--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ยุทธการ(ไวอะกร้า) เป้าหมาย อยู่ที่เดิม !!??

การเมืองนับจากวินาทีนี้เป็นต้นไป มากด้วยความละเอียดอ่อน เหมือนกับจะเป็น "เกม" แต่มิได้เป็นเกมอย่างธรรมชาติ ปกติ

1 มิได้เป็นการปะทะกันบนท้องถนน

ที่เห็นบริเวณแยกราชประสงค์ทุกบ่ายวันอาทิตย์ ที่เห็นแวดล้อมเวทีผ่าความจริง แห่งแล้วแห่งเล่า เสมอเป็นสินค้าตัวอย่าง

เหมือนกับความพยายามของ "ไทยสปริง"

ก็อย่างที่ "น้ำเสียง" อันสะท้อนผ่านคลิปสนทนายืนยันออกมาอย่างหนักแน่น มั่นคงยิ่งว่าปริมาณน้อยลงตามลำดับ

ที่หลับๆ ตื่นๆ ณ ท้องสนามหลวง ก็เสมอเป็นการรอคอย

ขณะเดียวกัน 1 การเคลื่อนไหวที่ดำเนินอยู่จึงเป็นการเคลื่อนไหวในทางลึก ระหว่างหัวต่อหัว หยั่งเชิงกันและกัน

หยั่งด้วยกำลัง หยั่งด้วยการต่อรอง

สิ่งที่ต้องให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษมิได้เป็นแต่ละระลอกของปรากฏการณ์ หากอยู่ที่ความพยายามในการกดดันมากกว่า

"เป้าหมาย" อยู่ตรงไหน

ในที่สุด การปล่อย "คลิป" ออกมาก็ดำเนินไปเหมือนกับการปล่อยข่าว "หึ่ง! ปลด ผบ.ทบ." อันกระหึ่มออกมาก่อนหน้านี้

นั่นก็คือ ต้องการ "เสี้ยม"

ทะลวงลิ่มเข้าไปเพื่อแยกสภาวะแนบชิดระหว่างรัฐบาลกับ ผบ.เหล่าทัพให้ถอยห่างออกจากกัน

สร้างความหวาดระแวง แคลงใจ

แม้ความเป็นจริงในการปลด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ.มิได้เกิดขึ้น แต่ก็ทะลวงเข้าไป

แหย่งอย่าง "หยั่งเชิง"

ลองย้อนไปสำรวจดูองค์ประกอบของการปั่นและป่วนสถานการณ์ 1 เป็นการปล่อยออกมาผ่าน "ช่องทางไหน"

ไม่ว่าช่องทางของ หึ่ง ! ปลด ผบ.ทบ.

ไม่ว่าช่องทางของ "คลิป" การสนทนาของ ไวอะกร้า กับ ถั่งเช่า

ตามมาด้วยสำทับที่ว่า "หากภายในสัปดาห์นี้ไม่มีการแสดงจุดยืนจาก ผบ.เหล่าทัพก็แสดงว่าเขายอมจำนนและอยู่ใต้อาณัติมานานแล้ว จึงไม่มีปากเสียง"

เห็นหรือยังว่าใครคือ "เป้าหมาย"

ทุกอย่างยังดำเนินไปเหมือนกับเมื่อตอนที่มีการยึดทำเนียบรัฐบาลในเดือนสิงหาคม 2551 ดำเนินไปอย่างที่โปสเตอร์ 1 จากหน้ากากขาวคือ

"เมื่อไหร่ ทหารไทยจะเหมือนทหารอียิปต์"

สถานการณ์อันเนื่องแต่การยึดทำเนียบรัฐบาลในเดือนสิงหาคม และสถานการณ์ในเดือนตุลาคม 2551 ตามมาด้วยน้ำเสียงสำทับแข็งกร้าวจาก ผบ.ทบ.

"ถ้าเป็นผมลาออกแล้ว"

เป็นการพูดผ่านรายการ 1 ของโทรทัศน์ เป็นการพูดโดยคณะของ ผบ.เหล่าทัพอันขึงขังเป็นอย่างมาก

เป้าหมายอยู่ที่รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

จากนั้น ในเดือนพฤศจิกายนก็มีการยึดสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และในเดือนธันวาคม 2551 ฤทธานุภาพของตุลาการภิวัฒน์ก็สำแดงผล นั่นก็คือ การยุบพรรคพลังประชาชน

รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็พังครืน

นั่นคือท่วงทำนองอันเริ่มจากคณะทหาร นั่นคือกระสวนการไหวเคลื่อนตามแนวทางแห่งตุลาการภิวัฒน์

เป้าหมายยังอยู่ "ที่เดิม" ไม่แปรเปลี่ยน

การเมืองไทยจากรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ยังไปไม่ถึงไหน เหมือนยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก

มิได้เป็นการเมืองที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นกองหน้า มิได้เป็นการเมืองที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นหัวหอก

เป็นการเมือง "หลังม่าน" ลึกลับ ซ่อนเงื่อน

ที่มา.มติชน
////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

7-Eleven กับ Makro

คอลัมน์ ระดมสมองโดย วิรัตน์ แสงทองคำ

ผมมองข้ามความคาดหวังของซีพี ออลล์ที่มีต่อ Makro ในเชิงตัวเลขทางการเงินที่เชื่อมโยงกับความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม หากพยายามมองในเชิงนามธรรมว่าด้วยความรู้ ประสบการณ์ และบทเรียน

Makro เข้ามาเมืองไทยตั้งแต่ 2531 ต่อเนื่องจากกระแส Hypermarket ที่เติบโตในยุโรปและอเมริกาอย่างมากมาระยะหนึ่ง 5 ปีต่อจากนั้น เซ็นทรัล ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกของเมืองไทยก็ตามกระแส เปิด Big C (2535) และตามมาด้วยซีพีหุ้นส่วนรายสำคัญของ Makro ได้เปิดตัวโลตัส (2537) ส่วนผู้บุกเบิก Hypermarket แห่งยุโรปในฐานะคู่แข่งรายสำคัญของ Makro มาเมืองไทยในเวลาต่อมา ด้วยการร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลในช่วงไม่ค่อยดีนัก (2539)

"Carrefour ในฐานะผู้ให้กำเนิดแนวความคิดของร้านค้าปลีกที่เรียกว่า Hypermarket ผนวกรวมห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้ากว้างขวางนับตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ในราคาที่ต่ำกว่าร้านค้าทั่วไป" ผมเคยเขียนเรื่อง Carrefour ไว้เมื่อกว่า 2 ปีที่แล้ว (เรื่องของ "รายใหญ่" มติชนสุดสัปดาห์ กันยายน 2553)

สถานการณ์ใหม่ Carrefour บุกเบิก Hypermarket เกิดขึ้นครั้งแรกในฝรั่งเศสเมื่อปี 2506 หลังจากนั้นไม่นาน Makro เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ (2512) อีกทศวรรษต่อจากนั้น ทั้งสองก็ขยายตัวทั่วยุโรป แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และเอเชีย แต่ Carrefour ดำเนินธุรกิจ
เชิงรุก ขยายเครือข่ายได้มากกว่ามาก



"ตามธรรมชาติของเครือข่ายค้าปลีก ขยายตัวมาระยะหนึ่งก็คืบคลานไปสู่เครือข่ายทุกรูปแบบไม่จำกัดเฉพาะ แต่อีกวงจรหนึ่งที่ควรทราบด้วย เมื่อเครือข่ายชนิดใดหรือเครือข่ายในภูมิศาสตร์ใดมีปัญหา Carrefour ก็พร้อมจะขายกิจการนั้นออกไป" บทสรุปของข้อเขียนของผม ว่าด้วย Carrefour กับการปรับตัวจาก Hypermarket ไปสู่ Convenience Store (2520) เสนอผลิตภัณฑ์ตามความต้องการพื้นฐานของชุมชน ต่อมาพัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า Hard Discount Store (2523) จนมาถึงการเข้าซื้อกิจการเครือข่ายใหญ่ Supermarket (2531) ท่ามกลางสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกแข่งขันกันอย่าง

ดุเดือดในยุโรป และขยายตัวสู่ตลาดใหม่ทั่วโลก ในช่วง 2 ทศวรรษมานี้เกิดกระบวนการหลอมรวมเครือข่ายให้ทรงพลังมากขึ้นของรายใหญ่ โดยพยายามเข้าครอบงำกิจการคู่แข่งรายเล็กกว่า

แม้ว่า Makro ถือว่าดำเนินธุรกิจประเภท Hypermarket แต่ในภาพย่อยมีบุคลิกเฉพาะเรียกว่า Warehouse Clubs เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยระบบสมาชิก (Membership-Based) กับคู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Professional Customers) ธุรกิจของ Makro จึงดำเนินไปด้วยจังหวะก้าวที่รัดกุม ไม่โลดโผน และดูเหมือนพยายามรักษาแนวทางธุรกิจเช่นเดิมอย่างมั่นคง มีความเป็นไปได้อีกว่ามาจากบุคลิกของ SHV Group ในฐานะเจ้าของเครือข่ายธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานเป็นหลัก โดยมี Makro เป็นเพียงธุรกิจย่อยแขนงหนึ่ง ทั้งมีฐานะเป็นกิจการครอบครัวที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น

แรงบันดาลใจในธุรกิจค้าปลีกจึงดูไม่มากนัก เมื่อ Makro เผชิญแรงกดดันมากขึ้น SHV Group จึงขายเครือข่ายที่สมควรออกไป เริ่มจากในสหรัฐในปี 2532 (ให้กับ Kmart) และเครือข่ายในยุโรปทั้งหมด ให้กับ Metro แห่งเยอรมนี ในอีก 9 ปีต่อมา (2541)

สถานการณ์ทำนองเดียวกันเคลื่อนย้ายมาสู่เอเชีย เมื่อ Makro ขายเครือข่ายในจีนแผ่นดินใหญ่ (2550) และอินโดนีเซีย (2550) ไปให้กับกลุ่มค้าปลีกยักษ์ใหญ่แห่งเกาหลีใต้--Lotte Mart อีกด้านหนึ่งถือเป็นกระบวนการบุกทะลวงเข้าสู่ตลาดจีนครั้งแรกของเครือข่ายค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของเอเชีย ที่มีแรงบันดาลใจไม่แตกต่างจากซีพี ออลล์

