คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติ เอาผิดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในกรณีจัดสัมมนาบังหน้า เพื่อให้ข้าราชการ สตง. สามารถเบิกค่าเดินทางสำหรับไปทอดกฐินได้
ทางสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ สตง. จึงได้เสนอให้จัดงานสัมมนา เรื่อง “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ในวันเดียวกัน ระหว่างเวลา 8.30-18.30 น ที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค จังหวัดน่าน ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณเป็นคนเซ็นอนุมัติ
แต่ในวันงานจริง คณะผู้จัดงานสัมมนาได้เสนอให้รวมหัวข้อสัมมนาช่วงเช้าและบ่ายเข้าด้วยกัน เปลี่ยนเวลาเป็น 15.45-19.00 โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา (ซึ่งเป็นคณะเดียวกับที่จะไปทอดกฐิน) ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ทำให้ช่วงเช้าและบ่ายคณะของ สตง. เดินทางไปทอดกฐินตามที่ตั้งใจไว้
ส่วนช่วงเย็นคณะได้เดินทางไปที่สโมสรหมู่บ้านสันติภาพ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดเลี้ยงติดสระว่ายน้ำ และลงทะเบียนว่าเข้าร่วมงานสัมมนา “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่มีเอกสารขอเปลี่ยนสถานที่หรือกำหนดการอย่างเป็นทางการอยู่ในระบบของ สตง.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
2. นายคัมภีร์ สมใจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีมูลความผิดทางวินัย ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคสอง และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
3. นางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ในการจัดสัมมนาดังกล่าว พฤติการณ์และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยังฟังไม่ได้ว่า ได้ร่วมกระทำผิด ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการทางวินัย กับนายคัมภีร์ สมใจ และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ฟ้องคดีอาญาต่อศาลที่มีเขตอำนาจกับคุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา และนายคัมภีร์ สมใจ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน โดย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น (มาตรา 252)
ส่วนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นสำนักงานธุรการของคณะกรรมการ โดยมี “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงต่อประธาน คตง.
หลักเกณฑ์ของ คตง. และ สตง. รวมถึงหลักการตรวจเงินแผ่นดิน มีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีกำเนิดมาจากพระราชดำริของพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ตั้ง “ออฟฟิศหลวง” หรือ “ออดิตออฟฟิศ” (audit office) ขึ้นสำหรับตรวจบัญชีคลัง และให้มีฐานะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับกรมพระคลังสมบัติ โดยมีเจ้าพนักงานใหญ่คือ “ออดิเตอเยเนราล” (auditor general) ทำหน้าที่ตรวจบัญชีเงินทองของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร และต้องทูลเกล้าฯ ถวายรายงานโดยตรงต่อพระองค์
เจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่และผู้ช่วย จะต้องสาบานตนก่อนรับตำแหน่ง โดยกล่าวว่า
ที่มา:Siam Intelligence Unit
**************************************************************
สตง. จัดสัมมนาบังหน้า เพื่อทอดกฐินพระราชทาน
คดีเกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2546 โดยคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องการจัดการทอดกฐินพระราชทาน ประจำปี 2546 ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพญาภู และวัดศรีพันต้น (วัดราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ซึ่งผู้เข้าร่วมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พักเองทางสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ สตง. จึงได้เสนอให้จัดงานสัมมนา เรื่อง “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ในวันเดียวกัน ระหว่างเวลา 8.30-18.30 น ที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค จังหวัดน่าน ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณเป็นคนเซ็นอนุมัติ
แต่ในวันงานจริง คณะผู้จัดงานสัมมนาได้เสนอให้รวมหัวข้อสัมมนาช่วงเช้าและบ่ายเข้าด้วยกัน เปลี่ยนเวลาเป็น 15.45-19.00 โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา (ซึ่งเป็นคณะเดียวกับที่จะไปทอดกฐิน) ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ทำให้ช่วงเช้าและบ่ายคณะของ สตง. เดินทางไปทอดกฐินตามที่ตั้งใจไว้
ส่วนช่วงเย็นคณะได้เดินทางไปที่สโมสรหมู่บ้านสันติภาพ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดเลี้ยงติดสระว่ายน้ำ และลงทะเบียนว่าเข้าร่วมงานสัมมนา “สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา” ที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่มีเอกสารขอเปลี่ยนสถานที่หรือกำหนดการอย่างเป็นทางการอยู่ในระบบของ สตง.
