--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รีแบรนด์ความหวังใหม่ประชาชนช่วยคิด พล.อ.ชวลิตทำ

บุตรชายพล.อ.ชวลิต คุณจาตุรนต์ คชสีห์ อดีต ส.ส.ชุมพร และก็มีผม ส่วนลำดับอื่น ก็จะเป็นตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาค แรงงาน นิสิตนักศึกษา และเครือข่ายอื่นจะส่งตัวแทนเข้ามาลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยเราจะไม่เน้นส่ง ส.ส.คนดังลงสมัครเพราะ เป็นการเมืองแบบเก่า แต่เราจะเดินหน้าด้วยการเมืองยุคใหม่ คือให้ตัวแทนจากทุก ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม”
“อีกทั้งเราเป็นพรรคที่ไม่มีนายทุน สนับสนุน เป็นพรรคของเราจริงๆ เป็นพรรคของประชาชน ซึ่งจะเติบใหญ่มากมายเพียงใดก็อยู่ที่ประชาชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน แต่เราจะเน้นในเรื่องการสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะหากการเมืองยังคงดำเนินไปในรูปแบบเก่าๆ มีการซื้อเสียงและเข้าไปถอนทุนด้วยการคอร์รัปชั่นสุดท้ายก็จะเข้าสู่วังวน เดิมๆ ของวงจรอุบาทว์ คือทหารออกมายึดอำนาจล้างไพ่ ที่สุดปัญหาก็จะไม่จบสิ้น เสียที เพราะทำมา 20 กว่าครั้ง เปลี่ยนรัฐธรรมนูญมา 18 ฉบับ ถามว่า ปัญหาบ้านเมืองมันจบหรือไม่ มันก็ยังมีอยู่เหมือน เดิม ฉะนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการแก้ไข คือให้อำนาจประ ชาธิปไตยเป็นของปวงชนอย่างแท้จริง แล้วเราจะแก้ปัญหาได้”


กรณีความหวังใหม่ถูกบริภาษ
ว่าเป็นนอมินีของเพื่อไทย
พล.อ.ชวลิต ท่านมีจุดยืนของท่าน การเข้าไปที่พรรคเพื่อไทย ก็เพื่อต้องการ ทำให้พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของมหาชน แต่ทำๆ ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ท่านก็คิดว่าท่านออกมาเพื่อมาทำข้างนอก ท่านน่าจะมีอิสระมากกว่า ส่วนด้านความสัมพันธ์ใครๆ ก็น่าจะทราบว่าท่านชวลิตมีความสัมพันธ์อันดีกับแทบทุกขั้ว เพราะไม่ ต้องการเป็นศัตรูกับใคร ในทางตรงกันข้าม ท่านยังมีจุดยืนชัดเจนในการเป็นโซ่ข้อกลาง เชื่อมทุกฝ่ายให้หันหน้าเข้าหากัน เพื่อประ สานให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ


โมเดลสร้างความปรองดอง
เบื้องต้นคือ พล.อ.ชวลิตในฐานะที่ ปรึกษา จะใช้กลไกภายในพรรค เจรจากับ พรรคแกนนำที่เป็นคู่ขัดแย้ง ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้มีตัวแทนจากพรรคและจาก ภาคส่วนอื่น เข้ามาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล หรือรัฐบาลแห่งชาติเพื่อสร้าง ความปรองดองสมานฉันท์ และบริหารจัดการทุกอย่างที่ไม่เป็นธรรมให้เกิดความ เท่าเทียม กฎหมายอะไรที่ไม่เป็นธรรมก็จัด การเสียใหม่ การตัดสินอะไรที่ไม่เป็นธรรม ก็เคลียร์ให้หมดในรอบนี้ เมื่อมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ประเทศชาติก็เดินไปข้างหน้าได้โดยปราศจากความขัดแย้ง


