กระแสข่าวการเจรจาทั้งในทางลับและเป็นทางการระหว่าง "คู่ขัดแย้ง" รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย กับ กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. โดยมีตัวแทนจากทั้งสองฝ่ายร่วมโต๊ะเจรจา เพื่อผ่าทางตัน-วิกฤตการเมืองที่เกิด
สัญญาณของการเจรจาเริ่มเห็นชัดเมื่อ ศูนย์รักษาความสงบ ภายใต้การนำของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผอ.ศรส. ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาลและถนนราชดำเนิน โดยปราศจากการขัดขวาง ต่อต้าน ปะทะกันถึงขั้นเจ็บหนัก โดยหลายฝ่ายมีการวิเคราะห์และประเมินกันออกมาว่า น่าจะมีการเจรจากันมาในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับวิกฤตข้อขัดแย้งทางการเมืองที่ทุกฝ่ายเห็นว่าการเจรจาจะเป็นทางออกให้กับทุกฝ่ายได้ดีที่สุดนั้น พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า วิเคราะห์ว่า เท่าที่ติดตามข่าวสารทราบว่ายุทธวิธีขอกระชับพื้นที่คืนของเจ้าหน้าที่ ศรส. มีการปฏิบัติการตั้งแต่ช่วงเช้า โดยมองว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนน้อย เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ง่ายที่สุด โดยไม่มีการต่อต้านคัดค้านจนเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายหรือรุนแรง แตกต่างไปจากเวทีกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ไม่ยอมคืนพื้นที่ให้โดยง่าย เกิดการต่อต้านและคัดค้านจนท้ายที่สุดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอยกลับไป เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงสโลว์ดาวน์ของฝ่าย กปปส. หมดพลังและเริ่มอ่อนแอ เพราะมีการชุมนุมมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น โอกาสที่จะถูกสลายการชุมนุมจึงมีสูงมาก
"ในอดีตคาดการณ์ว่าจากความขัดแย้งทั้งหมดอาจนำไปสู่สงครามการเมือง โดยเฉพราะ กปปส.สามารถเรียกประชาชนออกมาเป็นจำนวนหลักแสน หลักล้าน แต่ระยะเวลาผ่านมายังมองไม่เห็นว่าจะเกิดสัญญาณเหตุการณ์แบบนี้เลย เนื่องจากโอกาสที่ กปปส.จะฟื้นขึ้นทำให้ประชาชนออกมามากเหมือนเดิมแทบไม่มีเลย เพราะไม่มีประเด็นที่จะทำให้ประชาชนออกมาได้จำนวนมาก ยกเว้นแต่รัฐบาลใช้กำลังทำให้คนบาดเจ็บ ล้มตายก็อาจะมีส่วนทำให้ประชาชนลุกฮือออกมาอีกครั้ง และนำไปสู่ความรุนแรง ดังนั้น การปฏิบัติการยุทธศาสตร์ขอกระชับพื้นที่ของฝ่ายรัฐบาลมีความเสี่ยงสูงมาก" พล.อ.เอกชัย ให้ความเห็น
ส่วนการเจรจาของกลุ่มต่างๆ เพื่อหาทางออกของปัญหาความขัดแย้งนั้น พล.อ.เอกชัยระบุว่า เห็นด้วยกับการเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้มีการพูดคุยกัน เพราะการเจรจาไม่จำเป็นต้องจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ถ้าจัดตั้งเป็นทางการมันก็จะเกิดไม่ได้ สำหรับนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ก็เคยปฏิบัติงานกับรัฐบาลนี้มาก่อน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง ขณะเดียวกัน นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่าย ปชป.ก็มีความสนิทสนมกับนายวิษณุ เป็นการส่วนตัว ก็อาจมีส่วนช่วยสานสัมพันธ์ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น บวกกับมีความเกี่ยวข้องกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ก็อาจจะเป็นตัวเชื่อมโยงอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ มองว่าการเจรจาน่าจะมีการเชิญผู้แทนจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาร่วมวงด้วย เพราะจะทิ้งกลุ่มนี้ไม่ได้ เนื่องจาก นปช.ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับรัฐบาล เพราะฉะนั้น หากมีข้อสรุปใดกลุ่ม นปช.อาจจะไม่ยอมรับก็ได้ ดังนั้น ควรที่จะเชิญผู้แทน นปช.มาร่วมวงหารือพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายมาตั้งวงเจรจาร่วมกันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็น่าจะลดลงได้ มาตกลงร่วมกันว่าสุดท้ายการปฏิรูปประเทศจะไปทางใด จะได้ลดความขัดแย้ง แต่หากเอาคู่ขัดแย้งสองฝ่ายมาเจรจาตกลงเรื่องผลประโยชน์ของตัวเองมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะการเจรจาต้องจบด้วยการมาช่วยกันสร้างอนาคตร่วมกัน
