--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดร.สุรเกียรติ์-ดร.ชัยวัฒน์ กูรู 2 คนยลตามช่อง ปรองดอง-คำตอบประเทศไทย..!!?


เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่โรงแรมสยามซิตี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "องค์กรและกระบวนการปรองดอง หลังการเลือกตั้ง" โดย ฐากูร บุนปาน ผู้จัดการทั่วไป บริษัทมติชนดำเนินรายการ

ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ศาสตรา จารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปรองดองมีหลายแบบ มีคนที่พูดเรื่องการปรองดอง 2 ซีก ซีกหนึ่ง เป็นคนที่พูดเรื่องการ ปรองดองในรูปของการแสดงความจริง ความยุติธรรม และการพร้อมรับผิดแต่อีกซีกหนึ่ง เป็นการพูดถึงความปรองดอง ในความหมายของการพยายามจะลืมอดีต การพยายามจะพูดถึงการให้อภัยในความหมายของการนิรโทษกรรม

ดร.ชัยวัฒน์ยกตัวอย่างจากข้อมูล-ประสบการณ์ การจัดการความปรองดองในต่างประเทศ มีหลายแบบ อาทิ

แบบที่ 1 สนับสนุนให้ลืมความรุนแรงในอดีต แล้วไม่ได้ทำความจริงให้ปรากฏ แต่เกิดการปรองดองขึ้น เช่น แคนาดา เวียดนาม
แบบที่ 2 พูดถึงการปรองดองแล้วต้องจำให้ได้ถึงอดีต ลืมความรุนแรง ไม่ได้ ต้องทำความจริงให้ปรากฏ แต่การปรองดองไม่เกิดก็มี เช่น ประเทศกานาและเปรู
แบบที่ 3 ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำความจริงให้ปรากฏ และเน้นหนักการเล่าความเป็นจริง แต่ยิ่งเล่า ยิ่งแย่ ยิ่งเล่ายิ่งเดือดร้อน เช่น รวันดา
แบบที่ 4 ให้ความสำคัญกับการทำความจริงให้ปรากฏ เล่าความเป็นจริง พยายามพูดถึงการให้อภัยและ อื่น ๆ แต่ความยุติธรรมก็ยังไม่ปรากฏ เช่น แอฟริกาใต้
แบบที่ 5 ทำความจริงให้ปรากฏแล้วทำความยุติธรรมให้เริ่มประจักษ์ แล้วในที่สุดเดินไปตามความปรองดองในอุดมคติของใครหลายคนก็มี เช่น อาร์เจนตินา ชิลี
ดร.ชัยวัฒน์สรุปว่า ประเด็นคือความปรองดองมีหลายแบบ แล้วแต่ละอันนำไปสู่ผลที่ไม่เหมือนกันเลย และมีราคาที่ต้องจ่ายสำหรับทุกสังคม คำถามสำคัญคือสังคมพร้อมจะจ่ายหรือไม่

"ปัญหาต่อมาคืออะไรคือตำแหน่งของการปรองดองในสังคมไทย ต้องตอบคำถาม 2 ข้อคือปรองดองระหว่างใครกับใคร อันที่ 2 คือปรองดองระหว่างอะไรกับอะไร ซึ่งใครกับใคร ซึ่งถ้าเป็นระหว่างนักการเมืองในระบบเลือกตั้ง ผมคิดว่าไม่ค่อยน่าห่วง เพราะเขาคงคิดเรื่องนี้พอสมควร อุตส่าห์ลงทุนหาเสียงทุกพรรค คงไม่อยากมีปัญหา"
ดร.ชัยวัฒน์กล่าวว่า ปัญหาที่ยุ่งคือ ปรองดองระหว่างอะไรกับอะไร ?
ข้อค้นพบของ "ดร.ชัยวัฒน์" คือ ปัญหาของสังคมไทยมีโจทย์อยู่ตรงที่การพยายามจะปรองดองระหว่าง "พลังทางการเมืองนอกระบอบเลือกตั้ง" กับ "พลังทางการเมืองในระบบเลือกตั้ง" ซึ่งสะท้อนสิ่งที่มันเป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทยหลายอย่าง

"ถ้าจะย้อนก็ต้องย้อนไปตั้งแต่ พ.ศ. 2475 น่าสนใจที่เราพูดในวันนี้วันที่ 27 มิ.ย. หรือโจทย์ของการปรองดองของสังคมไทยคือการพยายามจะปรองดองระหว่างสถาบันประเพณี กับสถาบันการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตลอดมา อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของปัญหาการปรองดอง"
"ถ้าเป็นเช่นนี้ ปัญหาการปรองดองไม่ใช่เรื่องปรองดองระหว่างพรรคการเมือง เพราะเมื่อพรรคเข้ามาอยู่ในระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาแบบนี้ ในระบอบที่ต้องพึ่งพากันแบบนี้ ในที่สุดก็คงประนีประนอมหลายเรื่อง แต่มันมีพลังนอกการเมืองเชิงเลือกตั้งอีกมาก"
เพราะฉะนั้นโจทย์ก็คือ ทำอย่างไรจะให้การเมืองนอกระบอบเลือกตั้ง ยอมรับการปรองดองระหว่างพรรคการเมือง

"การปรองดอง เป็นสินค้าสำคัญในตลาดทางการเมืองตอนนี้ แต่การคิดถึงแบรนด์สินค้านี้ยังไง จะขายอย่างไร ในที่สุดรูปของสินค้าจะปรากฏในลักษณะไหน ผมคิดว่า เป็นความท้าทายของสังคมไทย แต่มันไม่มีสูตรสำเร็จหรอกครับ เพราะหน้าที่จะเกิดขึ้นหลังการ เลือกตั้ง ก็เป็นใบหน้าของเรา ทุกคน"
"ในสังคมไทย พลังที่อยู่นอกระบอบการเลือกตั้ง เช่น สื่อมวลชน ภาคธุรกิจ ผมคิดว่า ถ้าพลังเหล่านั้น ผลักสังคมไทยให้ไปในทิศทางที่ทำให้พรรคการเมืองหรือผู้ที่จะมาสู่เวทีการเลือกตั้ง ผู้จะมาเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน ต้องเดินไปในบางทิศทาง สื่อมวลชน เป็นทั้งกระจกและตะเกียง อาจจะมีหน้าที่บอกสังคมว่า ถ้าไม่เอาการปรองดองแล้วทางเลือกคืออะไร อนาคตจะหน้าตาเป็นอย่างไร"
ฉะนั้น สื่อต้องเปิดพื้นที่คิดเรื่องการปรองดองที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่การปรองดองในระดับทำได้ที่ร้านหูฉลาม แค่จัดตั้งรัฐบาล

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเลือกตั้งที่มีกระบวนการปรองดองมีความสำคัญ เพราะมีความแตกแยกในสังคม ไม่ใช่เพียงแตกแยกทางการเมือง
"ตั้งแต่ปี 2548 เรามีนายกรัฐมนตรีแล้ว 5 คน ผ่านรัฐบาลมาหลายรูปแบบ มีรัฐบาลแต่งตั้ง มีรัฐบาลที่นำโดยขั้วหนึ่งทางการเมืองมา 2 รัฐบาล มีรัฐบาลที่นำโดยอีกขั้วหนึ่งทางการเมืองมา 1 รัฐบาล มีรัฐประหารก็มี เลือกตั้ง ก็มี แต่ผลเหมือนกันคือ มีความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน"
ฉะนั้น การเลือกตั้งที่มีการปรองดองน่าจะทำให้การแตกแยกทางสังคมทุเลาลง และการเข้าสู่การปรองดองต้องเป็นไปโดยองค์กรที่เป็นอิสระ แล้วองค์กรที่เหมาะที่สุด ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ

1) พอเหมาะพอดีไม่เป็นฝ่ายใดทุกฝ่ายพอรับได้แม้ไม่ได้ชอบที่สุด
2) ต้องมีคุณสมบัติที่ทุกฝ่ายมีความสบายใจที่จะให้องค์กรนั้นเป็นแกนที่จะขับเคลื่อนขบวนการปรองดอง
3) ต้องมีการออกแบบองค์กรให้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นั้นในเวลานั้น เฉพาะกิจเฉพาะการไม่ใช่องค์กรถาวร
4) องค์กรนั้นต้องมีสาระทางวิชาการ ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้
5) องค์กรนั้นต้องเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก ขณะนี้ประเทศไทยไม่ได้อยู่คนเดียว ถึงแม้เราจะถอนตัวจากนี่นั่นโน่นไปเรื่อย ๆ ก็ตาม แต่เราต้องยอมรับว่าเราอยู่ในประชาคมโลก

"ผมเห็นว่า คอป.น่าจะเข้าองค์ประกอบทั้ง 5 ข้อ มีความพอเหมาะพอดี ถ้าต้องหาองค์กรใหม่อาจจะเสียเวลาเถียงเรื่องความปรองดอง เสียจนไม่มีความปรองดอง ซึ่ง คอป.ได้พบกับทุกฝ่ายทุกสีมาแล้ว แสดงว่าทุกฝ่ายมีความสบายใจที่จะมาคุยกับ คอป. อีกทั้งไม่ไปโต้แย้งกับฝ่ายไหน แต่มีการรับฟังความคิดเห็นตลอดเวลา"
ดร.สุรเกียรติ์กล่าวว่า คอป.กำหนดหลักการเอาไว้ว่า ให้ประชาคมโลกมีความมั่นใจ ว่าประเทศไทยมีคณะกรรมการอิสระที่สามารถจะแก้ไขความขัดแย้งได้ ซึ่งอันนี้สำคัญมากสำหรับภาคเอกชน
ฉะนั้น ความมั่นใจของนักลงทุน ต่างประเทศ ถ้าทราบว่ามีขบวนการที่เดินอยู่ได้จะเป็นความเชื่อมั่นที่สำคัญ คอป.ได้รับความร่วมมือกับองค์กรของสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศที่มาคุยกับ คอป.เยอะ รวมทั้งสถานทูตหลายแห่ง

หลังเลือกตั้ง การปรองดอง-ตามความเห็นของ "ดร.สุรเกียรติ์" มีขั้น-มีตอน
"เมื่อเลือกตั้งเสร็จ ขั้นตอนน่าจะเป็นทำนองนี้คือ ให้ คอป.ไปพบทุกพรรค พบทุกกลุ่ม ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล แล้วถามแต่ละพรรค แต่ละกลุ่ม รวมทั้งเสื้อทุกสีว่า คุณเห็นว่า ปรองดองหมายถึงอะไร เพราะหลักการปรองดองที่สำเร็จ ต้องไม่มีการวางเงื่อนไขล่วงหน้าใด ๆ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการปรองดอง"
"จากนั้น เอาความเห็นของทุกฝ่ายที่ให้ความหมายการปรองดอง มากองเอาไว้ ว่ามีกี่ประเด็น จากนั้น คอป.ก็มาวิเคราะห์สังเคราะห์ ว่ามีจุดใดเป็นจุดร่วมกัน ก็เริ่มจากตรงนั้นก่อน เช่น การประกันตัว หรือหลักนิติธรรม"
ส่วนประเด็นที่ยังเห็นต่างกัน ต้องหาทางออกร่วมกัน "ดร.สุรเกียรติ์" เอ่ยถึงทุกฝ่าย-หลายพรรค

"บางเรื่องอาจจะต้องไปขอ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ บางประเด็นอาจจะไปขออดีตนายกฯอานันท์ ปันยารชุน บางประเด็นอาจจะไปขอ อาจารย์หมอประเวศ วะสี หรือท่านนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ (อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) ประชาธิปัตย์"
"บางประเด็นอาจจะขอต่างประเทศมาช่วย บางประเด็นอาจจะเป็นคณะบุคคล 3-4 คน มาช่วยพูดกับพรรคนี้ บางประเด็นอาจจะเป็นคณะบุคคล 3-4 คนทั้งไทยและต่างประเทศ ไปดูไบ อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้น ต้องออกแบบมาว่าประเด็นไหน ใครจะพูดกับใคร"
กฎปรองดอง จะเป็นคำตอบสำเร็จรูปสำหรับการเมืองในรัฐบาลหน้า

"ไม่ว่ารูปแบบรัฐบาลจะเป็นแบบไหน รัฐบาลใหม่จะผสมกันอย่างไร จะอยู่ได้นานหรือไม่นาน และถ้าอยู่ได้ไม่นานก็ล้มไป แล้วจะขึ้นมาใหม่ เป็นรัฐบาลอย่างไร ผมว่ามันก็ต้องมาจบที่ ปรองดอง มันไม่มีประตูอื่นที่ออกไปได้ ถ้าออกไปได้ก็ออกไปได้ชั่วคราว ออกไปด้านความรุนแรง หรือกฎหมู่ ก็ออกไปได้ชั่วคราว ทำเนียบก็ล้อมมาแล้ว สนามบินก็ล้อมมาแล้ว"
"จุดหัวใจของภาคเอกชนก็ล้อมมาแล้ว จะเผาอะไรต่าง ๆ ก็เผากันมาเยอะแล้ว แม้จะไม่รู้ว่าใครเผา ทั้งสถานที่ราชการเอกชน ในที่สุดก็ไม่ได้ทางออก ไม่ว่าจะใช้พลังแบบใดจะเป็นพลังในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ใช่ประชาธิปไตย หรือมีมือที่ 3 ที่พูดกันเยอะก็ตาม ในที่สุดก็จะมาจบที่ปรองดอง"

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
******************************************

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล: รำลึกถึงฮิโรยูกิ มุราโมโตะ

เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ช่างภาพรอยเตอร์ส ฮิโรยูกิ มุราโมโตะ (1)ถูกยิงเสียชีวิต ขณะกำลังถ่ายภาพการปะทะระหว่างทหารไทย ผู้ประท้วงเสื้อแดงและมือปืนไม่ทราบฝ่ายในพื้นที่บริเวณราชดำเนินใจกลางกรุงเทพมหานคร ฮิโรยูกิอายุ 43 ปี เขาทิ้งภริยา เอมิโกะ กับลูกสองคนไว้ข้างหลัง (2)ฮิโรยูกิเริ่มร่วมงานกับสำนักข่าวรอยเตอร์สในฐานะช่างภาพอิสระเมื่อ พ.ศ.2535 และทำงานเต็มเวลาใน พ.ศ.2538 คลิปข่าวชุดสุดท้ายที่เขาถ่ายก่อนเสียชีวิต (3)แสดงให้เห็นว่า เขาอยู่ท่ามกลางการปะทะอย่างดุเดือด (4)ในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งในวันนั้นมีทหาร 5 นายและประชาชนอีก 20 รายเสียชีวิต เหตุการณ์ต่างๆ ที่เขาถ่ายไว้ได้นั้น รวมไปถึงการยิงระเบิดปริศนาที่ทำให้พันเอกร่มเกล้า ธุวธรรมเสียชีวิต พันเอกร่มเกล้าเป็นนายทหารที่กำลังรุ่งในตำแหน่งหน้าที่และเป็นรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระราชินี
นับแต่เริ่มต้น หลักฐานเกี่ยวกับการเสียชีวิตของฮิโรยูกิชี้ว่า เขาถูกฆ่าจากกระสุนที่ทหารไทยคนหนึ่งยิงใส่ ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาตกเป็นเป้าโดยเจตนา ทั้งนี้เพราะเขาเป็นผู้สื่อข่าว แต่เขาถูกยิงเสียชีวิตในขณะที่ทหารสาดลูกกระสุนจริงใส่ผู้ประท้วงอย่างไม่เลือกหน้า นี่คือข้อสรุปของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เทียบได้กับเอฟบีไอของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้เป็นสถาบันที่ถูกการเมืองแทรกแซงอย่างเปิดเผย แต่ดีเอสไอก็ยังมีเจ้าหน้าที่สืบสวนที่ซื่อตรงและทุ่มเทให้การทำงานไม่น้อย เจ้าหน้าที่สืบสวนในคดีของฮิโรยูกิสรุปว่า มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ฮิโรยูกิถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารกองทัพไทยคนหนึ่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ยอมรับประเด็นนี้ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (5)ว่า
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลเกี่ยวข้องด้วย เราจึงต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ด้วยการส่งคดีนี้ให้ตำรวจสืบสวนต่อไป
ในเดือนธันวาคม รายงานการสอบสวนของดีเอสไอในคดีฮิโรยูกิและรายงานอีกฉบับเกี่ยวกับการสังหารพลเรือน 6 คนในวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 รั่วไหลไปถึงรอยเตอร์ส (6)เอกสารเกี่ยวกับคดีฮิโรยูกิที่รั่วไหลออกมานี้ ยืนยันข้อสรุปของดีเอสไอว่า กองทัพไทยน่าจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของเขา และคดีนี้ถูกส่งต่อไปให้ตำรวจดำเนินการสอบสวนต่อไป แต่อธิบดีธาริตกลับปฏิเสธต่อสื่อมวลชนไทยว่า เอกสารเหล่านี้ไม่ใช่ของจริง ทว่าในการสนทนากับรอยเตอร์ส เขายอมรับว่าเอกสารเหล่านี้เป็นของจริง แต่เป็นการสอบสวนเบื้องต้นเท่านั้น
ตามมาตรฐานของรอยเตอร์ส เมื่อสมาชิกในคณะทำงานคนใดเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ รอยเตอร์สจะมอบหมายให้บริษัทความปลอดภัยที่เป็นมืออาชีพเข้ามาดำเนินการสอบสวนโดยอิสระ บริษัทเอกชนที่ได้รับการว่าจ้างเป็นบริษัทชั้นนำในด้านนี้ การสืบสวนกระทำโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ รายงานของพวกเขาสรุปออกมาเหมือนกันว่า ฮิโรยูกิเสียชีวิตจากกระสุนที่ทหารไทยผู้หนึ่งเป็นคนยิง โดยที่ไม่น่าจงใจเล็งเป้ามาที่เขา รายงานนี้ยังเสริมด้วยว่า กระสุนที่ฆ่าฮิโรยูกิน่าจะเป็นกระสุนมาตรฐานที่ใช้ในกองทัพไทย ไม่ใช่กระสุนปืน AK47 หรือปืนพก รายงานฉบับนี้ถูกเก็บเป็นความลับภายในฝ่ายบริหารของสำนักข่าวรอยเตอร์ส แต่ผมได้รับทราบผลลัพธ์การสืบสวนที่เป็นประเด็นสำคัญๆ
ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเริ่มยืนยันว่า พวกเขาพบหลักฐานใหม่ (7) ว่า ฮิโรยูกิเสียชีวิตจากกระสุนปืน AK47 และหลักฐานนี้ทำให้กองทัพไทยพ้นผิด
พนักงานสอบสวนของไทยสรุปว่า กระสุนปลิดชีวิตคือ กระสุนจากปืนขนาดลำกล้อง 7.62 มม. ส่วนทหารไทยใช้ปืนไรเฟิลเอ็ม-16 ซึ่งยิงกระสุนขนาด 5.56 มม. อธิบดีกรมสอบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
“ลูกกระสุนที่ยิงมุราโมโตะคือกระสุน 7.62 มม. ไม่ใช่กระสุนปืนเอ็ม-16 ที่ทหารใช้” ธาริตกล่าว “มันอาจจะเป็นกระสุนปืน AK47 หรืออย่างอื่นที่คล้ายๆ กัน.....แต่ใครเป็นคนยิงเขานั้น ผมไม่สามารถตอบได้ในจุดนี้ เราจำเป็นต้องดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม”
เรื่องที่น่าตกใจก็คือ เป็นที่ทราบกันในภายหลังว่า ข้อสรุปนี้ได้มาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพียงคนเดียว นั่นคือ นายตำรวจเกษียณ พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา ซึ่งได้ข้อสรุปนี้มาจากการดูเพียงแค่รูปถ่ายบาดแผลบนร่างกายของฮิโรยูกิเท่านั้น ดังที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่า (8)
อดีตผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของดีเอสไอ ได้พิจารณารายงานการชันสูตรพลิกศพช่างภาพ และให้ความคิดเห็นว่า ช่างภาพน่าจะเสียชีวิตจากปืนไรเฟิล AK47
นายธาริตและพลตำรวจโทอัมพรจะพบผู้สื่อข่าววันนี้เพื่อเสนอผลการสืบสวนของคณะกรรมการ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายมุราโมโตะและประชาชนคนอื่นอีก 10 รายซึ่งเสียชีวิตในการปะทะบนท้องถนน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ถึงแม้พลตำรวจโทอัมพรให้คำแนะนำแก่ดีเอสไอก็ตาม แต่เขาไม่ได้อยู่ในคณะชันสูตรพลิกศพเพื่อระบุสาเหตุการตายของมุราโมโตะ เนื่องจากตอนนั้นเขาอยู่ต่างประเทศ
พลตำรวจโทอัมพรวิเคราะห์สาเหตุการตายของมุราโมโตะจากภาพถ่ายรอยแผลบนร่างกายเพียงอย่างเดียว และสรุปว่าบาดแผลนั้นเกิดจากปืนไรเฟิล AK47
 ยิ่งกว่านั้น การกลับลำแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือนี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวแพร่ออกมาว่า ผู้บัญชาการทหารบกสายเหยี่ยว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ไปพบนายธาริต อธิบดีดีเอสไอ เพื่อต่อว่าต่อขานเกี่ยวกับข้อสรุปที่ระบุไว้ในรายงานเบื้องต้น กองทัพไทยยืนกรานกระต่ายขาเดียว (9)--อย่างพิลึกพิสดารและไม่น่าเชื่อถือ—เลยว่า กองทัพไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อการตาย ของประชาชนคนใด หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการปะทะกันอย่างรุนแรงในกรุงเทพในเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทั้งๆ ที่มีหลักฐานมากมายชี้ไปในทางตรงกันข้าม ประเด็นนี้มีรายงานไว้ในบางกอกโพสต์เช่นกัน (10)
 กองทัพถอนใจอย่างโล่งอก หลังจากรายงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปว่า กองทัพไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อการตายของช่างภาพญี่ปุ่นระหว่างการประท้วงของเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม กองทัพอาจโล่งอกได้ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ดังที่มีกระแสข่าวว่า ผู้บัญชาการทหารบกเดินทางไปสำนักงานใหญ่ของดีเอสไอ เพื่อแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับผลสอบสวนเบื้องต้น ซึ่งได้ข้อสรุปไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ทหารมีส่วนรับผิดชอบต่อการตายของช่างภาพญี่ปุน นายฮิโรยูกิยูกิ มุราโมโตะ ระหว่างการประท้วงที่สี่แยกคอกวัวเมื่อวันที่ 10 เมษายน ศกก่อน
ดีเอสไอคงจะต้องเผชิญคำถามว่า ทำไมจึงกลับลำเช่นนี้ ถึงแม้เมื่อวานนี้ อธิบดีดีเอสไอ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ยืนยันตามรายงานฉบับล่าสุด โดยกล่าวว่า รายงานนี้วางอยู่บนผลการสอบสวนที่เป็นวิทยาศาสตร์และนิติเวชศาสตร์ เขาปฏิเสธด้วยว่าไม่มีการพบปะกับผู้บัญชาการทหารบก
รายงานเกี่ยวกับอาวุธ ซึ่งเขาไม่ได้เผยแพร่ออกมา ระบุว่าช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ถูกยิงเสียชีวิตด้วยปืนไรเฟิล AK47 ขณะทำข่าวการปะทะ
หากเป็นเช่นนั้นตามรายงาน กองทัพก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความตายที่เกิดขึ้น เพราะทหารถืออาวุธแตกต่างออกไป
นายธาริตกล่าวว่า บาดแผลบนร่างของมุราโมโตะมีลักษณะแบบที่เกิดจากกระสุน AK-47 เขากล่าวว่าทหารไม่ได้ใช้อาวุธแบบนั้น
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้รายงานคำพูดของพลตำรวจโทอัมพรและนายธาริตระหว่างการแถลงข่าวด้วย (11)ซึ่งพลตำรวจโทอัมพรอ้างว่าสามารถพิสูจน์ลักษณะของกระสุนที่ฆ่าฮิโรยูกิได้ง่ายๆ---ด้วยการดูจากรูปถ่ายเท่านั้น
จริงหรือที่บาดแผลของเหยื่อคนเสื้อแดงมีลักษณะร้ายแรงมาก จนเจ้าหน้าที่นิติเวชศาสตร์ไม่สามารถระบุประเภทของอาวุธปืนที่ใช้สังหารพวกเขา?
พล.ต.ท.อัมพร: เราสามารถระบุได้ในบางกรณี มีหลายกรณีที่เราระบุไม่ได้
ทำไมจึงใช้เวลานานเกือบปีในการระบุประเภทของอาวุธปืน?
พล.ต.ท.อัมพร: ผมก็ไม่ทราบ ตัวผมเองสามารถคาดเดาได้ในเวลาแค่ชั่วโมงเดียว
คุณสามารถอธิบายได้ไหมว่า ทำไมในการตรวจสอบครั้งแรก จึงไม่มีการเอ่ยถึงปืนไรเฟิล AK-47 เลย?
พล.ต.ท.อัมพร: ดีเอสไอไม่เคยระบุประเภทของอาวุธปืน เรามีพยานที่อ้างว่ายืนอยู่ใกล้คุณมุราโมโตะ เขาเห็นช่างภาพถูกยิง แต่ไม่รู้ว่ากระสุนมาจากไหน เขาเชื่อว่ากระสุนถูกยิงมาจากฝ่ายทหาร ดีเอสไอมีพยานแค่คนเดียว ดังนั้น ดีเอสไอจึงทึกทักว่าการตายของคุณมุราโมโตะเกี่ยวพันกับทหาร จึงส่งคดีนี้ไปให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลพิสูจน์หลักฐานต่อ
บช.น.ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ และรับทำคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐบาล ดีเอสไอได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีคุณมุราโมโตะและส่งต่อไปให้ บช.น.
ทำไมรายงานของ พล.ต.ท.อัมพรจึงไม่มีอยู่ในรายงานการสอบสวนฉบับแรก
นายธาริต: เพราะการตรวจสอบลักษณะบาดแผลเกิดขึ้นหลังจากดีเอสไอส่งรายงานไปให้ บช.น.แล้ว
ทำไมจึงใช้เวลานานมาก?
นายธาริต: เราเพิ่งเชิญ พล.ต.ท.อัมพรเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสอบสวน เพราะความเชี่ยวชาญของท่านจะช่วยให้การสอบสวนมีความถี่ถ้วนและครอบคลุมมากขึ้น
แล้วเหยื่อคนอื่นๆ ล่ะ? พวกเขาถูกฆ่าตายด้วยกระสุนประเภทเดียวกันหรือเปล่า?
พล.ต.ท.อัมพร: บาดแผลของรายอื่นมีขนาดเล็กกว่า เท่าที่ผมจำได้
คุณสามารถระบุประเภทของอาวุธปืนได้หรือไม่?
พล.ต.ท.อัมพร: ผมทำไม่ได้
มีบาดแผลคล้ายๆ กันบนร่างเหยื่อคนอื่นๆ หรือเปล่า
พล.ต.ท.อัมพร: เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยเห็น
กรณีของคุณมุราโมโตะแตกต่างออกไปใช่ไหม
พล.ต.ท.อัมพร: ใช่ครับ
คุณสามารถบอกจากลักษณะบาดแผลได้ไหมว่า กระสุนยิงมาจากข้างหน้าหรือจากข้างหลัง?
พล.ต.ท.อัมพร: กระสุนยิงมาจากข้างหน้า รูกระสุนเข้าอยู่ตรงหน้าอกข้างขวา รูกระสุนออกทะลุผ่านกระดูกสะบักหัวไหล่ขวา
รายงานวิถีกระสุนสามารถบอกได้หรือไม่ว่า กระสุนนั้นถูกยิงมาจากทหาร?
พล.ต.ท.อัมพร: บอกไม่ได้
มีการใช้ปืนเอสเคเอสคาร์ไบน์และ 05-Nato ในประเทศไทยหรือเปล่า?
พล.ต.ท.อัมพร: มีสิ มิฉะนั้นผมคงไม่เอ่ยถึงมัน
 คณะกรรมการการป้องกันนักข่าว (Committee to Protect Journalists—CPJ) ได้ออกแถลงการณ์ (12)แสดงความกังวลว่ากำลังมีการฟอกความผิดให้ทหาร
“การที่ผลการสอบสวนเบื้องต้นในกรณีการตายของฮิโรยูกิ มุราโมโตะมีข้อสรุปที่ออกมาขัดแย้งกัน ทำให้เกิดคำถามต่อความเป็นอิสระของเจ้าพนักงานสืบสวนของรัฐบาล” เป็นคำกล่าวของชอว์น คริสปิน ตัวแทนอาวุโสประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ CPJ “เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อรายงานข่าวที่ออกมาว่า อาจมีเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนหนึ่งเข้าไปกดดันดีเอสไอให้เซ็นเซอร์ผลการสอบสวนเบื้องต้น”
 ในบรรดาคนที่ตั้งข้อกังขาต่อผลการสอบสวนครั้งใหม่ของดีเอสไอ (13)หนึ่งในนั้นคือรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน:
มันเป็นทฤษฎีของดีเอสไอ เป็นการดำเนินการ เป็นการสอบสวนและเป็นข้อสรุปของดีเอสไอเอง ตำรวจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย และผลการสอบสวนนี้ไม่ได้วางบนหลักฐานที่น่าเชื่อถือแม้แต่น้อย พูดง่ายๆ ก็คือ ข้อสรุปมันมั่ว
เนื่องจากผมทราบผลการสอบสวนของฝ่ายที่สามที่รอยเตอร์สมอบหมายให้ดำเนินการ ซึ่งมีผลสรุปออกมาว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าฮิโรยูกิถูกยิงด้วยกระสุนที่ใช้ในกองทัพ ไม่ใช่กระสุนปืน AK47 ผมจึงส่งอีเมลไปถึงกองบรรณาธิการบริหารอาวุโสภาคพื้นเอเชีย เพื่อขออนุญาตนำผลการสอบสวนบางส่วนไปรายงานข่าว ผมไม่เคยได้รับคำตอบอย่างเป็นทางการ แต่ได้รับคำบอกเล่าอย่างไม่เป็นทางการจากบรรณาธิการบริหารคนอื่นว่า บรรณาธิการบริหารภาคพื้นเอเชีย “ไม่พอใจมาก” ที่ผมเข้าไปยุ่ง ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่น่าวิตก ผมจึงติดต่อเป็นการส่วนตัวและเป็นความลับไปยังบรรณาธิการบริหารอาวุโสในสหรัฐอเมริกาเพื่อหารือข้อกังวลใจนี้
ในฐานะอดีตหัวหน้าสำนักข่าวรอยเตอร์สในแบกแดด และต่อมาได้รับตำแหน่งบรรณาธิการบริหารของรอยเตอร์สที่รับผิดชอบพื้นที่ตะวันออกกลางทั้งหมด ผมเคยมีส่วนร่วมโดยตรงในการสอบสวนของบริษัทเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมงาน 6 ราย ดังนี้
  • ตากล้องรอยเตอร์ส Mazen Dana (14)ถูกทหารสหรัฐฯคนหนึ่งสังหารที่หน้าคุกอาบูกราอิบทางตะวันตกของกรุงแบกแดด ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่ากล้องของเขาเป็นเครื่องยิงระเบิดอาร์พีจี เหตุเกิดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003
  • Dhia Najm (15)ตากล้องอิสระที่ทำงานให้รอยเตอร์ส ถูกฆ่าในเมืองรามาดีของอิรักในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าผู้สังหารคือสไนเปอร์ของกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ
  • คนขับรถของรอยเตอร์ส Waleed Khaled (16)ถูกสังหารโดยกองทหารสหรัฐฯ ที่ระดมยิงใส่รถของเขาในพื้นที่ทางตะวันตกของกรุงแบกแดดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005
  • ช่างภาพของรอยเตอร์ส Namir Noor-Eldeen (17)และคนขับ Saeed Chmagh (18)เสียชีวิตเมื่อเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ของสหรัฐฯ ระดมยิงใส่ทั้งสองและชาวอิรักอื่นๆ อีกหลายคนในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแบกแดดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ความตายของพวกเขาถูกเผยแพร่ให้คนหลายล้านคนได้เห็นกับตา หลังจากวิกิลีกส์เผยแพร่คลิปวิดีโอของเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนี้ (19)ซึ่งถ่ายจากกล้องบนเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่
  • ตากล้องรอยเตอร์ส Fadel Shana (20)ถูกสังหารในกาซ่าในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 จากระเบิดแบบขีปนาวุธสังหารที่ยิงจากรถถังอิสราเอลที่ห่างไปหนึ่งไมล์ ทหารในรถถังคงนึกว่ากล้องและขาตั้งของฟาเดลเป็นอาวุธบางอย่าง ฟาเดลถ่ายคลิปการยิงระเบิดจากรถถังที่ฆ่าตัวเขากับคนรอบข้างอีกหลายคนไว้ได้ (21)