นโยบายดับไฟใต้
“พล.อ.ชวลิตมีจุดยืนในการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบเขตปกครองพิเศษ เป็นมหานครปัตตานี ที่ประชาชนสามารถ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร เอาหลักศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างจริยธรรมคุณธรรมในการปกครอง ซึ่งเราไม่จำกัดว่า จะมีเฉพาะในภาคใต้ ทางเหนือทางอีสานก็น่าจะมีการปกครองแบบมหานคร คนกรุงเทพฯ ยังสามารถเลือกผู้ว่าฯ ของเขา เอง แล้วคนจังหวัดอื่นทำไมจะไม่มีสิทธิ์เลือกผู้ว่าฯ ของเขาบ้าง”
“นอกจากนี้ การมีมหานครทั่วประ เทศ ยังถือเป็นการกระจายอำนาจออกสู่ท้องถิ่น เพราะปัจจุบันอำนาจยังคงกระจุก ตัวอยู่ในกรุงเทพฯ จีดีพี 50 เปอร์เซ็นต์ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง ถ้าสามารถกระจายอำนาจออกไปได้ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับคนทั่วประเทศ ส่วนหน้าที่ ของมหาดไทยเราก็จะยกระดับให้เป็นมณฑลที่ปรึกษาหรือเป็นผู้ตรวจการเหมือน ในประเทศฝรั่งเศส โดยให้อิสระกับท้องถิ่น และประชาชนในการบริหารและแก้ปัญหา ในพื้นที่”
“ย้อนกลับมาที่สโคปเฉพาะภาคใต้ เราก็จะเอาหลักศาสนาอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหาร มีสภาผู้รู้ซึ่งมีตัวแทน จากทั้งพุทธและมุสลิม และมีอำนาจสามารถ ยื่นวีโต้คัดค้านกฎหมายที่หมิ่นเหม่และขัดต่อหลักการศาสนา เช่น การเปิดโรงเหล้า และอบายมุขสิ่งมอมเมาทั้งหลาย เพราะถ้าหากแก้ปัญหาพื้นฐานตรงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น เหล้า ยาเสพติด ของเถื่อน รวมไปถึง อาวุธปืน เราก็จะสามารถลดข้อขัดแย้งใน พื้นที่ให้ทุเลาเบาบางลงมาได้ และในอนาคต อาจจะมีการเจรจากับผู้ก่อความไม่สงบให้ เข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเหมือนใน อดีตในการแก้ปัญหาคอมมิวนิสต์”


ความหวังใหม่มีประชานิยมหรือไม่
“เราไม่เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยม เพราะมันไม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้น เราจะสร้างกลไก เศรษฐกิจที่มีการแบ่งปันกัน คือ วิน วิน และแชร์ ส่วนนายทุนเราก็ไม่ได้ไปกลั่นแกล้ง แต่จะสร้างกลไกทางเศรษฐกิจที่มีการแชร์ อย่างเช่น เรื่องผลผลิตทางด้านการเกษตร ให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายผลผลิตมากขึ้น นายทุนก็สามารถซื้อสินค้าในราคา ที่พอสมควรมีกำไรและรับได้ ไม่ใช่สินค้าถูกกักตุนอยู่กับนายทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร นอกจากนั้น เราจะเน้นในการสร้างผลผลิตให้มากขึ้น ด้วยการจัดสรรที่ดิน บริหารที่ดินให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็จะสามารถสร้างเสถียรภาพ ให้กับสินค้าเกษตร และทุกฝ่ายก็จะ วิน วิน และแชร์ ทั้งนายทุนและเกษตรกร”
“ด้านแรงงานก็เช่นกัน เราเห็นว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำต้องเท่ากันทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่ลงทุนในต่างจังหวัดซึ่งต้องเสียค่าเดินทาง เราก็จะลดภาษีให้ ส่วนค่าจ้าง แรงงานรายปี ก็จะมีการปรับขึ้นให้ตามผลผลิตและผลิตภาพประสิทธิภาพที่เขาทำ นี่ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะทำ แต่ทั้ง 2 อย่างจะต้องไม่ผูกโยงกันเหมือนในอดีต ค่าแรงขั้นต่ำอาจจะปรับให้ตามค่าครองชีพ ที่เปลี่ยนไป แต่ค่าจ้างแรงงานรายปีต้องปรับตามผลผลิตและผลิตภาพที่เปลี่ยนไป”


