--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จาก อุโมงค์ยักษ์ ถึง ป้ายยักษ์ !!?


“หมู”พลาดซ้ำซาก!!
“มาร์ค”ชิ่งหนีดีกว่า?
“อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก อย่าแยกแผ่นดิน”

เป็นวลีที่กองทัพไทยน่าจะจำได้เป็นอย่างดี เพราะในอดีตแทบทุกกรมทหาร จะเขียนประโยคนี้ไว้ด้านหน้าประตู เคียงคู่กับคำว่า “ทหารเป็นมิตรกับประชาชน” และคำว่า “เขตทหาร ห้ามเข้า”เลยก็ว่าได้
วันนี้หลายฝ่ายจึงเฝ้ามองพฤติกรรมทางการเมืองของคนบางกลุ่ม พรรคการเมืองบางพรรคด้วยความไม่สบายใจ ที่มีการเอื้อมมือไปดึงฟ้า นิยมโหนสถาบัน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสียงทางการเมือง

ขณะเดียวกันก็เฝ้าดูว่า แล้วกองทัพ แล้วผู้บัญชาการทหารบก ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการกระแอมกระไอใดๆออกมาบ้างหรือไม่ ว่าให้เพลาๆกันบ้าง!!!

จะว่าประชาชนคิดมากเกินไปหรือเปล่ากับพฤติกรรมของพรรคการเมืองบางพรรค ก็คงไม่ใช่ เพราะแม้แต่ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน

ทั้งๆที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ออกมาสรุปข้อเท็จจริง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในหลายเรื่องที่เกี่ยวกับ “ความจริง” “ข้อเท็จจริง” และ “ความเชื่อ”

แต่สิ่งหนึ่งที่รายงานของ คอป. ทำออกมา แล้วดูเหมือนว่าทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน ไม่มีใครคัดค้านขัดแย้งกับ คอป.เลยนั้น ก็คือในสรุปข้อเสนอแนะของ คอป. ข้อที่ 7

คอป. ระบุว่ามีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่อาจกระตุ้นให้ความขัดแย้งยกระดับไปสู่การใช้ความรุนแรงได้ คอป. เห็นว่า สังคมไทยควรตระหนักว่าประเทศชาติได้รับความเสียหายและบอบช้ำจากปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมมาเป็นเวลานานแล้ว

และควรนำวิกฤตการณ์ความรุนแรงในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อระลึกถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น และร่วมกันประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้ประเทศต้องประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงอีก
ข้อเสนอแนะของ คอป. มีทั้งหมด 13 ข้อ สำหรับข้อที่ 7 เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง คอป. ระบุว่า

การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีส่วนทำให้ปัญหาความขัดแย้งบานปลายจนเกิดความแตกแยกของประชาชน และส่งผลร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ
คอป. จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง

นอกจากนี้ คอป. เห็นว่ารัฐควรสนับสนุนให้สังคมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้มีเวทีให้บุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์โดยสันติวิธี

กรณีกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกำจัดคู่ขัดแย้ง เพราะไม่ส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และยังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดอง

คอป. เห็นว่ารัฐบาลและรัฐสภาควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบัน ซึ่งมีปัญหาในการบังคับใช้ที่มีการระวางโทษสูงเกินสัดส่วนของความผิด จำกัดดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม และการเปิดโอกาสให้บุคคลใดๆ สามารถกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีได้

แต่ประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง รัฐจึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบด้วยความระมัดระวังว่าจะไม่ทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น โดยอาจศึกษาแนวทางจากประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมาปรับใช้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เหมาะสม

ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐพึงระมัดระวังในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยไม่ใช้อย่างกว้างขวางเกินไปกว่าที่กฎหมายบัญญัติ และไม่นำมาตรการทางอาญามาใช้ อย่างเคร่งครัดจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนของคดี

รัฐต้องส่งเสริมการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมและเป็นเอกภาพ รวมถึงสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการโดยมีกลไกในการกำหนดนโยบายทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจำแนกลักษณะคดี และกลั่นกรองคดีที่เกี่ยวข้อง
โดยพิจารณาจากความหนักเบาของพฤติกรรม เจตนาและสถานภาพของผู้กระทำ บริบทโดยรวมของสถานการณ์ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดาเนินคดี

โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นจากการถวายพระเกียรติยศสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ

ปัญหาก็คือ หลังจากที่ คอป. ออกคำเสนอแนะดังกล่าวออกมาแล้ว ยังคงมีพฤติกรรมการเมืองที่ คอป. เรียกว่าเป็นการ การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวโยงกับประเด็นและความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่… ตรงนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร
ก่อนหน้านี้หากยังจำกันได้ ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เดือนเมษายน 2554 ที่กำลังจะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่ามีกรณีที่มีพรรคการเมืองนำเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันทั้งสังคมไทย

มีการขึ้นป้ายขึ้นคัทเอาท์โดยใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นในหลายๆจังหวัดทั่วไปหมด
ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องมีการยกร่างระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าด้วยการหาเสียงเลือกตั้ง และการดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้ง
มีการระบุห้ามอย่างชัดเจนเลยว่า

“มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมมาเพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคใด”
หากใครขืนทำ และพิสูจน์ความผิดได้ โทษถึงขั้นยุบพรรคกันเลยทีเดียว

โดยนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2554 ว่าระเบียบดังกล่าวจะมีหลักการคล้ายข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ห้ามไม่ให้กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ว่ากรณีใดๆ

โดยระเบียบดังกล่าวจะเริ่มใช้ภายหลังยุบสภา หากผู้สมัคร ส.ส.รายใดฝ่าฝืน โดยกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องหรือกรณีอื่นๆ หากทำให้เข้าใจผิดในคะแนนเสียงหรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต นอกจากมีโทษถึงขั้นให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) หรือตัดสิทธิทางการเมือง (ใบแดง) แล้ว ยังอาจมีโทษถึงขั้นถูกดำเนินคดีอาญา

และหากผู้ที่ทำผิดระเบียบดังกล่าวเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใด ก็จะนำไปสู่การยุบพรรคเช่นเดียวกับการซื้อเสียง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสองด้วย
กฎของ กกต.ในเรื่องนี้สร้างความหงุดหงิดให้กับพรรคภูมิใจไทยเป็นอย่างมาก

ที่สำคัญในวันนั้น พรรคประชาธิปัตย์นี่แหละที่ดาหน้ากันออกมาสนับสนุนกฎข้อนี้ของ กกต. อย่างเต็มที่
แต่วันนี้ ปรากฏการณ์ในการขึ้นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ถูกติดตั้งบนอาคารสูงริมถนนสายหลักหลายสาย โดยมีใจความว่า “คนกรุงเทพ รักในหลวง ไม่เปลี่ยน” โดยมีภาพของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เด่นตระหง่านท่ามกลางภาพของบรรดาศิลปินนักร้องนักแสดงและนักกีฬาชื่อดัง
กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนัก ว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วหรือ???
เป็นเรื่องที่เข้าข่ายในสิ่งที่ คอป. เขียนข้อเสนอแนะถึงหรือไม่???

และหากกรณีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ กกต.กำหนดวันหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.แล้ว จะเข้าข่ายกฎเหล็กของ กกต. ที่ระบุห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่???

แต่ที่แน่ๆในสังคมขณะนี้ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก แล้วด้วยความที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงมีการแจ้งลบกันอุตลุด มีการเห็นต่างและตอบโต้กันไปมาอย่างรุนแรง โดยที่มี “สถาบัน”เป็นประเด็น

จนเกิดคำถามดังลั่นไปหมดว่า คนที่ทำป้ายนี้เอาสมองส่วนไหนคิด หรือว่าคิดอะไรอยู่ จู่ๆจึงสร้างประเด็นที่ก่อให้เกิดการลุกลาม การแบ่งแยกแตกขั้วความคิดออกมาเช่นนี้... สังคมไทยยังวุ่นวาย ยังบอบช้ำมากไม่พอใช่หรือไม่???
ถึงได้อุตริทำป้ายโฆษณานี้ขึ้นมา!!!

จะอ้างว่ารณรงค์ให้คนกรุงเทพฯรักในหลวงฯ ก็ไม่ใช่เรื่อง เพราะคนกรุงเทพฯก็รักในหลวงกันอยู่แล้ว รวมถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย แล้วทำไมต้องรณรงค์

ที่สำคัญป้ายรักในหลวงฯในอดีต จะใช้รูปในหลวงฯเป็นหลัก แต่นี่ไม่มีเลย กลับไปใช้รูปคน แถมเป็นคนที่ตั้งใจอยากจะลงเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เสียอีก

วันนี้คนทำป้าย คนที่อยู่เบื้องหลังความคิดนี้ คงได้รู้ซึ้งเต็มสมองและ 2 หู แล้วว่า การวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่จะออกไปในทางลบ เพราะส่วนใหญ่คิดว่าป้ายขนาดใหญ่ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นแคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

ที่สำคัญส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องมิบังควรที่มีการนำเอาสถาบันเบื้องสูงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
กระแสเรื่องนี้แรงมาก จน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ต้องออกมาแก้ตัวเป็นพัลวันว่า ไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว
อ้างว่าเป็นเรื่องของกลุ่มจิตอาสากลุ่มหนึ่งที่ต้องการรูปภาพของพ่อเมืองไปรวมกลุ่มกับศิลปินนักร้องนักแสดงในการทำกิจกรรมทางสังคมภายใต้แคมเปญ “รักในหลวง”

อ้างว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการแสดงความจงรักภักดีผ่านป้ายเท่านั้น ไม่ได้เป็นคนต้นคิดจัดทำป้ายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สมัยหน้าแต่อย่างใด
“ไม่ใช่เป็นป้ายของผม และก็ไม่ใช่ของกทม. เป็นป้ายของภาคเอกชนทั้งหมด เพียงแต่มีรูปภาพของผมไปร่วมด้วยเท่านั้น” ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์ปฏิเสธระงม

ไม่แปลกที่ ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์จะต้องปฏิเสธ เพราะการขึ้นป้ายห่างจากการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.เพียงแค่ไม่ถึง 4 เดือน แถมมีการเปิดตัวผู้สมัครบางคนไปแล้ว รวมทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ก็เปิดใจไปแล้วว่าต้องการลงชิงเก้าอี้สมัยที่ 2… จะให้คนมองเป็นอย่างอื่น คงไม่ง่ายนัก

แต่ที่วิพากษ์วิจารณ์กันแรงคือ ไม่เพียงจะดูเหมือนการโหนสถาบัน แต่ยังเป็นการแบ่งแยกกลุ่มคนรักในหลวงฯอีกด้วย เพราะแทนที่จะเขียนว่า คนไทยรักในหลวงฯ แต่กลับเจาะจงเพียงแค่คนกรุงเทพฯ เป็นการผูกขาดความรักไว้เพียงกลุ่มเดียวอย่างนั้นหรือ

ตลกที่สุดคือ รูปบุคคลในป้ายดังกล่าว “นุ่น”ศิระพันธ์ วัฒนะจินดา ดารานักแสดงที่ดังจากเรื่องบ่วง ก็เป็นคนจังหวัดลำปาง นายกฤษฏา สุโกศล แคลปป์ หรือ น้อย วงพรู ซึ่งครอบครัวเป็นเจ้าของโรงแรมดังที่อยู่ตรงข้ามกับบ้านของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์นั่นแหละ เกิดเมืองไทยก็จริงแต่ไปโตเมืองนอก อยู่เมืองนอกตลอด เรียนที่ Anthropology จาก Boston University และ Stella

หรือ “น้องแต้ว”นส.พิมศิริ ศิริแก้ว นักยกน้ำหนักหญิงที่สามารถคว้าเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิค2012ที่ผ่านมาหมาดๆ ก็เป็นชาวอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นายสมจิตร จงจอหอ อดีตนักมวยทีมชาติไทย ดูนามสกุลก็รู้แล้วว่าเกิดที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ส่วน “น้องวิว”เยาวภา บูรพลชัย เจ้าของเหรียญโอลิมปิคกีฬาเทควันโดหญิงเกิดกรุงเทพฯ แต่ก็เคยลงการเมืองในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคที่มี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นประธานใหญ่
แล้วป้ายกลับขึ้นว่าคนกรุงเทพฯ!!!

แถมป้ายมีการจงใจเขียนคำว่า “ไม่เปลี่ยน”เฉียงลงมาอยู่บนหัวของ ม.รว.สุขุมพันธุ์ คนเลยยิ่งมองยิ่งตีความกันหนักว่านี่คือการส่อเจตนาทำนองเรียกร้องว่าไม่เปลี่ยนผู้ว่าฯกทม.หรือไม่???
งานนี้ป้ายโฆษณาที่ออกมากลายเป็นประเด็นลบเต็มๆสำหรับคนชื่อ “สุขุมพันธุ์”

ขณะที่ด้านล่างของป้ายดังกล่าวระบุชื่อ กลุ่มคิดดีทำดี นั้น คงเห็นแล้วว่าการทำป้ายนี้ออกมาก็ไม่ได้คิดให้ดีเสียก่อน เพราะหากคิดให้ดีคิดให้รอบคอบคงไม่คิดทำเรื่องแบบนี้ออกมาแน่ๆ

เพราะพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องพลอยเปลืองตัวเปลืองพรรคอย่างมาก ก็ออกอาการ “ชิ่งหนี”แล้ว โดยมีรายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ออกมาทำนองว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจให้กับพรรคอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างที่จะอ่อนไหวต่อความรู้สึกคนไทยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ปชป.ปล่อยข่าวเลยว่า นายอภิสิทธิ์ มีความคิดอยากให้มีการปลดป้ายทั้งหมดโดยเร็ว
ปลดป้าย กับ ปลดคนลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อะไรดีกว่ากัน ปชป.ต้องคิดหนัก??งานนี้คุณชายหมู สร้างประเด็นปัญหาอีกแล้ว...

ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้าว : อมตะนิยาย !!?

