โดย : ธวัชชัย อินทรประดิษฐ์
ผลการหารือร่วมระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับ หน่วยงานด้านความมั่นคง 12 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ได้ข้อสรุปที่เห็นตรงกันว่า สถานการณ์ใน 45-60 วันนี้ ยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งที่สงบขึ้นได้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน
อีกทั้งที่ประชุมยังได้ข้อสรุปร่วมกัน 5 ข้อประกอบด้วย 1.ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศ เพราะการที่รัฐบาลรักษาการเป็นเวลานานจะกระทบกับเศรษฐกิจและสังคม
2.กกต.และหน่วยงานความมั่นคงยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะจัดการเลือกตั้งในสถานการณ์ปกติ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่คลี่คลายความขัดแย้งลงไปแล้ว
3.สถานการณ์ในปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคที่จะจัดเลือกตั้งให้สำเร็จ หากจะจัดเลือกตั้งใหม่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา
4.ที่ประชุมยังไม่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง เพราะต้องรอฟังความเห็นจาก 73 พรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย.นี้ก่อน อีกทั้ง กกต.ขอเชิญชวนให้ ทุกภาคส่วน ทั้ง 7 องค์กรธุรกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาร่วมหารือเพื่อนำแนวทางประกอบการตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้ง
และ 5.ระหว่างการประเมินสถานการณ์ทางกกต.จะแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการเลือกตั้ง
"สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่เบาลงจึงยังไม่เหมาะสมที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะกลัวว่าเหตุการณ์จะซ้ำรอยเหมือนวันที่ 2 ก.พ.จนทำให้เสียงบประมาณ 3.8 พันล้านบาท" ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.ระบุ
ขณะที่ในการประชุมร่วมกับพรรคการเมือง วันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.เตรียมนำข้อสรุปจากการประชุมร่วมกับตัวแทนเหล่าทัพและฝ่ายความมั่นคง เสนอต่อที่ประชุมพรรคการเมือง โดยเมื่อหารือกับพรรคการเมืองแล้ว จะนำข้อสรุปจากทั้งสองฝ่ายไปพูดคุยหารือกับรัฐบาล เพื่อวางกรอบการจัดการเลือกตั้งส.ส.ในเวลาที่เหมาะสม
ก่อนหน้านี้ กกต.ได้วิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแล้วเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่เสร็จเรียบร้อยมาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง จนกกต.ไม่สามารถที่จะให้มีการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ใน 28 เขตได้
ดังนั้น กกต.ต้องพิจารณาว่าหากจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ และให้เกิดความสำเร็จ กกต.ต้องคำนึงเรื่องสถานการณ์ความสงบเป็นสำคัญ ถ้ากกต.จัดการเลือกตั้งแล้วเกิดปัญหาซ้ำเดิม กกต.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ 53 พรรคการเมืองยื่นข้อเสนอให้กกต.จัดเลือกตั้งภายใน 45-60 นับแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แม้ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดแนวปฏิบัติ แต่ก็มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย.2549 เป็นโมฆะ เป็นแนวทางที่ให้กกต.สามารถนำมาปฏิบัติได้
โดยทางสำนักงานกกต.ได้เสนอว่า ตอนปี 2549 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยจนถึงวันเลือกตั้งใหม่ที่มีการกำหนดให้เป็นวันที่ 15 ต.ค.2549 ใช้เวลาทั้งสิ้น 160 วัน โดยในห้วงเวลา 160 วันดังกล่าว มีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่ พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้นกกต.น่าจะใช้กรอบระยะเวลาดังกล่าวเป็นหลักในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการเสนอเป็น 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะยึดกรอบกำหนดจัดการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลา 60 วัน นับแต่พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ โดยให้นับย้อนจากเวลาดังกล่าวขึ้นไป 30 วัน หรือ 60 วัน หรือ 90 วัน สำหรับให้กกต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้การเลือกตั้งใหม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวมทั้งจะต้องแก้ไขระเบียบกกต.ที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง เช่น ระเบียบการรับสมัคร ส.ส. ที่อาจจะนำระบบการรับสมัครทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษมาใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป
ดังนั้นการกำหนดวันเลือกตั้งจะมี 3 รูปแบบ คือในกรอบระยะเวลา 90 วัน 120 วัน และ 150 วัน
ล่าสุด สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงไทม์ไลน์การเลือกตั้งไทย (ที่ไม่เกี่ยวกับป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ) มีเนื้อหาระบุถึงแนวทางการเลือกตั้ง ว่า ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.เชิญ 70 พรรคการเมืองหารือกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ที่เหมาะสม
นอกจากนั้น น่าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและ กกต. เพื่อกำหนดวันออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 29-30 เม.ย. โดยรัฐบาลน่าจะเลือกสูตรที่เร็วที่สุดคือ 90 วัน จึงคาดว่าจะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 20 หรือ 27 ก.ค.2557
"การเลือกตั้งครั้งใหม่ ไม่น่าจะมีเหตุโมฆะ เนื่องจาก กกต.ได้กำหนดวิธีการรับสมัครด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้น่าจะมีผู้สมัครครบทุกเขต แต่การได้ ส.ส.ครบร้อยละ 95 ภายใน 30 วันหลังจากการเลือกตั้งยังเป็นปัญหา เนื่องจากต้องเลือกตั้งครบทุกหน่วยจึงจะสามารถประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ และหากสถานการณ์ไม่เลวร้ายมาก สภาน่าจะเปิดได้ในเดือนก.ย.และมีรัฐบาลใหม่ได้ในเดือนต.ค."
