นิวัฒน์ธำรง รักษาการนายกฯ เตรียมเรียกประชุมแบ่งงานวันนี้ มอบกฤษฎีกาสอบศาลรธน.กรณี "ยุทธศักดิ์" เว้นช่วงรมต.ก่อนกลับดำรงตำแหน่ง
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้มีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยให้ ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย ส่งผลให้รัฐมนตรีที่ร่วมลงมติสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัวไปด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่ามีรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติโยกย้ายนายถวิล เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2554 นอกจากนางสาวยิ่งลักษณ์ แล้ว ยังมีรัฐมนตรีอีก 9 คน ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ปัจจุบันเป็น รมว.เเรงงาน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ เเละรมว.พาณิชย์ ขณะนั้น ปัจจุบันเปลี่ยนมาควบรมว.คลัง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ปัจจุบันควบรองนายกฯ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ปัจจุบันเป็นรองนายกฯ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ปัจจุบันเป็น รมช.กลาโหม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมฯ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ ปัจจุบันเป็น รมช.เกษตรเเละสหกรณ์ และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ปัจจุบันเป็น รองนายกฯ
ชี้"ยิ่งลักษณ์"พ้นรมว.กลาโหมด้วย
แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว จะมีผลให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดในเรื่องการโยกย้ายนายถวิล เป็นความผิดของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะไปดำรงตำแหน่งใดในคณะรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นไปด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความผิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ต้องเว้นวรรคทางการเมือง ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็สามารถได้รับแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ได้ทันที เพียงแต่การจะแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นอำนาจเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แม้จะมีรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีได้ เพราะถือว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯ เท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ในเรื่องของการทูลเกล้าฯ หรือรับสนองพระบรมราชโองการกรณีแต่งตั้งประธานวุฒิสภา หรือ ร่างพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง รักษาการนายกฯ สามารถดำเนินการได้
ทนาย"ยิ่งลักษณ์"น้อมรับคำตัดสิน
นายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งมาร่วมฟังคำวินิจฉัยแทน กล่าวว่า น้อมรับคำตัดสินของศาลที่มีมติเป็นเอกฉันท์ และพร้อมปฏิบัติตาม แต่รัฐมนตรีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายก็ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยส่วนตัวไม่มีข้อโต้แย้งต่อคำวินิจฉัย แต่จะรอให้ถึงกำหนดในการคัดเอกสาร เพื่อมาศึกษาแนวทางคำวินิจฉัยต่อไป
"ไพบูลย์"จี้รัฐมนตรีที่เหลือลาออก
ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้อง กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีเกินกว่าที่คาดหมายไว้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติที่เป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ในการให้นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีลงเป็นการเฉพาะตัว และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ รวมทั้งให้รัฐมนตรีชุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายต้องสิ้นสถานภาพด้วย ซึ่งคำวินิจฉัยก็มีความเที่ยงตรงโดยศาลได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนทุกประเด็น
"ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีที่เหลืออยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ลาออกจากความเป็นรัฐมนตรี หากไม่ลาออกก็เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป เนื่องจากไม่ครบองค์ประกอบของรัฐบาล"
ครม.ตั้ง"นิวัฒน์ธำรง"รักษาการนายกฯ