ขณะที่นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า สถานการณ์หลังการขอคืนพื้นที่บริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาล ว่าทางฝ่ายรัฐบาลคงประเมินแล้วว่าจำนวนผู้ชุมนุมนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณ 3 คืนที่ผ่านมา จำนวนผู้ชุมนุมลดลงอย่างมาก เข้าใจว่าที่ตัวเลขต่ำลงนี้รัฐบาลคงคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะนำพื้นที่ในบางส่วนคืน เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลถูกมองว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่สามารถใช้ทำเนียบรัฐบาลได้ ส่งผลให้ภาพพจน์ของรัฐบาลถดถอยลง หรือพูดง่ายๆ คือเป็นรัฐบาลแต่ไม่สามารถเข้าทำเนียบได้ ก็ต้องไปอาศัยกระทรวงต่างๆ ทำงาน และไม่ว่าจะไปที่ไหน แค่เกริ่นม็อบก็จะตามไปทันที หลายฝ่ายจึงวิจารณ์ว่ารัฐบาลทำตัวล่องลอยไปมา ทำให้ความเป็นรัฐบาลถดถอยลง รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไรบ้าง เพราะจากที่ผ่านมา ตัวแทนของรัฐบาลที่มีอำนาจในศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ก็ได้แต่ออกมาพูดทุกวันว่าจะขอพื้นที่คืนๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไร ซึ่งก็เป็นการดิสเครดิตของรัฐบาลเองเหมือนกัน เพราะเหมือนกับรัฐบาลทำได้แค่ให้คนที่มีอำนาจใน ศรส.ออกมาขู่แบบวันเว้นวัน ดังนั้น รัฐบาลกำลังแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลพูด รัฐบาลก็ทำจริงๆ เหมือนกัน
ส่วนที่หลายฝ่ายประเมินกันว่าเหมือนมีการเจรจากันไว้ก่อนหรือไม่นั้น ดร.สุรชาติมองว่า ถ้าถามในมุมของคนที่ติดตามข่าวจากการนำเสนอของสื่อมวลชนนั้น เราจับข้อมูลลึกๆ ไม่ได้ แต่เราก็พูดกันว่ามีการตกลงกันหรือเปล่าที่จะทำม็อบบางม็อบที่มีคนไม่มากมีทางลง ซึ่งสื่อน่าจะตอบได้ดีกว่าใคร แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ก็ต้องดูกันต่อไปว่าที่สุดในบางจุดนั้นมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ชุมนุมว่าจะต่อสู้กับรัฐบาล หรือจะดำเนินการอย่างไรต่อ วันนี้เรายังไม่เห็นอะไรมาก
ที่มา.มติชนออนไลน์
---------------------------------
สัญญาณของการเจรจาเริ่มเห็นชัดเมื่อ ศูนย์รักษาความสงบ ภายใต้การนำของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผอ.ศรส. ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาลและถนนราชดำเนิน โดยปราศจากการขัดขวาง ต่อต้าน ปะทะกันถึงขั้นเจ็บหนัก โดยหลายฝ่ายมีการวิเคราะห์และประเมินกันออกมาว่า น่าจะมีการเจรจากันมาในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับวิกฤตข้อขัดแย้งทางการเมืองที่ทุกฝ่ายเห็นว่าการเจรจาจะเป็นทางออกให้กับทุกฝ่ายได้ดีที่สุดนั้น พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า วิเคราะห์ว่า เท่าที่ติดตามข่าวสารทราบว่ายุทธวิธีขอกระชับพื้นที่คืนของเจ้าหน้าที่ ศรส. มีการปฏิบัติการตั้งแต่ช่วงเช้า โดยมองว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนน้อย เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ง่ายที่สุด โดยไม่มีการต่อต้านคัดค้านจนเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายหรือรุนแรง แตกต่างไปจากเวทีกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ไม่ยอมคืนพื้นที่ให้โดยง่าย เกิดการต่อต้านและคัดค้านจนท้ายที่สุดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอยกลับไป เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงสโลว์ดาวน์ของฝ่าย กปปส. หมดพลังและเริ่มอ่อนแอ เพราะมีการชุมนุมมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น โอกาสที่จะถูกสลายการชุมนุมจึงมีสูงมาก
"ในอดีตคาดการณ์ว่าจากความขัดแย้งทั้งหมดอาจนำไปสู่สงครามการเมือง โดยเฉพราะ กปปส.สามารถเรียกประชาชนออกมาเป็นจำนวนหลักแสน หลักล้าน แต่ระยะเวลาผ่านมายังมองไม่เห็นว่าจะเกิดสัญญาณเหตุการณ์แบบนี้เลย เนื่องจากโอกาสที่ กปปส.จะฟื้นขึ้นทำให้ประชาชนออกมามากเหมือนเดิมแทบไม่มีเลย เพราะไม่มีประเด็นที่จะทำให้ประชาชนออกมาได้จำนวนมาก ยกเว้นแต่รัฐบาลใช้กำลังทำให้คนบาดเจ็บ ล้มตายก็อาจะมีส่วนทำให้ประชาชนลุกฮือออกมาอีกครั้ง และนำไปสู่ความรุนแรง ดังนั้น การปฏิบัติการยุทธศาสตร์ขอกระชับพื้นที่ของฝ่ายรัฐบาลมีความเสี่ยงสูงมาก" พล.อ.เอกชัย ให้ความเห็น