นอกจากนี้ ผมเคยมีส่วนร่วมโดยตรงในการสอบสวนของรอยเตอร์สเกี่ยวกับการทรมานและการทารุณกรรมทางเพศที่ทหารสหรัฐฯ กระทำต่อเพื่อนร่วมงานชาวอิรักสามคน ในช่วงเวลาสามวันที่พวกเขาถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังในสถานที่ใกล้เมืองฟัลลูจาห์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ผมมีประสบการณ์พอสมควรกับคดีสืบสวนที่ละเอียดอ่อนภายในสำนักข่าวรอยเตอร์ส ผมตระหนักดีถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อช่วยกันค้นหาความจริง ไม่ใช่สร้างความแตกแยกห่างเหินกันด้วยการโวยวายและกล่าวหาอย่างเกินกว่าเหตุ ผมยังตระหนักถึงความจำเป็นในการมีจุดยืนที่มั่นคง เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่ล้มเหลวในการสอบสวนอย่างโปร่งใสและซื่อตรง หัวใจสำคัญที่สุดในกระบวนการเหล่านี้ก็คือ เราทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อสืบหาความจริง เราไม่ประสงค์จะล่าแม่มดหรือกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยไร้หลักฐาน เป้าหมายของเราก็เช่นเดียวกับเป้าหมายในการเป็นสื่อมวลชนที่ดี นั่นคือ การแสวงหาความจริง ความจริงเท่านั้นที่จะนำไปสู่การรับผิดและความยุติธรรม
ควรบันทึกไว้ด้วยว่า ในทุกกรณีที่ผมมีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างใกล้ชิดนั้น บรรณาธิการบริหารอาวุโสของรอยเตอร์สคอยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และกล้าหาญอย่างยิ่งเมื่อถึงคราจำเป็น
แต่ทุกอย่างแตกต่างออกไปในกรณีของฮิโรยูกิ ผมไม่สบายใจอย่างยิ่งที่ได้รับรู้จากคนในฝ่ายบริหารระดับสูงว่า ไม่เพียงแค่รอยเตอร์สไม่อนุญาตให้ผมรายงานข่าวผลการสอบสวนของฝ่ายที่สามที่รอยเตอร์สจ้างมาให้ทำงานนี้ แต่รอยเตอร์สไม่ยอมทำแม้กระทั่งแจ้งผลการสอบสวนนี้ให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยทราบด้วยซ้ำไป จริงอยู่ บางครั้งมันมีความจำเป็นที่ต้องเก็บผลการสอบสวนในคดีที่ละเอียดอ่อนไว้เป็นความลับในระหว่างที่ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและ/หรือทหารตำรวจ บางครั้งการด่วนเผยแพร่สู่สาธารณชนเร็วเกินไปอาจทำให้คนที่เราต้องการร่วมมือด้วยเกิดความหมางใจต่อกัน แต่ในประสบการณ์ของผม นี่เป็นครั้งแรกและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่รอยเตอร์สไม่ยอมแม้แต่แจ้งผลการสอบสวนต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรง มันทำให้รอยเตอร์สถูกกล่าวหาได้ว่า รอยเตอร์สบกพร่องต่อหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐค้นหาความจริง ผมส่งบันทึกที่เขียนอย่างละเอียดถึงฝ่ายบริหารระดับสูง เพื่ออธิบายว่าทำไมผมจึงคิดว่าพฤติกรรมของรอยเตอร์สในกรณีฮิโรยูกินั้น เป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อจรรยาบรรณและไม่สร้างสรรค์ หลังจากนั้น ผมได้รับทราบว่ามีการตัดสินใจให้แก้ไขรายงานการสอบสวนของฝ่ายที่สาม ลบชื่อบริษัทที่เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน รวมทั้งลบชื่อของแหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลทั้งหมดด้วย รายงานที่ถูกแก้ไขแล้วนี้จะถูกส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยเป็นการลับ ผมเห็นว่าการทำเช่นนี้ยังมีข้อบกพร่องในหลายๆ ทาง แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย และได้แต่รอความคืบหน้าต่อไป
ในวันที่ 24 มีนาคม กรมตำรวจไทยได้ “ยืนยัน” อย่างเป็นทางการ (22)ว่า ผลการสอบสวนครั้งใหม่ของดีเอสไอไม่พบหลักฐานว่าฮิโรยูกิถูกสังหารโดยน้ำมือของกองทัพไทย
วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตปีแรกของฮิโรยูกิ ก่อนหน้านั้นสองสามวัน บรรณาธิการบริหารภาคพื้นเอเชียของรอยเตอร์สส่งอีเมล์เวียนแก่คณะทำงานว่า จะมีการยืนไว้อาลัยแก่เขาเป็นเวลาหนึ่งนาที ผมเขียนกลับไปถามอีกครั้ง ในฐานะบรรณาธิการอาวุโสที่รับผิดชอบการนำเสนอข่าวการเมืองและข่าวทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ถามว่าผมสามารถรายงานข่าวได้ไหมว่า ถ้าพิจารณาจากหลักฐานที่รอยเตอร์สมีอยู่ ดูเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐไทยกำลังโกหกในคดีของฮิโรยูกิ ผมได้รับคำตอบเกรี้ยวกราดกลับมา ในบรรดาเหตุผลหลายๆ ข้อที่รอยเตอร์สอ้างว่าไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลนี้ มีเหตุผลหนึ่งคือ ภายใต้กฎหมายไทย มันเป็นเรื่องผิดกฎหมายที่รอยเตอร์สจ้างฝ่ายที่สามมาสอบสวนการตายของฮิโรยูกิ และตอนที่จ้างบริษัทข้างนอกมาดำเนินการสอบสวน รอยเตอร์สได้ทำข้อตกลงกับบริษัทนั้นว่าจะเก็บผลการสอบสวนไว้เป็นความลับ ผมไม่คิดว่านี่เป็นเหตุผลเพียงพอที่รอยเตอร์สจะเก็บงำผลการสอบสวนการตายของฮิโรยูกิเอาไว้เช่นนี้ และผมก็บอกฝ่ายบริหารไปตามที่ผมคิด
ในวันที่ 11 เมษายน ฝ่ายบริหารระดับสูงของรอยเตอร์สประจำภาคพื้นเอเชียได้เข้าพบอธิบดีดีเอสไอ นายธาริต ที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือถึงความคืบหน้าในการสอบสวนคดีฮิโรยูกิ เรื่องที่อธิบายไม่ได้เลยก็คือ เหตุใดฝ่ายบริหารจึงไม่ยื่นผลการสอบสวนที่แก้ไขแล้วของรอยเตอร์สที่เตรียมไว้ให้แก่นายธาริต ผมได้รับทราบในภายหลังว่า มีการตัดสินใจที่จะยื่นผลการสอบสวนที่แก้ไขแล้วนี้ให้แก่นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการส่วนตัว ในการเข้าพบซึ่งยังไม่มีการยืนยันวันเวลาแน่นอน หนังสือบางกอกโพสต์รายงานการพบปะกับดีเอสไอ (23)ดังนี้
นายธาริตกล่าวว่า คณะสอบสวนของดีเอสไอได้อธิบายข้อเท็จจริงแวดล้อมทั้งหมดที่ได้จากการสอบสวนอย่างเป็นทางการต่อกรณีการเสียชีวิตของมุราโมโตะแก่ตัวแทนของสำนักข่าวรอยเตอร์สระหว่างการพบปะหารือเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง
เขากล่าวว่า เขาไม่ทราบว่าตัวแทนทั้งสองพอใจต่อคำอธิบายหรือไม่ และกล่าวว่าทั้งสองนิ่งเฉยและไม่ได้ให้เอกสารใดๆ เพิ่มเติมแก่ดีเอสไอ
“ผมเสนอต่อสำนักข่าวรอยเตอร์สให้ช่วยค้นหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเพิ่มเติม เพราะพยานที่รู้เห็นการสังหารครั้งนี้น่าจะกล้าให้ข้อมูลเชิงลึกแก่รอยเตอร์สมากกว่าให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่รัฐ [ไทย]” นายธาริตกล่าว
“หลังจากนั้น รอยเตอร์สสามารถแจ้งข้อมูล [ที่ได้มา] นี้แก่ดีเอสไอเพื่อทำการสอบสวนต่อไป”
ตัวแทนของรอยเตอร์สกล่าวว่า พวกเขาจะพิจารณาข้อเสนอของดีเอสไอและแจ้งกลับไปให้ทราบภายหลัง
พวกเขาจะสอบถามความคืบหน้าของคดีนี้เป็นครั้งคราวต่อไป นายธาริตกล่าว
บรรณาธิการบริหารของรอยเตอร์สปฏิเสธไม่ให้รายละเอียดใดๆ ของการหารือกันครั้งนี้ และออกแถลงการณ์เพียงแค่ว่า รอยเตอร์สได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับการสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของมุราโมโตะ
 ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ผมลาออกจากสำนักข่าวรอยเตอร์สเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน เพื่อตีพิมพ์งานเขียนขนาดยาวเกี่ยวกับประเทศไทย โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารการทูตของสหรัฐฯ ที่รั่วไหลออกมาหลายพันฉบับ คุณสามารถอ่านงานเขียนนั้นได้ ที่นี่ รอยเตอร์สตัดสินว่างานเขียนนี้เสี่ยงเกินไปที่จะตีพิมพ์ เนื่องจากรอยเตอร์สมีนักข่าวและคณะทำงานจำนวนมากอยู่ในประเทศไทย ดังที่ผมเขียนไว้ในงานชิ้นดังกล่าวและในบทความในหนังสือพิมพ์ The Independent (24)ผมเข้าใจดีที่รอยเตอร์สตัดสินใจเช่นนั้นและขอไม่วิจารณ์รอยเตอร์สในประเด็นนี้ การลาออกของผมทำให้ผมไม่สามารถกดดันกองบรรณาธิการรอยเตอร์สเกี่ยวกับคดีของฮิโรยูกิได้อีกต่อไป แต่ผมก็เฝ้ารอคำสัญญาที่รอยเตอร์สบอกว่าจะแจ้งข้อมูลของฝ่ายตนให้แก่นายกฯอภิสิทธิ์เมื่อใดที่ได้เข้าพบ
ในวันที่ 14 มิถุนายน รอยเตอร์สได้สัมภาษณ์นายกฯอภิสิทธิ์เป็นการเฉพาะ แต่พวกเขากลับไม่ได้มอบข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด
ดังนั้น บัดนี้ผมจะเปิดเผยข้อความสำคัญจากรายงานการสอบสวนของฝ่ายที่สามที่รอยเตอร์สได้มอบหมายให้ดำเนินการ ผมขอเก็บชื่อบริษัทที่ดำเนินการสอบสวนไว้เป็นความลับ รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ หากรอยเตอร์สต้องการโต้แย้งว่าข้อความที่ผมจะเปิดเผยนี้เป็นข้อความจากเอกสารจริงหรือไม่ ผมสามารถให้หลักฐานเอกสารที่มีรายละเอียดมากกว่านี้ได้ ผมเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ด้วยความกระอักกระอ่วนใจและไม่มีความปรารถนาใดๆ ที่จะบ่อนทำลายสำนักข่าวรอยเตอร์ส ซึ่งผมยังถือว่าเป็นองค์กรข่าวที่สมควรได้รับความนับถือ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ทำงานของเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายของผมจำนวนมาก แต่เห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมที่ไร้สมรรถภาพ ไร้จรรยาบรรณและไม่สร้างสรรค์ของฝ่ายบริหารระดับสูงบางคนในเอเชีย จะทำให้รอยเตอร์สไม่มีทางค้นพบความจริงเกี่ยวกับการตายของฮิโรยูกิ นอกเสียจากจะมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมหวังว่ารอยเตอร์สจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์นี้ และต่อไปข้างหน้าคงไม่มอบหมายอำนาจการตัดสินใจในเรื่องสำคัญเช่นนี้ให้แก่บุคคลที่ขาดความสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตัวอย่างมีสติและมีจรรยาบรรณในสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อน ครอบครัวและมิตรสหายของฮิโรยูกิ รวมทั้งคณะทำงานทุกคนของรอยเตอร์ส ควรได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่านี้ ข้างล่างนี้คือข้อความที่คัดมาจากรายงานการสอบสวนของฝ่ายที่สาม มันคัดมาตรงตามตัวอักษร ยกเว้นการแก้ไขที่ระบุไว้ด้วยเครื่องหมาย xxxx ในเนื้อความ:
ฮิโรยูกิ มุราโมโตะ (‘ฮิโรยูกิ’) ถูกยิง ค่อนข้างแน่นอนว่าโดยกระสุนความเร็วสูงขนาด 5.56 มม. ในวันที่ 10 เมษายน ที่ถนนดินสอ ทางตะวันตกของกรุงเทพฯ ในเวลา 21:01/2 ตามเวลาท้องถิ่น
XXXXXXX ไม่สามารถดูรายงานการชันสูตรพลิกศพของทางการหรือการพิสูจน์ทางนิติเวชศาสตร์ใดๆ ที่กระทำต่อร่างของเขา อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ศัลแพทย์ที่ดูแลการจำแนกผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 10 เมษายน เขายืนยันว่า ฮิโรยูกิเสียชีวิตจากแผลฉีกขาดที่ผนังอกทะลุเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอด (tension pneumothorax) พร้อมกับการตกเลือดภายในจำนวนมาก ศัลยแพทย์คาดว่าการเสียเลือดเช่นนั้นน่าจะทำให้เสียชีวิตภายในเวลาสองนาที เจ้าหน้าที่รถพยาบาลที่นำฮิโรยูกิส่งโรงพยาบาลยืนยันว่า พวกเขาไม่พบสัญญาณชีพ และแพทย์ที่ตรวจเขาที่โรงพยาบาลกลางระบุว่าเขา ‘เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล’
แผลรูกระสุนเข้าที่เป็นสาเหตุการตายของฮิโรยูกิมีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้กระดูกไหปลาร้าและกระดูกโอบอกและตรงกับหัวใจ ศัลยแพทย์ที่ XXXXXXX สัมภาษณ์ยืนยันว่า บาดแผลมีลักษณะของบาดแผลที่เกิดจากกระสุน นอกจากนี้ ฮิโรยูกิมีแผลรูกระสุนออกที่ท้องแขนซ้าย การที่แผลรูกระสุนออกไม่เป็นแนวตรงเช่นนี้ มีลักษณะตรงกับผลกระทบที่เกิดจากกระสุนความเร็วสูงขนาด 5.56 มม. สแตนดาร์ดเนโต้ (และลักษณะบาดแผลไม่สอดคล้องกับกระสุนชนิดอื่นๆ อาทิ ปืนสั้น .38 กระสุนยาง หรือกระสุนจากปืนไรเฟิล AK47)
 ถึงเวลาแล้วที่รอยเตอร์สควรเริ่มต้นดำเนินการเพื่อช่วยให้ความจริงเปิดเผยออกมา แทนที่จะสมคบกับการปิดบังความจริงไว้
อ้างอิง:
  1. http://www.reuters.com/video/2011/03/08/a-tribute-to-hiro-muramoto?videoId=193534208
  2. http://thomsonreuters.com/content/press_room/media/558479
  3. http://www.reuters.com/article/video/idUSTRE63B25A20100412?videoId=71024142
  4. http://www.reuters.com/article/2010/04/12/us-thailand-reuters-video-idUSTRE63B25A20100412
  5. http://www.reuters.com/article/2010/11/16/us-thailand-muramoto-idUSTRE6AF30920101116
  6. http://www.reuters.com/article/2010/12/10/us-thailand-security-idUSTRE6B90OR20101210
  7. http://www.reuters.com/article/2011/02/28/us-thailand-security-muramoto-idUSTRE71R3YC20110228
  8. http://www.bangkokpost.com/news/politics/223792/no-firm-view-on-ak-47-role-in-deaths
  9. http://asiancorrespondent.com/43962/thai-military-we-have-not-hurt-or-killed-any-reds/
  10. http://www.bangkokpost.com/news/politics/223658/dsi-changes-ruling-on-cameraman-death
  11. http://www.bangkokpost.com/news/politics/224006/mystery-shrouds-case-of-slain-cameraman
  12. http://www.cpj.org/2011/02/concerns-of-thai-whitewash-in-killing-of-reuters-m.php
  13. http://www.nationmultimedia.com/2011/03/03/national/Police-refute-DSI-finding-on-shot-cameraman-30149971.html
  14. http://www.thebaron.info/mazendana.html
  15. http://www.thebaron.info/dhianajim.html
  16. http://www.thebaron.info/waleedkhaled.html
  17. http://www.thebaron.info/namirnooreldeenandsaeedchmagh.html
  18. http://www.thebaron.info/namirnooreldeenandsaeedchmagh.html
  19. http://www.youtube.com/watch?v=to3Ymw8L6ZI
  20. http://www.thebaron.info/fadelshana.html
  21. http://www.youtube.com/watch?v=8yF0dK7BZIs
  22. http://www.reuters.com/article/2011/03/24/thailand-security-muramoto-idUSSGE72N03120110324
  23. http://www.bangkokpost.com/news/local/231536/reuters-help-sought-in-finding-evidence
  24. http://www.independent.co.uk/opinion/commentators/andrew-macgregor-marshall-why-i-decided-to-jeopardise-my-career-and-publish-secrets-2301363.html บทความนี้ประชาไทแปลแล้ว

