โดย : วีระศักดิ์ พงศ์อักษร
"ยิ่งลักษณ์"ดัน"โอฬาร- มิ่งขวัญ"หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ชู "ฟื้นความเชื่อมั่น ฟื้นเศรษฐกิจ" เพิ่มรายได้ประชาชน ลดต้นทุนธุรกิจ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ อย่างเป็นระบบครั้งแรก โดยเธอเห็นว่าหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยวันนี้ คือ การฟื้นความเชื่อมั่น เพราะทั้งภาคธุรกิจมีเงินทุนอยู่พอสมควร ธนาคารพาณิชย์พร้อมให้กู้ ส่วนภาคประชาชน มีเงินออมอยู่จำนวนมาก แต่สาเหตุที่การลงทุนยังต่ำ และไม่มีการบริโภค เพราะส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่น เหตุผลสำคัญเนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคตโดยเฉพาะรายได้ และทิศทางของประเทศ
ขณะเดียวกัน แม้นโยบายจะออกมาดีแต่หากไม่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่สามารถบริหารจัดการได้ ทุกอย่างก็ไร้ประโยชน์ ซึ่งเธอจะใช้ประสบการณ์ทางธุรกิจเข้ามาบริหารจัดการนโยบายให้สัมฤทธิผล โดยมี 2 แกนนำด้านเศรษฐกิจ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เป็นหัวหอก หากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล
"จะมีการวางยุทธศาสตร์ประเทศไทย 2 ด้าน สิ่งแรกเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีทั้งวางพื้นฐานตั้งแต่เกษตรกร ไปจนถึงการแปรรูปสินค้า นอกจากนั้น จะทำให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว อย่างแท้จริง"
ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่า โดยภาครวมเศรษฐกิจวันนี้ ดีขึ้น ส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเติบโตไม่เสถียรในระยะยาว และบางภาคไม่ได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตโดยเฉพาะแรงงาน นอกจากค่าแรงต่ำ รายได้ไม่โตแล้ว ยังไม่มีการจ้างงานเพิ่ม แถมลดลงอีกด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเศรษฐกิจไทยโตแบบไม่กระจาย
"การจ้างงานหลังจาก 19 ก.ย. 2549 ลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับรัฐบาลก่อนหน้านั้น เท่ากับว่าไม่ได้เกิดการกระจายจากการโตของเศรษฐกิจ ผลที่ตามมา คือ ความยากจนเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อรายได้ไม่เพิ่ม แต่เจอของแพง ประชาชนย่อมเดือดร้อน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ประชาชนฐานรากของประเทศมีปัญหา"
น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงเสนอแนวนโยบายออกมา ว่า ประเทศจำเป็นต้อง "สร้างรายได้" ซึ่งจะผ่านช่องทางโครงการเมกะโปรเจค การลงทุนภาครัฐ เพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม ขณะเดียวกัน โครงการพักหนี้เกษตรกรและคนยากจน วงเงินหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท และนโยบายการรับจำนำข้าว ก็จะช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการสร้างหลักประกันบัณฑิตจบใหม่มีเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
การเพิ่มรายได้ให้ประชาชนดังกล่าว ก็จะผลักดันให้เศรษฐกิจมีการหมุนเวียน ยิ่งหากรัฐบาลสามารถทำให้ประชาชน นักธุรกิจเชื่อมั่นได้ว่าแนวนโยบายเดินมาถูกทิศทางและทำได้จริง ต้นทุนแข่งขันได้ ย่อมจะเกิดการลงทุน และจับจ่ายใช้สอยสินค้าตามมา
"สำหรับการแก้ปัญหาว่างงานเรามีนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อสร้างผู้ประกอบขนาดย่อย รายใหม่ ทั้งนี้ จะร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายย่อยใหม่ๆ ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งมีการวางงบประมาณไว้ มหาวิทยาลัยละ 1,000 ล้านบาท ซึ่งนโยบายไม่ใช่การแจกเงิน เพราะกองทุนตั้งตัวเป็นโครงการเพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบมาใหม่ได้เป็นเถ้าแก่น้อย ทุกนโยบายของเพื่อไทยทำได้จริง และดิฉันจะใช้ประสบการณ์จากการทำธุรกิจมากกว่า 10 ปี เข้ามาประยุกต์การบริหารจัดการนโยบายทางการเมือง"
