--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

กองทุนหมู่บ้าน : เล็งยกระดับกองทุนแห่งชาติ.


โดย : กชพรรณ สุขสุจิตร์

เปิดหน้าใหม่ของกองทุนหมู่บ้านหลังการดำเนินงานมานานกว่า 10 ปีซึ่งวันนี้ เตรียมยกระดับสู่การเป็นกองทุนแห่งชาติ (Nation Fund)

ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกเป็น 20 ล้านคนใน 10 ปี โดยการดำเนินงานครั้งนี้จะพยายามลบจุดอ่อนในช่วงการบริหารที่ผ่านมา ในประเด็นที่ประชาชนไม่เข้าใจระบบการบริหารเชิงธุรกิจ จนเกิดภาวะงูกินหางจากการใช้หนี้กองทุน

การบริหารที่ผิดพลาดทั้งหมดจะจัดทำเป็นบทเรียนองค์ความรู้ผ่านสถาบันการเรียนรู้แต่ละหมู่บ้าน พร้อมเตรียมเสนอรัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้าน ปี 2547 เสนอแนวคิดออกบัตรเครดิตกองทุนตรวจสอบการใช้เงิน เพื่อทำความรู้จักกับทศวรรษใหม่ของกองทุนหมู่บ้าน "กรุงเทพธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "นที ขลิบทอง" ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ถึงนโยบายการบริหารงานกับกองทุนหมู่บ้านยุคใหม่ ที่จะก้าวเข้าเป็นกองทุนแห่งชาติ

นที บอกว่า โครงการกองทุนหมู่บ้านซึ่งกำลังก้าวไปสู่การเป็นกองทุนแห่งชาติที่สามารถเชื่อมโยงเงินกองทุนระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้านและพัฒนาไปสู่ระดับตำบลจนถึงจังหวัดได้ในอนาคต

แต่ก่อนการพัฒนาไปสู่กองทุนแห่งชาติ ภาพรวมของกองทุนหมู่บ้านเดิมก็ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขและเตรียมความพร้อม

โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ยังถือว่าเป็นการลองผิดลองถูก เนื่องจากประชาชนยังไม่เข้าใจในเรื่องของระบบธุรกิจ ระบบการบริหารจัดการแต่จะเป็นไปในลักษณะของการสนิทสนม นับถือกันแบบพี่น้อง หรือสังคมแบบเกื้อกูล

"วิธีการของความไว้ใจสมาชิก ยืมเงินไปถึงเวลาเอาเงินมาชำระ ผู้รับชำระจะไม่ได้ทำเรื่องสัญญา เอกสาร ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จะทำให้ตรงนี้ง่าย สะดวกคล่องตัว ถ้าไม่เกิดปัญหาก็แล้วไป แต่วันหนึ่งถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาไม่มีอะไรมายืนยัน ว่าฝ่ายใดจ่าย ฝ่ายใดรับ หรือดำเนินการเมื่อไรอย่างไร"

บทเรียนระยะเวลาของการลองผิดลองถูกต้องปรับปรุงในเรื่องของกระบวนการทางเอกสาร กระบวนการในระบบงาน ความรู้เชิงกฎหมาย เชิงบัญชี ซึ่งจะทำให้เกิดระบบที่เป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น ทำให้ระบบการเงินขยายตัวเพราะนั้นการมีแผนการลงทุน มีแผนการใช้การหมุนเวียนเงินต่างๆ ดังนั้น ระบบการทำงานระหว่างน้ำใจและการเอื้อเฟื้อกับการบริหารในเชิงธุรกิจต้องหาจุดสมดุลที่เหมาะสม

ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนหมู่บ้านสมาชิกประมาณ 77,000 หมู่บ้าน มีกองทุนที่ไม่พร้อมและต้องติดตามอย่างใกล้ประมาณ 10% หมู่บ้านโดยเฉลี่ย 60% และหมู่บ้านที่เป็นตัวอย่างได้ 30%

ในส่วนของความรับผิดชอบของสมาชิกจำนวน 12,801,444 คน พบว่ามีหนี้ค้างชำระโดยเฉลี่ยไม่เกิน 10% สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่เกิน 5% ขณะที่การดำเนินคดีเป็นคดีความแพ่ง 5,084 คดี เป็นทุนทรัพย์ 84,096,624.62 บาท และคดีความอาญา 734 คดี ทุนทรัพย์ 213,127,500.66 บาท

การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2554 มีการเพิ่มเงินประมาณแสนล้านบาท และมีเงินที่เพิ่มจากทั้งการระดมเงินออม ระดมเงินฝาก จากการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ของแต่ละกองทุนประมาณ 6 หมื่นล้านบาท แต่ก็มีสิ่งที่น่ากังวล คือ ภาวะงูกินหาง เพราะบางหมู่บ้านที่ภาพที่สวยหรูในแง่ของการบริหารเงินกองทุน แต่ที่มาของเงินมาจากการกู้หนี้นอกระบบมาชดเชย

"การไปกู้นอกระบบมาชดเชยไม่ใช่ความต้องการกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านต้องการเงิน 3-4 ล้าน 1-2 ล้าน ก็ได้ แต่ทุกคนมีความสุข สมาชิกอยู่ร่วมกันได้ เพราะฉะนั้น เราจะไม่ได้วัดค่าเงินอย่างเดียว แต่ค่าของเงินมีส่วนที่เห็น คือ เงินไม่สูญ คืออย่างน้อยคิดว่าเงินไม่สูญมีที่มาที่ไป ถือว่ารับได้ระดับหนึ่งส่วนการงอกเงยถึงไหนอย่างไรถือว่าเป็นเรื่องในพื้นที่เป็นเรื่องบริหารจัดการกันเอง แต่ก็เอามาดูประกอบ เรียกว่าเป็นมิติทางเศรษฐกิจ"

ดังนั้น สิ่งที่กองทุนต้องทำ คือ การสร้างองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่ระดับกองทุนแห่งชาติ (Nation Fund) จะผ่านบทเรียนกองทุนหมู่บ้าน เช่น ปัจจัยของหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว องค์ความรู้อาชีพ องค์ความรู้ที่ใช้บริหารจัดการ องค์ความรู้ในการแก้หนี้นอกระบบ องค์ความรู้ในการระดมทุนโดยจะจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้านซึ่งในเบื้องต้นมี 84 แห่ง ด้วยการจัดเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2554 และจะขยายเพิ่มอีก 80 แห่ง ด้วยการจัดเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ในปี 2556

พร้อมกันนี้ นทีกล่าวว่าได้วางแนวทางในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านไว้ 3 แนวทาง คือ 1. การเพิ่มทุนล้านเพื่อการสร้างอาชีพซึ่งดูจากแผนของการขอกู้เงิน รวมถึงต้องการให้การเพิ่มทุนล้านใหม่นำไปสู่การสร้างประโยชน์ที่งอกเงยกลับมา แต่ต้องเสนอแผนของโครงการสร้างอาชีพ เช่น ส่งเสริมเรื่องอะไรในการพัฒนาอาชีพเอาเงินออกไปและความคุ้มค่า โดยเงินล้านใหม่จะเป็นการสร้างอนาคตไม่ใช้สร้างภาระในกระบวนการ

2. เปลี่ยนรูปแบบกองทุนหมู่บ้านจากกองทุนหมู่บ้านเพื่อสมาชิกกลายเป็นกองทุนหมู่บ้าน เป็นศูนย์บริการประชาชนซึ่งจะพยายามสร้างกองทุนหมู่บ้าน เช่น เชื่อมโยงกองทุนหมู่บ้านเป็นที่รับจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เพื่อเป็นการบริการประชาชน สร้างรายได้เกิดขึ้นกองทุนหมู่บ้านก็จะได้เปอร์เซ็นต์ จากการดำเนินการเหล่านี้

3. การต่อยอดสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน หรือยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนหมู่บ้าน โดยในปี 2554 สามารถทำได้ 950 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่ 1,128 แห่ง และมีเป้าหมาย คือ 7,400 แห่ง ทุกตำบล และถ้ามีความเข้มแข็งจะยกกิจกรรมไปสู่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดธนาคารประชาชน ธนาคารหมู่บ้านที่แท้จริงซึ่งจะเป็นบทบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า และเชื่อว่าจะทำให้มีสมาชิกตามเป้าหมาย 20 ล้านคนได้

"วันนี้มีกองทุนพี่ กองทุนน้อง กองทุนน้องหากไปไม่รอด ต้องไปกู้เงินแบงก์ กองทุนน้องมากู้กองทุนพี่ จะได้ดูแลเงินที่หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้านด้วยกัน การที่จะกู้แบงก์ร้อยละ 6 มากู้กองทุนพี่ร้อยละ 5 สมมติมีเงินฝากแทนที่จะเอาเงินไปฝากร้อยละ 1 มาฝากเงินกองกลางร่วมกัน คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 หรือ 3 ก็ได้ และตัดส่วนต่างร้อยละ 3 ออกมาบริหารจัดการแทนที่จะคิดเป็นกองทุนจากเดิมร้อยละ 3 ให้สมาชิกกู้ร้อยละ 6 ส่วนต่าง 3 นั้นเป็นเรื่องของแต่ละกองทุน"

ขณะเดียวกัน การติดตามประเมินผลจะดำเนินการ ในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ เป็นการประเมินกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยจัดทีมอำเภอ ประกอบด้วย กรมการพัฒนาชุมชนเพราะถือว่าเป็นภาคีข้อราชการ ผู้แทนของธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผู้แทนภาคประชาชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ สทบ. ร่วมประเมินในทุกหมู่บ้าน

ในส่วนของกฎหมายที่จะมารองรับการเปลี่ยนกองทุนหมู่บ้านเป็นกองทุนแห่งชาติหรือสถาบันการเงินชุมชนในระยะสั้นจะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2547 ที่มีช่องให้สามารถทำสถาบันการเงินชุมชนได้ก็จะแปลจาก พ.ร.บ.ตรงนี้ออกมาเป็นประกาศระเบียบรองรับให้ชัดเจนมาก ขณะที่ในส่วนของ พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2547 มีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมก็เตรียมเสนอรัฐบาล เพื่อปรับปรุงแก้ไขคาดว่าจะประมาณปี 2557 ที่จะรองรับกระบวนการกองทุนหมู่บ้านมากขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการรวบรวมปัญหาและดูว่าความจำเป็นที่จะปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ในส่วนไหน

"คิดว่าปีหน้าในส่วนประกาศระเบียบรองรับต้องออกแล้ว อย่างช้าเลย ภายในปี 2556 และอาจต้องขึ้นทะเบียนสถาบันการเงินชุมชนว่าให้สถาบันการเงินชุมชนมีใบอนุญาต ใบรับรองการมีทะเบียนสถาบันการเงินหรือกองทุนหมู่บ้าน"

ในส่วนงบมาประมาณในการยกระดับกองทุนแห่งชาติ (Nation Fund) จะใช้เงินรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท มาจากเงินตั้งแต่การดำเนินงานช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ใน 77,000 หมู่บ้าน รวมเป็น 77,000 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนอีกในรัฐบาลที่ผ่านมา รวมกับดอกเบี้ยต่างๆ รวมกับที่รัฐบาลจะเพิ่มทุนให้อีก 80,000 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณในส่วนที่จะดำเนินการ 200,000 ล้านบาท โดยรูปแบบของกองทุนแห่งชาติจะเป็นเสมือนธนาคารชุมชน สามารถให้กู้โดยคิดดอกผล ค่าธรรมเนียมจะกลับเข้าสู่หมู่บ้าน

นอกจากนี้ นทียังมีแนวคิดในการออกบัตรกองทุนในลักษณะบัตรเครดิตให้กับสมาชิกกองทุนเพื่อการเชื่อมโยงหรือใช้ประโยชน์ เช่น ซื้อของในเครือข่ายร้านของเราได้ในราคาถูก เพราะในอนาคตจะสร้างกองทุนหมู่บ้านมีร้านค้าชุมชนเข้ามาร่วม รวมถึงเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของบัตร เช่น ออกบัตร 12.8 ล้านใบ และสามารถอ่านค่าของการหมุนเวียนเงิน อ่านค่าการชำระของการเอาเงินออกเอาเงินเข้าได้ สามารถรู้ว่าใครไม่ชำระคืน ใครกู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตรงนี้ ก็จะแก้ปัญหาได้โดยจะตรวจสอบจากบัตร เป็นแผนในช่วง 10 ปีนี้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ตามหา ควายบุญมา ง่ายกว่า ไอ้โม่งชุดดำ.