พรรคประชาธิปัตย์หยิบประเด็นการจำนำข้าวของรัฐบาลมาโจมตีรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ได้ถูกเรื่องถูกราวเป็น “ปมเด่น” ของฝ่ายค้านเรื่องหนึ่ง จนวงการค้าข้าวและนักวิชาการออกมาผสมโรงให้มีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อปนเป็นเนื้อเดียวกับวิธีโกง ที่จับได้ค่อนข้างยาก แต่มีตัวเลขเอามาหักล้างได้อย่างแนบเนียน ก็ยิ่งน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นไปอีก

ไม่ต่างกับข้าวหม้อหนึ่ง ถ้าให้ประชาชนไปนั่งนับว่ามีกี่เมล็ด ทุกคนมักส่ายหัว เพราะเบื่อไปนั่งนับทีละเม็ด ส่วนใหญ่จึงพูดเหมารวมแบบประมาณการ ซึ่งมีโอกาส ที่จะเถียงได้ตลอดเวลาว่า ตัวเลขไม่ตรงกับความเป็นจริง

แต่วิธีที่ “ซิกแซ็ก” ต่างหาก ที่ทำให้เชื่อได้ว่า การจำนำข้าวมีใคร กลุ่มไหนได้ประโยชน์จริง

แต่อ้างชาวนาเป็นเครื่องมือ!

ชัดแจ้งที่สุดคือ โรงสีกับผู้ส่งออก ไม่เคยมีใครเห็นว่า ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินหลังขดหลังแข็ง ร่างกายทนทุกข์ทรมาน แถมไม่เคยพลีชีพต่อสู้ กับสารเคมีเพื่อหวังจะได้ข้าวให้มากที่สุด

เพราะนั่นมันอมตะชีวิตของชาวนา ที่ลงท้ายเอาข้าวไปขายก็ถูกโรงสีเอาเปรียบ สารพัดโกงทั้งความชื้นหรือ “เศษกิโล” และส่วนเกินที่ข้าวติดค้างตามตัวเกวียนแต่ดันไปตกเรี่ยราดในโกดัง กลายเป็นส่วนได้ฟรีๆ ของเจ้าของโกดังหน้าตาเฉย

โรงสีและผู้ส่งออกมีเงินฝากแบงก์ไม่รู้กี่สิบบัญชี แต่ชาวนาเป็นหนี้ทั่วแผ่นดิน จนรัฐบาลต้องออกนโยบายพักหนี้ ต้องตั้งธนาคารเฉพาะกิจเพื่อให้ชาวนาไปกู้แล้ว เอาโฉนดไปค้ำทั่วประเทศ

โรงสีกับผู้ส่งออก ส่งลูกหลานไปเรียนเมืองนอก ว่างๆ ตัวเองก็บินไปเที่ยวทั่วโลก แต่ชาวนาต้องไปขุดดินหากบเขียด เขี่ยขี้วัวขี้ควายจับแมงกุ๊ดจี่กินแทนกับข้าว บ้านไหนอยู่ใกล้ชายป่าก็ต้องซอกแซกยิงสัตว์หาของป่ามากินประทังชีวิตอย่าง น่าสมเพชเวทนา

โรงสีกับผู้ส่งออกไม่เบื้อใบ้นิ่งเฉย วิ่งไปจับมือถือข้าราชการไว้เป็นเครื่องมือ ใช้ในยามติดขัดภาษี แถมไปนับญาติใกล้ชิดกับนักการเมืองทุกระดับเพื่อสร้างอิทธิพลทางอ้อมและมีอำนาจต่อรองกับนโยบายระดับชุมชนถึงระดับชาติ ดีไม่ดีมีทุนมากพอก็ส่งตัวเองหรือลูกหลานเข้าไปชิงพื้นที่ในวงการเมืองได้อย่างไม่ยากเย็น

เพ่งมองให้จะจะ ก็จะเห็นลูกหลานเจ้าของโรงสีและผู้ส่งออกหรือญาติใกล้ชิดเกี่ยวดองในแวดวงการเมืองกลาดเกลื่อนสายตา

นโยบายจำนำข้าว หรือประกันราคาข้าว ถ้าลงว่าตั้งใจจะโกงเสียอย่าง มันโกง ตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางได้พอๆ กันทั้งนั้น อย่ามาพูดเลยว่าวิธีไหนดีกว่ากัน

สำคัญอยู่ที่รัฐบาลชุดไหน จริงใจมีวิธีทำให้ชาวนาส่วนใหญ่หน้าตาสดใส ไร้หนี้สิน หายจากความเป็น “ทาสติดแผ่นดิน” ได้มากกว่ากันเท่านั้น

รัฐบาลชุดไหนสามารถ “ชิงชาวนา” ให้เป็นไท มีรายได้เลี้ยงครอบครัวมั่นคง มีข้าวปลาอาหาร มีเครื่องมือครบพร้อมเลี้ยงครอบครัวได้ตลอดชีวิต ออกมาประกาศ ตัวพร้อมกันทั่วประเทศนั่นแหละ มันถึงพิสูจน์ได้ว่านโยบายของรัฐบาลชุดนั้นได้รับ ความสำเร็จ

แต่ถ้าวิธีจำนำข้าว หรือประกันราคาข้าว ถูกหยิบมาใช้และเอาตัวเลขที่ต่างกัน มาวิพากษ์โต้เถียงแบบไม่มีใครยอมใคร มันก็อาจเป็นชนวน “ข้าวขัดแย้ง” เข้ามา แทนที่ความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อของแต่ละฝ่ายในทางการเมือง

เป็นม็อบความขัดแย้งวงใหม่ที่หาความสามัคคีในแผ่นดินไม่ได้ไปอีกนาน

คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ตำนานผู้รู้เรื่องข้าวดีที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทยเคยพูดว่า พ่อค้าข้าวส่งออกไทยมีมากถึง 30-40 เจ้า แย่งกันประมูลข้าวจำนำในสต็อก แล้วแย่งกันขายส่งออกแบบตัดราคากันป่นปี้ ผู้ซื้อต่างชาติรายไหนก็หัวร่องอหาย กลายเป็น “อาหารหวานหมูของผู้ซื้อ”

ก็เลยเห็น “สัจธรรมข้าว” ว่า ชาวนาไทยเป็นเกษตรกรที่ระทมทุกข์ตลอดชีวิต เพราะถูกกดขี่ขูดรีดจากโรงสีและผู้ส่งออกมาเป็นทอดๆ จนวงการข้าวของ เมืองไทยเป็น “อมตะนิยายที่แสนเศร้าของแผ่นดิน” ไปชั่วนาตาปีนี่เอง!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

บิ๊กจิ๋ว.เชนคัมแบ็ก เอกซเรย์ ครม.ปู3 111 คืนชีพ.ทรท.โมเดล !!?

เกมไล่เบี้ย “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” เพื่อหวังให้มีการปรับ ครม.ในหลายเก้าอี้นั้น เป็น ที่รู้กันดีว่า...มีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยกเอาสารพัดเหตุผล และทุกช็อต ทาง การเมือง เอามาเป็นสูตรผสมในคราวเดียวกัน โดยเฉพาะการขยาย “ช่องว่างแห่ง อำนาจ” ของเหล่าประชากรบ้าน 111 เสร็จนาฆ่าโคทึก..เสร็จศึกฆ่าขุนพล! ถือเป็น “วรรคทอง” อันเป็น “สูตรสำเร็จ” ในทางการเมืองทุกยุคสมัย

เมื่อ “ฟางเส้นสุดท้าย” มีอันต้องขาดผึงลงไป เพราะทนแรงเสียดทานไม่ไหวบีบให้ “ขุนพลหัวขาว” ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ต้องยอมสละทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การไขก๊อก! ทิ้งเก้าอี้ “รัฐมนตรี” และสถานะผู้ทรงเกียรติในสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนตำแหน่ง “หัวหน้าพรรคเพื่อไทย”

จึงกลายเป็นภาวการณ์ที่อ่อนไหวในทางการเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ในมุ้งค่ายเพื่อไทย เพราะการที่ “ยงยุทธ” ตัดสินใจ ลาออกจากเก้าอี้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ ทอดยอดต่อกันไปเป็น “โดมิโน่” ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคทั้ง 18 คน...หมดสภาพไปในคราวเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ก็ถือเป็น “โอกาส” ของเหล่านักการเมือง 111 ที่เพิ่งถูกล้างป่าช้า ได้หวนกลับมาสยายปีกประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้ง พลันให้เกมการเมือง ในภาคต่อนับจากนี้ไป กลายเป็น “สงคราม ขนาดย่อม” ที่ตัวนายกฯ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”

การไขก๊อกของ “ยงยุทธ” ได้กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว ที่ทำให้ “เกมพาวเวอร์เพลย์” ภายในพรรคเพื่อไทย มีความดุเดือดและรุนแรงมากขึ้นไปตามลำดับ โดยขึ้นอยู่กับ “ความดื้อ-สวย-ดุ” และ “ความเป็นตัวของตัวเอง” ของนายกฯ ปู ว่าจะสามารถทน “แรงเสียดทาน” ที่ถาโถม เข้ามา ทั้งจาก “พี่ชายใหญ่” และ “เหล่าบริวาร” ซึ่งกำลังหิวกระหาย...ได้ยาวนานแค่ไหน

เพราะ “นายกฯ ปู” มีความจำเป็นยิ่งยวด ในการรักษา “คนของตัวเอง” และคนที่รู้สึก “ไว้วางใจ” เก็บเอาไว้ข้างกายให้มากที่สุด ทั้งที่อยู่ใน ครม. และตีปีกราย ล้อมในตึกไทยคู่ฟ้า ด้วยเหตุที่ว่า “ผู้นำรัฐบาล” เป็นฝ่ายเผชิญหน้ากับทุกแรงเสียดทาน ทั้งปัญหาด้าน “บริหาร” รวมถึงสารพัดนโยบาย และ “การเมือง” ซึ่งแน่นอนว่าทางการเมืองนั้น “นายกฯ ปู” ย่อมไม่สันทัดกรณี และมีโอกาส “พลาดพลั้ง” ได้โดยง่าย หากเลือกใช้ “คนผิด”

ในขณะเดียวกัน คงเป็นการยากที่ “นายกฯ ปู” จะทำงานได้อย่างราบรื่นกับ “ข้าเก่าเต่าเลี้ยง” ที่ถูกส่งมาเป็น “ออเดิร์ฟจานร้อน” โดยผู้มากบารมีในรัฐบาล เพราะมีทั้งบุคคลที่ “มีตำหนิ” ทั้งก่อนและหลังเข้าเป็นเสนาบดีปูแดง ที่สำคัญคือคน เหล่านั้น แทบไม่เคย “ฟังคำสั่ง” หรือ “คำ พูด” ของผู้นำรัฐนาวาเลยแม้แต่กระผีกริ้นนั่นคือความอัดอั้นตันใจของ “นายกฯ ปู” ที่มีมาตลอดหนึ่งขวบปีหลังก้าวสู่ “เกมอำนาจทางการเมือง”

แต่ในรายของ “ยงยุทธ” กลับดูแตกต่างไป เพราะเติบโตมาจากข้าราชการประจำ ย่อมรู้ดีว่าควรเล่นบทบาทไหนที่จะไม่เป็น การ “ออฟไซด์” จนเกินพอดี เมื่อเทียบกับพวก “อะไหล่” หรือ “นอมินี” ทั้งหลาย แหล่ ทว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว “นายกฯ ปู” ก็ไม่อาจต้านทาน “แรงบีบ” ที่มาจากกลุ่มก้อนการเมือง และ “ประชากร 111” ได้อีกต่อไป “หมากการเมือง” อย่าง “ยงยุทธ” จึงมีอันถูก “เขี่ย” พ้นไปจากกระดาน ด้วยเหตุที่ว่า...จะพากันไปตายทั้งพรรค หากบานปลายถึงขั้นทำให้ “เพื่อไทย” ถูกสั่งยุบพรรค

ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้ว การเตะตัดขา “ยงยุทธ” มีเป้าหมายเพื่อเปิดประตูไปสู่การปรับ ครม.ล็อตใหญ่ เพื่อปล่อยผี “นักการเมือง 111” ให้ออกมาสู่เวทีแห่งอำนาจ แม้ตัว “นายกฯ ปู” จะพยายามปฏิเสธ และบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด แต่อาการแข็งข้อหนนี้ ก็ไม่อาจโน้มน้าว หรือ ลดความต้องการของ “พี่ชายใหญ่” ลงไปได้

“นายกฯ ปู” จึงทำได้แค่ชิงเหลี่ยมคูเล็กๆ โดยเลือกที่จะใช้มติ ครม.ตั้งรักษาการแทนขึ้นมาทำหน้าที่ และดึงเรื่องการปรับ ครม.ออกไปอีกชั่วระยะหนึ่ง แต่ก็พอมี เหตุผลพอรับฟังได้ นั่นคือการดึงเวลาการ ปรับ ครม. เพื่อหวังจะใช้จังหวะนี้ให้ “รัฐมนตรีขาเก่า” ได้แสดงผลงาน เพื่อรับมือศึกซักฟอกรัฐบาลที่น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้

แต่เมื่อไม่มีการปรับทัพเสนาบดี และปล่อยให้เวลาล่วงผ่านไป ก็ยิ่งเป็นการ “สุ่มเสี่ยง” ที่จะเกิด “คลื่นใต้น้ำ” ขึ้นภายในมุ้งค่ายเพื่อไทย!!! เกมไล่เบี้ย “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” เพื่อหวังให้มีการปรับ ครม.ในหลายเก้าอี้นั้น เป็นที่รู้กันดีว่า...มีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยกเอาสารพัดเหตุผล และทุกช็อต ทางการเมือง เอามาเป็นสูตรผสมในคราว เดียวกัน โดยเฉพาะการขยาย “ช่องว่างแห่งอำนาจ” ของเหล่าประชากรบ้าน 111 ที่พร้อมจะเข้ามาช่วยประคองและขับเคลื่อนนโยบายทางการเมืองให้กับ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” เพื่อเข้าสู่โหมดการทำงานในขวบปีที่ 2

