“ปรองดอง” คำสั้นๆ แต่สาระสำคัญ และนัยยะแห่งภาระหน้าที่ที่ต้องกระทำนั้น ลึกซึ้ง และหนักหน่วงยิ่งนักใครๆ ก็สามารถพูดพล่อยพูดโพล่งได้ ว่าจะปรองดอง แต่หากปราศจากความจริงใจ และความรู้สึกที่แท้จริงออกมาจากจิตใจแล้ว คำว่าปรองดองที่ออกจากปาก ย่อมไม่ได้ต่างไปจากเสียงลมที่ผายออกมา
เพียงเพื่อจะระบายความอึดอัดในท้องเท่านั้นหลังการตัดสินใจใช้กำลังทหารและรถหุ้มเกราะของ ม.พัน 2 เข้าสลายการชุมนุม วันนี้ภาระหน้าที่ที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุด ของทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบรรดาคณะบุคคลแกนนำในศูนย์อำนวยการ
แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทั้งหลายก็คือ การสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้อย่างแท้จริง สร้างความสมานฉันท์ให้กลับคืนมาสู่ประเทศไทยให้ได้ด้วยสันติวิธีไม่ใช่การใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือ สร้างความปรองดองแบบยัดเยียดหรือปิดประตูตีแมว อย่างที่หลายๆฝ่ายเป็นห่วง... อย่างที่สำนักข่าว
ต่างประเทศวิเคราะห์กันออกไปทั่วโลกในขณะนี้เพราะแม้แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งสหภาพยุโรป ก็ยังแสดงความเป็นห่วงความขัดแย้งในไทยโดยได้มีการประชุมกันที่เมืองสตราสบูร์ก ทางตะวันออกของฝรั่งเศส ก่อนผ่านมติของที่ประชุม แสดงความเป็นห่วงความขัดแย้งในไทยและเน้นย้ำว่าการปะทะอย่างรุนแรง
ระหว่าง กลุ่มผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ ถือเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยของไทย ขณะเดียวกันก็เรียกร้องรัฐบาลใช้กำลังเพียงแต่น้อยตามกฎระเบียบของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ ให้ปรับใช้วิธีการจากเบาไปหาหนัก และจักต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ผ่อนหนักผ่อนเบาไปตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐสภา
แห่งอียู ยังได้มีการขอแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวไทยและเหล่าครอบครัวผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักระหว่างเกิดเหตุรุนแรง พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลไทยให้รับประกันว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินจะไม่นำไปสู่ความ เข้มงวดในสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพส่วนบุคคล และขอให้ยุติการตรวจสอบและความเข้ม
งวดต่อสิทธิในการแสดงออก พร้อมกันนี้รัฐสภาแห่งอียูยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเริ่มเปิดเจรจากันเพื่อหาแนวทางแก้วิกฤติในปัจจุบัน โดยสันติและเป็นประชาธิปไตยโดยเร็วเป็นเรื่องที่นายอภิสิทธิ์ รัฐบาลไทย และคณะบุคคลใน ศอฉ. ควรจะต้องตระหนักและรับฟัง ไม่ใช่เพียงเพราะว่า กลุ่มประเทศอียูเป็น
กลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย และไทยจำเป็นจะต้องพึ่งพาตลาดอียูในการส่งออกสินค้า เพื่อสร้างเม็ดเงินรายได้เข้าประเทศ หากถูกบอยคอตทางเศรษฐกิจขึ้นมาก็จะยุ่งแต่ที่สำคัญเป็นเพราะข้อเรียกร้องของรัฐสภาแห่งอียู เป็นหลักแห่งประชาธิปไตยที่ทั่วโลกยอมรับ ดังนั้นการกระทำของ ศอฉ.
