คอลัมน์ เลือกตั้งรัฐบาล2554
2นคราประชาธิปไตย กำลังทำหน้าที่อย่างเข้มข้น
พื้นทางการเมืองในชนบท ส่วนใหญ่แบเบอร์ไปแล้ว ตามโผ-ตามผลโพลของแต่ละพรรค
แต่ตัวแปร-ตัวแทน 33 นคราในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจ-การเมือง ที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทุกพรรคการเมือง ยังไม่ตัดสินใจเกือบร้อยละ 50
แชมป์ภาคอีสาน-เหนือ ยังอยูในมือฝ่ายเพื่อไทย ส่วนภาคใต้-กรุงเทพฯเคยอยู่ในกำมือประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์-เพื่อไทยเคยผลัดกันแพ้-ผลัดกันชนะคนละสมัย เป็นไปตามกระแสหลัก ที่มีแคมเปญการเมือง-การโฆษณา-มาร์เก็ตติ้งชี้นำในช่วงโค้งสุดท้าย
ขุนพล-ตัวแทนทั้ง 2 ฝ่าย จะกางแผนชิงชัยในเมืองหลวงอย่างไร ?
วิชาญ มีนชัยนันท์ และอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีคำตอบ
"พรรคเราผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ พิสูจน์มาแล้วหลายเรื่อง"
"อภิรักษ์ โกษะโยธิน" หวังใช้กระแสอดีตผู้ว่าฯ-สายตานักการตลาด รั้งแชมป์เก่า ดึงพลังคนรุ่นใหม่ เพื่อปูทางกางแผนที่กลับสู่ "ทำเนียบรัฐบาล" อีกครั้ง
ตั้งเป้า 27 ที่นั่ง ด้วยสูตร 21 + 6
"เราตัดสินใจส่ง ส.ส.เดิม 21 คนป้องกันแชมป์ ส่วนอีก 12 เขตที่เหลือ เราหวังแค่ 6 เขตในพื้นที่เดิม อย่างเช่น นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เขต 7 เคยเป็น ส.ส. อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน เขต 15 นางสาวจิตร์ภัส ภิรมย์ภักดี เขต 5 นายเอกณัฏ พร้อมพันธุ์ เขต 29 พ.ต.อ. น.พ.สามารถ ม่วงศิริ เขต 28"
ส่วนอีก 6 เขตที่เหลือมีการแข่งขันกันสูง ดอนเมือง สายไหม บางเขน หนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี ถือเป็น "พื้นที่ต้องห้าม" ของประชาธิปัตย์ที่ยังไม่เคยครอบครองเก้าอี้ไว้ได้
ทั้งหมดไม่ใช่ข้อมูลขายฝันเกินจริง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ วิเคราะห์ความน่าจะเป็นจากคะแนนนิยมที่สั่งสมไว้ 4 ปัจจัย
1.อาศัยฐานเสียงเดิมพื้นที่เก่า ส่ง ส.ส.หน้าเดิม 21 คน พร้อมกับปักธงชิงชัยผู้สมัครหน้าใหม่ใน 6 เขต
2.อาศัยคะแนนนิยมจากเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ที่พรรคประชาธิปัตย์ครอบครอง 3 สมัยซ้อนตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน
3.อาศัยแรงกระเพื่อมจากการเมืองท้องถิ่น ชี้ให้เห็นกระแสนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตัวเลข ส.ก.-ส.ข.ของพรรค
4.อาศัยสื่อใหม่ โซเชียลมีเดียของพรรคและสมาชิก ที่ลำพังของหัวหน้าพรรคคนเดียวก็มีผู้ชื่นชอบกว่า 6 แสนราย คาดการณ์ล่วงหน้า ช่องทางนี้จะส่งคะแนนเสียงให้พรรคถึง 1 ล้านเสียง
