อภิมหายุทธการปล้นชาติ 6 แสนล้าน!!
เป็นที่ยอมรับกันว่าวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย หรืออุบัติการณ์ ฟองสบู่แตก ที่เกิดขึ้นในปี 2540 ถือเป็นหายนะครั้งใหญ่ของชาติที่เปรียบเสมือนการ เสียกรุงครั้งที่ 3 โดยคนไทยทั้งแผ่นดินต้องเผชิญกับสภาพการสูญเสียเอกราชอธิปไตยทางเศรษฐกิจ ด้วยความขมขื่น สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชน ที่ต้องแบกรับภาระหนี้สินสาธารณะหลายล้านล้านบาท
รากเหง้าของวิกฤตชาติดังกล่าวเกิดจากการความความอ่อนด้อยบวกกับความละโมบของ รัฐบาลนายแบงก์ที่ติดบ่วงมายาโลกาภิวัตน์ จนตัดสินใจผิดอย่างใหญ่หลวงในการผลักดันนโยบายเสรีทางการเงินสุดขั้ว โดยการเปิดกิจการวิเทศน์ธนกิจ หรือ บีไอบีเอฟ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ในปี 2537 โดยไม่มีมาตรการรองรับ เช่น จงใจปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยภายใน (12%) และภายนอกประเทศ (7%) และยังคงปล่อยให้เงินบาทผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือระบบ ตระกร้าเงิน (Basket of Currencies) แทนที่จะลอยตัวค่าเงินบาท (Managed Float)เพื่อให้วิถีค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีอย่างแท้จริง
นโยบายที่แฝงด้วยวาระซ่อนเร้นดังกล่าว ส่งผลให้เกิดสภาพเงินนอกไหลท่วมเนื่องจากทุกฝ่ายต่างมุ่งตักตวงโอกาสในการแสวงหาประโยชน์หรือกำไรจากส่วน ต่างของอัตราดอกเบี้ย จนเมื่อสถานการณ์สุกงอมค่าเงินบาทก็เกิดความผันผวนอย่างต่อเนื่องเมื่อถูกโจมตีจากกองทุนค้าเงินข้ามชาติ (Hedge Fund) โดยเฉพาะปีศาจการเงินอย่าง จอร์ส โซรอส ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ต้องทุ่มทุนปกป้องค่าเงินบาทอย่างถมไม่เต็ม แต่ก็ต้องยอมยกธงขาวก่อนที่เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะหมดเกลี้ยง และจำต้องประกาศ ?ลอยตัวค่าเงินบาท? เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 พร้อมทั้งขอรับความช่วยเหลือจาก ไอเอ็มเอฟ หลังจากที่เกิดความเสียหายจากความ บกพร่องและบ้าบิ่น ในการปกป้องค่าเงินบาทเป็นจำนวนมหาศาล
เฉพาะเพียงแค่วันที่ 15 พฤษภาคม 2540 วันเดียว ที่ประชุมผู้บริหารแบงก์ชาติได้มีมติให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการปกป้องค่า เงินบาทได้โดยไม่จำกัดวงเงิน ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองฯ ในการปกป้องค่าเงินบาทไปอีกกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ2 แสน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นการป้องกันค่าเงินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยและอาจจะแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม ความเสียหายดังกล่าวยังไม่เทียบเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังวิกฤติ ชาติ จากน้ำมือขององค์กรที่มีชื่อว่า ปรส. หรือองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินที่สร้างความเสียหายแก่สินทรัพย์ของชาติรวมมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาทจนมีผู้ประณามวีรกรรมของปรส.ว่าเปรียบเสมือนการปล้นรอบสองมูลเหตุกำเนิดของปรส.สืบเนื่องมาจากภายหลังจากที่มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวรในปี 2540 รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกำหนดจัดตั้ง ปรส. เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิด ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของชาติ รวมมูลค่าราว 823,000 ล้านบาท (อาจสูงถึง 1ล้านล้านบาท) แต่ปรากฏว่า ปรส.กลับนำสินทรัพย์ทั้งหมดมากองรวมกันโดยไม่ได้แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจาก กัน และทำการประมูลแบบ ยกเข่งสร้างความสูญเสียแก่ประเทศอย่างใหญ่หลวง ถือเป็นความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากสินทรัพย์มูลค่ารวมกว่า 8 แสนล้านบาท ปรส.