ด้านความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาล หลังจากมีคำวินิจฉัยออกมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) มีมติให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน กรณีการสิ้นสภาพของรัฐมนตรีบางคนที่ดำรงตำแหน่งใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 และได้เว้นช่วงไปเป็นปี แล้วกลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง อาทิ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม และเว้นช่วงไป และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช.กลาโหม จึงจะขอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างหนังสือสอบถามศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะร่วมกับกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้ง ซึ่งจะหารือกับประธาน กกต. ในวันที่ 9 พ.ค. ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้รับชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับครม.อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดยมีสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ มารอทำข่าว ขณะที่บรรยากาศด้านหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีมวลชนกลุ่มสตรีกว่า 100 คน เดินทางมาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยพากันตะโกน "ยิ่งลักษณ์สู้ๆ "
นายกฯน้ำตาคลออำลาเก้าอี้นายกฯ
ต่อมา เมื่อเวลา 16.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ เปิดแถลงข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ด้วยน้ำตาคลอเบ้าและมีน้ำเสียงสั่นเครือ ตอนหนึ่งระบุว่า ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลดำเนินการด้วยความตั้งใจ ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน ตามที่ประชาชนได้ไว้วางใจเลือกรัฐบาลนี้เข้ามา โดยยึดหลักบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่กล่าวหา หรือเอื้อประโยชน์ หรือกระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในส่วนของการขับเคลื่อนนโยบาย รัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการจัดการทุจริต และขอถือโอกาสนี้ขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา ขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจให้ตนและครม.ได้รับใช้พี่น้องประชาชน
"ดิฉันได้ทำงานมาทั้งหมด 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกนาที ทุกวันของ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยหนทางของประชาธิปไตย ภูมิใจที่ได้ทำงานในหน้าที่นี้ ด้วยความตั้งใจทุ่มเท และไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด จะขอยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม ยึดมั่นในความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม และจะยืนหยัดไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน ก็จะขอยืนเคียงข้างประชาชน" นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าว
หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่าจะวางอนาคตทางการเมือง หรือจะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ยิ้ม ก่อนกล่าวว่า "วันนี้ยังเร็วไปที่จะตอบคำถามนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยืนยันว่าจะรับใช้ประชาชนไม่ว่าสถานะไหนก็ตาม"
จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เดินลงมาพบมวลชนที่มาสนับสนุน ก่อนขึ้นรถส่วนตัวเดินทางกลับ โดยมีบรรดา ครม. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่เดินตามไปส่ง ซึ่ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ยกมือไหว้พร้อมกล่าวขอบคุณทุกๆ คนที่ได้ร่วมทำงานและฝ่าฟันอุปสรรคกันมา โดยก่อนจะขึ้นรถ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้กวักมือเรียกหานายนิวัฒน์ธำรง ก่อนจะขอจับมือ เหมือนเป็นการส่งมอบงานต่อ
"นิวัฒน์ธำรง"เรียกถกครม.แบ่งงานวันนี้
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ในวันที่ 8 พ.ค. นี้ ได้เรียกประชุมครม.ที่เหลือ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของครม.การแบ่งงานต่างๆ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และบทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐมนตรีบางคนใน ศอ.รส.ถูกศาลวินิจฉัยพ้นสภาพ
ทั้งนี้ ครม.รักษาการ ไม่สามารถพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายได้ แต่หน้าที่หลักคือดำเนินการให้จัดการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่หนักใจที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกฯ
ศาลรธน.ปิด1วันหวั่นอันตราย
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอบข้อซักถามที่ว่ากังวลหรือไม่ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยแล้วศาลจะเป็นคู่กรณีทางการเมือง ว่า ในเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการ จะมีความเกรงกลัวไม่ได้ เพราะว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 17.30 น. ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากคณะตุลาการได้อ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าที่ด้านหน้าสำนักงานศาล ได้มีเสียงปืนดังเป็นระยะต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ขณะเดียวกันภายในสำนักงานก็มีการนำประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ลงนามโดยนายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปติดไว้ที่ประตูทางเข้า โดยมีข้อความแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบว่า สำนักงานศาลฯ ประกาศหยุดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ค.
