับมาปุ๊บเป็นประเด็นเลย เรื่องจะมีบ้านพักหรูหราให้ และก็ตามมาด้วยฮุน เซน บอกว่าไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามมาด้วยคุณทักษิณไปบรรยายพิเศษ ตามมาด้วยคุณอภิสิทธิ์เรียกทูตกลับ มันว้าวุ่นไปหมดนะ ผมคิดว่าการต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น