ชู "มาร์ค" ชิงเสียง First Vote
"หากแบ่งกลุ่มคนเป็นสัดส่วน จะพบว่ากลุ่มเยาวชนวัยรุ่น First Vote ก็พึ่งเปิดเทอม พนักงานออฟฟิศในกรุงเทพฯ ก็ไม่ค่อยมีเวลาได้พบปะผู้สมัคร เราเลยต้องมีหน่วยเคลื่อนที่เจาะกลุ่มเป้าหมายให้เชื่อมโยงกับแผนโซเชียลมีเดียที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง"
"การหาเสียงแบบคู่ขนานเช่นนี้ มีผลในเชิงจิตวิทยา เวลาคนไปกาบัตรมีแนวโน้มจะเลือกเบอร์เดียวกันสูง ฉะนั้นการสร้างกระแสให้กลุ่มคนตรงกลางจะมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้"
"พรรคต้องท่องสุภาษิต ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน วันนี้แต่ละพรรคเกทับนโยบายแข่งกัน แต่เป็นสิ่งที่พูดหาเสียงได้ทำจริงไม่ได้"
"ผมเข้าใจ ว่าทำแบบไหนคนจะรู้สึกโดนใจ แต่เราเลือกที่ทำได้จริง"
เลือกตั้ง=ซื้อรถยนต์ ต้องดูอะไหล่
การเมืองไม่ใช่สินค้า ที่ไม่ถูกใจก็เปลี่ยนยี่ห้อได้ ดังนั้นป้ายเยอะและคำสวยติดหู ไม่อาจจะส่งผลต่อคะแนนนิยม เพราะเลือกตั้งมีผลกับชีวิตจริง
"การเมืองมันเหมือนซื้อรถยนต์สักคัน ต้องดูให้ละเอียดถึงอะไหล่ บริการหลังการขาย มันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ฉะนั้นมันไม่พอหรอกแค่คำพูดหวือหวา พรรคเราก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นมาแล้วหลายเรื่อง"
"ดรีมทีมเศรษฐกิจ" อาจสำคัญไม่เท่า "ผู้นำ"
"ปากท้องแม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่เชื่อว่าวันนี้ประชาชนอยากเห็นเส้นทางอนาคตของประเทศ อยากเห็นผู้นำที่พาเดินออกจากวิกฤต"
"ผมเชื่อว่าประสบการณ์แรงกดดันทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างเป็นรัฐบาล ได้หล่อหลอมให้เกิดผู้นำอย่างคุณอภิสิทธิ์"
"วันนี้แม่ทัพมีเพียงคนเดียวคือคุณอภิสิทธิ์ ท่านจบเศรษฐศาสตร์ มีความสามารถด้านเศรษฐกิจ บัญชีรายชื่อของเรา จะเห็นว่าทุกคนมีประสบการณ์ทาง การเมือง เศรษฐกิจมาเยอะ"
ไม้ตาย คือ "กระแสโค้งสุดท้าย"
"การเมืองมีจุดขึ้น-ลงไม่ต่างจากสินค้า หากทำให้คนนิยมในช่วงท้ายสำเร็จ คะแนนจะดีดตัวพุ่งสูง ซึ่งพรรคมองว่าขณะนี้กำลังโหนกระแสจัดปราศรัยใหญ่ เรียงโซนรายพื้นที่ โดยเฉพาะเขตที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือด"
"เรามุ่งหวังจะได้เสียงได้คะแนนมากกว่า 2 อาทิตย์สุดท้ายเป็นช่วงสำคัญ"
"หากเปรียบเทียบในเชิงกีฬา การเลือกตั้งก็เหมือนวิ่งแข่งระยะไกล ไม่ใช่วิ่งระยะสั้น 100 เมตร เก็บแรง กักกระแสไว้โหมโค้งสุดท้าย ผู้ที่ออกตัวแรงในช่วงต้น อาจตกม้าตายโดนวิ่งแซงตอนจบ"
