--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ กกต.


เปิด(อีกครั้ง) รธน.-กฎหมาย พิสูจน์ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” แทรกแซงสื่อฯ–ห้ามเห็นต่าง–อิดออดจัดเลือกตั้ง…“หน้าที่ กกต.” หรือ??

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริการจัดการการเลือกตั้ง สอดขึ้นกลางวิกฤตการเมืองอีกครั้ง ด้วยการเสนอให้ กกต. ทำหนังสือดำเนินการตรวจสอบกรณีที่ช่อง 11 ถ่ายทอดการอภิปรายของกลุ่มนักวิชาการ ที่มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 พ.ค.2557 ระหว่างเวลา 18.00 – 19.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

โดยอ้างว่าเนื้อหาทางวิชาการ ที่เหล่านักวิชาการได้นำเสนอ ต่อสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล มีการเสนอข้อมูลที่สร้างความแตกแยกและความสับสนต่อประชาชน โดยเฉพาะการที่นักวิชาการยืนยันด้วยหลักการทางกฎหมายว่ารัฐบาลสามารถทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกำหนดวันเลือกตั้งได้เอง

ซึ่งแน่นอนว่าความคิดเห็นของ นักวิชาการ เหล่านั้นย่อมไม่ตรงกับความคิดเห็นของ สมชัย ศรีสุทธิยากร ที่อ้างมาตลอดว่า รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี นั้นไม่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกำหนดวันเลือกตั้ง ทั้งๆที่ปรากฏข้อมูล-หลักฐาน อย่างชัดเจนว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ในช่วงปลายปี 2551 ภายหลัง “พรรคพลังประชาชน” ถูกสั่งให้ยุบพรรค นั้นเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร” ในเขตที่ว่างลง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2552
 คลิกอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : เปิด พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. 2552 พบ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ขณะ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี” เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ

คำถามก็คือ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. มีหน้าที่ อะไรไปสั่งให้มีการตรวจสอบการทำงานของสื่อสารมวลชนและนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับ กกต. ทั้งๆที่เป็นความคิดเห็นทางวิชาการและเป็นไปโดยสุจริต

คำถามก็คือ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. มี หน้าที่ อะไรไปกระทำการอันสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการ แทรกแซงการทำงานและอิสรภาพของสื่อสารมวลชน
และ คำถามก็คือ สิ่งที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ประกาศว่าจะกระทำนั้นเป็น หน้าที่หลัก ที่ กกต. พึงกระทำ ในขณะนี้หรือไม่

ซึ่งก่อนหน้านี้  ได้นำเสนอเรื่อง เปิด รธน.-กฎหมาย ดูพฤติกรรม กกต. ขอ เลื่อนเลือกตั้ง คำประกาศ เป็นกลาง(ข้างกบฎ) ไว้แล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” กกต.หญ่าย แสดงออกซึ่งการทำ “หน้าที่” ที่ชวนให้ สังคม ตั้งข้อสงสัย จึงขออนุญาตนำข้อมูลหลักฐาน มานำเสนออีกครั้ง เพื่อให้สังคมได้ร่วมกับพิจารณาว่า แท้ที่จริงแล้ว หน้าที่ ของ กกต. ที่สำคัญที่สุดนั้นคืออะไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งยกร่างโดย คนของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
มี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนดัง ร่วมกันทำคลอดออกมา ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ใน มาตรา 235 กำหนด หน้าที่หลัก ของ กกต. เอาไว้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มี การเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหาร ท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

พร้อมกับระบุใน มาตรา 236 กำหนดว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาค และมีโอกาส ทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง
(2) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 โดยคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของรัฐ และคำนึง ถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(3) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง การสนับสนุน ทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชี ทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการ ลงคะแนนเลือกตั้ง
(4) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย ตามมาตรา 235 วรรคสอง
(5) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายตามมาตรา 235 วรรคสอง
(6) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียง ประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(7) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
(8) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
(9) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ซึ่งออกมารองรับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ใน มาตรา 10 ก็ระบุถึง หน้าที่หลัก ของ กกต. เอาไว้ว่า ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณีรวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
รวมทั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ใน มาตรา 6 ก็ถึง หน้าที่หลักของ กกต. ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งเป่นการลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ที่จัดทําบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว
กกต. มี “หน้าที่และ หน้าที่หลัก ของ กกต. ก็คือ จัดการเลือกตั้งให้ บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม

การกระทำจำพวก  แทรกแซงสื่อมารมวลชน , แสดงความต้องการ จำกัดกรอบความคิดเห็นของประชาชนและนักวิชาการ, แสดงออกซึ่งความ ไม่พึงพอใจ เมื่อมีผู้แสดงความคิดที่แตกต่าง ซ้ำร้ายยัง ออกอาการ  อิดๆออดๆ ไม่อยากจะจัดการเลือกตั้ง ด้วย ข้ออ้าง มากมาย + เงื่อนไขแปลกประหลาดๆนั้น อาจจะ ไม่ใช่ หน้าที่หลัก ของ กกต.

ซึ่งอาจจะเป็น กก.ตรวย สาวก กรวย กปปส. ก็เป็นได้


ที่มา.พระนครสาสน์
-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น