โดย.อินทิรา วิทยสมบูรณ์
ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หลายภาคส่วนในสังคมต่างได้เสนอแนวทางอันเป็นทางออกจากปัญหา ที่พบว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” เป็นทิศทางที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลายาวนาน
โดยการปฏิรูปประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการระดมความคิดเห็น ออกแบบเครื่องมือและกระบวนการอย่างจริงจังในทุกด้าน สังคมไทยต้องการการปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปการปกครอง ที่มีข้อเสนอการกระจายอำนาจการปกครองและงบประมาณให้ท้องถิ่นจังหวัดจัดการตนเอง การปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดินให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การศึกษา” เป็นฐานปัญหาสำคัญหนึ่งของสังคมไทย เป็นรากเน่าที่ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ขึ้นในสังคม การศึกษาไทยเป็นระบบเผด็จการทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่ผูกขาดจากส่วนกลาง ด้วยการบังคับให้เรียนตามมาตรฐานเดียว/ หลักสูตรเดียวจากกรุงเทพฯ ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาการจัดสรรงบประมาณการศึกษา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณแผ่นดิน แต่กลับมีงบพัฒนาเด็กเพียง 10% เท่านั้น และงบประมาณดังกล่าวก็ไม่อาจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะการจัดสรรงบประมาณรายหัวเด็กนั้นไม่สมดุลกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งต้นทุนของเด็กแต่ละคนต่างกันตามสภาพพื้นที่ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดใด (โรงเรียนด้อยโอกาส เล็ก กลาง ใหญ่) กลับได้รับงบประมาณอุดหนุนรายหัวเด็กเท่ากัน ดังนั้นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วจึงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะพัฒนาโรงเรียน ไหนจะขาดครู ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน จนนำไปสู่การเกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพและศักยภาพทางการศึกษาตามมา
ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษายังเป็นการศึกษาที่ผูกอยู่กับระบบโรงเรียน ผูกติดอยู่กับมาตรฐานกลาง หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักจนไม่สามารถสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เด็กค้นเจอศักยภาพ ค้นเจอตนเอง อีกทั้งยังละเลย/เพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและรากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชน ขาดการเปิดรับการมีส่วนร่วมของสังคมทำให้ชีวิตวัยเรียนเป็นชีวิตในห้องเรียนเป็นหลัก พรากเด็กออกจากวิถีของถิ่นฐานและรากเหง้าจนไม่สามารถเชื่อมโยงตนเองสู่ชีวิตจริงที่มีครอบครัว ชุมชนและสังคมแวดล้อมได้
การศึกษาเช่นนี้ ได้บีบให้เด็กเข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่ไม่มีทางเลือก จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคนมีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวดวิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ เบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง
การศึกษาไทยที่เป็นอยู่ เด็กจึงไม่ได้รับการผลักดันในเรื่องที่ตัวเองถนัด มุ่งเน้นวิชาการเป็นเลิศแต่อ่อนแอในการพัฒนาจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมของเด็ก, นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนก็ไม่ต่อเนื่องเปลี่ยนตามผู้บริหารที่ย้ายไปย้ายมา, ผู้บริหารมีอำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จ, ระบบการประเมินโรงเรียนและครู เกณฑ์การวัดผลยังไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน อีกทั้งยังทำให้ครูมุ่งแต่การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการประเมินภายนอกจนละเลยการเรียนการสอน , หลักสูตรยังไม่เหมาะสมกับช่วงวัย และระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม เป็นต้น
ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอามาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายทั้งอัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์ และวิถีวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการนำเข้าทรัพยากรการเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา
ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานการศึกษา ต่างตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้งเด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน
ด้วยความสำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสานความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย
1. กลุ่มโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น
2. กลุ่มโรงเรียน/วิทยาลัย ที่จัดโดยภาคธุรกิจเอกชน
3. กลุ่มสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง
4. กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.
5. กลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือก
6. กลุ่มเด็กและเยาวชน
7. กลุ่มนักบริหารและนักวิชาการด้านการศึกษา
8. กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชน
9. กลุ่มสื่อที่สนใจด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันในตัวมนุษย์และสัมพันธ์กับสิ่งแวด ล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
บนปรัชญาและเจตจำนงค์ที่เชื่อมั่นว่า “การศึกษาที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่พัฒนาคนให้เป็นผู้มีความสุข”
ถึงเวลาแล้ว ที่ “เรา” ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันลงมือสร้างอนาคตทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาที่มีความเป็นมนุษย์ การศึกษาที่มีความหลากหลาย และเป็นการศึกษาที่สร้างความงอกงามแก่บุคคล ชุมชนและสังคม
มาร่วมกันเปลี่ยนการศึกษา มาร่วมกันเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา

เราต่างคือเกลียวเชือกที่ถักทอร่วมกัน บนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษาเกลียวเชือกทั้ง 9 เครือข่าย 9 สีสะท้อนถึงความหลากหลาย ที่มาเรียงกัน มาขมวดมาสุ่มรวมกันบนจุดร่วมเดียวกันที่ปลายดินสอที่เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการศึกษา
ภายใต้ชื่อว่า Education Reform Assembly หรือชื่อเล่นว่า ERA หรือ “ยุคสมัย” เพื่อแสดงนัยยะของการสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในช่วงชีวิตของพวกเรา ที่มีการศึกษาเป็นเป้าประสงค์สำคัญ
…มาร่วมกันขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา มาร่วมกัน
สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH
ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หลายภาคส่วนในสังคมต่างได้เสนอแนวทางอันเป็นทางออกจากปัญหา ที่พบว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” เป็นทิศทางที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลายาวนาน
โดยการปฏิรูปประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการระดมความคิดเห็น ออกแบบเครื่องมือและกระบวนการอย่างจริงจังในทุกด้าน สังคมไทยต้องการการปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปการปกครอง ที่มีข้อเสนอการกระจายอำนาจการปกครองและงบประมาณให้ท้องถิ่นจังหวัดจัดการตนเอง การปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดินให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การศึกษา” เป็นฐานปัญหาสำคัญหนึ่งของสังคมไทย เป็นรากเน่าที่ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ขึ้นในสังคม การศึกษาไทยเป็นระบบเผด็จการทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่ผูกขาดจากส่วนกลาง ด้วยการบังคับให้เรียนตามมาตรฐานเดียว/ หลักสูตรเดียวจากกรุงเทพฯ ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาการจัดสรรงบประมาณการศึกษา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณแผ่นดิน แต่กลับมีงบพัฒนาเด็กเพียง 10% เท่านั้น และงบประมาณดังกล่าวก็ไม่อาจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะการจัดสรรงบประมาณรายหัวเด็กนั้นไม่สมดุลกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งต้นทุนของเด็กแต่ละคนต่างกันตามสภาพพื้นที่ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดใด (โรงเรียนด้อยโอกาส เล็ก กลาง ใหญ่) กลับได้รับงบประมาณอุดหนุนรายหัวเด็กเท่ากัน ดังนั้นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วจึงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะพัฒนาโรงเรียน ไหนจะขาดครู ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน จนนำไปสู่การเกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพและศักยภาพทางการศึกษาตามมา
ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษายังเป็นการศึกษาที่ผูกอยู่กับระบบโรงเรียน ผูกติดอยู่กับมาตรฐานกลาง หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักจนไม่สามารถสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เด็กค้นเจอศักยภาพ ค้นเจอตนเอง อีกทั้งยังละเลย/เพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและรากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชน ขาดการเปิดรับการมีส่วนร่วมของสังคมทำให้ชีวิตวัยเรียนเป็นชีวิตในห้องเรียนเป็นหลัก พรากเด็กออกจากวิถีของถิ่นฐานและรากเหง้าจนไม่สามารถเชื่อมโยงตนเองสู่ชีวิตจริงที่มีครอบครัว ชุมชนและสังคมแวดล้อมได้
การศึกษาเช่นนี้ ได้บีบให้เด็กเข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่ไม่มีทางเลือก จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคนมีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวดวิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ เบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง
การศึกษาไทยที่เป็นอยู่ เด็กจึงไม่ได้รับการผลักดันในเรื่องที่ตัวเองถนัด มุ่งเน้นวิชาการเป็นเลิศแต่อ่อนแอในการพัฒนาจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมของเด็ก, นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนก็ไม่ต่อเนื่องเปลี่ยนตามผู้บริหารที่ย้ายไปย้ายมา, ผู้บริหารมีอำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จ, ระบบการประเมินโรงเรียนและครู เกณฑ์การวัดผลยังไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน อีกทั้งยังทำให้ครูมุ่งแต่การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการประเมินภายนอกจนละเลยการเรียนการสอน , หลักสูตรยังไม่เหมาะสมกับช่วงวัย และระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม เป็นต้น
ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอามาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายทั้งอัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์ และวิถีวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการนำเข้าทรัพยากรการเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา
ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานการศึกษา ต่างตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้งเด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน
ด้วยความสำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสานความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย
1. กลุ่มโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น
2. กลุ่มโรงเรียน/วิทยาลัย ที่จัดโดยภาคธุรกิจเอกชน
3. กลุ่มสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง
4. กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.
5. กลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือก
6. กลุ่มเด็กและเยาวชน
7. กลุ่มนักบริหารและนักวิชาการด้านการศึกษา
8. กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชน
9. กลุ่มสื่อที่สนใจด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันในตัวมนุษย์และสัมพันธ์กับสิ่งแวด ล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
บนปรัชญาและเจตจำนงค์ที่เชื่อมั่นว่า “การศึกษาที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่พัฒนาคนให้เป็นผู้มีความสุข”
ถึงเวลาแล้ว ที่ “เรา” ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันลงมือสร้างอนาคตทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาที่มีความเป็นมนุษย์ การศึกษาที่มีความหลากหลาย และเป็นการศึกษาที่สร้างความงอกงามแก่บุคคล ชุมชนและสังคม
มาร่วมกันเปลี่ยนการศึกษา มาร่วมกันเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
เราต่างคือเกลียวเชือกที่ถักทอร่วมกัน บนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษาเกลียวเชือกทั้ง 9 เครือข่าย 9 สีสะท้อนถึงความหลากหลาย ที่มาเรียงกัน มาขมวดมาสุ่มรวมกันบนจุดร่วมเดียวกันที่ปลายดินสอที่เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการศึกษา
ภายใต้ชื่อว่า Education Reform Assembly หรือชื่อเล่นว่า ERA หรือ “ยุคสมัย” เพื่อแสดงนัยยะของการสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในช่วงชีวิตของพวกเรา ที่มีการศึกษาเป็นเป้าประสงค์สำคัญ
…มาร่วมกันขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา มาร่วมกัน
สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH
ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น