--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาธิปัตย์ (ไม่) อยู่ในภาวการณ์ไหนของความขัดแย้ง !!?

โดย.นักปรัชญาชายขอบ

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการสัมมนาผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ว่า


“สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ ทำให้นึกไปถึงคำคมของอดีตประธานสภาฯ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ที่กล่าวว่า "อย่างนี้ก็ยุ่งตายห่ะ" ซึ่งตนคิดว่ามีภาวการณ์อันตราย 7 ข้อ ประกอบด้วย ภาวการณ์แห่งความขัดแย้ง ความแตกแยกเป็นฝ่ายชัดเจน, ภาวการณ์แห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ, ภาวการณ์แห่งการพยายามเอาชนะทุกรูปแบบ และทำลายกันอย่างรุนแรง, ภาวการณ์ความเชื่อในเรื่องเหตุผลน้อยลง และเชื่อพวกเดียวกัน, ภาวการณ์ที่อยู่ในคำคม "กูไม่กลัวมึง", ภาวการณ์ไม่เคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และภาวการณ์ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ” (มติชนออนไลน์. 14 พ.ค.2554)


คำถามคือ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้อยู่ในภาวการณ์ความขัดแย้ง หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาวการณ์ความขัดแย้งแบบ“ยุ่งตายห่ะ” 7 ข้อนี้ อะไรบ้าง?


1. ภาวการณ์แห่งความขัดแย้ง ความแตกแยกเป็นฝ่ายชัดเจน หากการเป็นฝ่ายชัดเจนไม่ได้ตัดสินแค่การใช้ “เส้นสี” เป็นเส้นแบ่ง แต่ตัดสินจาก “เส้นแบ่งเชิงอุดมการณ์” ที่ชัดเจนยิ่งคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของอำมาตย์หรืออำนาจนอกระบบ กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ยืนยันเสรีภาพและความเสมอภาค ก็ชัดเจนอย่างยิ่งว่าประชาธิปัตย์อยู่ในฝ่ายแรก


เป็นการอยู่ในฝ่ายแรกในบทบาทของ “หัวหอก” เริ่มจากบอยคอตการเลือกตั้ง ชวนพรรคการเมืองอื่นๆ บอยคอตด้วย เสนอมาตรา 7 จัดคนมาชุมนุมร่วมกับพันธมิตร ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร สร้างวาทกรรมขบวนการล้มเจ้า ขบวนการก่อการร้ายเพื่อปราบปรามประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจอธิปไตยของตนเองคืน แก้รัฐธรรมนูญให้พรรคตนเองได้เปรียบในการเลือกตั้ง อาศัยบารมีอำมาตย์จนได้ประโยชน์จากระบบสองมาตรฐานทำให้พ้นคดียุบพรรค กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามเป็นคอมมิวนิสต์ เผาบ้านเผาเมือง ฯลฯ


ในขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ก็ขัดแย้งกับฝ่ายเดียวกันคือพันธมิตร จนนำไปสู่ความขัดแย้งและการรบกับประเทศเพื่อนบ้าน และการรณรงค์ Vote No ยิ่งทำให้ “ยุ่งตายห่ะ” หนักเข้าไปอีก


2. ภาวการณ์แห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ โอ้โห...ข้อนี้ เชื่อเลยครับ! อภิสิทธิ์จูบปากกับเนวินตั้งรัฐบาลอำมาตย์อุ้ม ฯลฯ ไม่ได้อยู่ใน “ภาวการแห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ” แต่อย่างใด


3. ภาวการณ์แห่งการพยายามเอาชนะรูปแบบ และทำลายกันอย่างรุนแรง ผมนี่แม่งโง่บัดซบฉิ๊บหายว่ะที่เสือกไม่เข้าใจว่า การเรียกร้อง การสนับสนุนการทำรัฐประหาร การสลายการชุมนุมที่ทำให้คนตายเกือบร้อยศพ บาดเจ็บร่วมสองพัน ไม่ใช่ “การพยายามเอาชนะทุกรูปแบบและทำลายกันอย่างรุนแรง”


4.ภาวการณ์ความเชื่อในเรื่องเหตุผลน้อยลง และเชื่อพวกเดียวกัน ข้อนี้ผมยอมรับว่าผมโง่จริงๆ อีกแล้วครับท่าน ที่สามารถรู้อย่างชัดแจ้งเพียงว่า “เหตุผล” ของฝ่ายที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้กำกับของอำมาตย์หรืออำนาจนอกระบบเป็นเหตุผลที่ไม่ยึดโยงอยู่กับหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง คือหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค ฉะนั้น หลักความยุติธรรม (the principle of justice) ของพวกเขาจึงไม่ยึดโยงอยู่กับหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคด้วย กระบวนการยุติธรรมที่พวกของใช้จึงเป็น “ระบบสองมาตรฐานซ้ำซาก” (หรือ “ไร้มาตรฐาน”?)


