การลากดึงเอา ศาลรัฐธรรมนูญ
การลากดึงเอา ป.ป.ช. และการลากดึงเอา กกต. เข้ามาอยู่ในกลเกมแห่งการแย่งชิงอำนาจ
ก็ หวาดเสียว อยู่แล้ว
แว่วๆ ว่า กำลังมีความพยายามจะลากดึงเอา ประธานศาลฎีกา และ ประธานศาลปกครองสูงสุด เข้ามาด้วย
ก็ยิ่งสุด เสียว
ลำพังเดินเกมให้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" นำร่องสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของ กปปส.นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา
ก็ขัดหูขัดตา นิติรัฐ นิติธรรม อย่างล่อแหลม
มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ คำวินิจฉัยของศาลแพ่งจึงต้องเดินตาม
ยิ่งการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ยิ่งหนักหนาสาหัส
มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ ทำให้ความหวังที่จะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งเท่ากับ "ประตูที่ถูกปิด"
จึงหวาดเสียวยิ่งเมื่อจะดึง "ศาลฎีกา" ดึง "ศาลปกครอง" เข้ามา
หากประเมินจากความพยายามในการต่อสายของ กปปส.ตลอดวันที่ 9 พฤษภาคม เป้าหมายอันเป็นแก่นแกนน่าจะเป็นวุฒิสภา
โดยมี ส.ว.สรรหาเป็น "ตัวหลัก"
แต่สิ่งที่ประธานศาลฎีกาก็มองออก ประธานศาลปกครองสูงสุดก็มองออก คือเงื่อนงำการดำรงอยู่ของประธานวุฒิสภา
ต้องยอมรับว่า ยังไม่มี "ประธานวุฒิสภา" ในทางเป็นจริง
ที่ว่าประธานวุฒิสภายังมิได้ดำรงอยู่ในทางเป็นจริง มิได้เริ่มต้นจากความถูกต้อง เหมาะสมในการดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา ในห้วงแห่งการเปิดประชุมสมัยวิสามัญประการเดียว
หากแต่อยู่ที่ตำแหน่งนี้ยังมิได้มีการทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งลงมา
เพราะเรื่องยังไม่ไปจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา
เพียงแต่ข้อโต้แย้งว่าใครเป็นผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ ใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งก็เหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่งแล้ว มิไยต้องกล่าวถึงความชอบธรรมและความเหมาะสมของว่าที่ประธานวุฒิสภาในการขับเคลื่อนใดๆ ในทางการเมือง
กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลฎีกา" กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลปกครองสูงสุด"
บทบาทของว่าที่ ประธานวุฒิสภาในขณะนี้จึงแทบไม่แตกต่างไปจากบทบาทของ "คณะรัฐบุคคล" แต่อย่างใด
คือ ยังไม่มี "อำนาจ" ใดๆ อยู่ในมือ
คือ ยังไม่มี "ความชอบธรรม" ใดๆ ในทางการเมือง นอกจากคำหะรูหะราแบบเดียวกันกับที่บางคนในพรรคประชาธิปัตย์เคยพยายาม
ยิ่งหากประเมินจากที่ ส.ว.บางคนใน "กลุ่ม 40" ยืนยัน
จำเป็นต้องใช้แนวทางอื่น คือ ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ดำเนินการ
ย้อนกลับไปตั้งหลักที่ มาตรา 7
ก็มาตรา 7 นี้มิใช่หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับตุลาการในเดือนเมษายน 2549 ว่า
มั่ว ไม่เป็นประชาธิปไตย
แล้ว ส.ว.ยังดึงดันจะใช้บริการของมาตรา 7 มาเป็นเครื่องมืออีกละหรือ
เท่ากับการสมคบคิดระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ กกต. ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่เละเทะพอเพียงหรือ
จึงต้องดึง "ศาลฎีกา" และ "ศาลปกครองสูงสุด" มาลงปลักด้วย
กลเกมทางการเมืองเดือนพฤศจิกายน 2556 จึงสัมพันธ์กับกลเกมการเมืองเดือนกันยายน 2549
ลากดึงเอากลไก "องค์กรอิสระ" ลากดึงเอากลไก "อำนาจรัฐ" เกือบทุกอย่าง โดยมีเป้าหมายเพื่อเผาบ้านไล่ "หนู" เพียงตัวเดียวจนปั่นป่วนโกลาหลไปทั้งประเทศ
7 ปีอันแสนสาหัสแล้ว ยังไม่สรุป บทเรียน กันอีกหรือ
ที่มา:มติชน
//////////////////////////////////////////////