สมชัย ยังกล่าวติดตลกทิ้งด้วยว่า "แนวทางคร่าวๆ นี้ เป็นการมองโลกในแง่ดี"
"การเลือกตั้ง" ถือเป็น "ไพ่" ของฝ่ายรัฐบาล ที่จะทำให้ตัวเองได้หวนกลับมายึดครอง "อำนาจ" ไว้ในมืออย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง แต่ตราบใดที่การเลือกตั้งยังไม่เกิดขึ้น และยิ่งทอดยาวออกไป ก็ย่อมทำให้รัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย เกิดอาการหวั่นไหวว่า "อำนาจรัฐ" ยังจะอยู่ในมือตัวเองอีกต่อไปหรือไม่
ดังนั้นการที่กกต.คาดหมายว่า การเลือกตั้งน่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 20 หรือ 27 ก.ค.นี้ น่าจะไม่เป็นที่ "สบอารมณ์" ของพรรคเพื่อไทยแน่นอน จึงเป็นไปได้มากที่ กกต.จะถูก "กดดัน" จากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ให้ร่นเวลาจัดเลือกตั้งใหม่ให้เร็วขึ้น
ขณะที่ "กลุ่มกปปส." ก็คงจะทำทุกวิถีทาง เพื่อขัดขวางไม่ให้เกิดการเลือกตั้งได้สำเร็จ แต่ต้องการให้เกิดการ "ปฏิรูป" เสียก่อนแล้วค่อยไป เลือกตั้ง
ดูแล้ว"การเลือกตั้ง"จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และเมื่อไหร่ จึงยังเป็นอะไรที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ในขณะนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญด้วย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////
ผลการหารือร่วมระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับ หน่วยงานด้านความมั่นคง 12 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ได้ข้อสรุปที่เห็นตรงกันว่า สถานการณ์ใน 45-60 วันนี้ ยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งที่สงบขึ้นได้ ต้องมีการประเมินสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน
อีกทั้งที่ประชุมยังได้ข้อสรุปร่วมกัน 5 ข้อประกอบด้วย 1.ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศ เพราะการที่รัฐบาลรักษาการเป็นเวลานานจะกระทบกับเศรษฐกิจและสังคม
2.กกต.และหน่วยงานความมั่นคงยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะจัดการเลือกตั้งในสถานการณ์ปกติ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่คลี่คลายความขัดแย้งลงไปแล้ว
3.สถานการณ์ในปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคที่จะจัดเลือกตั้งให้สำเร็จ หากจะจัดเลือกตั้งใหม่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา
4.ที่ประชุมยังไม่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง เพราะต้องรอฟังความเห็นจาก 73 พรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย.นี้ก่อน อีกทั้ง กกต.ขอเชิญชวนให้ ทุกภาคส่วน ทั้ง 7 องค์กรธุรกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาร่วมหารือเพื่อนำแนวทางประกอบการตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้ง
และ 5.ระหว่างการประเมินสถานการณ์ทางกกต.จะแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการเลือกตั้ง
"สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่เบาลงจึงยังไม่เหมาะสมที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะกลัวว่าเหตุการณ์จะซ้ำรอยเหมือนวันที่ 2 ก.พ.จนทำให้เสียงบประมาณ 3.8 พันล้านบาท" ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.ระบุ
ขณะที่ในการประชุมร่วมกับพรรคการเมือง วันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.เตรียมนำข้อสรุปจากการประชุมร่วมกับตัวแทนเหล่าทัพและฝ่ายความมั่นคง เสนอต่อที่ประชุมพรรคการเมือง โดยเมื่อหารือกับพรรคการเมืองแล้ว จะนำข้อสรุปจากทั้งสองฝ่ายไปพูดคุยหารือกับรัฐบาล เพื่อวางกรอบการจัดการเลือกตั้งส.ส.ในเวลาที่เหมาะสม
ก่อนหน้านี้ กกต.ได้วิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแล้วเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่เสร็จเรียบร้อยมาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง จนกกต.ไม่สามารถที่จะให้มีการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ใน 28 เขตได้