กกต.ยันเดินหน้าเลือกตั้ง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ว่า การสิ้นสภาพของรักษาการนายกรัฐมนตรีไม่กระทบต่อการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ โดยหลังจากนี้ กกต.ยังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป และไม่ว่ารัฐมนตรีคนใดจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง เนื่องจาก กกต.ไม่มีอำนาจทูลเกล้าฯ เองได้ แต่ยังคงต้องรอหารือถึงการยกร่าง พ.ร.ฎ.กับทางรัฐบาลอีกครั้ง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตามกำหนดการเดิม คือ ในวันที่ 20 ก.ค. กกต.กับรักษาการแทนนายกรัฐมนตรีจะต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไปตามลำดับ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้มีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยให้ ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย ส่งผลให้รัฐมนตรีที่ร่วมลงมติสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัวไปด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่ามีรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติโยกย้ายนายถวิล เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2554 นอกจากนางสาวยิ่งลักษณ์ แล้ว ยังมีรัฐมนตรีอีก 9 คน ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ปัจจุบันเป็น รมว.เเรงงาน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ เเละรมว.พาณิชย์ ขณะนั้น ปัจจุบันเปลี่ยนมาควบรมว.คลัง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ปัจจุบันควบรองนายกฯ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ปัจจุบันเป็นรองนายกฯ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ปัจจุบันเป็น รมช.กลาโหม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมฯ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ ปัจจุบันเป็น รมช.เกษตรเเละสหกรณ์ และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ปัจจุบันเป็น รองนายกฯ
ชี้"ยิ่งลักษณ์"พ้นรมว.กลาโหมด้วย
แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว จะมีผลให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดในเรื่องการโยกย้ายนายถวิล เป็นความผิดของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะไปดำรงตำแหน่งใดในคณะรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นไปด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความผิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ต้องเว้นวรรคทางการเมือง ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็สามารถได้รับแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ได้ทันที เพียงแต่การจะแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นอำนาจเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แม้จะมีรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีได้ เพราะถือว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯ เท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ในเรื่องของการทูลเกล้าฯ หรือรับสนองพระบรมราชโองการกรณีแต่งตั้งประธานวุฒิสภา หรือ ร่างพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง รักษาการนายกฯ สามารถดำเนินการได้
ทนาย"ยิ่งลักษณ์"น้อมรับคำตัดสิน
นายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งมาร่วมฟังคำวินิจฉัยแทน กล่าวว่า น้อมรับคำตัดสินของศาลที่มีมติเป็นเอกฉันท์ และพร้อมปฏิบัติตาม แต่รัฐมนตรีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายก็ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยส่วนตัวไม่มีข้อโต้แย้งต่อคำวินิจฉัย แต่จะรอให้ถึงกำหนดในการคัดเอกสาร เพื่อมาศึกษาแนวทางคำวินิจฉัยต่อไป
"ไพบูลย์"จี้รัฐมนตรีที่เหลือลาออก
ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้อง กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีเกินกว่าที่คาดหมายไว้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติที่เป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ในการให้นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีลงเป็นการเฉพาะตัว และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ รวมทั้งให้รัฐมนตรีชุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายต้องสิ้นสถานภาพด้วย ซึ่งคำวินิจฉัยก็มีความเที่ยงตรงโดยศาลได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนทุกประเด็น
"ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีที่เหลืออยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ลาออกจากความเป็นรัฐมนตรี หากไม่ลาออกก็เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป เนื่องจากไม่ครบองค์ประกอบของรัฐบาล"
ครม.ตั้ง"นิวัฒน์ธำรง"รักษาการนายกฯ
ด้านความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาล หลังจากมีคำวินิจฉัยออกมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) มีมติให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน กรณีการสิ้นสภาพของรัฐมนตรีบางคนที่ดำรงตำแหน่งใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 และได้เว้นช่วงไปเป็นปี แล้วกลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง อาทิ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม และเว้นช่วงไป และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช.กลาโหม จึงจะขอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างหนังสือสอบถามศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะร่วมกับกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้ง ซึ่งจะหารือกับประธาน กกต. ในวันที่ 9 พ.ค. ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้รับชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับครม.อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดยมีสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ มารอทำข่าว ขณะที่บรรยากาศด้านหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีมวลชนกลุ่มสตรีกว่า 100 คน เดินทางมาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยพากันตะโกน "ยิ่งลักษณ์สู้ๆ "
