ไม่ว่าจะ เจตนา ไม่ว่าจะมี ความตั้งใจ แต่กรณีที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกมา ปิดเกม ในเรื่อง พระบรมราชโองการ มีความลึกซึ้งยิ่งในทางการเมือง
แม้จะไม่ได้ออกมาโดยตัว พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
นั่นก็คือ เป็นการออกมายืนยันอย่างเฉียบขาดและมั่นคงโดย พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ ซึ่งเป็นทั้งเลขาธิการสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ และ นายทหารคนสนิท
นายทหารคนสนิท ประธานองคมนตรี
หากมองจากเรื่องของ พระบรมราชโองการ อันเป็นของสูง มีความจำเป็นที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จักต้องยุติเรื่อง
แม้จะทำให้ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เกิดความหงุดหงิด
แม้จะทำให้บรรดา คณะรัฐบุคคล อันมี นายปราโมทย์ นาครทรรพ และ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นกำลังสำคัญในทางความคิด
เพราะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบรมราชโองการ
หากไม่เก็บรับบทเรียนจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในกรณีอันเกี่ยวกับ รัฏฐาธิปัตย์ มาศึกษาจะไม่เข้าใจในความร้อนใจของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้หรอก
บทบาทของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการนี้มี 2 หน 2 ครา
หนแรกแสดงออก ณ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเดือนธันวาคม 2556 โดยการประกาศให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง
เป็นการประกาศโดยไม่เอ่ยคำว่า รัฏฐาธิปัตย์
หน 2 เมื่อเดือนเมษายน 2557 เป็นการกล่าวถึงคำว่า รัฏฐาธิปัตย์ อย่างเต็มปากเต็มคำ โดยยืนยันตนเองจะเป็นผู้เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และตนเองจะเป็นผู้ ลงนาม รับสนอง พระบรมราชโองการ
เสียง อื้อฮือ ก็ดังกระหึ่มประสานกับเสียง อะฮา
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า บรรดา นักรัฐประหาร ในการอดีต ไม่ว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่ว่า จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเคยทำอย่างที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พูด
แต่ไม่เคยประกาศตนว่าเป็น รัฏฐาธิปัตย์
แม้กระทั่งล่าสุด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งดำรงอยู่เหมือนกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลถนอม กิตติขจร ในสถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
ก็ไม่กล้าใช้คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ แทนตน
ฉะนั้น เมื่อ พล.อ.สายหยุด เกิดผล พยายามจะยัดเยียดสถานะแห่ง รัฏฐาธิปัตย์ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงรีบตัดบท
ไม่ยอมไปอยู่ ณ จุดเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ไม่ทราบว่าเมื่อผ่านสถานการณ์ในวันที่ 30 เมษายนมาแล้ว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเป็นเช่นใด
จะประสบชัยชนะอันรุ่งโรจน์พร้อมกับ มวลมหาประชาชน สามารถโค่นและกำจัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกไปให้พ้นจากวงจรแห่งอำนาจ
หรือว่าจะเสมอเป็น ครั้งสุดท้าย แห่งครั้งสุดท้ายอีกหลายครั้ง
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////
แม้จะไม่ได้ออกมาโดยตัว พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
นั่นก็คือ เป็นการออกมายืนยันอย่างเฉียบขาดและมั่นคงโดย พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ ซึ่งเป็นทั้งเลขาธิการสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ และ นายทหารคนสนิท
นายทหารคนสนิท ประธานองคมนตรี
หากมองจากเรื่องของ พระบรมราชโองการ อันเป็นของสูง มีความจำเป็นที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จักต้องยุติเรื่อง
แม้จะทำให้ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เกิดความหงุดหงิด
แม้จะทำให้บรรดา คณะรัฐบุคคล อันมี นายปราโมทย์ นาครทรรพ และ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นกำลังสำคัญในทางความคิด
เพราะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบรมราชโองการ
หากไม่เก็บรับบทเรียนจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในกรณีอันเกี่ยวกับ รัฏฐาธิปัตย์ มาศึกษาจะไม่เข้าใจในความร้อนใจของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้หรอก
บทบาทของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการนี้มี 2 หน 2 ครา
หนแรกแสดงออก ณ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเดือนธันวาคม 2556 โดยการประกาศให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง
เป็นการประกาศโดยไม่เอ่ยคำว่า รัฏฐาธิปัตย์
หน 2 เมื่อเดือนเมษายน 2557 เป็นการกล่าวถึงคำว่า รัฏฐาธิปัตย์ อย่างเต็มปากเต็มคำ โดยยืนยันตนเองจะเป็นผู้เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และตนเองจะเป็นผู้ ลงนาม รับสนอง พระบรมราชโองการ
เสียง อื้อฮือ ก็ดังกระหึ่มประสานกับเสียง อะฮา
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า บรรดา นักรัฐประหาร ในการอดีต ไม่ว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่ว่า จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเคยทำอย่างที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พูด
แต่ไม่เคยประกาศตนว่าเป็น รัฏฐาธิปัตย์
แม้กระทั่งล่าสุด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งดำรงอยู่เหมือนกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลถนอม กิตติขจร ในสถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
ก็ไม่กล้าใช้คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ แทนตน
ฉะนั้น เมื่อ พล.อ.สายหยุด เกิดผล พยายามจะยัดเยียดสถานะแห่ง รัฏฐาธิปัตย์ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงรีบตัดบท
ไม่ยอมไปอยู่ ณ จุดเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ไม่ทราบว่าเมื่อผ่านสถานการณ์ในวันที่ 30 เมษายนมาแล้ว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเป็นเช่นใด
จะประสบชัยชนะอันรุ่งโรจน์พร้อมกับ มวลมหาประชาชน สามารถโค่นและกำจัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกไปให้พ้นจากวงจรแห่งอำนาจ
หรือว่าจะเสมอเป็น ครั้งสุดท้าย แห่งครั้งสุดท้ายอีกหลายครั้ง
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น