นอกจากการวางตัว “ขุนพล” จากนักการเมืองขาใหญ่ในบ้าน 111 แล้ว...ยัง คงมีข่าวสายในจาก “วังจันทร์ส่องหล้า” ที่ระบุว่า “พี่สะใภ้นายหญิง” ได้ทำการ “ล็อกสเปก” เก้าอี้เสนาบดีไว้ให้กับ “พ่อใหญ่จิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ด้วยความมาดหมายของ “คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร” ที่พร้อมต่างตอบ แทนให้แก่ “บิ๊กจิ๋ว” หลังเคยเรียกใช้บริการ “ขงเบ้งจิ๋ว” ช่วยเคลียร์ทางให้อดีตสามี มาแล้วหลายต่อหลายครั้งว่ากันว่า “คุณหญิงอ้อ” หวังจะให้ “บิ๊กจิ๋ว” เข้ามาดูแลงานด้านความมั่นคง แทนที่ “บิ๊กอ๊อด” พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ที่มีแนวโน้มสูง ว่าจะถูกปรับออก

บทบาทของ “บิ๊กจิ๋ว” นั้น ได้มีการวิเคราะห์กันไปหลายทาง ทั้งการเป็น “สายเหยี่ยว” ซึ่งปฏิบัติการลับใต้ดิน หรืออยู่ในสถานการณ์หลังฉาก กับอีกบทบาทใน “สายพิราบ” ด้วยคัมภีร์แห่งการนิรโทษกรรม ตามแบบฉบับของคำสั่งสำนักนายก รัฐมนตรีที่ 66/23 นำมาซึ่งการวางอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

ประจวบเหมาะกับที่ “รัฐบาล” กำลัง เผชิญกับปัญหารุมเร้ามากมาย โดยเฉพาะ ความล้มเหลวต่อการแก้ไขปัญหาไฟใต้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่อ่อนไหว และ “เปราะบาง” เป็นอย่างยิ่ง โดยตลอดระยะเวลา 8-9 ปีมานี้ ปัญหาดังกล่าวในแดนมิคสัญญี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูจะรุนแรงขึ้นทุกขณะ แม้จะมีสัญญาณการเจรจากับ ผู้ก่อความไม่สงบไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจ ลดความรุนแรงลงไปได้ พลันให้ “ผู้มากบารมีในรัฐบาล” หวังที่จะนำ “คัมภีร์จิ๋ว” มาใช้เป็น “โมเดล... ดับไฟใต้”!!! ซึ่งนอกจากการวางตัว “บิ๊กจิ๋ว” แล้ว...ยังได้มีการเสนอชื่อ “เสี่ยอ้วน” ภูมิธรรม เวชยชัย ผู้อำนวยการพรรคเพื่อ ไทย เข้ามาเป็นคู่แคนดิเดต ถึงแม้จะถูกมองว่าเป็น “มวยคนละรุ่น” ทว่า “เจ้าแม่ วังบัวบาน” เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ก็พร้อมเทหน้าตัก มุ่งผลักดัน “เสี่ยอ้วน” ขึ้นชั้นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงด้วยเช่นกัน

แต่หาก “เอกซเรย์” ให้ถึงเนื้อในแล้ว...“บิ๊กจิ๋ว” ย่อมตรงสเปกที่สุด เพราะเคยเป็นทั้งอดีตผู้บัญชาหารทหารบก และ อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งยังมีกระแสข่าวยืนยันอีกว่า ในการไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของ “อดีตนายกฯ ทักษิณ” ได้มีการพบปะพูดคุยเพื่อโน้มน้าว “ขงเบ้งจิ๋ว” ให้ยอมเชนคัมแบ็ก! เพราะด้วยบารมี และสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ “กลุ่มอำนาจ” รวมถึงการ เป็น “มือประสานสิบทิศ” ที่สามารถเข้าได้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับ “ป๋า” พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและ รัฐบุรุษ นั่นย่อมเป็นผลดีมากกว่าสำหรับรัฐบาลชุดนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ความสำคัญของเก้าอี้ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ยังถือได้ว่าเป็น “ห้องเครื่องใหญ่” ที่คุมความมั่นคงทาง การเมืองของ “รัฐบาลปู” อีกทั้งยังเป็นเกราะกำบังกายให้ “รัฐบาล” สามารถยืนหยัดได้ท่ามกลางมรสุมรุมเร้า! ซึ่งผู้ที่มาดูแลคงต้องเข้าใจ “ขุนทหาร” ทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ถ้า “รองนายกฯ ความมั่นคง” ถือธงที่สามารถเชื่อมโยงกับ “กองทัพ” ได้แล้ว แน่นอนว่า “รัฐบาล” ย่อมหายใจได้คล่องปอดขึ้น เพราะไม่ต้องหวาดกลัวกับกระแส “ปฏิวัติ” ที่ตามมาหลอกหลอน..!!! ล้อไปกับกระแสข่าวการปรับทัพ ครม. ที่ดูแล้วน่าจะปรับกันมากถึง 10-11 ตำแหน่ง เพื่อที่จะ “เขย่า” การบริหารงานให้มีความข้นคลั่ก! และเตรียม พร้อมสำหรับการออกตัวเพื่อ “บริหารอำนาจรัฐ” ในช่วงขวบปีที่ 2

ดังนั้น การพิจารณาตัวบุคคล จึงต้องมากด้วยความรอบคอบ เพราะหากสังคมขานรับ การปรับ ครม.จะทำให้รัฐบาล บริหารงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้นและนั่นถือเป็นหนึ่งใน “ยุทธศาสตร์” ทางการเมือง ตามที่ “ยิ่งลักษณ์” วางเอาไว้ แม้จะไม่เป็นตาม “จังหวะเวลา” ที่พี่ชายคาดหวังไว้ก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่า พอมีกระแสข่าวเขย่า เก้าอี้ “ครม.ปู 3” โหมกระพือ! การวิ่งเต้นขอตำแหน่งกับ “นายใหญ่” ย่อมเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ทำให้ “ยิ่งลักษณ์” ต้องงัดแผนสยบความเคลื่อนไหวของมุ้งการเมืองภายใน “พรรคเพื่อไทย” เพื่อมิให้เกิดการต่อรองเก้าอี้เสนาบดีกับ “พี่ชาย” ในต่างแดนแรงกระเพื่อม เรื่องตัวบุคคลที่จะมา ดำรงตำแหน่ง จึงเกิดขึ้นอย่างที่เห็น ทำให้ ยิ่งลักษณ์ ต้องรีบออกมาเบรกแรงๆ ว่า... ยังไม่ปรับ ครม.ในขณะนี้ เพื่อที่จะดึง “เกม” ให้กลับมาอยู่ในมือตามเดิม เนื่องจากการปรับทีมเสนาบดี นอกจากจะเป็นการ “เขย่าการทำงาน” ภายในแล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางการเมือง ที่จะใช้รับมือกับพรรคฝ่ายค้านด้วย

ทำให้ “ยิ่งลักษณ์” และบริวารใกล้ชิดในตึกไทยคู่ฟ้า ต้องมาขบคิดกันต่อว่า จะใช้เกมการปรับ ครม.มาเป็นประโยชน์ต่อการลดแรงเสียดทานจากศึกซักฟอกได้อย่างไร...ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ทาง คือปรับใหญ่ก่อนศึกซักฟอก เพื่อจะเปลี่ยนเป้า การโจมตี หรือปรับใหญ่หลังศึกซักฟอกเพื่อ ลดผลกระทบจากศึกดังกล่าว

การเลือกทางใดทางหนึ่ง อย่างถูกจังหวะ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิด ความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองอย่างชัดเจน ทั้งหมดทั้งปวง จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลดีทางการเมือง ต่อรัฐบาล ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานอันสำคัญ นั่นก็คือ “ยิ่งลักษณ์” จะต้องอยู่ในบทบาท “ผู้เลือก” มากกว่า “ถูกเลือก” !!!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทักษิณ.ไร้ตัวเลือกสถานการณ์เป็นใจ จาตุรนต์. ตัวจริง !!?

หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่จะเป็นใคร ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต และสำคัญอะไรกันหนักหนา เพราะความ จริงคือ หัวหน้าพรรคไม่มีบทบาททางการเมืองอะไร การตั้ง พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรคอันดับ 3 และ ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 12 ขึ้น “รักษาการหัวหน้าพรรค” เป็นเพียงการปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคให้สมบูรณ์ มีหน้าที่เพียงจัดการประชุมพรรคเพื่อเลือกหัว หน้าคนใหม่เท่านั้น ไม่มีรหัสบ่งบอกถึง “อำนาจ” การนำพรรคแต่ประการใด

ที่ผ่านมา การตั้งหัวหน้าพรรคเป็น ไปเพียงให้ครบเงื่อนไขกฎหมายพรรค การเมืองกำหนด ถึงกระนั้นก็ควรมีภาพลักษณ์งามๆ พอไปวัดไปวา นั่งหัวโต๊ะประชุมพอมีสง่าราศี และมีภาวะ “ผู้นำ” ระดับกลางๆ ไม่ต้องโดดเด่นด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยจนสูงสุดเอื้อมสิ่งสำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องคอนโทรลได้ สั่งการเคลื่อนไหว ทางการเมืองได้ ชนิดไม่มีเสียงวอแวกวนใจพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ถูกสร้างและดำรงอยู่ด้วยการ “ขาย” ภาพลักษณ์ของ “ทักษิณ”

ดังนั้น ทักษิณจึงเป็น “ยี่ห้อ” ทางการเมืองของพรรค เป็นแม่เหล็กดึง มวลชนมาสนับสนุน ส่วน “หัวหน้าพรรค” เป็นแค่ “นักบริหารการเมือง” ราวกับทำหน้าที่เซ็นเอกสารให้กระบวนการทำงานพรรค การเมืองมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้นรวมความแล้ว หัวหน้าพรรคเพื่อ ไทยคนใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ความต้องการของ สมาชิกพรรค แต่ขึ้นกับ “คนสร้างพรรค” คือ ทักษิณต้องการให้ใครเป็น ว่ากันตรงๆ แล้ว ทักษิณกับพรรค เพื่อไทยมีความชัดเจนในกระบวนการบริหาร จัดการองค์กรพรรค และสร้าง ภาพลักษณ์ของพรรคจนได้ฉายาว่า “พรรคทักษิณ” มีสโลแกนหาเสียง สวยหรู บ่งบอกยี่ห้อชัดเจนว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” นี่คือชุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพรรคแบบทักษิณ

ความชัดเจนของทักษิณและพรรคเพื่อไทยอยู่ตรงที่สังคมรับรู้ว่า เป็นพรรคของใคร ไม่มีการสร้างภาพนักประชาธิปไตยตามต้นฉบับมายาการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำเนินมากว่า 60 ปี พรรคเพื่อไทยมีต้นกำเนิดมาจากพรรคไทยรักไทย แล้วแปรรูปมาเป็นพรรค พลังประชาชน จากนั้นจึง “กลายร่าง” มาเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน

หากนับอายุทางการเมืองของพรรค จึงไล่จากต้นกำเนิดเมื่อประมาณปี 2542 ถึงปัจจุบันก็แค่กว่า 10 ปี ซึ่งนับเป็นพรรษา ทางการเมืองอ่อนด้อย ค่อนข้างไม่ประสีประสาทางการเมืองเอาด้วยซ้ำ แต่การผ่านขวากหนามทางการเมืองอย่างหนักหน่วงโชกโชน ทำให้พรรค กล้าแกร่ง จนสามารถปรับตัวการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ “ช่วงชิงแต้มการ เมือง” ได้อย่างน่าทึ่ง บทเรียนครั้งสำคัญของพรรคการ เมืองแบบทักษิณ คือ ถูกอำนาจกระบวน การยุติธรรมสั่ง “ยุบพรรค” ถึง 2 ครั้ง ทำให้แกนนำคนสำคัญต้องโทษเว้นวรรคการเมือง 5 ปี สถานการณ์พรรคและบทบาททางการเมืองของทักษิณล่อแหลม แทบสูญพันธุ์ทางการเมือง

แต่พรรคการเมืองแบบฉบับของทักษิณกลับประคองตัวอยู่ได้ กระทั่งเติบโต ด้วยพลังมวลชนมาสนับสนุนให้แข็งแกร่ง จนฝ่ายตรงข้ามกลัวศักยภาพประสบการณ์ถูกยุบพรรคทำให้ทักษิณเรียนรู้ในการปรับองค์กรของพรรค เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มถูกยุบพรรคครั้งที่ 3 เอาไว้แต่เนิ่นๆ ปัจจัยบ่งบอกการเตรียมตัวคือ แยก การบริหารพรรคเพื่อไทย ออกจากระบบจัดการทางการเมืองให้ชัดเจน นั่นเท่ากับทำให้คณะผู้บริหารพรรคเพื่อไทยเป็นเพียง “องค์ประกอบ” ไม่ใช่ “ศูนย์กลางการนำ” ทางการเมืองของพรรค สิ่งนี้จึงทำให้ “นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ” ได้ “เกิดทางการเมือง” แบบทักษิณนำพาสถานการณ์ให้เป็นไป

แต่พรรคเพื่อไทยวันนี้ แตกต่างจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนอย่างมากโข เพราะพรรคได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพลังมวลชนราว กับมีกองกำลังมวลชนคอยสนับสนุนและ คอยปกป้องภัยให้แม้พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่พรรคตามแบบฉบับพรรคมวลชน แต่การดำเนินนโยบายทางการเมืองกลับเน้นไป “เพื่อมวลชน” จนถูกประชดประชันว่า เป็นพรรคที่หว่านโรยเม็ดเงินไปตามเส้นทาง “ประชาชนนิยม” เพื่อสร้างฐานทางการเมือง ดังนั้น เมื่อ “ยงยุทธ” ลาออก ประกอบกับพรรคเพื่อไทยเติบโตแข็งแกร่ง ด้วยแนวทาง “พรรคผสมมวลชน” การตัดสินใจเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่จึงต้อง สอดรับกับสถานการณ์ที่พรรคดำรงอยู่แต่อำนาจยังอยู่ใน “กำมือ” ของทักษิณ และเป็นสถานการณ์ที่ทักษิณต้องตัดสินใจยากลำบากยิ่ง เพราะการตัด สินใจแบบเดิมๆ ด้วยการสร้าง “ตัว แทน” มาเป็นหัวหน้าพรรค คงไม่สอดรับกับองค์ประกอบของพรรคเพื่อไทยที่เป็นอยู่ รวมทั้ง “ตัวแทน” แบบญาติ แบบหุ่นเชิดที่มีความงามสง่าแทบไม่มีให้เลือกในพรรค