ไม้ตาย 3 ชุดที่เตรียมปล่อยหลังจากนี้ คือ ชุดที่ 1 ทิ้งทวนเวทีปราศรัยใหญ่ ท้าชนคู่แข่ง ชิงพื้นที่สื่อวันที่ 1 ก.ค. ก่อนการเลือกตั้ง 2 วัน
ชุดที่สอง ขายความซื่อสัตย์ ปูแผนบริหารอนาคตรัฐบาล 4 ปี แจกแจง ผลงาน-งบประมาณ ยืนยันความบริสุทธิ์ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ชุดสุดท้าย ปล่อยของโหนกระแส ขายฝีมือ-ความเป็นผู้นำของว่าที่นายก รัฐมนตรีคนที่ 28
"การเมืองไม่เหมือนการตลาด อย่าหวังใช้ประสบการณ์ทางธุรกิจอย่างเดียวมาบริหารบ้านเมือง ผู้นำประเทศต้องมีประสบการณ์"
"ยิ่งลักษณ์ขายได้ เราต้องไปพ่วงเขา"
แฟนพันธุ์แท้และกระแส "ยิ่งลักษณ์"
ผมวิเคราะห์เป็น 3 อย่าง คือ อย่างแรก เขตชั้นใน จะเป็นคนกลุ่มนักธุรกิจ มีความรู้อยู่ในระดับกลางถึงระดับสูง คนเหล่านี้จะบริโภคข่าวเป็นตัวหลัก ถ้าชอบก็ชอบเลย ถ้าไม่ชอบก็คือไม่ชอบ
ส่วนระดับกลางก็จะมีตั้งแต่คนค้าขาย บ้านอยู่อาศัย แล้วก็ลงไปถึงคนที่เป็นพนักงานบริษัท ในระดับเขตพื้นที่ตรงนี้คนจะมีแนวความคิดชอบศึกษาการเมือง
ส่วนกลุ่มที่ 3 จะเป็นแฟนพันธุ์แท้ เป็นเขตพื้นที่มีความเหนียวแน่น อย่างฝั่งตะวันออก คราวที่แล้ว เราได้มา 3 คน ถูกตัดสิทธิไป 2 ย้ายหนีไป 1 จากฝั่ง กทม.ในด้านตะวันออกอีก 6 คน ทั้งหมดเป็น 9 แสดงให้เห็นว่า เขตรอบนอกมีการแบ่งด้วยฐานคะแนนความชัดเจนของพรรคการเมืองและตัวบุคคลชัดเลย
"กระแสของการเมืองจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนของพื้นที่ ส่วนของคน ส่วนของความรู้สึก ผมให้ไว้ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับกระแสล้วน ๆ ถ้ากระแสดี เหมือนกับอดีตปี"44 เรามี 26 คน จาก 36 เขต ส่วนปี"48 เรามี 32 คน"
"กระแสส่วนหนึ่ง และก็มีอย่างอื่นแทรก ที่จะต้องไปลบจากนี้อีกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ คือ การทุจริตและ การโกง อันนี้แรงมาก ถ้าจัดตั้งแรง ซื้อเสียงมาก คะแนนก็จะเบี่ยง"
หาแต้มขยัน-ขายพ่วงผู้หญิง
"ผมวิเคราะห์ว่า วันนี้ตัวบุคคลของพรรคการเมืองใกล้เคียงกันหมด ผิดกันเพียงคุณต้องไปเติมคะแนนว่า เป็นคนพื้นที่หรือเปล่า ใกล้ชิดหรือเปล่า เป็น ส.ส.เก่าหรือเปล่า"
ถ้า 3 ส่วนนี้ใกล้ชิด เป็น ส.ส.เก่า ทำงานในพื้นที่ ก็ใส่คะแนนไปได้เลย จาก 100 ก็ได้แล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ดูความขยันระหว่างเลือกตั้ง ขยันเดิน ขยันพูด ขยันพบปะ ก็ได้อีก 20 เปอร์เซ็นต์
"คุณยิ่งลักษณ์ขายได้ เราต้องไปพ่วงเขา เขาขายได้ ขายความเป็นตัวของตัวเอง และความเป็นผู้หญิง"
เสียงสำคัญ-เจาะบ้านมีรั้ว
