
แน่นอนว่าหากเป็นคนปกติ เป็นปุถุชนธรรมดา ไม่ได้มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง หรือมีวัตถุประสงค์ใดๆ แอบแฝงแล้ว กรณีที่เกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมจนมีทั้งผู้บาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก...คนที่ได้รับรู้ก็ย่อมจะต้องเศร้าใจ สลดใจเป็นธรรมดา ยิ่งถ้าเป็นคนประเภทใจอ่อน บ่อน้ำตาตื้น ยิ่งหนีไม่พ้นที่จะต้องมีน้ำตาคลอตา หรือมีคราบหยาดน้ำตาให้กับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ในการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญเป็นพิเศษนัดแรก นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นประธานการประชุม ได้ขอให้
ส.ว.ทุกคนยืนไว้อาลัยเป็นเวลา 1 นาที แก่ผู้เสียชีวิต 53 ราย และบาดเจ็บจำนวน 415 ราย จากมาตรการกระชับพื้นที่ และกระชับพื้นที่เพิ่มเติมของรัฐบาลที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ค. 2553 และไม่แปลกที่ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา 1 ใน กลุ่ม 64 ส.ว. ที่ได้เสนอให้วุฒิสภาพิจารณาวาระตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาและสอบสวนเหตุการณ์ที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ถนนราชดำเนิน อันเป็นเหตุให้มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่และประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ก่อนเป็นวาระแรก โดยระบุว่ากรณีดังกล่าวทำให้มีเหตุต่อเนื่องมาจนถึงการปราบปรามที่แยกราชประสงค์วันที่ 14–19 พ.
ค. นำมาซึ่งเหตุการณ์จลาจล เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกฝ่าย รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศ ดังนั้นเพื่อให้สาธารณะได้ทราบพัฒนาการของเหตุการณ์อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะกรณีวันที่ 19 พ.ค. ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะวันที่ 18 พ.ค. ประธานวุฒิสภาได้มอบให้ตัวแทน ส.ว. ไปเจรจาเพื่อไม่ให้
เกิดการเสียเลือดเนื้อ แต่ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นรัฐบาลกลับสั่งทหารใช้กำลังขอพื้นที่คืนนำมาซึ่งความเสียหาย จึงควรมีคณะกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ซึ่งสุดท้ายแม้ว่าจะมีคนในกลุ่ม 40 ส.ว.สรรหา อย่างเช่น นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ นายสมชาย แสวงการ นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา จะคัดค้านการขอเลื่อนขึ้นมาเป็นวาระ
แรก แต่ขนาดนั้น กลุ่ม 40 สว.สรรหา และ ส.ว.อื่นๆ อีกส่วนหนึ่งก็ได้เข้าชื่อยื่นต่อนายประสพสุข เพื่อขอเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วในวุฒิสภา ให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ทางการ
เมืองตอนนี้แม้การชุมนุมจะยุติไปแล้ว แต่ปัญหาความขัดแย้งยังมีคงหยั่งรากลึกอยู่มีการกระทำความผิดกฎหมายทั่วประเทศ กลุ่ม 40 ส.ว. ระบุว่า แม้รัฐบาลจะมีการประกาศแผนปรองดองออกมา แต่สถานการณ์ ณ วันที่ประกาศแผนออกมากับสถานการณ์ในวันนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงเล็งเห็น