แล้วกระแสลมก็พัดมาถึงเมืองไทย ไม่ว่ากรณีเซ็นทรัลซื้อเครือข่าย Carrefour การเข้ามาของ Convenience Store แห่งญี่ปุ่น จนมาถึงกรณีซีพี ออลล์ซื้อ Makro ล้วนสะท้อนภาพใหญ่ของธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่มีการพัฒนาไปตามวงจรแห่งโอกาสและความผันแปรเชื่อว่าทั้งเครือซีพี และซีพี ออลล์ เข้าใจสถานการณ์ได้อย่างดี โดยมองเห็นทั้งปัญหาและโอกาสหลอมรวม

"ภารกิจหลักที่จะรักษาความเป็นที่หนึ่งในใจของผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหาร (The 1st choice supplier to food professional customers)" นี่คือแนวทางที่สยามแม็คโครประกาศอย่างหนักแน่น (http://www.siammakro.co.th) เมื่อพิจารณาข้อมูลข้างเคียง สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า สยามแม็คโครพยายามสร้างโมเดลธุรกิจที่แตกต่างอย่างมีบุคลิก ตั้งแต่ในช่วงปี 2544-2548 โดยเฉพาะการซื้อกิจการบริษัทสยามฟูด ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจให้บริการจัดหาผลิตภัณฑ์อาหาร บริการจัดเก็บและจัดส่งผลิตภัณฑ์อาหาร "ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการบริการนักท่องเที่ยวและบริการด้านอาหารทั่วประเทศ" ปัจจุบันสยามฟูดเปิดดำเนินการอยู่ 4 แห่ง-กรุงเทพฯ พัทยา เกาะสมุย และภูเก็ต

ผมเชื่อว่านี่คือความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์สำคัญประการแรกของ Makro ที่ซีพี และซีพี ออลล์ให้ความสำคัญ

--โมเดลธุรกิจของ 7-Eleven ของซีพี ออลล์ปัจจุบัน ไม่สามารถขยายและข้ามผ่านสู่โมเดลธุรกิจอย่าง Makro เช่นนี้ได้ ทั้งในแง่ลักษณะธุรกิจ และฐานลูกค้าใหม่

--สำหรับเครือซีพีแล้ว มีเครือข่ายธุรกิจหลักอีกหนึ่งที่สำคัญอยู่ด้วย--กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) แม้ได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่มาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อเข้าสู่ธุรกิจอาหารเพื่อผู้บริโภคมากขึ้น ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้การเข้า

ตลาดผู้บริโภคอย่างจริงจังเพิ่งอยู่ระยะเริ่มต้น ๆ การเรียนรู้จาก Makro ย่อมได้ประโยชน์

"แม็คโครมีฐานลูกค้ามากกว่า 2.4 ล้านราย" "สารจากประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในรายประจำปี 2555 สยามแม็คโครจำกัด (มหาชน) ระบุไว้ นี่คือผลพวงว่าด้วยความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง

"วันนี้ซีพีมีสินค้าและเครือข่ายที่เข้าถึงสังคมมากที่สุด ... เครือข่ายร้านค้า สินค้าและบริการเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เครือข่ายที่เป็นจริงเข้าถึงผู้บริโภค หากมองเฉพาะสินค้าคอนซูเมอร์ ไม่เพียงสินค้าเป็นที่จริงและจับต้องได้อย่างอาหาร แม้แต่สินค้าด้านสื่อสารก็จำเป็นต้องมีเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งสิ้น การเชื่อมโยงและเกื้อกูลระหว่างกัน... ทั้งการสร้างสรรค์สินค้าและบริการ ด้วยแนวคิดข้ามพรมแดน ทั้งมิติสถานที่จริง (Places) และสถานที่ในโลกใหม่ (Cyber Spaces) ผสมผสานกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

และระบบการบริหารการขนส่งสินค้า (Logistics) เครือข่ายซีพีจึงเป็นโมเดลธุรกิจ สะท้อนความสามารถในการแข่งขันอย่างสูง" ผมเคยวาดภาพเครือข่ายเครือซีพีไว้นานแล้ว (อิทธิพลซีพี มติชนสุดสัปดาห์ กันยายน 2552)

ดูเหมือนภาพนั้นขยายใหญ่มากขึ้นฐานลูกค้าใหม่ของ Makro ไม่เพียงจะเพิ่มเติมเครือข่ายเครือซีพีโดยรวมให้มากขึ้น หากเป็นเครือข่ายใหม่ที่ซีพีไม่เคยมีอย่างเป็นระบบมาก่อน ไม่ใช่ฐานลูกค้าปัจเจกที่ไม่อยู่ในระบบสมาชิกอย่างลูกค้า 7-Eleven ไม่ใช่ฐานลูกค้าปัจเจกระบบสมาชิกของเครือข่าย True ไม่ใช่เครือข่ายร้านค้าแบบ True shop, True Move shop, True Coffee, CP Fresh Mart ฯลฯ หากเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ เป็นผู้ประกอบการรายย่อย รายกลาง และมีฐานะอยู่ในระบบสมาชิกด้วย

ในภาพรวม เครือซีพีและซีพี ออลล์ กำลังเดินแผนทางยุทธศาสตร์อย่างหลักแหลม แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้นำของเขาคงเข้าใจว่า ท่ามกลางโอกาสย่อมมีปัญหารวมอยู่ด้วย

ในฐานะผู้ติดตามเครือซีพีมานาน เชื่อว่าแผนการและยุทธศาสตร์ทั้งมวลของซีพีมักเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า Integration และ Convergence บทเรียนและความสำเร็จจากอดีตที่ค่อย ๆ เคลื่อนย้ายสู่ปัจจุบัน ทำให้ความเชื่อมั่นเข้มข้นขึ้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

คลิปพิฆาต !!??

กรณีที่มีการเผยแพร่คลิปเสียงสนทนา ของบุคคล 2 คนที่ผู้เผยแพร่อ้างว่าคนหนึ่งเป็นรัฐมนตรี กับอีกคนคือคนที่อยู่ต่างประเทศ ว่อนไปหมดในโลกสังคมออนไลน์ และกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองอยู่ในขณะนี้เพราะความเชื่อในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กจากการฟังเสียงจากถ้อยคำในบทสนทนาพุ่งเป้าไปที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

แน่นอนว่าในทางการเมือง ขั้วตรงข้ามพรรคเพื่อไทย ขั้วตรงข้ามรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนไม่เอาแม้วไม่เอาทักษิณ ปักใจเชื่อกันเกินกว่า 1000% ไปแล้วก็ว่าได้

ซึ่ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ปฏิเสธไปแล้วว่า ไม่ใช่เสียงของตนเอง และไม่เคยไปพบอดีตนายกฯทักษิณในต่างประเทศทั้งก่อนและหลังการปรับ ครม. รวมทั้งทางฝั่งของเพื่อไทยเองก็ได้มีการตั้งประเด็นสวนขึ้นมาในเรื่องของการตัดต่อคลิปเสียง เพื่อดิสเครดิตทางการเมือง

เชื่อว่าเกมนี้ยังต้องลากกันไปอีกยาว ยังต้องฟัดกันอีกหลายยก เพราะพรรคฝ่ายค้านก็ออกโรงจี้ในเรื่องนี้แล้วว่า รัฐบาล และนายกฯยิ่งลักษณ์ จะต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่าง

เรื่องนี้น่าสนใจตรงที่ หากในแวดวงของสงฆ์ มีคำว่า “นารีพิฆาต”แล้วไซร้ ในแวดวงการเมือง ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีคำว่า “คลิปเสียงพิฆาต”ด้วยเช่นกัน

ในยุคไฮเทค โทรศัพท์มือถือทุกเครื่อง พร้อมที่จะเป็นเครื่องอัดเสียง หรือเป็นเครื่องถ่ายคลิปต่างๆได้ตลอดเวลา... นั่นแปลว่าไม่ว่าใครก็ตาม หากพลาดก็มีโอกาสพังจากการโดนนำคลิปเสียงหรือคลิปภาพไปแฉในโลกสังคมออนไลน์

ถ้าเป็นของจริง... เจ้าตัวก็ซวยหนัก

ถ้าเป็นการตัดต่อ... คนที่โดนกว่าจะเอาตัวรอดได้ก็สะบักสะบอม เพราะวินาทีแรกที่คลิปถูกโพสต์เข้าไปในโลกออนไลน์ มีคนพร้อมที่จะเชื่อทันทีไม่น้อยกว่า 25%อยู่แล้ว และเมื่อมีการเชื่อไปแล้ว และมีการขยายต่อความเชื่อ ต่อให้มาพิสูจน์ความจริงกันได้ในภายหลังก็ไม่ทันแล้ว

ชื่อเสียง เครดิต ความน่าเชื่อถือ ถูกวิจารณ์เละเทะไปก่อนแล้ว...

กรณีของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ที่เจองานเข้า รับน้องเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า เกมผลประโยชน์ทางการเมืองยังเดือดพล่านทั้งที่เป็นคนละส่วน คนละพวก หรือแม้แต่กระทั่งว่าพวกเดียวกันเอง

แต่ที่สำคัญอีกประการก็คือ ในแวดวงทหาร แวดวงกลาโหม แวดวงกองทัพ ยังถือเป็นพื้นที่อันตราย ที่พร้อมจะเป็นคิลลิ่ง โซน ทางการเมืองได้ในสารพัดรูปแบบ

อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่คลิปเสียงที่ถูกปล่อยออกมา เพื่อให้คนฟังเชื่อว่าเป็นเสียงบิ๊กทหาร เป็นครั้งแรกเสียเมื่อไหร่

เมื่อปีที่แล้ว จากกรณีโยกย้ายสลับเก้าอี้ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น สนับสนุน พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม แทนพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ

แต่ พล.อ.เสถียร สนับสนุน พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดฯเพราะเห็นว่าหมาะสมที่สุด ที่สำคัญตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นตำแหน่งอัตราจอมพล ซึ่ง พล.อ.ชาตรี นั้นเป็นอัตราจอมพลแล้ว แต่ พล.อ.ทนงศักดิ์ ยังไม่ใช่

ครั้งนั้นนอกจากจะมีการฟ้องกันวุ่นวายไปหมดแล้ว ปรากฏว่าฝ่ายค้าน คือ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ยังมีการนำคลิปเสียงไปเปิดแฉในสภา ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วย

เป็นคลิปเสียงที่มีเนื้อหาว่ามีการล้วงลูกในการแต่งตั้งโยกย้ายทหาร

เป็นคลิปเสียง ที่ฝ่ายค้านเชื่อว่าเป็นเสียงของ พล.อ.อ.สุกำพล

ที่สำคัญเป็นคลิปเสียงที่ถูกอัดในเขตพื้นที่กระทรวงกลาโหม ถูกอัดในการประชุมหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ครั้งนี้ที่เชื่อกันว่าเป็นเสียงของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ก็เช่นกัน หากมีการอัดเสียงเกิดขึ้นจริงๆ ก็เป็นการอัดจากคนรอบข้างของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ เองนั่นแหละ

