--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

นาล่มจมบาดาลวิกฤติซ้อนโอกาสอนาคตจำนำข้าวในมือรัฐ !!?

เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างต่อเนื่องสำหรับนโยบาย รับจำนำข้าวของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่มีทั้งฝ่ายเห็นด้วย และฝ่ายที่เห็นแย้ง

เด่นชัดที่สุดคือการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจาก “อัมมาร สยามวาลา” นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ ที่ออกมา ทุบโต๊ะกลางวงสาธารณชนว่านี่คือนโยบาย “ดีแต่โม้” และทำไม่ได้จริง นั่นก็เป็นธรรมดา ที่รัฐบาลจะต้องออกมายืนยันประทับตราในนโยบายที่ได้ประกาศออกไปแล้วว่างาน นี้ไม่มีบิดพลิ้วแน่นอน

ก่อนที่ ครม.จะอนุมัติเงินก้อนโต 4 แสนล้านบาท ออกมาเดินหน้าโครงการเพื่อสยบข้อข้องใจทั้งหลายที่ประเดประดัง เข้ามา ต่อไปจากนี้ เหลือแต่เพียงการติดตาม ดูผลลัพธ์สุดท้ายว่าจะลงเอยในรูปแบบใดแต่ที่ตีธงนำตุนคะแนนนิยมจากชาวนา ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว คือภาพความรวดเร็ว ในการทำงานที่ไม่มะงุมมะหงาหรา ดังเช่น รัฐบาลที่ผ่านมา

กระนั้น ยังมีคำถามตามมาว่า นโยบาย จำนำข้าวจะนำพาความมั่งคั่งมาสู่มือรากหญ้า อย่างแท้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะในยามที่ผืน นาผืนไร่กำลังอ่วมกับปัญหาน้ำท่วม ส่งผล ให้เกษตรกรในภาคกลางต้องประสบกับปัญหานาล่มกันอย่างถ้วนหน้าในเมื่อเป็นการจำนำหากไม่มีของไป วาง ต่อให้เสนอราคาสูงลิบลิ่วเม็ดเงินเหล่า นั้นก็ไม่สามารถย้อนกลับมาที่ชาวนาได้โดยง่าย ในทางตรงกันข้าม ก็ได้มีข้อคลางแคลงใจซึ่งเป็นปัญหาเดิมจากการจำนำข้าวตามมาอีกว่า งานนี้จะมีการสวมสิทธิ์ทับซ้อนซ้ำรอยเหตุฉาวในอดีตหรือไม่

สรุปคือ เกษตรกรที่ทั้งนาล่มและไม่ ล่ม นายทุนผู้กักตุนข้าวในประเทศไว้ในสต็อกจำนวนมาก หรือข้าวสวมสิทธิ์จากต่างประเทศ ใครจะได้รับผลประโยชน์จาก นโยบายดังกล่าวอย่างแท้จริง

“ปราโมทย์ วานิชานนท์” นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย และกรรมการนโยบายการข้าวแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวผ่าน “สยามธุรกิจ” ว่า นโยบายการรับจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทย เป็นปัญหาที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดผลเสียตามมาภายหลังอย่าง แน่นอน เพราะนโยบายมีแรงจูงใจให้เกิดการทุจริตมาก เฉพาะผลตอบแทนที่ได้จาก ส่วนต่างก็คุ้มค่าแล้ว คนที่จะได้รับประโยชน์ จากเรื่องนี้ คือ ผู้ที่กำหนดนโยบาย ส่วนช่อง ทางมีมากมายในการทุจริต เพราะอาศัยช่องโหว่ของนโยบายเอง

โดยในเบื้องต้นบรรดากลุ่มผู้ประกอบ การโรงสีข้าว จะทำการรับซื้อข้าวจากชาวนา เพียงตันละ 8,000-9,000 บาท และนำไป กักตุนเพื่อปั่นราคาข้าว ไปขายต่อให้กับรัฐบาลตันละ 15,000 บาท โดยจะมีการ ปลอมแปลงใบประทวน แอบอ้างเป็นชาวนา ซึ่งจะได้รับความเสียหายหลายล้านบาท

สำหรับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ต้องยอมรับว่ารัฐบาลต้องเร่งช่วย เหลือแม้จะเป็นเพียงบางส่วนของชาวนา คือประมาณ 0.5% เพราะนาส่วนใหญ่เก็บ เกี่ยวไปหมดแล้ว แต่ในส่วนนี้ติดที่ปัญหาเพลี้ย กระโดด จึงทำให้ต้องปลูกล่าช้ากว่าที่อื่น ประกอบกับปีนี้น้ำมาเร็ว และมากกว่าที่คาด ไว้ทำให้กำหนดเวลาการเก็บเกี่ยวเป็นไปได้ ยาก เพราะถ้าข้าวอ่อนไปโรงสีก็จะไม่รับซื้อ

