โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าหน้านี้จะกลายเป็นหน้าการเมืองกับเขาไปด้วย แล้วก็อย่าคิดว่าผมจะตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์วิจารณ์ว่าเนื้อหาสารพัดนั้นของใครดีกว่าใคร
ผมเพียงแค่ตั้งเป็นข้อสังเกตเพื่อเล่าสู่กันฟังว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ น่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในโลกออนไลน์ ที่มีเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่างๆ มีบทบาทอยู่ในชีวิตประจำวันของคนหลายคนสูงมากๆ
ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งที่มีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อผลในการเลือกตั้ง มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็ว่าได้ ถึงจะไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้งกันก็ตามที
เอาแค่ตัวอย่างของ 2 พรรคใหญ่ที่มีแกนนำเป็น "แคนดิเดตนายกฯ" กันอยู่อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ ของ "มาร์ค อภิสิทธิ์" และพรรคเพื่อไทย ของ "ปู ยิ่งลักษณ์" ก็ช่วยให้เห็นภาพการช่วงชิง การขับเคี่ยวกันสนุกแล้วละครับ
ว่าถึงเรื่องของการใช้ "สื่อใหม่" หรือ "นิวมีเดีย" นั้นแน่นอนละครับว่า ในฐานะเป็นคนใช้มาก่อน และใช้งานมานานกว่าอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ย่อมมีเปรียบอยู่บ้างเล็กน้อยในแง่ของการแพร่ หลายและเป็นที่รู้จัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การ ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใกล้ชิดกับธุรกิจ โทรคมนาคมมาไม่น้อยเหมือนกันก็ใช่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดขับ แต่กลับเป็นคนใกล้ชิดเทคโนโลยีอย่างมากเหมือนกัน
ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทย มีเว็บไซต์ของพรรคอยู่เหมือนๆ กัน (www.democrat.or.th/ และ www.ptp.or.th/) ในเว็บไซต์ก็อีนุงตุงนังพอๆ กันเพราะว่ามีหลายๆ อย่างปะปนกันอยู่ในนั้น จนเมื่อมีประกาศการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนจะแยกเว็บไซต์ออกมาอีกเว็บ สำหรับรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ (http://www.democrat.or.th/th/) ในนั้นก็จะมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหลายๆ แหล่ง ทั้งเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ และอีกสารพัดโมบายล์ ฟอร์แมตละครับ
โดยส่วนตัว นายกฯมาร์คก็ยังมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง (http://www.abhisit.org/cover/ DMCPT.html) แล้วก็มีเฟซบุ๊ก กับทวิตเตอร์ส่วนตัวอีกต่างหาก (http://www.facebook. com/Abhisit.M.Vejjajiva กับ http://twitter. com/#!/PM_Abhisit)
ในส่วนของพรรคนั้น ทีมงานโฆษกพรรคเป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะที่เว็บ, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ส่วนตัวนั้น ก็มีทีมงานรับผิดชอบอยู่ในระดับหนึ่ง ตัวนายกฯเข้ามามีเอี่ยวด้วยอยู่แน่นอนละแต่ไม่ใช่ตลอดเวลาเพราะภารกิจและอื่นๆ อีกมากมาย ว่ากันว่าจะมีคนคอยคัดกรองคำถามต่างๆ เพื่อนำเสนอแล้ว เพื่อให้นายกฯตอบอีกต่อหนึ่งในทุกๆ เช้าของวัน โดย ที่มี "เลขาฯกอร์ปศักดิ์" (สภาวสุ) กับ "หมอท็อป" (นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์) เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในงานด้านนี้
คนที่จริงจังกับการใช้สื่อใหม่และเว็บไซต์เครือข่ายสังคมมากที่สุดในฝ่ายรัฐบาลเห็นจะเป็นรัฐมนตรีคลังอย่าง กรณ์ จาติกวณิช มีเว็บไซต์ของตัวเอง, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ของตัวเองเหมือนกัน (http://www.facebook. com/pages/Korn-Chatikavanij/ 71254499739 กับ http://twitter.com/#!/ KornDemocrat) แถมยังจัดการโน่นนี่นั่นด้วยตัวเองแทบทั้งหมด มีทีมงานเป็นลูกมือเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเอง
คนที่ใกล้ชิดบอกว่า ท่านรัฐมนตรียืนยันว่าเรื่องอย่างนี้มีแต่ตัวเองรู้ดีที่สุดว่าอยากได้อะไรและต้องทำอย่างไร
หันมาดูทางฝ่ายเพื่อไทยบ้าง นอกจากเว็บไซต์ของพรรคที่แน่นอนละครับ ต้องมีเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ให้ติดตามกันครบครันทั้งทางหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาติดตัวเหมือนกัน
ที่ไม่ค่อยมีใครได้รับรู้ก็คือ เว็บไซต์กับเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ส่วนตัวของคุณยิ่งลักษณ์ ที่ดูเหมือนพัฒนามาจากหน้าเว็บ "เฟรนด์ ออฟ ยิ่งลักษณ์" ตั้งแต่เมื่อครั้งตกเป็นจำเลยในคดีที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเอสซีแอสเซท (ว่ากันว่า รัฐมนตรีกรณ์ กับ ปู ยิ่งลักษณ์ ทำความรู้จักกันนอกเหนือปกติธรรมดาก็ตอนนั้นแหละครับ)
ตอนนี้ นอกจากจะมีเว็บไซต์แล้วยังมีเฟซบุ๊กให้บรรดาแฟนานุแฟนได้ติดตาม หรือเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ทั้งที่ http://www. facebook.com/Y.Shinawatra หรือที่ http:// on.fb.me/yingluck ส่วนทวิตเตอร์ก็สามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ทวิตเตอร์ @PouYingluck ครับ
คนที่รู้เรื่องดีบอกว่า ในทันทีที่เป็นที่ชัดเจนว่า คุณยิ่งลักษณ์ พร้อมที่จะลงคลุกฝุ่นการเมืองในนามพรรค กราฟิคของหน้าเว็บต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทันทีเหมือนกัน
นอกเหนือจากแฟนเพจเป็นรายบุคคลแล้ว "ปู ยิ่งลักษณ์" ยังมีกลุ่มต่างๆ เข้ามาเป็นแนวร่วมอีกมากมาย อาทิ on.fb.me/welovePoo หรือ on.fb.me/vote4YL และ on.fb.me/ YL1LadyPM เป็นอาทิ
แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยคุ้นเคยกับการใช้งานสื่อใหม่ๆ มากพอตัว จึงมีอุปกรณ์อย่างน้อย 5-6 ชนิด ติดตัวอยู่ตลอดเวลาสำหรับสื่อสารกับใครต่อใครได้ในรูปแบบตามที่ต้องการ
รักใคร ชอบใคร เชียร์ใครก็ว่ากันไปตามสะดวก ติดตามกันได้ตามความพอใจ
ภาษาแถวบ้านเขาว่า แฟนใครแฟนมันครับผม!
(จากหนังสือพิมพ์มติชน )
++++++++++++++++++++++++++++
ผมเพียงแค่ตั้งเป็นข้อสังเกตเพื่อเล่าสู่กันฟังว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ น่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในโลกออนไลน์ ที่มีเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่างๆ มีบทบาทอยู่ในชีวิตประจำวันของคนหลายคนสูงมากๆ
ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งที่มีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อผลในการเลือกตั้ง มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็ว่าได้ ถึงจะไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้งกันก็ตามที
เอาแค่ตัวอย่างของ 2 พรรคใหญ่ที่มีแกนนำเป็น "แคนดิเดตนายกฯ" กันอยู่อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ ของ "มาร์ค อภิสิทธิ์" และพรรคเพื่อไทย ของ "ปู ยิ่งลักษณ์" ก็ช่วยให้เห็นภาพการช่วงชิง การขับเคี่ยวกันสนุกแล้วละครับ
ว่าถึงเรื่องของการใช้ "สื่อใหม่" หรือ "นิวมีเดีย" นั้นแน่นอนละครับว่า ในฐานะเป็นคนใช้มาก่อน และใช้งานมานานกว่าอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ย่อมมีเปรียบอยู่บ้างเล็กน้อยในแง่ของการแพร่ หลายและเป็นที่รู้จัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การ ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใกล้ชิดกับธุรกิจ โทรคมนาคมมาไม่น้อยเหมือนกันก็ใช่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดขับ แต่กลับเป็นคนใกล้ชิดเทคโนโลยีอย่างมากเหมือนกัน
ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทย มีเว็บไซต์ของพรรคอยู่เหมือนๆ กัน (www.democrat.or.th/ และ www.ptp.or.th/) ในเว็บไซต์ก็อีนุงตุงนังพอๆ กันเพราะว่ามีหลายๆ อย่างปะปนกันอยู่ในนั้น จนเมื่อมีประกาศการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนจะแยกเว็บไซต์ออกมาอีกเว็บ สำหรับรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ (http://www.democrat.or.th/th/) ในนั้นก็จะมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหลายๆ แหล่ง ทั้งเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ และอีกสารพัดโมบายล์ ฟอร์แมตละครับ
โดยส่วนตัว นายกฯมาร์คก็ยังมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง (http://www.abhisit.org/cover/ DMCPT.html) แล้วก็มีเฟซบุ๊ก กับทวิตเตอร์ส่วนตัวอีกต่างหาก (http://www.facebook. com/Abhisit.M.Vejjajiva กับ http://twitter. com/#!/PM_Abhisit)
ในส่วนของพรรคนั้น ทีมงานโฆษกพรรคเป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะที่เว็บ, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ส่วนตัวนั้น ก็มีทีมงานรับผิดชอบอยู่ในระดับหนึ่ง ตัวนายกฯเข้ามามีเอี่ยวด้วยอยู่แน่นอนละแต่ไม่ใช่ตลอดเวลาเพราะภารกิจและอื่นๆ อีกมากมาย ว่ากันว่าจะมีคนคอยคัดกรองคำถามต่างๆ เพื่อนำเสนอแล้ว เพื่อให้นายกฯตอบอีกต่อหนึ่งในทุกๆ เช้าของวัน โดย ที่มี "เลขาฯกอร์ปศักดิ์" (สภาวสุ) กับ "หมอท็อป" (นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์) เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในงานด้านนี้
คนที่จริงจังกับการใช้สื่อใหม่และเว็บไซต์เครือข่ายสังคมมากที่สุดในฝ่ายรัฐบาลเห็นจะเป็นรัฐมนตรีคลังอย่าง กรณ์ จาติกวณิช มีเว็บไซต์ของตัวเอง, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ของตัวเองเหมือนกัน (http://www.facebook. com/pages/Korn-Chatikavanij/ 71254499739 กับ http://twitter.com/#!/ KornDemocrat) แถมยังจัดการโน่นนี่นั่นด้วยตัวเองแทบทั้งหมด มีทีมงานเป็นลูกมือเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเอง
คนที่ใกล้ชิดบอกว่า ท่านรัฐมนตรียืนยันว่าเรื่องอย่างนี้มีแต่ตัวเองรู้ดีที่สุดว่าอยากได้อะไรและต้องทำอย่างไร
หันมาดูทางฝ่ายเพื่อไทยบ้าง นอกจากเว็บไซต์ของพรรคที่แน่นอนละครับ ต้องมีเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ให้ติดตามกันครบครันทั้งทางหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาติดตัวเหมือนกัน
ที่ไม่ค่อยมีใครได้รับรู้ก็คือ เว็บไซต์กับเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ส่วนตัวของคุณยิ่งลักษณ์ ที่ดูเหมือนพัฒนามาจากหน้าเว็บ "เฟรนด์ ออฟ ยิ่งลักษณ์" ตั้งแต่เมื่อครั้งตกเป็นจำเลยในคดีที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเอสซีแอสเซท (ว่ากันว่า รัฐมนตรีกรณ์ กับ ปู ยิ่งลักษณ์ ทำความรู้จักกันนอกเหนือปกติธรรมดาก็ตอนนั้นแหละครับ)
ตอนนี้ นอกจากจะมีเว็บไซต์แล้วยังมีเฟซบุ๊กให้บรรดาแฟนานุแฟนได้ติดตาม หรือเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ทั้งที่ http://www. facebook.com/Y.Shinawatra หรือที่ http:// on.fb.me/yingluck ส่วนทวิตเตอร์ก็สามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ทวิตเตอร์ @PouYingluck ครับ
คนที่รู้เรื่องดีบอกว่า ในทันทีที่เป็นที่ชัดเจนว่า คุณยิ่งลักษณ์ พร้อมที่จะลงคลุกฝุ่นการเมืองในนามพรรค กราฟิคของหน้าเว็บต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทันทีเหมือนกัน
นอกเหนือจากแฟนเพจเป็นรายบุคคลแล้ว "ปู ยิ่งลักษณ์" ยังมีกลุ่มต่างๆ เข้ามาเป็นแนวร่วมอีกมากมาย อาทิ on.fb.me/welovePoo หรือ on.fb.me/vote4YL และ on.fb.me/ YL1LadyPM เป็นอาทิ
แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยคุ้นเคยกับการใช้งานสื่อใหม่ๆ มากพอตัว จึงมีอุปกรณ์อย่างน้อย 5-6 ชนิด ติดตัวอยู่ตลอดเวลาสำหรับสื่อสารกับใครต่อใครได้ในรูปแบบตามที่ต้องการ
รักใคร ชอบใคร เชียร์ใครก็ว่ากันไปตามสะดวก ติดตามกันได้ตามความพอใจ
ภาษาแถวบ้านเขาว่า แฟนใครแฟนมันครับผม!
(จากหนังสือพิมพ์มติชน )
++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น