เสียงสะท้อนที่ดีที่สุดคือ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เพราะเขาจะบอกเลยว่า เอาหรือไม่เอาพรรคไหน จากที่เราไปเดิน แต่กลุ่มคนที่เราไม่สามารถเช็กหรือสำรวจได้ คือกลุ่มคนบ้านมีรั้ว อันนี้สำคัญ
"ตอนนี้ผมมองว่ามันก้ำกึ่งกันทั้ง 33 เขต แต่เขตที่มีคะแนนต่างกันคือ เขตรอบนอกทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ถ้าเป็นฐานของใครก็จะมีความชัดเจน แต่ในเขตชั้นกลางกับชั้นในมีความก้ำกึ่งกันระหว่างฐานเสียง ขึ้นอยู่กับว่าไปถึงช่วงกลางและช่วงปลาย จะมีการเปลี่ยนแปลง"
"วันนี้ไปที่ไหนก็บอกว่า อยากเจอคุณยิ่งลักษณ์ ถ้ากระแสของความชื่นชมนิยมคุณยิ่งลักษณ์ยังอยู่ในระดับนี้ก็จะทำให้คะแนนสูงขึ้นไป โดยเฉพาะเสียงจากผู้หญิง"
นามสกุลดี + กระแส = มีชัย
"ถ้าตัดกระแส ผมยังมองว่า คนที่เป็น ส.ส.เดิมมีผลงานที่ได้เปรียบ ส่วน ผู้สมัครใหม่ ถ้ามีชื่อเสียงและนามสกุลดีพ่วงท้ายก็จะเป็นตัวบวก อย่าง วัน อยู่บำรุง"
"บางคนก็มีพื้นฐานเป็น ส.ก. อย่าง "พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ" เขต 16 กับ "พนิช วิกิตเศรษฐ์" จาก ปชป. เพิ่งจะมาเป็น ส.ส. คู่นี้ก็น่าชม"
คู่ "วัฒนา เซ่งไพเราะ" เพื่อไทย เขต 23 วัฒนา กับ "สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์" จาก ปชป. นี่ก็น่าชม เพราะทั้งคู่เคยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ
ลีลาวดี วัชโรบล เขต 5 กับ จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ทั้ง 2 คนไม่เคยเป็นส.ส. แต่พื้นฐานมีฐานพรรคเหมือนกัน
ลีลาวดีอาจจะได้เปรียบ เพราะเคยลงเลือกตั้งตรงนั้น มากกว่าและนานกว่า ส่วนจิตภัสร์ก็มี ส.ก. ส่วนหนึ่งที่ช่วย
ถ้าคิดเทียบเป็นรายเขตต้องมองความขยันบวกกับกระแส แต่ในที่สุดแล้ว พอตัดกระแสออกก็สูสี
หมวดเจี๊ยบ ร.ท.หญิงสุนิสา เลิศ ภควัต แข่งกับ อรอนงค์ คล้ายนก หมวดเจี๊ยบเองเป็นคนที่พอรู้จัก มีชื่อเสียง เขตพื้นที่ตรงนี้เป็นเขตของอดีต ส.ส.เรา คือ สุธา ชันแสง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++
พื้นทางการเมืองในชนบท ส่วนใหญ่แบเบอร์ไปแล้ว ตามโผ-ตามผลโพลของแต่ละพรรค
แต่ตัวแปร-ตัวแทน 33 นคราในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจ-การเมือง ที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทุกพรรคการเมือง ยังไม่ตัดสินใจเกือบร้อยละ 50
แชมป์ภาคอีสาน-เหนือ ยังอยูในมือฝ่ายเพื่อไทย ส่วนภาคใต้-กรุงเทพฯเคยอยู่ในกำมือประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์-เพื่อไทยเคยผลัดกันแพ้-ผลัดกันชนะคนละสมัย เป็นไปตามกระแสหลัก ที่มีแคมเปญการเมือง-การโฆษณา-มาร์เก็ตติ้งชี้นำในช่วงโค้งสุดท้าย
ขุนพล-ตัวแทนทั้ง 2 ฝ่าย จะกางแผนชิงชัยในเมืองหลวงอย่างไร ?
