โดย.สรกล อดุลยานนท์
คำถามที่ว่า "เมื่อไรจะจบ" กลายเป็นคำถามยอดฮิต เพราะไม่มีใครรู้ว่าความขัดแย้งการเมืองไทยจะจบลงเมื่อไร
ความอึมครึมของการเมืองไทยทำให้ผมนึกถึงคำของนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง
เขาบอกว่าสถานการณ์ที่เขาไม่ชอบที่สุด
คือ "ปลาไม่รู้เป็นไม่รู้ตาย"
ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
วันนี้นักธุรกิจส่วนใหญ่สนใจว่าจะจบ "เมื่อไร"
มากกว่าจะจบ "แบบไหน"
คือ ยอมแล้ว... จบแบบไหนก็ได้
ขอให้จบเสียที
ต่อให้เลวร้ายที่สุดก็ยังดี เพราะจะได้รู้ว่าถึงก้นเหวแล้ว
จะได้เริ่มต้นใหม่
แต่ในระยะยาว... ต้องขอเตือนว่า การ "จบแบบไหน" สำคัญพอๆ กับ "จบเมื่อไร"
เพราะถ้าจบแบบไม่มีหลักการจะสร้างปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่าในอนาคต
เหมือนรัฐประหาร 2549 ที่คิดว่าจะจบ
สุดท้ายก็ไม่จบ
เราคิดว่า "ม็อบพันธมิตร" ใหญ่ที่สุดแล้ว "ม็อบเสื้อแดง" ใหญ่กว่า
คิดว่า "ม็อบเสื้อแดง" ใหญ่แล้ว
และสุดท้าย "ม็อบ กปปส." ใหญ่กว่า
นี่คือ พัฒนาการของความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
คุยกับนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง... เขาบอกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจวันนี้กำลังเข้าสู่วงจรอุบาทว์
เรื่องชาวนาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ทางการเมือง
ผลกระทบจากที่ชาวนาไม่ได้เงินกำลังจะลามไปทั่ว
เงินแสนกว่าล้านที่ไม่ถึงมือ "รากหญ้า" ส่งผลสะเทือนเป็นลูกโซ่
เพราะเงินก้อนนี้ในมือคนจนจะหมุนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 รอบ
ตัวเลขยอดค้าปลีกทุกค่ายเมื่อเดือนที่แล้ว ลดลงระดับ 2 หลักทุกแห่ง
คือ หลักสิบ... ไม่ใช่หลักหน่วย
ตัวเลขเอ็นพีแอลของแบงก์เริ่มขยับ
นั่นคือ เหตุผลที่ "อานันท์ ปันยารชุน" ออกมาให้สัมภาษณ์วันก่อน
เพราะรู้แล้วว่าการนำเรื่องชาวนามาเล่นเกมการเมืองจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจไทย
ฟังนักธุรกิจใหญ่คนนี้วิเคราะห์สถานการณ์จบ... ผมก็อดถามคำถามยอดฮิตไม่ได้
"แล้วมันจะจบเมื่อไร"
เขาส่ายหน้า... เป็นคำตอบเดิม ๆ
ไม่รู้เหมือนกัน
ครับ... พอประเมินไม่ได้ว่าเรื่องจะจบเมื่อไร... เราก็วางแผนธุรกิจยาก
นึกถึงรุ่นพี่คนหนี่ง... ตอนที่เขาเผชิญกับวิกฤตที่ไม่รู้เป็นไม่รู้ตายคล้ายๆ แบบนี้
สิ่งที่เขาทำก่อนเลย... คือ ไปดูหมอ
ทั้งที่ไม่ใช่คนที่เชื่อเรื่องนี้
รุ่นพี่คนนี้เขาต้องการใครสักคนหนึ่งมาบอกว่า เรื่องนี้จะจบลงเมื่อไร
ต้องให้มีใครสักคนหนึ่งฟันธง
คนรอบข้างก็มีความรู้ความสามารถเรื่องธุรกิจเหมือนกัน
จะให้เชื่อกันก็ทำใจไม่ได้
ไปหาหมอดูดีกว่า
เพราะเป็นศาสตร์ที่เขาไม่รู้
พอหมอดูบอกว่าเรื่องจะจบเมื่อไร...