การลากดึงเอา ป.ป.ช. และการลากดึงเอา กกต. เข้ามาอยู่ในกลเกมแห่งการแย่งชิงอำนาจ
ก็ หวาดเสียว อยู่แล้ว
แว่วๆ ว่า กำลังมีความพยายามจะลากดึงเอา ประธานศาลฎีกา และ ประธานศาลปกครองสูงสุด เข้ามาด้วย
ก็ยิ่งสุด เสียว
ลำพังเดินเกมให้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" นำร่องสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของ กปปส.นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา
ก็ขัดหูขัดตา นิติรัฐ นิติธรรม อย่างล่อแหลม
มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ คำวินิจฉัยของศาลแพ่งจึงต้องเดินตาม
ยิ่งการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ยิ่งหนักหนาสาหัส
มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ ทำให้ความหวังที่จะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งเท่ากับ "ประตูที่ถูกปิด"
จึงหวาดเสียวยิ่งเมื่อจะดึง "ศาลฎีกา" ดึง "ศาลปกครอง" เข้ามา
หากประเมินจากความพยายามในการต่อสายของ กปปส.ตลอดวันที่ 9 พฤษภาคม เป้าหมายอันเป็นแก่นแกนน่าจะเป็นวุฒิสภา
โดยมี ส.ว.สรรหาเป็น "ตัวหลัก"
แต่สิ่งที่ประธานศาลฎีกาก็มองออก ประธานศาลปกครองสูงสุดก็มองออก คือเงื่อนงำการดำรงอยู่ของประธานวุฒิสภา
ต้องยอมรับว่า ยังไม่มี "ประธานวุฒิสภา" ในทางเป็นจริง
ที่ว่าประธานวุฒิสภายังมิได้ดำรงอยู่ในทางเป็นจริง มิได้เริ่มต้นจากความถูกต้อง เหมาะสมในการดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา ในห้วงแห่งการเปิดประชุมสมัยวิสามัญประการเดียว
หากแต่อยู่ที่ตำแหน่งนี้ยังมิได้มีการทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งลงมา
เพราะเรื่องยังไม่ไปจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา
เพียงแต่ข้อโต้แย้งว่าใครเป็นผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ ใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งก็เหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่งแล้ว มิไยต้องกล่าวถึงความชอบธรรมและความเหมาะสมของว่าที่ประธานวุฒิสภาในการขับเคลื่อนใดๆ ในทางการเมือง
กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลฎีกา" กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลปกครองสูงสุด"
บทบาทของว่าที่ ประธานวุฒิสภาในขณะนี้จึงแทบไม่แตกต่างไปจากบทบาทของ "คณะรัฐบุคคล" แต่อย่างใด
คือ ยังไม่มี "อำนาจ" ใดๆ อยู่ในมือ
คือ ยังไม่มี "ความชอบธรรม" ใดๆ ในทางการเมือง นอกจากคำหะรูหะราแบบเดียวกันกับที่บางคนในพรรคประชาธิปัตย์เคยพยายาม
ยิ่งหากประเมินจากที่ ส.ว.บางคนใน "กลุ่ม 40" ยืนยัน
จำเป็นต้องใช้แนวทางอื่น คือ ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ดำเนินการ
ย้อนกลับไปตั้งหลักที่ มาตรา 7
ก็มาตรา 7 นี้มิใช่หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับตุลาการในเดือนเมษายน 2549 ว่า
มั่ว ไม่เป็นประชาธิปไตย
แล้ว ส.ว.ยังดึงดันจะใช้บริการของมาตรา 7 มาเป็นเครื่องมืออีกละหรือ
เท่ากับการสมคบคิดระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ กกต. ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่เละเทะพอเพียงหรือ
จึงต้องดึง "ศาลฎีกา" และ "ศาลปกครองสูงสุด" มาลงปลักด้วย
กลเกมทางการเมืองเดือนพฤศจิกายน 2556 จึงสัมพันธ์กับกลเกมการเมืองเดือนกันยายน 2549
ลากดึงเอากลไก "องค์กรอิสระ" ลากดึงเอากลไก "อำนาจรัฐ" เกือบทุกอย่าง โดยมีเป้าหมายเพื่อเผาบ้านไล่ "หนู" เพียงตัวเดียวจนปั่นป่วนโกลาหลไปทั้งประเทศ
7 ปีอันแสนสาหัสแล้ว ยังไม่สรุป บทเรียน กันอีกหรือ
ที่มา:มติชน
//////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น