
เรื่องนี้เมื่อพิจารณาโดยผิวเผินดูเหมือนว่า...จะเป็นการก้าวล่วงไปในเรื่องส่วนตัวของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” อย่างไม่สมควรแต่หากคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า พล.อ.เปรม เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอดีตนายกรัฐมนตรีที่อยู่ยาวนานถึงแปดปีเป็นผู้ที่ยังมีอิทธิพลในทั้งสามเหล่าทัพ และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดอีกอย่างก็คือ “พล.อ.เปรมติณสูลานนท์” เป็นประธานองคมนตรีดังนั้นการที่ พล.อ.เปรม ไปเป็นที่ปรึกษาของ “บริษัทเอกชน”
หลายแห่ง...จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเพราะด้วยสถานภาพที่มีความใหญ่โตอย่างมากทั้งทางการเมืองและสังคมเช่นนี้...การไปเป็นที่ปรึกษาของบริษัทเอกชนย่อมส่งผลให้หน่วยงานราชการต่างๆที่บริษัทเอกชนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือต้องถูกตรวจสอบด้วยหน่วยงานราชการต่างๆ เหล่านั้น ต้อง“ครั่นคร้ามกลัวเกรง” อยู่มิใช่น้อยและยิ่งสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์...ระบบเส้นสาย ยังหนาแน่นหนักหน่วงแข็งทื่อเช่นนี้แล้ว ย่อมไม่อาจจะหนีพ้น
ภาวะที่ “ไม่กล้าที่จะไปแตะต้อง”หรือทำอะไรที่ทำให้เกิดความไม่พอใจแม้เพียงเล็กน้อยให้เกิดขึ้นกับบริษัทเอกชนที่มี พล.อ.เปรมเป็นที่ปรึกษาอย่างช่วยไม่ได้ปัญหานี้จึงค้างคาใจผู้คนจำนวนไม่น้อย...แต่อาจจะไม่มีใครกล้าที่จะหยิบยกนำขึ้นมาเป็นประเด็นอภิปรายถึงความเหมาะสมหรือไม่อย่างไรมาเป็นเวลายาวนานเพราะที่เห็นทำกันอยู่ทั่วไปและนับวันจะขยายตัวมากยิ่งขึ้นก็คือการแอบสนทนากันอยู่ในมุมมืดผมเองเห็นว่า...ในขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ควรจะนำเอาปัญหานี้มา
สนทนาเป็นประเด็นสาธารณะให้เป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางถึงความเหมาะควรหรือไม่ประการใด?ยิ่งเมื่อนำ มาผูกโยงกับปัญหารูปธรรมในขณะนี้...ที่มีเอกชนพวกหนึ่งไปดำ เนินการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ “เขาสอยดาว” อย่างผิดกฎหมายเพราะเป็นทั้งป่าสงวนแห่งชาติ (ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนเขาสอยดาวปี 2508) เป็นป่าสงวนและอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า(ตามประกาศคณะปฏิวัติที่ 200 เมื่อ 21 สิงหาคม 2515) และเป็นป่าถาวร (ตาม พ.ร.บ. 2484)โดยยึดครองพื้นที่
ถึงกว่า 4,000 ไร่ และที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่าได้ออกเอกสารสิทธิ์อย่างผิดกฎหมายจำนวนไม่น้อยกว่า 482 ไร่ด้วยแล้วยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมที่ “พล.อ.เปรมติณสูลานนท์” จะไปดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารแห่งหนึ่ง ไม่ว่าจะพิจารณาจากแง่มุมไหนก็ตามเพราะเอกชนกลุ่มดังกล่าวได้เข้าไปยึดถือเอาพื้นที่เขาสอยดาวที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ยิ่งของประเทศไทยที่เหลือน้อยแห่งมากแล้วในขณะนี้มาเป็นของส่วนตัวและได้สร้างความเดือดร้อนให้
แก่ชาวบ้านแถบนั้น...เพราะไปสร้างเขื่อนขวางทางนํ้าที่จะไหลไปหล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านอันเป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านนำเรื่องไปร้องเรียนต่อวุฒิสภา(ปี พ.ศ.2544) แล้ววุฒิสภาก็ได้ทำการส่งเรื่องให้ กรมป่าไม้ตรวจสอบ (ปี พ.ศ.2546)ซึ่งก็พบว่า...เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งสามฉบับดังกล่าว (พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติปี 2507 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับ 200 เมื่อ 21 สิงหาคม 2515 และ พ.ร.บ.ป่าถาวรปี พ.ศ.2484)จากนั้นกรมป่าไม้ได้ส่งเรื่องให้ ปปช.ดำเนินการ
ตามกฎหมายต่อมา ปปช.ได้ชี้มูลว่า “มีความผิด” แล้วส่งเรื่องต่อไปยังอัยการจันทบุรีตั้งแต่ปี 2548 แต่จนถึงป่านนี้ไม่มีอะไรคืบหน้าแม้แต่น้อยทั้งนี้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อาจจะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับตนก็เป็นได้แต่เรื่องเช่นนี้คนในสังคมไทยทุกคนก็รู้ดีว่า...ความเป็นจริงเป็นอย่างไร และอาจยิ่งตอกยํ้าอย่างหนักแน่นว่า...เพราะมีการแทรกแซงของ “ผู้มีอำนาจ” ซึ่งมากล้นด้วยอิทธิพลและบารมีไปทุกปริมณฑลของชีวิตสาธารณะของสังคมผมเชื่อมั่นว่า...หาก
ยังมีการแทรกแซงชีวิตสาธารณะของสังคมเฉกเช่นนี้แล้ว ประเทศไทยอาจจะล้าหลังประเทศเมียนม่าร์ (พม่า) ในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้แน่นอนทั้งที่ก่อนหน้านี้...ไทยเคยอยู่ในสถานะที่จะไปแข่งกับญี่ปุ่น แต่ตอนนี้ก็ถูกทิ้งไม่เห็นหลัง และที่น่าอัปยศก็คือ...ในขณะนี้ไทยกำลังถูกเวียดนามทิ้งอย่างน่าใจหายแต่สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ก็คือ ประชาชนไทยที่ตื่นตัวขึ้นมาแล้วคงไม่ยอมให้ใครเข้ามาแทรกแซงชีวิตสาธารณะทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังที่เป็นอยู่เพราะประชาชนจะลุกขึ้นมาโค่นล้ม ระบอบอมาตยาธิปไตยลงไป...เพื่อเปิดทางให้ ประชาธิปไตยเต็มใบ ได้ปรากฏเป็นจริงเสียที...ภายหลังจากที่เป็น “ประชาธิปไตยจอมปลอม” มาเป็นเวลาเกือบแปดสิบปี เพียงแต่ว่าจะเป็นไปอย่างสันติวิธีหรือจะเป็นไปอย่างรุนแรงเท่านั้นพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ครับ...ท่านไปเป็นที่ปรึกษาของบริษัทเอกชนทำไม?
ที่มา:บางกอกทูเดย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น