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆเพื่อขอคลิปวิดีโอเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่มีการเผยแพร่ภาพ “ชายชุดดำ” หรือ “ไอ้โม่งชุดดำ” ซึ่งกว่า 2 ปีที่ผ่านมายังไม่สามารถตามจับ “ชายชุดดำ” ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นำออกมาเผยแพร่ทุกสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยกล่าวหาว่าการชุมนุมของ นปช. มีกลุ่ม “ผู้ก่อการร้าย” แอบแฝง จนทำให้เกิดความรุนแรงในวันที่ 10 เมษายน 2553 และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 27 ราย เป็นทหาร 5 ราย และพลเรือน 22 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพชาวญี่ปุ่น สำนักข่าวรอยเตอร์ส และมีผู้บาดเจ็บกว่า 800 คน

นพ.เหวงจึงต้องการได้คลิปทั้งหมดเพื่อตรวจสอบเบื้องต้นว่า “ชายชุดดำ” มีจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการสร้างภาพของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยจะประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคลิปมาร่วมพิจารณาด้วย ในฐานะที่เป็น ส.ส. ไม่ใช่แกนนำเสื้อแดง เพื่อให้ความจริงปรากฏ

นอกจากนี้ นพ.เหวงเปิดเผยว่า ได้ข้อมูลว่าจุดที่ชายชุดดำยิงต่อสู้ไม่ใช่บริเวณถนนดินสอและถนนตะนาว ซึ่งขัดกับการให้สัมภาษณ์ของนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีต เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รวมถึงการ เสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรอง เสธ. พล.ร.2 รอ. ก็ไม่ได้เสียชีวิตจากอาวุธปืนเอ็ม 79 แต่เสียชีวิตจากเอ็ม 67 และพื้นที่ที่เสียชีวิตไม่มีคนเสื้อแดงอยู่

นพ.เหวงยืนยันว่า การเปิดประเด็น “ชายชุดดำ” ไม่ได้ต้องการดิสเครดิตกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. ไปชี้แจงเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ต้องการเห็นความปรองดองของคนในชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมี 3 ขั้นตอนคือ 1.ความจริงต้องปรากฏ 2.ความยุติธรรมต้องคืนมา ใครสั่งฆ่าประชาชนต้องถูกลงโทษ และ 3.จะนิรโทษกรรมหรือไม่ต้องไปว่ากันภายหลัง

ผลการชันสูตรพลิก

ย้อนเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนที่มีการตั้งคณะ กรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ปะทะกัน โดยมีคณาจารย์ด้านนิติเวชวิทยาจากหลายสถาบัน เช่น โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยา บาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระ มงกุฎเกล้า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนแพทย์อื่นๆ เป็นกรรมการร่วมกันชันสูตรพลิกศพ เพื่อให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส นอกจากนั้นคณะกรรมการดังกล่าวได้เชิญตัวแทนจาก นปช. ไปร่วมด้วย โดยศพของประชาชนมีการชันสูตรพลิกศพโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรฯที่โรงพยาบาลตำรวจทุกราย เช่นเดียวกับศพของทหารที่เสียชีวิต ยกเว้น พ.อ.ร่มเกล้า เพราะศพถูกนำไปฌาปนกิจก่อน

โดยการชันสูตรพลิกศพเบื้องต้นสรุปว่าแผลที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้เสียชีวิตฝั่งประชาชนในวันที่ 10 เมษายน ส่วนใหญ่น่าจะเกิดจากกระสุน 5.56x45 mm (มิลลิเมตร) มาตรฐาน NATO ซึ่งทหารใช้มากกว่ากระสุน 7.62x39 mm มาตรฐานรัสเซีย ที่มีคนอ้างว่าชายชุดดำใช้ ถ้าเชื่อว่าชายชุดดำมีปืนอาก้าตามรูปที่เอามาลงกันจริงๆก็แปลว่าชายชุดดำไม่มีส่วนในการฆ่าประชาชน เพราะชายชุดดำไม่ได้ถือ M16 HK33 หรือ Tavor ในขณะที่ทหารที่เข้าปฏิบัติการสังหารประชาชนในวันที่ 10 เมษายนมีหลักฐานชัดเจนว่ามีปืน M16 Tavor และปืนซุ่มยิง

ปริศนาสะเก็ดระเบิด

สลักธรรม โตจิราการ ตัวแทน นปช. ที่ร่วมคณะกรรมการชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยว่า ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ร่างผู้เสียชีวิตเกินครึ่งหนึ่งแผลกระสุนเข้าไปอยู่ที่ศีรษะ ปรกติศีรษะคนมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาด ร่างกายทั้งหมด ถ้าไม่เล็งยิงโอกาสโดนน้อยมาก แปลว่าคนยิงมีเจตนายิงให้เสียชีวิตอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีศพถูกยิงเข้าที่อกด้วยกระสุน 5.56x45 mm มาตรฐาน NATO แต่วิถีกระสุนพุ่งดิ่งจากบนลงล่างด้วยมุมชันมาก ซึ่งสันนิษ ฐานว่าเกิดจากการโดนกระสุนที่ยิงขึ้นฟ้าแล้วตกลงมา

สำหรับทหารที่เสียชีวิตเกิดจากสะเก็ดระเบิดที่เป็นโลหะรูปร่างบิดเบี้ยวเป็นแผ่นที่แตกออกมาด้วยความเร็วสูงพุ่งทะลุเข้าไปในสมอง ซึ่งสลักธรรมให้ความเห็นว่าน่าจะเสียชีวิตจากระเบิดมือมากกว่า M79 เพราะกระสุนระเบิดขนาด 40 mm ที่ใช้กับ M79 หรือ M203 ส่วนมากเป็นกระสุนที่มีอำนาจการทำลาย จากตัวแรงระเบิดเอง (High Explosive) มากกว่า ยกเว้นจะใช้หัวกระสุนชนิดคล้ายปืนลูกซอง ซึ่งจะให้ลูกปรายออกมาเป็นลูกกลม ในขณะที่ระเบิดมือชนิดทำลายบุคคลจะใช้การแตกสะเก็ด (Fragmentation) เพื่อให้สะเก็ดระเบิดพุ่งตามแรงระเบิดไปทำลายบุคคล

จากการชันสูตรพบว่าทหารที่เสียชีวิตไม่ได้เสียชีวิตจากตัวแรงระเบิดเอง แต่เสียชีวิตจากสะเก็ดระเบิด โดยสะเก็ดระเบิดที่พบในศีรษะทหารที่เสียชีวิตมีลักษณะเป็นแผ่นแบบที่แตกออกมาจากผิวของระเบิดมือชนิดแตกสะเก็ด ไม่ใช่หัวลูกปรายในกระสุน M79 แบบพิเศษ จึงเป็นไปได้ว่าผู้ลงมือต้องอยู่ใกล้กับพื้นที่มาก เพราะระยะขว้างของระเบิดมือโดยปรกติ จะไม่เกิน 50-100 เมตร เช่น ระเบิดขว้างแบบแตกสะเก็ดชนิด M67 ของสหรัฐอเมริกา มีระยะขว้างปรกติ 40 เมตร เพราะฉะนั้นผู้ที่สังหารต้องอยู่ใกล้แนวหลังหรือ กองบัญชาการของ พ.อ.ร่มเกล้าและทีมงาน ตามปรกติ แล้วการรักษาความปลอดภัยในบริเวณแนวหลังหรือกองบัญชาการต้องเข้มงวดมาก โอกาสที่บุคคลภายนอกจะเล็ดลอดเข้าไปยังพื้นที่แนวหลังหรือกองบัญชาการในระยะไม่เกิน 40 เมตร ในสถานการณ์สงครามและสามารถขว้างระเบิดมือแล้วหลบหนีออกจากพื้นที่โดยไม่ถูกตรวจจับหรือมีการปะทะถือว่าน้อยมาก ยกเว้นการรักษาความปลอดภัยย่อหย่อนอย่างร้ายแรง หรือเป็นการกระทำจาก “คนใน”

ปลุกกระแส “ไอ้โม่งชุดดำ”

หลังเหตุการณ์ 10 เมษายน นายอภิสิทธิ์ก็เก็บตัวเงียบจนมีข่าวออกมาว่าอาจตัดสินใจลาออก แต่วันที่ 12 เมษายน นายปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขณะนั้น ออกมาแถลงว่ารัฐบาลตรวจสอบพบว่ามีผู้ปะปนในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่ทหาร และผู้ชุมนุมถืออาวุธหนักเข้ามาในพื้นที่ที่เกิดการปะทะกัน มีทั้งระเบิด M79 ระเบิด M87 รวมทั้งอาวุธปืน โดยมีการบันทึกภาพที่สามารถยืนยันได้ ขณะเดียวกัน ศอฉ. ได้นำภาพ “คนสวมชุดดำ” ใส่หมวกไอ้โม่งถือปืนอยู่ในม็อบและอยู่ในเหตุการณ์ปะทะเผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำอีก วนไปวนมาตลอดทั้งวัน โดยโยงการตายของ พ.อ.ร่มเกล้ากับภาพชายชุดดำขึ้นมาอ้าง “ความชอบธรรม” ในการ “ขอคืนพื้นที่”

ส่วนสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ช่อง 11) กระบอกเสียงของ ศอฉ. ได้เผยแพร่ภาพวิดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สี่แยกคอกวัวในเวลา 22.00 น. เศษ ของวันที่ 10 เมษายน โดยระบุว่านำภาพมาจากช่องโมเดิร์น ไนน์ทีวี วิดีโอดังกล่าวปรากฏภาพกลุ่มบุคคลยิงปืน คาด ว่าเป็น M16 และ M79 มาจากระเบียงตึกฝั่งผู้ชุมนุม ไปยังฝั่งที่มีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่หลายนัด อีกทั้งยังมีภาพการซุ่มยิงจากหลังเสาไฟฟ้าไปยังเจ้าหน้าที่ด้วย

แต่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ออกมาระบุว่ากองทัพใช้คนซุ่มยิงจากหลังคาตึกโรงเรียนสตรีวิทยาใส่ประชาชนก่อน ทำให้กองกำลังไม่ทราบฝ่ายหรือนักรบโรนินยิงตอบโต้ บังเอิญลูกระเบิด M79 ลูกแรกที่ยิงเข้าไปตกบริเวณเต็นท์ทหารข้างโรงเรียนสตรีวิทยาที่ใช้เป็นกอง บัญชาการรบครั้งนี้ ทำให้โดน พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2 รอ.) ซึ่งเป็นแม่ทัพในการทำศึกครั้งนี้ บาดเจ็บสาหัส และโดนนายทหารชั้นสัญญาบัตรหลาย คนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ศึกครั้งนี้ไม่มีคนสั่ง ไม่มีแม่ทัพ ไม่มีคนบัญชาการ ทำให้ทหารปราชัยถอยออกไป

แต่ “ไอ้โม่งชุดดำ” ก็ถูกอุปโลกน์จากรัฐบาลและ ศอฉ. ให้เป็น “ผู้ก่อการร้าย” ที่ใช้อาวุธสงคราม และระเบิดฆ่าทั้งทหารและประชาชน โดยไม่สามารถ จับได้แม้แต่คนเดียว ขณะที่คนเสื้อแดงกลับถูกยิงตาย นับจากวันที่ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากฝีมือของ “สไนเปอร์” ซึ่ง ศอฉ. อ้างว่าเป็นฝีมือของ “ชายชุดดำ” เช่นเดิม แม้จะมีภาพทหารบนตึกสูงและรางรถไฟฟ้ากำลังชี้เป้าและส่องปืนติดกล้องอย่าง ชัดเจนก็ตาม

“อภิสิทธิ์” ยัน “ชายชุดด

ส่วนนายอภิสิทธิ์ที่เก็บตัวเงียบและไม่ปรากฏตัวเลย หลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน จนกระทั่งเมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 19 เมษายน ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษผ่าน สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ช่อง 11) และถ่ายทอดผ่านวิทยุและโทรทัศน์ทุกช่องเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม คนเสื้อแดง โดยระบุว่าผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงและมีกองกำลังติดอาวุธปะปนอย่างภาพที่ ศอฉ. นำมาเผยแพร่

และวันที่ 30 เมษายน นายอภิสิทธิ์ได้ออกแถลง การณ์ว่า ผู้ชุมนุมข่มขู่ คุกคามด้วยการเดินทางออกปั่นป่วนนอกพื้นที่การชุมนุม หากปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินต่อไปจะเกิดสภาวะไร้วินัยและเหิมเกริม ศอฉ. จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ให้ดำเนินการข่มขู่ คุกคาม หรือเคลื่อนการชุมนุมไปในที่ต่างๆ และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามหลักสากล แต่จำเป็นต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆกัน เพื่อไม่ให้มีการลำเลียงอาวุธและนำคนไปสมทบในที่ชุมนุม

จนวันนี้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ยังยืนยันว่า “ไอ้โม่งชุดดำ” คือผู้ก่อการร้ายที่ฆ่าทหารและประชาชน ขณะที่การสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการต่างๆก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเรื่อง “ไอ้โม่งชุดดำ” มีจริงหรือไม่

คอป. ไม่รู้ใครคือ “ชายชุดดำ”?

แม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ซึ่งหมดวาระการทำหน้า ที่อย่างเป็นทางการไปแล้ว ก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า “ชายชุดดำ” มีอยู่จริงหรือไม่ โดย นพ.รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หนึ่งใน คอป. และประธานคณะอนุกรรม การเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 ว่ายังไม่รู้เลยว่า “ชายชุดดำ” เป็นใคร แม้พยายามสอบสวนจากพยานแวดล้อมและหลักฐานอื่นอย่างละเอียด แต่ยังไม่พบตัวตน

ขณะที่นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานมูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและรองประธาน คอป. เปิดเผยว่า ได้สอบสวนทุกฝ่ายทุกด้านเรื่องชายชุดดำ แต่ก็ไม่ได้คำตอบ เห็นในคลิปหลายคลิป รูปหลายรูป ถือปืนด้วย จนมีคนพยายามทำให้เรื่อง “ชายชุดดำ” เป็นเรื่องตลก สร้างภาพชายชุดดำไปปรากฏในทุกๆแห่งและถือปืนเด็กเล่น ใส่หน้ากาก ถ้าเขาเป็นทหารจะแต่งทำไม และถ้าเขาเป็นเสื้อแดงเขาจะแต่งทำไม เพราะถ้าเป็นเสื้อแดงก็ต้องใส่ชุดแดง และปืนที่ถือก็เป็นปืนจริงๆ ไม่ใช่ไม้ ไม่ใช่ปืนเด็กเล่น ไม่ใช่ปืนการ์ตูน แต่ไม่มีภาพที่ชายชุดดำกำลังยิงอยู่ เราก็ไม่รู้ว่า เป็นใคร เป็นฝ่ายไหน แต่มีคนนำรูปมาเทียบให้ดูว่ารูปนี้เป็นการ์ดนะ อย่างนี้นะ เป็นต้น เป็นเพียงบางรูป เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด เท่าที่ดูมีหลายแห่ง เช่น สี่แยกคอกวัว ที่ยิงมาจากบนเฉลียงของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแห่งที่ 2 แล้วข้างล่างที่ยิงขึ้นไป และอื่นๆอีก

“อย่างกรณีการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า สรุปสุดท้ายพบว่าเสียชีวิตเพราะระเบิด M67 ซึ่งขว้างมาจากฝั่งตรงข้าม 2 ลูกด้วยกัน เวลาห่างกันเพียงไม่กี่วินาที เราก็ไปดูกระเดื่อง 2 ลูกที่ตกอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยาว่าไปไหน คนที่อยู่ในบ้านก็บอกว่ารุ่งเช้าวันที่ 11 เมษายน มีคนที่แต่งตัวดีๆมาขอเอาไป คือเขาก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ และก็ไปถามเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ทางดีเอสไอไปถามตำรวจท้องที่ ทางท้องที่ก็ไม่รู้ กรณีของมูราโมโต ช่างภาพญี่ปุ่นที่เสียชีวิต เราก็ดูจากภาพของกล้องมูราโมโต ซึ่งตั้งเวลาก่อนเมืองไทย 2 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังมาดูมุมภาพว่าเขาล้มทันทีหรือล้มเอียง สุดท้ายก็รู้ว่าเขาต้องล้มเอียงนิดๆ เพราะเขาถือกล้องใหญ่มาก วิถีกระสุนมาจากไหน ซึ่งถามช่างภาพว่าวิถีกระสุนมาจากอนุสาวรีย์หรือเปล่า เขาบอกว่ามาจากด้านสะพานวันชาติซึ่งเป็นฝ่ายที่ทหารอยู่”

“ชายชุดดำ” กับ “ควายบุญมา”?