ป.ป.ช. ฟัน “ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”
การที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพญาภู จังหวัดน่านในวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2546 และทราบกำหนดการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2546 แต่ยังมีการจัดโครงการสัมมนาในวันเวลา เดียวกัน ซึ่งมีกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมงานกฐินพระราชทานเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันกับกลุ่มบุคคลผู้เข้าร่วม สัมมนา ย่อมเล็งเห็นได้ว่าไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนานำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไปถวายผ้าพระกฐิน พระราชทาน โดยจัดโครงการสัมมนาเพื่อให้ผู้ร่วมเดินทางสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากทางราชการได้ โดยมิชอบคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
2. นายคัมภีร์ สมใจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีมูลความผิดทางวินัย ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคสอง และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
3. นางสาววิไลลักษณ์ อัญมณีรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ในการจัดสัมมนาดังกล่าว พฤติการณ์และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยังฟังไม่ได้ว่า ได้ร่วมกระทำผิด ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการทางวินัย กับนายคัมภีร์ สมใจ และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ฟ้องคดีอาญาต่อศาลที่มีเขตอำนาจกับคุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา และนายคัมภีร์ สมใจ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
รู้จัก สตง.
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นหนึ่งสี่ใน “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” (ถ้ายึดตาม รธน. พ.ศ. 2550) อันประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน โดย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น (มาตรา 252)
ส่วนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นสำนักงานธุรการของคณะกรรมการ โดยมี “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงต่อประธาน คตง.
หลักเกณฑ์ของ คตง. และ สตง. รวมถึงหลักการตรวจเงินแผ่นดิน มีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีกำเนิดมาจากพระราชดำริของพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ตั้ง “ออฟฟิศหลวง” หรือ “ออดิตออฟฟิศ” (audit office) ขึ้นสำหรับตรวจบัญชีคลัง และให้มีฐานะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับกรมพระคลังสมบัติ โดยมีเจ้าพนักงานใหญ่คือ “ออดิเตอเยเนราล” (auditor general) ทำหน้าที่ตรวจบัญชีเงินทองของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร และต้องทูลเกล้าฯ ถวายรายงานโดยตรงต่อพระองค์
เจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่และผู้ช่วย จะต้องสาบานตนก่อนรับตำแหน่ง โดยกล่าวว่า
“…เจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่ ฤาที่ ๒ ทั้งสองนายต้องสาบาลถวายความซื่อสัจแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจริงใจว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะรับราชการตรวจบาญชีสอบสวนจำนวนเงินแลสิ่งของซึ่งในแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักร จะตรวจตราโดยละเอียดไม่ให้พลาดพลั้งเสียประโยชน์ในแผ่นดินได้ และจะตั้งใจทำให้เต็มกำลังเต็มปัญญาของข้าพระพุทธเจ้าทุกเรื่องทุกราย…”ประเพณีการสาบานตนของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเจ้าหนักงานจะต้องเข้าไปในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ15 ค่ำ เพื่อสาบานตนต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า
“…จะนับต้นไม้ของราษฎร และบัญชีแต่ตามสัจตามจริง อย่าให้เอาของหลวงมาเป็นของราษฎร ๆ มาเป็นของหลวง มากเป็นน้อย ๆ เป็นมาก ไม้ใหญ่ว่าเล็ก ๆ ว่าใหญ่ และเบียดบังเอาสินจ้างสินบนเป็นอาณาประโยชน์ตนเป็นอันขาดทีเดียว…”ภายหลังออดิตออฟฟิศได้เปลี่ยนรูปแบบไปหลายครั้ง เช่น กลายเป็น กรมตรวจเงินแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ย้ายไปสังกัดกรมบัญชีกลาง, กลายเป็นสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในปัจจุบัน (อ่านประวัติจากเว็บไซต์ สตง.)
(ข้อมูลจากรายงานประจำปีของ สตง. พ.ศ. 2551)
ที่มา:Siam Intelligence Unit
**************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น