ที่มา.ประชาไท
********************************************************

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เหลือบ ตัวเขมือบอื้อซ่า !!?

ชูรักแร้หนุน “ดร.อานนท์ ทับเที่ยง” ซีอีโอคนใหม่ ของ “ทีโอที” รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ของชาติ ให้เดินหน้าปรับโครงสร้างบุคลากร ให้เต็มที่เจ้าขา??
ทันทีที่ผ่าตัด ยกเครื่อง ก็เกิดแรงกระเพื่อม ต่อต้านจาก “เด็กสร้าง-เด็กปั้น” ของบริษัทเอกชน ที่ฝังรากลึกอยู่ในทีโอที
เห็นใจ “เอกสิทธิ์ วันสม” ประธานคณะกรรมการบริหาร ที่หนุน “ซีอีโอคนใหม่” เพื่อปรับหน่วยงานให้กระฉับกระเฉง เช็งวับ กลับถูก “ขัดขวาง” จากพวกสูบเลือดสูบเนื้อ ปล่อยวิชามาร ทำลายเต็มที่
ตรงนี้ที่นี่,ให้กำลังใจคนดี, “เอกสิทธิ์ วันสม” อย่าถอดใจ โบกมือลาจากตำแหน่ง ตามที่พวกเหลือบ ใส่ร้ายป้ายมลทิน!!
ถ้า “ท่านเอกสิทธิ์ วันสม” ไม่อยู่...พวกนี้จะเป็นหมาหมู่?..จู่โจมโกงกิน ทีโอทีจนพุงปลิ้น
----------------------------
“เดดล็อก” ไม่ใช่ทางออก ที่สวย
“สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” พญาเหยี่ยวอินทรีย์อีสานลูกหลานย่าโม่ รู้สัจธรรม จึงไม่เล่นด้วย
รู้มา, ถูกเรียกตัวบ้อย...บ่อย ไปพบ “ผู้เฒ่าเสาน้อย?”เพื่อประเคนตำแหน่ง ให้เป็น “นายกรัฐมนตรี”
ถึงขั้นที่ว่า คนใกล้ชิด พากันเอ่ยปากเรียก “ท่านสุวัจน์” เป็นนายกฯกันทั่วหน้าแล้วล่ะพี่
แต่ด้วยความที่เป็น “นักประชาธิปไตย” รักอิสสระเสรีภาพแห่งความคิด “สุวัจน์”จึงไม่ได้รับปากอะไร ทั้งนั้นแหละหน้ามล!!
เพราะคนที่มาจากนอกระบบ...มักจะสลบ?..พบจุดจบไม่ดีซักคน??
-----------------------------
“กลาง” ต้อง “กลาง” สิจ๊ะ!!
ไม่อยากเห็น “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ตีหน้ายักษ์ เล่นเหลี่ยม เลยนะ
ประโยค ที่โฮกฮือ โฮกฮา ออกมา “ต้องฟังผมคนเดียว” ดูเป็น“กำปั้นทุบดิน”ไปหน่อย
ดูท่านไม่เหยียบเบรก..ออกมาดับเครื่องชน กับบางพรรค ออกบ้อย..บ่อย
ถ้าจะสัมโมทนียกถา ก็ควรเรียงหน้าด่ากันให้ ให้ครบเซ็ทในการขุดมาด่าประจาน!!
ด่าอีกพรรค ลืมอีกพรรค...ดูแล้วไม่น่ารัก?..ชักจะเซ็งกันท่าน??
-----------------------------
โค้งสุดท้าย เข้าเส้นชัย!!
เป็นคีย์แมนคนสำคัญ ของเขตเลือกตั้งนนทบุรี..ก็ไม่รู้ว่า “พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย” ปล่อยมือไม่ไปช่วยผู้สมัคร สส.เขต เมืองนนท์ ได้อย่างไร??
เขต ๕ เป็นศึกช้างชนช้าง ระหว่าง “วันชัย เจริญนนทสิทธิ์” ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย เบอร์ ๑ ต้องบดต้องบี้กับ “ทศพล เพ็งส้ม” ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ ๑๐
ละเลยทิ้งขวาง ไม่มาช่วย “วันชัย” หาเสียง ตามที่รับปากเอาไว้ คนจึงด่ากันละเอียดยิบ ถ้าท่านไม่มา เพราะไม่มีเวลา หรือว่างานรัดตัว ก็อย่ารับปากคนจะได้ ไม่เสียความรู้สึก!!
ไม่มาก็ไม่บอก...ทั้งที่ไม่ได้เกิดปีวอก..คนจึงด่ากันกระฉอก ด้วยความเจ็บใจลึก..ลึก???
----------------------------
คงจำกันได้ เรื่อง “จอดำ”!!!
วันนั้น,ว่ากันว่า, เป็นการล้มกระดาน เพื่อคว่ำ “รัฐบาลมาร์ค” เสียให้คว่ำ??
ดีแต่ว่าขุนศึกทหารใหญ่ ระดับบิ๊ก ๆ หลายคน ไม่เล่นด้วย...ปฏิบัติการณ์ยึดอำนาจ จึงกลายเป็นหมัน
ยกเครดิตให้ “บิ๊กตุ้ย” พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สูงสุด และ “บิ๊กติ๊ด” พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ แม่ทัพเรือ เอาไปสิท่าน
เนื่องจาก ๒ ท่าน ปลีกวิเวกไม่ร่วมขบวนการ ลงไปอยู่ในเรือ เพื่อบอยคอต!!
เพราะรู้ว่าปฏิวัติไป...ประเทศไทย..ยังไง..ยังไงก็ไปไม่รอด??


คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย.บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++

นับถอยหลังเลือกตั้ง ชำแหละนโยบายเศรษฐกิจดัชนีชี้วัดอนาคตประเทศไทย

ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าตาลายจนลายตากับแผ่นป้ายโฆษณาหาเสียงของพรรคการเมือง ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในทุกป้ายรถเมล์ เสาไฟฟ้า และหัวมุมถนน ประชานิยมถูกปูพรมประหนึ่งภาพเสมือนจริง ที่ใช้เป็นเครื่องมือซื้ออนาคต และเสกสรรปั้นแต่งออกมาเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจอันสวยหรูที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
“นับถอยหลังเลือกตั้ง” ฉบับนี้ จึงขออนุญาตถอดสมการนโยบายด้านเศรษฐกิจ ของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านมุมมองของ “ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ที่ได้วิพากษ์ถึงนโยบายเหล่านั้นว่าจะมีผลต่ออนาคตประเทศไทยอย่างไรในวันข้างหน้า

** ประชานิยมแทรกแซงกลไกตลาด
“หากประเมินภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจรวมทั้งนโยบายสาธารณะอื่นๆของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า การศึกษา วิจัยประเด็นผลกระทบที่ไม่คาดหมายหรือ ผลกระทบภายนอก โดยเฉพาะผลกระทบ ทางลบของนโยบายเศรษฐกิจหรือนโยบาย สาธารณะอื่นๆ ของพรรคการเมืองมีอยู่น้อยมาก แสดงให้เห็นว่านโยบายส่วนใหญ่ ยังมุ่งหาเสียงเพื่อความพึงพอใจต่อผู้มีสิทธิ ออกเสียงเฉพาะหน้ามากกว่าการพิจารณา นโยบายอย่างพินิจพิเคราะห์อย่างรอบด้าน และแสดงให้เห็นถึงความไม่ตระหนักต่อผล ของนโยบายในระยะปานกลางและระยะยาว”

“นโยบายจำนวนหนึ่งของพรรค การเมือง เช่น การตรึงราคาพลังงาน การ ตรึงราคาสินค้าหลายประเภทโดยไม่สอดคล้องกับกลไกตลาด เป็นนโยบายที่ไปแทรกแซงกลไกตลาดมากเกินไปทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้ทรัพยากร ใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพและอาจนำมาสู่ภาวะการขาดแคลนสินค้าขึ้นได้ หากนโยบายของพรรคการเมืองจะใช้การ แทรกแซงของรัฐต่อกลไกราคา จะต้องอยู่ภายในกรอบเพื่อส่งเสริมการทำงานของกลไกตลาด หรือเพื่อแก้ไขภาวะตลาด ล้มเหลวเท่านั้น เพื่อช่วยให้ระบบเศรษฐกิจ โดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุดรองลงมาจาก การใช้กลไกตลาด การแทรกแซงของรัฐที่เกินกรอบนี้ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจเสีย ประโยชน์และไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะเท่ากับว่ารัฐเข้าไปแก่งแย่งการใช้ทรัพยากร ของภาคเอกชน”

** ช่องว่างคนจนคนรวยเหลื่อมล้ำสูงลิ่ว
“การแข่งขันกันในเรื่องนโยบายเป็น สัญญาณที่ดีของพัฒนาการประชาธิปไตย ไทย แต่นโยบายส่วนใหญ่ยังไม่มีการบอกถึงแหล่งที่มาของงบประมาณพรรคการเมือง ยังหลีกเลี่ยงไม่นำเสนอประเด็นเรื่องการปฏิรูประบบภาษีและการแสวงหารายได้เพื่อสนับสนุนโครงการประชานิยมต่างๆ มุ่งแข่งขันกันใช้จ่ายเงินและการเพิ่มสวัสดิการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ พอใจและกล่าวถึงนโยบายระยะยาวในการ เตรียมประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนน้อยมาก”

“พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้นำเสนอการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และทรัพย์สินแต่มุ่งการเพิ่มสวัสดิการเพื่อ บรรเทาปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เท่านั้น ทั้งที่ปัญหาการกระจายรายได้ และกระจายความมั่งคั่งเป็นปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจไทยและนำมาสู่ปัญหาอื่นๆ และความขัดแย้งทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2530 ประชากรที่จนที่สุด 20% ของประเทศ มีรายได้รวมกันเพียง 4.6% ของประเทศ ในปี พ.ศ.2552 ประชากรกลุ่มดังกล่าวมี รายได้ 4.8% ใกล้เคียงกับ 22 ปีก่อนหน้า เท่านั้น สะท้อนปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ คนจนและคนรวยยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก”

**โบดำเมกะโปรเจกต์ระวังขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
“นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นติดสินบนแทบจะไม่มีพรรคการเมืองใหญ่พรรคใดเสนอขึ้นมาอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากพรรคการเมือง ทางเลือกทั้งพรรครักษ์สันติ พรรคการเมือง ใหม่ โดยเฉพาะพรรครักษ์สันติได้นำเสนอ เรื่องความซื่อตรงเป็นประเด็นหลัก พรรค การเมืองไม่ได้นำเสนอเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ มีความโดดเด่นด้านนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิต ขณะที่พรรคเพื่อไทยมีความโดดเด่นด้านนโยบายการลงทุนด้วยโครง การขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งสองพรรค การเมืองล้วนนำเสนอนโยบายการลงทุนโครงการขนส่งระบบรางแต่ยังไม่มีรายละเอียดมากนักถึงวิธีการระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการลงทุน”

“นโยบายที่มีลักษณะประชานิยมของพรรคการเมืองต่างๆ หากดำเนินการอย่างไม่ระมัดระวังจะนำมาสู่อัตราเงินเฟ้อ ในระดับสูง ปัญหาวิกฤตการณ์ฐานะทาง การคลังและหนี้สาธารณะในระดับสูงในอนาคต นโยบายลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น Harber City (ปชป.) ถมทะเลสร้างเมืองใหม่ (พท.) โครงการรถ ไฟฟ้าและโครงการรถไฟความเร็วสูง หาก ไม่บริหารจัดการให้ดี ประเทศจะประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้”

** ยาหอมนโยบายประชาสันติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“นอกจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ แล้ว พรรคการเมืองขนาดกลาง อย่างเช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เป็นพรรคที่มีนโยบายเศรษฐกิจชัดเจน เช่นกัน เช่น นโยบายเงินออมคูณ 2 ส่งเสริมการออม 20 ปีมี 1 ล้าน ผลักดันค่า แรงงานขั้นต่ำให้อยู่ในช่วง 250-350 บาท ต่อวัน ประกันราคาข้าวตันละ 15,000 บาท เป็นต้น ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนานั้นมีความโดดเด่นทางด้านนโยบายปรองดอง และมีการนำเสนอการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและเสนอให้มีการปรับโครงสร้างภาษี แต่ไม่ระบุรายละเอียด ว่าจะทำอย่างไร”
“พรรครักษ์สันติเป็นพรรคที่มีนโยบายเกี่ยวกับการเกษตร สวัสดิการสังคม และเศรษฐกิจที่น่าสนใจเช่นกัน เช่น พัฒนา กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ธนาคาร เพื่อคนยากไร้ นโยบายเกษตรโซนนิ่ง (วางระบบในการผลิตเกษตรกรรม) เพิ่มค่า ลดหย่อนภาษีให้เกษตรกรที่เลี้ยงดูบิดามารดา ลดภาษีสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพิ่มดอกเบี้ยสำหรับสินค้าบาปและทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะมีทีมที่ เป็นนักวิชาการจำนวนมาก”

**ลดภาษีคลุมเครือเหตุไร้ที่มาของรายได้
“นโยบายเศรษฐกิจเพื่อหาเสียงของ หลายพรรคการเมืองในขณะนี้ ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่การลดภาษีประเภทต่างๆ เพื่อเอาใจฐานเสียง พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ แนวทางการปฏิรูปภาษีทั้งระบบซึ่งไม่มีราย ละเอียดชัดเจนว่าจะลดหรือเพิ่มภาษีประเภทใดในอัตราเท่าไหร่ ขณะที่พรรคเพื่อไทย เสนอลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% ในปี 2555 และลดเหลือ 20% ในปี 2556 พรรคชาติไทยพัฒนา เสนอลดภาษี นิติบุคคลเหลือ 20% และพรรคภูมิใจไทย เสนอลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เหลือ 5%”