เพราะฉะนั้นไม่ว่าอย่างไร จะต้องยอมรับความจริงว่า พื้นที่ทหารยังคงเป็นพื้นที่อันตรายทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา

แม้ในขณะนี้ รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย อาจจะเชื่อมั่นว่า โอกาสที่จะมีการทำปฏิวัติรัฐประหารโดยกองทัพนั้นมีน้อยเต็มที เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ย้ำแล้วย้ำอีกว่าไม่มี ไม่คิดทำ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีคลื่นใต้น้ำ จะไม่มีนายทหารที่ไม่พอใจรัฐบาลเสียเมื่อไหร่

ดังนั้นรัฐบาลอย่าคิดแค่ว่า ทุกอย่างอยู่ในมือ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะในความเป็นจริงแล้วที่คิดว่าคอนโทรลได้ อาจจะไม่ใช่ก็ได้

วันนี้ในกองทัพ ในองคาพยพทุกส่วนของรัฐบาล หรือแม้แต่ในพรรคเพื่อไทยเอง อาจจะมีสนิมในเนื้อเหล็ก ที่ไม่พอใจไม่เห็นด้วย และพร้อมที่จะเป็นหนอนบ่อนไส้ได้อยู่ตลอดเวลา

คงไม่ลืมว่า พรรคเพื่อไทย ไม่ได้ชนะแบบขาดลอยทิ้งห่าง

ไม่เห็นฝุ่นเสียเมื่อไหร่ อย่าลืมว่าพรรคเพื่อไทยมีประชาชนสนับสนุน 15-16 ล้านเสียงก็จริง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็มีประชาชนสนับสนุนถึง 11-12 ล้านเสียงเหมือนกัน

และคน 11-12 ล้านเสียงเหล่านั้น ก็เป็นเสียงที่ไม่ได้ชื่นชอบพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด

แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่า คนในกองทัพ ในกระทรวงกลาโหม ในระบบข้าราชการไทย จะไม่มีคนจำนวน 11-12 เสียงนั้นปะปนอยู่ด้วย

เพราะความเป็นจริงแล้วเชื่อเถอะว่ามีคนที่ไม่ปลื้มเพื่อไทย ไม่เอาแม้ว ปะปนอยู่ในทุกวงการ ฉะนั้นทุกอย่างจึงไม่เป็นความลับ จะเห็นได้ว่า คำพูดต่างๆ การกระทำ เอกสาร หรือแม้แต่การทำหน้าที่ในงานราชการ มีการถูกหยิบมาใช้ทิ่มแทงรัฐบาล ถูกส่งให้กับพรรคฝ่ายค้านอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งจริงเท็จผิดถูกไม่รู้ แต่เล่นงานทางการเมืองให้สะบักสะบอมไว้ก่อนเป็นพอ ตราบเท่าที่ระบบการกล่าวหายังคงใช้ได้ผล และตราบเท่าที่รัฐบาลยังคงชี้แจงไม่เป็น ชี้แจงไม่เก่ง

ก็มีแต่เปลืองตัว กับเจ็บตัวไปเรื่อยๆ

ครั้งนี้ก็เช่นกัน คลิปเสียงที่ออกมา ไม่ว่าอย่างไรก็กระทบ ไม่ว่าอย่างไรก็เปลืองตัว ดังนั้นการที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ แสดงท่าทีในการที่จะแสดงสปิริตความรับผิดชอบนั้น ถือเป็นวิสัยของชายชาติทหารอยู่แล้ว

คนอื่นจะเชื่อไม่เชื่อว่าเป็นเสียงบิ๊กอ๊อดหรือไม่นั้น ยังไม่เท่าไร แต่บรรดาบุคคลที่ในคำสนทนามีการพูดพาดพิงไปถึงนี่สิ... หากบังเอิญในคนเหล่านั้นมีคนที่เชื่อว่าเป็นเสียงบิ๊กอ๊อดจริงๆ แล้วจะมองหน้ากันสนิทได้อย่างไร???

แม้แต่กระทั่งคนในคณะรัฐมนตรีด้วยกันก็เถอะ จะมองหน้ากันแบบไหน จะมีความหวาดระแวงแคลงใจระหว่างกันหรือไม่ ตรงนี้แหละที่เป็นปมประเด็นที่สำคัญ

ฉะนั้นดูแล้ว การแสดงสปิริตของ บิ๊กอ๊อด น่าจะเป็นการเดินที่ถูกทางแล้วในการรับมือกับคลิปเสียงพิฆาตครั้งนี้

เพียงแต่ว่า มันสำคัญอยู่ที่รัฐบาลยังมีความจำเป็นหรือยังเห็นสมควรที่จะต้องมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ อยู่ใน ครม. อยู่ในกลไกของรัฐบาลอยู่หรือไม่ หากยังจำเป็น จุดนี้ก็จะเป็นเงื่อนไขให้มีการยับยั้งเกิดขึ้น

ซึ่งหากรัฐบาลยับยั้ง ก็จะโทษว่า บิ๊กอ๊อดไม่มีสปิริตไม่ได้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนชัดเป็นข้อเตือนใจอย่างหนึ่งว่า เขตกองทัพเขตพื้นที่กลาโหม ยังเป็น “คิลลิ่ง โซน”ทางการเมือง ที่ต้องระวังเอาไว้ให้มากๆ

เดี๋ยวจะว่าไม่เตือน

ที่มา.บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////

คมนาคมเข็นระบบราง ประมูล 2 โครงการ 1.1 แสนล้านบาท !!?

แม้ว่าพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะยังไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา แต่กระทรวงคมนาคมได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการระบบรางต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 4 โครงการ ได้แก่ 1.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5.9 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีผลงาน 62.69% ล่าช้ากว่าแผน 3.36% โดยล่าช้าในส่วนของสัญญา 4 หรืองานบริหารจัดการเดินรถ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างเจรจาต่อรองรอบที่ 3 เพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ค.นี้ โดยล่าสุดผู้รับเหมายอมลดราคา 321 ล้านบาท คงเหลือ 82,989 ล้านบาท ส่วนงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินงาน

2.สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร วงเงิน 7.9 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 36.54% ล่าช้ากว่าแผน 3.24% 3.สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 10.50% เร็วกว่าแผน 0.93% และ4.สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้างงานโยธา ปัจจุบันมีความล่าช้าในส่วนของสัญญา 3 หรืองานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาปัญหาการมีผลประโยชน์ร่วมกันของเอกชนที่ยื่นข้อเสนอประกวดราคา

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่เตรียมประกวดราคาในปีนี้ มี 2 โครงการ ซึ่งกระทรวงฯเสนอรายละเอียดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ คือ 1.สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และ2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และโครงการที่จะประกวดราคาในระยะต่อไป เช่น สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน จะยังไม่ดำเนินการเพราะมีปัญหาเรื่องมวลชนบริเวณประตูน้ำ และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

"ความล่าช้ามีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังไปได้ โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้จะใช้เงินตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่การดำเนินงานทุกโครงการจะเป็นอิสระ ไม่ต้องรอทำพร้อมกัน"

ทั้งนี้ โครงการแรกที่จะใช้เงินกู้ตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สาเหตุที่นำเงินกู้มาใช้ในโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างด้วย เพราะรัฐบาลต้องการให้โครงการขนาดใหญ่ใช้เงินจากแหล่งเดียวกัน เพื่อจะรู้สภาพหนี้และยอดตัวเลขต่างๆเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ตามกระบวนการพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทกำหนดว่าจะเริ่มกู้เงินภายในปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท และในปี 2557 กู้อีกประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ส่วนปี 2558 จะกู้ 2.9 แสนล้านบาท และกู้เงินสูงมากในปี 2559-2560 หรือปีละประมาณ 4.5 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2561 กู้เงิน 3.7 แสนล้านบาท ปี 2562 กู้เงิน 1.7 แสนล้านบาท และปี 2563 กู้เงิน 9.4 หมื่นล้านบาท

ส่วนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อน เพราะเริ่มจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดก่อนเส้นทางอื่น โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านจ.อยุธยา ภาชี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน สิ้นสุดที่จ.เชียงใหม่

ส่วนแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน 170,450 ล้านบาท จะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ อยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา บัวใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่จ.หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327 แสนล้านบาท ช่วงแรกจะก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-หัวหินก่อน แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีรถไฟกลางบางซื่อ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 100,631 แสนล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง

"เส้นทางเชียงใหม่ หนองคายและหัวหิน จะปัจจุบันขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ระหว่างเสนอเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา โดยเส้นทางเชียงใหม่ หนองคาย และหัวหินจะเสนอภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนเส้นทางระยอง คงต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกระยะหนึ่ง"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัฐบาลที่ดีต้องไม่ทำผิด กม.เสียเอง !!?

นับวันรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะถูกวิพากษ์วิจารณ์และร้องเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจงใจใช้อำนาจรัฐอันเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลายฉบับเริ่มจากการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 75 และ 76ที่บัญญัติว่า รัฐบาลจะต้องแถลงผลงานประจำปีต่อรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายแสดงความเห็นท้วงติงเสนอแนะ แต่รัฐบาลกลับจงใจไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายสูงสุดเพื่อหนีการถูกตรวจสอบทั้งๆ ที่บริหารราชการแผ่นดินมาจะครบ 2 ปีแล้ว

นอกจากนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังจงใจไม่บังคับใช้ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ ทั้งที่เป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะมีสาระสำคัญกำหนดให้มีระบบเงินบำนาญในบั้นปลายชีวิตของผู้สูงอายุทั่วประเทศและทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาชุดที่แล้วและประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์แล้ว โดยสาเหตุเพียงเพราะปัญหาทางการเมืองเนื่องจากกฎหมายกองทุนเพื่อการออมแห่งชาติเป็นผลงานของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ

ก่อนหน้านี้ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้ รัฐบาลชะลองบเงินกู้โครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท ไว้ก่อนจนกว่าจะมีการทำประชาพิจารณ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 57 และ 67 ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเร่งรีบรวบรัดเดินหน้าโครงการโดยไม่รับฟังความเห็นของภาคประชาชน

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ทั้งคณะกรณีงบเงินกู้บริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท โดยระบุว่า รัฐบาลทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายรวม 5 ฉบับอย่างชัดแจ้ง ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญมาตรา 57 และ 67 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103/7 พ.ร.บ.ส่งเสริมและอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พ.ร.บ.ความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล และ มาตรา 157 ตามประมวลกฎหมายอาญาฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นอกจากพรรคประชาธิปัตย์แล้วกลุ่มองค์กรภาคประชาชน อาทิ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดกับรัฐบาลในงบโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท เช่นกันโดยชี้ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลายฉบับ

ล่าสุด ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) แถลงเตือนรัฐบาลว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่บัญญัติว่าการจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังถือเป็นเงินของแผ่นดินซึ่งการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินจึงต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ การออก พ.ร.บ.นอกเหนือจากวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ฝ่ายนิติบัญญัติ จะไม่มีโอกาสตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารนานถึง 7 ปี ขณะที่การกู้เงินมูลค่ามหาศาลนี้จะมีผลผูกพันถึงรัฐบาลชุดต่อไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการ
ก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายบริหารด้วยกัน ทำให้รัฐบาลชุดต่อไปไม่มีอิสระในการปฏิเสธโครงการของรัฐบาลชุดนี้หรือเสนอโครงการพัฒนาใหม่ๆ ได้อีก

ที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ สร้างภาพเรียกร้องให้ยึดหลักประชาธิปไตยมาตลอด ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามด้วยการลุแก่อำนาจจงใจละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอันเป็นการสร้างบรรทัดฐานอันเลวร้ายและขัดกับอุดมการณ์แห่งประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างสิ้นเชิง

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

เปรมชัย ออกโรงเคลียร์ประมูลน้ำ 3.5 แสนล้าน !!?

เปรมชัย ออกโรงเคลียร์ประมูลน้ำ 3.5 แสนล้าน จี้รัฐเร่งปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองห่วงโครงการล่าช้า ลั่น "อยากได้งาน" เหตุเป็นบิ๊กโปรเจ็ค

โครงการบริหารจัดการน้ำ มูลค่า 350,000 ล้านบาท คือ งานประมูลที่เกือบปิดดิวเซ็นสัญญากับเอกชนไปแล้ว แต่ต้องมาสะดุดเมื่อศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้รัฐบาลปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติม โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศก่อนดำเนินโครงการ รวมถึงการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) เอกชน 1 ใน 4 ที่ได้งานใหญ่ครั้งนี้นั่นคือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี ที่คว้างานในโครงการนี้ได้สูงถึง 110,000 ล้านบาท ถือเป็นมูลค่าสูงสุด นับตั้งแต่ "ไอทีดี" เคยประมูลโครงการรัฐบาลมา นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ระบุ

เมื่อโครงการสะดุดลง นายเปรมชัย บอกว่า เขาไม่สามารถนิ่งเฉยได้ เพราะงานนี้หวังมานาน มีการลงทุนทั้งเงิน และกำลังคนมาไม่ต่ำกว่า 7- 8 เดือน ทั้งการลงพื้นที่เพื่อ "เคลียร์" กับชาวบ้าน เตรียมการด้านเทคนิค ประสานงานเพื่อชนะการประมูล งานนี้ นายเปรมชัย บอกชัดเจนว่า" อยากได้" และมั่นใจว่าจะต้องดำเนินการให้สำเร็จภายใน 5 ปี ตามที่กำหนด

ฉะนั้น จุดยืนของ "ไอทีดี" เวลานี้คือ ต้องการให้รัฐเร่งทำตามคำสั่งศาลปกครอง เพื่อจะได้ดำเนินการขั้นต่อไป คือ การเจรจาเซ็นสัญญาออกแบบและดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้ ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ ไอทีดี มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 30% หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี

สิ่งที่ นายเปรมชัย มองว่าเป็นจุดอ่อนทำให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คือ รัฐบาลขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการให้ชัดเจน กับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน ถึงความจำเป็นรวมถึงการันตีความเชื่อมั่นเพราะแน่นอนว่า การลงทุนโครงการขนาดใหญ่โดยการออกเป็น พ.ร.ก. กู้เงินถึง 350,000 ล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยดำเนินการ และเป็นไปด้วยความรวดเร็วจะต้องเป็นที่จับตามอง

เตือนรัฐ 3.5 แสนล้าน บทเรียนสำคัญ

นายเปรมชัย ย้ำว่า การที่ตนต้องออกมาพูด เพราะเป็นหนึ่งในผู้รับเหมารายใหญ่ของไทยตอนนี้ แม้ศาลจะมีคำตัดสินแล้วก็ตาม แต่ยังไม่ถือว่าสายเกินไปนัก สิ่งสำคัญจะเป็นบทเรียนให้รัฐบาลต้องนำกลับไปทบทวนปรับปรุงใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการพัฒนาระบบโครงการสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย หากโครงการนี้หยุดชะงักไป แล้วในอนาคตเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีก เกิดความเสียหายคงไม่เอาอีกแล้ว จึงย้ำว่าขอให้ทำรัฐบาลต้องทำ และต้องการให้คนที่เข้าใจออกมาช่วยกันพูด ช่วยกันชี้แจงประชาชน

"ถ้าไม่ได้ทำ อีก 5 ปี น้ำกลับมาแล้วใครจะรับผิดชอบ เอ็นจีโอเหรอ มีแต่คนจะเดือดร้อน ต้องมองว่าผลประโยชน์จริงของโครงการนี้ คือ ผลประโยชน์ของประชาชน แต่ตอนนี้มีคนออกมาโจมตี ผมก็คิดว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังจากฝ่ายต่อต้าน แต่ถ้าเราไม่ออกมาพูดปล่อยให้เขาพูดกันไป ดีไม่ดีเจ๋งเลยเราจะยอมเหรอ กลัวจะโกงเหรอ ผมนั่งอยู่นี่ไม่โกงเด็ดขาด อิตาเลียนไทยฯ มีตราครุฑ ทำงานระดับประเทศ ทั่วโลกไม่เคยมีประวัติ ฉะนั้นผมบอกแล้วว่าผมทำงานนี้โดยซื่อตรงและต้องทำให้สำเร็จเพื่อตัวเราเองและลูกหลาน"

"เปรมชัย" ยันจ่ายเวนคืนชาวบ้านสูง

ส่วนกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาเรื่องของการทำความเข้าใจกับประชาชน และการศึกษาผลกระทบอีไอเอ นั้น นายเปรมชัย ย้ำว่า เป็นขั้นตอนที่มีอยู่ในแผนงานแล้ว ไม่เช่นนั้นการดำเนินการก่อสร้างจะไม่สามารถทำได้ ในส่วนโมดูลโครงการที่ไอทีดีได้รับมานั้นมีสัดส่วนงบค่าเวนคืนเพียง 1% ของวงเงินประมูลโครงการที่ได้มา โดยนายเปรมชัย ยกตัวอย่าง โมดูล เอ 1 คือ อ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก เบื้องต้น ไอทีดี มีที่ดินที่ต้องเวนคืนจากประชาชนในพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ไอทีดีสามารถจ่ายค่าเวนคืนให้ได้ถึงไร่ละ 100,000 บาท โดยเฉลี่ย หากคิดเป็นมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนโมดูลเอ 4 การปรับปรุงลำน้ำ คาดว่าจะใช้งบประมาณหลักหลายร้อยล้านบาท พร้อมกับมั่นใจว่าขั้นตอนนี้ เอกชนทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าส่วนราชการ

นายเปรมชัย ย้ำว่า ก่อนหน้านี้ ไอทีดี ได้ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยใช้การพูดคุยพร้อมๆ กับการให้ข้อมูล จึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีเพียงบางส่วนบางพื้นที่ เช่น ในส่วนของการสร้างเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรที่อาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากภาครัฐในส่วนของการออกเอกสารการขอเวนคืนที่ดิน

"ความเดือดร้อนของชาวบ้าน คือ ถ้าย้ายภายใต้การชดเชยในระบบราชการจำนวนเงินอาจจะไม่เพียงพอต่อการหาที่อยู่ใหม่ หรือสร้างอาชีพ เขาไปไม่รอดไปซื้อใหม่ 2 เท่า และมีขั้นตอนมาก ขณะที่เอกชนจะไม่ติดขั้นตอนแบบราชการ ถ้าจ่ายเท่านี้แล้วขอค่าเสียเวลาทำมาหากิน 2-3 ปี ก็แฟร์ตกลงได้ก็จบ" นายเปรมชัย กล่าว และว่าที่ผ่านมา ไอทีดี ได้ใช้เงินในการเตรียมการไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท ช่วง 7-8 เดือน เช่น การทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ การเตรียมตัวด้านเทคนิค

"รัฐบาลบอกว่าจะใช้เวลาจัดการ 2-3 เดือน เพื่อแก้ปัญหา แต่ผมว่า หากนานกว่านี้ รัฐบาลก็จะอยู่ไม่ได้"

รับ "คำสั่งศาล" ส่งผลงานล่าช้า

อย่างไรก็ตาม นายเปรมชัย ยอมรับว่า คำพิพากษาของศาลปกครองที่ออกมานั้น อาจส่งผลให้โครงการล่าช้าออกไปบ้าง แต่เชื่อว่าจะไม่ถึงปี เพราะหากรัฐบาลเดินหน้าดำเนินการอย่างจริงจัง จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งในระหว่างนี้ ไอทีดี จะเตรียมงานในส่วนที่ทำได้ก่อน เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของผู้รับเหมา แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องทำตามคำสั่งศาลให้ลุล่วง เพราะการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เนื่องจากประเทศได้สูญเสียไปอย่างมหาศาลกับเหตุการณ์ในปี 2554 จึงเป็นความกล้าในการกู้เงิน 350,000 ล้านบาท โดยการออกเป็นพระราชกำหนดการกู้เงินเพื่อเดินหน้าโครงการอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นเพียงโครงการเล็กๆ ที่ไม่ต่อเนื่อง หลักการป้องกันน้ำท่วม สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้สามารถมีกลไกที่จะควบคุมปริมาณน้ำให้ได้

ย้ำต้องปรับเงื่อนไข ก่อนเซ็นสัญญา

นายเปรมชัย กล่าวอีกว่า หลังจากเกิดความล่าช้าจากคำสั่งศาล ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการรับฟังความเห็น แต่ในส่วนของ ไอทีดี ก่อนจะเซ็นสัญญา ยังต้องมีการเจรจารายละเอียดในบางส่วน ซึ่งอาจต้องมีการปรับ แก้ไขใหม่ แม้ในเงื่อนไขการประมูลจะมีการกำหนดงานไว้แล้ว แต่เนื่องจากเงื่อนไขการออกแบบไปก่อสร้างไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสม "สิ่งที่ดีของเงื่อนไขการก่อสร้างที่ออกแบบไปก่อสร้างไป ทำให้ ไอทีดี มีโอกาสปรับแบบก่อสร้างตามเทคโนโลยีการก่อสร้าง ที่มีการพัฒนา ตรงนี้ทำให้เราประหยัดต้นทุนได้ประมาณ 15-20%"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

ASEAN Roadshow พร้อมสู่ AEC ในปี 58 !!?

ไทยและสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ พร้อมกันเดินทางเข้าร่วม ASEAN Roadshow to US ครั้งที่ 2 เพื่อประกาศศักยภาพ และประชาสัมพันธ์ให้ภาคธุรกิจ นักวิชาการ และ สื่อมวลชนสหรัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน แสดงความพร้อมในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

นายสิน กุมภะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วม ASEAN Roadshow to US ครั้งที่ 2 ณ นครลอสแองเจลิส นครซานฟรานซิสโก และกรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

ASEAN Roadshow ในครั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ฝ่ายอาเซียนและสหรัฐฯ พบปะหารือระหว่างกันในหลายรูปแบบ ใน 3 เมืองด้วยกัน คือ นครลอสแองเจลิส ฝ่ายอาเซียนได้หารือกับสมาคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกา (MPAA) ซึ่งเป็นองค์กรที่คุ้มครองสิทธิ์ทาง ทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผู้ผลิตและผู้สร้างภาพยนตร์สหรัฐฯ อย่าง เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์, วอลล์ ดิสนีย์ และ ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ เป็นต้น นอกจากนี้ คณะอาเซียนยังได้เข้าเยี่ยมชมท่าเรือลอสแองเจลิส ซึ่ง ถือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ และมีการนำเข้าสินค้าจากเอเชียมากถึงร้อยละ 70 โดยในเดือน มีนาคม 2556 มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 รองจาก จีน อินเดียและญี่ปุ่น

นครซานฟรานซิสโก คณะรัฐมนตรีอาเซียนได้เข้าเยี่ยมชมซิลิกอน วัลเลย์ ศูนย์กลางนวัตกรรมและอุตสาหกรรมไอทีอันดับหนึ่งของโลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของโลก เช่น กูเกิล, ไมโคร ซอฟท์ และแอปเปิล

กรุงวอชิงตัน ดีซี ภาครัฐของทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนงานความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Trade and Investment Framework Agreement : ASEAN-U.S. TIFA) โดยเฉพาะเอกสารข้อเสนอของสหรัฐฯ เรื่อง U.S.-ASEAN Expanded Economic Engagement (E3) Initiative ซึ่งเป็น ความร่วมมือที่มุ่งเน้นไปที่การวางรากฐาน สำหรับการพัฒนาของประเทศอาเซียน

ในการเดินทางไปครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "Expanding U.S.-ASEAN economic relations" ในฐานะตัวแทนของอาเซียนระหว่างการหารือกับผู้แทนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งถือเป็น การตอกย้ำความเชื่อมั่นของสหรัฐฯ ที่มีต่ออาเซียน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อขยายการค้าและการลงทุนต่อไปในอนาคต

ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////

12 อรหันต์ กุนซือ นายกฯ ปฏิบัติการกู้วิกฤต-ศรัทธารัฐบาล !!??

700 วันบนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำรัฐนาวาฝ่าด่านอุปสรรคผ่านบันไดขั้นแรกของกระบวนพิจารณากฎหมายสำคัญทั้งเศรษฐกิจ-การเมืองในรัฐสภามาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

ทั้งกฎหมายการเมือง-เศรษฐกิจ ต่างเฝ้ารอดีเดย์เปิดสภาในเดือนสิงหาคม เพื่อเดินหน้าผ่านวาระ 2-3 ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นพิจารณาของ ส.ว.เป็นลำดับต่อไป

ด้านเศรษฐกิจ ปรากฏความสำเร็จจาก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่เดินมาถึงปลายทาง ก่อนเซ็นสัญญาจ้างเอกชนลงมือก่อสร้าง

เหลือเพียงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ร่าง พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่ต่างก็ผ่านการพิจารณาวาระแรกไปอย่างสะดวก

ด้านการเมือง ก็สามารถนำ ส.ส.พรรค-พวกเสียงข้างมาก ฝ่าแรงต้านจากฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กระทั่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็ผ่านขั้นรับหลักการเป็นที่เรียบร้อย

เหลือเพียงร่างกฎหมายเรื่องนิรโทษกรรม-ปรองดอง ที่จ่อคิวพิจารณาทันทีที่สภาเข้าสู่วาระเปิดเทอม

แม้เส้นทางที่ดูเหมือนจะราบรื่นตลอด 2 ปี แต่ครึ่งปี 2556 หลังจากนี้ เกมสุ่มเสี่ยงที่สร้างแรงสะเทือนถึงเสถียรภาพของรัฐบาลเพิ่งจะเริ่มต้น

วาระปกติ เผชิญหน้าฝ่ายค้านที่ไล่จี้จุดตั้งแต่การยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเวทีพิจารณาร่างกฎหมายอีกหลายยก

วาระจร เผชิญหน้ากับมวลชนที่เริ่มกระหึ่มเสียงต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" และรวมถึงอุปสรรคจากกระบวนการยุติธรรมที่ยกแรกปรากฏให้เห็นจากคำสั่งศาลปกครอง สั่งชะลอโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

ไม่นับรวมนโยบายประชานิยมที่เริ่มส่งกลิ่นไม่ชอบมาพากล ปรากฏภาพสุ่มเสี่ยงล้มเหลว อย่างโครงการรับจำนำข้าว แผนบริหารจัดการน้ำ แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอีกสารพัดนโยบายที่ผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้า อาทิ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสารพัดกองทุนต่าง ๆ

เป็นที่มาของการวางกองกำลังรอบตัว "ยิ่งลักษณ์" เพื่อประสาน-สั่งการแผนการบริหารงานได้แบบปัจจุบันทันด่วน

เป็นการจัดกองกำลังรอบตัวที่มากกว่ายุคของพี่ชาย ในรัฐบาล "ทักษิณ 2" ที่วางสูตรลงตัว 6 รองนายกฯ+1 รมต.ประจำสำนักนายกฯ

เป็นสูตรลงตัวที่ 12 กุนซือ (7+2+2+1) รวมศูนย์บัญชาการรอบตัวนายกรัฐมนตรี ที่รับคำสั่งขึ้นตรงกับ "ยิ่งลักษณ์" ครบเครื่องทั้งแนวรุก เกมรับ ครบรสทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

ชื่อที่หนึ่ง "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" รองนายกฯควบ รมว.ต่างประเทศ ได้รับปูนบำเหน็จเป็น "เบอร์ 1" ในกลุ่มเก้าอี้เสนาบดีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ลำดับแรก กุมแผนงานด้านต่างประเทศ และสถาบันการวิจัย

ชื่อที่สอง "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รองนายกฯควบ รมว.พาณิชย์ ถูกวางบทให้เข้ามาเคลียร์ "ปัญหาคาใจ" ในโครงการรับจำนำข้าวเป็นภารกิจหลัก รวมไปถึงข้ามสายอำนาจกำกับดูแลกรมการข้าวและกรมส่งเสริมการเกษตร ที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล

นอกจากนั้นยังเป็นมือบริหารทิศทางข่าว กุมอำนาจในกรมประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แบ่งรับ-แบ่งสู้ ควบคู่กับชื่อที่สาม "วราเทพ รัตนากร" ที่นั่งเก้าอี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯควบ รมช.เกษตรฯ ที่กำกับดูแลทั้งงานด้านข้าวและสื่อ ไม่ต่างจาก "นิวัฒน์ธำรง"

ชื่อที่สี่ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงแทนที่ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" ครอบคลุมงานสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงปฏิบัติการแก้ปัญหาภาคใต้

ชื่อที่ห้า "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกฯ ที่ถูกหั่นเก้าอี้ "รมว.ศึกษาธิการ" เพื่อให้เบนเข็มมาคุมเกมกฎหมายที่รัฐบาลต้องเผชิญทุกคดี โดยเซตอัพทีมกับ 2 รัฐมนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นมือชำนาญด้านกฎหมาย ทั้ง "พีรพันธุ์ พาลุสุข" รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และ "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม

ชื่อที่หก และเจ็ด ยังปฏิบัติหน้าที่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้ง "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รองนายกฯ มีงานสำคัญด้านบริหารงานเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกฯและ รมว.คลัง ที่ต้องเป็นหัวขบวนในการนำทัพทีมเศรษฐกิจ

เช่นเดียวกันกับชื่อที่แปด "ยุคล ลิ้มแหลมทอง" รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ ที่อยู่ในสังกัดโควตาของพรรคร่วม

และอีกหนึ่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นชื่อที่เก้า "สันติ พร้อมพัฒน์" รับผิดชอบส่วนงานภาคสังคม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทุกแผนงานจาก 9 เก้าอี้เสนาบดี ก่อนถูกส่งตรงถึง "ยิ่งลักษณ์" ต้องผ่านการสแกนข้อมูลจากเลขาธิการนายกฯ "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่ง "รัฐมนตรีเงา" ในอาณาบริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ถูกนับเป็นชื่อที่สิบ

ผสมผสานผ่านไอเดียจากที่ปรึกษานายกฯ ระดับหัวกะทิของ 2 กุนซือใหญ่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ร่วมคณะบริหารแบบรวมศูนย์การบริหารประเทศ และวางยุทธศาสตร์บริหาร ถูกนับเป็นชื่อที่สิบเอ็ด และสิบสอง

12 กุนซือข้างตัว "ยิ่งลักษณ์" จึงครบเครื่องเรื่องต่างประเทศ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจมหภาค-ในประเทศ และสังคม

เป็นการวางกองกำลังรับมือ "จุดเสี่ยง" ที่จะต้องเผชิญในช่วงครึ่งปี-ครึ่งทางสุดท้ายของรัฐบาล

ด้านที่ทำการพรรคเพื่อไทย ปรากฏทีมยุทธศาสตร์ทั้งฝ่ายวิเคราะห์ และฝ่ายแผนประชาสัมพันธ์ รับบทเป็นฝ่ายสนับสนุน มีชื่อ "นพดล ปัทมะ" คนใกล้ชิด-ทนายส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏอยู่ในทุกวงประชุม