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เริ่มทำงานในภาคธุรกิจตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 ในบริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด ต่อเนื่องมาถึงบริษัทไอบีซี อย่างไรก็ตาม ที่ทำให้เธอโดดเด่น เป็นที่รู้จัก เห็นจะเป็นปี พ.ศ. 2545 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานกรรมการบริหารบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทรายได้หลักของกลุ่มชินคอร์ป รับไม้ต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้ามาสู่การเมืองอย่างเต็มตัวหลังพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง เมื่อ 6 ม.ค. 2544
อย่างไรก็ตาม 23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด ก่อนที่จะลาออกเมื่อไม่นานนี้ เพื่อลงสู่สนามการเมืองตามรอยพี่ชาย
ชูระบบรางลดการใช้น้ำมัน
สำหรับปัญหาภาคขนส่ง เธอยังเห็นว่าแนวนโยบาย สร้างระบบรางสามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตและต้นทุนเศรษฐกิจวันนี้มาจากน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ พรรคเพื่อไทย จึงคิดถึงรถไฟทางคู่ ที่กระจายไปทั่วภูมิภาค รถไฟฟ้า 10 สาย จ่าย 20 บาท รถไฟความเร็วสูงจาก กทม. ไปสู่เชียงใหม่ โคราช และหัวหิน อีกทั้งยังมีแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่เชื่อมไปถึง ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและพัทยา ทั้งนี้ เมื่อมีการกระจายระบบรางออกไปทั่วภูมิภาค ก็จะเป็นการกระจายอุตสาหกรรม กระจายความเจริญตามไปด้วย
เพิ่มรายได้เกษตร ลดต้นทุนธุรกิจ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ขยายแนวทางเพิ่มรายได้ภาคเกษตรเพิ่มเติม ว่า สิ่งแรกรัฐจะเป็นผู้ลงทุนเครื่องไม้ เครื่องมือ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน ก็จะนำระบบไอที มีบริหารจัดการผลผลิตโดยเฉพาะเรื่องข้าว เพื่อไม่ให้ผลผลิตล้นตลาดกระทบราคา ซึ่งต้องทำควบคู่กับการประเมินและวิเคราะห์ตลาด ซึ่งก็เหมือนกับการทำธุรกิจ ที่ต้องวิเคราะห์ ประเมินกันตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ด้านราคาก็จะใช้ระบบจำนำ โดยมีการประกันราคาข้าวเปลือกที่ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิที่ 20,000 บาท ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับนโยบายเครดิตการ์ดเกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต ยกระดับการผลิตให้เกษตรกรไทย
"เราเห็นว่าความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสำคัญที่สุด ซึ่งหากทำให้ภาคธุรกิจ และประชาชน มั่นใจได้ว่าต้นทุนของเขาลงทุน และรัฐพร้อมเข้าไปช่วยเหลือ ความมั่นใจจะตามมา การลงทุนจะเกิด การจับจ่ายใช้สอยจะมีมากขึ้น เพราะตอนนี้ประชาชนมีเงินออมมาก แต่ไม่กล้าจ่าย เพราะไม่มั่นใจ ดังนั้น เราจึงคิดถึงการลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ในปีแรก และลดลงเหลือ 20% ในปีที่สอง"
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น แน่นอนว่า น่าจะขยับแบบค่อยเป็นค่อยไปตามทิศทางเงินเฟ้อ แต่หากพิจารณาอัตราตอนนี้ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับอดีต แต่หัวใจอยู่ที่ความเชื่อมั่น หากเชื่อว่าธุรกิจเดินได้แน่ อนาคตประชาชน เกษตรกร แรงงานมีรายได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบัน ก็ไม่น่ามีปัญหา
"ดิฉันทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทราบดีว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยอยู่บ้าง ในการตัดสินใจซื้อบ้าน แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในรายได้ในอนาคตมากกว่า"