นักการเมืองใหญ่อย่าง ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ผู้โชกโชนการเมืองและรอบรู้เกมมากมายตั้งแต่ดินจดฟ้า ก็ยังไม่โดดเด่นในสายตามวลชนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นักการเมืองผ่านสนามเลือกตั้งมาเนิ่นนาน ก็เป็นเพียงคนรู้จัก แต่ไม่รู้ใจ หันมาหาญาติห่างๆ อย่าง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่เพิ่งเกษียณราชการ ยังไม่เพียงพอกับการตอบโจทย์การสนับสนุนจากมวลชน และกลุ่มก๊กนักเลือกตั้งที่จะเบียดแซงแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าจะเอาเพื่อนที่ชื่อ พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต หรือ พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก ยังไม่สอดรับกับสถานการณ์พรรคที่ต้องต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ทักษิณเหลืออยู่ในขณะนี้ และจำเป็นต้องเลือกอย่างยิ่งคือ ใช้หลัก “คนไว้วางใจ” มากำหนดตัวหัวหน้าพรรคคนใหม่ เหนืออื่นใด บารมีของหัวหน้าพรรคคนใหม่ต้องไม่ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ผู้เป็นน้องสาวต้องดูด้อยค่า หมดราศีทางการเมืองอีกด้วย

นี่คือ สถานการณ์บังคับให้ราศีของ “จาตุรนต์ ฉายแสง” มีแนวโน้มดูดีในตัวเลือก “หัวหน้าพรรค” หนำซ้ำยังโดดเด่นทั้งการผ่านระบบใจตรวจสอบใจ จึงกลายเป็น “คนรู้ใจ” ในสถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยที่มีแนวร่วมสนับสนุนอยู่กว้างขวาง ปัญหาใหญ่ของจาตุรนต์คือ ไม่เด็ดขาด มีลักษณะประนีประนอมสูง จนดูเชื่องช้า แต่ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยขณะนี้ อยู่ในสถานการณ์ ต้อง “ประคับประคอง” มวลชน และ “ประนี ประนอม” กับศูนย์กลางอำนาจนอกระบบอีก จึงจำเป็นต้องชูคนยึดมั่น “หลัก การ” และมีองค์ความรู้เพื่อตอบโต้เกมการเมืองจากฝ่ายตรงข้าม ชนิดทันเกมและได้ใจมวลชน

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาษีนักแสดงสาธารณะและการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการจัดให้ผู้อื่นรับเงินแทน !!?

โดย พิชัย พืชมงคล (http://dlo.co.th/attorneys/phichai-phuechmongkol)
สำนักกฎหมายธรรมนิติ (http://dlo.co.th/)
 
ตามที่มีข่าวว่า ดารา-นักแสดงชื่อดังบางคนมีพฤติการณ์หลบหนีภาษี ด้วยการจัดให้คนอื่นมารับค่าแสดงของตนเอง โดยการใช้สำเนาบัตรประชาชนของคนอื่นเป็นเอกสารในการรับเงินแทนตนเอง
เนื่องจากดารา-นักแสดงเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง จึงทำให้คนในสังคมไทยวิพากษ์วิจารณ์การหลบหนีภาษีดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง ทั้งดารา-นักแสดง ยังเป็นกลุ่มคนซึ่งมหาชนชื่นชอบ เป็นพระเอกนางเอกที่มีอิทธิพลต่อจิตใจ เป็นตัวอย่างในการใช้ชีวิตของแฟนคลับจำนวนมาก เห็นได้จากกรณีที่มีคนเอาอย่างตัวละครไปใช้ในชีวิตจริง

การเสียภาษีที่ไม่ถูกต้องของเหล่าดารานักแสดง อาจเกิดจากความไม่รู้ หรือรู้แล้ว แต่พยายามหลบหนีภาษี แต่หลบได้ไม่ดี ดังนั้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เหล่าดารานักแสดง เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 กรมสรรพากรจึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “การเสียภาษีอากรของดารานักแสดงสาธารณะ”
โดย ดร.สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากรเปิดการสัมมนา และ นายสมพงษ์ ตัณฑพาทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้การเสียภาษี โดยมีดารานักแสดง ผู้จัดการและสำนักงานบัญชีที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน

เมื่อการเสียภาษีของดารานักแสดงเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม ผู้เขียนจึงขอนำเสนอภาระภาษีอากรของดารานักแสดงสาธารณะและผู้จ่ายเงินแก่ดารานักแสดงโดยสังเขป เฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้


1. ภาระภาษีของเงินได้จากการแสดงสาธารณะ

[มาตรา 8 (43) ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502] หมายถึง “เงินได้จากการแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ” ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภท เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตาม มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

เงินได้ ((มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย))

จากการแสดงสาธารณะนี้ รวมถึงค่าตอบแทน เงินรางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขันเพื่อแสดงต่อสาธารณะ เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจำนวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน

แต่ทั้งนี้ นักแสดงสาธารณะอาจจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ถ้าเงินที่ได้รับนั้นเป็นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น นักแสดงเป็นพรีเซ็นเตอร์รถยนต์ เมื่อนักแสดงแต่งงาน บริษัทผู้ผลิตให้รถยนต์เป็นของขวัญในงานแต่งงาน ดังนี้ ถือว่า มูลค่ารถยนต์เป็นเงินได้จากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น แต่บริษัทผู้ให้รถยนต์โดยเสน่หา ก็ไม่อาจนำมูลค่ารถยนต์นั้นไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ใช่รายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการ [มาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร]

เงินได้จากการแสดงสาธารณะนี้ สามารถหักรายจ่ายได้สูงกว่าเงินได้ประเภทอื่นๆ เพราะรัฐเห็นว่า เงินได้ประเภทนี้ มักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินได้จากค่าจ้างแรงงานหรือเงินได้อีกหลายประเภท จึงยอมให้ผู้มีเงินได้สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ วิธีใดวิธีหนึ่ง จาก 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หมายถึง การใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่าย เพื่อพิสูจน์การใช้จ่ายใด ๆ โดยหักเป็นรายจ่ายได้ดังนี้
  • (ก) เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักได้ร้อยละ 60
  • (ข) เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักได้ร้อยละ 40 แต่การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
เมื่อก่อน กรณีการเสียภาษีของคู่สมรสที่เป็นนักแสดงสาธารณะ หากสามีและภริยาต่างฝ่าย ต่างมีเงินได้จากการแสดงสาธารณะ ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีโดยต่างฝ่าย ต่างหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

แต่หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6 คู่สมรสของดารา รวมถึงคู่สมรสอื่น ก็ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีมากกว่าคนโสดอีกต่อไป

วิธีที่ 2. หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยผู้มีเงินได้ต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้จากการแสดงสาธารณะนั้น เพื่อพิสูจน์ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ตามหลักที่ว่า “พิสูจน์ได้เท่าใด ก็หักค่าใช้จ่ายได้เท่านั้น” ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสจน์ ปรากฏว่า มีรายจ่ายน้อยกว่าอัตราเหมา (ตามวิธีที่ 1) ก็ให้ถือว่า ดารา-นักแสดงมีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ (มาตรา 8 วรรคท้าย ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502)

เงินได้จากการแสดงสาธารณะและการหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดานั้น ผู้มีเงินได้ต้องรวมเงินได้จากการแสดงสาธารณะที่ได้รับทุกครั้งในรอบปีปฏิทิน แล้วจึงเลือกว่า จะใช้สิทธิขอหักค่าใช้จ่ายเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในกรณีผู้มีเงินได้จากการแสดงสาธารณะ มีเงินได้ประเภทอื่นด้วย เช่น เงินเดือน ค่ารับทำงานให้ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเหมาตามประประเภทเงินได้นั้น หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ถ้าประมวลรัษฎากรยอมให้หักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีนี้ได้

จากนั้น จึงเอาเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่ได้รับในรอบปีปฏิทินมารวมกัน แล้วจึงหักค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ภริยา บุตร ค่าเบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้าน เป็นต้น

เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนประเภทต่าง ๆ แล้วนี้ เรียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งจะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปี ตามอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ ร้อยละ 10-37 ตามช่วงของเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001- 4,000,000 บาทขึ้นไป ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีที่ต้องชำระแล้ว ผู้มีเงินได้ก็นำค่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว มาหักออกก่อน ถ้าภาษีที่คำนวณไว้มากกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็ต้องชำระค่าภาษีเพิ่ม แต่ถ้าภาษีที่คำนวณไว้น้อยกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้มีเงินได้ ก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินจากกรมสรรพากรได้


2. นักแสดงสาธารณะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง

นักแสดงสาธารณะ หมายถึง นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น

นักแสดงสาธารณะดังกล่าว ไม่รวมถึง ผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอน นักกีฬาหรือบุคคลผู้กระทำการในลักษณะทำนองเดียวกัน [[ข้อ 1 วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง]]
ดังนั้น นักแสดงสาธารณะ จึงหมายถึง บุคคลที่มีอาชีพหรือมีเงินได้จากการแสดงประเภทต่าง ๆ ต่อสาธารณะ หรือผู้ที่ดำรงชีพจากค่าตอบแทนที่ได้รับจากการแสดงประเภทต่าง ๆ ต่อสาธารณะ
เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ หมายถึง เงินได้พึงประเมิน หรือค่าตอบแทนจากการประกอบอาชีพนักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง รวมถึง รางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขัน เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจำนวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน

นักแสดงสาธารณะ มีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง [[ข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544]] ดังนี้

ครั้งที่ 1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94
ครั้งที่ 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตามครั้งที่ 1 มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี

สำหรับคนที่มีอาชีพอื่น แต่มีเงินได้จากการแสดงสาธารณะประเภทต่าง ๆ แบบสมัครเล่น เป็นครั้งคราว ไม่ถือว่าเป็นนักแสดงสาธารณะ แต่ยังคงมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีตามประเภทเงินได้ ถ้าเป็นเงินได้ 40 (1) เงินเดือนอย่างเดียวก็ยื่นแบบเสียภาษีครั้งเดียว แต่ถ้ามีเงินได้อื่นตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง

3. การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินได้จากการแสดงสาธารณะ

บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ค่าแสดงสาธารณะแก่นักแสดงสาธารณะ ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย [[ข้อ 9 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528]] ดังนี้
  • (ก) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
  • (ข) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้คำนวณหักภาษีไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ถ้าผู้จ่ายเงินได้ให้นักแสดงสาธารณะเป็นองค์กรของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่หักภาษีในอัตราร้อยละ 1 [[ข้อ 7 (1) ของคำสั่งกรมสรรพกรที่ ป.102/2544]]
โดยผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้

4. การหลีกเลี่ยงภาษีโดยการจัดให้ผู้อื่นรับเงินแทน

การหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่สูง มักใช้วิธีจัดให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับเงินแทน เรียกว่า วิธีการใช้ตัวแทนเชิด แตกหน่วยภาษีจากหน่วยเดียวเป็นหลาย ๆ หน่วย ทำให้แต่ละหน่วยภาษี สามารถหักค่าลดหย่อนได้มากขึ้นตามจำนวนหน่วยที่แตกออกไป เมื่อแตกหน่วยภาษีแล้ว แต่ละหน่วยภาษี ก็จะมีรายได้สุทธิน้อยลง เสียภาษีในอัตราที่ลดลง ทำให้ค่าภาษีโดยรวมลดลงเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ผู้รับเงินแทนอาจเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น หรืออาจใช้ผู้รับเงินหลายประเภทดังกล่าวข้างต้น ร่วมกันรับเงินแทน แต่หน่วยภาษีที่นิยมใช้กันมากคือ บุคคลธรรมดาและหรือคณะบุคคล ด้วยเหตุที่ทำง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้บังคับให้บุคคลธรรมดาและคณะบุคคลต้องจัดทำบัญชีและมีการสอบบัญชี เช่นเดียวกับบริษัทหรือนิติบุคคลประเภทอื่น
การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีนี้ เจ้าของเงินได้หรือตัวการ จะขอให้บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้แก่ตัวแทน แล้วให้ตัวแทนนำเงินนั้นมามอบให้แก่ตัวการ ถ้าหากจำนวนเงินไม่มาก ก็ให้ตัวแทนลงชื่อรับเงินแทน โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารประกอบการรับเงิน หากจำนวนเงินมาก ก็อาจจัดให้ตัวแทนหนึ่งรายหรือหลายราย เข้าทำนิติกรรมหรือสัญญากับบริษัทหรือนิติบุคคลผู้จ่ายเงิน เพื่อรับเงินแทนตัวการ

ที่ผ่านมา กลุ่มคนที่มีรายได้สูง เช่น ดารา นักแสดง แพทย์ สถาปนิก วิศวกร ผู้บริหาร นักบัญชี รวมถึงนักวิชาชีพอื่นๆ บางส่วน ใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลพบว่า มีการจัดตั้งคณะบุคคลทั่วประเทศกว่า 10,000 คณะ

โดยผู้มีรายได้สูงไม่น้อย จัดตั้งและเข้าเป็นหุ้นส่วนในคณะบุคคลจำนวนมากตั้งแต่สิบถึงหลายสิบคณะ น่าเชื่อว่า เป็นการใช้คณะบุคคลเป็นตัวแทนเชิดรับเงินแทน กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเน้นตรวจสอบรายจ่ายของบริษัทหรือนิติบุคคลที่จ่ายให้คณะบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดรับเงินแทนเป็นพิเศษ

กรณีตามข่าวที่ว่าดารานักแสดงคนดังใช้บัตรประชาชนของพ่อคนขับรถมารับเงินค่าตัวแทน ก็เป็นตัวอย่างการหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน ดังกล่าวข้างต้น ส่วนมากเมื่อตรวจสอบเส้นทางของเงิน ก็จะพบว่า ตัวแทนเชิดแทบจะไม่ได้เงินเลย และไม่มีเหตุผลว่า พ่อคนขับรถ จะมาช่วยหรือทำอะไร จนมีเงินได้จากการแสดงสาธารณะได้

การใช้ตัวแทนเชิด จึงเป็นนิติกรรมอำพรางชนิดหนึ่ง คือการทำสัญญาให้ตัวแทนเชิดรับเงิน อำพรางตัวการ ถ้าเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบ ก็จะพบได้ไม่ยาก เนื่องจากตัวแทนเชิด ไม่มีคุณสมบัติและไม่ใช่ผู้ให้บริการหรือผู้ทำงานที่แท้จริงให้แก่ผู้จ่ายเงิน แต่เป็นเพียงผู้รับเงินแทนอย่างเดียว จึงต้องถือว่า ตัวการเป็นผู้รับเงินได้ประเภทที่แท้จริงนั้น

นิติกรรมอำพราง (Concealed Act) หมายถึง นิติกรรมหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอื่นที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 ท่านให้บังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางหรือตามนิติกรรมที่แท้จริง

การจ่ายเงินแก่ตัวแทนเชิด นอกจากต้องทำนิติกรรมหรือสัญญาอำพรางแล้ว ยังอาจเป็นการสร้างรายจ่ายเท็จ สร้างหลักฐานเท็จเพื่อลงบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เป็นต้น ทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐจัดเก็บลดลงด้วย
อาจมีคำถามว่า ทำไมบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้แก่นักแสดงสาธารณะ จึงยอมให้ดารานักแสดงสาธารณะใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน?