แม้วันนี้ “ชายชุดดำ” จะยังเป็นปริศนา แต่หาก มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินคดี 98 ศพอย่างจริงจัง อย่างล่าสุดวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเดินทางไปพบพนักงานสอบ สวนคดีการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชน 91 ศพของดีเอสไอนั้น หากทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมอย่างจริงจังและโปร่งใสก็ต้อง มีคำตอบเรื่อง “ชายชุดดำ” หรือผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับ การใช้ความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย

อย่างที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เคยตอบโต้นายสุเทพที่กล่าวหาว่า ร.ต.อ.เฉลิมตาบอดสีจึงไม่เห็นว่าชายชุดดำเป็นคนลงมือสังหารประชาชน ว่า ไม่ได้ตาบอดสี แต่ก็ไม่เห็น “ชายชุดดำ” แต่รู้ว่าการที่ พล.ต.ขัตติยะเสียชีวิตนั้นไม่ใช่ฝีมือทหาร แต่เป็นการยิงของตำรวจ การยิงในสถานที่ต่างๆก็เป็น ฝีมือตำรวจ มีการนำปืนทราโวไปใส่ไว้ในรถของบางคนแล้วบอกว่าจับอาวุธได้ที่เวที นปช. ทั้งที่ไม่มีเลย

ส่วนที่มีการพาดพิงความรุนแรงเหตุการณ์เมษา ยน-พฤษภาคม 2553 ถึงนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพนั้น ร.ต.อ.เฉลิมบอกว่าเป็นทหาร ไม่ใช่รัฐบาล เพราะทหารบอกว่าการปฏิบัติการครั้งนั้นเป็นไปตามคำสั่ง ศอฉ. ไม่ใช่อยู่ดีๆรัฐบาลหยิบเรื่องนี้ขึ้นมา แต่รัฐบาลที่ผ่านมาทำช้า รัฐบาลชุดนี้ทำเร็วและตรงไปตรงมา และไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องฆาตกรรม ซึ่ง พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด อดีตโฆษกของ ศอฉ. ได้เข้าให้การกับตำรวจเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ว่า ศอฉ. ไม่ใช่องค์กรที่เกิดขึ้นเอง แต่มีขึ้นโดยคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และมีนายสุเทพ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ.

ดังนั้น ไม่ว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพจะนำบันทึกเอกสารและหลักฐานจำนวนกี่ร้อยหน้าให้กับ

ดีเอสไอ แต่คำให้การของทหารที่เป็นผู้ปฏิบัติยืนยันชัดเจนว่าไม่สามารถนำกำลังหลายหมื่นนายพร้อมอาวุธสงครามสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงได้หากไม่มีคำสั่งพิเศษจาก ศอฉ. ซึ่งใครมีอำนาจสั่งนั้น นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพน่าจะตอบคำถามได้ดีที่สุด

เช่นเดียวกับ “ชายชุดดำ” ที่กว่า 2 ปีแล้วก็ยังไร้ตัวตน แต่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพยืนยันว่ามีจริง ซึ่งจากภาพถ่ายและคลิปวิดีโอก็ต้องยอมรับความจริงว่ามีคนใส่ชุดดำจริง แต่จะเป็น “ชายชุดดำ” ที่เป็น “ผู้ก่อการร้าย” อย่างที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพกล่าวหา หรือจะลงเอยเหมือน “ผังล้มเจ้า” ที่กลายเป็น “ผังกำมะลอ” ที่ ศอฉ. ยอมรับว่าอุปโลกน์ขึ้นมาหรือไม่นั้น หากไม่หยุดค้นหาความจริงก็ต้องรู้คำตอบว่า “ชายชุดดำ” ที่แท้จริงนั้นเป็นใคร

ไม่เหมือน “ควายบุญมา” ควายเผือกที่ครูสาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ไถ่ชีวิตมาและบริจาคให้ศูนย์อนุรักษ์กระบือไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เลี้ยง แต่กลับหายไปอย่างลึกลับ ทำให้ครูสาวสอบถามไปยังศูนย์อนุรักษ์ฯแต่ไม่มีคำตอบ จนเป็นข่าวที่ทำให้คนทั่วไปรู้สึกสะเทือนใจหาก “ควายบุญมา” ถูกนำไปฆ่า จึงมีการสอบสวนกันอย่างจริงจัง ทำให้รู้ว่ามีการนำ “ควายบุญมา” ไปแลกกับควายแม่ลูกของชาวบ้านและต่อมาถูกนำไปขายให้พ่อค้าชื่อ เสี่ยเส็ง ส.แสงทอง ที่ตลาดโคกระบือในอุตรดิตถ์ ราคา 35,000 บาท และเสี่ยเส็งได้ขายต่อให้พ่อค้าชาวจีน ซึ่งขณะนี้คาดว่าถูกส่งไปจีนแล้ว แต่เชื่อว่ายังไม่ถูกฆ่าเพราะเพิ่งอายุ 2-3 ปี

ส่วนเสี่ยเส็งเมื่อรู้ความจริงของ “ควายบุญมา” ก็รู้สึกเสียใจและยืนยันว่าจะหาทางนำ “ควายบุญมา” กลับคืนมาให้ได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ถือเป็นการทำบุญร่วมกับผู้บริจาค แม้ “ควายบุญมา” จะยังไม่ได้กลับบ้าน แต่อย่างน้อยก็รู้ว่า “ควายบุญมา” หายไปไหน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ก็ยอมรับผิดและตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาความจริง

การหายไปของ “ควายบุญมา” หลังจากที่มหาวิท ยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์นำไปแลกเปลี่ยนในตลาดโคกระบือ ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็รู้แล้วว่าวันนี้ “ควายบุญมา” หายไปไหน? ตรงข้ามกับ 98 ศพในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตที่มีภาพและหลักฐานมากมายทั้ง “คนสั่งและคนฆ่า” แต่กว่า 2 ปีสังคมไทยกลับเหมือนคนตาบอดหูหนวกที่เชื่อ “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด” ว่า “ไอ้โม่งชุดดำ” เป็น “ผู้ก่อการร้าย” โดยไม่ทำความจริงให้ปรากฏและเอา “ฆาตกรตัวจริง” มาลงโทษ อีกทั้งยังไม่เคยมีการเอ่ยคำ “ขอโทษ” หรือการแสดงความรับผิดชอบใดๆจากรัฐบาลที่อยู่ในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 เลย

จนบัดนี้ก็ยังไม่มีข่าวคราวใดๆว่า “ไอ้โม่งชุดดำ” หายไปไหน?

การตามหา “ควายบุญมา” จึงง่ายกว่าการตามหา “ไอ้โม่งชุดดำ” ยิ่งนัก

หรือแท้ที่จริงแล้วเป็นเพราะ “ควายบุญมา” มีตัวตนจริง ต่างจาก “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่เป็นเพียงแค่ “แพะ” ในจินตนาการเท่านั้น?

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

คลังเล็งออกมาตรการอุ้ม SME รับ AEC.

คลังเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรอบใหม่เพิ่มความแข็งแกร่งรับเออีซี หลังพบข้อมูลบริษัทขนาดเล็ก 2.7 ล้านรายได้รับการสนับสนุนไม่ตรงจุด

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมศึกษามาตรการในการเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่จะพุ่งเป้าไปที่เอสเอ็มอีมีขนาดเล็กจริงๆ เช่น ธุรกิจห้องแถวและวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ซึ่งฐานข้อมูลใหม่เกี่ยวกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น พบว่ามีถึง 2.7 ล้านรายจาก 3 ล้านรายทั่วประเทศที่เป็นเอสเอ็มอี

ขนาดเล็ก โดยการสนับสนุนเอสเอ็มอีขนาดเล็กดังกล่าวถือเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558

ทั้งนี้ นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ในอดีตกระทรวงการคลังมักจะผลักดันให้ธนาคารเฉพาะกิจออกมาตรการต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แต่ก็มักใช้ไม่ได้ผล ทำให้การพัฒนาและขับเคลื่อนเอสเอ็มอีไทยให้มีศักยภาพแข่งขันสูงขึ้น ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงสั่งให้รวบรวมข้อมูล และมาตรการต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการเหล่านั้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 4 กลุ่มที่ได้ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ คือ สิ่งทอ ยางพารา รถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น แม้จะมีสัดส่วนการส่งออกไม่มาก เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือยานยนต์ แต่อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการว่าจ้างงานแรงงานจำนวนมากที่สุดในอุตสาหกรรมทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องแรงงานที่จะตกงานมากขึ้น เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติยุโรป กระทรวงการคลังจึงหารือกับภาคเอกชนและสถาบันการเงินว่า กลุ่มเอสเอ็มอีควรต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะอัตราจ้างแรงงานมีมากที่สุด

นายอารีพงศ์ กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลที่กระทรวงการคลังรวบรวมเบื้องต้นพบว่า ผลผลิตที่สร้างจีดีพีให้แก่ประเทศไทยทุกวันนี้ มาจากบริษัทที่มีขนาดใหญ่ถึง 63% มีเพียง 37% เท่านั้นที่มาจากธุรกิจเอสเอ็มอี แต่เอสเอ็มอีมีการว่าจ้างแรงงานสูงถึง 80-90% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ลักษณะโครงสร้างผลผลิตเช่นนี้เอง ทำให้ช่วงที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่สามารถยกระดับเอสเอ็มอี

ให้มีขนาดใหญ่โตขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องวางแผนโดยออกมาตรการใหม่ ที่จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีสัดส่วน 50% เท่ากับผู้ประกอบการรายใหญ่

"เราวางเป้าหมายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องแข็งแกร่งและสามารถขยายธุรกิจ เพื่อรองรับกับอนาคตที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถ้านับจำนวนบริษัทใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีเพียง 500 บริษัท มีการจ้างงานแค่ส่วนเดียวเท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีอยู่ถึง 3 ล้านรายทั่วประเทศมีการจ้างงานจำนวนมาก ในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคลไม่ถึง 3 แสนราย ที่เหลือกว่า 2.7 ล้านราย เป็นผู้ประกอบการประเภทบุคคล เช่น ร้านขายก๋วยเตี๋ยว หาบเร่แผงลอย ธุรกิจห้องแถวและโรงกลึง เป็นต้น ส่วนเครื่องมือทางด้านเงินที่จะใส่เข้าไปใหม่รอบนี้ จะต้องมีความเข้าใจถึงตัวผู้ประกอบการด้วย"

ขณะเดียวกัน นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่ธนาคารออมสิน ระบุว่า มีลูกค้าที่เข้าข่ายพักหนี้ตามนโยบายของรัฐบาลเพียง 3.7 แสนราย จากข้อมูลที่แจ้งในครั้งแรกว่า มีลูกค้าของธนาคารออมสินเข้าข่ายพักหนี้ดีสูงถึง 8 แสนราย เพื่อให้ทราบว่า ลูกหนี้ส่วนที่หายไปดังกล่าว ไม่ได้รับสิทธิในการเข้าโครงการพักหนี้ดีเพราะอะไร

ทั้งนี้ แม้โครงการดังกล่าวจะปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่หากพบว่าจำนวนลูกหนี้ที่ถูกตัดไปนั้น เสียสิทธิเข้าโครงการเพราะการบริหารข้อมูลผิดพลาด ทางกระทรวงการคลังก็จะต้องดำเนินการต่อไปในการเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว

"จากการติดตามข้อมูลพบว่า ผู้บริหารของธนาคารออมสินไม่สนใจเรื่องนี้ เพราะไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเจรจากับลูกค้าของธนาคาร แตกต่างจาก ธ.ก.ส.ที่ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อแนะนำให้ลูกค้าให้เข้าร่วมโครงการผลงานจึงออกมาดีกว่าธนาคารออมสินมากมาย" นายทนุศักดิ์ให้ข้อมูล

นายทนุศักดิ์ ระบุว่า โครงการพักหนี้ลูกหนี้ เป็นนโยบายของพรรคที่ใช้ในการหาเสียง ซึ่งถือเป็นโครงการที่ดี เพราะลูกหนี้ที่เข้าร่วมการโครงการจะมีเงินเหลืออยู่ในกระเป๋าเพิ่มขึ้น และสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ลงทุนในกิจการใหม่หรือขยายกิจการเดิมให้กว้างขวางมากขึ้น โดยไม่มีการตัดสินการขอสินเชื่อใหม่จากธนาคารพาณิชย์

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

AEC : ASEAN ECONOMIC COMMUNITY.