เขาเปิดเผยข้อมูลว่า สถานการณ์ที่รัฐบาลต้องเผชิญในครึ่งปีหลังจะเข้มข้น ร้อนแรง แต่ไม่มีทางสะเทือน

"เชื่อว่าการเมืองครึ่งปีหลังไม่มีอะไรร้อนแรง ถ้าร้อนแรงเกินไป เราก็มีผ้าเย็นไปประคบให้สถานการณ์เบาลง เพราะพรรคเพื่อไทยก็มี safety วาล์วดักจับความร้อนไว้แล้ว โดยเราจะรับฟังเสียงประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ควบคู่กับเร่งสร้างผลงานเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น"

"นพดล" ยกตัวอย่างการทำงานระบบ "safety วาล์ว" ว่า การที่ ครม.กลับมาให้เงินจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทดังเดิม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยที่เปรียบเป็น "หู" รับฟังเสียงของเกษตรกร ก่อนสะท้อนข้อเท็จจริงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล

"สำหรับเรื่องการส่อทุจริตเรื่องจำนำข้าวมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนระดับหนึ่ง แต่ไม่ส่งผลถึงทำให้รัฐบาลล้ม ฉะนั้นครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงฟื้นความศรัทธา สร้างความศรัทธาต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น"

วิกฤต "ขาลง" ช่วงครึ่งปีแรก แม้รัฐบาลจะผ่านอุปสรรคมาได้ แต่ก็ยังไม่รอดพ้น "กับดัก" ที่ฝ่ายตรงข้ามขุดล่อไว้ โดยฝากไว้ให้กับกระบวนการยุติธรรม ที่พรรคเพื่อไทยปักใจเชื่อมาตลอดว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล

เป็นเหตุผลให้รายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 มีการเซตทีมผู้ชำนาญการพิเศษด้านกฎหมาย เพื่อ สู้คดีความของรัฐบาลที่จะต้องขึ้นศาลได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง

เป็นการใช้ความช่ำชองของการเป็นอดีตผู้พิพากษา มาทำหน้าที่ "แก้ต่าง" ให้รัฐบาลแบบครบทีม

รวมถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ ทั้งโครงการ 2 ล้านล้าน ที่ฝ่ายค้าน "ยืมดาบ" คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาฟาดฟัน

เช่นเดียวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.สรรหาบางคน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

"นพดล" ประเมินปลายทางต่อสู้ด้านกฎหมายว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไปตามกฎหมายบ้านเมืองจะเรียบร้อย แต่หากตัดสินตรงข้ามอาจมีปัญหาตามมา

"ถ้าตัดสินใจไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง บ้านเมืองก็จะไม่เรียบร้อย เพราะสังคม นักกฎหมายที่มีความรู้ก็ดูออก เช่น กรณีรับจ้างทำกับข้าว ของสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็หัวเราะกันไปทั่วทั้งโลก"

ส่วนร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่รอการพิจารณาวาระ 1 ในสภา หลายคนมองว่าอาจเป็นของร้อน แต่ทนายส่วนตัวของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" เห็นมุมมองที่ต่างออกไป โดยเฉพาะการที่ผู้นำฝ่ายค้าน-หัวหน้าพรรค ปชป. อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็ยังแสดงท่าทีว่าเอาด้วย

"ไม่เป็นปัญหา เพราะคุณอภิสิทธิ์ก็ออกมาเห็นด้วย กับการปล่อยพวกคนตัวเล็ก ๆ เพราะเขาไม่ใช่อาชญากร

ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยต้องทำให้ชัดเจนว่า ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับแกนนำ แต่นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกสีเสื้อ"

ถึงกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะไม่มีพลัง "งัดข้อ" กับรัฐบาลนอมินี "พ.ต.ท.ทักษิณ" เหมือนยุครัฐบาลสมัคร-สมชาย แต่กลับมีกลุ่ม "หน้ากากขาว" เกิดขึ้นแทน ซึ่ง "นพดล" ประเมินว่า เป็นเรื่องปกติของการแสดงออกทางประชาธิปไตย แต่รัฐบาลต้องไม่ประมาท ไม่ตกใจ อย่าไปสร้างเงื่อนไขให้เขานำไปกล่าวอ้างเพื่อเรียกกระแสได้ รัฐบาลต้องไม่ทุจริต

ฉะนั้น ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 เพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรีประเภทสายล่อฟ้าที่ถูกแปะหน้าผากว่า "ทุจริต" และ "สุ่มเสี่ยง" จึงพอช่วยลดแรงเสียดทานจากฝ่ายตรงข้ามไปได้ไม่มากก็น้อย

เป็นเหตุที่ทำให้ "นพดล" ยืนยันว่า รัฐนาวาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีวันล่ม และยังเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย

"เหมือนเครื่องบินกำลังบินอยู่ที่ระดับ 3 หมื่นฟิต อาจมีตกหลุมอากาศบ้าง แต่ไม่ตกแรงจนกระทั่งทำให้กาแฟในมือแอร์โฮสเตสหก แอร์ฯยังเสิร์ฟกาแฟให้ผู้โดยสารต่อได้ เชื่อว่ากัปตันยิ่งลักษณ์จะนำรัฐนาวาลำนี้ร่อนลงจอดสู่เป้าหมายอย่างปลอดภัย"

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////

ได้กลิ่นฟองสบู่ : จี้รัฐฟื้นฟูเรียลเซ็กเตอร์ เตือนสติคนไทนอย่าหลง AEC !!??

3 เจ้าสัวฟันธงวิกฤติต้มยำกุ้งจะไม่หวนกลับมาแล้ว แต่วิกฤติรอบใหม่ถ้าจะเกิดต้นตอจะมาจากปัญหาหนี้ในภาครัฐ "ประชัย" จี้รัฐส่งเสริมเรียลเซ็กเตอร์ เพิ่มเม็ดเงินใส่ระบบเศรษฐกิจ  และส่งเสริมคนไทยเป็นเจ้าของแบงก์ อ้างทุกวันนี้แบงก์ต่างชาติปล่อยกู้แต่ทุนชาติเดียวกัน    ด้าน"บุญชัย" เตือนขยับตัวตามความ ส่วน"สวัสดิ์" มองว่าตลาดเสรีไม่มีอยู่จริง

 การเสวนาหัวข้อ"ถอดบทเรียนฝ่าวิกฤติต้มยำกุ้ง"จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เนื่องในวาระครบรอบ 16 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยมี    นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีพีไอ โพลีน  จำกัด (มหาชน) (บมจ.) , นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน  ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมและบริการในช่วงก่อนปี 2540 ร่วมวงเสวนา
   
หนึ่งในประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 คนเห็นพ้องกันคือ วิกฤติต้มยำกุ้ง จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะแวดล้อมต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง หนึ่งในประเด็นที่พวกเขามองคือ หลังวิกฤติปี 2540 โอกาสที่ทุนไทยเข้าถึงเงินกู้มีน้อยลง การลงทุนขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นของทุนต่างชาติเป็นหลัก   และทั้ง 3 คนมีความเชื่อว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะเกิดขึ้น ต้นตอจะมาจากการก่อหนี้ของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า เป็นต้น
   
นายสวัสดิ์ได้กล่าวว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและเก็บค่าโดยสารอัตราต่ำโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนก่อสร้างและบริหารจัดการ ในท้ายที่สุดประชาชนจะเป็นผู้รับภาระ  เขาบอกว่าการที่ภาครัฐเร่งลงทุน  อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเร่งลงทุนและขยายธุรกิจจนเกินกำลัง และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกได้
   
ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท พ.ศ. 2556  และ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมของประเทศ พ.ศ. ..........2.2 ล้านล้านบาท  ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ และปัญหาคอร์รัปชัน  ขณะเดียวกัน รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าจะรักษาวินัยการคลังตามกรอบวินัยการคลัง ที่กำหนดว่าจะก่อหนี้สาธารณะไม่เกิน 60 % ของ จีดีพี หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
   
ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน นายประชัย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดภาคการผลิตจริง(Real sector) ให้มากกว่านี้ เพราะหลังวิกฤติปี 2540 คนไทยยังชูหัวไม่ขึ้นเนื่องจากแบงก์ไม่ปล่อยกู้เขาเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยเป็นเจ้าของแบงก์มากขึ้น เพราะปัจจุบันแบงก์ในระบบเป็นของต่างชาติเกือบหมดและจะปล่อยกู้เฉพาะธุรกิจในพวกเดียวกัน  เขากล่าวด้วยว่าปัจจุบัน สปิริตของผู้ประกอบการแทบไม่มีเหลือแล้วและคงสูญสิ้นไปหากไม่มีการดูแลจากรัฐ   และการอุดหนุนให้ภาคเรียลเซ็กเตอร์ (อุตสาหกรรม)เป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มเม็ดเงินให้ระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับที่หลายประเทศทำอยู่

เออีซีไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่
   
ด้านนายบุญชัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการที่ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนในกิจการคนไทยหลังวิกฤติปี 2540 คือทำให้อุตสาหกรรม และภาคบริการแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งถือเป็นบทเรียนทรงคุณค่า   กับการเทียบเคียงวิกฤติเมื่ออดีตกับสถานการณ์ปัจจุบัน นายบุญชัยบอกว่า ก่อนหน้าฟองสบู่แตก 2 ปี (วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540) ตนเองมีรถสปอร์ตเยอะมาก การกู้เงินง่ายมาก ไปไหนมีแต่คนชม ทำให้ลืมตัว    เหมือนกับตอนนี้ที่มีรถหรูให้เห็นมากมาย และมีคนบ่นถึงปัญหาภาระหนี้เยอะ จากประสบการณ์ของตน  ปรากฏการณ์ขณะนี้เป็นสัญญาณที่น่าห่วง ฉะนั้นหากจะกู้ขอให้ดูผลตอบแทนด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่  และบริหารด้วยความระมัดระวัง  
   
นายบุญชัย ซึ่งปัจจุบันกลับมาถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ดีแทค และอยู่ระหว่างพัฒนาธุรกิจด้านเนื้อหาขึ้นมา  ได้กล่าวเตือนสติคนไทยว่า เออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ เราแค่อยากได้เงินทุนเข้ามาลงทุน โดยโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีกิจการขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก การค่อยๆสร้างขึ้นไปธุรกิจขนาดใหญ่มีความเหมาะสมกว่า   และนายบุญชัยยังกล่าวด้วยว่าการขับเคลื่อนประเทศรัฐบาลกับเอกชนควรมีการหารือกันโดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบในวงกว้าง