วิชาญ มีนชัยนันท์ และอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีคำตอบ
"พรรคเราผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ พิสูจน์มาแล้วหลายเรื่อง"
"อภิรักษ์ โกษะโยธิน" หวังใช้กระแสอดีตผู้ว่าฯ-สายตานักการตลาด รั้งแชมป์เก่า ดึงพลังคนรุ่นใหม่ เพื่อปูทางกางแผนที่กลับสู่ "ทำเนียบรัฐบาล" อีกครั้ง
ตั้งเป้า 27 ที่นั่ง ด้วยสูตร 21 + 6
"เราตัดสินใจส่ง ส.ส.เดิม 21 คนป้องกันแชมป์ ส่วนอีก 12 เขตที่เหลือ เราหวังแค่ 6 เขตในพื้นที่เดิม อย่างเช่น นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เขต 7 เคยเป็น ส.ส. อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน เขต 15 นางสาวจิตร์ภัส ภิรมย์ภักดี เขต 5 นายเอกณัฏ พร้อมพันธุ์ เขต 29 พ.ต.อ. น.พ.สามารถ ม่วงศิริ เขต 28"
ส่วนอีก 6 เขตที่เหลือมีการแข่งขันกันสูง ดอนเมือง สายไหม บางเขน หนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี ถือเป็น "พื้นที่ต้องห้าม" ของประชาธิปัตย์ที่ยังไม่เคยครอบครองเก้าอี้ไว้ได้
ทั้งหมดไม่ใช่ข้อมูลขายฝันเกินจริง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ วิเคราะห์ความน่าจะเป็นจากคะแนนนิยมที่สั่งสมไว้ 4 ปัจจัย
1.อาศัยฐานเสียงเดิมพื้นที่เก่า ส่ง ส.ส.หน้าเดิม 21 คน พร้อมกับปักธงชิงชัยผู้สมัครหน้าใหม่ใน 6 เขต
2.อาศัยคะแนนนิยมจากเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ที่พรรคประชาธิปัตย์ครอบครอง 3 สมัยซ้อนตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน
3.อาศัยแรงกระเพื่อมจากการเมืองท้องถิ่น ชี้ให้เห็นกระแสนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตัวเลข ส.ก.-ส.ข.ของพรรค
4.อาศัยสื่อใหม่ โซเชียลมีเดียของพรรคและสมาชิก ที่ลำพังของหัวหน้าพรรคคนเดียวก็มีผู้ชื่นชอบกว่า 6 แสนราย คาดการณ์ล่วงหน้า ช่องทางนี้จะส่งคะแนนเสียงให้พรรคถึง 1 ล้านเสียง
ชู "มาร์ค" ชิงเสียง First Vote
"หากแบ่งกลุ่มคนเป็นสัดส่วน จะพบว่ากลุ่มเยาวชนวัยรุ่น First Vote ก็พึ่งเปิดเทอม พนักงานออฟฟิศในกรุงเทพฯ ก็ไม่ค่อยมีเวลาได้พบปะผู้สมัคร เราเลยต้องมีหน่วยเคลื่อนที่เจาะกลุ่มเป้าหมายให้เชื่อมโยงกับแผนโซเชียลมีเดียที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง"
"การหาเสียงแบบคู่ขนานเช่นนี้ มีผลในเชิงจิตวิทยา เวลาคนไปกาบัตรมีแนวโน้มจะเลือกเบอร์เดียวกันสูง ฉะนั้นการสร้างกระแสให้กลุ่มคนตรงกลางจะมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้"
"พรรคต้องท่องสุภาษิต ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน วันนี้แต่ละพรรคเกทับนโยบายแข่งกัน แต่เป็นสิ่งที่พูดหาเสียงได้ทำจริงไม่ได้"
"ผมเข้าใจ ว่าทำแบบไหนคนจะรู้สึกโดนใจ แต่เราเลือกที่ทำได้จริง"
เลือกตั้ง=ซื้อรถยนต์ ต้องดูอะไหล่
การเมืองไม่ใช่สินค้า ที่ไม่ถูกใจก็เปลี่ยนยี่ห้อได้ ดังนั้นป้ายเยอะและคำสวยติดหู ไม่อาจจะส่งผลต่อคะแนนนิยม เพราะเลือกตั้งมีผลกับชีวิตจริง