ทั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังไงๆ เราต้องเดินหน้าสู่วงจรของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่ต้องคิดว่าสามารถถอยหลังได้ เนื่องด้วย วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เราต้องเดินเข้าสู่วงจรนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จะดำเนินการเต็มรูปแบบ!กล่าวคือ สมาชิกทั้ง 6 ประเทศ โดย มีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้ดำเนินการด้านเศรษฐกิจกันไปแล้ว เพียงแต่ว่าการจัดเก็บอัตราภาษีนั้น ยังไม่เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ มีแต่การจัดเก็บภาษีด้านการค้าขายระหว่างกันนั้น เริ่มที่ระดับร้อยละ 5-10 เท่านั้น ส่วนระบบโลจิสติกส์และระบบขนส่ง บวกกับภาคบริการ ศิลปวัฒนธรรม และความมั่นคงนั้น ว่ากันตามความเป็นจริงยังไม่ได้เริ่มกันซักเท่าไหร่เลย

แต่เริ่มจะเป็นจริงเป็นจังกันในปี 2558 ที่สมาชิก”น้องใหม่”อีก 4 ประเทศ กล่าวคือ”กลุ่ม CLMV” ที่ประกอบไปด้วย C = กัมพูชา(CAMBODIA) L = สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAOS) M =สหภาพพม่า (MYANMAR UNION) และ V = สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจะเข้าร่วมเป็น”สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”อย่างเต็มรูปแบบของ”สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ”

เมื่อนั้น”สภาพการแข่งขัน” จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในกรณีของวัตถุดิบทรัพยากรมนุษย์ ภาคการบริการ ทักษะกับแรงงานต่างด้าวที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่าแรงขั้นต่ำ” ที่กลุ่มประเทศสมาชิกน้องใหม่ที่มีอัตราต่ำกว่าบ้านเราน่าจะประมาณ 85-90 บาทเท่านั้น ในกรณีนี้จะเกิดการแข่งที่สูงมากด้วย”ภาคการส่งออก”เป็นกรณีที่”น่าเสียดาย-เสียใจ” อย่างมากที่คนไทยจำนวนมากยังไม่ค่อยตระหนักถึง”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือแม้กระทั่ง “ข้าราชการ” บวกกับ “คนรุ่นใหม่” ที่ยังไม่มีโอกาสมีความรู้และความเข้าใจความสำคัญของAECว่าในที่สุดแล้ว อีกเพียง “2 ปี 5 เดือน”เท่านั้นที่ทุกประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียนเริ่มเตรียมพร้อม แล้วโดยเฉพาะสิงคโปร์ เวียดนาม ที่สิงคโปร์น่าจะพร้อมที่สุด ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติชาวอเมริกันและอังกฤษได้เข้าจดทะเบียนบริษัท โดยใช้ “ตัวแทน (Nominee)” ชาวสิงคโปร์เข้าเป็นหุ้นส่วนในภาคบริการประกันภัยเรียบร้อยแล้ว

“ภาษาอังกฤษ (ENGLISH)” เป็นภาษาหลักที่ทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะยึดเป็นภาษาหลัก นอกนั้นยังมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้”ภาษาจีน-ภาษาญี่ปุ่น”ไปด้วยเพื่อความคล่องตัวในการติดต่อสื่อสารนอกจากนั้น ภาษาท้องถิ่นของภาษาพม่า และภาษากัมพูชา บวกกับภาษาเวียดนามที่มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ที่ชาวเอเซียต้องเรียนรู้ ประเทศไทยเรานั้น มีความได้เปรียบทั้งในเชิง “ภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิเศรษฐศาสตร์” อย่างมาก กล่าวคือ การที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางการเชื่อมโยงของกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน ที่ประสานได้หมดทั้งภาคเหนือสู่ลาวและจีน ส่วนภาคใต้นั้นลงสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ ด้านตะวันออกกับตะวันตก เชื่อมระหว่างสหภาพพม่าและลาวกับเวียดนามที่ “ระบบโลจิสติกส์กับการขนส่ง” ต้องผ่านกรุงเทพมหานครหมด เรียกว่าเป็น”ศูนย์กลาง (Hub)” ทั้งหมดการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยนั้น ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมาก ที่คนไทยต้องตื่นตัว เรียนรู้ให้ได้มากที่สุด นั่นประการที่หนึ่ง ประการที่สอง การเร่งดำเนินการระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่ประเทศจีน พร้อมสนับสนุนตลอดเวลาในการสร้าง “รถไฟความเร็วสูง” เพื่อขนส่งมวลชนและระบบรถไฟรางคู่เพื่อขนส่งสินค้า โดยเริ่มจากภาคเหนือลงสู่ภาคใต้และภาคตะวันออกสู่ภาคตะวันตก ซึ่งเป็นวาระสำคัญมากที่สหภาพพม่าเร่งสร้าง”เขตปกครองพิเศษทวาย” อย่างแน่นอนเพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งจากเมืองเว้นผ่านอีสานตอนใต้มุ่งสู่กรุงเทพฯ และทะลุสู่จังหวัดราชบุรีกับกาญจนบุรีเข้าสู่ทวายเพื่อเดินทางต่อทางทะเลไปมหาสมุทรอินเดีย

ประการที่สามคือ การพัฒนาด้านการเกษตรที่ประเทศไทยนั้น มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวและสินค้าการเกษตรอื่นๆ ที่ต้องต่อยอดสู่การพัฒนากึ่งอุตสาหกรรมการเกษตร และในที่สุดสู่ “อุตสาหกรรมภาคการเกษตร” ที่ว่าไปแล้ว บริษัทใน “เครือเจริญโภคภัณฑ์” น่าจะชำนาญที่สุดกับ “การผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม”

เพียงสามประการที่เราต้องเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่น่าจะสร้างความพร้อมได้ภายใน 1 ปีครึ่งถึงสองปี ที่เราต้องเตรียมตัวกันได้แล้ว อย่างไรก็ตาม นับว่าเรายังโชคดีที่เริ่มมี “การปลุก”และ “การกระตุ้น” ให้สังคมไทยได้เริ่มขยับกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะกรณี “การแข่งขัน” ที่ต้องกำหนดให้เป็น “ยุทธศาสตร์” กันไว้ล่วงหน้าได้แล้ว

ที่มา : สยามรัฐ โดย รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ปิ่น จักกะพาก ราชานักเทคโอเวอร์ รีเทิร์น .. !!?


ปิ่น จักกะพาก พ่อมดการเงิน-ราชานักเทคโอเวอร์ รีเทิร์นไทย หลังคดีหมดอายุความ แบงก์ชาติรับเอาผิดไม่ได้

ปิ่น จักกะพาก ราชานักเทคโอเวอร์ ซุ่มเงียบกลับไทย หลังต้องลี้ภัยอยู่อังกฤษนานกว่า 15 ปี ผลพวงอาณาจักรฟินวันมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต้องล่มสลายจากฟองสบู่ "ตลาดหุ้น-อสังหาฯ" แตก ด้านแบงก์ชาติยอมรับคดีหมดอายุความ ไม่สามารถเอาผิดได้ ขณะที่ผู้บริหารคนอื่นๆ ใน บง.เอกธนกิจ คดีสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์ เหตุอัยการตัดสินใจไม่ส่งฟ้อง แต่ยังมีสำนวนคดีค้างอีกมาก แต่หลายคดีต้องจำหน่ายออกไปเพราะนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีไม่ได้


ปิ่น จักกะพาก อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเงินทุน (บง.) เอกธนกิจ ฉายา "พ่อมดการเงิน" ในยุคฟองสบู่ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังจากต้องลี้ภัยจากคดีความไปอยู่อังกฤษเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เนื่องจากคดีหมดอายุความ

สาทร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าคดีที่ ธปท. กล่าวโทษต่อ นายปิ่น ได้หมดอายุความไประยะหนึ่งแล้ว ดังนั้นแม้ว่า นายปิ่น จะกลับมาประเทศไทย ธปท.ก็ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับนายปิ่นได้

ส่วนผู้บริหารคนอื่นๆ ของ บง.เอกธนกิจ ที่ ธปท. กล่าวโทษไปนั้น ในอดีตศาลชั้นต้นตัดสินให้ ธปท. เป็นผู้ชนะคดี แต่ต่อมาผู้บริหารเหล่านี้ขอยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ตัดสินให้คดีตกไป ในขณะที่อัยการเองก็ตัดสินใจไม่ส่งฟ้องต่อศาลฎีกา ทำให้คดีความสิ้นสุดลงไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

สำหรับคดีความอื่นๆ ที่ ธปท. อยู่ระหว่างฟ้องร้องนั้น ปัจจุบันมีหลายคดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่อยู่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ขณะเดียวกันก็มีหลายคดีที่ยังไม่เริ่มดำเนินการฟ้องร้อง เนื่องจากไม่สามารถนำตัวผู้บริหารที่กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ จึงต้องมีการจำหน่ายคดีออกไปก่อน
ทั้งนี้คดีนายปิ่น หมดอายุความเมื่อต้นปี 2555

@ย้อนอาณาจักรแสนล้าน "ราชาเทคโอเวอร์"

ปิ่น ถือเป็นตำนานที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ เพราะได้รับฉายา "ราชานักเทคโอเวอร์" โดยได้สร้างสีสันให้กับวงการตลาดทุนในยุคเฟื่องฟูเมื่อก่อนปี 2540 ซึ่งช่วงนั้นตลาดหลักทรัพย์บูมสุดขีด ดัชนีทะยานขึ้นไปถึง 1,700 จุด
ปิ่น จักกะพาก ถือว่าเป็นนักการเงินที่รุ่งสุดๆ ในยุคก่อนฟองสบู่แตก หลังจากที่เขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เดินทางกลับประเทศไทยในปี 2516 ทำงานที่ธนาคารเชสแมนฮัตตัน กรุงเทพฯ ตำแหน่งรองประธาน ตั้งแต่ปี 2516-2522 นาน 7 ปี

หลังจากนั้นก็เข้ามาทำงานที่บริษัทเงินทุนยิบอินซอย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือญาติทางมารดา ที่กำลังเกิดปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ปิ่นจึงถูกทาบทามให้เป็นกรรมการผู้จัดการ ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ชื่อจาก บริษัทเงินทุนยิบอินซอย เป็น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือที่เรียกติดปากกันในยุคนั้นว่า "ฟินวัน " ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่ที่แวดวงการเงิน-การลงทุนในช่วงนั้นต้องจับตามอง เพราะยุทธศาสตร์การสยายปีกของกลุ่ม ฟินวัน ภายใต้การนำของ ปิ่น จักกะพาก นั้นจะใช้วิธีการครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์ กิจการที่มีปัญหา จนทำให้ขนาดสินทรัพย์ของฟินวันในช่วงนั้นสูงสุดในระบบบริษัทเงิน จนปิ่นได้ฉายาว่าเป็น "พ่อมดการเงิน" ในเวลาต่อมา

การขยายกิจการของกลุ่มเอก ในยุคนั้น เริ่มต้นจากการเข้าซื้อ บล.โกลด์ฮิลล์ ที่กำลังประสบปัญหาการเงิน ด้วยราคาหุ้นละ 25 บาท ใช้เงินทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ซึ่งถูกวิจารณ์กันมากว่าสูงเกินความจำเป็น แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี เมื่อนำหุ้น บล.โกลด์ฮิลล์ ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บล.เอกธำรง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นได้พุ่งสูงสุดถึงหุ้นละ 500 บาท ในปี 2529

หลังจากนั้นก็เข้าเทคโอเวอร์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มเอกด้วยกัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ศรีไทย ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทหลักทรัพย์เอกเอเชีย, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงทอง เปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกสิน และ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา รวมถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินที่ถูกเทกโอเวอร์เหล่านี้เป็นสถาบันการเงินที่กำลังมีปัญหาฐานะการเงิน

@สยายปีกยกระดับอาณาจักรฟินวัน

การสยายปีกของฟินวัน ในยุคนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่กลุ่มไฟแนนซ์ เท่านั้น แต่ปิ่น ยังมองไกลไปกว่านั้น ด้วยการยกระดับ บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งช่วงนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดช่องให้บริษัทเงินทุนที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยกระดับขึ้นเป็นธนาคารได้ ช่วงนั้นแม้ "ปิ่น" จะบริหารกิจการฟินวันจนประสบความสำเร็จ มีการขยายสร้างอาณาจักรอย่างรวดเร็ว มีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง แต่ ปิ่น รู้ดีว่า หากยังไม่สามารถเข้าซื้อกิจการธนาคารให้ได้สักแห่ง กิจการก็ยังถือว่าอยู่แนวหลังของธุรกิจธนาคารไทย

ดังนั้น เขาจึงพุ่งเป้าไปที่ธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 12 ของประเทศ โดยอาศัยสายสัมพันธ์กับ พรสนอง ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนและเป็นอดีตผู้บริหารของซิตี้แบงก์ ในช่วงนั้นผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ทั้งปิ่นและพรสนอง ต่างก็มีความเชื่อเหมือนกันว่า "ฟินวัน" จะทำให้ ธนาคารไทยทนุ ที่บริหารแบบอนุรักษนิยมกลับมีพลังขึ้นมาได้

โดยในเดือนม.ค. 2539 ทั้ง 2 สถาบันการเงินก็มีความตกลงร่วมกัน จนสร้างความฮือฮาให้กับแวดวงการเงิน โดยฟินวันจะเข้าซื้อหุ้น 20% ของธนาคารไทยทนุเป็นมูลค่า 3.4 พันล้านบาท นับเป็นข้อตกลง ที่ได้รับการสนับสนุนไปทั่ว แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังผ่อนปรนข้อกำหนด ที่จำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของธนาคารให้กับเอกชนเพียง 5% โดยถือว่าสถาบันการเงินของไทยจะต้องเติบโตมากขึ้นก่อน ที่เปิดเสรีการเงิน ซึ่งการเข้าไปถือหุ้นดังกล่าว ดูเหมือนว่า พ่อมดทางการเงิน กำลังจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจการเงินของเมืองไทย แต่สุดท้ายก็ต้องล่มสลายในที่สุด

หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินบาทถูกโจมตีเป็นระลอกใหญ่จากภายนอกประเทศ ในช่วงเดือนก.พ. 2540 จนส่งผลกระทบภาพรวมระบบสถาบันการเงินไทย จนในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งปิดแค่ 16 สถาบันการเงิน ในเดือนมี.ค. 2540 โดยมีรัฐค้ำประกันเงินฝาก แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อย่าง บง.เอกธนกิจ ของนายปิ่น จักกะพาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นฐานะการเงินสำรองของประเทศอ่อนแอลงเรื่อยๆ จากการถูกโจมตีค่าเงิน จนสุดท้ายก็ต้องประกาศลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค. 2540

@ล่มสลายพร้อมวิกฤติเศรษฐกิจ


ข่าวลือการสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินเกิดขึ้นเป็นระลอกหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ตามด้วยการถอนเงินจากสถาบันการเงินใหญ่ๆ จนขาดสภาพคล่อง และลุกลามสู่การแห่ถอนเงินครั้งใหญ่ ในระบบสถาบันการเงิน จนกระทั่งคลอนแคลน และนำไปสู่การต้องปิดสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่ง ในเดือนส.ค. 2540 ตามข้อเสนอของไอเอ็มเอฟ เพื่อตัดทิ้งเนื้อร้ายและเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน DEPOSIT RUN ในระบบสถาบันการเงินไทย

