รีบร้อนเกินไปหรือไม่ ??? ...
กับลีลา การตัดสินใจเคลื่อนไหวในก้าวย่างนี้ของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 กรณีที่กรมราชทัณฑ์ ที่นำโดยนายชาติชาย สิทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ออกมาเผยความคืบหน้า การตรวจสอบรายชื่อผู้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ยอมรับตอนนี้มีความก้าวหน้าไปมาก ตรวจสอบรายชื่อประชาชนที่ส่งรายชื่อร่วมถวายฎีกาแล้ว พบว่าราษฎรจำนวนถึง 2 ล้านรายชื่อ ถูกต้องมีตัวตนอยู่จริง
หลังจากส่งข้อมูลที่ยืนยันความถูกต้องแล้วให้กับพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รมว. ยุติธรรม พิจารณาทำความเห็น เสนอประกอบการนำเสนอฎีกาตามกฎหมาย ทั้งนี้ รมว.ยุติธรรม มีความเห็นอย่างไร เป็นส่วนของรมว.ยุติธรรม หน่วยงานไม่เกี่ยวข้องเพราะถือว่าหมดหน้าที่แล้ว" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว...
โยนเผือกร้อนให้กับ พล.ต.อ. ประชา เจ้าของฉายา"อินทรีอีสาน" เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ต้องยอมรับเมื่อรูปเกมถูกกำหนดออกมาเป็นอย่างนี้ สังคมไทยหรือผู้ที่เฝ้าติดตามการเมืองมาโดยตลอด ก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า เหมือนมีความพยายามรีบร้อนลุกลี้ลุกลนอย่างไรชอบกล ในการเข็นกระบวนการขอนิรโทษกรรมให้กับนายใหญ่ หากคิดไปก็เหมือนจะรู้ตัวอย่างไรก็ไม่ทราบว่า รัฐบาลปู 1 อาจอายุสั้น อยู่ได้ไม่นานในที่นี้ตามข่าวว่า ไม่เกิน 6 เดือนถึงประมาณ 1 ปี
ยิ่งเกิดกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคปชป.ไปไหว้พระพุทธชินราชและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก แล้วปรากฎว่าระหว่างที่เข้ากราบนมัสการพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระศรีฯ ทั้งนี้เจ้าอาวาสได้ทักนายอภิสิทธิ์ว่า หากได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ สิ่งแรกที่จะต้องปรับปรุงคือต้องเป็นคนกล้า ต้องเสี่ยง หมดแล้วหมดไปไม่ต้องห่วง ต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เข้าใจประชาชน และต้องใช้ปัญญา
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายคนที่เชื่อถือเรื่องโชค- ลาง เมื่อได้ฟังคำพูดนี้ โดยเฉพาะส.ส.เพื่อไทยด้วยแล้ว ต้องบอกว่าเกิดความเสียวในหัวใจขึ้นมาทันที เพราะเหมือนเห็นเค้าลางยุ่งยากอะไรที่รออยู่เบื้องหน้า หากรัฐบาลยังคงใช้ความพยายาม แบบที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า"ดันทุรัง"ผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาให้ได้ เสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีกรอบ เพราะหากไปกระตุกต่อมความไม่พอใจของประชาชนเข้า รัฐเองจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี จะออกมาปฏิเสธการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ออกมาทวงถามความคืบหน้าการถวายฎีกาขออภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าทุกอย่างเป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะทำเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ตกค้าง เป็นการนำมาพิจารณาตามขั้นตอน ไม่มีการเร่งรัดเป็นกรณีพิเศษก็ตาม
แต่กับคำถามการเร่งเรื่องของการขออภัยโทษให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้รัฐบาลไปเร็วขึ้นหรือไม่? และคำถาม การถวายฎีกาอภัยโทษได้ผู้ต้องหาต้องกลับมาติดคุกก่อนหรือไม่? นายกฯ ก็ยังคงมีท่าทีปัดไม่ขอตอบคำถาม เพียงแต่ระบุว่า "ยังไม่ได้ดูเลย ทุกอย่างอยู่ในกระทรวงเป็นเรื่องของหน่วยงานนั้นพิจารณา ขอให้หน่วยงานเขาศึกษาเรื่องก่อนดีไหม?"
