--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ยุบสภา,ยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์


ยุบสภา-คณะรัฐมนตรี
การที่มีผู้ไม่เห็นด้วยและไม่พอใจการทำงานของคณะรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ นี้ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นเข้าสู่ภาวะคับขันมากยิ่งขึ้น ในส่วนของหลวงประดิษฐ์ฯ เองก็ไม่พอใจการทำงานของคณะรัฐบาลชุดนี้ จึงได้ก่อให้เกิดการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับพระยามโนปกรณ์ฯ ดังนั้นรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ฯ จึงตัดสินใจดำเนินการกับสมาชิกสภาหัวรุนแรงเหน่านี้ ทั้งนี้เพื่อยับยั้งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั้งปวง และเพื่อป้องกันมิให้ประเทศชาติต้องตกอยู่ภายใต้การจลาจล จึงได้มีการตรา “พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุด ใหม่” ออกมาใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า

“…ให้ ปิดประชุมสภานี้เสีย จนกว่าจะได้มีสภาใหม่ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ยุบคณะรัฐมนตรีชุดนี้เสีย แล้วให้ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงทุกคน คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปตามเดิม ในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาและยังมิได้เรียกประชุมสภาใหม่ นั้น ให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติตามคำแนะนำและยินยอมของคณะ รัฐมนตรี…”

ต่อจากนั้นก้ได้มีประกาศตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเดิมทั้งสิ้น ยกเว้นหลวงประดิษฐ์ฯ และพรรคพวกเพียง ๒-๓ คนเท่านั้น และยังได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญํติคอมมิวนิสต์” เพื่อป้องกันและลงโทษผู้ประพฤติเป็นคอมมิวนิสต์ตามออกมาในวันเดียวกันนั้น ด้วย


ในการนี้รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงให้ประชาชนทราบ มีความสำคัญบางตอนดังนี้

“ใน คณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้เกิดแตกแยกกันเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกันและไม่สามารถที่จะคล้อยตามกันได้ ความเห็นข้างน้อยนั้น ปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้น เป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยามและเป็นที่เห็นได้โดยแน่ นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนี้ จะนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร”

“…ความ เป็นไปของคณะรัฐมนตรีในเวลานี้ เป็นภาวะอันสุดแสนที่จะทนทานได้ ไม่ว่าจะเป็นอยู่ ฤาจะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองใด และไม่ว่าจะมีรูปรัฐบาลเป็นอย่างไร”

“สมาชิก แห่งสภาผู้แทนในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติจนกว่าจะได้มีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้ง ขึ้นมา สภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นชั่วคราวเช่นนี้ หาควรไม่ที่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่า อันมีอยู่ใช้อยู่ ประดุจเป็นการพลิกแผ่นดิน…”

“ความแตกต่างกันในสภา ซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติกับคณะรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่ในทางบริหารนี้ เป็นที่น่าอันตรายอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศ โดยกระทำให้ราชการชักช้า เกิดความแตกแยกกันในรัฐบาล ก่อให้เกิดความหวาดเสียวและความไม่แน่นอนใจแก่ประชาชนทั่วไป”

“ฐานะ แห่งความเป็นอยู่เช่นนี้ จะปล่อยให้คงเป็นต่อไปอีกไม่ได้แล้ว ความปลอดภัยของประชาชนเป็นกฎหมายอันสูงสุดไม่ว่าในบ้านเมืองใด และโดยคติเช่นนี้เท่านั้น ที่บังคับให้รัฐบาลต้องปิดสภา และตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่”

พอถึงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๖ นั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยไปพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยคำแนะนำของพระยามโนปกรณ์ฯ และคณะรัฐมนตรีคนสำคัญในเวลานั้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวหลวงประดิษฐ์ฯ เอง และเพื่อตัดต้นตอแห่งความยุ่งยากทั้งปวงด้วย

ต่อมาวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ “สี่ทหารเสือ” คือพระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ และพระประศาสน์ฯ ก็ได้พร้อมใจกันยื่นใบลาออกจากหน้าที่ ทั้งในด้านทหารและด้านการเมืองทุกตำแหน่ง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นไป ซึ่งได้สร้างความตื่นเต้นอย่างขนานใหญ่ให้แก่มหาชนอีกครั้ง และพอถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็ได้มีการเดินขบวนของกรรมกรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อแสดงความอาลัยต่อการลาออกของ “สี่ทหารเสือ” ขึ้นมาอีกด้วย

ยึดอำนาจประยามโนปกรณ์เนื่องจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทั้งยังได้ส่งตัวหลวงประดิษฐ์ฯ ออกไปอยู่นอกประเทศ ทำให้คณะผู้ก่อการบางกลุ่มไม่พอใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเพื่อนสนิทมิตรสหายของหลวงประดิษฐ์ฯ เอง

ดังนั้นการยึดอำนาจจึงได้อุบัติขึ้นอีกครั้งเป็นคำรบสอง เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นประธาน พันโทหลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารบก นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ และหลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และกองบังคับการการยึดอำนาจครั้งนี้อยู่ที่วังปารุสกวัน

การรัฐประหารครั้งนี้ได้สำเร็จลงด้วยความราบรื่นเรียบร้อยตามเคย รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ยินยอมกราบถวายบังคมลาออกแต่โดยดี ไม่มีการต่อสู้ขัดขืนแต่อย่างใดทั้งสิ้น ครั้นวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาพหลฯ ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกปิดมาเป็นเวลากว่า ๘๑ วันนั้น ก็ได้เริ่มเปิดประชุมขึ้นใหม่ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พอถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ คณะรัฐบาลชุดใหม่ ก็ได้ตั้งขึ้นสำเร็จโดยเรียบร้อย

ต่อมาไม่ช้า หลวงประดิษฐ์ฯ ก็ได้ถูกเรียกตัวกลับเมืองไทยโดยการด่วน และได้เดินทางมาถึงเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ครั้นอีกสองวันต่อมาก็ได้รัฐการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีร่วมคณะของพระยาพหลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น