เวลานั้นอาณาจักรของ "เอกธนกิจ" ขยายตัวใหญ่จนเกือบจะก้าวกระโดดขึ้นเป็น "MEGA FINANCE COMPANY" กลับต้องล่มสลายลงไป กับสินทรัพย์ที่เสียหายกว่าแสนล้านบาท รวมทั้งความล้มเหลวของแผนการควบกิจการ กับธนาคารไทยทนุ ต่อมาได้ส่งผลเป็นโดมิโน ให้การหาผู้ร่วมทุนจากธนาคารต่างชาติของธนาคารไทยอีก 4 แห่ง ถึงกับล้มเหลวตามไปด้วย

ผลพวงที่ตามมาธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เป็นโจทก์กล่าวโทษอดีตผู้บริหารบง.เอกธนกิจเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2541 ต่อมาพนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนายปิ่น เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายเติมชัย ภิญญาวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 2 นายสำราญ กนกวัฒนาวรรณ ผู้ต้องหาที่ 3 ซึ่งนายปิ่นได้เดินทางออกนอกประเทศก่อนที่จะมีการกล่าวโทษ ขณะที่ ผู้ต้องหาอีก 2 รายได้เข้ามอบตัวและประกันตัวออกมา สุดท้ายศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 2 คนหลัง สู้คดีในต่างแดน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวัน ที่ 12 ธ.ค. 2542 ตำรวจอังกฤษจับกุมตัว "ปิ่น" ผู้ต้องหาคดีความผิดฐานร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์และความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 วงเงินค่าเสียหาย 2,127 ล้านบาท โดย "ปิ่น" หลบหนีออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2541

ต่อมา วันที่ 27 ก.ค. 2544 ศาลอุทธรณ์ประเทศอังกฤษพิพากษาให้ “ปิ่น” พ้นจากการควบคุมตัวในคดีที่ทางการไทยขอให้ส่งตัวกลับประเทศ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อดำเนินคดีข้อหายักยอกทุจริตและฉ้อโกงทรัพย์ในประเทศไทย
วันที่ 14 ส.ค. 2544 อัยการอังกฤษแจ้งว่าในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน "ปิ่น" ไม่สามารถจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงอังกฤษได้ เนื่องจากในชั้นศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาพิจารณาแต่ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งตามกฎหมายอังกฤษการจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดได้ต้องเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญต่อคดีเท่านั้น คดีนี้จึงถือว่ายุติลง

ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ต่างๆ ในอังกฤษและยุโรป เขาได้รับการยอมรับพอควรหลังจากการหลุดพ้นข้อกล่าวหา และล่าสุดมีข่าวว่านายปิ่นเดินทางกลับประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังคดีหมดอายุความ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปัญหาเวียดนาม มีมากกว่า เงินเฟ้อ !!?

คอลัมน์: รู้จักอาเซียน

เวียดนามเป็นที่น่าจับตามองสุดในกลุ่มประเทศอินโดจีน จนกระทั่งประสบปัญหาเงินเฟ้อหนักในช่วงปีที่ผ่านมา โดยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 23 ในเดือน ส.ค.ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันเศรษฐกิจขยายตัวอย่างควบคุมไม่ได้ กระทรวงการวางแผนและลงทุนเวียดนาม เปิดเผยข้อมูลต่อกลุ่มผู้สื่อข่าวอบรมหลักสูตรอาเซียนของสมาคมนักข่าว

นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยกล่าวว่าปีนี้เวียดนามต้องคุมระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในอัตราที่ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ได้ และคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะโตได้ที่ระดับ 5.4-5.7% ขณะที่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปี 2554-2558 เวียดนามคาดว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยระหว่าง 7-7.5% และหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเข้าปี 2556

ปัญหาการคุมเงินเฟ้อเป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลเวียดนามดูแลอย่างใกล้ชิด

แต่เวียดนามยังมีปัญหาภายในอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดประเทศรับการลงทุนจากนักธุรกิจต่างชาติ พร้อม ๆกับการเรียกนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ

ปัญหาที่เป็นอุปสรรคอย่างสูงต่อการทำธุรกิจและท่องเที่ยวในเวียดนามคือ เส้นทางคมนาคมและถนนหนทางในเวียดนามไม่เพียงพอ โดยเฉพาะถนนหลวงหมายเลข 1 ที่พาดกลางประเทศจากเหนือจดใต้ เป็นเส้นทางการเดินรถหลักของประเทศ ความยาว 2,289 กิโลเมตร จากประสบการณ์ตรงที่สัมผัสเส้นทางรถจากเมืองวินห์ (Vinh) จังหวัดเหงะอาน (Nghe An) ไปยังเมืองหลวงฮานอย ถนนมี 2 เลน และอยู่ในสภาพที่ส่งแรงสะเทือนสูงต่อทั้งคนและสินค้า ด้วยสภาพหลุมบ่อบนเส้นทาง ระยะทางราว 330 กิโลเมตร ใช้เวลา 6 ชั่วโมง จึงเป็นไปได้ยากที่จะพึ่งพาการคมนาคมทางบกในการขนคนและสินค้าในเวียดนาม

อุปสรรคอีกอย่างของการเดินทางท่องเที่ยวและติดต่อธุรกิจต่าง ๆ ในเวียดนามคือ ภาษา ชาวเวียดนามไม่นิยมพูดภาษาอังกฤษ หากไม่ใช่ย่านช็อปปิ้งที่นักท่องเที่ยวเดินขวักไขว่

ในเวียดนาม กระทั่งโรงแรม และสนามบิน ชาวเวียดนามก็ไม่เจนจัดนักในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ธุรกิจบริการของเวียดนามดูท่าไม่ค่อยสดใส เมื่อพนักงานบริการไม่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้

นายบุญรงค์ พงษ์เสถียรศักดิ์ อัครราชทูตไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย บอกเล่าให้ฟังว่า การทำธุรกิจที่นี่ต้องฝ่าด่านสำคัญประการแรกคือ ภาษา เอกสาร ข้อมูล เว็บไซต์และการติดต่อใด ๆ กับทางการเป็นภาษาเวียดนามทั้งหมด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้ภาษาเวียดนาม อีกทั้งการติดต่อกับภาครัฐยังมีอุปสรรค เนื่องจากมีหน่วยงานราชการของส่วนกลางและท้องถิ่นที่ทับซ้อนกันอยู่ และกฎระเบียบของเวียดนามเปลี่ยนแปลงบ่อย

ส่วนปัญหาใหญ่อีกประการที่นักธุรกิจต้องมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามประสบปัญหาพลังงานในประเทศไม่เพียงพอ โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งประชาชนและภาคอุตสาหกรรมต่างต้องเผชิญปัญหาไฟดับ โรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดคิวผลัดกันเดินเครื่องจักร

แต่จากต้นปีที่ผ่านมาเวียดนามประสบปัญหานี้น้อยลง อย่างไรก็ตามรัฐบาลเวียดนามได้บรรจุแผนในการพัฒนาพลังงานของชาติ โดยจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อรองรับภาวะขาดพลังงานในอนาคต แต่ก็เป็นแผนระยะยาว ซึ่งโครงการจะลุล่วงในอีก 30 ปีข้างหน้า

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บัวแก้ว เร่งกระชับสัมพันธ์เมียนมาร์-ไทย-ลาว.....

กลุ่มประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์เรามีความผูกพันกันมาอย่างแน่นแฟ้น เหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า มานานนับพันปี แม้บางครั้งอาจมีทะเลาะเบาะแว้งกันก็ตามประสาลิ้นกับฟัน แต่สำหรับในยุค ที่ดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้มีความจำเป็น จะต้องเกาะเกี่ยวกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิด ขุมกำลังในการเจรจาต่อรองทางการค้า จนก่อให้เกิดความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ได้รับการตอบรับจากทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี

ในด้านของรัฐบาลเองก็ตระหนังถึงข้อนี้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศที่เพิ่งออกมาเปิดเผยถึงแผนงาน ตามนโยบายที่ทำมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึง นโยบายเร่งด่วนคือการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าเมียนมาร์, กัมพูชา, ลาว หรือมาเลเซีย ในภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้น ในส่วนของความสัมพันธ์ ไทย-เมียนมาร์ มีการเปิดด่านแม่สอด-เมียวดี มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่สำคัญที่สุดคือ เอ็มโอยูว่าด้วย การพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เชื่อมอีสเทิร์นซีบอร์ดหรือแหลม ฉบังของไทยกับเวสเทิร์นซีบอร์ดคือท่าเรือ น้ำลึกทวายของเมียนมาร์ นายกรัฐมนตรีจะนำรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปเยือนเมียนมาร์ ในช่วงวันที่ 19-21 กันยายนนี้

สำหรับประเทศลาวก็ได้เริ่มหารือเพื่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 หลังจาก คาดว่าสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 จะเปิดใช้ งานได้ในเดือนธันวาคมปีนี้ ส่วนเวียดนาม ก็จะจัดประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างสองประเทศอีกครั้งในราวเดือนตุลาคมปีนี้ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้มีการจัดเสวนา หัวข้อ สัมมนาเรื่อง “การแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-เมียนมาร์ และไทย-ลาว”..เพื่อเป็นช่องทางให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจในประเทศเพื่อนบ้านได้ดียิ่งขึ้น

“เนวิน บุญประเสริฐ” เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและกระบวนการ แก้ไขปัญหาเขตแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจังหวัดเชียงรายก็มีลักษณะ พิเศษที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึงสองประเทศ คือเมียนมาร์และลาว จึงถือเป็นโอกาสของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจะหา ทางร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะแนวเขตชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่เปรียบเหมือนมรดกที่สืบทอดมาจากการจัดทำสนธิสัญญา และการปักเขตแดนระหว่างสยามกับอังกฤษ และสยามกับฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วยปลายคริสต์ศตวรรษที่19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

เบื้องต้นพบว่า การใช้ประโยชน์ของ ชายแดนได้เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ความชัดเจนของแนวเขตแดนมิได้พัฒนาขึ้นในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันจึงจะมีความไม่แน่ชัดอยู่บ้าง จึงทำให้เกิดข้อพิพาทในเรื่อง เขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายต่อหลายครั้งยังความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภาพรวมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจากนี้ ภายในประเทศยังคงได้ใช้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนเป็นเครื่องมือในการโจมตีให้ร้ายกันในทางการเมือง ทำให้เกิดความบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลอีกด้วย

กระทรวงต่างประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้พยายามผลักดันปัญหาเขตแดนออกจากปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ซึ่งก็ได้จัดทำโครงการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านให้ชัดเจนเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน ซึ่งหากโครงการดังกล่าว สำเร็จก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม ความร่วมมือข้ามแดนระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านในทุกๆ ด้าน อันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับการรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN ในปี2015

ในด้านของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เมียนมาร์ ไม่มีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “พัฒนาการความสัมพันธ์ไทย- เมียนมาร์ ปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหา เขตแดน”

“พิษณุ สุวรรณะชฎ” เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ กล่าวว่า การที่นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของเมียนมาร์ มาเยือนไทยเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีนัยยะสำคัญ เป็นการเน้นย้ำว่าเมียนมาร์ให้ความสำคัญกับไทย อีกทั้ง ในการหารือ ข้อราชการระหว่างผู้นำ มีหลายเรื่องที่เป็น ประโยชน์มากมาย เช่น การเปิดด่านหลาย แห่ง การแก้ไขปัญหาเขตแดนที่ตั้งอยู่บน โครงการด้านเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อเมียนมาร์ ไทย และภูมิภาคนี้โดยรวม คือ โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายที่เป็นอนาคตของภูมิภาคนี้ เพราะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเชื่อมโยงกับมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีไทยและเมียนมาร์เป็นศูนย์กลาง ทำให้ มีผลประโยชน์ต่างๆ ติดตามมามากมาย

ใน 3 ปีข้างหน้า เมียนมาร์จะมีพัฒนาการในหลายด้านเกิดขึ้น โดยในปีหน้า เมียนมาร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ซึ่งจะเปิดตัวนครเนปิดอว์ให้โลกได้รู้จักผ่านงานนี้ แต่การที่เมียนมาร์ จะประสบความสำเร็จในการจัดการแข่งขันนี้ได้ ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากไทย และในปี2557 เมียนมาร์จะเป็นประธานอาเซียน ซึ่งเขายังต้องการให้ ไทยสนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเป็นประธานอาเซียน ต่อมาในปี 2558 เมียนมาร์จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งผลจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเมืองใหม่ และผลจากการเป็นประธานอาเซียน จะเป็นตัวสร้างคะแนนนิยมให้กับรัฐบาล เมียนมาร์ในการเลือกตั้ง

ดังนั้น 3 ปีนี้ ถือเป็นปีทองของไทย เพราะเมียนมาร์ขาดไทยไม่ได้ เราจึงมั่นใจ ได้ว่าจะประคับประคองความสัมพันธ์กับไทย ขณะที่ไทยต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับเมียนมาร์อยู่แล้ว ตนยังไม่เห็น ว่าความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ใน 3 ปีข้างหน้าจะเป็นไปในทางลบได้อย่างไร ตนจึงเห็นว่าถ้าใครอยากจะไปทำอะไรในเมียนมาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ขอให้รีบทำ มิฉะนั้นถ้าทำหลังจาก 3 ปีดังกล่าวแล้ว จะเจอคู่แข่งมากมาย และสิ่งที่คิดว่าจะทำ เป็นธุรกิจในเมียนมาร์ได้จะกลายเป็นเรื่อง ยากมากขึ้น ขณะที่เรื่องเขตแดนก็เช่นกัน ควรรีบทำในช่วงโอกาสทองนี้ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายมีนโยบายและวิสัยทัศน์ที่แน่ชัดในการทำทุกอย่างเพื่อรองรับกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เจริญก้าวหน้า