ที่แทบจะเรียกได้ว่า สวนคำขอของรัฐสภาแห่งอียู ที่ว่าให้ยุติการตรวจสอบและความเข้มงวดต่อสิทธิการแสดงออกของประชาชน กลับมีการออกประกาศ ศอฉ. ประกาศเพิ่มอีก 21 รายชื่อ ขึ้นบัญชีดำห้ามทำธุรกรรมทางการเงิน ออกมาอีกระลอก จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากว่า
เป็นการเล่นไม่เลิก เพราะรายชื่อที่โดนกันอีก 21 คนนั้น เป็นชื่อที่ดูเหมือนว่า มีกระบวนการหรือใครบางคนที่เกี่ยวข้องโยงใยกับ ศอฉ. เจตนาจับยัดใส่เข้าไป เพื่อที่จะฉวยโอกาสทางการเมืองเป็นหลัก 21 รายชื่อที่โดนรอบนี้ประกอบด้วย นายศักดา อ้อพงษ์ นายพงศกร อรรณนพพร นางดาวแข อรรณนพ
พร นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร นายภูมิ สาระผล นายจตุพร เจริญเชื้อ นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร นายนรินทร์ จิตมหาวงศ์ นางสุพิชฌาย์ พัฒนะพันธุ์ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายวิบูลย์ แช่มชื่น นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นางพรประภา สาคำ นายปลอดประสพ สุรัสสวดี พ.ต.
ท.ศุภชัย ผุยแก้วคำ นายวายุภักษ์ โนรี นายภาสกร หรือ สมนึก ศิริภักษ์นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายประยุทธ มหากิจศิริ และนายเมธี อมรวุฒิกุล วิเคราะห์อย่างไรก็หนีไม่พ้นมุมในเรื่องของการเมือง ที่มองข้ามชอตไปถึงการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้นั่นเอง ศอฉ. หรือใครก็ตามที่ฉวยโอกาสในการทำเรื่อง
นี้ หากหวังจะเตะตัดขาในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่เป็นคู่แข่งขันของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ต้องถือว่าเป็นวิธีคิดที่ห่วยแตกมากๆ เพราะจะกลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์เองนั่นแหละที่จะเสียกับเสียในสายตาประชาชนและแผนปรองดอง ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งเดียวที่นายอภิสิทธิ์ สามารถใช้เป็นข้อ
แก้ต่าง ลดทอนความรู้สึกของสังคมในการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุม จนกระทั่งมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ร่วมชุมนุมโดยสันติต้องบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมากแต่เมื่อมามีการฉวยโอกาสกระทืบซ้ำทางการเมืองเช่นนี้ ก็ได้แต่เป็นห่วงว่า คนที่ทำเรื่องนี้หวังดีกับนายอภิสิทธิ์ จริงๆหรือ???คอลัมน์
คาบลูกคาบดอก เขียนโดย หมัดเหล็ก ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 21พฤษภาคม 53 ที่ผ่านมา ได้ใช้ข้อคิดเตือนสติ ที่นายอภิสิทธิ์ไม่ควรจะมองข้าม นั่นก็คือ“แม้รัฐบาลจะสามารถสลายการชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์ ได้ในที่สุด แม้แกนนำสามเกลอจะยอมมอบตัว แต่ก็ไม่สามารถที่จะ
รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งประเทศเอาไว้ได้อยู่ดีสงครามไฟใต้ลุกลามอย่างไร แก้ไขยากอย่างไร แต่สงครามไฟกลางเมืองครั้งนี้ จะดับยากกว่านับสิบเท่า การชุมนุมต่อต้านของคนเสื้อแดงจะกระจายออกไปทั่วบริเวณ จะเป็นสงครามกองโจรจะมุดลงใต้ดิน!!สำนักข่าวต่างประเทศวิเคราะห์ไว้หลายสำนักว่า
รัฐบาลไม่มีทางชนะสงครามกลางเมืองครั้งนี้ หากรัฐบาลไทยตัดสินใจใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ไม่เฉพาะอนาคตทางการเมืองของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เท่านั้นที่จะต้องดับวูบแต่ความเลวร้ายจะตามมาอีกมากมายคำถามก็คือว่าถ้าคุณอภิสิทธิ์มั่นใจว่ายังเป็นที่นิยมของประชาชนส่วนใหญ่ ได้
รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ เหตุใดไม่ตัดสินใจลาออกหรือยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งให้ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสิน ทำไมจึงตัดสินใจรักษาอำนาจเอาไว้ด้วยชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชน ทำไมจึงไม่ปฏิบัติตามวิถีของประชาธิปไตย แต่ยังใช้กำลังทหารเข้าปกป้องอำนาจเอาไว้