คำตอบคือ ดารานักแสดงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากมหาชน จะมีอำนาจต่อรองสูงมาก ถ้าบริษัทผู้จ่ายไม่ยอม ดารานักแสดงก็จะอ้างว่า ถ้าต้องเสียภาษีสูงถึงร้อยละ 37 ก็จะไม่ไปแสดงให้ ทำให้ผู้ว่าจ้างที่แม้เป็นบริษัทใหญ่ระดับประเทศหรือระดับโลก ต้องยอมให้ความร่วมมือกับดารานักแสดง เพื่อให้กิจกรรมการตลาดและประชาสัมพันธ์ของบริษัทตนดำเนินการไปได้ตามแผน ตามคติที่ว่า “ให้งานเดินไปได้ก่อน ส่วนปัญหาค่อยหาทางแก้ภายหลัง”

ในกรณีตรวจสอบพบว่า บริษัทหรือนิติบุคคลใด จ่ายเงินแก่ตัวแทนเชิด ซึ่งไม่ใช่การจัดซื้อสินค้า หรือจัดจ้างหรือให้บริการอย่างแท้จริง หรือมีการใช้หลักฐานเท็จ รายจ่ายเท็จ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะถือว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามประมวลรัษฎากร ม.65 ตรี บริษัทต้องนำรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าว บวกกลับเป็นเงินได้ แล้วชำระค่าภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง รวมทั้งเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย

ทั้งนี้ บริษัทอาจเสียสิทธิในการนำบรรดาภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งบริษัทได้หักไว้และนำส่งอย่างไม่ถูกต้อง ที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายต้องห้าม ไปใช้ประโยชน์ทางภาษี และต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่คำนวณตามประเภทหรือรายการจ่ายที่แท้จริง พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรด้วย
ทั้งนี้ บริษัทผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายผิดฝาผิดตัว เช่น ดารานักแสดง ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 5 แต่บริษัทผู้ว่าจ้างกลับหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากตัวแทนเชิด ซึ่งเป็นบุคคลอื่นในอัตราร้อยละ 3 ทำให้บริษัทผู้จ่ายเงินต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามประเภทหรือรายการจ่ายที่แท้จริง ตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร

เรียกง่าย ๆ ว่า ต้องเสียใหม่ทั้งหมด และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร อีกทั้งมีโทษปรับซึ่งเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย ส่วนเงินภาษีที่หักผิดไป บริษัทผุ้จ่ายเงิน ก็จะขอคืนไม่ได้

หากเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบรายการใช้จ่ายต้องห้ามจำนวนมาก ต่อเนื่องกันหลายปี จนน่าเชื่อว่า มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย โดยเจตนา โดยวางแผน โดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้อุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน บริษัท กรรมการ ผู้เกี่ยวข้องและตัวแทนเชิด อาจต้องรับผิดทางอาญา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 2 แสนบาท ต่อกระทงความผิดด้วย
หากเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบว่า ผู้จัดการส่วนตัวหรือสำนักงานบัญชีที่ทำบัญชีให้ดารานักแสดงสาธารณะรายใด ร่วมหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน อธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรขยายผลการตรวจสอบไปยังลูกค้ารายอื่น ๆ ของผู้จัดการส่วนตัวหรือของสำนักงานบัญชีนั้นด้วย เพราะเป็นไปได้สูงว่า อาจหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน เช่นเดียวกัน
ดารา-นักแสดงบางคน เข้าใจผิดว่า ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ เป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว จึงไม่ยื่นแบบแสดงรายการและคำนวณภาษี โดยรวมเงินได้จากการแสดงสาธารณะ ปีละ 2 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวข้างต้น ทำให้ถูกประเมินและต้องเสียภาษีย้อนหลัง พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิมจำนวนมาก เช่น

คุณโก๊ะตี๋ ได้รับว่า เคยถุกประเมินและเสียภาษีย้อนหลังเป็นเงินถึง 3 ล้านบาท ดาราบางคนกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เช่น คุณเพชรา เชาวราษฎร์ หรือดาราบางคน ต้องต่อสู้คดีกับสรรพากรจนถึงศาลฎีกา เช่น คุณญาสุมินทร์ เลิศอมรวัฒนา (จ๋า) อดีตนักแสดงและพิธีกรชื่อดัง เป็นต้น

คุณนก-จริยา แอนโฟเน่ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไว้อย่างน่าสนใจว่า “ดารา นักแสดงแทบทุกคน เคยถูกเรียกภาษีย้อนหลังกันเกือบทั้งนั้น เนื่องจากไม่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษีของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีดารานักแสดงบางคน ขอให้ทางผู้จัดละคร ช่วยหลบเลี่ยงภาษีให้ แต่ได้เตือนไปและขอให้ทำให้ถูกต้อง”

การใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้จ่ายและผู้รับเงินได้ ควรต้องร่วมกันรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไข การหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าว นอกจากทำให้รัฐเสียรายได้ ทั้งค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีที่สุจริตทั่วประเทศ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในสังคมไทย ดารา-นักแสดงสาธารณะ เป็นตัวอย่างของเยาวชนวัยรุ่นจำนวนมาก จึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีทุกคน*

หมายเหตุ: พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในวารสารธรรมนิติฉบับ “เอกสารภาษีอากร” เดือนตุลาคม 2555 Vol. 32 No. 373

ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

การเมืองไทย !!!?

ทายยาก
การเมืองไทยวันนี้..ดูเหมือนดี..แต่ไม่..
มีสิ่งบอกเหตุมากมายที่อธิบายได้ว่า..พรรคเพื่อไทยกับอำนาจที่ได้มาจากการเลือกตั้ง..ยังไม่เสถียรเพียงพอ
ที่จะนำการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยที่ถาวร..
อีก 2 ปีกว่าๆ ที่จะทำการเมืองให้ครบสมัย..ยังดูไกลเกินไปกว่าจะไปให้ถึงวันนั้น..
สูตรทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ยังแข็งแกร่งและสามารถบันดาลความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหลือเชื่อ..ไม่มีส่วนใดอ่อนแอแต่กลับแข็งแกร่งและสุขุม
ล้ำลึกกว่าเก่า
เหมือน เอชไอวี...ที่แฝงกายฝังร่างไว้รอวันอ่อนแอลงของสังขาร..วันที่ภูมิต้านทานมีปัญหา..
ชัยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว..เป็นการถอยเล็กๆ ของแกนแห่งอำนาจฟากตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทย
แต่แน่นอนว่า มันไม่ใช่การปราชัยและไม่มีใครในฝ่ายนั้นคิดเช่นนั้น..
กองศพของประชาชน..บนการชุมนุมเรียกร้องของคนเสื้อแดง..ทำให้ประเทศได้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง..และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล...อดีตกำลังกลับมาเป็นอนาคต
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย..ถูกกัดกร่อนบุบสลาย..ความสามัคคีในระหว่างการต่อสู้เสื่อมคลาย..การชิงดี
ชิงเด่นแข่งกันประจบเอาใจ..เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์..ปรากฏขึ้นในทุกหนทุกแห่ง..
นักรบถูกดูแคลน..ตลบตะแลงตอแหล กลับได้ดิบได้ดี
...กระสือกระหังเพ่นพล่านไปทั่วทุกโครงงาน..ข้าทาสบริวารเฟื่องฟู..
กลิ่นศพของนักรบเสื้อแดงยังไม่จางหาย..กลิ่นอายของความพ่ายแพ้ครั้งใหม่เริ่มตั้งเค้า..
อำนาจมันจะยั่งยืนอยู่ได้ก็ด้วยการเสียสละส่วนตน..เพื่อเป็นผลิตผลของพี่น้องผองเพื่อน..อำนาจจะสถาพรอยู่ได้..แผ่นดินต้องมั่นคงพลเมืองต้องมั่งคั่ง..
แต่เรื่องราวบนแต่ละสื่อ..บนการรับรู้ของสาธารณชน..มันก็คือ..เรื่องราวเก่าๆ ความหิวโหยอย่างไม่รู้จบของวงศาคณาญาติ..
ถ้าชาติในความหมายของท่าน คือ จานอาหารและเหมืองสมบัติขนาดใหญ่..จงรับรู้ไว้บนความปราชัย
เบื้องหน้า..
คือ หายนะแบบถาวร..

โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจเบียร์ไทย: กับตลาดใน อาเซียน !!?

ปัจจุบัน ธุรกิจเบียร์ไทย ต้องเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มการแข่งขันในตลาดทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศและ เบียร์นำเข้า รวมทั้งการเติบโตของตลาดในประเทศที่มีการขยายตัวไม่มากนักในช่วงที่ผ่านมาและความเข้มงวดของมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจเบียร์ไทยมุ่งรุกขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการขยายตัวทั้งทางด้านของประชาชน และ กำลังซื้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการรวมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 นอกจากนี้ ตลาดเบียร์ในอาเซียนก็นับว่ายังเป็นตลาดที่มีการบริโภคต่อหัวเติบโตในอัตราที่สูงเมื่อ เทียบกับภูมิภาคอื่นๆ จึงยิ่งเป็นปัจจัยช่วยเสริมให้ตลาดเบียร์อาเซียนมีศักยภาพ ในการขยายตลาดและการลงทุนในมุมมองของผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติตลาดเบียร์ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) จากกำลังซื้อของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น

ภาพรวมของตลาดเบียร์ในประเทศปี2555 คาดว่าจะมีแนวโน้มสดใสกว่าในช่วง4 ปีที่ผ่านมา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปริมาณจำหนำยเบียร์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นสูงถึงประมาณ 2,000 ล้านลิตร หรือขยายตัวร้อยละ 14.5 (YoY) และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 125,000 ล้านบาทหรือขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) โดยมีปัจจัยหนุนมาจากกำลังซื้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ การปรับขึ้น เงินเดือนข้าราชการและค่าแรง 300 บาท ตลอดจนแรงหนุนจากการแข่งขันฟุตบอลยูโรในปีนี้ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการทำการ ตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการ และเพิ่มโอกาสในการดื่มเบียร์ในช่วง ระหว่างที่ติดตามชมและเชียร์การแข่งขัน อย่างไรก็ตามเป็นที่นำสังเกตว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดเบียร์ในประเทศ จะมีรูปแบบที่ขยายตัวไปในกลุ่มเบียร์ระดับ อีโคโนมี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีราคาขายถูกกว่ากลุ่มอื่น โดยสัดส่วนของมูลค่าตลาดเบียร์ในกลุ่มอีโคโนมีเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 80 ในปี 2548 เป็นร้อยละ85 ในปี 2555

สำหรับทิศทางการแข่งขันของตลาดเบียร์ในอนาคต คาดว่าจะยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศ และเบียร์นำเข้า ที่เริ่มกลับมานำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2554 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 58 (YoY) และมีแนวโน้มที่การนำเข้าเบียรในปี 2555 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการนำเข้าเบียร์ในปี2555 จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 (YoY)

ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับแรงกดดันจากมาตรการกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศที่มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยในปัจจุบันมาตรการ ดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของการควบคุมการจำหนำย(กำหนดช่วงเวลาขาย กำหนดสถานที่ห้ามจำหนำย กำหนดระยะเวลาในการ เปิดให้บริการสถานบริการ/สถานบันเทิงที่จำหนำยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)การจำกัดกลุ่มผู้บริโภค(ห้ามเด็กซื้อและดื่มเครื่องดื่มแอล กอฮอล์ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่ หรือขณะโดยสารในรถ)การควมคุมการโฆษณา (กำหนดช่วงเวลาในการโฆษณาเงื่อนไขในการโฆษณาผ่านป้ายกลางแจ้ง)ตลอดจนการควบคุมข้อความบนฉลากสินค้า(ระบุห้ามจำหนำยแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีระบุคำเตือนเรื่องความสามารถในการขับขี่ในขณะเมาสุรา)อาเซียน…ตลาดเป้าหมายของผู้ประกอบการในธุรกิจเบียร์

อาเซียน นับว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพสูงในการขยายตลาดในมุมมองของผู้ประกอบการเบียร์ทั้งไทยอาเซียน รวมไปถึงผู้ผลิตเบียร์ชั้นนำในระดับโลกโดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
ปริมาณการบริโภคเบียร์ต่อหัวในอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสูง แม้ว่าการบริโภคต่อหัวในปี 2553 จะมีปริมาณเพียง 11 ลิตรต่อคนต่อปี แต่หากพิจารณาอัตราการขยายตัวในการบริโภคนับว่าเป็นอัตราที่สูงถึงร้อยละ 6 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรปที่มีฐานการบริโภคเบียร์ค่อนข้างใหญ่ และแนวโน้มการบริโภคเบียร์ชะลอลงด้วยเหตุนี้ ทำให้การขยายตลาดไปยังอาเซียนจึงสามารถทำได้ง่ายกว่าภูมิภาคอื่นๆ