"การเมืองมันเหมือนซื้อรถยนต์สักคัน ต้องดูให้ละเอียดถึงอะไหล่ บริการหลังการขาย มันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ ฉะนั้นมันไม่พอหรอกแค่คำพูดหวือหวา พรรคเราก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นมาแล้วหลายเรื่อง"
"ดรีมทีมเศรษฐกิจ" อาจสำคัญไม่เท่า "ผู้นำ"
"ปากท้องแม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่เชื่อว่าวันนี้ประชาชนอยากเห็นเส้นทางอนาคตของประเทศ อยากเห็นผู้นำที่พาเดินออกจากวิกฤต"
"ผมเชื่อว่าประสบการณ์แรงกดดันทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างเป็นรัฐบาล ได้หล่อหลอมให้เกิดผู้นำอย่างคุณอภิสิทธิ์"
"วันนี้แม่ทัพมีเพียงคนเดียวคือคุณอภิสิทธิ์ ท่านจบเศรษฐศาสตร์ มีความสามารถด้านเศรษฐกิจ บัญชีรายชื่อของเรา จะเห็นว่าทุกคนมีประสบการณ์ทาง การเมือง เศรษฐกิจมาเยอะ"
ไม้ตาย คือ "กระแสโค้งสุดท้าย"
"การเมืองมีจุดขึ้น-ลงไม่ต่างจากสินค้า หากทำให้คนนิยมในช่วงท้ายสำเร็จ คะแนนจะดีดตัวพุ่งสูง ซึ่งพรรคมองว่าขณะนี้กำลังโหนกระแสจัดปราศรัยใหญ่ เรียงโซนรายพื้นที่ โดยเฉพาะเขตที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือด"
"เรามุ่งหวังจะได้เสียงได้คะแนนมากกว่า 2 อาทิตย์สุดท้ายเป็นช่วงสำคัญ"
"หากเปรียบเทียบในเชิงกีฬา การเลือกตั้งก็เหมือนวิ่งแข่งระยะไกล ไม่ใช่วิ่งระยะสั้น 100 เมตร เก็บแรง กักกระแสไว้โหมโค้งสุดท้าย ผู้ที่ออกตัวแรงในช่วงต้น อาจตกม้าตายโดนวิ่งแซงตอนจบ"
ไม้ตาย 3 ชุดที่เตรียมปล่อยหลังจากนี้ คือ ชุดที่ 1 ทิ้งทวนเวทีปราศรัยใหญ่ ท้าชนคู่แข่ง ชิงพื้นที่สื่อวันที่ 1 ก.ค. ก่อนการเลือกตั้ง 2 วัน
ชุดที่สอง ขายความซื่อสัตย์ ปูแผนบริหารอนาคตรัฐบาล 4 ปี แจกแจง ผลงาน-งบประมาณ ยืนยันความบริสุทธิ์ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ชุดสุดท้าย ปล่อยของโหนกระแส ขายฝีมือ-ความเป็นผู้นำของว่าที่นายก รัฐมนตรีคนที่ 28
"การเมืองไม่เหมือนการตลาด อย่าหวังใช้ประสบการณ์ทางธุรกิจอย่างเดียวมาบริหารบ้านเมือง ผู้นำประเทศต้องมีประสบการณ์"
"ยิ่งลักษณ์ขายได้ เราต้องไปพ่วงเขา"
แฟนพันธุ์แท้และกระแส "ยิ่งลักษณ์"
ผมวิเคราะห์เป็น 3 อย่าง คือ อย่างแรก เขตชั้นใน จะเป็นคนกลุ่มนักธุรกิจ มีความรู้อยู่ในระดับกลางถึงระดับสูง คนเหล่านี้จะบริโภคข่าวเป็นตัวหลัก ถ้าชอบก็ชอบเลย ถ้าไม่ชอบก็คือไม่ชอบ
ส่วนระดับกลางก็จะมีตั้งแต่คนค้าขาย บ้านอยู่อาศัย แล้วก็ลงไปถึงคนที่เป็นพนักงานบริษัท ในระดับเขตพื้นที่ตรงนี้คนจะมีแนวความคิดชอบศึกษาการเมือง
ส่วนกลุ่มที่ 3 จะเป็นแฟนพันธุ์แท้ เป็นเขตพื้นที่มีความเหนียวแน่น อย่างฝั่งตะวันออก คราวที่แล้ว เราได้มา 3 คน ถูกตัดสิทธิไป 2 ย้ายหนีไป 1 จากฝั่ง กทม.ในด้านตะวันออกอีก 6 คน ทั้งหมดเป็น 9 แสดงให้เห็นว่า เขตรอบนอกมีการแบ่งด้วยฐานคะแนนความชัดเจนของพรรคการเมืองและตัวบุคคลชัดเลย
"กระแสของการเมืองจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนของพื้นที่ ส่วนของคน ส่วนของความรู้สึก ผมให้ไว้ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับกระแสล้วน ๆ ถ้ากระแสดี เหมือนกับอดีตปี"44 เรามี 26 คน จาก 36 เขต ส่วนปี"48 เรามี 32 คน"