ปัญหาข้าวยากหมากแพง
“สินค้าเกษตรจะมีความผันผวนทาง ด้านราคา ฝนฟ้าดีมันก็ออกมาเยอะ ราคาถูก ชาวนาแย่ เกษตรกรแย่ ปีที่ฝนฟ้าแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตน้อยข้าวยากหมากแพง แน่นอนเราต้องสร้างสมดุลตรงนี้ แต่ไม่ใช่ การประกัน หรือไม่ใช่การไปจำนำ เพราะว่า พอเราทำไปแล้ว เราก็เป็นเหยื่อพวกข้าราชการหรือเจ้าของโรงสี เช่นข้าวเป็นต้น หรือว่า เจ้าของยุ้งฉางทั้งหลาย เราอาจจะจัดการเรื่องที่จัดเก็บ ส่วนเรื่อง ราคาต้องคำนวณให้เป็นธรรมว่าควรได้ผล ตอบแทนเท่าไหร่ เราจะส่งเสริมเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มและมีการช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน ให้องค์กรท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท ในการผูกพัน ส่งเสริม พวกเกษตรกรท้องถิ่น พวกสหกรณ์การเกษตรทั้งหลาย ให้เขามีส่วนเสริมกัน นั่นก็คือสร้างอำนาจ ทางการเมือง และมีอำนาจทางเศรษฐกิจ จะได้มีอำนาจต่อรอง รัฐบาลอาจจะส่งเสริม เช่นเรื่องข้าว สร้างไซโลขนาดใหญ่ เก็บพวกธัญพืชพวกข้าว ข้าวโพดอะไรทำนองนี้ เพื่อรักษาคุณภาพ ไม่ใช่ไปฝากโรงสี”
“นอกจากนี้ อาจจะมีการเจรจากับต่างประเทศ เช่น ตะวันออกกลาง หรือแอฟริกา ซึ่งมีประชากรประมาณ 400 ล้าน เขาขาดแคลนเรื่องอาหารแต่เขามีทรัพ ยากรอื่นๆ 52 ประเทศ เราก็เลือกประเทศ ที่เราจะเจรจาต่อรอง แล้วไม่ต้องใช้เงินในการแข่งขันใช้การบาเตอร์ เพราะเขามี ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เยอะ เราก็แลก บางแห่งมีเหมืองทอง บางแห่งมีเหมืองเพชร บางแห่งมีพวกแร่ธาตุอื่น ก็แลกกันได้กับ พืชผลทางการเกษตร”
“ส่วนตะวันออกกลาง ซึ่งมีทั้งน้ำมัน และมีเงินก็เจรจาความต้องการของเขา คือเขามีความมั่นคงทางพลังงาน แต่ไม่มีความมั่นคงเรื่องอาหาร เราก็เจรจา ให้เขาสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้เรา เราสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เขา พึ่งพากันได้ แต่เราไม่ต้องการพึ่งพา น้ำมันปิโตรเลียมต่อไป ในระยะสั้นเราอาจ ต้องการส่วนประกอบอื่นๆ ของปิโตรเลียม มาใช้ในเรื่องพลังงาน เราต้องสร้างเครือข่ายพลังงานทดแทนขึ้นมาจากพืช ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีการจัดสรรให้เหมาะสม สมดุลนี่ต้องรู้ว่า ดีมานด์สำหรับบริโภคมีเท่าไหร่ ที่เหลือต้องจัดการให้ดี และส่งเสริมเรื่องพลังงานทดแทนชีวมวล แก๊สโซฮอล์ พวกไบโอดีเซล เราสามารถบริหารจัดการให้เป็นระบบได้ อันนี้ยกตัวอย่างบราซิล เขาบริหารจัดการเรื่องนี้ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ สำหรับเรื่องนิวเคลียร์ ลืมไปได้เลย จะไม่มีการทำแน่นอน”


ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย
“เนื่องจากบ้านเมืองจริงๆ ยังไม่เป็น ประชาธิปไตย ถ้ามันเป็นประชาธิปไตย การบังคับใช้กฎหมายมันต้องเท่าเทียมกัน แต่ทุกวันนี้มันมีเส้น มีสาย มีพวก มันก็เลยเกิดปัญหาขึ้นมา แต่ในต่างประเทศ ดูผู้อำนวยการใหญ่ไอเอ็มเอฟ ยังถูกการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ถ้าเกิดในเมืองไทยเรื่องอย่างนี้ไม่ปรากฏหรอกครับ เพราะว่าของเขาเป็นประชาธิปไตย ประชาชามีความสำนึกในสิทธิและหน้าที่ แต่ของเรามันยังขาดสิ่งเหล่านี้ ประเด็นนี้จึงสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถสร้างระบบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ก็ยากที่จะเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกัน”


จุดยืนในการแก้รัฐธรรมนูญ
“ต้องให้เป็นประชาธิปไตย แต่รัฐ ธรรมนูญมันเป็นเครื่องมือ หลายคนคิดว่า มีรัฐธรรมนูญแล้วเป็นประชาธิปไตย มันไม่ใช่ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงเครื่องมือของระบบประชาธิปไตย เราต้องพยายามสร้างจิตสำนึก และผลักดันให้อำนาจประชา ธิปไตยเป็นของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง ตรงนั้นก็จะเกิดกระบวนการการพัฒนาสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่สำคัญเรายืนยันว่า เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในสภาพปัจจุบัน มีความจงรักภักดีเคารพนับถือกันอยู่ ประเทศไทยเราคงหนีไม่พ้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งบทบาทหน้าที่ ต้องยกท่านไว้เหนือการเมืองอย่างแท้จริง”
“ไม่ใช่ว่าการเมืองยืมเอามาเป็นเครื่องมือ หรือใช้ความจงรักภักดีหรือใช้กฎหมายอะไรต่างๆ มาเป็นเครื่องมือใน การทำลายคนอื่น ความจงรักภักดี ไม่ใช่ว่าทุกคนจะหันหน้าเข้าหาพระมหากษัตริย์ เป็นอย่างเดียว บางกลุ่มต้องหันหลังให้ เพื่อดูแลไม่ให้ใครมาทำร้ายท่าน แต่ทุกวันนี้มีแต่หันหน้าไป แล้วให้ข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้อง ก็เลยทำให้บ้านเมืองมีปัญหา”


สุดท้ายอยากฝากอะไรถึงประชาชน
“อยากให้ประชาชน ช่วยพินิจพิจารณา ส่งเสริมและสนับสนุนพรรคความหวังใหม่ให้เข้าไปเป็นปากเสียงของพวกท่าน ให้ช่วยแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในระยะยาว ถึงแม้ว่าตอนนี้เราอาจจะเป็นพรรคเล็กๆ เพราะว่าเราเริ่มต้นช้า แต่วัน ข้างหน้า เราอาจจะเติบโตเหมือนพรรคกรีนในเยอรมันก็ได้ เราก็จะพยายามเปลี่ยนแปลงการเมืองของไทย เราเรียกปฏิวัติระบบการเมืองของไทย ให้เป็นประชา ธิปไตยที่แท้จริงให้ได้ โดยให้ประชาชนช่วยคิด และ พล.อ.ชวลิตเป็นคนทำ”
นโยบายแสนประนีประนอม สุดคอมโพรไมซ์ สมราคาการรีเทิร์นสู่พรรค ความหวังใหม่ของ “โซ่ข้อกลาง พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ” ซึ่งในท้ายที่สุดคงต้อง ขึ้นอยู่กับเสียงประชาชนว่า..จะบันดาล ให้ดอกทานตะวันบานสะพรั่งทั่วทุ่งประเทศไทยอีกครั้งหรือไม่???


ที่มา.สยามธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น