“พรรคการเมืองที่เสนอลดภาษีอย่างชัดเจนต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะหารายได้มาชดเชยรายได้ภาษีเหล่านี้อย่างไร เพราะตอนนี้รัฐบาลได้ทำงบประมาณ ขาดดุลมาต่อเนื่องหลายปีแล้ว หากไม่สามารถหาเงินมาชดเชยก็จำเป็นต้องตัดลดรายจ่ายบางส่วนลงหรือต้องกู้เงินเพิ่ม หากใช้ฐานข้อมูลเดิมมาพิจารณา การปรับ ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 20-23% จะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จากภาษีนิติบุคคลมากกว่าหนึ่งแสน ล้านบาท ส่วนพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน มีนโยบายยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับนักศึกษาที่เริ่มทำงาน 5 ปีแรก เป็นนโยบายที่มีข้อจำกัดและยังไม่มีรายละเอียด ที่ชัดเจน เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าใครคือ นักศึกษาและเป็นนักศึกษาระดับไหน”

**จี้จุดสลบนโยบายประกันราคาจำนำข้าว
“นโยบายรับจำนำข้าวและสินค้าเกษตรของพรรคเพื่อไทยมีข้อดี คือ ชาวนา หรือเกษตรกรได้รับเงินทันทีเต็มจำนวน นโยบายรับจำนำข้าวยังสอดรับกับการจัดตั้งธนาคารข้าวและบัตรเครดิตชาวนาซื้อปัจจัยการผลิต ข้อด้อยของนโยบายรับจำนำ คือ รัฐลงไปเป็นคู่ค้าเสียเองซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดทุนและมีปัญหาทาง ด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน เป็นการ แทรกแซงกลไกตลาด อาจทำให้ชาวนาผลิตโดยไม่สนใจสภาวะของตลาด หากรัฐบาลจัดการเรื่องการจัดเก็บและบริหาร โควตาไม่ดีย่อมก่อให้เกิดการทุจริตรั่วไหลและไม่มีประสิทธิภาพขึ้นได้”

“แนวคิดของนโยบายนี้ คือ รัฐเข้ามารับความเสี่ยงจากความผันผวนราคาสินค้าเกษตรเสียเอง ซึ่งรัฐอาจจำเป็นต้องขาดทุนเพื่อให้เกษตรกรขายสินค้าได้ราคาตามเป้าที่รับจำนำไว้ ส่วนนโยบายประกันราคาเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐไม่เข้าแทรกแซงทำหน้าที่เพียงจ่ายส่วน ต่างระหว่างราคาตลาดและราคาอ้างอิง ข้อด้อยของนโยบายประกันราคา คือ อาจ มีชาวนาปลอมมารับเงินส่วนต่าง ชาวนาอาจได้รับเงินส่วนต่างล่าช้า ไม่คุ้มค่ากับการผลิตหรือต้นทุนที่แท้จริงเพราะราคาตลาดอาจผันผวนมาก แนวคิดนโยบายนี้ ไม่พยายามแทรกแซงกลไกตลาดหรือกลไก ราคา อาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมากหากราคาตลาดตกต่ำมากและรัฐต้องจ่าย ส่วนต่างสูงขึ้น”

นี่คือมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ที่มองถึงผลกระทบจากนโยบายขายฝันของพรรคการเมืองที่จะมีผลไปถึงอนาคตของเศรษฐกิจไทย ที่นักวิชาการท่านนี้พยายามย้ำหัวตะปูและสะกิดเตือนพรรคการเมืองต่างๆ ให้ควรนำเสนอนโยบายเพิ่มบทบาทเอกชนและปรับโครงสร้างตลาดให้มีการแข่งขันเสรี ไม่ใช่แทรก แซงตลาดเพราะจะสร้างต้นทุนต่อระบบเศรษฐกิจ และปัญหาเศรษฐกิจ ในระยะยาว

ที่มา.สยามธุรกิจ
****************************************

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้วจริงหรือ !!?

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.
ที่มา http://www.facebook.com/verapat.pariyawong

จากช่วงคืนที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยได้รายงานว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศว่าไทยได้ “ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก” บ้างก็ว่า “ถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลก” บ้างก็ว่า “Thailand has withdrawn from the World Heritage Convention” ล่าสุดคุณสุวิทย์เองใช้คำว่า “คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา” (http://twitter.com/#!/SuwitKhunkitti).

ผู้เขียนยังไม่พบหนังสือ ถ้อยแถลง หรือคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยว่า “การถอนตัว” ดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นใด แต่ในยุคสมัยที่สื่อมวลชนต่างชิงเสนอข้อมูลจาก Twitter เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงจำต้องตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นเพิ่มเติมอีกบางบรรทัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนดังนี้.

ไทยจะ “ถอนตัว” (withdraw) จาก “ภาคีมรดกโลก” ได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องการใช้สิทธิตามขั้นตอนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักก็คือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (“อนุสัญญามรดกโลกฯ”) ซึ่งไทยอาจ “ยังคง” เป็น หรือ “เคย” เป็น “ภาคีอนุสัญญา” (“ภาคี” ในที่นี้ก็หมายถึง “คู่สัญญา” ที่ยอมผูกพันตามกฎหมายนั่นเอง).

กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าไทยมีสิทธิถอนตัวจากการเป็น “ภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ” โดยการ “ประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) ทั้งนี้ตามที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 กำหนดสิทธิไว้ ดังนี้:

Article 35

1. Each State Party to this Convention may denounce the Convention.
2. The denunciation shall be notified by an instrument in writing, deposited with the Director-General of the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.
3. The denunciation shall take effect twelve months after the receipt of the instrument of denunciation. It shall not affect the financial obligations of the denouncing State until the date on which the withdrawal takes effect.

(เน้นคำโดยผู้เขียน ตัวบทอนุสัญญามรดกโลกฯ อ่านได้ที่ http://whc.unesco.org/en/conventiontext)

หากการ “ถอนตัว” ที่คุณสุวิทย์ได้กระทำไปในนามรัฐบาลไทยคือการใช้สิทธิ “ประกาศไม่ยอมรับ” หรือ denounce ตามความในข้อ 35 ข้างต้น ผลทางกฎหมายที่ตามมาก็คือ “การประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) นั้น มิได้ส่งผลเป็นการ “ถอนตัว” (withdrawal) โดยทันที แต่การถอนตัวจะเริ่มมีผลต่อเมื่อครบกำหนด 12 เดือน จากวันที่คุณสุวิทย์ได้ยื่นหนังสือไปยังยูเนสโก ซึ่งอาจหมายความว่า (ผู้เขียนย้ำว่า “อาจ”) ณ วันนี้ ไทยเองยังคงมีทั้งสิทธิและหน้าที่ในฐานะภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2555 (นอกจากไทยจะได้ตั้งข้อสงวนเรื่องนี้ไว้ แต่ผู้เขียนไม่พบข้อสงวนของไทยในบันทึกการเข้าเป็นภาคี UNTS Vol 1484 No 15511 เมื่อ ค.ศ. 1987 แต่อย่างใด).

หลักกฎหมายและเงื่อนไขระยะเวลาที่ปรากฏอยู่ในอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 ที่ผูกพันไทยนี้ สอดคล้องรองรับกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญ คือ ข้อ 56 และ ข้อ 70 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (แม้ไทยจะมิได้เข้าผูกพันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาโดยตรง แต่อาจมองในทางกฎหมายได้ว่าหลักดังกล่าวเป็นหลักทั่วไปที่ยอมรับนับถือโดยสากลกว่า 100 ประเทศทั่วโลก).

ถามต่อว่า ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนนี้ ไทยจะเสียเปรียบกัมพูชา หรือไทยจะตกอยู่ใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ไทยจะต้องยอมรับผูกพันตามมติ หรือ แผนบริหารจัดการบริเวณปราสาทพระวิหารอันจะกระทบต่ออธิปไตย หรือความได้เปรียบเสียเปรียบในศาลโลกหรือไม่ อย่างไร?

ผู้เขียนตอบเบื้องต้นเป็นขั้นๆ ดังนี้.

1. อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่น

การเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ มิได้หมายความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ เพราะสังคมระหว่างประเทศได้ออกแบบให้อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่นบนพื้นฐานของความร่วมมือช่วยเหลือ (co-operation and assistance) และมิใช่พันธกรณีที่บังคับควบคุมโดยเด็ดขาด เห็นได้จากการที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่ผูกพันไทยอย่างยืดหยุ่น เช่น

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 4 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้” (It will do all it can to this end…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 5 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะพยายามอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับ[ประเทศไทย]” (…shall endeavor, in so far as possible, and as appropriate for each country…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 7 ใช้ถ้อยคำว่า “เพื่อจัดตั้งระบบความร่วมมือระหว่างและช่วยเหลือประเทศอันที่จะสนับสนุนภาคีอนุสัญญาฯ” (…the establishment of a system of international co-operation and assistance designed to support State Parties to the Convention…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 11 (3) ใช้ถ้อยคำสงวนสิทธิว่าการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิของไทย (…shall in no way prejudice the rights…) ที่ยังมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนหรืออธิปไตยกับกัมพูชา เป็นต้น.

ดังนั้น แม้หากวันนี้ไทยยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯอยู่ ไทยย่อมสามารถตีความอนุสัญญาโดยสุจริตว่าไทยจะร่วมมือและช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยไม่กระทบต่อสิทธิของไทยที่มีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับกัมพูชา. ผู้เขียนย้ำว่ากฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับประเทศที่ชาญฉลาดและแยบยล.

2. กฎหมายระหว่างประเทศให้สิทธิไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญามรดกโลกฯ หากมีกรณีจำเป็น

แม้สุดท้ายจะมีผู้ใดตีความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ หรือไม่อย่างไร กฎหมายระหว่างประเทศก็ยังคงเปิดช่องให้ไทยมีสิทธิยกข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามมตินั้น อาทิ หลักกฎหมายทั่วไปเรื่อง fundamental change of circumstances หรือ rebus sic stantibus เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 62 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 หรือ หลักกฎหมายว่าด้วยความจำเป็น (necessity) เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 25 แห่งร่างข้อกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐ (ILC Draft Articles on State Responsibility).

ไทยสามารถอ้างสิทธิตามหลักกฎหมายเหล่านี้ เพื่อต่อสู้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญและกระทบถึงความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพระหว่างประเทศ ไทยจึงมีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะไม่ปฏิบัติตามมตินั้น อย่างไรก็ดี การยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไทยมีภาระพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ย่อย และมิใช่อ้างได้โดยง่าย.

3. เรื่องอนุสัญญามรดกโลกฯ ทำให้ไทยกังวลเกี่ยวกับคดีในศาลโลก

ไม่ว่านักกฎหมายจะตีความ “การถอนตัว” กันอย่างไร แต่ผู้เขียนเองในฐานะผู้เคยช่วยทำคดีในศาลโลก ก็ไม่แปลกใจหากทีมทนายความของไทยซึ่งกำลังมีคดีอยู่กับกัมพูชาในศาลโลก จะเลือกใช้ “การถอนตัว” เป็นการแสดงออกในทางพฤตินัยเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าในทางนิตินัยไทยจะยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ และต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการมรดกโลกหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยไทยก็อ้างต่อศาลโลกได้เต็มปากว่า โดยพฤตินัยนั้น ไทยไม่ยอมรับการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารใดๆ ที่อาจมีนัยกระทบต่ออธิปไทยทางดินแดนของไทย.

จุดนี้อาจเป็นเพราะว่าแท้จริงแล้วไทยอาจกังวลกับผลจากการตีความคำพิพากษาโดยศาลโลกที่มีผลผูกพันไทยโดยตรง มากกว่าเรื่องมติมรดกโลกที่ยืดหยุ่นและเป็นเพียงแง่ทางกฎหมายประกอบแง่หนึ่งเท่านั้น อีกทั้งการกลับเข้าเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ย่อมไม่เป็นปัญหาเท่ากับความเสี่ยงที่กัมพูชาจะนำมติไปอ้างให้ไทยเสียเปรียบในศาลได้.

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

จากข่าวสารที่รวดเร็วแต่ไม่มีความชัดเจน ผู้เขียนเข้าใจว่าการถอนตัวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะคุณสุวิทย์สามารถเจรจาให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้สำเร็จ แต่เมื่อร่างมติที่นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกยังมีถ้อยคำเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาอยู่ คุณสุวิทย์จึงยืนยันถอนตัว ในทางหนึ่งย่อมมองได้ว่าเป็นการทำหน้าที่อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติอันน่าชื่นชม.

แต่อีกทางหนึ่ง ก็อาจมีผู้โจมตีว่าไทยขาดความน่าเชื่อถือในเวทีโลก เช่น ไทยขู่ถอนตัวเพื่อตั้งแง่การเจรจาให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการ (โดยทั่วไป) ออกไป และแม้สุดท้ายไทยจะได้ตามที่ต้องการ ก็ยังคงถอนตัวเพื่อประโยชน์ทางรูปคดี (เกี่ยวกับถ้อยคำบางคำ) อยู่ดี ทั้งที่ไทยจะถอนตัวแต่แรกก็ได้ หรือจะมองอย่างเสียดสีว่าเป็นเพียงการเรียกคะแนนนิยมก่อนวันเลือกตั้ง ฯลฯ.

การมองเหล่านี้มิใช่การมองทางกฎหมาย และอาจเป็นการด่วนสรุปที่ไม่เป็นธรรม แม้ผู้เขียนจะมีความเชื่อว่าคณะคุณสุวิทย์และตัวแทนฝ่ายไทยทุกท่านย่อมยึดประโยชน์ชาติเป็นใหญ่ แต่ผู้เขียนก็มิอาจแสดงความเห็นได้ เพียงแต่เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการตัดสินใจและชี้แจงให้ประชาชนทราบโดยเร็ว.

ที่สำคัญ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post (http://bit.ly/llkquo) รายงานว่าการตัดสินใจของคุณสุวิทย์นั้น โดยหลักเป็นเพราะคุณสุวิทย์และผู้แทนกรมศิลปากรไม่สบายใจกับถ้อยคำในร่างมติ แต่กระทรวงการต่างประเทศไทยกับไม่ติดใจถ้อยคำดังกล่าว (“Mr Suwit and Fine Arts Department representatives disapproved of the wording, while the Foreign Ministry was happy with it”).

ผู้เขียนไม่ทราบว่าข่าวนี้จริงเท็จและมีรายละเอียดเช่นใด แต่หากนักการทูตและนักกฎหมายระหว่างประเทศชั้นนำของไทยไม่มีปัญหากับร่างมติจริง ประชาชนก็สมควรได้รับคำอธิบายอย่างชัดเจนทุกแง่มุม (เท่าที่จะไม่เสียรูปคดี) อาทิ
- ถ้อยคำในร่างมติดังกล่าวมีนัยอย่างไรในมุมมองของแต่ละหน่วยงาน?
- ปัจจุบันไทยยังคงมีสถานะเป็นภาคีหรือไม่ และไทยเคยตั้งข้อสงวนเรื่องการถอนตัวหรือไม่?
- ไทยยังใช้สิทธิผ่านกรรมการของไทยในที่ประชุมมรดกโลกได้หรือไม่?
- หากที่ประชุมมีท่าทีเปลี่ยนไปแล้วไทยจะเปลี่ยนใจยับยั้งการถอนตัวได้หรือไม่?
- แม้การถอนตัวจะไม่กระทบต่อสถานะมรดกโลกในไทย แต่หากถอนตัวไปแล้ว ไทยจะยังคงดูแลอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวไทยผู้ดูแลมรดกของชาวโลกหรือไม่? อนาคตของว่าที่มรดกโลกอื่นในไทยจะเป็นอย่างไร?
- ไทยได้เสียเรื่องอื่นอย่างไร เช่น เงินอุดหนุนที่ไทยต้องจ่าย (ซึ่งอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 บอกว่าไทยยังต้องจ่ายต่ออีก 12 เดือน) เงินสนับสนุนที่ไทยได้รับเกี่ยวกับมรดกโลก หรือ ผลกระทบต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรมกับ UNESCO?