ดังนั้น กกต.ต้องพิจารณาว่าหากจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ และให้เกิดความสำเร็จ กกต.ต้องคำนึงเรื่องสถานการณ์ความสงบเป็นสำคัญ ถ้ากกต.จัดการเลือกตั้งแล้วเกิดปัญหาซ้ำเดิม กกต.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ 53 พรรคการเมืองยื่นข้อเสนอให้กกต.จัดเลือกตั้งภายใน 45-60 นับแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แม้ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดแนวปฏิบัติ แต่ก็มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย.2549 เป็นโมฆะ เป็นแนวทางที่ให้กกต.สามารถนำมาปฏิบัติได้
โดยทางสำนักงานกกต.ได้เสนอว่า ตอนปี 2549 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยจนถึงวันเลือกตั้งใหม่ที่มีการกำหนดให้เป็นวันที่ 15 ต.ค.2549 ใช้เวลาทั้งสิ้น 160 วัน โดยในห้วงเวลา 160 วันดังกล่าว มีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่ พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้นกกต.น่าจะใช้กรอบระยะเวลาดังกล่าวเป็นหลักในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการเสนอเป็น 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะยึดกรอบกำหนดจัดการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลา 60 วัน นับแต่พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ โดยให้นับย้อนจากเวลาดังกล่าวขึ้นไป 30 วัน หรือ 60 วัน หรือ 90 วัน สำหรับให้กกต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้การเลือกตั้งใหม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวมทั้งจะต้องแก้ไขระเบียบกกต.ที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง เช่น ระเบียบการรับสมัคร ส.ส. ที่อาจจะนำระบบการรับสมัครทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษมาใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป
ดังนั้นการกำหนดวันเลือกตั้งจะมี 3 รูปแบบ คือในกรอบระยะเวลา 90 วัน 120 วัน และ 150 วัน
ล่าสุด สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงไทม์ไลน์การเลือกตั้งไทย (ที่ไม่เกี่ยวกับป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ) มีเนื้อหาระบุถึงแนวทางการเลือกตั้ง ว่า ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ กกต.เชิญ 70 พรรคการเมืองหารือกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ที่เหมาะสม
นอกจากนั้น น่าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและ กกต. เพื่อกำหนดวันออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 29-30 เม.ย. โดยรัฐบาลน่าจะเลือกสูตรที่เร็วที่สุดคือ 90 วัน จึงคาดว่าจะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 20 หรือ 27 ก.ค.2557
"การเลือกตั้งครั้งใหม่ ไม่น่าจะมีเหตุโมฆะ เนื่องจาก กกต.ได้กำหนดวิธีการรับสมัครด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้น่าจะมีผู้สมัครครบทุกเขต แต่การได้ ส.ส.ครบร้อยละ 95 ภายใน 30 วันหลังจากการเลือกตั้งยังเป็นปัญหา เนื่องจากต้องเลือกตั้งครบทุกหน่วยจึงจะสามารถประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ และหากสถานการณ์ไม่เลวร้ายมาก สภาน่าจะเปิดได้ในเดือนก.ย.และมีรัฐบาลใหม่ได้ในเดือนต.ค."
สมชัย ยังกล่าวติดตลกทิ้งด้วยว่า "แนวทางคร่าวๆ นี้ เป็นการมองโลกในแง่ดี"
"การเลือกตั้ง" ถือเป็น "ไพ่" ของฝ่ายรัฐบาล ที่จะทำให้ตัวเองได้หวนกลับมายึดครอง "อำนาจ" ไว้ในมืออย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง แต่ตราบใดที่การเลือกตั้งยังไม่เกิดขึ้น และยิ่งทอดยาวออกไป ก็ย่อมทำให้รัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย เกิดอาการหวั่นไหวว่า "อำนาจรัฐ" ยังจะอยู่ในมือตัวเองอีกต่อไปหรือไม่
ดังนั้นการที่กกต.คาดหมายว่า การเลือกตั้งน่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 20 หรือ 27 ก.ค.นี้ น่าจะไม่เป็นที่ "สบอารมณ์" ของพรรคเพื่อไทยแน่นอน จึงเป็นไปได้มากที่ กกต.จะถูก "กดดัน" จากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ให้ร่นเวลาจัดเลือกตั้งใหม่ให้เร็วขึ้น
ขณะที่ "กลุ่มกปปส." ก็คงจะทำทุกวิถีทาง เพื่อขัดขวางไม่ให้เกิดการเลือกตั้งได้สำเร็จ แต่ต้องการให้เกิดการ "ปฏิรูป" เสียก่อนแล้วค่อยไป เลือกตั้ง
ดูแล้ว"การเลือกตั้ง"จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และเมื่อไหร่ จึงยังเป็นอะไรที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ในขณะนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองเป็นสำคัญด้วย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////