บอร์ดมีมติให้สำนักงาน กสทช. จัดทำเอกสารสรุปสัญญา กสท-ทรู ผิดมาตรา 46 ตามพ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯหรืิอไม่ พร้อมวาง3ขั้นตอน
เผยต้องดูเรื่อง พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นหลัก หากสรุปว่าผิด ไม่ต้องดูประเด็นอื่น เผยบอร์ดไม่กล้าฟันธงสัญญา หวั่นมีผลผูกพันในอนาคต ซ้ำนักกฎหมาย กทช.ไม่เคยอยู่ร่วมประชุม
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฏิบัติหน้าที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ (12 พ.ค.) มีมติให้สำนักงาน กทช.ไปสรุปรายละเอียดในสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่าขัดต่อมาตรา 46 ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่ระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัวต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง จะโอนหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนไม่ได้
หากสำนักงาน กทช. มีข้อสรุปออกมาว่า ไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ก็จะมาพิจารณาในขั้นที่ 2 คือ การให้บริการของบริษัท เรียลมูฟ ที่ได้รับสิทธิในการทำตลาดบริการขายส่งบริการ (โฮลเซล-รีเทล) เรียลมูฟถือเป็นเอ็มวีเอ็นโอให้ กสท ในระดับใด เพราะที่ประชุมบอร์ด มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาหารือ โดยระบุว่าหากเป็นเอ็มวีเอ็นโอระบบต่ำ (Thin MVNO) ก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากเป็นระบบกลาง (Medium MVNO) หรือระบบสูง (Full MVNO) อาจต้องมีการตีความจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า ดำเนินการได้หรือไม่ และหากสมมติว่าการ
กรณีสัญญา กสท และ กลุ่มทรู ที่ถกเถียงว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นต้องพิจารณาในแง่ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หากศาลปกครอง หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีคำสั่งหรือลงความเห็นว่าสัญญาฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน ก็ถือว่าผิดแล้วไม่จำเป็นต้องดูในประเด็นอื่น
"การประชุมวันนี้ ก็เถียงกันพอสมควร ว่าจะเอาอย่างไรกับสัญญา กสท และทรู ซึ่ง กทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ เรามีความเห็นอะไรออกมาบ้าง แต่ก็ต้องดูในประเด็นกฎหมายอื่นๆ ควบคู่กันไป ซึ่งกรณีนี้ประเด็นที่สำคัญที่พิจารณามีเพียงว่า สัญญาดังกล่าวเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน หรือไม่ แต่ในส่วนนี้เราไม่ได้มีสิทธิออกความเห็น"
แหล่งข่าวจาก กทช. กล่าวว่า แม้ที่ประชุมบอร์ดวานนี้ จะมีบรรจุวาระเรื่องการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท และกลุ่มทรู แต่เรื่องดังกล่าว ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากบอร์ด กทช.รอดูท่าทีของศาลปกครองกลางก่อน ว่า ในวันที่ 18 พ.ค. นี้ คำสั่งของศาลฯ จะออกมาในลักษณะใด จะมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน หรือกำหนดการบรรเทาทุกข์ให้กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หรือไม่ หลังจากที่ดีแทคได้ยื่นฟ้อง กสท และพวก ในกรณีการเซ็นสัญญากับกลุ่มทรูไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในคดีหมายเลขดำที่ 871/2554
อย่างไรก็ตาม พ.อ.นที ย้ำว่า กทช. ไม่ต้องการมีบทบาท หรือมีมติทางกฎหมายใดๆ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพราะจะถือเป็นผลผูกพัน และในอนาคตก็จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ กสทช. อย่างเต็มรูปแบบ และปัจจัยที่สำคัญ คือ ประเด็นที่มีหยิบยกในกรณีสัญญา กสท กับกลุ่มทรู ว่าอาจขัดต่อกฎหมาย ล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช. แต่เป็นประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ร่วมทุน นอกจากนี้ กทช.ก็ไม่เคยได้รับการติดต่อจากหน่วยงานที่ตรวจสอบสัญญา เพื่อประสานให้ กทช. ไปให้ข้อมูลเลย
"สำนักงาน กทช. ก็ได้หารือและรวบรวมรายละเอียดสัญญาทั้ง 6 ฉบับของ กสท และ ทรู มาตลอด แต่ก็ยังไม่เสร็จ หรือจริงๆ อาจจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเรื่องนี้ไม่มีบอร์ดคนใดอยากจะฟันธงว่าสัญญาผิดหรือถูก และนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. ที่รับผิดชอบด้านกฎหมายโดยตรง ก็ไม่อยู่ ไปต่างประเทศ"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น