“วศิน ธีรเวชญาณ” ประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า กล่าวในประเด็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดน ไทย-เมียนมาร์ ว่า ไทย-เมียนมาร์มีเขต แดนยาวทั้งสิ้น 2,401 กิโลเมตร มีการปักปันมานาน 150 ปี มีการทำความตกลง กัน 9 ฉบับ ขณะที่การจัดตั้งคณะกรรมการเจบีซีไทย-เมียนมาร์ มีการประชุมมาแล้ว 6 ปี ตั้งแต่ปี 2536 กระทั่งหลังปี 2548 ได้ว่างเว้นไป สำหรับสาเหตุที่ทำให้ติดขัดนั้น มีทั้งปัญหาภายในของแต่ละประเทศ และการที่เราพยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการทำเขื่อนป้องกัน ตลิ่ง และการเปลี่ยนทางน้ำในแม่น้ำเมย จึงกินเวลาของเจบีซีฯไปส่วนหนึ่ง แต่ก็พยายามทำบันทึกความเข้าใจในการจัดทำ หลักเขตแดน อย่างไรก็ตาม เมื่อเมียนมาร์ สามารถจัดการสภาพภายในประเทศได้ดีขึ้น เขาจึงขอจัดการประชุมเจบีซีฯ ครั้งที่ 7

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา เริ่มจากการเจรจากับฝ่ายเมียนมาร์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องประนีประนอม หรือการแก้ไขโดยสันติ หรือ วิธีสุดท้ายคือการให้บุคคลที่สามมาช่วยแก้ปัญหา อีกทั้งต้องแยกปัญหาเขตแดน ออกจากความสัมพันธด้านอื่นๆ เช่น ด้าน การค้าการลงทุน และต้องไม่ให้เรื่องเขต แดนเป็นเรื่องการเมือง แต่ต้องใช้เหตุผลและข้อมูลทางวิชาการมาพูดคุยหรือแก้ไข ขณะเดียวกัน แนวทางปฏิบัติภายในประเทศ นั้น ขอให้เจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ช่วยดูแลหลักเขตแดนหรือหลักอ้างอิงเขตแดน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเดิน ของแม่น้ำ ซึ่งถ้าพบว่าเกิดความเสียหายหรือความผิดปกติ ขอให้แจ้งต่อกรมแผนที่ ทหาร หรือกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมายทันที ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้รวบรวมรายชื่อบุคคลที่อยู่ใกล้กับเส้นแขตแดน เพื่อนำคนเหล่านี้มารับการอบรมเป็นอาสาสมัครช่วยดูแลเส้นเขตแดนให้มีความเรียบร้อย เพราะเส้นเขต แดนเป็นเรื่องสำคัญต่อทุกคน นอกจากนี้ทางราชการควรพิจารณาให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับภาคเอกชนที่อยู่ประชิด แนวเขตแดน ทั้งนี้ ถ้าเป็นไปได้ขอให้เว้นระยะจากเส้นเขตแดนออกไป 100-200 เมตร ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล

“ดุลยภาค ปรีชารัชช” อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง การทำความเข้าใจเรื่องเขตแดนนั้น เราต้องดูที่กองทัพเมียนมาร์ที่เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วย ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญของเมียนมาร์ที่โยงเรื่องเขตแดน คือ เมียนมาร์มีความละเอียดอ่อน ในเรื่องของเขตแดน มีกลุ่มชาติพันธุ์มาก มายที่เป็นเจ้าของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีการต่อรองผลประโยชน์ในการแบ่งพื้นที่การปกครองหรือพื้นที่พัฒนาซึ่งคร่อมเขตแดน กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยบางส่วนเป็นพื้นที่รัฐซ้อนรัฐ ชนกลุ่มน้อยจึงเข้ามามีบทบาทในการแบ่งเขตแดน ขณะเดียวกัน โครงสร้างการเมืองของเมียนมาร์จะเปิดโอกาสให้มีสภาในภูมิภาค ดังนั้น การแก้ปัญหาเขตแดนต้องไม่มองข้ามคนที่อยู่ในตะเข็บชายแดนที่เป็นชนชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น อาข่า ไทยใหญ่ ว้า เป็นต้น ซึ่งในอนาคต เสียงของคนกลุ่มนี้จะดังมากขึ้น
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่าประเทศ ไทย-ลาว ได้มีการพูดกันในหัวข้อ “พัฒนา การความสัมพันธ์ไทย-ลาว ปัจจัยสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาเขตแดน”

“วิทวัส ศรีวิหค” เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเส้นเขตแดนนั้น ต้องประสาน ทำงานร่วมกันตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไปถึง ระดับสูง อย่าให้ผู้นำ 2 ประเทศไปติดอยู่ที่ยอดมะพร้าว อย่าให้มีการตอบโต้กันผ่าน สื่อ เหมือนกับกรณีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กับสมเด็จฯ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับเขต แดน เราไม่ควรให้มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรัฐสภาของไทย ออกอาอากาศทางโทรทัศน์ เพราะประชาชน ในประเทศเพื่อนบ้านสนใจติดตามรับชมมากกว่าคนไทย นอกจากนี้ เราต้องมองปัญหาในหลากหลายมิติประกอบกัน จะทำให้มีทางเลือกมากขึ้นในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ อีกทั้งเราต้องปรับจังหวะและเรียนรู้ชีพจรของประเทศเพื่อน บ้าน เพราะเมื่อเป็นประชาคมเดียวกันเหมือนกับการอยู่ในครอบครัวเดียวกันแต่ ไม่รู้จักกัน แล้วจะเป็นประชาคมได้อย่างไร

นอกจากนี้ เราต้องมองให้ไกลเกินกว่าระดับทวิภาคีเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์ ร่วมในกรอบความร่วมมือต่างๆ และทำให้ ไทยได้รับประโยชน์ รวมถึงส่งผลให้เราไม่มองตัวเองว่าเรารวยหรือดีกว่าเขา ทั้งนี้ จากการที่ตนเข้าพบกับนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีของลาว จึงทราบว่าท่านอยากให้มีการปักปันเขตแดนให้เสร็จพร้อมกับไทย ซึ่งตนคิดว่าคนที่ยืนอยู่ข้างรั้วย่อมสำคัญกว่าคนที่อยู่ในรั้วเสมอ และ ต้องยึดสันติสุขเป็นที่ตั้ง อีกทั้งในระดับรัฐบาลไม่ควรคิดไปมุ่งแข่งขันกับใคร อย่า ไปชิงรักหักสวาทกับประเทศใด เพราะเมื่อประเทศอื่นจับมือกันได้ เขาจะเอาไทย เข้าร่วมกลุ่ม จึงควรปล่อยให้เป็นเรื่องของ ภาคเอกชนที่มีการแข่งขันกันทางธุรกิจอยู่แล้ว ส่วนการให้ความช่วยเหลือกับประเทศอื่นๆ นั้น ไทยมักออกข่าวล่วงหน้า และมีการให้ข่าวหลายครั้งมากเกินไปซึ่งทำให้ประเทศที่เป็นผู้รับรู้สึกอาย ฝ่ายไทย จึงไม่ควรทำเช่นนี้อีก นอกจากนี้ ของไทย มักให้ของช่วยเหลือโดยไม่ถามถึงสิ่งที่ประเทศนั้นๆ ต้องการ และบางครั้งยังให้เป็นของมือสองหรือตกรุ่นแล้ว เช่น มีบางองค์กรที่มอบคอมพิวเตอร์ตกรุ่นไปหลายปีแล้วให้กับโรงเรียนของลาว

“วศิน ธีรเวชญาณ” กล่าวอีกครั้งในฐานะ ประธานคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส ภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-ลาว (ฝ่ายไทย) กล่าวถึงโครง การสำรวจและจัดทำเขตแดนไทย-ลาว ว่า ตอนนี้มีปัญหาที่ไทยค้างอยู่กับฝ่ายลาว 17 บริเวณ เป็นจุดที่ค่อนข้างแก้ไขยาก ซึ่งแบ่งปัญหาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.สันปันน้ำ ถูกทำลาย 2.ทั้ง 2 ฝ่ายต่างอ้างแนวสันปันน้ำต่างกัน เช่น ที่ช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี 3.ปัญหาสันปันน้ำในภูมิประเทศไม่สอดคล้องกับแผนที่ มี 7 แห่ง เพราะไปสำรวจแล้วพบว่าจริงๆ ไม่มีสันปันน้ำที่ยอดเขาที่ 4.ปัญหามวลชนในพื้นที่ต่อต้าน การสำรวจและปักหลักเขตแดน เช่น ทุ่งหนองบัว จ.อุบลราชธานี ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ไปสำรวจซึ่งบางครั้งเป็นเหตุผลเรื่องความรักชาติ จึงต้องใช้วิธีพยายามทำความเข้าใจกับชาวบ้านแม้จะต้องใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อมีข้อพิพาทในกรณีเขตแดนไทย-ลาว เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยค่อนข้างอะลุ้มอล่วย เพราะไม่อยากให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ฝ่ายลาวกลับเข้มงวด จึงคิดว่าควรทำตามกฎหมาย โดยคิดถึงผลประโยชน์ร่วมกันและมีความสันติสุขอยู่บน พื้นฐานความถูกต้อง

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร !!?

สุดท้ายเพื่อประโยชน์ของชาติ ของแผ่นดิน ต้องหันหลังกลับ มาจับกันแน่นอน
ไชโยโห่ฮิ้วสุดลิ่มทิ่มประตู กับข่าวลับข่าวล่า มาล่าสุด ว่า “ป๋าเปรม” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และ “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” กลับมาชื่นมื่นเหมือนเก่า
ทุกอย่างแฮปปี้เอนดิ้ง ราบรื่น ไปด้วยดี เหมือนยืนอยู่บนเนินเขา
เราจะได้เห็นประโยชน์ของแผ่นดิน เกี่ยวกับ “น้ำมัน” ที่ว่าแผ่นดินไทยมีมูลค่ามหาศาล ถูกจัดการมาให้คนไทยใช้ อย่างโชติช่วงชัชวาลย์ เหมือน ยุค “ป๋า” ที่ขุดก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นมาไทย
เพื่อประโยชน์ของชาวบ้าน...จับมือประสานใจกัน..มันก็ดีอย่างนี้แหละเจ้านาย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

โกหกสีขาว ใส่ไคล้เขาสีดำ
“กิตติรัตน์ ณ. ระนอง” ขุนคลังและรองนายกรัฐมนตรี ตกเป็นเหยื่อในวาทะกรรม
เขาฆ่าชาวบ้านตกตายไปตามกัน ยังลอยหน้าลอยตา ว่า “ชายชุดดำ” ยิงคนตาย
เอาหลักฐานมาแฉ เอาคลิปมาโชว์..จนบัดนี้ ยังจับ “กลุ่มก่อการร้าย” ได้ที่ไหน
เรื่องกล่าวสุนทรพจน์ “ตั้งเป้า” การส่งออก ๑๕ % ... เป็นแนวทางที่ทุกรัฐบาลวางคอนเซปป์ เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่นักลงทุน
ฆ่าประชาชนตายชัด ๆ ... หลักฐานมีมัด... เมื่อไหร่จะหัดรับผิดชอบมั่งล่ะคุณ

++++++++++++++++++++++++++++

กรรมตามสนอง
“ท่านชวน หลีกภัย”, “ท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน” ๒ บิ๊กอาวุโสคนโต พรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่ใด ..ไม่มีคนเสื้อแดงไปขับไล่ จริงมั้ยพ่อแม่พี่น้อง
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ควรสำรวจเอกซเรย์ผลงานของตัวเองมั่ง..ทำไม๊..ทำไม ประชาชนพี่น้องชาวเสื้อแดง ถึงได้ราวีไม่ลดละ
เลิกขี่ม้าสามศอก ไปร้องทุกข์กับ “บิ๊กอู๋” พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร. และ “อภิชาต สุขัคคานนท์” ประธาน กตต. ผู้มีชื่อเล่นสารพัดชื่อเล่นว่า “หมู-ช้างน้ำ-ตุ่ม-ตุ้ยนุ้ย” ตามแต่เพื่อนนักเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จะเรียกกันฮะ
ถ้าไม่มีวีรกรรม เป็นที่สะเทือนขวัญ ใครจะเป็น “ปรปักษ์” ตามจี้เพื่อเอาผิด ทุกวัน
“ท่านชวน-ท่านบัญญัติ”...เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์..มีใครด่ากราดที่ไหนกัน

+++++++++++++++++++++++++++++++

ได้ทีเป็นขยับ สับรัฐบาล
ดีเด่มาจากไหนกัน?.. “นายนิพนธ์ พัวพงศกร” ประธานทีดีอาร์ไอ ขึงขัง ว่านโนบายรับจำนำข้าว เกือบ ๓ แสนล้านบาท ของ “นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” โกงกินกัน
ตัวเองคือ “สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” ยังเป็น “ลูกแหง่” ไม่โตเสียที
แบมือขอ “งบประมาณ” จาก “รัฐบาล” แต่ทำมา ปากดี
หน่วยงานสถานบันวิจัยแห่งนี้ “ทีดีอาร์ไอ” คือต้นแบบที่วางกรอบเศรษฐกิจ..เมื่อไหร่ที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นรัฐบาล ก็ก๊อปปี้ โรเนียว เอาพิมพ์เขียว มาใช้กันเสร็จสรรพ
แต่รัฐบาลของประชาชน...เขาไม่อับจน...ใช้คนสมองเยี่ยมๆ เขียนเองขอรับ

+++++++++++++++++++++++++++++++

แพงทั้งแผ่นดิน
“มุกแป๊ก” ที่ “กรณ์ จาติกวณิช” ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในอนาคต ปั่นขึ้นมาแต่ล้มเหลว ทั้งสิ้น
ตีรวนไปกล่าวหา “คุณพี่อารักษ์ ชลธานนท์” แห่งกระทรวงพลังงาน ที่ปล่อยให้น้ำมันแพง จนต้นทุนปากท้องชาวบ้าน ก้าวกระโดดแพงลิบลับ
ยุค “นายกฯปู” กับ “อดีตนายกฯมาร์ค” ใครแพงกว่าครับ
นโยบาย ๙๙ วันทำได้...ที่ประกาศสัจจะวาจา ว่าจะไม่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน..แต่ก็เก็บกันตะบันลาก หายห่วง
ด่าแบบเอามันส์...ชาวบ้านเซ็งกัน...ทุกวันคะแนนศรัทธาประชาธิปัตย์ ยิ่งร่วง


ที่มา:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทนง พิทยะ เตือนสติ รมว.คลัง ต้องไม่โกหกประชาชน !!?