สุดท้าย สำหรับประชาชนคนไทยที่ห่วงใยสถานการณ์บริเวณปราสาทพระวิหาร โปรดอย่าเชื่อนักข่าวหรือคารมใครโดยง่าย แต่โปรดนำนโยบายและผลงานที่ผ่านมาของพรรคการเมืองเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารไปพิจารณาประกอบว่า นักการเมืองคนใดจากพรรคใด จะนำสันติภาพและความเจริญรุ่งเรื่องมาสู่ประเทศไทยอย่างแท้จริง.

บทวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหาร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962

ที่มา.Siam Intelligence Unit
----------------------------------

คำเตือน:ไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้วจริงหรือ !!?

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.
ที่มา http://www.facebook.com/verapat.pariyawong

จากช่วงคืนที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยได้รายงานว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศว่าไทยได้ “ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก” บ้างก็ว่า “ถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลก” บ้างก็ว่า “Thailand has withdrawn from the World Heritage Convention” ล่าสุดคุณสุวิทย์เองใช้คำว่า “คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา” (http://twitter.com/#!/SuwitKhunkitti).

ผู้เขียนยังไม่พบหนังสือ ถ้อยแถลง หรือคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยว่า “การถอนตัว” ดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นใด แต่ในยุคสมัยที่สื่อมวลชนต่างชิงเสนอข้อมูลจาก Twitter เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงจำต้องตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นเพิ่มเติมอีกบางบรรทัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนดังนี้.

ไทยจะ “ถอนตัว” (withdraw) จาก “ภาคีมรดกโลก” ได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องการใช้สิทธิตามขั้นตอนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักก็คือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (“อนุสัญญามรดกโลกฯ”) ซึ่งไทยอาจ “ยังคง” เป็น หรือ “เคย” เป็น “ภาคีอนุสัญญา” (“ภาคี” ในที่นี้ก็หมายถึง “คู่สัญญา” ที่ยอมผูกพันตามกฎหมายนั่นเอง).

กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าไทยมีสิทธิถอนตัวจากการเป็น “ภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ” โดยการ “ประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) ทั้งนี้ตามที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 กำหนดสิทธิไว้ ดังนี้:

Article 35

1. Each State Party to this Convention may denounce the Convention.
2. The denunciation shall be notified by an instrument in writing, deposited with the Director-General of the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.
3. The denunciation shall take effect twelve months after the receipt of the instrument of denunciation. It shall not affect the financial obligations of the denouncing State until the date on which the withdrawal takes effect.

(เน้นคำโดยผู้เขียน ตัวบทอนุสัญญามรดกโลกฯ อ่านได้ที่ http://whc.unesco.org/en/conventiontext)

หากการ “ถอนตัว” ที่คุณสุวิทย์ได้กระทำไปในนามรัฐบาลไทยคือการใช้สิทธิ “ประกาศไม่ยอมรับ” หรือ denounce ตามความในข้อ 35 ข้างต้น ผลทางกฎหมายที่ตามมาก็คือ “การประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) นั้น มิได้ส่งผลเป็นการ “ถอนตัว” (withdrawal) โดยทันที แต่การถอนตัวจะเริ่มมีผลต่อเมื่อครบกำหนด 12 เดือน จากวันที่คุณสุวิทย์ได้ยื่นหนังสือไปยังยูเนสโก ซึ่งอาจหมายความว่า (ผู้เขียนย้ำว่า “อาจ”) ณ วันนี้ ไทยเองยังคงมีทั้งสิทธิและหน้าที่ในฐานะภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2555 (นอกจากไทยจะได้ตั้งข้อสงวนเรื่องนี้ไว้ แต่ผู้เขียนไม่พบข้อสงวนของไทยในบันทึกการเข้าเป็นภาคี UNTS Vol 1484 No 15511 เมื่อ ค.ศ. 1987 แต่อย่างใด).

หลักกฎหมายและเงื่อนไขระยะเวลาที่ปรากฏอยู่ในอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 ที่ผูกพันไทยนี้ สอดคล้องรองรับกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญ คือ ข้อ 56 และ ข้อ 70 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (แม้ไทยจะมิได้เข้าผูกพันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาโดยตรง แต่อาจมองในทางกฎหมายได้ว่าหลักดังกล่าวเป็นหลักทั่วไปที่ยอมรับนับถือโดยสากลกว่า 100 ประเทศทั่วโลก).

ถามต่อว่า ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนนี้ ไทยจะเสียเปรียบกัมพูชา หรือไทยจะตกอยู่ใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ไทยจะต้องยอมรับผูกพันตามมติ หรือ แผนบริหารจัดการบริเวณปราสาทพระวิหารอันจะกระทบต่ออธิปไตย หรือความได้เปรียบเสียเปรียบในศาลโลกหรือไม่ อย่างไร?

ผู้เขียนตอบเบื้องต้นเป็นขั้นๆ ดังนี้.

1. อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่น

การเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ มิได้หมายความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ เพราะสังคมระหว่างประเทศได้ออกแบบให้อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่นบนพื้นฐานของความร่วมมือช่วยเหลือ (co-operation and assistance) และมิใช่พันธกรณีที่บังคับควบคุมโดยเด็ดขาด เห็นได้จากการที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่ผูกพันไทยอย่างยืดหยุ่น เช่น

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 4 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้” (It will do all it can to this end…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 5 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะพยายามอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับ[ประเทศไทย]” (…shall endeavor, in so far as possible, and as appropriate for each country…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 7 ใช้ถ้อยคำว่า “เพื่อจัดตั้งระบบความร่วมมือระหว่างและช่วยเหลือประเทศอันที่จะสนับสนุนภาคีอนุสัญญาฯ” (…the establishment of a system of international co-operation and assistance designed to support State Parties to the Convention…).
- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 11 (3) ใช้ถ้อยคำสงวนสิทธิว่าการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิของไทย (…shall in no way prejudice the rights…) ที่ยังมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนหรืออธิปไตยกับกัมพูชา เป็นต้น.

ดังนั้น แม้หากวันนี้ไทยยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯอยู่ ไทยย่อมสามารถตีความอนุสัญญาโดยสุจริตว่าไทยจะร่วมมือและช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยไม่กระทบต่อสิทธิของไทยที่มีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับกัมพูชา. ผู้เขียนย้ำว่ากฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับประเทศที่ชาญฉลาดและแยบยล.

2. กฎหมายระหว่างประเทศให้สิทธิไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญามรดกโลกฯ หากมีกรณีจำเป็น

แม้สุดท้ายจะมีผู้ใดตีความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ หรือไม่อย่างไร กฎหมายระหว่างประเทศก็ยังคงเปิดช่องให้ไทยมีสิทธิยกข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามมตินั้น อาทิ หลักกฎหมายทั่วไปเรื่อง fundamental change of circumstances หรือ rebus sic stantibus เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 62 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 หรือ หลักกฎหมายว่าด้วยความจำเป็น (necessity) เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 25 แห่งร่างข้อกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐ (ILC Draft Articles on State Responsibility).

ไทยสามารถอ้างสิทธิตามหลักกฎหมายเหล่านี้ เพื่อต่อสู้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญและกระทบถึงความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพระหว่างประเทศ ไทยจึงมีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะไม่ปฏิบัติตามมตินั้น อย่างไรก็ดี การยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไทยมีภาระพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ย่อย และมิใช่อ้างได้โดยง่าย.

3. เรื่องอนุสัญญามรดกโลกฯ ทำให้ไทยกังวลเกี่ยวกับคดีในศาลโลก

ไม่ว่านักกฎหมายจะตีความ “การถอนตัว” กันอย่างไร แต่ผู้เขียนเองในฐานะผู้เคยช่วยทำคดีในศาลโลก ก็ไม่แปลกใจหากทีมทนายความของไทยซึ่งกำลังมีคดีอยู่กับกัมพูชาในศาลโลก จะเลือกใช้ “การถอนตัว” เป็นการแสดงออกในทางพฤตินัยเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าในทางนิตินัยไทยจะยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ และต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการมรดกโลกหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยไทยก็อ้างต่อศาลโลกได้เต็มปากว่า โดยพฤตินัยนั้น ไทยไม่ยอมรับการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารใดๆ ที่อาจมีนัยกระทบต่ออธิปไทยทางดินแดนของไทย.

จุดนี้อาจเป็นเพราะว่าแท้จริงแล้วไทยอาจกังวลกับผลจากการตีความคำพิพากษาโดยศาลโลกที่มีผลผูกพันไทยโดยตรง มากกว่าเรื่องมติมรดกโลกที่ยืดหยุ่นและเป็นเพียงแง่ทางกฎหมายประกอบแง่หนึ่งเท่านั้น อีกทั้งการกลับเข้าเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ย่อมไม่เป็นปัญหาเท่ากับความเสี่ยงที่กัมพูชาจะนำมติไปอ้างให้ไทยเสียเปรียบในศาลได้.

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

จากข่าวสารที่รวดเร็วแต่ไม่มีความชัดเจน ผู้เขียนเข้าใจว่าการถอนตัวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะคุณสุวิทย์สามารถเจรจาให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้สำเร็จ แต่เมื่อร่างมติที่นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกยังมีถ้อยคำเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาอยู่ คุณสุวิทย์จึงยืนยันถอนตัว ในทางหนึ่งย่อมมองได้ว่าเป็นการทำหน้าที่อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติอันน่าชื่นชม.

แต่อีกทางหนึ่ง ก็อาจมีผู้โจมตีว่าไทยขาดความน่าเชื่อถือในเวทีโลก เช่น ไทยขู่ถอนตัวเพื่อตั้งแง่การเจรจาให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการ (โดยทั่วไป) ออกไป และแม้สุดท้ายไทยจะได้ตามที่ต้องการ ก็ยังคงถอนตัวเพื่อประโยชน์ทางรูปคดี (เกี่ยวกับถ้อยคำบางคำ) อยู่ดี ทั้งที่ไทยจะถอนตัวแต่แรกก็ได้ หรือจะมองอย่างเสียดสีว่าเป็นเพียงการเรียกคะแนนนิยมก่อนวันเลือกตั้ง ฯลฯ.

การมองเหล่านี้มิใช่การมองทางกฎหมาย และอาจเป็นการด่วนสรุปที่ไม่เป็นธรรม แม้ผู้เขียนจะมีความเชื่อว่าคณะคุณสุวิทย์และตัวแทนฝ่ายไทยทุกท่านย่อมยึดประโยชน์ชาติเป็นใหญ่ แต่ผู้เขียนก็มิอาจแสดงความเห็นได้ เพียงแต่เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการตัดสินใจและชี้แจงให้ประชาชนทราบโดยเร็ว.

ที่สำคัญ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post (http://bit.ly/llkquo) รายงานว่าการตัดสินใจของคุณสุวิทย์นั้น โดยหลักเป็นเพราะคุณสุวิทย์และผู้แทนกรมศิลปากรไม่สบายใจกับถ้อยคำในร่างมติ แต่กระทรวงการต่างประเทศไทยกับไม่ติดใจถ้อยคำดังกล่าว (“Mr Suwit and Fine Arts Department representatives disapproved of the wording, while the Foreign Ministry was happy with it”).

ผู้เขียนไม่ทราบว่าข่าวนี้จริงเท็จและมีรายละเอียดเช่นใด แต่หากนักการทูตและนักกฎหมายระหว่างประเทศชั้นนำของไทยไม่มีปัญหากับร่างมติจริง ประชาชนก็สมควรได้รับคำอธิบายอย่างชัดเจนทุกแง่มุม (เท่าที่จะไม่เสียรูปคดี) อาทิ
- ถ้อยคำในร่างมติดังกล่าวมีนัยอย่างไรในมุมมองของแต่ละหน่วยงาน?
- ปัจจุบันไทยยังคงมีสถานะเป็นภาคีหรือไม่ และไทยเคยตั้งข้อสงวนเรื่องการถอนตัวหรือไม่?
- ไทยยังใช้สิทธิผ่านกรรมการของไทยในที่ประชุมมรดกโลกได้หรือไม่?
- หากที่ประชุมมีท่าทีเปลี่ยนไปแล้วไทยจะเปลี่ยนใจยับยั้งการถอนตัวได้หรือไม่?
- แม้การถอนตัวจะไม่กระทบต่อสถานะมรดกโลกในไทย แต่หากถอนตัวไปแล้ว ไทยจะยังคงดูแลอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวไทยผู้ดูแลมรดกของชาวโลกหรือไม่? อนาคตของว่าที่มรดกโลกอื่นในไทยจะเป็นอย่างไร?
- ไทยได้เสียเรื่องอื่นอย่างไร เช่น เงินอุดหนุนที่ไทยต้องจ่าย (ซึ่งอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 บอกว่าไทยยังต้องจ่ายต่ออีก 12 เดือน) เงินสนับสนุนที่ไทยได้รับเกี่ยวกับมรดกโลก หรือ ผลกระทบต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรมกับ UNESCO?

สุดท้าย สำหรับประชาชนคนไทยที่ห่วงใยสถานการณ์บริเวณปราสาทพระวิหาร โปรดอย่าเชื่อนักข่าวหรือคารมใครโดยง่าย แต่โปรดนำนโยบายและผลงานที่ผ่านมาของพรรคการเมืองเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารไปพิจารณาประกอบว่า นักการเมืองคนใดจากพรรคใด จะนำสันติภาพและความเจริญรุ่งเรื่องมาสู่ประเทศไทยอย่างแท้จริง.

บทวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหาร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962

ที่มา.Siam Intelligence Unit
----------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สุวิทย์ คุณกิตติ นำไทยถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว..!!?

เมื่อคืนนี้เวลาประมาณ 0.00 น ตามเวลาของประเทศไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาของฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศว่าไทยได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หลังจากที่ประชุมตัดสินใจบรรจุวาระการประชุมเรื่องปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาเสนอ
นายสุวิทย์ คุณกิตติ ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการ (ภาพจากทวิตเตอร์ของนายสุวิทย์)
นายสุวิทย์ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าได้รับคำอนุมัติจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
ในทวิตเตอร์ของนายสุวิทย์ @SuwitKhunkitti ได้เล่าข้อมูลของการตัดสินใจถอนตัวว่า ได้ทำทุกอย่างที่ควรทำไปหมดแล้ว โดยฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการประชุมเรื่องปราสาทพระวิหารออกไป และถ้าไม่เลื่อนฝ่ายไทยจะถอนตัว
นายสุวิทย์กล่าวผ่านทวิตเตอร์เป็นระยะว่า
เรายื่นข้อเสนอของไทยง่ายๆครับ ไม่เลื่อนก็เลิก ต้องวัดใจกันแล้ว คาดว่าดึกๆหน่อยคงรู้ผลครับ
โค้งสุดท้ายแล้วครับ ผมยื่นคำขาดถ้าไม่รับข้อเสนอของไทย ก็ต่างคนต่างไปครับ
น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและ วัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก
การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตย ของเรา
ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว
กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว
นายสุวิทย์ยังเปิดเผยอีกว่าทางคณะกรรมการมรดกโลกได้ขอให้ฝ่ายไทยไม่ยื่นหนังสือลาออก แต่นายสุวิทย์ตอบไปว่าสายไปแล้ว และเตือนให้ประเทศไทยพร้อมรับมือการโจมตีจากฝั่งกัมพูชา ซึ่งนายสุวิทย์บอกว่าจะเปิดทุกครั้งเมื่อการเจรจาล้มเหลว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมการมรดกโลกตกใจกับการถอนตัวครั้งนี้ เพราะเป็นครั้งแรกที่มีชาติลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก อย่างไรก็ตามการลาออกครั้งนี้ไม่มีผลต่อมรดกโลกของไทยแหล่งต่างๆ ในปัจจุบัน


ที่มา.Siam Intelligence Unit
******************************************************************

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝ่ายค้านแบบ ชูวิทย์. เข้าสภา ผมจะตั้งโต๊ะขุดรากขึ้นมาด่า ..!!?