การขยายตัวของจำนวนประชากรในอาเซียน ปัจจุบันจำนวนประชากรในอาเซียนมีประมาณ 612 ล้านคน ขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ต่อปี (ข้อมูลจาก United nation)ซึ่งนับว่ามีการเพิ่มขึ้นของประชากรมากกว่าประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว เช่น ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรของอาเซียน ส่วนใหญ่ประมาณ400 ล้านคน เป็นประ ชากรในวัยทำงาน(อายุ 15-60) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักในสินค้าเบียร์ด้วยเหตุนี้ จึงยิ่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่น่าสนใจของผู้ประ กอบการธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มแอลกฮอล์อื่นๆ มากยิ่งขึ้น

การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอุปสรรคด้านการค้าต่างๆ เช่น การเก็บภาษีศุลกากรขาเข้า การเพิ่มความ สะดวกในกระบวนการทางศุลกากร รวมถึงการผ่อนปรนกฎระเบียบทางด้านการลงทุน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าไปทำตลาดภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้น

ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และมีพรมแดนติดกับกลุ่มประเทศ CLMV ประกอบกับการมีโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างประเทศซึ่งจะเสริมให้การคมนาคมขนส่งเชื่อมถึง กันทั้งทางบกทางน้ำ ช่วยเพิ่มจุดแข็งจากข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนการขนส่งกระจายสินค้าและลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าภายในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีพรมแดนติดกับไทย

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการเบียร์ไทยจะเข้าไปมีบทบาทในตลาดเบียร์อาเซียนเพิ่มขึ้น ลำพังเพียงการส่งออกสินค้าไปจำหนำย อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะช่วงชิงโอกาสด้านการตลาด เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ อาทิ สินค้าคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาแข่งขัน รวมทั้งสินค้าเบียร์ท้องถิ่นที่ครองส่วนแบ่งตลาดค่อนข้าง สูงในตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการ/กลยุทธ์อื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน อาทิ การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตเบียร์ในประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพเพื่อลดต้นทุน รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างเต็มที่ หรือการเข้าไปควบรวมหรือซื้อกิจการ หรือลงทุนร่วมกับธุรกิจท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผู้ร่วมทุนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการตลาดรวมทั้งความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่ายการจัดจำหนำย/กระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจรูปแบบดังกล่าว จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (สยามรัฐ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ข้อกังวลใจของ สื่อลาว !!?

คอลัมน์ รู้จักอาเซียน



โจทย์ในการเปิดประเทศของ สปป.ลาว ยังมีอีกหลายเรื่องหลายด้านที่ต้องเร่งพัฒนา ด้านข้อมูล ข่าวสาร และสื่อมวลชน เป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลลาวให้น้ำหนักในการพัฒนา เพื่อก้าวสู่ความเท่าเทียมกับชาติเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียน

ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ในประเทศลาวที่เป็นที่รู้จักดีคือเวียงจันทน์ ไทมส์ (Vientian Time)ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1994 และวางแผงรายวัน 6 ฉบับต่อสัปดาห์ โดยยกเว้นวันอาทิตย์ มียอดพิมพ์อยู่ที่ 3,000-5,000 ฉบับต่อวัน และมีนักข่าวอยู่ราว 60 คน ทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวฝรั่งเศส นอกจากจะตีพิมพ์แล้ว เวียงจันทน์ ไทมส์ยังเปิดให้บริการข่าวสารผ่าน SMS ทั้งภาษาลาวและอังกฤษ

ส่วนตลาดหนังสือพิมพ์นอกเหนือจากเวียงจันทน์ ไทมส์แล้ว ยังมีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับอื่น ๆ อีกราว 9 ฉบับ หนังสือพิมพ์เฉพาะทางที่เสนอข่าวสารด้านธุรกิจ 2 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอีก 2 ฉบับคือ Vientian Mai และ KPL

ข่าวสารของ สปป.ลาวไม่หวือหวา และมีหลักการคัดเลือกคือ ไม่ให้กระทบต่อสังคม ความสงบสุข และความปรองดองของคนในชาติ น้ำหนักของการสนใจข่าวสารของชาวลาวคือ เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น อาชญากรรม อัคคีภัย และที่ได้รับความสนใจสูงในขณะนี้คือ ภัยพิบัติต่าง ๆ

นอกจากสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว สปป.ลาวยังมีสถานีโทรทัศน์ของรัฐ หรือที่เรียกว่า "สถานีโทรภาพ" โดยออกอากาศ 2 ช่องคือ สทล.1 แพร่ภาพ 13 ชั่วโมงต่อวัน เป็นรายการข่าว สาระความรู้ต่าง ๆ โดยรายงานทั้งข่าวภาคภาษาอังกฤษและภาษาชนเผ่า ส่วนอีกช่องคือ สทล.3 แพร่ภาพ 24 ชั่วโมงต่อวัน เป็นช่องบันเทิงและกีฬา

นอกจากนี้ สปป.ลาวก็กำลังพัฒนาทีวีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งร่วมทุนระหว่างโทรภาพลาวที่ถือหุ้น, บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีลาว, ประเทศจีน และเวียดนาม

ในปัจจุบันทีวีดิจิทัลให้บริการอยู่ใน 4 แขวงคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต และจำปาศักดิ์ โดยวางแผนจะพัฒนาให้บริการทั่วประเทศด้วยการเซ็นเอ็มโอยูกับจีน เพื่อกู้เงินจำนวน 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสำเร็จก่อนปี 2558 ปีที่เข้าสู่ประชาคมอาเซียน

หากมองภาพรวมผู้ชมโทรทัศน์ใน สปป.ลาวทั้งประเทศ ช่อง สทล.3 ได้รับความนิยมสูง แต่ขณะนี้ยังขาดรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพลง และแพร่ภาพละครของไทย ยังไม่มีเกมโชว์ ทอล์กโชว์ หรือละครของ สปป.ลาวที่ผลิตเองแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เนื่องมาจาก สปป.ลาวขาดบุคลากรที่จะผลิตเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย โดยปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาบุคลากรเข้ามาทำงานในสาขานี้มากยิ่งขึ้น

อีกสาเหตุที่ยังไม่มีผู้ใดเข้ามาเริ่มทำรายการบันเทิงและละครใหม่ ๆ ใน สปป.ลาว คือ ชาวลาวทั่วทั้งประเทศนิยมดูโทรทัศน์ไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครไทย จึงทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาของรายการที่หลากหลายมากนัก โดยที่ผ่านมา สปป.ลาวเคยมีทอล์กโชว์ แต่ออกอากาศได้เพียง 2-3 ปีก็ต้องล้มเลิกไป

ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สปป.ลาวต้องโชว์ศักยภาพให้นานาชาติได้เห็น โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting-ASEM) ครั้งที่ 9 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงเวียงจันทน์ ที่มีตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มาเข้าร่วม 46 ประเทศ นี่เป็นโอกาสที่ สปป.ลาวจะพัฒนาศักยภาพของสื่อมวลชนลาว

แต่ขณะนี้สิ่งที่ สปป.ลาวยังคงหนักใจคือ เครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ยังไม่พร้อมนักในการถ่ายทอดสดงานระดับนานาชาติครั้งนี้ ความท้าทายนี้กำลังจะมาเยือนลาวในอีก 1 เดือนข้างหน้า

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ละเมิดสิทธิผู้ชุมนุม มาตรฐานตัดสินเหลือง-แดง !!?

วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดงานรำลึก 4 ปี เหตุสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาอย่างคึกคัก

กิจกรรมครบรอบ 4 ปี มีทั้งทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ 86 รูป เพื่ออุทิศแก่ผู้เสียชีวิต

งานพบปะรื่นเริงของคนคอเดียวกันที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ มีศิลปินเข้าร่วม เช่น
แฮมเมอร์, สุกัญญา มิเกล, หว่อง คาราวาน

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1569/2552 ระหว่างนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 คน ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2

กรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมพันธมิตรฯที่ปิดทางเข้า-ออกรัฐสภาเพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

เป้าหมายคือ หากรัฐบาลแถลงนโยบายไม่ได้ก็บริหารประเทศไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องแลถงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน

คำสั่งศาลปกครองกลางสรุปได้ว่า จากข้อเท็จจริงทั้งรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สื่อมวลชน และพยานบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ได้ให้ถ้อยคำที่สอดคล้องตรงกันว่า

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 นับแต่เวลา 05.00-24.00 น. ตำรวจได้นำอาวุธปืน วัตถุระเบิดชนิดต่างๆที่มีอันตรายโดยสภาพมาใช้ในการสลายการชุมนุม โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากลที่ต้องเริ่มจากการเจรจาต่อรอง หากไม่เป็นผลจึงจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก

การสลายการชุมนุมดังกล่าว ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตรงเข้าไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง มีการยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รถพยาบาล โดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมในการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แพทย์-พยาบาลที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

แสดงให้เห็นว่าแผนกรกฎ 48 ที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างหลักการตามมาตรฐานสากล แต่การปฏิบัติจริงหาได้เป็นไปตามหลักการให้ความเมตตาต่อผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างดังที่เขียนไว้ในแผนปฏิบัติการแต่อย่างใด

นอกจากนี้ระยะเวลาในการสลายการชุมนุมยังมีต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ช่วง รวม 18 ชั่วโมง ตั้งแต่เช้าจดค่ำ ทั้งที่การสลายการชุมนุมมีเป้าประสงค์เพื่อเปิดทางให้คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา เข้าประชุมและเดินทางกลับออกจากรัฐสภาได้

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติว่า รัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30 น. สมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีออกจากสภาแล้วเสร็จตั้งแต่เวลา 18.00 น. จึงไม่มีเหตุที่ต้องสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00-24.00 น. แต่กลับยังมีการใช้อาวุธระเบิดชนิดต่างๆยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส

เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม

…ผู้ถูกฟ้องทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดี ซึ่งกำหนดค่าเสียหายให้กับผู้รับความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 ม.ค. 2555 เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง

รวมเงินชดใช้ค่าเสียหาย 32,378,296.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ต.ค. 2552 จนกว่าจะทำการชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน และหากภายใน 2 ปีนับแต่มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องสอดรายใด ยังคงต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลจากการกระทำละเมิด ศาลยังสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาในส่วนนี้เพิ่มเติมได้อีก

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น หากคู่ความไม่พอใจยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน

คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นน่าสนใจตรงที่ว่า

หากการสลายการชุมนุมของตำรวจเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุม จนนำมาซึ่งคำสั่งให้จ่ายค่าชดใช้

แล้วการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารเข้าดำเนินการ ใช้อาวุธสงคราม ใช้ปืนซุ่มยิง ใช้รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ ใช้เฮลิคอปเตอร์ปาแก๊สน้ำตา

จะเรียกได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ชุมนุมได้หรือไม่?

ความเสียหายที่เกิดกับผู้ชุมนุมทั้งตัวเลขคนเจ็บ คนตาย ระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงต่างกันไม่รู้กี่สิบเท่า

ไม่รู้ว่ามีใครในกลุ่มผู้เสียหายคนเสื้อแดงไปยื่นฟ้องศาลปกครองเอาไว้บ้างหรือไม่

หากไม่มีใครไปยื่นฟ้องไว้ ก็น่าจะลองไปยื่นฟ้องกันดู

ยื่นฟ้องเพื่อพิสูจน์มาตรฐานคำตัดสินของศาลปกครองดูหน่อยเป็นไรว่าจะตัดสินออกมาอย่างไร

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

แบบอย่างที่ดี !!?

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค ยกย่อง อองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย อันเป็นพรรคฝ่ายค้าน ที่ได้ใช้ความพยายามและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ต่อนโยบายปฏิรูปประเทศของรัฐบาล
เต็ง เส่ง ซึ่งเป็นผู้นำพะม่าคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ท่ามกลางการจับตามองและเฝ้ารอรับฟังของบรรดาชาติมหาอำนาจทั้งหลาย
ในการกล่าวยกย่อง ออง ซาน ซูจี อย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง กล่าวว่า...
ในฐานะตัวแทนของชาวพม่า เขาขอแสดงความยินดีต่อทุกรางวัลและการยกย่องที่ออง ซาน ซูจี ได้รับระหว่างการเยือนสหรัฐ ซึ่งเป็นผลตอบแทนความพยายามต่อสู้เพื่อสันติภาพอันยาวนานของเธอ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการต่อสู้เพื่อดำเนินนโยบายปฏิรูปประเทศต่อไป
ในการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งที่แล้วนี้ ออง ซาน ซูจี ได้ไปรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และได้รับรางวัลเหรียญทองคำ อันเป็นอิสริยาภรณ์สูงสุดจากรัฐสภาสหรัฐ กับได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
ภายหลังจากที่ใช้ระบอบเผด็จทหารปกครองพม่ามานาน ๕๐ ปี พม่าก็ได้เปิดทางให้มีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ดำเนินโยบายหลายอย่าง ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแต่มีขั้นตอน
ทำให้นักวิเคราะห์คาดหมายว่า...พม่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญของภูมิภาคในอนาคต โดยมีผลสำคัญส่วนหนึ่งมาจากเอกลักษณ์แห่งความยึดมั่นในชาติของคนพม่า
ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ นักการเมืองและภาคส่วนต่างๆ ของพม่าไม่ได้ทะเลาะแย่งชิงผลประโยชน์กันเหมือนที่เป็นอยู่ในประเทศไทยเรา พวกเขาช่วยกันทำทุกอย่างและร่วมกันคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศและประชาชน
ออง ซาน ซูจี นั้น หลังจากที่ได้รับการปลดปล่อยจากการถูกคุมขังนานกว่า ๒๐ ปี ก็ได้เดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เป็นผลให้มีการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรที่ทั่วโลกมีต่อพะม่าเพิ่มมากขึ้น
มิใช่ไปด่ารัฐบาลปาวๆ อย่างเดียว
หลังการเยือนของ ออง ซาน ซูจี มักจะตามไปด้วยการเยือนของ เต็ง เส่ง เพื่อเจรจาอย่างเป็นทางการแทบทุกครั้ง แสดงถึงการร่วมมือระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลในการเจรจากับต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ของประเทศพม่าโดยส่วนรวม
สิ่งนี้แหละที่เป็นจุดแข็งอันสำคัญของพลังสร้างชาติของพม่ายุคใหม่

โดย.ศรี อินทปันตี, บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ธ.ก.ส.แถลงรับเงินคืนจำนำข้าวเกือบ แสนล้าน !!?