ความสำคัญที่จะให้คณะรัฐมนตรีเข้ามาชี้แจงถึงสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น โดยจะเป็นโอกาสที่ดีของรัฐบาลในการชี้แจงต่อวุฒิสภา ที่ผ่านมาแม้วุฒิสภาจะเคยขอเปิดอภิปรายไปแล้ว แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุรุนแรงเช่นนี้ วันนี้จึงต้องระดมความเห็นหาทางออกไม่ใช่วิกฤติถูกกวาดเก็บไว้ใต้พรม รอวันปะทุขึ้นมาอีก
เช่นเดียวกับนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และเพื่อน ส.ว. จำนวน54 คน ก็ได้ร่วมกันเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 161 ยื่นญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ เพื่อให้รัฐบาลมาชี้แจงต่อวุฒิสภาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญนี้โดยเร็ว ในประเด็นเหล่านี้
1. รัฐบาลได้อำนาจมาโดยไม่ชอบอย่างที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
2. การสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ รัฐบาลใช้วิธีการใดทำให้มีคนถูกยิงตายหลายสิบคนและบาดเจ็บจำนวนมาก
3. ความสูญเสียในทรัพย์สินเอกชนซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากการเข้า สลายการชุมนุม รัฐบาลจะชดใช้อย่างไร
4. คนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร
5. ทำไมรัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงแนวทางที่ส.ว.กว่า 60 คนเสนอด้วยการให้มีการเจรจาแทนการเข้าสลายการชุมนุม รัฐบาลเล็งเห็นผลหรือไม่ว่า จะมีการบาดเจ็บล้มตายและสุ่มเสี่ยงต่อการลอบวางเพลิง
6. รัฐบาลใช้แผนการใดในการเข้าสลายการชุมนุม มีการใช้กองกำลังทหารและเจ้าหน้าที่รัฐจากหน่วยใด ใช้งบประมาณเท่าไร
7. รัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองอย่างไร และในทางกฎหมายจะตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลในทางใดบ้าง
8. การชุมนุมเกิดความสูญเสียต่อสื่อ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการใช้อำนาจรัฐปิดกั้นสื่อที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล และใช้สื่อที่เข้าข้างรัฐบาลออกมาให้ข้อมูลที่บิดเบือน รัฐบาลแก้ปัญหาการปิดกั้นสื่ออย่างไร
9. พรรคร่วมรัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ และจะร่วมรับผิดชอบต่อความรู้สึกและความสูญเสียจำนวนมากของประชาชนอย่างไร
10. ปัญหาและข้อเท็จจริงอื่น
กรณีเหล่านี้คือความรู้สึกของประธานวุฒิสภา และ กลุ่มส.ว. ที่เห็นว่าเรื่องนี้คือการสูญเสียที่สมควรจะต้องมีการตรวจสอบ แต่ไม่น่าเชื่อว่า ในขณะที่ วุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่นักการเมืองมืออาชีพ ยังรู้สึกสลดใจเศร้าใจ แต่กลายเป็นว่านักการเมืองมืออาชีพ ทั้งๆ ที่ได้ขึ้นมาเพราะประชาชน คนช่วยกันเลือกนั้น บางคนกลับไม่
ได้มีการแสดงออกซึ่งความเสียใจ เศร้าใจกับผู้สูญเสียเลย ที่ผิดคาด และเป็นที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งคือ กรณีของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ยังเกาะหนึบในการเป็นรัฐบาลอย่างไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไร กับการมีมติให้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการขอคืนพื้นที่และสลายการชุมนุม ทั้งๆ ที่มติในเรื่องเหล่านี้ ไม่ว่าอย่างไรพรรค
ร่วมรัฐบาลทุกพรรค ก็ย่อมจะต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด... ซึ่งแน่นอนว่าระดับนักการเมืองมืออาชีพ แถมเขี้ยวโง้งระดับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล หรือผู้อาวุโสของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลาย ย่อมจะต้องรู้ดีโดยปฏิเสธไม่ได้ แต่ใครจะคิดว่า มาจนถึง พ.ศ. 2553 อย่างนี้แล้ว นายบรรหาร ศิลปอาชา ตัวจริงเสียงจริงเจ้า