รายงานข่าวแจ้งว่าในวันนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุม ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกครั้งจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75%
ในเวลาที่มีจำกัดได้ถามถึง เศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งเธอเห็นว่าปัจจุบันโลกมีสภาพคล่องล้น จึ่งอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรประเทศไทยสามารถดึงเม็ดเงินเหล่านั้นมาก่อเกิดประโยชน์ในการลงทุนได้มากที่สุด
ชูโอฬาร-มิ่งขวัญ หัวหน้าทีม ศก.รัฐบาลใหม่
"แกนนำเศรษฐกิจหากจัดตั้งรัฐบาลมีสองท่าน คือ ดร.โอฬารและคุณมิ่งขวัญ แต่ก็เปิดรับผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย เพราะหัวใจของนโยบายอยู่ที่การนำไปใช้ ซึ่งคิดว่าประสบการณ์ภาคธุรกิจ จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะการประเมิน วิเคราะห์ปัญหา เรื่องไข่ชั่งกิโล สะท้อนให้เห็นว่าคนทำไม่เข้าใจ เพราะธรรมชาติไข่แตกง่าย ไม่สามารถนำมาชั่งกิโลขายได้"
ในตอนท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า หากเป็นรัฐบาล 3 อย่างแรกที่จะทำ คือ การลดภาษีนิติบุคคล เพิ่มรายได้เกษตรกร และบัตรเครดิตเกษตรกร
เมื่อถามว่าจะดึงพรรคการเมืองใดมาร่วมรัฐบาลนั้น เธอเห็นว่าวันนี้เร็วไปที่จะระบุว่าพรรคไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะให้ใครจัดตั้งรัฐบาล และต้องดูว่าพรรคการเมืองใด นโยบายคล้ายหรือเข้ากันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวพร้อมเปิดรับทุกพรรค ที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน หรือนโยบายเดียวกัน เพราะสิ่งนี้พรรคเพื่อไทยได้สัญญากับประชาชนไว้แล้ว
เมื่อถามว่ากับประชาธิปัตย์ร่วมกันได้ไหม คำตอบที่ได้รับ คือ "หัวเราะ"
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แสดงวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ อย่างเป็นระบบครั้งแรก โดยเธอเห็นว่าหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยวันนี้ คือ การฟื้นความเชื่อมั่น เพราะทั้งภาคธุรกิจมีเงินทุนอยู่พอสมควร ธนาคารพาณิชย์พร้อมให้กู้ ส่วนภาคประชาชน มีเงินออมอยู่จำนวนมาก แต่สาเหตุที่การลงทุนยังต่ำ และไม่มีการบริโภค เพราะส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่น เหตุผลสำคัญเนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคตโดยเฉพาะรายได้ และทิศทางของประเทศ
ขณะเดียวกัน แม้นโยบายจะออกมาดีแต่หากไม่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่สามารถบริหารจัดการได้ ทุกอย่างก็ไร้ประโยชน์ ซึ่งเธอจะใช้ประสบการณ์ทางธุรกิจเข้ามาบริหารจัดการนโยบายให้สัมฤทธิผล โดยมี 2 แกนนำด้านเศรษฐกิจ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เป็นหัวหอก หากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล
"จะมีการวางยุทธศาสตร์ประเทศไทย 2 ด้าน สิ่งแรกเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีทั้งวางพื้นฐานตั้งแต่เกษตรกร ไปจนถึงการแปรรูปสินค้า นอกจากนั้น จะทำให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว อย่างแท้จริง"
ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่า โดยภาครวมเศรษฐกิจวันนี้ ดีขึ้น ส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเติบโตไม่เสถียรในระยะยาว และบางภาคไม่ได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตโดยเฉพาะแรงงาน นอกจากค่าแรงต่ำ รายได้ไม่โตแล้ว ยังไม่มีการจ้างงานเพิ่ม แถมลดลงอีกด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเศรษฐกิจไทยโตแบบไม่กระจาย