ธ.ก.ส.แถลงรับเงินคืน โครงการรับจำนำ จากการระบายข้าวของรัฐบาล เกือบแสนล้านบาท ช่วงบ่ายวันนี้ ที่กระทรวงการคลัง

รายงานข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เปิดเผยว่า วันนี้(8ต.ค.) เวลา 14.00 น. ธ.ก.ส.จะแถลงข่าว รับเงินคืนโครงการจำนำข้าวเกือบแสนล้านบาท ณ ห้องแถลงข่าวกระทรวงการคลัง ถ.พระราม 6

เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า คณะรัฐมนตรีได้รับรายงานของกระทรวงพาณิชย์เรื่องการระบายข้าว ตามโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งปัจจุบันมีการระบายข้าวไปแล้วทั้งสิ้น 8.3 ล้านตัน คงเหลือ 4.175 ล้านตัน คาดว่าจะได้รับเงินคืนจากการขายข้าวของโครงการดังกล่าวถึงสิ้นปี 2556 จำนวน 2.6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เงินที่ได้รับคืนมา ก็จะนำมาใช้หมุนเวียนสำหรับดำเนินการในโครงการต่อไป นอกจากนี้ยัง ได้ให้ความเห็นชอบโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาล 2555-2556 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการอนุมัติเงิน เป็นเงินทุนหมุนเวียนข้าวเปลือกข้าวนาปี 2555/56 จำนวน 15 ล้านตัน 2.4 แสนล้านบาท โดยให้ดำเนินโครงการตั้ง 1 ต.ค. 2555 เป็นต้นไป

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โครงการจำนำข้าว v.s. โครงการประกันรายได้ นโยบายใดที่ชาวนาได้รับประโยชน์มากที่สุด !!?

โครงการรับจำนำข้าว โครงการประชานิยมสำหรับเกษตรกรที่หลายฝ่ายกำลังมองว่าเป็นปัญหา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้มีการออกมาล่ารายชื่อจากกลุ่มนักวิชาการเพื่อยื่นต่อศาลให้ยุตินโยบายดังกล่าวโดยมองว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลและเอื้อต่อการทุจริต

ภาพจากไทยรัฐ

นอกจากนี้ ประเด็นที่โหมกระแสเล่นกันอยู่ตามหน้าสื่อต่างๆ ก็มีอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เช่น..
  • บทความเรื่อง ไทยเสียแชมป์ส่งออกจนได้ หรือ
  • ยืนยันว่าไทยเสียแชมป์โลก ส่งออกข้าว…ใครรับผิดชอบ?
  • จากบทสัมภาษณ์ของกรุงเทพธุรกิจ หอการค้าชี้ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าว
  • หรือจากฝ่ายค้าน ปชป.ซัดรบ.ทำปท.เสียแชมป์ส่งออกข้าว
  • กระทั่งรัฐบาลต้องออกมาแก้ข่าว ปูให้ก.พาณิชย์แจงไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าว “บุญทรง” ลั่นไม่เกี่ยวรับจำนำ
SIU จึงอยากชวนผู้อ่านมาร่วมกันทบทวน ระหว่างการรับจำนำกับการประกันรายได้ แต่ละนโยบายที่ใช้มีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง

โครงการจำนำข้าว

ในโมเดลนี้รัฐจะทำตัวเป็นพ่อค้ารับซื้อข้าวจากชาวนาโดยการนำข้าวไปที่โรงสี ตามด้วยการตรวจวัดความชื้นโดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำโรงสีคอยควบคุม จากนั้นจึงออกใบประทวนให้ชาวนาเพื่อรับเงินจาก ธกส และโรงสีจะสีข้าว นำไปเก็บเพื่อรอขาย

จากโมเดลนี้ชาวนาเลือกขายข้าวให้กับผู้ที่ให้ราคาดีกว่าแต่อีกด้านพ่อค้าก็จำเป็นต้องซื้อข้าวไปขายเช่นกันจึงต้องรับซื้อจากชาวนาในราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวขึ้นโดยที่รัฐไม่ต้องไปรับซื้อข้าวทั้งหมดจากตลาด
ภาพจากข่าวสด

ประเด็นเรื่่องการทุจริต

การทุจริตยังมีอยู่จริง จากการเอาข้าวไปผ่านโรงสีกลายเป็นช่องทางในการเอาข้าวเก่ามาสับเปลี่ยนกับข้าวใหม่ที่รับจำนำมาบ้าง หรือในเรื่องการลงทะเบียนพื้นที่เพาะปลูกเกินจริงของชาวนา โดยร่วมมือกับโรงสีเพื่อที่โรงสีจะนำข้าวจากที่อื่นมาสวมสิทธิ หรือชาวนาถูกโกงโดยโรงสีจากการวัดความชื้นทำให้ได้ราคาจำนำที่ถูกลงในบางรายโรงสีไม่จ่ายใบประทวนให้เกษตรกรแต่จ่ายเงินสดด้วยราคาที่น้อยกว่ารัฐ นอกจากนั้นโรงสีก็จะได้รับผลประโยชน์จากการสีข้าวให้รัฐบาล และจากค่าเช่าสถานที่เก็บข้าว
หากมองในเชิงการเมือง การจำนำข้าวคือนโยบายหลักที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้ชัยชนะจากฐานเสียงของเกษตรกร ดังนั้นการทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้จึงเป็นการรักษาฐานเสียงของพรรค อีกทั้งประโยชน์ที่น่าจะเอื้อต่อการหล่อเลี้ยงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น เช่น กลุ่มนายทุนโรงสี ที่น่าจะเป็นทั้งฐานเสียงและหัวคะแนนให้กับพรรคในการเลือกตั้ง จะใช่หรือไม่คงต้องตามดูกันต่อไป

เรื่องการบิดเบือกลไกตลาดน่าจะเป็นประเด็นรองที่ควรจะนึกถึงกัน แต่ควรจะห่วงเกษตรกรก่อน ตราบใดที่อุตสาหกรรมข้าวไทยยังอ่อนแอ ควรต้องปกป้องชาวนาก่อนกลไกตลาด ??

จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องยึดติดกลไกตลาดขณะที่เรายังไม่พร้อมจะแข่งขัน เราจะเห็นว่าในหลายๆ ประเทศ เช่นอเมริกาที่มักอ้างเรื่องการค้าเสรี หลายครั้งๆ ก็ยังต้องออกมาปกป้องสินค้าของตนเองเพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถอยู่ได้
 
ภาพจากไทยรัฐ

ประเด็นเรื่องงบประมาณ

โครงการนี้ใช้งบประมาณมากขึ้น แต่เป็นงบหมุนเวียน (ย้ำ งบหมุนเวียน) ไม่ใช่งบเสียเปล่าเพราะจะต้องมีเงินคืนกลับมาจากการขายข้าวโดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ได้อธิบายไว้ในบทความเรื่อง โครงการรับจำนำข้าวใครได้ประโยชน์? ว่าในทางปฏิบัติ รัฐบาลไม่ต้องรับจำนำข้าวหมดทั้งประเทศ
เพราะเมื่อข้าวตกอยู่ในมือของรัฐบาลมากขึ้น ตลาดเอกชนก็จะมีข้าวน้อยลง ทำให้ราคาตลาดเอกชนสูงขึ้นไปเอง ชาวนาทั่วไปก็จะขายข้าวในตลาดเอกชนได้ราคาสูงตามไปด้วยโดยไม่ต้องเข้าโครงการจำนำ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เม็ดเงินตกไปที่ชาวนาเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น

ผลทางจิตวิทยาที่ตามาคือ พ่อค้าข้าวในประเทศจะเป็นผู้ซื้อข้าวจากชาวนาในราคาที่ใกล้เคียงกับรัฐบาลเพราะถ้าราคาต่างกันมากชาวนาก็จะขายข้าวให้กับรัฐบาลแทน โดยปัจจุบันยอดจำนำข้าวสิ้นเดือนกันยายน 2555 มีข้าวเข้ามาจำนำในโครงการที่ 14.39 ล้านตัน ( ร้อยละ 57.56) จากข้าวทั้งหมด 25 ล้านตัน เท่ากับว่าข้าวอีก 42 % อยู่ที่พ่อค้าข้าวและข้าวที่พ่อค้าซื้อจากชาวนาซึ่งก็คงจะไม่รับซื้อในราคาที่ต่างจากรัฐบาลมากนัก

ด้าน นายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง ไทยโพสต์ ว่าโครงการจำนำทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่าโครงการประกันราคาถึง 6.8 หมื่นล้านบาท โดยเปรียบเทียบจากราคาอ้างอิงช่วงประกันราคาข้าวที่กำหนดไว้ 8,000 บาท/ตัน

เรื่องงบประมาณนั้นเราคงต้องรอดูว่ารัฐบาลขายข้าวได้เงินกลับมาเท่าไหร่ หักลบกันแล้วการรับจำนำจะใช้เงินมากกว่าหรือน้อยกว่าการประกันรายได้หรือไม่

นโยบายจำนำข้าวกับการเสียแชมป์ของไทย?

อวสานแชมป์ ภาพจากกรุงเทพธุรกิจ
หลายท่านอาจภูมิใจกับตำแหน่งนี้มากเพราะคิดว่าการส่งออกข้าวได้มากชาวนาก็จะได้เงินมากขึ้น แต่จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการส่งออกอันดับ 1 ของโลกนั้นได้มาซึ่งการกดราคาข้าวจากพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกันรายได้ช่วยส่งเสริมให้พ่อค้าคนกลางกดราคาข้าวให้ถูกลง
ถามว่า ชาวนาจะภูมิใจกับตำแหน่งดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน? หากตนเองขายข้าวได้ในราคาที่ถูกเพื่อจะไปแข่งขันกันด้านราคาให้ประเทศไทยได้แชมป์ส่งออกข้าว

ในสถานการณ์ปัจจุบันราคารับจำนำข้าวของไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน หากราคาข้าวในตลาดโลกไม่ขยับไทยอาจจะต้องเสียตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ ในขณะที่ชาวนาจะได้เงินมากขึ้นเพราะราคารับจำนำข้าวที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะต้องโยนคำถามกลับไปที่ชาวนาในฐานะผู้ปลูกข้าวว่าการรักษาแชมป์ส่งออกข้าวกับการขายข้าวได้ราคาดีขึ้นอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ??

โครงการประกันรายได้



โครงการประกันรายได้เกษตรกร มาจากฐานคิดเรื่องหลักประกันความเสี่ยงเนื่องจากความผันผวนของราคาหรือกรณีเกิดการเสียหายของพืชผลการเกษตรจากภัยพิบัติต่างๆซึ่งจะเป็นหลักประกันว่าเกษตรกรจะได้เงินชดเชยกลับไปบ้าง โดยรัฐไม่ต้องไปเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ในตลาด

เพราะรัฐจะชดเชยส่วนต่างของราคาสินค้าให้เกษตรกร เช่น รัฐประกันราคาข้าวไว้ที่ตันละ 10,000 บาท แต่เกษตรกรขายข้าวได้ 5,000 บาท รัฐก็จะชดเชยให้อีก 5,000 บาท ซึ่งเราเข้าใจกันแบบบนั้น แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ในเรื่องการชดเชย รัฐจะมีลิมิตในการชดเชยซึ่งรัฐจะทำการคำนวนคร่าวๆไว้แล้วว่าพื้นที่ปลูกข้าว 1ไร่ จะได้ข้าวกี่ตัน และรัฐจะชดเชยตามที่คำนวนให้ สมมติ 1 ไร่/1 ตัน ซึ่งรัฐจะทราบจำนวนไร่ของชาวนาจากการรลงทะเบียนของชาวนา

ประเด็นการทุจริต

การทุจริตจะอยู่ที่ขั้นตอนลงทะเบียนพื้นที่เพาะปลูกหากชาวนาลงทะเบียนเกินพื้นที่จริงจะทำให้รัฐต้องจ่ายเงินส่วนต่างเกินความเป็นจริง บางรายลงทะเบียนทำนาแต่ไม่ได้ทำจริงก็มีเพราะที่ดินบางส่วนไม่สามารถทำนาได้เนื่องจากระบบชลประทานไม่ทั่วถึง ทำให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประกันให้ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ได้ทำนา

เช่น คนมีที่นา 10 ไร่ ทำได้จริงแค่ 3 ไร่ เพราะอีก 7 ไร่ไม่สามารถทำนาได้อยู่แล้วแต่ก็จะได้เงินชดเชยจากการประกันรายได้อีก 7 ไร่ที่ไม่ได้ทำอีกด้วยเพราะการประกันราคาไม่ได้ดูว่าชาวนาทำนาจริงหรือไม่ ดูแค่จำนวนที่นาที่ลงทะเบียนและประเมินว่านา 1ไร่จะได้ผลผลิตเท่าไหร่ และรัฐจะจ่ายส่วนต่างหากชาวนาขายข้าวไม่ถึงราคาประกัน


ทุจริตประกันรายได้ ภาพจากผู้จัดการ

นอกจากนั้นยังเอื้อให้เจ้าของที่นาปล่อยที่ให้คนอื่นเช่าทำนา อาจเป็นการเปิดช่องให้มีการโกงคนที่ทำนาอีก เพราะเมื่อเจ้าของนาไปลงทะเบียนประกันรายได้ แต่ตอนทำนาไม่ได้ทำเอง แต่ให้เกษตรกรรายอื่นไปเช่าทำต่อ เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินประกันรายได้รัฐบาลไม่ได้จ่ายให้คนที่เช่านา แต่รัฐต้องจ่ายให้กับผู้ลงทะเบียนก็คือเจ้าของที่นา เงินจึงไม่ตกไปที่เกษตรกรตัวจริง