โดยมาตรการที่รัฐบาลจะช่วยเหลือ คือจ่ายเงินชดเชยให้ไร่ล่ะ 2,200 บาทต่อไร่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แม้จะเพิ่มขึ้นมาจาก เดิม แต่การลงทุนของชาวนาต้องใช้ไร่ละ 5,000-6,000 บาทต่อไร่ ฉะนั้น ชาวนาจะ ต้องไปกู้เพิ่มอีกอย่างน้อย 2,800 บาทต่อไร่ แต่ปัญหานาล่มชาวนาไม่ได้ขาดทุนเฉพาะ กำไร แม้แต่เงินทุนที่ลงไปก็ไม่เหลือ หากคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาท กับเงิน 2,800 บาทต่อไร่ แค่ 10 ไร่ชาวนาก็ตายแล้ว

สังเกตดูสมัยก่อน ชาวนาทำนาในพื้นที่ของตัวเอง แต่สมัยนี้ต้องไปเช่าที่นาตัวเองทำก็เพราะปัญหาแบบนี้เอง เงินมัน ทบไปทบมา ดอกท่วมสุดท้ายที่นาจำนองก็หลุด ซึ่งในความเป็นจริงปัญหานี้หากรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือจริงๆ ก็ควรจ่าย ค่าชดเชยให้กับชาวนาตามจริง คือเงินทั้งหมดที่ทุ่มลงไปกับการทำนา โดยคิดเฉลี่ย พื้นที่กับระยะเวลา ก็จะคำนวณได้ค่าตามจริง

นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย ระบุอีกว่า อีกปัญหาคือการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ เรื่องนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่น่าห่วง เพราะเมื่อไม่มี ข้าวเป็นของตัวเอง แต่ยังมีสิทธิ์จำนำ หาก มีพ่อค้า หรือใครมายื่นข้อเสนอให้ก็จำเป็น ต้องรับ อัตราราคาข้าวเปลือกของประเทศ เพื่อนบ้านขณะนี้ หากคิดส่วนต่างจากราคา จำนำข้าวหักลบแล้วยังไงก็คุ้มทุน

ข้าวจากพม่าไม่เกิน 6,000 บาทต่อตัน จากเขมรประมาณ 7,000 บาทต่อตัน เวียดนามอาจจะราคาสูงหน่อย เพราะราคา อยู่ที่ 8,000 บาทต่อตัน แต่หากเทียบกับที่รัฐบาลไทยให้คือ 15,000 บาทต่อตัน หัก ภาษีให้ค่าสิทธิ์กับชาวนาอีกนิดหน่อย อย่างไรกำไรก็ได้เต็มๆ นั่นแสดงถึงแรงจูงใจ ที่เกิดขึ้น และเป็นละครที่ถูกกำหนดบทบาท มาอยู่แล้วไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้น

ความจริงปัญหานี้แก้ไขได้ คือการจำนำข้าวจะต้องมีการกำหนดปริมาณข้าว ตามจริงกับจำนวนพื้นที่เพาะปลูก เหมือน สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ตอนนั้นก็ใช้นโยบายจำนำข้าวเช่นกัน แต่มีการจำกัด ปริมาณข้าว ก็เหมือนสงวนสิทธิ์เฉพาะชาวนา โอกาสจะสวมสิทธิ์จำนำถึงแม้จะมี บ้างแต่ก็น้อย เพราะชาวนาต้องรักษาสิทธิ์ ตัวเอง ถ้าข้าวตัวเองยังเหลือก็ไม่จำเป็นต้อง ไปเอาข้าวของคนอื่นมาจำนำ และรัฐบาล จะให้ราคาสูงเท่าไหร่ก็ได้เพราะถือเป็นการช่วยชาวนาซึ่งมาตรการมันถูกบังคับด้วยปริมาณอยู่แล้ว ต่างจากรัฐบาลชุดนี้ที่รับจำนำในราคาสูง แต่รับจำนำแบบไม่มีปริมาณ เท่าไหร่รับหมด นโยบายมันจึงเกิดช่องโหว่

สำหรับผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต นั่นคือกลไกการค้าข้าวในตลาดโลก เพราะเมื่อรัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้ สินจำนวนมาก จึงจำต้องขายข้าวในราคาที่ สูงกว่าราคาตลาดโดยรอบ ทำให้อาจสูญเสีย ลูกค้าหลักที่เคยสั่งซื้อจากไทย และการกู้คืน ลูกค้ากลับมาเป็นเรื่องยาก แม้จะบอกว่าข้าวไทยดีกว่า แต่ด้วยราคาที่แตกต่าง ลูกค้า จะหันไปบริโภคข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้มากกว่า กลไกที่เราสร้างมากว่า 30 ปีอาจต้องพังลง

แม้จะไม่เป็นบวกต่อนโยบายจำนำข้าว ของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” สักเท่าไรนัก แต่ก็ถือเป็นความคิดเห็นของคนในวงการข้าว ที่ฝ่ายบริหารต้องเปิดใจรับฟัง เพื่อรวบรวม เป็นฐานข้อมูลในการผลักดันนโยบายจำนำข้าวที่รัฐได้ประกาศในช่วงหาเสียง.. ให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมกับทุก ฝ่ายอย่างแท้จริง

ที่มา:สยามธุรกิจ
*************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น