จากท่าทีการให้สัมภาณ์ของนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้น ขอฟันธงว่า ไม่ได้ช่วยที่จะทำให้ประชาชนในสังคม ลดความเคลือบแคลงสงสัยการกระทำของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในกรณีดังกล่าวจึงช่วยไม่ได้ที่สังคมจะยังคงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดตายของพรรคเพื่อไทยอย่างแท้จริง
มากกว่า กรณีโยกย้าย ผบ.ตร. ไปเป็นเลขาธิการ สมช. โดยส่งญาติสนิทของพี่สะใภ้มาเสียบแทน หรือจะเป็นการย้ายล้างบางกระทรวงมท.ที่มีข่าวแซะ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงออกไป ส่งนายพระนาย สุวรรณรัฐเข้ามาแทนที่ แม้แต่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI โดย ดร.อัมมาร สยามวาลา ออกมาสับนโบายรัฐบาลแบบไม่ไว้หน้าว่า "เป็นรัฐบาลดีแต่โม้"
ยิ่งเมื่อ นายถิรชัย วุฒิธรรม เลขานุการ รมว.ยุติธรรม ออกมาขอเอาหัวเป็นประกันรัฐบาล โดยเฉพาะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่มีการสั่งการให้กระทรวงยธ.เร่งกระบวนการถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อเป้าหมายต่อไปนิรโทษกรรม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งอ้างว่าตัวเองรู้สึกมึนงงกับข่าวที่ออกมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นที่จับตาของสังคมไทยมากยิ่งขึ้นว่า รัฐบาล ปู 1 จะทำนโยบายแบบที่เรียกว่า "ตีสองหน้า" หรือไม่?
สุดท้ายแล้ว ก็อยู่ที่รัฐบาลยังจะกล้าผลักดันการขอพระราชทานอภัยโทษแบบท้าทายกระแสสังคมหรือไม่? หรือจะอดทนรอจังหวะ บริหารบ้านเมืองพิสูจน์ผลงานไปก่อน จนถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสุกงอมเต็มที่แล้วค่อยๆดำเนินการ ตามสำนวนไทยโบราณ "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสสำเร็จ ดีกว่าทำเหมือนสุภาษิต "ชิงหักด้ามพร้าด้วยเข่า" ซึ่งสุดท้ายก็คงมีแต่เข่าจะพังไปเอง
ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กับลีลา การตัดสินใจเคลื่อนไหวในก้าวย่างนี้ของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 กรณีที่กรมราชทัณฑ์ ที่นำโดยนายชาติชาย สิทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ออกมาเผยความคืบหน้า การตรวจสอบรายชื่อผู้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ยอมรับตอนนี้มีความก้าวหน้าไปมาก ตรวจสอบรายชื่อประชาชนที่ส่งรายชื่อร่วมถวายฎีกาแล้ว พบว่าราษฎรจำนวนถึง 2 ล้านรายชื่อ ถูกต้องมีตัวตนอยู่จริง
หลังจากส่งข้อมูลที่ยืนยันความถูกต้องแล้วให้กับพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รมว. ยุติธรรม พิจารณาทำความเห็น เสนอประกอบการนำเสนอฎีกาตามกฎหมาย ทั้งนี้ รมว.ยุติธรรม มีความเห็นอย่างไร เป็นส่วนของรมว.ยุติธรรม หน่วยงานไม่เกี่ยวข้องเพราะถือว่าหมดหน้าที่แล้ว" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว...