เปิดประมูลได้กว่า 2 แสนล้านบาทเท่านั้นมูลค่าสินทรัพย์ของประเทศสูญหายไปถึง 6 แสนล้านบาท จนถึงวันนี้ประชาชนยังไม่ได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าการดำเนินการของ ปรส.ผิดพลาดอย่างไร และยังไม่ทราบว่าความเสียหายทั้งหมดนี้ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามูลเหตุที่อาจทำให้ ปรส.ตัดสินใจรวม หนี้ดี-หนี้เสียกองไว้ด้วยกันและเปิดประมูลแบบยกเข่งนั้น อาจเป็นเพราะการที่ แบงก์ชาติไม่ต้องการเปิดเผยถึงความผิดพลาดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจึงไม่ต้องการให้มีการแบ่งเป็นกองหนี้ดีและกองหนี้เสีย
ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปรส.ตามพระราชกำหนดการปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ไม่ได้มุ่งให้ ปรส.ดำเนินการขายสินทรัพย์แบบขายทอดตลาดแต่ต้องการให้ ปรส. ปฏิรูปหรือ ฟื้นฟูหนี้เสียให้กลายเป็นหนี้ดีขึ้นหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้มากที่สุด เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อหนี้สาธารณะ ซึ่งประชาชนทุกคนต้องเป็นผู้แบกรับความเสียหายทั้งหมดในที่สุด
อาจกล่าวได้ว่ามูลเหตุสำคัญในความผิดพลาดของ ปรส.เกิดจากการที่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) เนื่องจากหลายสาเหตุ แม้ข้อเท็จจริงตามกฎหมายอาจดูไม่เข้าข่ายมูลฐานความผิด แต่ในแง่ของจรรยาบรรณถือเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างชัดเจน ดังนั้น ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถเอาผิดคนบางกลุ่มไม่ได้ แต่สังคมควรได้รับรู้ว่าใครบ้างที่มีความผิดด้านจรรยาบรรณและจะต้องลงโทษคนที่ร่วมกันสร้างความเสียหายแก่ประเทศ พฤติการณ์ที่น่าสงสัยของผู้บริหาร ปรส.เริ่มตั้งแต่การว่าจ้าง บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นที่ปรึกษาวาณิชธนกิจ โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการจัดการสินทรัพย์ของ ปรส.ทั้งหมด โดยบริษัทดังกล่าวได้ทำเกินหน้าที่ด้วยการให้ข้อเสนอในการตั้งเงื่อนไขต่างๆ ให้ข้อมูลในด้านตัวเลขและราคาแก่ผู้เข้าร่วมประมูล และเมื่อ ปรส.เปิดการประมูลสินทรัพย์ก็ปรากฏว่าเงื่อนไขต่างๆ เป็นที่น่าเคลือบแคลงอย่างยิ่งเช่น
1.การไม่ยอมให้ลูกหนี้ร่วมประมูลหนี้ของตนเองอันเป็นการตัดสิทธิผู้รู้ข้อมูลของสินทรัพย์ที่แท้จริง
2.ตั้งสินทรัพย์เป็นกองใหญ่ๆ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาที่รู้ว่าหากตั้งเป็นกองใหญ่ๆ ในขณะนั้นคนไทยย่อมขาดเงินทุนหรือไม่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะเข้าร่วมแข่งขันในการประมูล
ดังนั้นจึงเปิดช่องให้กลุ่มบริษัทต่างชาติ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการประมูลครั้งนี้โดยข้อน่าสังเกตก็คือผลการประมูล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสิน เชื่อที่มีหลักประกันอย่างชัดเจน (เรียกกันว่ามีครีมอยู่ข้างบน) วงเงินจำนวนมากแต่ผลการประมูลได้กว่า 19,000 ล้านบาท โดยผู้ที่ชนะการประมูลก็คือ บริษัท เลห์แมนบราเดร์สโฮลอิ้ง อิงค์ ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ปรึกษาของปรส.(เลห์แมนบราเดอร์สฯ)99.99% จึงกล่าวได้ว่าผู้ชนะการประมูล รู้ไส้ ปรส.ก่อนคู่แข่ง แต่ผู้บริหาร ปรส.กลับอ้างว่าทั้ง2บริษัทไม่มีการเปิดเผยข้อมูลถึงกันเพราะมี ChineseWall หรือกำแพงเมืองจีนหากแต่ในความเป็นจริงไม่มีประเทศใดในโลกที่จะยอมให้บริษัทปรึกษาวาณิชธนกิจ ซึ่งเป็น บริษัทลูกเป็นผู้วางกรอบและกำหนดเกณฑ์ในการประมูลจนกระทั่งบริษัทแม่เป็นผู้ชนะการประมูลในที่สุด
นี่เป็นเพียงปฐมบทของ อภิมหายุทธการปล้นชาติ 6 แสนล้านที่ควรจะต้องมีผู้รับผิดชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น