สวัสดิ์โมเดล
   
ด้ายนายสวัสดิ์ซึ่งปัจจุบันนอกจากเป็นประธานกรรมการ บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน แล้วยังเป็นประธานกรรมการ บริษัท ซีเอ โพสท์(ไทยแลนด์)ฯธุรกิจของครอบครัว กล่าวว่าตนผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งพร้อมกับสะสางหนี้กว่าแสนล้านบาทมาได้เพราะคิดเสมอว่า "เราคืออันดับหนึ่ง"และแสดงความแข็งแกร่งให้ทีมงานเห็น  นายสวัสดิ์บอกว่าตนเรียนน้อยการสร้างธุรกิจตั้งแต่โรงกลึงเล็กๆจนถึงโรงเหล็กขนาดใหญ่ และมาจบด้วยการสะสางหนี้ก้อนโตล้วนคิดนอกกรอบทั้งสิ้น  เขาบอกว่าที่ตัวเองฝ่าวิกฤติมาได้เพราะมีเพื่อนเยอะในช่วงปรับโครงสร้างหนี้ได้เดินสายไป ลิเบีย อาร์เจนตินา บราซิล อิหร่าน หาโอกาสทำธุรกิจจาก ถ่านหิน ก๊าซ และแร่เหล็ก "เมื่อรู้ตัวว่าธุรกิจที่สร้างมากำลังจะหลุดมือไป (บจก. เอ็น.ที.เอส. สตีล กรุ๊ปส์ และ บจก.นครไทยสคริปมิล)  ผมบอกตัวเองว่าก่อนหน้านี้เรามาจากอะไร " เขาตั้งข้อสังเกตว่าตอนที่ตนเป็นหนี้ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย 15 % แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย 7 % ธุรกิจเจ๊งได้อย่างไร ทั้งนี้เขามีมุมมองเช่นเดียวกับนายประชัยที่ว่าปัจจุบันแบงก์ปล่อยกู้ยากขึ้น เพราะหันไปทำรายได้จากค่าบริการ ซึ่งตนเองเป็นห่วงว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะสร้างธุรกิจด้วยการกู้เป็นเรื่องยาก    และเขาได้กล่าวทิ้งท้าย ว่าอย่าเชื่อเรื่องตลาดเสรีเพราะไม่มีอยู่จริงและเชื่อในหลักการทำธุรกิจต้องก้าวไปทีละขั้นๆ

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

World Bank จ่อหั่นเป้า GDPไทย !!?

ธนาคารโลกเตรียมหั่นเป้าเศรษฐกิจไทยเดือนส.ค. นี้ ระบุเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว'ไม่ชัดเจน'เช่นเดียวกับ บอร์ดกนง.ถก10ก.ค.นี้ หั่นเป้าจีดีพี-ส่งออก

สำนักวิจัยหลายแห่งเริ่มปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลง หลังเศรษฐกิจโลกและปัญหาเศรษฐกิจในจีนเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกชัดเจนขึ้น

นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่าในเดือนส.ค. นี้ ธนาคารโลกเตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยใหม่ จากเดิมที่มองว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้จะเติบโตที่ 5% และส่งออกเติบโต 7%เหตุผลการปรับประมาณการเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่ชัดเจน ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศจะถอนมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (คิวอี) เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงเร็ว ซึ่งจะกระทบต่อการเติบโตของภาคการส่งออกไทย ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศเริ่มแผ่วลง

"การเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ คงต้องอาศัยโครงการลงทุนจากภาครัฐเป็นหลัก"

การปรับลดประมาณการของธนาคารโลก เช่นเดียวกับสำนักวิจัยหลายแห่ง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะเสนอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 ก.ค. นี้ให้ปรับประมาณการใหม่

การประชุม กนง.ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา กนง.ประเมินว่าจีดีพีในปีนี้จะขยายตัวได้ 5.1% และส่งออกจะขยายตัวได้ระดับ 7%

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ย้ำว่าสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยนั้น ในการประชุมบอร์ดกนง.ในวันที่ 10 ก.ค.นี้ ที่ประชุมกนง.น่าจะทบทวนประมาณการเศรษฐกิจใหม่

"คงมีการทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่ รวมถึงตัวเลขการส่งออกด้วย ซึ่งก็คงเป็นการปรับประมาณการลง โดยตัวเลขส่งออกไทยที่ ธปท.เคยประเมินไว้ที่ 7% นั้น ไม่น่าจะเป็นตัวเลขที่ใช้ได้แล้ว"

ส่วนแนวโน้มสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ยังตอบได้ยาก ขึ้นกับว่าเศรษฐกิจของ 3 ประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐ จีน และไทย

"หากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เฟด ยุติการใช้มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ (คิวอี) จริง ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและไทยชะลอตัว ถ้าเป็นกรณีนี้ก็เชื่อว่า เงินทุนยังคงเป็นทิศทางไหลออก"

ศูนย์วิจัยกสิกรหั่นเป้าจีดีพีเหลือ4%

ด้าน นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ พร้อมผู้บริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้แถลงปรับประมาณการเศรษฐกิจวานนี้ (5 ก.ค.) โดยปรับลดลงเป็นครั้งที่ 2 ของปี เหลือ 4% หลังจากที่ไตรมาส 2 เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะเติบโตต่ำกว่า 3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.2%

"ขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังมีไม่มากนัก จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือคิวอีของสหรัฐทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลง ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ต้องล่าช้าออกไป กระทบต่อการคาดการณ์จีดีพีปีนี้ 0.1% และจะมีผลต่อเศรษฐกิจในปี 2557 ให้ขยายตัวได้ 4.5%"

ห่วงหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกพุ่ง

นายเชาว์ กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนยังคงปรับเพิ่มขึ้น เร็วกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้และเงินออม โดยไตรมาสแรกของปี ระดับของหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 8.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 77.4% ต่อจีดีพี เทียบกับปี 2540 ที่หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 1.36 ล้านล้านบาท คิดเป็น 28.8% ต่อจีดีพี แต่เมื่อประเมินจากทิศทางเศรษฐกิจในขณะนี้แล้ว เศรษฐกิจไทยยังไม่มีปัจจัยชี้นำให้เกิดหนี้เสีย หรือกระทบกับเศรษฐกิจรุนแรง ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้เร่งตัวรวดเร็ว การว่างงานยังอยู่ระดับต่ำและค่าครองชีพที่ไม่ได้เพิ่มเกินระดับรายได้

หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556-2557 ได้ โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจชะลอตัวลงและความเชื่อมั่นครัวเรือนลดลงกระทบภาระหนี้ที่ต้องชำระต่อเดือนจนรายได้ติดลบ

ทั้งนี้ในระยะปานกลางต้องติดตาวงจรสินเชื่อและดอกเบี้ยที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ค่อยๆ ส่งผ่านไปถึงผู้บริโภค คาดว่าต้องใช้เวลา ซึ่งยังไม่เห็นในปีนี้

คาดว่า เฟด จะทยอยถอยคิวอีได้อย่างเร็วก็ไตรมาสแรกของปี 2557 การปรับขึ้นดอกเบี้ยก็คงทยอยปรับขึ้น จากขณะนี้อยู่ที่ระดับต่ำกว่าปกติที่ 0.25% จากปกติ 3.25%ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยควรสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ 0.25-0.50% ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยทยอยปรับเพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า

จี้รัฐคุมหนี้ครัวเรือน

ในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อรายย่อยประมาณ 2% และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ตราบใดที่รายได้ยังมากกว่ารายจ่ายปัญหาหนี้ครัวเรือนจะไม่รุนแรง ดังนั้นภาครัฐต้องรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับ 5% เพื่อควบคุมปัญหาหนี้ครัวเรือนที่จะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ระดับ 80% ต่อจีดีพีในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

"ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 77-78% ต่อจีดีพีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาหนี้ภาคครัวเรือนขยายตัวได้เร็วกว่าจีดีพี ทำให้คาดว่าใน 1-2 ปีข้างหน้าหนี้ต่อจีดีพีจะเพิ่มขึ้นเป็น 80% เป็นความท้าทายในการจัดการภาวะเศรษฐกิจ ประเด็นอยู่ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะนั้นจะสามารถรักษาระดับที่ 5%ได้หรือไม่ หากดูแลได้ก็เชื่อว่าจะไม่กระทบเหมือนปี 2540"

หั่นเป้าส่งออกปีนี้เหลือ 4%

นายเชาว์ กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งในปีนี้ศูนย์วิจัยได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกลงเหลือ 4% จากเดิม 7% โดย 5 เดือนแรกการส่งออกของไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปีการส่งออกต้องโตได้ 5%

สำหรับผลกระทบจากมาตรการคิวอีที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น หากเทียบกับภูมิภาคแล้ว ประเทศไทยยังมีทิศทางที่ดี จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี มีทุนสำรองที่อยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกที่สามารถรองรับได้ 7-8 เดือน แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดียและเวียดนาม ที่จะอ่อนไหวต่อมาตรการคิวอี เพราะระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงเม็ดเงินจากต่างประเทศค่อนข้างมาก สะท้อนจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเร่งของสินเชื่อ เม็ดเงินที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้า

ดังนั้น สามประเทศดังกล่าว ถือเป็นประเทศที่น่าลงทุนในระยะกลางและระยะยาว เนื่องจากราคาสินทรัพย์จะลดต่ำลง เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 6% ขณะที่เวียดนามเองอยู่ระหว่างการปฏิรูปเศรษฐกิจและลดค่าเงินด่องไปแล้ว 1%

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การปรับตัว ให้ทันยุคสมัย !!??