ของพรรคชาติไทยพัฒนา จะฉวยโอกาสเล่นบทปลาไหลใส่สเก๊ตอีกครั้งหนึ่ง ให้อ้าปากค้างตกตะลึงพรึดเพริดไปตามๆ กัน อานุภาพในการอยากเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะมากมายขนาดนี้เชียวหรือ?? ถึงได้ทำให้นายบรรหาร กลายเป็นนักการเมืองเลือกตั้งที่ไม่อยากให้มีการ
เลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว จนถึงขนาดออกโรง วอนให้นายอภิสิทธิ์เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 14 พฤศจิกายน... ชนิดยิ่งยืดออกไปได้นานมากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น นายบรรหารผู้ไม่เคยพูดถึงการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลและพรรคร่วม เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมแล้วเกิดคนตาย บาดเจ็บ และบานปลาย
ไปจนถึงการเผาประท้วงกันวุ่นวายหลายจุด ทั้งๆที่เสียงสะท้อนระงมไปหมดในเรื่องนี้ แต่ใครจะคิดว่า นักการเมืองอาวุโสอย่างนายบรรหาร ซึ่งได้ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดในชีวิตบนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เพราะผลการเลือกตั้งจากประชาชนมาแล้ว กลับทำเหมือนไม่รู้สึกรู้สมที่มีคนสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ จากการตัดสินใจ
ของรัฐบาล ทำให้มีการวิเคราะห์กันวุ่นไปหมดว่า ยอมเปลืองตัวถูกคนด่ากันอื้ออึงเช่นนี้ มังกรเติ้งดีดลูกคิดในรางแก้ว หวังผลอะไรอยู่ลึกๆ กันแน่ การที่นายบรรหาร หลงจู๊ใหญ่ตัวจริงเสียงจริงของพรรคชาติไทยพัฒนา ต้องรีบออกมาปูทางให้รัฐบาลลากเกมยาวต่อไป ชนิดไม่เห็นด้วยกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ปลายปี
นี้ ทั้งๆที่ทุกพรรคก็ถูกยุบสภาพร้อมกัน และต้องเลือกตั้งพร้อมกัน จึงไม่ควรจะมีใครได้เปรียบเสียเปรียบในการหาเสียงไปมากกว่ากันทั้งนั้น ฉะนั้นเป้าจึงเพ่งเล็งใส่นายบรรหารเต็มๆ ว่า เป้าใหญ่ไม่น่าจะเพราะกลัวการเลือกตั้ง แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง งบประมาณประจำปี 2554 เสียมากกว่า เพราะมีทั้งงบปกติ งบลงทุน
ที่เพิ่มขึ้นจากแผนไทยเข้มแข็ง งบชดเชยความเสียหายต่างๆนาๆ จากเหตุวิปโยค คนเสื้อแดงและประชาชน ผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการชุมนุมของม็อบ นปช. แม้ลึกๆ ไม่อยากจะเชื่อเลยสักนิดว่านายบรรหาร นักเลือกตั้งมืออาชีพจะคิดอย่างนั้นจริงๆ จะสนใจแต่เรื่องผลประโยชน์จนลืมประชาธิปไตยจริงๆ???
เกมนี้ต้องบอกว่า ถ้าเป็นเรื่องจริง นายบรรหารก็เสี่ยงอย่างมากกับอนาคตการเมือง แต่ถ้าไม่ใช่ เพียงแค่ต้องการให้นายอภิสิทธิ์งับเหยื่อแล้วตกเป็นจำเลยประชาชน เพราะไปเลื่อนการเลือกตั้งจากวันที่ 14 พฤศจิกายนออกไป... เพราะนายอภิสิทธิ์จะได้มีแต่เสียกับเสีย ถึงขั้นประ
ชาธิปัตย์ อาจจะต้องชวดการเป็นรัฐบาลไปเลยก็ได้... ทั้งๆที่หากเลือกตั้งเร็วที่สุดในช่วงพลังหนุนหนักแน่นเช่นนี้ ควรจะกวาดเก้าอี้ได้มหาศาลด้วยซ้ำ งานนี้ แสบไม่แสบ ลึกไม่ลึก ต้องคอยดูผลลัพธ์จากนายบรรหารนั่นแหละเป็นคำตอบ ปลาไหลใส่สเก็ตจริงๆ เติ้ง!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
***************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น