ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 14 ศาลจังหวัดเชียงราย นายมหันต์โชค แฉล้มเขตต์ ผู้พิพากษาศาลเชียงราย ได้ขึ้นบัลลังก์เพื่ออ่านคำพิจารณาตามคำสั่งศาลฎีกาต่อกรณีคำร้องของฝ่ายจำเลยคดีหมายเลขดำที่ 2318/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 1131/2549 ในชั้นศาลฎีกาคดีแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 โดยมีโจทย์คือนางรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกเทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย และจำเลยคือนางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช นายก อบจ.เชียงราย คนปัจจุบัน
ก่อนหน้าจำเลยได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้ง คือวันที่ 13 ก.ย. โดยระบุว่าป่วยปวดศีรษะ และวันที่ 2 ส.ค. ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น ก่อนถึงเวลานัดฟังคำพิพากษาทางทนายฝ่ายจำเลยได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ยื่นต่อศาลฎีกาขอสืบพยานเพิ่มเติมในคดีดังกล่าวโดยให้นำไปสืบในชั้นศาลชั้นต้น ทำให้ทางศาล จ.เชียงราย ได้ยื่นเรื่องไปยังองค์คณะของศาลฎีกาส่งผลทำให้การพิจารณาช้ากว่าเวลานัดหมายช่วงประมาณ 10.00 น. ไปประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นของทั้งสองฝ่าย รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจโดย พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.ภ.นครบาล เดินทางไปฟังคำพิพากษาด้วย
กระทั่งศาลฎีกาได้สอบถามหาตัวโจทย์และจำเลยปรากฏว่าทางทนายฝ่ายโจทย์แจ้งว่าโจทย์ให้ทนายความไปรับฟังแทน สอบถามถึงฝ่ายจำเลยปรากฏว่านางสลักจฤฏดิ์ไม่ได้เดินทางไปฟังคำสั่งศาลฎีกาศาลจึงให้ทนายความโทรศัพท์ไปแจ้งให้ไปรับคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวปรากฏว่าทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้ศาล จ.เชียงราย ได้อ่านคำสั่งกรณีคำร้องของจำเลย
โดยมีเนื้อหาว่าศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาต่อคดีดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องส่งคำร้องสนับสนุนคดีดังกล่าวอีก และไม่จำเป็นต้องส่งคดีให้ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะส่งคำร้องในชั้นศาลฎีกาและไม่อนุญาตให้มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาในคดี จึงยกคำร้องของฝ่ายจำเลยดังกล่าว ส่วนกรณีที่จำเลยไม่เดินทางไปฟังคำสั่งศาลนั้นเห็นว่าจำเลยได้รับทราบการนัดหมายจากศาลอยู่แล้ว ดังนั้น จึงให้มีการออกหมายจับจำเลยเพื่อนำตัวไปรับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา ในวันที่ 12 มี.ค. เวลา 09.00 น.
ภายหลังจากศาลได้อ่านคำสั่งดังกล่าวแล้วทางฝ่ายทนายนางสลักจฏดิ์ ได้พยายามเข้าไปชี้แจงต่อศาลนานหลายนาที ศาลอธิบายว่าศาลได้มีการพิจารณาจากคำร้องต่างๆ ไปหมดแล้ว และกรณีทนายแสดงความเห็นเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว แต่หากอยากชี้แจงใดๆ ก็ให้ยื่นคำร้องใหม่เข้าไปยังศาลได้ต่อไป
สำหรับคดีระหว่างนางสลักจฤฏดิ์ กับนางรัตนา เกิดขึ้นในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยยังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคเพื่อไทยได้ส่งนางสลักจฤฏดิ์เป็นภรรยาของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ขณะนั้นเป็นเลขาธิการอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีคู่แข่งขันคนสำคัญคือนางรัตนา เป็นภรรยาของนายวันชัย จงสุทธนามณี นายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน ผลปรากฏว่านางรัตนาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ทำให้ทางฝ่ายนางสลักจฤฏดิ์ ได้มีการร้องเรียนและฟ้องร้องกับนางรัตนากันหลายคดี
โดยส่วนมากเป็นคดีที่เกิดจากการร้องเรียนการแจกสิ่งของเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ปี 2547 จากนั้นได้นำผลเข้าสู่การฟ้องร้องคดี โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฏดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือน โดยไม่รอลงอาญา โทษปรับ 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี
แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้อง จนมาถึงการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551 นางรัตนาก็ชนะการเลือกตั้งอีก กระทั่งปี 2555 นางสลักจฤฏดิ์ ได้ลงสมัครอีกครั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทยจนมาชนะการเลือกตั้ง แต่คดีนางรัตนาก็ยังมีการร้องต่อศาลฎีกาต่อจนมีการนัดหมายอ่านคำพิพากษาในวันที่ 5 กุมภาพันธ์
ที่มา.มติชนออนไลน์
------------------------------------
ก่อนหน้าจำเลยได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้ง คือวันที่ 13 ก.ย. โดยระบุว่าป่วยปวดศีรษะ และวันที่ 2 ส.ค. ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น ก่อนถึงเวลานัดฟังคำพิพากษาทางทนายฝ่ายจำเลยได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ยื่นต่อศาลฎีกาขอสืบพยานเพิ่มเติมในคดีดังกล่าวโดยให้นำไปสืบในชั้นศาลชั้นต้น ทำให้ทางศาล จ.เชียงราย ได้ยื่นเรื่องไปยังองค์คณะของศาลฎีกาส่งผลทำให้การพิจารณาช้ากว่าเวลานัดหมายช่วงประมาณ 10.00 น. ไปประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นของทั้งสองฝ่าย รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจโดย พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.ภ.นครบาล เดินทางไปฟังคำพิพากษาด้วย
กระทั่งศาลฎีกาได้สอบถามหาตัวโจทย์และจำเลยปรากฏว่าทางทนายฝ่ายโจทย์แจ้งว่าโจทย์ให้ทนายความไปรับฟังแทน สอบถามถึงฝ่ายจำเลยปรากฏว่านางสลักจฤฏดิ์ไม่ได้เดินทางไปฟังคำสั่งศาลฎีกาศาลจึงให้ทนายความโทรศัพท์ไปแจ้งให้ไปรับคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวปรากฏว่าทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้ศาล จ.เชียงราย ได้อ่านคำสั่งกรณีคำร้องของจำเลย
โดยมีเนื้อหาว่าศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาต่อคดีดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องส่งคำร้องสนับสนุนคดีดังกล่าวอีก และไม่จำเป็นต้องส่งคดีให้ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะส่งคำร้องในชั้นศาลฎีกาและไม่อนุญาตให้มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาในคดี จึงยกคำร้องของฝ่ายจำเลยดังกล่าว ส่วนกรณีที่จำเลยไม่เดินทางไปฟังคำสั่งศาลนั้นเห็นว่าจำเลยได้รับทราบการนัดหมายจากศาลอยู่แล้ว ดังนั้น จึงให้มีการออกหมายจับจำเลยเพื่อนำตัวไปรับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา ในวันที่ 12 มี.ค. เวลา 09.00 น.
ภายหลังจากศาลได้อ่านคำสั่งดังกล่าวแล้วทางฝ่ายทนายนางสลักจฏดิ์ ได้พยายามเข้าไปชี้แจงต่อศาลนานหลายนาที ศาลอธิบายว่าศาลได้มีการพิจารณาจากคำร้องต่างๆ ไปหมดแล้ว และกรณีทนายแสดงความเห็นเป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว แต่หากอยากชี้แจงใดๆ ก็ให้ยื่นคำร้องใหม่เข้าไปยังศาลได้ต่อไป
สำหรับคดีระหว่างนางสลักจฤฏดิ์ กับนางรัตนา เกิดขึ้นในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยยังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคเพื่อไทยได้ส่งนางสลักจฤฏดิ์เป็นภรรยาของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ขณะนั้นเป็นเลขาธิการอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีคู่แข่งขันคนสำคัญคือนางรัตนา เป็นภรรยาของนายวันชัย จงสุทธนามณี นายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน ผลปรากฏว่านางรัตนาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ทำให้ทางฝ่ายนางสลักจฤฏดิ์ ได้มีการร้องเรียนและฟ้องร้องกับนางรัตนากันหลายคดี
โดยส่วนมากเป็นคดีที่เกิดจากการร้องเรียนการแจกสิ่งของเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ปี 2547 จากนั้นได้นำผลเข้าสู่การฟ้องร้องคดี โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฏดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือน โดยไม่รอลงอาญา โทษปรับ 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี
แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้อง จนมาถึงการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551 นางรัตนาก็ชนะการเลือกตั้งอีก กระทั่งปี 2555 นางสลักจฤฏดิ์ ได้ลงสมัครอีกครั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทยจนมาชนะการเลือกตั้ง แต่คดีนางรัตนาก็ยังมีการร้องต่อศาลฎีกาต่อจนมีการนัดหมายอ่านคำพิพากษาในวันที่ 5 กุมภาพันธ์
ที่มา.มติชนออนไลน์
------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น