เขาเอาวันนั้นเป็น "ธง"
วางแผนธุรกิจตาม "ธง" นั้นเลย
จริงไม่จริงไม่รู้
แต่ก็ดีกว่าอยู่เฉย ๆ
คำถามที่ว่า "เมื่อไรจะจบ" กลายเป็นคำถามยอดฮิต เพราะไม่มีใครรู้ว่าความขัดแย้งการเมืองไทยจะจบลงเมื่อไร
ความอึมครึมของการเมืองไทยทำให้ผมนึกถึงคำของนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง
เขาบอกว่าสถานการณ์ที่เขาไม่ชอบที่สุด
คือ "ปลาไม่รู้เป็นไม่รู้ตาย"
ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
วันนี้นักธุรกิจส่วนใหญ่สนใจว่าจะจบ "เมื่อไร"
มากกว่าจะจบ "แบบไหน"
คือ ยอมแล้ว... จบแบบไหนก็ได้
ขอให้จบเสียที
ต่อให้เลวร้ายที่สุดก็ยังดี เพราะจะได้รู้ว่าถึงก้นเหวแล้ว
จะได้เริ่มต้นใหม่
แต่ในระยะยาว... ต้องขอเตือนว่า การ "จบแบบไหน" สำคัญพอๆ กับ "จบเมื่อไร"
เพราะถ้าจบแบบไม่มีหลักการจะสร้างปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่าในอนาคต
เหมือนรัฐประหาร 2549 ที่คิดว่าจะจบ
สุดท้ายก็ไม่จบ
เราคิดว่า "ม็อบพันธมิตร" ใหญ่ที่สุดแล้ว "ม็อบเสื้อแดง" ใหญ่กว่า
คิดว่า "ม็อบเสื้อแดง" ใหญ่แล้ว
และสุดท้าย "ม็อบ กปปส." ใหญ่กว่า
นี่คือ พัฒนาการของความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
คุยกับนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง... เขาบอกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจวันนี้กำลังเข้าสู่วงจรอุบาทว์
เรื่องชาวนาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ทางการเมือง
ผลกระทบจากที่ชาวนาไม่ได้เงินกำลังจะลามไปทั่ว
เงินแสนกว่าล้านที่ไม่ถึงมือ "รากหญ้า" ส่งผลสะเทือนเป็นลูกโซ่
เพราะเงินก้อนนี้ในมือคนจนจะหมุนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 รอบ
ตัวเลขยอดค้าปลีกทุกค่ายเมื่อเดือนที่แล้ว ลดลงระดับ 2 หลักทุกแห่ง
คือ หลักสิบ... ไม่ใช่หลักหน่วย
ตัวเลขเอ็นพีแอลของแบงก์เริ่มขยับ
นั่นคือ เหตุผลที่ "อานันท์ ปันยารชุน" ออกมาให้สัมภาษณ์วันก่อน
เพราะรู้แล้วว่าการนำเรื่องชาวนามาเล่นเกมการเมืองจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจไทย
ฟังนักธุรกิจใหญ่คนนี้วิเคราะห์สถานการณ์จบ... ผมก็อดถามคำถามยอดฮิตไม่ได้
"แล้วมันจะจบเมื่อไร"
เขาส่ายหน้า... เป็นคำตอบเดิม ๆ
ไม่รู้เหมือนกัน
ครับ... พอประเมินไม่ได้ว่าเรื่องจะจบเมื่อไร... เราก็วางแผนธุรกิจยาก
นึกถึงรุ่นพี่คนหนี่ง... ตอนที่เขาเผชิญกับวิกฤตที่ไม่รู้เป็นไม่รู้ตายคล้ายๆ แบบนี้
สิ่งที่เขาทำก่อนเลย... คือ ไปดูหมอ
ทั้งที่ไม่ใช่คนที่เชื่อเรื่องนี้
รุ่นพี่คนนี้เขาต้องการใครสักคนหนึ่งมาบอกว่า เรื่องนี้จะจบลงเมื่อไร
ต้องให้มีใครสักคนหนึ่งฟันธง
คนรอบข้างก็มีความรู้ความสามารถเรื่องธุรกิจเหมือนกัน
จะให้เชื่อกันก็ทำใจไม่ได้
ไปหาหมอดูดีกว่า
เพราะเป็นศาสตร์ที่เขาไม่รู้
พอหมอดูบอกว่าเรื่องจะจบเมื่อไร...
เขาเอาวันนั้นเป็น "ธง"
วางแผนธุรกิจตาม "ธง" นั้นเลย
จริงไม่จริงไม่รู้
แต่ก็ดีกว่าอยู่เฉย ๆ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น