โดย : ไสว บุญมา

จากมุมมองของเทคโนโลยี คงไม่มีข้อโต้แย้งมากนัก หากจะสรุปว่าโลกกำลังตกอยู่ในช่วงเปลี่ยนยุค ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวง วิธีผลิต การบริโภค ความหลากหลายและการกระจายสินค้าและบริการ พร้อมทั้งการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้ภายในพริบตา ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของโลก

ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีใหม่ ได้เอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือเข้าถึงเทคโนโลยี กอบโกยส่วนแบ่งของรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปเป็นของตน ส่วนประชาชนทั่วไปได้รับส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย และบางส่วนไม่ได้อะไรเลย

กระบวนการนี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เป็นธรรมในด้านการกระจายรายได้เลวร้ายขึ้น ความเลวร้ายนี้มีพลังสนับสนุนให้เพิ่มขึ้นอีกจากระบบการเมือง ที่ผู้มีทรัพย์มากเข้าถึงกระบวนการทางการเมืองมากกว่าคนทั่วไป



เมื่อคนส่วนน้อยนั้นควบคุมระบบการเมืองได้ พวกเขาก็ชี้นำ หรือดำเนินนโยบายที่เน้นการได้ประโยชน์ของพวกเขาเป็นที่ตั้ง ด้วยเหตุนี้ การกระจายรายได้จึงเลวร้ายยิ่งขึ้นทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ หรือในแนวอื่น

นอกจากด้านเทคโนโลยี ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่นซึ่งอาจมองว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนยุค อาทิ ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเคยมีความขัดแย้งระหว่างระบบตลาดเสรีกับระบบคอมมิวนิสต์เป็นตัวกำหนดทิศทาง ได้เปลี่ยนมาเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐกับกลุ่มชนที่มีความเห็นต่าง รวมทั้งทางด้านศาสนาด้วย

สงครามขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการก่อการร้ายของกลุ่มชนที่ต่อต้านการครอบงำของแนวคิดกระแสหลัก

นอกจากนั้น ยังมีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเกือบทั่วโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา หลังจากเกิดความถดถอยครั้งใหญ่เมื่อฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศแตกเมื่อปี 2551

ความถดถอยครั้งนี้ มีความร้ายแรงสูงรองลงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดหลังความล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาเมื่อปี 2472 เท่านั้น

เมื่อเกิดวิกฤตหลังปี 2472 โลกใช้แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ แก้ปัญหา ปรากฏว่าได้ผล แนวคิดนั้นจึงถูกใช้แก้ปัญหามาจนถึงปัจจุบัน แต่หลังเกิดความถดถอยครั้งล่าสุด แนวคิดนั้นใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ประเทศต่าง ๆ จึงยังประสบปัญหาที่แสดงออกมาทางความล้มละลายในหลายประเทศ และจำนวนมากยังตกอยู่ในภาวะซบเซายืดเยื้อ

ในขณะนี้มีการว่างงานในอัตราที่สูงมากเกือบทั่วโลก ในบางประเทศสูงกว่า 25% การว่างงานในระดับนี้รังแต่จะมีผลร้ายต่อไปทั้งในด้านการเมืองและสังคม

ไม่ว่าจะมองหรือไม่ว่าเวลานี้เป็นช่วงต่อของการเปลี่ยนยุค ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะออกมาอย่างไร แต่สภาพการณ์น่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนานกว่าจะมีความกระจ่าง

นั่นหมายความว่า การดำเนินนโยบายในระดับประเทศและการดำเนินชีวิตของบุคคล น่าจะยึดการลดความเสี่ยงเป็นหลัก

แต่ในช่วงนี้นโยบายของรัฐบาลไทยมีแนวโน้มว่ากำลังเดินไปในทางตรงข้าม นโยบายในแนวประชานิยมเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นโยบายล่าสุดที่กำลังมีผลเสียหายมหาศาลทางการเงิน ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าว ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลรับจำนำข้าวจากชาวนาด้วยราคาเกือบ 2 เท่าของราคาในตลาดโลก ส่งผลให้ชาวนาไม่กลับมารับข้าวคืน รัฐบาลต้องจำหน่ายข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำไว้ ทำให้ขาดทุนนับแสนล้านบาท

หากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกโครงการนี้ หรือลดราคารับจำนำลง หรือราคาข้าวในตลาดโลกไม่เพิ่มขึ้นไปใกล้ ๆ สองเท่า การขาดทุนจำนวนมากจะยังเกิดขึ้น รัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาใช้ในโครงการนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์

แต่ที่แน่นอนคือรัฐบาลได้เริ่มกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้ในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทที่ยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้เพื่ออะไรอีกด้วย

อนึ่ง หากดำเนินต่อไปในแนวเดิม โครงการรับจำนำข้าวนี้จะมีผลทำให้รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าว พร้อมกับการทำลายกลไกของตลาดเสรีซึ่งทำงานเป็นอย่างดีมานาน ประวัติศาสตร์บ่งว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลด้อยกว่าของภาคเอกชน การผูกขาดตลาดข้าวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านกลไกแน่นอน

ข้าวเป็นเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจและสังคมไทย เมื่อประสิทธิภาพของภาคนี้ถูกทำลาย เศรษฐกิจและสังคมไทยย่อมมีปัญหาใหญ่หลวง เกี่ยวกับประเด็นนี้มีอุทาหรณ์จากฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์ในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส เข้าไปผูกขาดตลาดมะพร้าวแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

มะพร้าวเป็นหัวใจของเศรษฐกิจและสังคม ฟิลิปปินส์ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ส่งมะพร้าวออกหมายเลข 1 ของโลก การผูกขาดของรัฐบาลส่งผลให้การผลิตมะพร้าวซบเซาลงจนส่งผลให้ฟิลิปปินส์ได้สมญาว่าเป็น "คนง่อยของเอเชีย"

นอกจากนั้น รัฐบาลยังกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายไปในแนวที่รัฐบาลต้องการอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลต้องการจะนำเงินสำรองของชาติออกมาใช้และบริหารจัดการเอง หากรัฐบาลทำสิ่งเหล่านั้นสำเร็จ ผลที่ออกมาจะได้แก่การเสียวินัยทั้งในด้านการคลังและการเงินพร้อม ๆ กัน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ในสภาพที่โลกภายนอกมีความไม่แน่นอนสูง และนโยบายภายในทำให้ความเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรงเพิ่มขึ้นนี้ ประชาชนคงไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะกระทำในสิ่งที่ลดความเสี่ยงลงให้มากที่สุด

โดยเฉพาะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจริง ๆ ลง ลดการกู้หนี้ยืมสินลง และหากมีเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนได้ ก็ลงทุนในด้านที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////

การแข่งขันกับค้าเสรี !!??

โดย อมร พวงงาม

ปลายเดือนก่อน สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่เขาจัดงานแถลงข่าวครับ

ผมมีโอกาสไปร่วมงาน

คุณชาญชัย พิลาวรรณ นายกสมาคม ร่ายให้ฟังว่า

ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายรถยนต์ใหม่จากต่างประเทศรวมตัวกันมากกว่า 50 รายตั้งขึ้น

เป้าหมายก็เพื่อพัฒนาธุรกิจนำเข้าและรถใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

เพิ่มประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่จะมีทางเลือกใช้รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ

และมีสมาคมจะช่วยควบคุมสมาชิกด้วยกันเองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

ส่วนประเด็น "ฮั้วราคา" รับรองไม่มีเด็ดขาด

ฟังดูดีมากครับ แต่เสียดาย...

สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ ทั้งนั้น

เอ็น.เค.ฯ บีอาร์จี ทีเอสแอล อีตั้น

เอจีคาร์ส ออโตเอ็กซ์เชนจ์ ฯลฯ

ไม่ปรากฏรายเล็ก ๆ

ซึ่งการยกระดับหรือพัฒนากลุ่มผู้นำเข้า

ผมว่าน่าจะต้องทำกันให้ครบ

รายเล็กๆ นี่แหละ...ตัวดี

ตีหัวเข้าบ้านมีให้เห็นบ่อย ๆ

พวกนี้ต้องเอามาอยู่ในกรอบให้ได้

ตัวนายกเองก็พูดชัดว่า ที่ผ่านมา

ผู้จำหน่ายรถยนต์นำเข้าอิสระ

หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า "เกรย์มาร์เก็ต"

มีภาพติดลบมาโดยตลอดในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย

ควรจะใช้จังหวะนี้แหละ

ฟอกกันให้สะอาดสักที

ส่วนอีกประเด็นที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง

นายกชาญชัยบอกว่า ผู้จำหน่ายรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศนั้น

ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค

ไม่ปล่อยให้ใครบางคนผูกขาด

และที่สำคัญ ผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกใช้รถยนต์ที่มีคุณภาพทัดเทียมนานา

ประเทศ

มีตัวเลือกทั้งด้านออปชั่นและราคา

และที่สำคัญ ราคารถมันถูกลงกว่าเมื่อก่อนเยอะเลย

เรื่องนี้จริงครับ เมื่อก่อนรถเบนซ์ต้องระดับคุณชายหรือเศรษฐีจริง ๆ ถึงได้

สัมผัส

เดี๋ยวนี้ดูซิครับ วิ่งกันให้เกลื่อนเมืองไปหมด

การค้าเสรี...การแข่งขัน มันดียังงี้เอง

สัปดาห์ก่อน ผมเห็นข่าวรองนายก

กิตติรัตน์ ณ ระนอง

ให้สัมภาษณ์บอกว่า ผู้บริหารเมอร์

เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย มาพบ

บอกให้ช่วยเข้มงวดกับเกรย์มาร์เก็ตหน่อย

เพราะตอนนี้รถเบนซ์ประสบปัญหานำเข้าไม่ถูกขั้นตอน

มีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของรถยนต์ที่นำเข้าอย่างถูกต้อง

ถ้ารัฐบาลไม่ดูแล เบนซ์อาจย้ายฐานการผลิตในประเทศไทยออกไป

เพราะไม่คุ้มค่าในการผลิต

เนื่องจากมีรถยนต์นำเข้าผิดขั้นตอนเป็นจำนวนมาก

ผมเห็นข่าวก็ตกใจ ถ้าเบนซ์ไม่ลงทุนในเมืองไทย

แล้วใครจะแข่งกับเกรย์มาร์เก็ตล่ะ

ทีนี้ตลาดก็คงจะถูกผูกขาดอีกจนได้

อย่าหนีไปไหนเลยครับ (อ้อนวอน)

ช่วยกันสร้างความสีสันให้ตลาดรถยนต์บ้านเราต่อไปเถอะ

ผมว่าแข่งขันกันเยอะ ๆ เหอะ สนุกดี

วันก่อนตอนจังหวะผู้นำเข้าอิสระเพลี่ยงพล้ำ

ถูกหมัดน็อกจากดีเอสไอ กรณีรถหรูเลี่ยงภาษี

ผู้บริโภคหันไปซื้อรถจากตัวแทนจำหน่าย

แล้วผู้บริหารเบนซ์ออกมาถล่มซ้ำ

ดัมพ์ราคาเบนซ์ เอส-คลาส ลงอีกคันละ 1 ล้านบาท

เชื่อมั้ย..ผู้บริโภคเฮกันลั่น

แม้ว่าโมเดลใหม่ กำลังจะมาก็เถอะ

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////