"การจ้างงานหลังจาก 19 ก.ย. 2549 ลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับรัฐบาลก่อนหน้านั้น เท่ากับว่าไม่ได้เกิดการกระจายจากการโตของเศรษฐกิจ ผลที่ตามมา คือ ความยากจนเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อรายได้ไม่เพิ่ม แต่เจอของแพง ประชาชนย่อมเดือดร้อน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ประชาชนฐานรากของประเทศมีปัญหา"
น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงเสนอแนวนโยบายออกมา ว่า ประเทศจำเป็นต้อง "สร้างรายได้" ซึ่งจะผ่านช่องทางโครงการเมกะโปรเจค การลงทุนภาครัฐ เพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม ขณะเดียวกัน โครงการพักหนี้เกษตรกรและคนยากจน วงเงินหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท และนโยบายการรับจำนำข้าว ก็จะช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการสร้างหลักประกันบัณฑิตจบใหม่มีเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
การเพิ่มรายได้ให้ประชาชนดังกล่าว ก็จะผลักดันให้เศรษฐกิจมีการหมุนเวียน ยิ่งหากรัฐบาลสามารถทำให้ประชาชน นักธุรกิจเชื่อมั่นได้ว่าแนวนโยบายเดินมาถูกทิศทางและทำได้จริง ต้นทุนแข่งขันได้ ย่อมจะเกิดการลงทุน และจับจ่ายใช้สอยสินค้าตามมา
"สำหรับการแก้ปัญหาว่างงานเรามีนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อสร้างผู้ประกอบขนาดย่อย รายใหม่ ทั้งนี้ จะร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายย่อยใหม่ๆ ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งมีการวางงบประมาณไว้ มหาวิทยาลัยละ 1,000 ล้านบาท ซึ่งนโยบายไม่ใช่การแจกเงิน เพราะกองทุนตั้งตัวเป็นโครงการเพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบมาใหม่ได้เป็นเถ้าแก่น้อย ทุกนโยบายของเพื่อไทยทำได้จริง และดิฉันจะใช้ประสบการณ์จากการทำธุรกิจมากกว่า 10 ปี เข้ามาประยุกต์การบริหารจัดการนโยบายทางการเมือง"
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เริ่มทำงานในภาคธุรกิจตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 ในบริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด ต่อเนื่องมาถึงบริษัทไอบีซี อย่างไรก็ตาม ที่ทำให้เธอโดดเด่น เป็นที่รู้จัก เห็นจะเป็นปี พ.ศ. 2545 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานกรรมการบริหารบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทรายได้หลักของกลุ่มชินคอร์ป รับไม้ต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้ามาสู่การเมืองอย่างเต็มตัวหลังพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง เมื่อ 6 ม.ค. 2544
อย่างไรก็ตาม 23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด ก่อนที่จะลาออกเมื่อไม่นานนี้ เพื่อลงสู่สนามการเมืองตามรอยพี่ชาย
ชูระบบรางลดการใช้น้ำมัน
สำหรับปัญหาภาคขนส่ง เธอยังเห็นว่าแนวนโยบาย สร้างระบบรางสามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตและต้นทุนเศรษฐกิจวันนี้มาจากน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ พรรคเพื่อไทย จึงคิดถึงรถไฟทางคู่ ที่กระจายไปทั่วภูมิภาค รถไฟฟ้า 10 สาย จ่าย 20 บาท รถไฟความเร็วสูงจาก กทม. ไปสู่เชียงใหม่ โคราช และหัวหิน อีกทั้งยังมีแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่เชื่อมไปถึง ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและพัทยา ทั้งนี้ เมื่อมีการกระจายระบบรางออกไปทั่วภูมิภาค ก็จะเป็นการกระจายอุตสาหกรรม กระจายความเจริญตามไปด้วย