โยนเผือกร้อนให้กับ พล.ต.อ. ประชา เจ้าของฉายา"อินทรีอีสาน" เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ต้องยอมรับเมื่อรูปเกมถูกกำหนดออกมาเป็นอย่างนี้ สังคมไทยหรือผู้ที่เฝ้าติดตามการเมืองมาโดยตลอด ก็ยังอดคิดไม่ได้ว่า เหมือนมีความพยายามรีบร้อนลุกลี้ลุกลนอย่างไรชอบกล ในการเข็นกระบวนการขอนิรโทษกรรมให้กับนายใหญ่ หากคิดไปก็เหมือนจะรู้ตัวอย่างไรก็ไม่ทราบว่า รัฐบาลปู 1 อาจอายุสั้น อยู่ได้ไม่นานในที่นี้ตามข่าวว่า ไม่เกิน 6 เดือนถึงประมาณ 1 ปี
ยิ่งเกิดกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคปชป.ไปไหว้พระพุทธชินราชและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก แล้วปรากฎว่าระหว่างที่เข้ากราบนมัสการพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระศรีฯ ทั้งนี้เจ้าอาวาสได้ทักนายอภิสิทธิ์ว่า หากได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ สิ่งแรกที่จะต้องปรับปรุงคือต้องเป็นคนกล้า ต้องเสี่ยง หมดแล้วหมดไปไม่ต้องห่วง ต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เข้าใจประชาชน และต้องใช้ปัญญา
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายคนที่เชื่อถือเรื่องโชค- ลาง เมื่อได้ฟังคำพูดนี้ โดยเฉพาะส.ส.เพื่อไทยด้วยแล้ว ต้องบอกว่าเกิดความเสียวในหัวใจขึ้นมาทันที เพราะเหมือนเห็นเค้าลางยุ่งยากอะไรที่รออยู่เบื้องหน้า หากรัฐบาลยังคงใช้ความพยายาม แบบที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า"ดันทุรัง"ผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาให้ได้ เสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีกรอบ เพราะหากไปกระตุกต่อมความไม่พอใจของประชาชนเข้า รัฐเองจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี จะออกมาปฏิเสธการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ออกมาทวงถามความคืบหน้าการถวายฎีกาขออภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าทุกอย่างเป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะทำเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ตกค้าง เป็นการนำมาพิจารณาตามขั้นตอน ไม่มีการเร่งรัดเป็นกรณีพิเศษก็ตาม
แต่กับคำถามการเร่งเรื่องของการขออภัยโทษให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้รัฐบาลไปเร็วขึ้นหรือไม่? และคำถาม การถวายฎีกาอภัยโทษได้ผู้ต้องหาต้องกลับมาติดคุกก่อนหรือไม่? นายกฯ ก็ยังคงมีท่าทีปัดไม่ขอตอบคำถาม เพียงแต่ระบุว่า "ยังไม่ได้ดูเลย ทุกอย่างอยู่ในกระทรวงเป็นเรื่องของหน่วยงานนั้นพิจารณา ขอให้หน่วยงานเขาศึกษาเรื่องก่อนดีไหม?"
จากท่าทีการให้สัมภาณ์ของนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้น ขอฟันธงว่า ไม่ได้ช่วยที่จะทำให้ประชาชนในสังคม ลดความเคลือบแคลงสงสัยการกระทำของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในกรณีดังกล่าวจึงช่วยไม่ได้ที่สังคมจะยังคงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดตายของพรรคเพื่อไทยอย่างแท้จริง
มากกว่า กรณีโยกย้าย ผบ.ตร. ไปเป็นเลขาธิการ สมช. โดยส่งญาติสนิทของพี่สะใภ้มาเสียบแทน หรือจะเป็นการย้ายล้างบางกระทรวงมท.ที่มีข่าวแซะ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงออกไป ส่งนายพระนาย สุวรรณรัฐเข้ามาแทนที่ แม้แต่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI โดย ดร.อัมมาร สยามวาลา ออกมาสับนโบายรัฐบาลแบบไม่ไว้หน้าว่า "เป็นรัฐบาลดีแต่โม้"
ยิ่งเมื่อ นายถิรชัย วุฒิธรรม เลขานุการ รมว.ยุติธรรม ออกมาขอเอาหัวเป็นประกันรัฐบาล โดยเฉพาะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่มีการสั่งการให้กระทรวงยธ.เร่งกระบวนการถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อเป้าหมายต่อไปนิรโทษกรรม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งอ้างว่าตัวเองรู้สึกมึนงงกับข่าวที่ออกมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นที่จับตาของสังคมไทยมากยิ่งขึ้นว่า รัฐบาล ปู 1 จะทำนโยบายแบบที่เรียกว่า "ตีสองหน้า" หรือไม่?
สุดท้ายแล้ว ก็อยู่ที่รัฐบาลยังจะกล้าผลักดันการขอพระราชทานอภัยโทษแบบท้าทายกระแสสังคมหรือไม่? หรือจะอดทนรอจังหวะ บริหารบ้านเมืองพิสูจน์ผลงานไปก่อน จนถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสุกงอมเต็มที่แล้วค่อยๆดำเนินการ ตามสำนวนไทยโบราณ "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสสำเร็จ ดีกว่าทำเหมือนสุภาษิต "ชิงหักด้ามพร้าด้วยเข่า" ซึ่งสุดท้ายก็คงมีแต่เข่าจะพังไปเอง
ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น