นายกฯน้ำตาคลออำลาเก้าอี้นายกฯ
ต่อมา เมื่อเวลา 16.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ เปิดแถลงข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ด้วยน้ำตาคลอเบ้าและมีน้ำเสียงสั่นเครือ ตอนหนึ่งระบุว่า ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลดำเนินการด้วยความตั้งใจ ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน ตามที่ประชาชนได้ไว้วางใจเลือกรัฐบาลนี้เข้ามา โดยยึดหลักบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่กล่าวหา หรือเอื้อประโยชน์ หรือกระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในส่วนของการขับเคลื่อนนโยบาย รัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการจัดการทุจริต และขอถือโอกาสนี้ขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา ขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจให้ตนและครม.ได้รับใช้พี่น้องประชาชน
"ดิฉันได้ทำงานมาทั้งหมด 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกนาที ทุกวันของ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยหนทางของประชาธิปไตย ภูมิใจที่ได้ทำงานในหน้าที่นี้ ด้วยความตั้งใจทุ่มเท และไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด จะขอยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม ยึดมั่นในความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม และจะยืนหยัดไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน ก็จะขอยืนเคียงข้างประชาชน" นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าว
หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่าจะวางอนาคตทางการเมือง หรือจะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ยิ้ม ก่อนกล่าวว่า "วันนี้ยังเร็วไปที่จะตอบคำถามนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยืนยันว่าจะรับใช้ประชาชนไม่ว่าสถานะไหนก็ตาม"
จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เดินลงมาพบมวลชนที่มาสนับสนุน ก่อนขึ้นรถส่วนตัวเดินทางกลับ โดยมีบรรดา ครม. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่เดินตามไปส่ง ซึ่ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ยกมือไหว้พร้อมกล่าวขอบคุณทุกๆ คนที่ได้ร่วมทำงานและฝ่าฟันอุปสรรคกันมา โดยก่อนจะขึ้นรถ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้กวักมือเรียกหานายนิวัฒน์ธำรง ก่อนจะขอจับมือ เหมือนเป็นการส่งมอบงานต่อ
"นิวัฒน์ธำรง"เรียกถกครม.แบ่งงานวันนี้
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ในวันที่ 8 พ.ค. นี้ ได้เรียกประชุมครม.ที่เหลือ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของครม.การแบ่งงานต่างๆ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และบทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐมนตรีบางคนใน ศอ.รส.ถูกศาลวินิจฉัยพ้นสภาพ
ทั้งนี้ ครม.รักษาการ ไม่สามารถพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายได้ แต่หน้าที่หลักคือดำเนินการให้จัดการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่หนักใจที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกฯ
ศาลรธน.ปิด1วันหวั่นอันตราย
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอบข้อซักถามที่ว่ากังวลหรือไม่ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยแล้วศาลจะเป็นคู่กรณีทางการเมือง ว่า ในเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการ จะมีความเกรงกลัวไม่ได้ เพราะว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 17.30 น. ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากคณะตุลาการได้อ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าที่ด้านหน้าสำนักงานศาล ได้มีเสียงปืนดังเป็นระยะต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ขณะเดียวกันภายในสำนักงานก็มีการนำประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ลงนามโดยนายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปติดไว้ที่ประตูทางเข้า โดยมีข้อความแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบว่า สำนักงานศาลฯ ประกาศหยุดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ค.
กกต.ยันเดินหน้าเลือกตั้ง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ว่า การสิ้นสภาพของรักษาการนายกรัฐมนตรีไม่กระทบต่อการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ โดยหลังจากนี้ กกต.ยังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป และไม่ว่ารัฐมนตรีคนใดจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง เนื่องจาก กกต.ไม่มีอำนาจทูลเกล้าฯ เองได้ แต่ยังคงต้องรอหารือถึงการยกร่าง พ.ร.ฎ.กับทางรัฐบาลอีกครั้ง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตามกำหนดการเดิม คือ ในวันที่ 20 ก.ค. กกต.กับรักษาการแทนนายกรัฐมนตรีจะต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไปตามลำดับ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น