ทนง. เตือนสติ กิตติรัตน์.หัวหน้าทีมเศรษฐกิจและรมว.คลัง ต้องไม่โกหกประชาชน หลังออกมายอมรับ "White lie" เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ รายการ "Morning News" ทาง "กรุงเทพธุรกิจทีวี" วานนนี้ (28 ส.ค.55) กรณีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า การประเมินตัวเลขเศรษฐกิจ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้พูดโกหกสีขาว หรือ "White lie" เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

นายทนง มีบทบาทสำคัญในหลายรัฐบาล โดยสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนได้รับฉายาว่าเป็น "ยาสามัญประจำบ้าน" และมีรายชื่อติดโผรัฐมนตรีมาโดยตลอด แต่นายทนงระบุว่า "เป็นยาหมดอายุ" ซึ่งปัจจุบัน ไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลปัจจุบัน

ความเห็นของนายทนง มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ส่วนตัวคิดว่านายกิตติรัตน์เป็นคนตั้งใจทำงาน มีความรู้ความสามารถ แต่ผลงานที่ออกมาอาจจะต่ำกว่าที่หลายคนคาดหวังไว้ สาเหตุเพราะเกิดจากปัจจัยควบคุมไม่ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำลง ส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของไทย ที่เมื่อปีที่ผ่านมา เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจจะต้องเหนื่อยและต้องยอมรับกับความเป็นจริง

"ท่านอาจพยายามตั้งใจทำงาน และเชื่อว่าแก้ปัญหาได้ดีกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็อาจทำให้ประชาชนผิดหวังบ้าง ผมคิดว่าคนที่เป็น รมว.เศรษฐกิจ ควรต้องรู้ความเป็นจริงของเศรษฐกิจโลก ต้องเรียนรู้มากๆ ต้องเข้าใจ และอธิบายให้ประชาชนทราบว่าเราอยู่ในโลกแบบไหน ไทยมีจุดด้อยอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะพยายามแก้จุดอ่อน"

อีกจุดด้อยหนึ่งของประเทศไทย คือ เรื่องของคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดขึ้นสูงมากเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่นักธุรกิจ แต่ไม่สามารถจับมือใครดมไม่ได้ จิตสำนึกของการแก้ปัญหาของนักการเมืองไทยน้อยเกินไป แม้ว่าไทยจะมีศักยภาพสูงที่จะแก้ปัญหาได้ดี แต่ความสนใจของนักการเมืองที่จะพัฒนาประเทศ มักจะเป็นเรื่องรองจากการที่จะหาเงินมาเพื่อพัฒนาการเมือง จุดนี้เป็นจุดที่น่ากลัวมากสำหรับประเทศไทย

"ผมรู้สึกแปลกใจ ที่มีการสำรวจข้อมูลแล้ว พบว่า คนไทย บอกว่า คอร์รัปชันไม่เป็นไร ขอให้เศรษฐกิจดี ซึ่งผมว่ามันหมดสมัยไปแล้ว เพราะว่าคอร์รัปชันสมัยก่อน เท่าที่ผมเคยสัมผัสมาเป็นการตามน้ำบ้าง คือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติมาก่อน และค่อยตามน้ำ แต่คอร์รัปชันปัจจุบันมันทวนน้ำ เงินมาก่อน แต่ผลประโยชน์ชาติค่อยตามมา ทำให้ทุกอย่างล่าช้าออกไป การตัดสินใจก็โยนไปโยนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากประชาชนไม่กระตือรือร้น ไม่เปลี่ยนวิธีการคิด นักธุรกิจ การเมือง ไม่เปลี่ยนวิธีคิด คิดแต่ว่าต้องหาเงินมาเพื่อต่อสู้ทางการเมือง ผมว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งในประเทศไทย"

หน้าที่ของ รมว.คลัง ควรมีความพยายามที่จะวีโต้ได้ในทุกๆ โครงการ โดยในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนั้น หากโครงการไหนมีกลิ่นก็จะใช้วิธีวีโต้ ซึ่งทุกโครงการควรต้องผ่านการประมูลที่โปร่งใส และทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติมากที่สุด

กรณีการปรับเป้าการส่งออกจาก 15% เหลือเพียง 9% ด้วยว่า การกำหนดเป้าหมายเป็นเรื่องของงานวิชาการ อย่าง สศช. แบงก์ชาติ จะออกเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป้าหมายส่งออก เป็นเรื่องทางวิชาการปกติ แต่ในฐานะรัฐมนตรีไม่ใช่คนที่จะต้องไปนั่งคาดคะเนเป้าหมาย ในสมัยที่นั่งเป็น รมว.คลังนั้น ไม่เคยบอกว่า เป้าหมายเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร รู้แต่ว่าเมื่อ สศช.บอกเป้าหมายเศรษฐกิจว่าจะอยู่ในระดับ 4-5% หน้าที่ของรัฐมนตรี คือ ทำอย่างไรให้ใกล้เคียง 5% ตรงนี้ คือ ความสามารถในการบริหารประเทศ จะทำอย่างไรให้สูงกว่า หรือเท่ากับเป้าหมาย

"คนที่เป็น รมว.ต้องมานั่งดูจุดอ่อน แล้วค่อยๆ ผลักดันให้เกิด"

ประเด็นเรื่อง "White lie" นั้น นายทนง กล่าวว่า การเป็น รมว.ไม่ควรพูดโกหก แต่ควรพูดในแง่การเตือนประชาชนมากกว่าที่จะไปให้ความหวังของประชาชน โดยส่วนตัวมองว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องโกหก เพราะ รมว.มีสิทธิที่จะพูดว่า เป้าหมายแบบนี้อยู่ในเงื่อนไขอะไรบ้าง ถ้าเป็นเงื่อนไขแบบนี้เราควรต้องเฝ้าดู และคอยเตือนประชาชนว่าสถานการณ์เริ่มแย่ลง

คือ ผมว่า ต้องคอยเตือนประชาชน หรืออธิบายให้ทราบว่า เป้าหมายอาจจะทำได้ไม่ถึง ซึ่งก็ไม่ใช่การโกหก แต่ก็ทำให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิมเพราะถ้าไปบอกว่า ผมต้องทำให้ได้ มันไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่ว่าเรื่องนี้ ท่านอาจจะพูดตรงๆ ตามนิสัยของท่านก็ได้ อย่าไปคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ หรือซีเรียสเกินไป หรือว่ารุนแรงเกินไป ผมว่าท่านคงพยายามพูดในแนวความคิดของท่าน ซึ่งท่านก็ไม่ได้คิดอะไร ผมเพียงแต่มองว่า ไอ้คำว่าโกหกมันไม่ควรจะใช้ ควรมีวิธีการอธิบายที่ดีกว่านั้น"

นายทนง กล่าวว่า ตอนเป็น รมว.คลังนั้น ไม่เคย "White lie" เพราะตอนที่จะลดค่าเงินบาท มีคนมาถามก็บอกว่ายังไม่ได้ทำ แม้จะมีการศึกษาของแบงก์ชาติมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาตัดสินใจ จะไปบอกไม่ได้ว่าได้ตัดสินใจแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องทำ ก็อธิบายให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องทำ

บางอย่าง เราไปบอกว่า จะทำมันจะเกิดความเสียหาย ทำให้คนเก็งกำไร รมว.คลัง พูดไม่ได้ แต่เราพูดได้ว่ามีการศึกษาเรื่องนี้อยู่ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คนเป็น รมว.คลังจะอ่อนไหวมากในเรื่องของการแถลงการณ์ ในประเทศอื่น การแถลงการณ์ของ รมว.คลังจะเป็นทางการ เขาไม่ค่อยให้สัมภาษณ์ ไม่พยายามตอบ เพราะคนจะพยายามล้วงลูก เราเอาความลับที่เรากำลังจะทำ ให้คนรู้ มันก็จะเสียหาย เป็นเรื่องที่ต้องระวังมากๆ ในการให้สัมภาษณ์ แต่ในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องให้สัมภาษณ์ว่า จะแก้ไขจะช่วยเยียวยาอย่างไร ต้องรีบทำ เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญ"

ในการให้สัมภาษณ์ ผมคิดว่า อย่าไปถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่ดูว่าท่านทำงาน ท่านอยากจะทำอะไรให้ประชาชน ท่านวางแผนอย่างไร มีวิสัยทัศน์อย่างไร ผมคิดว่า ท่านควรจะพูดในเรื่องของวิสัยทัศน์ของท่าน แผนงานประเทศว่า อะไรจะเกิดขึ้นในแง่ของโครงการต่างๆ ให้แล้วเสร็จเมื่อไร ตรงนั้นประชาชนจะฟัง และก็ควรพยายามผลักดันทุกกระทรวงว่าจะต้องทำให้เสร็จ อะไรที่เสร็จตามกำหนด การคอร์รัปชันจะน้อยลง"

ที่มา.ประชาชาตฺธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผ่าตัดใหญ่ บิ๊กราชการ รัฐบาล..เอาอยู่ ขันน็อต กระทรวงเกรดเอ !!?

กลายเป็นว่ากระแสการปรับ ครม. “ยิ่งลักษณ์ 3” คงจะลากยาวออกไปถึงปลายเดือน ก.ย.นี้ เพราะคั่นด้วยศึกซักฟอกรัฐบาล ซึ่ง “พรรคประชาธิปัตย์” กำลังจองกฐิน “รัฐมนตรีสายล่อฟ้า” เอาไว้ในช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน เช่นเดียวกับร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญที่อยู่ในช่วง “เว้นวรรค” และ “ร่างปรองดองแห่งชาติ” ที่กำลังถูก “แขวน” เอาไว้ก่อน ขณะที่การส่งการบ้าน “ผลงานรัฐบาล” ตลอดหนึ่งขวบปีที่ ได้ก้าวมา “กุมอำนาจรัฐ” ซึ่งมีการกำหนด “ยื้อคิว” แถลงผลงานไปอีกชั่วระยะ

พลันให้ “กระแสทางการเมือง” ตกอยู่ใต้ความอึมครึม ก่อนที่ “มรสุมลูกใหญ่” จะพัดโหมกระหน่ำรุนแรงในอีกไม่ช้านาน กระนั้นในช่วงเวลานี้ก็เป็นจังหวะที่ลงตัวในการ “เว้นวรรค” พักสถานการณ์ร้อนทาง การเมืองเอาไว้ก่อน เพราะยังมีประเด็นการ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ “ระดับบิ๊ก” ที่ขับเคลื่อนการทำงานระดับปฏิบัติ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบหลายปี

โดยเฉพาะเก้าอี้ “เบอร์ 1” ของแต่ละกระทรวง ที่รอเกษียณอายุราชการเกือบจะ ยกแผง ซึ่งมีข่าวว่า “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี สั่งลัดคิวแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการขึ้นมาก่อน ขีดเส้นให้จบภายในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นค่อยไปว่ากันเรื่องการจัดแถว “เสนาบดีปู 3”

ยิ่งการปรับโผข้าราชการระดับบิ๊กเนม ล็อตนี้ ได้มีข่าวลือสะพัดว่า ...อาจมีรายการ “ข้ามห้วย” ในหลายกระทรวง ทำให้การ “ทอดอำนาจฝ่ายข้าราชการประจำ” ดูจะเร้าอารมณ์ยิ่งไปกว่าครั้งไหนๆ ทั้งระดับปลัด กระทรวง, รองปลัดฯ, เลขาธิการ, รองเลขาธิการ, อธิบดี ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารระดับ “ซี 10” ที่นับดูคร่าวๆ แล้วมีมากกว่าร้อยเก้าอี้เลยทีเดียว ซึ่งถือว่า สูงเป็นประวัติการณ์

แยกเป็นระดับปลัดกระทรวง เกษียณ 8 คน คือ สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม, จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที), ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์, พระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ขณะที่ระดับรองปลัดกระทรวง เกษียณ 24 คน ระดับผู้ตรวจระดับ 10 เกษียณ 21 คน และระดับอธิบดี 26 คน ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด 16 จังหวัด และระดับเอกอัครราชทูต 13 ตำแหน่ง ทำให้ถนนทุกสายลิ่วตรงไปที่ “ฝ่ายกุมอำนาจรัฐ” และ “คนแดนไกล” ที่วันนี้กำลัง “เล่นกำลังภายใน” กันเองระหว่าง “พี่ชาย” กับ “น้องสาว” ที่ยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ในเรื่องโผโยกย้ายข้าราชการระดับสูง โดยเฉพาะเก้าอี้ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่กลายเป็น “ชนวนแก้วร้าว” ของสองพี่น้องตระกูลชินวัตร ที่น่าจับตาคือการ “ขันน็อต” กระทรวง คลองหลอด หลังจากมี “สัญญาณ” จากแดนไกลส่งผ่าน “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงมหาดไทย โดย มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ให้เร่งจัดทำ “โผ” จัดแถว เหล่าบิ๊กข้าราชการมหาดไทยให้เสร็จสิ้นในเร็ววัน

โฟกัสไปยังเก้าอี้ “บิ๊กบอส” ของฝ่ายข้าราชการประจำ มีกระแส “ข้ามห้วย” หลุด ออกมาก่อนแล้ว ทั้ง “บิ๊กน้อย-พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี” เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และอดีตผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่มีชื่อจ่อนั่งเก้าอี้ “ปลัดกระทรวงคมนาคม” ซึ่งที่ถูกยกให้เป็น “เต็งหนึ่ง” เพราะมีกระแสข่าวว่า “คนแดนไกล” เป็นผู้ติดต่อทาบทามด้วยตัวเอง โดยหวังให้ “พล.ต.อ.วิเชียร” มานั่งปลัดกระทรวงคมนาคมจนเกษียณในปี 2556

ขณะที่ “คนใน” อย่าง “สมชัย ศิริวัฒนโชค” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ก็ดูเข้าตา “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รมว. กระทรวง คมนาคม อีกทั้งยังเป็นสายตรงของ “ปิยะพันธ์ จัมปาสุต” อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ที่ยังคงมี “เพาเวอร์” อยู่ในกระทรวง เป็นอย่างสูง

ด้านศึกสิงห์คลองหลอด “วิเชียร ชวลิต” ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็มีข่าวว่าจะได้ “คัมแบ็ก” กลับมาคั่วเก้าอี้ “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” แซงหน้า “ประชา เตรัตน์” รองปลัดฯ เพื่อเปิดทางคืนตำแหน่ง “ปลัด พม.” ให้กับ “พนิตา กำภู ณ อยุธยา” ที่ถูกเรียกไปนั่งตบยุงในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำมากว่า 3 เดือน เพื่อยุติศึก “เกาเหลา” ในพรรคเพื่อไทย

แต่กระนั้นการชิงดำปลัด มท.เวลานี้ สถานการณ์ยังคง “ไม่นิ่ง” เพราะ “ประชา เตรัตน์” ถือเป็นคู่แคนดิเดตที่เบียดกันมาอย่างคู่คี่ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น “รองปลัด มท.” ยังมีความใกล้ชิดกับ “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” ค่อนข้างมาก เพราะเคยเป็น “ลูกหม้อ เก่า” เมื่อครั้ง “ยงยุทธ” ยังทำหน้าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงมีแนวโน้มสูงยิ่งที่จะ ก้าวสู่ “เก้าอี้เบอร์ 1” ในกระทรวงคลองหลอด และหากว่ากันในเรื่องอาวุโส “ประชา” ยังถือเป็น “อาวุโสอันดับ 1” อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมืองว่าจะ “เอาใคร” ขึ้นมาครองเก้าอี้ เพราะปัจจัยสำคัญคือต้อง “เอาอยู่...!”

