--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หาทางลง!

การต่อสู้ทางการเมือง...ที่นำความสูญเสียทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ อาจจะมี “ทางออก” เพราะ นายกฯ อภิสิทธิ์ เสนอแนวทางการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553การเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่ต้องการให้รัฐบาลยุบสภา...มีมาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553 แต่รัฐบาลมาประกาศอย่างชัดเจนเมื่อคืนวันที่ 3 พฤษภาคม...จะให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน ศกนี้หมายความว่า...การยุบสภาจะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 15 กันยายน ถ้าใช้เวลาเตรียมการเลือกตั้ง 60 วัน ...หรือยุบสภาในวันที่ 1 ตุลาคม ถ้าใช้เวลาเตรียมการเลือกตั้ง เพียง 45 วันนายกฯ อภิสิทธิ์ กำหนดวันเลือกตั้ง...โดยมีเหตุผลที่ต้องการให้กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2554 ได้ผ่านสภาเสียก่อน เพื่อประเทศจะได้มีเงินในการบริหารประเทศต่อไปงบ

ประมาณปี 2554 ตั้งไว้ 2.07 ล้านล้านบาท ...สูงกว่าปี 2553 ที่ตั้งไว้เพียง 1.70 ล้านล้านบาท อยู่พอสมควร อันจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ต่อไป...ในยามที่การค้าของประเทศไทยกำลังเติบโตนอกจากนั้น...ยังเป็นช่วงที่จะทำการโยกย้ายข้าราชการตามปีงบประมาณได้ตามระยะเวลาด้วย กำหนดระยะเวลาที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปจนถึงกันยายนปีนี้ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลในการพิจารณาที่จะ “ยุบสภา”การเสนอเงื่อนไขดังกล่าว...ทางแกนนำของคนเสื้อแดง

ก็คงจะรับไปพิจารณา ซึ่งถ้ายอมรับกันได้ การชุมนุมเรียกร้องก็คงจะได้ยุติ แต่ถ้ายังไม่ยอมรับ...ฝ่ายผู้ชุมนุมก็จะต้องหาเหตุผลมาอธิบายต่อสังคมให้ได้รัฐบาลเสนอเงื่อนไขอย่างนี้...ฝ่ายคนเสื้อแดงอาจมองได้ว่า รัฐบาลซื้อเวลา เพื่อรอจัดสรรงบประมาณและจัดโผแต่งตั้งให้เรียบร้อยก่อน แต่ก็อาจจะมีน้ำหนักน้อย...เพราะหลายฝ่ายเองก็อยากให้ปัญหาการชุมนุมสิ้นสุดลงนอกจากนั้น รัฐบาลเองก็สามารถอธิบายได้ว่า...จำเป็นต้องตั้งงบประมาณเอาไว้ และคนที่จะมา

เป็นรัฐบาลใหม่ก็เป็นคนบริหาร รวมทั้งรัฐบาลใหม่ก็สามารถโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการได้ในภายหลัง...หากเห็นว่าเหมาะสมรัฐบาลเริ่มหาทางลงแล้ว...เหลือแต่ฝ่ายผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงที่จะรับไปพิจารณาว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งคงต้องมองถึงความบรรลุผลของการเรียกร้องว่า...ได้ไปพอควรหรือไม่ และจะเรียกร้องตามกระบวนการยุติธรรมให้กับผู้สูญเสียได้อย่างไรอีกทั้งจะหาทางลงให้กับแกนนำผู้ชุมนุมเองเกี่ยวกับคดีความต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งข้อหาไว้ให้ได้อย่างไร

เพราะถ้าหาทางลงไม่ได้...การจะยอมรับเงื่อนไขที่รัฐบาลเสนอนั้น ก็คงต้องพิจารณากันต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแสดงความจริงใจของรัฐบาล ด้วยการยกเลิกการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการยกเลิกข้อกล่าวหาแบบเหมารวมที่ดูจะเกินเลย เช่น การก่อการร้าย การล้มล้างสถาบัน เป็นต้นแต่การปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับคนที่เข้าข่ายกระทำความผิดก็ควรที่จะต้องดำเนินการไปตามระบบความยุติธรรมอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งฝ่ายของรัฐบาลเอง

และฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมทุกค่ายทุกสีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ...ความเป็นผู้บริหารของประเทศ รัฐบาลจะต้องกล้าออกมาแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองทางใดทางหนึ่ง เกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์การชุมนุมจนมีการบาดเจ็บล้มตาย หลายฝ่ายถูกกดดัน ข่มขู่ คุกคาม นอกจากนั้น ฝ่ายผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลให้อยู่ต่อจนครบวาระ จะต้องเลิกการชุมนุมด้วย มิเช่นนั้นแล้ว...ความปรองดองที่รัฐบาลอยากให้เกิดขึ้น ก็คงเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ยากอย่างไรก็ตาม...รัฐบาล

เองที่หาทางลงไว้ด้วยการกำหนดวันเลือกตั้งไว้เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นั้น ก็อาจจะมีความเสี่ยงอยู่ด้วย เพราะแกนนำของรัฐบาล คือ “พรรคประชาธิปัตย์” กำลังจะถูกศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องการ “ยุบพรรค”ภายในเดือนพฤษภาคม...คงมีความชัดเจนในแนวทางการต่อสู้คดียุบพรรคที่คณะกรรมการการเลือกตั้งลงมติว่า...พรรคประชาธิปัตย์ใช้เงินบริจาคพรรคการเมืองไปอย่างผิดวัตถุประสงค์ จึงมีมติส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคต่อไปความเสี่ยงที่

อาจโดนยุบพรรคนั้น...อาจจะทำให้รัฐบาลมีอายุอยู่ไม่ถึงเดือนกันยายน อย่างที่ต้องการก็ได้ เพราะถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาเรื่องอีกเพียงสองถึงสามเดือนแล้วสามารถพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคได้พรรคประชาธิปัตย์อาจถูกยุบประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเร็วกว่าที่รัฐบาลตั้งเป็นเอาไว้ในเดือนกันยายน และจะมีผลกระทบตามมาพอสมควรเนื่องจากการพิจารณากฎหมายงบประมาณปี 2554 ถ้าเสร็จไม่ทัน...ปัญหาก็จะตามมา เนื่อง

จากจำนวนคะแนนเสียงของรัฐบาลอาจจะไม่เพียงพอ เพราะอาจมี ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์หลายคนที่จะโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปถ้าเป็น ส.ส. สัดส่วน และไม่มีบัญชีปาร์ตี้ลิสต์เหลืออยู่...จำนวน ส.ส. โดยรวมในสภาก็จะลดลง แต่ถ้าเป็น ส.ส. เขต ก็ต้องมีการเลือกตั้งใหม่...ซึ่งไม่แน่ว่าพรรคใดจะชนะได้ ส.ส. เพิ่มเติมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการจะโดนยุบพรรคหรือไม่จึงมิอาจมองข้ามไปได้...แต่หากว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่โดนยุบตามข้อกล่าวหา แนวทาง

ที่รัฐบาลตั้งไว้ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ที่เหลือหลังจากการยุบสภาก็คือ การลงแข่งขัน “เลือกตั้งกันใหม่” ซึ่งพรรคใดได้คะแนนเสียงข้างมาก ก็จะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป ส่วนพรรคใดจะชนะการเลือกตั้งนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับนโยบายที่นำไปหาเสียงถ้าพรรคเพื่อไทยใช้นโยบายเกี่ยวกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยจะนำฉบับ 2540 มาใช้ ก็จะต้องรณรงค์หาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนเสียงข้างมากในสภา จึงจะสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการหาเสียงถ้า

พรรครัฐบาลเดิมเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ดีอยู่แล้ว และอาจจะมีการแก้ไขบางมาตรา ก็จะรณรงค์หาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนเสียงข้างมากในสภาเช่นเดียวกัน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า...ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกแบบไหน?!เมื่อถึงเวลานั้น...ต่างฝ่ายควรต้องยอมรับกติกาและผลการเลือกตั้ง และต้องไม่นำมวลชนออกมากดดันกันอีก อย่างเช่นที่เคยเป็นตลอดสามสี่ปีที่ผ่านมา และทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดโดยเสียงข้างมากต่อไปการบริหารประเทศไทยใน

อนาคตก็คงจะเป็นไปด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันก็จะลดความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงไปถ้าทุกฝ่ายหันหน้ามาปรองดองกันได้ มีความรักความสามัคคี ประเทศไทยก็จะกลับมามีรอยยิ้มกันอีกครั้งหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและสถาบันหลัก ความสวัสดีมีชัยจะเกิดขึ้นแก่คนไทยทั่วหน้ากัน!

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
.............................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น