ผมเลยอยากถามประสาคนโง่ว่า ฯพณฯ ทั่น จะให้เกล้ากระผมเชื่อ “เหตุผลเอี้ยๆ” อะไรของ ฯพณฯ ทั่นขอรับ (วะ) ฯพณฯ ทั่น ใช้เหตุผล (บนหลักการประชาธิปไตย) อะไรในการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ใช้เหตุผลอะไรในการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าล้มเจ้า เป็นคอมมิวนิสต์ ใช้เหตุผลอะไรในการจับกุมคนเสื้อแดงและขังลืม ฯลฯ


5. ภาวการณ์ที่อยู่ในคำคม "กูไม่กลัวมึง" อ้าวก็พวกมึงไม่เดินตามกติกาประชาธิปไตย ทำรัฐประหาร ปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารเรียกร้องประชาธิปไตย จะให้พวกกูกลัวมึงได้ไงวะ! (พวกมึงมี “ความชอบธรรม” สำหรับให้พวกกูกลัวด้วยหรือวะ?)


6.ภาวการณ์ไม่เคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ว้าว! บอยคอตเลือกตั้ง เสนอมาตรา 7 สลายการชุมนุมด้วยวิธีป่าเถื่อนเวลากลางคืน ใช้สองมาตรฐานซ้ำแล้วซ้ำอีก ฯลฯ เนี่ยนะครับท่านคือ “การเคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม”


7. ภาวการณ์ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ ถามจริงๆ เถอะ ถามอย่าง “ซีเรียสเลย” นะครับ การเสนอให้ยกเลิก/ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นฯ เสนอให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันได้ หรือข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อปฏิรูปสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ของ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (เป็นต้น) กับการอ้างสถาบันทำรัฐประหารและการอ้างสถาบันเป็นเครื่องมือต่อสู้และทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างที่พวกท่านและพวกเดียวกัน (หรืออดีตพวกเดียวกัน?) ทำมาตลอดน่ะ อย่างไหนกันแน่ที่เป็นการ “ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ” ที่แท้จริง?


หรือย่างไหนกันแน่ ที่เป็นการทำความเสื่อมเสียแก่สถาบันมากกว่ากัน! ระหว่างวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล และเสนอทางออกให้สถาบันอยู่ได้อย่างมั่นคงภายใต้ระบบกฎหมายที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ กับการประจบสอพลอสถาบันให้ให้ตนเองและพวกพ้องมีอำนาจรัฐ มีตำแหน่งหน้าที่งานงานก้าวหน้า ฯลฯ อย่างไหนกันแน่ครับ ที่เป็นการเคารพสถาบันที่ควรแก่การยอมรับยกย่องของ “วิญญูชน” มากกว่ากัน


และในที่ประชุมเดียวกันนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ก็กล่าวว่า


"70-80 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราก้าวหน้า ไม่ได้ถอยหลัง อย่างที่คนมองว่าประเทศไทยล่าหลังนั้นไม่จริง ใน 10 ประเทศอาเซียน ถามว่าประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพของคนมากที่สุด สื่อประเทศไทยมีเสรีภาพเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอก" ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ตอนนี้มีคนในชาติไม่สนใจ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของระบบประชาธิปไตย แต่เป็นความคิดของคน เราต้องเชื่อมั่นประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราต้องเชื่อและเคารพการตัดสินใจของประชาชน”


สรุป “คำคม” ...ประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพของคนมากที่สุด... สื่อมีเสรีภาพมากกว่าประเทศอื่นๆ... ไม่ใช่ความผิดของระบอบประชาธิปไตย... เราต้องเชื่อและเคารพการตัดสินใจของประชาชน...


555 มีดโกนอาบน้ำผึ้งจริงๆ (แต่โทษทีข้าพเจ้าสงสัยเหลือเกินว่า “ท่านเชื่อคำพูดของตัวเองหรือไม่?” )


สรุป “จบ” ประเทศไทยโชคดีที่มีพรรคการเมืองเก่าแก่ มีความเป็น “สถาบันทางการเมืองสูง” อย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่สะอาด อุดมด้วยคนดี คนซื่อสัตย์สุจริต รักประชาธิปไตย เคารพการตัดสินใจของประชาชน


ที่สำคัญเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศนี้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับภาวะความขัดแย้งทางการเมืองแบบ “ยุ่งตายห่ะ” ทั้ง 7 ประการ ดังกล่าวมา !

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น