เพิ่มรายได้เกษตร ลดต้นทุนธุรกิจ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ขยายแนวทางเพิ่มรายได้ภาคเกษตรเพิ่มเติม ว่า สิ่งแรกรัฐจะเป็นผู้ลงทุนเครื่องไม้ เครื่องมือ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน ก็จะนำระบบไอที มีบริหารจัดการผลผลิตโดยเฉพาะเรื่องข้าว เพื่อไม่ให้ผลผลิตล้นตลาดกระทบราคา ซึ่งต้องทำควบคู่กับการประเมินและวิเคราะห์ตลาด ซึ่งก็เหมือนกับการทำธุรกิจ ที่ต้องวิเคราะห์ ประเมินกันตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ด้านราคาก็จะใช้ระบบจำนำ โดยมีการประกันราคาข้าวเปลือกที่ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิที่ 20,000 บาท ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับนโยบายเครดิตการ์ดเกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต ยกระดับการผลิตให้เกษตรกรไทย
"เราเห็นว่าความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสำคัญที่สุด ซึ่งหากทำให้ภาคธุรกิจ และประชาชน มั่นใจได้ว่าต้นทุนของเขาลงทุน และรัฐพร้อมเข้าไปช่วยเหลือ ความมั่นใจจะตามมา การลงทุนจะเกิด การจับจ่ายใช้สอยจะมีมากขึ้น เพราะตอนนี้ประชาชนมีเงินออมมาก แต่ไม่กล้าจ่าย เพราะไม่มั่นใจ ดังนั้น เราจึงคิดถึงการลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ในปีแรก และลดลงเหลือ 20% ในปีที่สอง"
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น แน่นอนว่า น่าจะขยับแบบค่อยเป็นค่อยไปตามทิศทางเงินเฟ้อ แต่หากพิจารณาอัตราตอนนี้ถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับอดีต แต่หัวใจอยู่ที่ความเชื่อมั่น หากเชื่อว่าธุรกิจเดินได้แน่ อนาคตประชาชน เกษตรกร แรงงานมีรายได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบัน ก็ไม่น่ามีปัญหา
"ดิฉันทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทราบดีว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยอยู่บ้าง ในการตัดสินใจซื้อบ้าน แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในรายได้ในอนาคตมากกว่า"
รายงานข่าวแจ้งว่าในวันนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุม ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกครั้งจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75%
ในเวลาที่มีจำกัดได้ถามถึง เศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งเธอเห็นว่าปัจจุบันโลกมีสภาพคล่องล้น จึ่งอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรประเทศไทยสามารถดึงเม็ดเงินเหล่านั้นมาก่อเกิดประโยชน์ในการลงทุนได้มากที่สุด
ชูโอฬาร-มิ่งขวัญ หัวหน้าทีม ศก.รัฐบาลใหม่
"แกนนำเศรษฐกิจหากจัดตั้งรัฐบาลมีสองท่าน คือ ดร.โอฬารและคุณมิ่งขวัญ แต่ก็เปิดรับผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย เพราะหัวใจของนโยบายอยู่ที่การนำไปใช้ ซึ่งคิดว่าประสบการณ์ภาคธุรกิจ จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะการประเมิน วิเคราะห์ปัญหา เรื่องไข่ชั่งกิโล สะท้อนให้เห็นว่าคนทำไม่เข้าใจ เพราะธรรมชาติไข่แตกง่าย ไม่สามารถนำมาชั่งกิโลขายได้"
ในตอนท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า หากเป็นรัฐบาล 3 อย่างแรกที่จะทำ คือ การลดภาษีนิติบุคคล เพิ่มรายได้เกษตรกร และบัตรเครดิตเกษตรกร
เมื่อถามว่าจะดึงพรรคการเมืองใดมาร่วมรัฐบาลนั้น เธอเห็นว่าวันนี้เร็วไปที่จะระบุว่าพรรคไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะให้ใครจัดตั้งรัฐบาล และต้องดูว่าพรรคการเมืองใด นโยบายคล้ายหรือเข้ากันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวพร้อมเปิดรับทุกพรรค ที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน หรือนโยบายเดียวกัน เพราะสิ่งนี้พรรคเพื่อไทยได้สัญญากับประชาชนไว้แล้ว
เมื่อถามว่ากับประชาธิปัตย์ร่วมกันได้ไหม คำตอบที่ได้รับ คือ "หัวเราะ"
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น