เช่นเดียวกับประเทศที่ปกครองโดยรัฐทหาร ซากปรักหักพังที่รัฐบาลเหยียบย่ำอยู่ยังพอรื้อฟื้นขึ้นมาได้ แต่ชีวิตประชาชนฟื้นไม่ได้”ซึ่งความน่ากลัวที่ หมัดเหล็กสะกิดเตือนเหล่านี้ สามารถที่จะทำให้หยุดไม่เกิดขึ้นมาได้ หาก ศอฉ.เลือกที่จะใช้แนวทางปรองดองตามที่ทั่วโลก และทุกฝ่ายเรียกร้องนายดิเรก ถึง
ฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเมินสถานการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพฯว่า เชื่อว่าถึงแม้แกนนำ นปช.จะเข้ามอบตัวทั้งหมด แต่เหตุการณ์ต่างๆจะไม่จบด้วย ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงหลักการ
กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมอย่างแท้จริงให้ประชาชนเห็น ซึ่งต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย“เคยเตือนรัฐบาลมาตลอดว่า การใช้กำลังจะสามารถระงับเหตุการณ์ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในระยะยาวจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นทั่วทุกภูมิภาค” นายดิเรก ระบุว่า รัฐบาลต้องวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปสู่การ
แก้ปัญหาระยะยาว ไม่ใช่แค่วิเคราะห์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ซึ่งได้เคยบอกแล้วว่าหากสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธจนมีคนเสียชีวิตมันจะนำไปสู่ความโกรธแค้น รัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศย่อมต้องมีความคิดที่กว้างและยาว คิดสั้นๆไม่ได้ เพราะแกนนำ นปช.ระบุแล้วว่า ที่มอบตัวเพราะต้องการปก
ป้องกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่อยากให้มีคนตายเพิ่ม แต่ยังยืนยันจะเดินหน้าต่อสู้ทางการเมืองต่อไป ทางเดียวที่รัฐบาลจะเยียวยาได้จริงๆ คือ ต้องแก้เรื่องความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นมาตรฐานเดียว และต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารหรือตกอยู่ในอำนาจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเช่นกันกับนายจาตุรนต์
ฉายแสง ที่ได้ออกมาสื่อสารผ่านทวิตเตอร์ของตัวเองถึงเรื่องเหตุรุนแรงที่รัฐบาลปฏิบัติต่อกลุ่มนปช. จนเกิดเหตุลุกลามใหญ่โต โดยเตือนว่า มาถึงเวลานี้สิ่งที่ควรทำคือเอาความจริงมาพูดกัน ให้สังคมเข้าใจเสียก่อนว่าเรากำลังอยู่ในสภาพอย่างไร อาจจะบานปลายไปแค่ไหนเพื่อให้ทุกฝ่ายตั้งหลัก ตั้งสติ
และช่วยกันหาทางแก้ และต้องถือว่าปัญหาขณะนี้คือปัญหาของประเทศ ต้องหยุดเสนอข่าวในทางที่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แพ้ เลวทราม หรือบิดเบือนอย่างที่ทำอยู่ ดังนั้นในการจัดการจึงต้องระวังที่จะไม่ไปซ้ำเติมความรู้สึกนั้น มิฉะนั้นจะยิ่งไปกันใหญ่ ผมกำลังเสนอความเห็นเพื่อลดความเสียหาย
บางกอก ทูเดย์ ขอย้ำว่า หากนายอภิสิทธิ์ เปิดใจให้กว้าง จะเห็นว่าจริงๆ แล้วสารพัดข้อเสนอแนะที่ออกมาในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่มาจากความเป็นห่วงใยต่อประเทศชาติบ้านเมืองทั้งสิ้นทุกคนอยากให้ปรองดองจริงๆ ไม่ยืดเยื้อ และไม่เกิดสงครามใต้ดินฉะนั้นวันนี้นายอภิสิทธิ์ที่มีอำนาจอยู่ในมือคงต้อง
ตัดสินใจให้ดี ว่าจะเลือกอะไรฉวยโอกาสกระทืบซ้ำ หรือ ปรองดอง!!! โปรยรัฐสภาแห่งอียู ยังได้มีการขอแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวไทยและเหล่าครอบครัวผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักระหว่างเกิดเหตุรุนแรง พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลไทยให้รับประกันว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินจะไม่นำไปสู่ความ เข้มงวด
ในสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพส่วนบุคคล และขอให้ยุติการตรวจสอบและความเข้มงวดต่อสิทธิในการแสดงออก พร้อมกันนี้รัฐสภาแห่งอียูยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเริ่มเปิดเจรจากันเพื่อหาแนวทางแก้วิกฤติในปัจจุบัน โดยสันติและเป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น