คอลัมน์ คู่แข่ง คู่สนาม



2พรรคใหญ่ชิงเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล

3 พรรคเล็กเสนอตัวเป็นแกนตามฝ่ายรัฐบาล

หัวหน้าพรรคขนาดย่อม "ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์" แห่งพรรครักประเทศไทย คนเดียวที่หาเสียงทวนสวนกระแส เสนอตัวเป็นฝ่ายค้าน

- การเมืองในสายตาคนที่ชื่อ "ชูวิทย์"

พรรคการเมืองทุกวันนี้ใช้ระบบนอมินีเหมือนกันหมด ใช้ภรรยา ลูก สามี พี่สะใภ้ แม้กระทั่งคนขับรถ เข้ามาบริหารไม่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน

นโยบายแต่ละพรรคก็ทำไม่ได้ เพราะใช้หลักคิดการเมืองนำหน้าเศรษฐกิจ คิดถึงแต่คะแนนเสียงมากกว่าทุกข์ร้อนของประชาชน
บัตรเครดิตชาวนา ผมรู้ว่าคุณทักษิณเอามาจากประเทศอินเดีย ที่นั่นชาวนาฆ่าตัวตายกันเยอะ แต่ผมไม่กล้าเถียง เพราะชาวนาเขาก็เอาด้วย

- ปัญหาการเมืองไทยอยู่ตรงไหน

ไม่มีใครพูดถึงวิธีหาเงิน พูดกันแต่วิธีใช้อย่างเดียว เอาแค่ธุรกิจอาบอบนวดที่ผมเคยทำ รัฐบาลกล้าพอไหมที่จะดึงคนเหล่านี้มาอยู่ในระบบ
คมนาคมขนส่งระบบราง อย่างแอร์พอร์ตลิงก์วิ่งได้เต็มที่ 20-30 กิโลเมตร
จะขยายไปถึงพัทยาแอร์พอร์ตลิงก์ 60 นาที วิ่งได้ 6 ขบวน มีคนนั่งขบวนละ 6 คน แต่ลงทุนไป 2 หมื่น‰ลˆาน น่าจะใช้เวลาสัก 1,000 ปี ถึงจะคุ้มทุน
จุดบอดข้อต่อมาคือยกกิจการให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้บริหาร ลำพังของตัวเองก็จะเจ๊งอยู่แล้ว เรื่องพวกนี้ไม่มีใครมอง มัวแต่โทษกันว่าสร้างกันสมัยใคร อันไหนดีก็แข่งกันอวดอ้าง อันไหนแย่ก็ผลักให้ออกจากตัว นี่คือวิสัยทัศน์ของการเมืองไทย ปัญหามันอยู่ตรงนี้

- แล้วประเทศควรจะเดินหน้าอย่างไร

คนไทยทุกคนต้องรับภาระข้าวของแพง พ่อค้านายทุนเสนอทฤษฎี 2 สูง เราก็เชื่อ เพราะคนไทยเทิดทูนคนรวย เทิดทูนนายทุน บริษัทพวกนี้ควบคุมกลไกการตลาดครบวงจร ทุกวันนี้ร้านค้าสะดวกซื้อไปที่ไหนก็มี ผมถามว่าใครล่ะที่ควบคุมวงจรเหล่านี้
วันนี้ประเทศไทยอยู่ในทฤษฎีสูง-ต่ำ คืออาหารแพง ค่าแรงต่ำ เพราะนายทุนเป็นคนกำหนดราคา มันต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่ใช่เอะอะก็ทำแต่ธงฟ้า
หากจะว่ากันเรื่องประชานิยม ต้องทำให้ได้เหมือนประเทศเกาหลี-ไต้หวัน โอนเงินสดใส่บัญชีให้กับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป คนละ 40,000 บาท คนจนก็ได้รับ มหาเศรษฐีก็ได้รับ เท่าเทียมกันไปเลย

- แผนหาเงินเข้าประเทศทำอย่างไร

1.เชิญชวนให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยการลดภาษีนิติบุคคล
2.กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ควรจะหาเงินกับคนรวย ลดภาษีนิติบุคคลให้ต่ำกว่า 35%
3.แก้ปัญหาทุจริต ผมจะพูดเลยว่าพ่อค้าทุกคนคอร์รัปชั่นเหมือนกันหมด

- แล้วคนชื่อ "ชูวิทย์" หาเสียงอย่างไร

ผมหาเสียงกับกระแส ผมหาเสียงกับเสาไฟฟ้า ยึดหน้าสื่อ
หลักการคือผมเป็นนักกระดาน โต้คลื่น ผมต้องอยู่บนกระดานตลอด ต้องคอยดูว่ากระแสลูกไหนจะทำให้เดินหน้าต่อ
แต่การเลือกตั้งมี 3 กระแส กระแสต้น ออกตัวดีก็ไม่ได้บอกว่าจะชนะ กระแสกลาง ตอนนี้ต้องสู้กันอีกเยอะ ส่วนกระแสท้าย เรารู้อยู่แล้วว่ามี 2 พรรคใหญ่ เขาสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย ผมตัวคนเดียวจะไปทำอะไรได้

- ประชาชนจะได้อะไร หากชูวิทย์เป็นฝ่ายค้าน

เหตุที่รัฐบาลไม่ได้เข้มแข็ง มาจากฝ่ายค้านอ่อนแอ แล้วจะปล่อยรัฐบาลเข้มแข็งอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไร งบประมาณประเทศอยู่ที่นั่นหมด พวกเขามัวแต่คิดกันว่าจะแบ่งเค้กอย่างไร จะให้ใครบ้างใน 4 ปี แบบนี้มันอันตรายสำหรับประเทศ
ผมล้มรัฐบาลไม่ได้หรอก แต่สามารถเขย่าเขาได้ ผมจะเป็นฝ่ายค้านตลอด 4 ปี ผมก็อาศัยนำเสนอตัวเองเป็นฝ่ายตรวจสอบ
นักการเมืองต้องวางตำแหน่งของตัวเองให้ชัด อย่างผมเสนอตัวเองเป็นฝ่ายค้าน ก็ต้องวาดลวดลายให้สมกับบทบาท

- หากมีคนชวนร่วมงานกับรัฐบาลให้เก้าอี้รัฐมนตรี

เป็นไปไม่ได้หรอก ผมเดินไม่ได้หรอกตัวคนเดียว วันนี้ผมเป็นคนไม่มีพวก ที่สำคัญหลายพรรคก็ไม่รับผม เขาว่าผมไม่มีวินัย ผมเลยต้องมาตั้งพรรคเอง แต่พรรคการเมืองไทยต่างหากล่ะที่ไม่มีวินัย เล่นพรรคเล่นพวก
ไม่ว่าจะเป็น ปชป. หรือเพื่อไทย ไปดูลำดับบัญชีรายชื่อก็แล้วกัน ว่าพรรคที่มีอุดมการณ์ขนาดนั้นก็ยังจัดลำดับตามเงิน ให้มาก่อนลำดับอาวุโส คนเหล่านี้มันก็พวกหวังผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น
ประเด็นสำคัญคือผมเป็นคนพูดตรง พูดชัดเจนเกินไป นักการเมืองบางท่านก็รับไม่ได้ มาฟ้องผม ถามว่าผมเคารพท่านหรือไม่ ผมเคารพนะ ตามวัฒนธรรมไทย แต่ไม่นับถือ เพราะมันไม่ได้ออกมาจากใจจริง

- งานแรกที่จะทำหากได้เป็นฝ่ายค้าน

ผมเตรียมไว้แล้ว คุณจำไว้เลย พอวันที่ 3 ก.ค. บรรดาพรรคการเมืองต้องไปคุยกันในที่ลับ เพื่อจับมือกันว่าทำอย่างไร วันที่ผมเข้าไปสภาวันแรก ผมจะตั้งโต๊ะขุดรากขึ้นมาด่าเลย ว่ามาทำปรองดองอะไรกันตอนนี้
ผมถามหน่อยเถอะ วันที่ประชาชนตายกัน 91 ศพ เขาหายไปไหนกันหมด ไม่เห็นมีใครพูดถึง ผมรู้ทัน วันนี้ทาสีชมพู ออกปากพูดว่าปรองดอง แต่วันนั้นที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ทุกคนเงียบหมด ทั้งที่อยู่ในรัฐบาลเดียวกัน
สุดท้ายคนชื่อชูวิทย์คนเดียวจะทำอะไรได้ ผมก็บอกว่าทำไม่ได้ บ้าหรือเปล่า เอาเป็นว่า ทำให้มันพอสมควร เราเห็นปัญหาทุกอย่างอยู่แล้ว แค่เข้าใจก็เรียกว่าดีแล้ว ผมก็บอกไว้เลยว่าทำไม่ได้หรอก ผมไม่ใช่ฮีโร่

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
********************************************

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปฏิกริยาสื่อต่างชาติ-หนังสือพิมพ์ไทย หลังปราศรัยใหญ่ประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย.

พรรคประชาธิปัตย์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการชิงพื้นที่สื่อ หลังการปราศรัยใหญ่ 23 มิ.ย. ที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งถูกจับตาว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งในการเลือกตั้ง 3 ก.ค. ครั้งนี้
สื่อในประเทศไทยรายงานประเด็นไปในทางเดียวกันว่า พรรคประชาธิปัตย์ชูประเด็น “ต้านทักษิณ” กลับมาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “ถอนพิษ ทักษิณ” หรือที่หนังสือพิมพ์ Bangkok Post แปลเป็นภาษาไทยว่า “Detoxify Nation” (ถอนพิษให้ประเทศ)
พาดหัวหนังสือพิมพ์ 23 มิ.ย. 2554
อย่างไรก็ตาม อีกประเด็นที่น่าจับตาดูคือ สื่อต่างชาติมองการปราศรัยครั้งนี้อย่างไร

AFP

สำนักข่าว AFP โดยผู้สื่อข่าว Thanaporn Promyamyai พาดหัวข่าวว่า “Thai PM turns up heat on rivals as vote beckons” ซึ่งสนใจเรื่องความร้อนแรงของสถานการณ์หาเสียงจากทั้งสองฝ่ายนั้นเอง
AFP มองว่าการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์เป็น “การโจมตีอย่างเสียดแทง” (scathing attack) ต่อฝ่ายตรงข้าม เพื่อพลิกฟื้นความนิยมในตัวเขากลับมาก่อนเลือกตั้ง
ส่วนคำพูดสำคัญที่ AFP นำไปรายงานคือ คำพูดหลักของนายอภิสิทธิ์ว่า “โอกาสนี้ เป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่เราจะถอนพิษทักษิณ ออกจากประเทศ” และ “พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ จะเหมือนตัวประกันของคนนิยมความรุนแรงตลอดไป”
นักการทูตจากชาติตะวันตกคนหนึ่งให้ความเห็นกับ AFP ว่าการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ออกแบบมาให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนในเขตกรุงเทพเกิดอาการ “หวาดกลัวทักษิณ” แต่เขาให้ความเห็นว่าจริงๆ แล้ว คนชั้นกลางในกรุงเทพอาจไม่รู้สึกกลัวพรรคเพื่อไทยมากขนาดนั้น

Bloomberg

สำนักข่าว Bloomberg โดยผู้สื่อข่าว Daniel Ten Kate และ Suttinee Yuvejwattana ใช้พาดหัวตามคำพูดของนายอภิสิทธิ๋ว่า “Thai Election is Chance to Remove ‘Venom’: Abhisit” โดยยกประโยคของนายอภิสิทธิ์ว่า “เป็นโอกาสที่ดีที่จะถอนพิษทักษิณ” มาเป็นประเด็นหลักของเนื้อข่าวเช่นกัน
นอกจากนี้ Bloomberg ยังให้ความสำคัญกับประโยค “ประกาศให้คนไทยและชาวโลกรู้ว่า ประเทศไทยไม่ใช่ของคนหนึ่งคน หรือหนึ่งสี ประเทศนี้ต้องเป็นของทุกคน ทุกสี” ของนายอภิสิทธิ์ด้วย
Bloomberg ประเมินว่ามีผู้มาฟังการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ประมาณ 5,000 คน และอ้างความคิดเห็นของ รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า “ถ้าพรรคประชาธิปัตย์แพ้ในกรุงเทพ พวกเขาจะไม่เหลืออะไรเลย”
Bloomberg ยังกล่าวถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ดัชนีหุ้นร่วงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยหลังเลือกตั้ง

AP

สำนักข่าว AP โดยผู้สื่อข่าว TODD PITMAN และ THANYARAT DOKSONE เลือกพาดหัวข่าวถึงการเลือกทำเลปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นทำเลที่ “อ่อนไหว” ในทางการเมือง Thai PM rallies crowds at sensitive protest site
AP รายงานคำพูดของนายอภิสิทธิ์ว่าจงใจเลือกทำเลที่ราชประสงค์ แต่ไม่มีเจตนาสร้างความแตกแยก และราชประสงค์เป็นพื้นที่จุดหนึ่งในประเทศไทย ที่เป็นของคนไทยทุกคน และการยอมรับของนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่าร้องไห้ในคืนวันที่ 10 เม.ย.
AP รายงานว่าตอนแรกมีความกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงและการปะทะที่ราชประสงค์อีกครั้ง แต่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยได้ประกาศให้กลุ่มคนเสื้อแดงหลีกเลี่ยงการไปที่ราชประสงค์ เหตุการณ์เลยจบลงด้วยดี

Voice of America

สำนักข่าว Voice of America ส่งผู้สื่อข่าว Ron Corben ลงพื้นที่กรุงเทพ และรายงานข่าวด้วยโทนใกล้เคียงกับ AP ว่า Thai Ruling Party Stages Rally at Emotional Site ซึ่งเน้นทำเลการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าเนื้อหาการปราศรัย
Voice of America ยังบอกว่าจำนวนผู้ฟังการปราศรัยนับได้ “หลายพัน” (thousands) และอ้างคำสัมภาษณ์ของ “อิสรา สุนทรวัฒน์” อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่าถึงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์จะอธิบายสังคมว่าเกิดอะไรขึ้นในเหตุการณ์ปี 2553 เพราะระหว่างการหาเสียงโดนโจมตีกรณี 91 ศพจากฝ่ายเสื้อแดงทุกวัน
ประเด็นที่ Voice of America สนใจคือคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่า “ไม่มีคนตายที่ราชประสงค์”

Asian Correspondent

สื่อกระแสรองอย่าง Asian Correspondent เว็บไซต์ลูกผสมระหว่างข่าว-ความเห็นจากบล็อกเกอร์การเมืองทั่วเอเชีย ได้เผยแพร่บทความ Thailand’s Democrat Party rally: Reclaiming (the truth about) Rajaprasong โดย Saksith Saiyasombut นักข่าวอิสระที่รายงานจากพื้นที่ราชประสงค์
ผู้สื่อข่าวของ Asian Correspondent รายงานบรรยากาศในพื้นที่การปราศรัยว่า ไม่มีการปิดถนนอย่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่นั่นเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์สามารถเจรจาใช้พื้นที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ (ซึ่งเป็นพื้นที่ของเอกชน) ที่กลุ่มคนเสื้อแดงไม่สามารถขอได้ ฝูงชนมีประมาณ 5,000 คน และถึงแม้จะมีฝนตก 2 รอบก็ไม่สามารถหยุดยั้งมวลชนไม่ให้หลั่งไหลมาได้
รายงานของ Asian Correspondent เน้นไปที่คำปราศรัยของนายสุเทพ ที่เล่นประเด็นเรื่อง เสธ.แดง และกลุ่มคนเสื้อแดงที่สมัคร ส.ส. กับพรรคเพื่อไทย ส่วนคำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เน้นการโจมตี พ.ต.ท. ทักษิณ
Asian Correspondent มองว่าการปราศรัยใหญ่ 23 มิ.ย. ครั้งนี้เป็นการ “ทวงคืน” พื้นที่ราชประสงค์ในทางสัญลักษณ์ และเป็นความพยายามในการเปลี่ยนวิธีตีความ (reclaim the sovereignty of interpretation) ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 19 พ.ค. 2553

ที่มา.Siam Intelligence Unit

ยังวิกฤต !!?