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นการประกันรายได้ที่เราคิดว่าชาวนาจะได้ส่วนต่างจากราคาประกัน เช่นประกันไว้ 10,000 บาท ขายได้ 5,000 บาท รัฐจะชดเชยให้ 5,000 บาท แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะรัฐบาลไม่รู้ว่าชาวนาขายข้าวได้เท่าไหร่ เพราะราคาข้าวนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าว รัฐบาลจึงได้กำหนด “ราคาอ้างอิง” เพื่อใช้แทนราคาขายจริง แต่ราคาอ้างอิงของทางการกลับสูงกว่าราคาขายจริง
เช่น ประกันราคาไว้ที่ตันละ 10,000 บาท ชาวนาขายได้จริงตันละ 5,000 บาท ก็ควรจะได้รับชดเชยตันละ 5,000 บาท แต่ราคาอ้างอิงทางการอยู่ที่ 8,000 บาท ผลก็คือ ชาวนาได้รับชดเชยจริงแค่ตันละ 2,000 บาท รวมเป็นราคาที่ชาวนาได้รับจริง คือ เงินจากการขายข้าวให้พ่อค้า 5,000 บาท + เงินชดเชยจากรัฐ 2,000 บาท เท่ากับได้ ตันละ 7,000 บาท ไม่ใช่ตันละ 10,000 บาทตามที่รัฐบาลประกันไว้

อีกทั้งยังทำลายความจูงใจในการผลิตข้าวต่อไร่ของชาวนาเพราะเมื่อรัฐชดเชยรัฐจะชดเชยเป็นจำนวนไร่ สมมติรัฐให้ 1ไร่/1ตัน ชาวนามีนา10ไร่ รัฐจะชดเชย 10ตัน แต่หากชาวนาปลูกข้าวขายได้รวมกัน 11ตัน แล้วอีก 1ตัน ที่เกินมาชาวนาก็ไม่ได้รับการชดเชยอยู่ดี

ซึ่งก็ไปทำลายแรงจูงใจที่จะให้ชาวนาปลูกข้าวต่อไร่ให้ได้ผลผลิตสูง และไปเพิ่มความต้องการในการสะสมที่นาของแหล่งทุนหรือเพิ่มแรงจูงใจในการทุจริตแจ้งจำนวนที่นาปลูกข้าวเกินจริงเพื่อจะรับเงินประกันตามพื้นที่

ประเด็นเรื่องงบประมาณ

ถือเป็นข้อดีของการประกันรายได้คือเป็นโครงการที่รัฐไม่เหนื่อยมากเท่าการรับจำนำ ไม่ต้องใช้เงินหมุนเวียนสูงอย่างโครงการรับจำนำ โดยงบประมาณปีที่แล้วรัฐต้องให้เงินชดเชยไปร่วม 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็เยอะแต่ยังน้อยกว่าโครงการรับจำนำหลายเท่าตัว (หากเทียบกับงบหมุนเวียน) และเกษตรกรยังได้รับเงินจากรัฐทั่วถึงจากโครงการนี้แม้เฉลี่ยแล้วต่อผลผลิตต่อตันรัฐจะชดเชยให้น้อยกว่าก็ตาม
คลิกเพื่อขยายภาพทำความเข้าใจโครงการประกันรายได้ผ่านผังภาพ

โครงการประกันรายได้กับการเสียแชมป์การส่งออกของไทย?

หากใช้นโยบายประกันรายได้จะมีโอกาสน้อยมากที่ไทยจะเสียแชมป์ในการส่งออก เพราะกลไกของการได้มาซึ่งแชมป์การส่งออกนั้น ชาวนาจะขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง โดยพ่อค้าก็อาจจะกดราคาข้าวให้ต่ำที่สุดเพื่อให้พ่อค้าได้ ต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อให้พร้อมกับการแข่งขันกับส่งออกกับประเทศต่างๆ
เพราะพ่อค้าทราบดีว่าถึงยังไงแล้วรัฐก็ต้องจ่ายส่วนต่างให้ชาวนา และเมื่อส่งออกข้าวไปแข่งขันกับข้าวที่มาจากเวียดนามที่คุณภาพข้าวต่ำกว่า แต่พ่อค้าไทยขายในราคาไล่เลี่ยกัน เพราะซื้อมาในราคาแสนถูก คงไม่แปลกอะไรที่คนจะเลือกซื้อข้าวไทย ด้วยเหตุนี้ไทยจะยังคงรักษาแชมป์ส่งออกข้าวต่อไป
สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ทาง Voice TV ของนายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ที่กล่าวว่า ปัญหาหรือกระแสข่าวเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงความต้องการของกลุ่มคนบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถที่จะกดราคาซื้อข้าวให้ต่ำตามที่ต้องการได้

บทสรุป จำนำข้าว V.S. ประกันรายได้ เลือกอะไรดี?

การประกันรายได้นั้น กำไรจากการขายข้าวจะตกไปอยู่ที่ พ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อไปขายในราคาตลาดโลกที่แพงกว่ามาก

การที่นักวิชาการบางกลุ่มออกมาท้วงติงว่ารัฐไปแทรกแซงเอกชน (พ่อค้าข้าว) ไปจนถึงการเสียแชมป์ส่งออกข้าวนั้น เท่ากับว่านักวิชาการกลุ่มนี้ออกมาเรียกร้องเพื่อพ่อพ่อค้าใช่หรือไม่? อันที่จริงก็มีอีกหลายนโนยบายประชานิยมที่สุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกับที่นักวิชาการควรจะออกมาปกป้องท้วงติง หากมองผ่านกรอบความคิดที่ว่านโยบายดังกล่าวสนับสนุนหรือให้ประโยชน์แก่คนชั้นกลางเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แสดงสิทธิแสดงเสียงแล้วสังคมได้ยินมากกว่า ก็อาจเป็นสาเหตุที่ไม่จำเป็นต้องออกมาเรียกร้องต่อต้าน (ดูเพิ่มเติม: นโยบายรถคันแรกอาจกลายเป็นวิกฤตซับไพรม์ไทยในอนาคต)


คลิกเพื่อขยายภาพทำความเข้าใจ โครงการรับจำนำข้าว ผ่านผังภาพ

การรับจำนำข้าว แม้ชาวนาจะได้เงินมากขึ้น เพราะการเข้ามาแทรกแซงด้วยการรับซื้อข้าวในราคาสูงของรัฐบาล อีกด้านก็ทำให้พ่อค้าต้องซื้อข้าวจากชาวนาในราคาใกล้เคียงกัน หรือไม่พ่อค้าก็ต้องมาซื้อตอนรัฐบาลเปิดประมูล แต่ในระบบนี้ โรงสีจะได้ผลประโยชน์จาก ค่าจ้างจากการสีข้าวให้รัฐ เอื้อให้โรงสีโกงได้อีก ทั้งยังใช้งบหมุนเวียนสูง ซึ่งควรจะจำกัดการจำข้าวปีละ 2 ครั้ง

ดังนั้นการรับจำนำข้าวนั้นก็คงไม่ใช่นโยบายที่ดีที่สุด จากข่าวไม่กี่วันที่มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่และอีกหลายพื้นที่เสี่ยงต่ออุทุกภัย เช่นภาคเหนือตอนล่างที่หน้าน้ำหมุนเวียนมากี่คราก็จะได้รับผลกระทบ ทั้งยังต้องแบกรับภาระในการเป็นพื้นที่ทางผ่านของน้ำเป็นที่รับน้ำให้คนกรุงเทพ ซึ่งพอน้ำมา ผลผลิตก็เสียหายและเกษตรกรคงไม่มีพืชผลมาจำนำกับรัฐบาลแน่นอนแม้ว่าจะได้ราคาดีแค่ไหน

อีกด้านคงต้องยอมรับว่าทั้ง 2 โครงการไม่ได้ต่างกันคือสามารถเกิดการทุจริตขึ้นได้ง่าย เราคงจะต้องแยกเรื่องระหว่างการทุจริตกับโครงการรับจำนำอย่าพึ่งไปเหมารวมว่าทั้งโครงการไม่ดีเพราะมีชาวนาได้ประโยชน์จากโครงการนี้อีกมาก ทั้งยังเป็นนโยบายที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งเข้ามาก็ควรจะต้องยอมรับมติมหาชน? ส่วนการทุตริตที่มีอยู่ก็ควรบริหารจัดการให้โปร่งใส ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่
ทั้ง 2 โครงการนั้นใช้เงินจากภาครัฐ ไม่ว่าจะใช้มากหรือน้อยเพียงใด สุดท้ายรัฐยังต้องจ่ายเงินขั้นต่ำอยู่ที่หลัก 10,000 ล้านบาท ฉะนั้นสิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือ ถ้ารัฐจ่ายเงินไปแล้วในทั้งสองโครงการ ผลที่จะได้กลับมาคืออะไร ??

ทั้ง 2 โครงการเป็นมาตรการที่ทุกรัฐบาลนิยมใช้เพราะเห็นผลเร็วที่ยังมีข้อบกพร่องอยู่เยอะและไม่ยั่งยืน โจทย์เหล่านี้ต่างหากที่น่าจะนำไปขบคิดต่อสำหรับทุกรัฐบาล คือระหว่างทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงแบบที่รัฐบาลเพื่อไทยกำลังจะทำอยู่ ด้วยการพยามเจราจาตั้งกลุ่มประเทศผู้ขายข้าว “สหพันธ์ผู้ค้าข้าว” เพื่อยกระดับราคาข้าว ซึ่งหากทำได้ก็น่าจะส่งผลดีในการทำให้ต้นทุนเกษตรกรต่ำ อันไหนทำได้ง่ายกว่าและยั่งยืนกว่ากัน

กล่าวโดยสรุปก็คือ เราคงต้องยอมรับกันว่าโครงการประชานิยมนั้นมีทั้งข้อดีข้อเสีย มีหลายๆ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากประชาชานิยมในโครงการต่างๆ เช่น ชนชั้นกลางกับโครงการรถคันแรก เงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท ตลอดจนการลดภาษีนิติบุคลให้กับกลุ่มบริษัทซึ่งผู้ได้ประโยชน์ก็คงหนีไม่พ้นบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งก็ล้วนเป็นชนชั้นนำของประเทศ

กระทั่งการทุ่มงบไปกับการดูแลชีวิตคนกรุงเทพฯ อย่างมหาศาล การนำทรัพยากรมากระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งหากมองจากมุมนี้ทุกคนก็ล้วนได้รับประโยชน์จากนโยบายประชานิยม ซึ่งนโยบายใดๆ ก็ตามก็ย่อมส่งผลกระทบต่อรายรับรายจ่ายของรัฐเช่นกัน

กรวิจัยข้าว ภาพจาก cp e-news

ข้อเสนอแนะ

รัฐควรจะหาวิธีการที่ทำให้ต้นทุนในการทำเกษตรกรรมลดลง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการโครงสร้างระบบชลประทานที่ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง และการส่งเสริมการวิจัยข้าว เช่น ทำอย่างไรให้ข้าวไทย คุณภาพดี เก็บได้นาน เพื่อยกระดับคุณภาพข้าวไทยโดยไม่ต้องไปแข่งขันเรื่องราคากับประเทศอื่นๆ
หรือการคิดค้นสายพันธุ์ข้าวที่ทนต่อสภาวะต่างๆ เช่น น้ำท่วม หรือฝนแล้งร่วมเดือน พันธุ์ข้าวนั้นๆ ก็ยังทนอยู่ได้ ขณะนี้เริ่มมีพันธุ์ข้าวดังกล่าวบ้างแล้ว เป็นการคิดค้นเพื่อลดความเสียหายจากสภาพอากาศ ลดการขาดทุนให้ชาวนา

หากพูดกันตามจริง งบประมาณด้านการวิจัยของไทยยังน้อย หากเทียบกับประเทศในอาเซียน อย่างเวียดนามในปี 2010 เวียดนามใช้งบ 3,000 ล้านบาทขณะที่ไทยใช้งบประมาณร่วม 200 ล้านบาท
หากเปรียบเทียบกับงบการวิจัยในประเทศโซนเอเซียด้วยกันในปี 2011 หากคิดเป็น GDP ไทยอยู่ที่ 0.25% ญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.3% เกาหลีใต้อยู่ที่ 3.0% สิงคโปร์อยู่ที่ 2.2% จีนอยู่ที่ 1.4% อินเดียอยู่ที่ 0.9% และ มาเลเซีย อยู่ที่ 0.69% (ดูข้อมูลเพิ่มเติม AEC: จากความถดถอยของข้าวไทย สู่อนาคตที่สดใสของข้าวเวียดนาม)

ส่วนมาตรการด้านราคาทั้งจำนำและรับประกันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้นไม่ยั่งยืน เราทราบกันดีว่าปี 2015 ไทยจะข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้น การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าจะทำได้ง่ายมากขึ้น ฉะนั้นมาตรการในการตรวจสอบสินค้าตามแนวชายแดนก็ต้องรัดกุมมากขึ้นอีกเพื่อป้องกันการทุจริต รัฐบาลจะรับภาระหนักมากขึ้นหากยังดำเนินนโยบายการจำนำข้าวต่อไป
ทางเลือกที่เห็นผลลบน้อยสุด คือการหาวิธีการลดต้นทุนการผลิตให้ได้ เมื่อสินค้ามีต้นทุนต่ำจะมีศักยภาพในการขายแข่งกับใครก็ได้ ยิ่งสินค้ามีคุณภาพดีมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เรามีความจำเป็นน้อยมากที่ต้องไปฟาดฟันขันแข่งราคากับใคร

ในเรื่องการการกำหนดมาตรการด้านราคาสามารถทำได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่เรื่องของปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ถึงเวลาหรือยังที่รัฐควรจะคิดนโยบายใหม่เพื่อรับมือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในปี 2015 โดยเฉพาะ “ข้าวไทย”

ที่มา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////