คอลัมน์ : บทบรรณาธิการ
ชาวนาประมาณ 1.4 ล้านคน ที่มีใบประทวนซึ่งไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูการผลิต 2556/2557 (นาปี) ย่อมต้องเดือดร้อนแน่นอน เพราะเข้าสู่เดือนที่ 5 แล้วนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงกุมภาพันธ์ 2557 ไม่ว่าจะเพราะวิกฤตการเมืองหรือความล้มเหลวในการบริหารจัดการของรัฐบาลก็ตาม ทำให้ชาวนาทั้งแผ่นดินเป็นทุกข์
ชาวนาคนหนึ่งขึ้นเวทีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ร่ำไห้และถามว่าทำไมรัฐบาลใจดำ แต่ก็มีคำถามว่าทำไมไม่ถาม กปปส. และเครือข่ายที่ดาวกระจายไปข่มขู่และปิดล้อมไม่ให้สถาบันการเงินต่างๆให้รัฐบาลกู้เงินช่วยเหลือชาวนาว่าทำไมใจดำเช่นนั้น คงต้องให้ชาวนาทั้งประเทศเป็นคนตอบเอง
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเองก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้เช่นกัน แม้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนามีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การจัดการและภาวะเศรษฐกิจกลับไม่เอื้ออำนวยจนเกิดผลกระทบต่องบประมาณ โดยเฉพาะการทุตริตที่ถูก กปปส. และกลุ่มต่างๆนำมาโจมตีในขณะนี้ ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวไม่มีแน่นอน ทั้งที่ข้อเท็จจริงในโครงการรับจำนำข้าวและประกันราคาข้าวล้วนมีการทุจริตทั้งสิ้น แต่รัฐบาลจะทำอย่างไรให้การทุจริตเป็นไปได้น้อยที่สุดเท่านั้น
ประเด็นที่ว่าควรใช้นโยบายโครงการรับจำนำข้าวหรือการประกันราคาข้าวนั้น ต้องไม่ให้เงื่อนไขทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องให้สังคมยอมรับว่าการช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้พอจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือซึ่งจะกระทบต่องบประมาณจำนวนหนึ่ง เพราะข้าวและพืชผลการเกษตรอยู่ภายใต้กลไกตลาดที่ชาวนาและเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบมาตลอด
ขณะที่ชาวนาไทยมีประมาณ 20 ล้านคน แม้ปัจจุบันกระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไป แต่ต้นทุนต่างๆกลับสูงขึ้น ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต้นทุนมากหรือน้อย หากยังมีกำไร ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวทำให้ชาวนารู้ว่าเมื่อหักต้นทุน ค่าความชื้นและความไม่ได้มาตรฐานต่างๆแล้วจะเหลือเงินตันละเท่าไร จากการสำรวจพบว่าชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวจะมีรายได้ที่สูงกว่าชาวนาที่ไม่เข้าร่วมโครงการค่อนข้างมาก คือกำไรต่อไร่ต่างกันเกือบ 3 เท่า
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจึงทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดยิ่งเห็นความแตกต่าง ทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้ชาวนา 20 ล้านบาท ปีละ 400,000-500,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่เข้าถึงคนรากหญ้าอย่างแท้จริง
ระบบเศรษฐกิจและการตลาดในปัจจุบันจึงไม่อาจปฏิเสธการช่วยเหลือชาวนาและผู้ทำอาชีพเกษตรกรได้ ไม่ว่ารัฐบาลใดจะเข้ามาบริหารต่างก็รู้ดี แต่ทำอย่างไรให้นโยบายเกิดประโยชน์สูงสุดและมีปัญหาการทุจริตน้อยที่สุด ไม่ใช่เอาทุกข์ของชาวนามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างในขณะนี้
ที่มา.นสพ.โลกวันนี้
-----------------------------------
ชาวนาประมาณ 1.4 ล้านคน ที่มีใบประทวนซึ่งไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูการผลิต 2556/2557 (นาปี) ย่อมต้องเดือดร้อนแน่นอน เพราะเข้าสู่เดือนที่ 5 แล้วนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงกุมภาพันธ์ 2557 ไม่ว่าจะเพราะวิกฤตการเมืองหรือความล้มเหลวในการบริหารจัดการของรัฐบาลก็ตาม ทำให้ชาวนาทั้งแผ่นดินเป็นทุกข์
ชาวนาคนหนึ่งขึ้นเวทีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ร่ำไห้และถามว่าทำไมรัฐบาลใจดำ แต่ก็มีคำถามว่าทำไมไม่ถาม กปปส. และเครือข่ายที่ดาวกระจายไปข่มขู่และปิดล้อมไม่ให้สถาบันการเงินต่างๆให้รัฐบาลกู้เงินช่วยเหลือชาวนาว่าทำไมใจดำเช่นนั้น คงต้องให้ชาวนาทั้งประเทศเป็นคนตอบเอง
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเองก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้เช่นกัน แม้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนามีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การจัดการและภาวะเศรษฐกิจกลับไม่เอื้ออำนวยจนเกิดผลกระทบต่องบประมาณ โดยเฉพาะการทุตริตที่ถูก กปปส. และกลุ่มต่างๆนำมาโจมตีในขณะนี้ ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวไม่มีแน่นอน ทั้งที่ข้อเท็จจริงในโครงการรับจำนำข้าวและประกันราคาข้าวล้วนมีการทุจริตทั้งสิ้น แต่รัฐบาลจะทำอย่างไรให้การทุจริตเป็นไปได้น้อยที่สุดเท่านั้น
ประเด็นที่ว่าควรใช้นโยบายโครงการรับจำนำข้าวหรือการประกันราคาข้าวนั้น ต้องไม่ให้เงื่อนไขทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องให้สังคมยอมรับว่าการช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้พอจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือซึ่งจะกระทบต่องบประมาณจำนวนหนึ่ง เพราะข้าวและพืชผลการเกษตรอยู่ภายใต้กลไกตลาดที่ชาวนาและเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบมาตลอด
ขณะที่ชาวนาไทยมีประมาณ 20 ล้านคน แม้ปัจจุบันกระบวนการผลิตจะเปลี่ยนไป แต่ต้นทุนต่างๆกลับสูงขึ้น ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต้นทุนมากหรือน้อย หากยังมีกำไร ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวทำให้ชาวนารู้ว่าเมื่อหักต้นทุน ค่าความชื้นและความไม่ได้มาตรฐานต่างๆแล้วจะเหลือเงินตันละเท่าไร จากการสำรวจพบว่าชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวจะมีรายได้ที่สูงกว่าชาวนาที่ไม่เข้าร่วมโครงการค่อนข้างมาก คือกำไรต่อไร่ต่างกันเกือบ 3 เท่า
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจึงทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดยิ่งเห็นความแตกต่าง ทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้ชาวนา 20 ล้านบาท ปีละ 400,000-500,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่เข้าถึงคนรากหญ้าอย่างแท้จริง
ระบบเศรษฐกิจและการตลาดในปัจจุบันจึงไม่อาจปฏิเสธการช่วยเหลือชาวนาและผู้ทำอาชีพเกษตรกรได้ ไม่ว่ารัฐบาลใดจะเข้ามาบริหารต่างก็รู้ดี แต่ทำอย่างไรให้นโยบายเกิดประโยชน์สูงสุดและมีปัญหาการทุจริตน้อยที่สุด ไม่ใช่เอาทุกข์ของชาวนามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างในขณะนี้
ที่มา.นสพ.โลกวันนี้
-----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น