ใจชื้นขึ้นมาทันทีที่เห็น 4 กกต.บินกลับถึงเมืองไทยเมื่อเช้าวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา

เพราะช่วงที่ทั้ง 4 กกต.บินไปเมืองนอกเมื่อสัปดาห์ก่อน แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย

สร้างความวิตกกังวลกันไปทั่วเมือง

กลัวจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มิ.ย.นี้หรือเปล่า

เลือกตั้งใหญ่ 3 ก.ค.นี้จะเกิด"อุบัติเหตุทางการเมือง" อย่างที่คนไทยหวั่นไหวใจกันหรือไม่ !!

พอเห็นทั้ง 4 กกต.กลับมาโดยสวัสดิภาพก็โล่งอกไปเปลาะหนึ่ง

แต่ก็ยังต้องลุ้นกันต่อไปว่า ถึงที่สุดแล้วจะมีการเลือกตั้งจริงหรือไม่อยู่ดี

สถานการณ์การเมืองตอนนี้ยังง่อนแง่น

"ยุทธศาสตร์ราชประสงค์"ของพรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นที่กังวลอยู่

ว่าจะเป็น"เงื่อนไข"นำไปสู่ความวุ่นวายอีกครั้งหรือเปล่า

อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าการเมืองไทยต่อจากนี้ไปจะปลอด"อำนาจพิเศษ"

อย่าว่าแต่คนไทยเลย แม้แต่นานาชาติก็จับจ้องมองการ เมืองไทยชนิดไม่กะพริบตา

สำนักข่าวเอพีรายงานบทวิเคราะห์การเมืองไทยล่าสุดโดยนายโจชัว เคอร์แลนต์ซิก ผู้เชี่ยวชาญสถาบันวิจัยด้านกิจการวิเทศสัมพันธ์ของสภาด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศสหรัฐ

มองว่าแม้โพลหลายสำนักของไทยต่างระบุตรงกันว่าพรรคเพื่อไทยของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคะแนนนิยมนำโด่ง

แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้เป็นนายกฯหญิงคนแรก

เพราะเห็นว่าการแข่งขันครั้งนี้จะขยายวิกฤตการเมืองของไทย

ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยอาจถูกทำให้เป็นโมฆะด้วยการรัฐประหาร

หรือการเล่นเกมจัดตั้งรัฐบาลหลังฉากของพรรคประชาธิปัตย์

ซึ่ง 2 เหตุการณ์นี้น่าจะทำให้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นอีกครั้ง

อีกสำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่บทความพิเศษของนายมาร์ติน เพ็ตตี้ ซึ่งวิเคราะห์การเลือกตั้งไทยว่า

หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ชนะนายอภิสิทธิ์ การรัฐประหารจะเป็นทางเลือกหนึ่ง

แม้ว่าสิ่งนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้ว

และจะทำให้คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมบนท้องถนนซ้ำรอยเหตุการณ์ครั้งที่แล้ว

บทวิเคราะห์ทั้ง 2 ชิ้นเป็นมุมมองของสื่อต่างประเทศ

ในขณะที่กองทัพก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะวางตัวเป็น กลางในการเลือกตั้งครั้งนี้

ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเด็ดขาด

ฉะนั้น ต้องรอดูผลการเลือกตั้งหลังวันที่ 3 ก.ค.นี้

เมืองไทยจะหนีพ้นวิกฤตดังที่สื่อระดับโลกห่วงใยหรือไม่ !?

ที่มา.ข่าวสดรายวัน
***************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จับตาดูปชป..ปราศรัย ราชประสงค์

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
aaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaa
cccccccccccccccccccccccccccccccccccccccc

โค้งอันตราย 5 พรรค พท.-ปชป.เหยียบคันเร่ง พรรคเล็กเจรจาลับก่อน เดดล็อก..!!?

คอลัมน์ เลือกตั้งรัฐบาล 2554



เพราะปลายสัปดาห์ วันที่ 26 มิถุนายน 2554 คือวันเลือกตั้งล่วงหน้า

เพราะผลโพลของ 2 พรรคใหญ่ อยู่ในระดับแพ้-ชนะไม่เกิน 10 เสียง

เพราะผลโพลของ 3 พรรคเล็ก เริ่มมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทยจึงจงใจเหยียบคันเร่ง เพื่อข้ามโค้งอันตราย เข้าสู่โค้งสุดท้าย ชิงชัยเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล

ฝ่ายประชาธิปัตย์มีเสียงเดิม 172 เสียง ตั้งเป้ากลับเข้าทำเนียบ ด้วยตัวเลข "สุเทพโพล" โดยการเหยียบคันเร่งเพิ่มระดับความเร็วให้ได้ไม่น้อยกว่า 210 เสียง

ผลโพลประวัติศาสตร์ของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ยังยืนยัน "จะชนะ"ฝ่ายเพื่อไทยถึง 10 เสียง ดังนั้น หากเอาจำนวน 400 ส.ส. จาก 2 พรรค เป็นตัวตั้ง

ตัวเลขที่เป็นไปได้ในสายตาประชาธิปัตย์ คือหากเพื่อไทยได้ 190-200 เสียง เท่ากับประชาธิปัตย์ได้ 210 เสียงโดยปริยาย

เสียงชี้ขาดเป็นเสียงจากสวรรค์ของทั้ง 2 พรรคใหญ่ จึงอยู่ในตารางคะแนนระบบปาร์ตี้ลิสต์ที่มียอดรวม 125 คน

2 พรรคแบ่งกันฝ่ายละ 50 คน ที่เหลือ 25 คน แบ่งกระจายไปตามพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก จนถึงพรรค 1-3 เสียง

แต่หากประชาธิปัตย์ หรือเพื่อไทย ทำคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ทะลุเกิน 50% เกินฝ่ายละ 50 คน ถือว่าได้ครอบครองชัยชนะอย่างแน่นอน

การออกตัว-กดคันเร่ง ในโค้งอันตรายของฝ่ายประชาธิปัตย์ จึงต้องเล่นบทบู๊-ล้างผลาญ ตีโอบเอาคะแนนทั้งในป่าและในเมือง

โดยแบ่งบทให้ "นายชวน หลีกภัย" ประธานที่ปรึกษาพรรค ลงพื้นที่รอบนอกทั้งพื้นที่สีแดง-สีเขียว เน้นชิงคะแนนพื้นที่สุ่มเสี่ยง-หวังเติมคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ให้เต็มจำนวน

ควบคู่กับบทจรยุทธ์ในเมืองของ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค ที่ทั้งลงพื้นที่-เดินสาย-ตั้งเวทีปราศรัย เน้นโจมตีจุดอ่อนฝ่ายตรงข้ามแบบชอตต่อชอต ประเด็นต่อประเด็น นโยบายต่อนโยบาย เติมคะแนนระบบเขตให้แน่นตาราง

<><><><> <><><><> <><><><>



แผนงาน-กำหนดการหาเสียงประจำวันของ "อภิสิทธิ์" จึงแน่นตารางไปจนถึงวันเลือกตั้ง ด้วยการปราศรัยในเมืองใหญ่ ๆ สลับกับการปราศรัยในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ 2 สัปดาห์สุดท้าย

นอกจากเวทีใหญ่ใจกลาง "ราชประสงค์" ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 แล้ว ยังมีเวทีย่อย ๆ ย่านชานเมือง สลับฉาก

ยังมีเวทีเก็บตกใน "พื้นที่เสี่ยง" ที่ต้องอาศัยวิชาประชาธิปัตย์ ความสามารถเฉพาะตัว ของทั้ง "ชวน" และ "อภิสิทธิ์" อย่างพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้อง "ลงแรง" กันทั้งพรรค

ในช่วง 10 วันก่อนลงคะแนนพร้อมกันทั่วประเทศ ขุนพลประชาธิปัตย์จะลงสนามแบบเต็มทีม

ทั้งเวทีราชประสงค์-และเวทีใหญ่ ก่อนปิดโหวตวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ประชาธิปัตย์จงใจจัดเต็ม ทั้งทีมการเมือง-เศรษฐกิจ หวังโกยแต้มทั้งในป่าและในเมือง

ในช่วงโค้งอันตรายของฝ่ายเพื่อไทย ยังคงใช้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และขุนพลการเมือง บ้านเลขที่ 111 และอดีตกรรมการบริหารพลังประชาชนชุด 39 คน เป็น "ตัวช่วย" ลงพื้นที่ร่วม

แบ่งขุนพลใหญ่ไปจรยุทธ์พื้นที่หัวเมืองทั้งเหนือ-อีสาน และเจาะพื้นที่อีสานใต้บางจังหวัด

ทั้ง จาตุรนต์ ฉายแสง และ ยงยุทธ ติยะไพรัช, วราเทพ รัตนากร ออกจากห้องประชุมลับในตึกชินวัตร ลงเดินดินในสนามจริงในเขตอีสาน ที่มีคู่แข่งอีก 3 พรรคเล็กรุมสกรัม

กลยุทธ์ลงพื้นที่ "ซ้อน-ซ้ำ" กับประชาธิปัตย์ ยังคงเป็นปฏิบัติการของฝ่ายเพื่อไทย อาทิ ทันทีที่ประชาธิปัตย์ปราศรัยในเขตวงเวียนใหญ่จบ 72 ชั่วโมงถัดมา ก็ซ้ำ-ซ้อนด้วยเวทีปราศรัยของฝ่ายเพื่อไทย ในเวทีเดิม

ตั้งแต่โค้งอันตรายถึงโค้งสุดท้าย ฝ่ายเพื่อไทยยังต้องวน-เวียนขึ้น-ลงพื้นที่อีสาน ควบคู่-ตีโอบในเมืองหลวง

พร้อม ๆ กับการเลี้ยงกระแส-ตอกย้ำความคิดผู้บริโภค-โหวตเตอร์ ไม่ให้ชื่อ "ยิ่งลักษณ์" หล่นจากพื้นที่ข่าวทั้งในสื่อทีวี และหนังสือพิมพ์ไทย-เทศ

เพิ่มดีกรีด้วยการ "โฟนอิน" และ "สไกป์" ในเวทีปราศรัยจากดูไบ ใช้เสียงและภาพของ "ทักษิณ" เป็นตัวช่วยเพิ่มแต้ม

อุณหภูมิการแข่งขันในโค้งอันตราย ไม่ใช่เพียงการเสียดสีของ 2 พรรคใหญ่ แต่ 3 พรรคเล็กก็ได้รับกลิ่นอายของ สงครามเลือกตั้ง

ทำให้ตัวแทน-หัวคะแนนของพรรคเล็ก คู่แข่ง-คู่แค้นในสนามเลือกตั้ง ถูกสังเวยด้วยชีวิต เพื่อชิงเก้าอี้ ส.ส. เมืองลพบุรี

เพียงเพราะ "ผลโพล" ตัวเลขผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย นำไปไกลกว่า 100%

ขณะที่ผลโพลโดยรวมของพรรคที่ทำการสำรวจถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ปรากฏผลว่าผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทยมีแต้มเพิ่มขึ้นทุกครั้ง

ระหว่างที่รอผลสำรวจครั้งสุดท้าย วันที่ 23 มิถุนายน ผลปรากฏว่า ภูมิใจไทยยังมีแต้มอยู่ในระดับที่ผู้บริหารพรรค "พอใจ"

ตัวเลขที่อยู่ในมือผู้มีบารมีในพรรคภูมิใจไทย มี 3 ระดับ คือ 1.กรณีเลวร้ายที่สุดได้ ส.ส.เขต+ปาร์ตี้ลิสต์ 55 คน

กรณีที่ 2 ระดับกลางได้ ส.ส.เขต+ ปาร์ตี้ลิสต์ 65 คน และกรณีสุดท้ายเหนือความคาดหมาย ตัวเลขรวมอยู่ในระดับ 75 คน ทั้งระบบเขตและปาร์ตี้ลิสต์

สมมติฐาน-ตัวเลขดังกล่าว ทำให้ "เนวิน ชิดชอบ" ประกาศในโค้งอันตรายของฝ่ายภูมิใจไทย ว่าต้องไม่มีใครตายฟรี

เมื่อตัวเลขของฝ่ายภูมิใจไทย ไปรวมกับตัวเลขของฝ่าย "บรรหาร ศิลปอาชา" ตัวเลขการเมือง สมการรัฐบาล จึงอยู่ในระดับปลอดภัยในกรอบ 100 เสียง

หากเสียงของฝ่ายภูมิใจไทยอยู่ในระดับ 55-65 เสียง ย่อมส่งผลให้เพื่อไทย ไปไม่ถึงแลนด์สไลด์ 270-300 เสียง

การพบกัน-ในพื้นที่ปิดลับ ระหว่างแกนนำฝ่ายภูมิใจไทย กับฝ่ายพรรคชาติไทยพัฒนา จึงมีการกางบัญชีตัวเลข 2 พรรคขนาดกลาง-เล็กรวมกัน ประเมินผลครั้งสุดท้ายปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ตัวเลขที่ผู้มีบารมีทั้ง 2 ฝ่ายพยักหน้า ยอมรับ และมีท่าทีผ่อนคลาย สบายใจ คือฝ่ายชาติไทยพัฒนายังยืนตัวเลข ส.ส.อยู่ในระดับ 30 คน

ขณะที่ฝ่ายภูมิใจไทยเปิดโผ ระบุชื่อผู้สมัครที่คาดว่าจะได้ในระดับเพลย์เซฟที่ 65 คน

บันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 พรรค ที่จะจับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน ในการร่วมรัฐบาล จึงอยู่ที่ตัวเลขเดิมคือ 2 พรรค อยู่ในระดับ 90-100 เสียง

สมมติฐานนี้จะทำให้พรรคใหญ่เข้าสู่โหมด "เดดล็อก" ไม่สามารถขยับเขยื้อน จัดตัวเลขรัฐบาลได้

ตัวเลข 95-100 เสียง นอกจากทำให้พรรคใหญ่ขยับไม่ได้ ยังใช้เป็นหอก-ดาบที่ภูมิใจไทย นำไปย้อนศร- แทงคืนพรรคเพื่อไทย โทษฐานที่ใช้แถลงการณ์ "ไม่เอาภูมิใจไทย" ได้อีก 1 ดอก

สถานการณ์ที่ส่อเค้ารุนแรง-เดดล็อก หลังเลือกตั้ง ทำให้พรรคขนาดเล็กอีก 1 พรรค ที่หวัง ส.ส. 20 เสียง เป็นแกนตามในการจัดรัฐบาลแบบ "หินเขียวรองแจกัน" ที่มีครบทั้งดอกไม้และใบเฟิร์น ต้องออกตัว-เหยียบคันเร่ง

ผู้มีบารมีในพรรคชาติพัฒนาเพื่อ แผ่นดิน "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" ปรากฏตัว ส่งสัญญาณถึงพรรคขนาดเล็ก-กลาง ว่าต้องตระหนักถึงบทบาทตัวเอง ในการทำให้บ้านเมืองไม่อยู่ในภาวะ "เดดล็อก"

"สุวัจน์" บอกว่า ถ้าจะให้บ้านเมืองสงบ รัฐบาลต้องมีเสียงอยู่ในระดับ 300 เสียงขึ้นไป ฝ่ายไหนมีเสียงเกิน 251 เสียง ก็จัดรัฐบาลได้

สมการในใจของฝ่ายเพื่อไทยจึง หวังให้มีปาฏิหาริย์ ได้ ส.ส.เข้าสภา 270 คน + พรรคของฝ่าย "สุวัจน์" อีก 15-20 คน ก็จะ "เดดล็อก" ทำให้ฝ่ายประชาธิปัตย์ขยับจัดรัฐบาลไม่ได้เช่นกัน

โค้งอันตรายก่อนปิดโหวตรอบแรก ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า และโค้งสุดท้ายก่อนปิดโหวต ทำให้แกนนำทุกพรรค ไม่อาจละสายตาจากสูตรคณิตศาสตร์การเมืองได้

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++