ส่วนการเจรจาของกลุ่มต่างๆ เพื่อหาทางออกของปัญหาความขัดแย้งนั้น พล.อ.เอกชัยระบุว่า เห็นด้วยกับการเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้มีการพูดคุยกัน เพราะการเจรจาไม่จำเป็นต้องจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ถ้าจัดตั้งเป็นทางการมันก็จะเกิดไม่ได้ สำหรับนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ก็เคยปฏิบัติงานกับรัฐบาลนี้มาก่อน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง ขณะเดียวกัน นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่าย ปชป.ก็มีความสนิทสนมกับนายวิษณุ เป็นการส่วนตัว ก็อาจมีส่วนช่วยสานสัมพันธ์ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น บวกกับมีความเกี่ยวข้องกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ก็อาจจะเป็นตัวเชื่อมโยงอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ มองว่าการเจรจาน่าจะมีการเชิญผู้แทนจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาร่วมวงด้วย เพราะจะทิ้งกลุ่มนี้ไม่ได้ เนื่องจาก นปช.ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับรัฐบาล เพราะฉะนั้น หากมีข้อสรุปใดกลุ่ม นปช.อาจจะไม่ยอมรับก็ได้ ดังนั้น ควรที่จะเชิญผู้แทน นปช.มาร่วมวงหารือพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายมาตั้งวงเจรจาร่วมกันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็น่าจะลดลงได้ มาตกลงร่วมกันว่าสุดท้ายการปฏิรูปประเทศจะไปทางใด จะได้ลดความขัดแย้ง แต่หากเอาคู่ขัดแย้งสองฝ่ายมาเจรจาตกลงเรื่องผลประโยชน์ของตัวเองมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะการเจรจาต้องจบด้วยการมาช่วยกันสร้างอนาคตร่วมกัน
ขณะที่นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า สถานการณ์หลังการขอคืนพื้นที่บริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาล ว่าทางฝ่ายรัฐบาลคงประเมินแล้วว่าจำนวนผู้ชุมนุมนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณ 3 คืนที่ผ่านมา จำนวนผู้ชุมนุมลดลงอย่างมาก เข้าใจว่าที่ตัวเลขต่ำลงนี้รัฐบาลคงคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะนำพื้นที่ในบางส่วนคืน เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลถูกมองว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่สามารถใช้ทำเนียบรัฐบาลได้ ส่งผลให้ภาพพจน์ของรัฐบาลถดถอยลง หรือพูดง่ายๆ คือเป็นรัฐบาลแต่ไม่สามารถเข้าทำเนียบได้ ก็ต้องไปอาศัยกระทรวงต่างๆ ทำงาน และไม่ว่าจะไปที่ไหน แค่เกริ่นม็อบก็จะตามไปทันที หลายฝ่ายจึงวิจารณ์ว่ารัฐบาลทำตัวล่องลอยไปมา ทำให้ความเป็นรัฐบาลถดถอยลง รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไรบ้าง เพราะจากที่ผ่านมา ตัวแทนของรัฐบาลที่มีอำนาจในศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ก็ได้แต่ออกมาพูดทุกวันว่าจะขอพื้นที่คืนๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไร ซึ่งก็เป็นการดิสเครดิตของรัฐบาลเองเหมือนกัน เพราะเหมือนกับรัฐบาลทำได้แค่ให้คนที่มีอำนาจใน ศรส.ออกมาขู่แบบวันเว้นวัน ดังนั้น รัฐบาลกำลังแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลพูด รัฐบาลก็ทำจริงๆ เหมือนกัน
ส่วนที่หลายฝ่ายประเมินกันว่าเหมือนมีการเจรจากันไว้ก่อนหรือไม่นั้น ดร.สุรชาติมองว่า ถ้าถามในมุมของคนที่ติดตามข่าวจากการนำเสนอของสื่อมวลชนนั้น เราจับข้อมูลลึกๆ ไม่ได้ แต่เราก็พูดกันว่ามีการตกลงกันหรือเปล่าที่จะทำม็อบบางม็อบที่มีคนไม่มากมีทางลง ซึ่งสื่อน่าจะตอบได้ดีกว่าใคร แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์ก็ต้องดูกันต่อไปว่าที่สุดในบางจุดนั้นมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ชุมนุมว่าจะต่อสู้กับรัฐบาล หรือจะดำเนินการอย่างไรต่อ วันนี้เรายังไม่เห็นอะไรมาก
ที่มา.มติชนออนไลน์
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น