"กระแสส่วนหนึ่ง และก็มีอย่างอื่นแทรก ที่จะต้องไปลบจากนี้อีกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ คือ การทุจริตและ การโกง อันนี้แรงมาก ถ้าจัดตั้งแรง ซื้อเสียงมาก คะแนนก็จะเบี่ยง"
หาแต้มขยัน-ขายพ่วงผู้หญิง
"ผมวิเคราะห์ว่า วันนี้ตัวบุคคลของพรรคการเมืองใกล้เคียงกันหมด ผิดกันเพียงคุณต้องไปเติมคะแนนว่า เป็นคนพื้นที่หรือเปล่า ใกล้ชิดหรือเปล่า เป็น ส.ส.เก่าหรือเปล่า"
ถ้า 3 ส่วนนี้ใกล้ชิด เป็น ส.ส.เก่า ทำงานในพื้นที่ ก็ใส่คะแนนไปได้เลย จาก 100 ก็ได้แล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ดูความขยันระหว่างเลือกตั้ง ขยันเดิน ขยันพูด ขยันพบปะ ก็ได้อีก 20 เปอร์เซ็นต์
"คุณยิ่งลักษณ์ขายได้ เราต้องไปพ่วงเขา เขาขายได้ ขายความเป็นตัวของตัวเอง และความเป็นผู้หญิง"
เสียงสำคัญ-เจาะบ้านมีรั้ว
เสียงสะท้อนที่ดีที่สุดคือ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เพราะเขาจะบอกเลยว่า เอาหรือไม่เอาพรรคไหน จากที่เราไปเดิน แต่กลุ่มคนที่เราไม่สามารถเช็กหรือสำรวจได้ คือกลุ่มคนบ้านมีรั้ว อันนี้สำคัญ
"ตอนนี้ผมมองว่ามันก้ำกึ่งกันทั้ง 33 เขต แต่เขตที่มีคะแนนต่างกันคือ เขตรอบนอกทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ถ้าเป็นฐานของใครก็จะมีความชัดเจน แต่ในเขตชั้นกลางกับชั้นในมีความก้ำกึ่งกันระหว่างฐานเสียง ขึ้นอยู่กับว่าไปถึงช่วงกลางและช่วงปลาย จะมีการเปลี่ยนแปลง"
"วันนี้ไปที่ไหนก็บอกว่า อยากเจอคุณยิ่งลักษณ์ ถ้ากระแสของความชื่นชมนิยมคุณยิ่งลักษณ์ยังอยู่ในระดับนี้ก็จะทำให้คะแนนสูงขึ้นไป โดยเฉพาะเสียงจากผู้หญิง"
นามสกุลดี + กระแส = มีชัย
"ถ้าตัดกระแส ผมยังมองว่า คนที่เป็น ส.ส.เดิมมีผลงานที่ได้เปรียบ ส่วน ผู้สมัครใหม่ ถ้ามีชื่อเสียงและนามสกุลดีพ่วงท้ายก็จะเป็นตัวบวก อย่าง วัน อยู่บำรุง"
"บางคนก็มีพื้นฐานเป็น ส.ก. อย่าง "พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ" เขต 16 กับ "พนิช วิกิตเศรษฐ์" จาก ปชป. เพิ่งจะมาเป็น ส.ส. คู่นี้ก็น่าชม"
คู่ "วัฒนา เซ่งไพเราะ" เพื่อไทย เขต 23 วัฒนา กับ "สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์" จาก ปชป. นี่ก็น่าชม เพราะทั้งคู่เคยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ
ลีลาวดี วัชโรบล เขต 5 กับ จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ทั้ง 2 คนไม่เคยเป็นส.ส. แต่พื้นฐานมีฐานพรรคเหมือนกัน
ลีลาวดีอาจจะได้เปรียบ เพราะเคยลงเลือกตั้งตรงนั้น มากกว่าและนานกว่า ส่วนจิตภัสร์ก็มี ส.ก. ส่วนหนึ่งที่ช่วย
ถ้าคิดเทียบเป็นรายเขตต้องมองความขยันบวกกับกระแส แต่ในที่สุดแล้ว พอตัดกระแสออกก็สูสี
หมวดเจี๊ยบ ร.ท.หญิงสุนิสา เลิศ ภควัต แข่งกับ อรอนงค์ คล้ายนก หมวดเจี๊ยบเองเป็นคนที่พอรู้จัก มีชื่อเสียง เขตพื้นที่ตรงนี้เป็นเขตของอดีต ส.ส.เรา คือ สุธา ชันแสง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น