ด้วยเหตุนี้ อาจเป็น “ปัจจัยสำคัญ” ที่ทำให้ “วิเชียร ชวลิต” พลาดเก้าอี้ปลัด มท. เพราะยังคงมี “ชนักติดหลัง” หลังถูกเด้งข้ามห้วยมาแล้ว แถมเจ้าตัวยังเป็น “คนใกล้ชิด” เนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่ถูก “นายใหญ่-นายหญิง” ขึ้นบัญชีดำเอาไว้ชนิดที่ว่า “ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ” กันเลยทีเดียว แต่ยังแทรกชื่อของ “วิบูลย์ สงวนพงศ์” อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลูกหม้อจากค่ายสิงห์ดำ ที่ติดโผมาเป็น “ม้าตีนปลาย”

สำหรับ “กระทรวงไอซีที” ก็เป็นที่ถูกจับตาว่าจะมี “ปลัดคนใหม่” ย้ายข้ามห้วยมาเสียบแทน โดยมีชื่อ “สุรชัย ศรีสารคาม” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ที่เคยได้รับรางวัลนำร่อง “จังหวัดอัจฉริยะ” จากการนำความรู้ด้านไอซีทีมาบริหารจัดการจังหวัด แถมยังมี “เจ๊ดัน” อย่าง “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” แกนนำค่ายเพื่อไทย เจ้าของสัมปทานกระทรวงตัวจริง คอยหนุนนำ ถึงขนาดพาไปให้ “นายใหญ่” ดูตัว ที่ฮ่องกงมาแล้ว

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปลัดกระทรวงคนใหม่ไปแล้ว หวยไปตกที่ “ชวลิต ชูขจร” รองปลัดฯ ที่ขึ้นเป็นปลัดกระทรวง แทน “สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์”

ด้านกระทรวงสาธารณสุข มีคู่แคนดิเดตอย่าง “น.พ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์” อธิบดีกรมควบคุมโรค และ “พ.ญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ” อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นคู่ชิงดำปลัดคนใหม่ ซึ่งรายหลังนี้เป็นที่ถูกจับตา เพราะเป็นภริยาของ “สมชัย จึงประเสริฐ” คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ปีนี้ “เจริญรัตน์ ชูติกาญจน์” ปลัด กทม.จะเกษียณอายุราชการ โดยผู้ที่เข้าข่ายจะเข้ามานั่ง “ปลัด กทม.คนใหม่” มีที่เข้าเกณฑ์อยู่ 2 คน คือ “นินนาท ชลิตานนท์” รองปลัด กทม.ที่รับผิดชอบงานด้านบริหาร ซึ่งมีอาวุโสลำดับ 1 และเคยเป็นแคนดิเดตชิงตำแหน่งปลัด กทม.มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน ส่วนอีกคนที่ติดอยู่ในโผ คือ “จุมพล สำเภาพล” รองปลัด กทม.ที่รับผิดชอบงานด้านโยธา แต่อาจเป็นรองอยู่บ้าง เพราะเพิ่ง ขึ้นเป็นรองปลัดฯ เมื่อปีกลายที่ผ่านมา

ถือเป็นการ “ผ่าตัดใหญ่” ในฝ่ายข้าราชการที่ประจวบเหมาะกับ “จังหวะเวลา” การเกษียณอายุราชการของ “ระดับปลัดกระทรวง” และ “ข้าราชการระดับสูง” จำนวนมาก ซึ่งครั้งนี้นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบราชการไทย

แม้ว่า “รัฐบาล” จะพยายามนำร่อง! ชูภาพนักบริหารคนรุ่นใหม่เข้ามา ทว่าใน บางกระทรวงได้ถูกแค่นเสียงว่า “สายการเมือง” ส่งเข้าประกวดแทบทั้งสิ้น และยังคั่นด้วย “วาระร้อน” ....ย้ายข้ามห้วย “บิ๊กข้าราชการ” ในหลายกระทรวง แต่ทั้งหมดทั้งปวง ยังมิใช่ “คำตอบสุดท้าย” เพราะจากนี้ไป คงจะมีการ “เขย่า” คนกันอีกครั้งหนึ่งในโผรอบใหม่ ซึ่งเหล่าบิ๊ก เนมในกระทรวงต่างลุ้นระทึก เพราะในฤดู โยกย้ายทุกรอบ ชิวิตข้าราชการต่างหวัง ไกลถึงเป้าหมายสูงสุด...มุ่งคว้าดาวเพียง ดวงเดียวอย่างเก้าอี้ปลัดกระทรวง?!!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทเรียน:พลังเสื้อแดง !!?

ศาลไม่ถอนประกันแกนนำเสื้อแดงเกือบทั้งหมด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เว้นนาย ยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ที่รับกรรมแต่ผู้เดียว ต้องถูกจำขังเพราะสาเหตุ ขึ้นเวทีช่วงวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วดันไปเอาชื่อ-สถานที่-เบอร์โทรศัพท์ของคณะ ตุลาการรัฐธรรมนูญเปิดเผยบนเวทีปราศรัย

เท่ากับเข้าข่าย ข่มขู่ คุกคามและสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายวิถีชีวิตปกติของ ครอบครัวตุลาการคงเป็นที่สะใจของมวลชนเสื้อเหลือง และเสื้อสีฟ้าประชาธิปัตย์ ซึ่งถนัด “สงครามปาก” ที่ไม่ว่าจะพูดทั้งในสภาและนอกสภาอย่างแสบคัน เจ็บกระดองใจ ใครแค่ไหน ก็มักรอดตัวจากการถูกกล่าวหาทุกที

เว้นแต่แกนนำเสื้อเหลืองอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล ที่ดูมีลีลาเก่งกาจและยกเมฆพลิกมุมได้คมคายไม่น้อย แต่บนเวทีตุลาการ สนธิ ก็ถูกลงโทษให้แพ้คดีขั้นจำคุก เป็นระยะๆ

นอกจากต้องระวังภัยอย่างหนัก เพราะเคยถูก “ใบสั่งฆ่า” และรอดมาได้อย่างเหลือเชื่อแล้ว สนธิยังมีชนักในศาลอีกมากที่ไม่เพียงน่ากลัวอย่างคดีก่อการร้าย...แต่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดันไปขยายความของ “ดา ตอร์ปิโด” พูดเรื่องเดียวกัน จนดา ตอร์ปิโด ถูกตัดสินจำคุกไปนานแล้ว

แต่สนธิกลับ “ลอยชาย” ไม่ถูกจำคุกตามเวลาและกรรมเดียวกัน อันทำให้ประชาชนทั่วไปกังขาถึงระบบยุติธรรม 2 มาตรฐาน แน่นอนประชาชนย่อมสงสัยอย่างบริสุทธิ์ใจต่อไปว่า “อำนาจนอกระบบ” มีจริง?

พรรคประชาธิปัตย์นั้นอ่านเกมการเมืองได้ถูกเป้า แต่ดันเป็นเป้า “นอกสภา” ที่พรรคการเมืองไม่ควรเป็นตัวอย่าง “ตามก้น” ม็อบเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นทีนิ่งเฉยไม่ได้อีก จึงตัดสินใจเปิดเวทีปราศรัยใช้วาจาคารมอันคมกริบที่ตัวเองถนัด ควบคู่ไปกับใช้สื่อโทรทัศน์ “บลูสกาย” ขยายผล เดินตามเกมมวลชนคนเสื้อแดงหน้าตาเฉย

ประชาธิปัตย์อาจไม่ยี่หระกับกลยุทธ์ “ลุยนอกสภา” เพราะแม้แต่ในสภา ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ “พาเก้าอี้ประธานหนี กระชากประธานบนบัลลังก์ คลั่ง ปาแฟ้มกลางสภา” ประจานตัวเอง โดยคิดว่า “คุ้ม” กับคุณธรรมจริยธรรมที่บัณฑิตทางการเมืองไม่พึงเป็นแบบอย่าง ก็กล้าแสดงบทถ่อยเถื่อนมาแล้วก็แล้วแต่วิจารณญาณของประชาชนว่า จะไม่ไว้วางใจพฤติกรรมพรรคการเมือง เช่นนี้อีกนานเท่าใด

แต่ภาพม็อบเสื้อแดง ซึ่งยกระดับต่อสู้จน “ก้าวข้าม” พรรคการเมืองไปอย่างมีพลังเข้มแข็งมากยิ่งกว่าพรรคใหญ่อย่างประชาธิปัตย์ กลับอ่อนหัดจนกลายเป็น “จุดตาย” ที่แกนนำเสื้อแดงหลายคน “สอบตก” ด้านวาทกรรมที่ใส่สีแสนทื่อ ก้าวร้าว กร้าวกร่าง และหยาบคายในหลายโอกาส

เนื่องเพราะการก่อตัวของมวลชนเกิดขึ้นโดยขาดกระบวนการคัดกรอง ด้านการพูดในที่สาธารณะในที่สุดการพูด “ร้ายเดียงสา” อย่าง “เจ๋ง ดอกจิก” และอีกหลายคน ก็ถูก “นักการเมืองหัวหมอ” อย่างประชาธิปัตย์หยิบเอาไปเล่นงานทางกฎหมาย กลายเป็น “เหยื่ออันโอชะ” เมื่อผสมกับ “ตุลาการภิวัตน์” ที่บรรเลงเพลงเดียวกับพรรคเก่า...มีหรือที่ “มวลชนอ่อนหัด” จะไม่ถูก “กุดหัว” เข้าคุกทีละหัวสองหัวเพราะการรวมกลุ่มอย่างมีพลังที่สุดของมวลชนคนเสื้อแดง แต่แกนนำก็ยัง “ไม่พัฒนา” บุคลากรหรือคัดคนเป็น “นักพูด” มีฝีปากคมได้ ทั้งๆ ที่มีคนเก่งอยู่ไม่น้อย เรียกว่า “คนเก่งไม่ได้พูด คนพูดดันเก่งพูดเรียกแขก” ไปเสียทุกคราฝ่ายเปลี่ยนเร็วคือประชาธิปัตย์ที่ล้อเกมเสื้อแดง

รวมทั้งแอบตั้งโรงเรียนการเมืองได้ผลทีละคืบทีละพื้นที่โดยฝีมือ สุเทพ เทือกสุบรรณ กำลังปลื้มกับ ผลงานอย่างเงียบๆ
แต่ฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำกลายเป็นมวลชนเสื้อแดง ที่แม้แต่สื่อโทรทัศน์อย่าง “เอเชีย อัพเดท” ก็ชักไม่อัพเดต แถมสื่อ “ความจริงวันนี้” ก็ล้มหายตายไปจากมือผู้อ่านระดับ “พ่อยกแม่ยก” นับหมื่นนานแล้วมวลชนเสื้อแดงจะรู้จักประเมินตัวเองมั่งหรือไม่.. “เจ๋ง ดอกจิก” จะเป็น บทเรียนตัวอย่างแค่ไหน ย่อมแล้วแต่ “สำนึกแห่งพลังมวลชน” ว่าควรจะรักษา ความเข้มแข็งอย่างไร เพื่อประชาธิปไตย หรือเพื่ออะไรกันแน่?

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เอดีบี ชี้ พม่า ยังล้าหลังในอาเซียน หนุนนักลงทุนเร่งพัฒนาสร้างถนน-ไฟฟ้า-ธนาคาร !!?

เอดีบีชี้พม่ายังล้าหลังในอาเซียนต้องปรับก่อนเข้าปีเออีซี หนุนนักลงทุนให้เชื่อมั่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถนน-ไฟฟ้า-การเงินดันการลงทุนจากต่างประเทศ เชื่อหากปฏิรูปได้กลายเป็นประเทศรายได้ปานกลาง เศรษฐกิจขยายตัวโต 7-8% ต่อปี

นางสาวซิน ยัง ปาร์ค ผู้ช่วยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าแผนกเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์และสนับสนุนปฏิบัติการเอดีบี ชี้ปัจจัยเสี่ยงที่พม่าต้องเผชิญในการปฏิรูปเพื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจว่า การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติของรัฐบาลในช่วงเริ่มต้นของการ ปรับเปลี่ยนประเทศเป็นสิ่งสำคัญ และต้องใช้เวลา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในพม่า การรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยการปฏิรูปประเทศในครั้งนี้พม่าต้องทำอย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาได้

"การปฏิรูปในพม่าจะเกิดขึ้น รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับการเร่งพัฒนาของรัฐบาล โดยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 นั้น ทางอาเซียนเองก็มีแผนที่จะพัฒนาร่วมกันอยู่ แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถือว่าพม่ามีความล้าหลัง เพราะฉะนั้นพม่าจะต้องพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประเทศ การออกกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ ถือเป็นการดำเนินมาถูกทางแล้ว แม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการอยู่ก็ตาม" นางสาวปาร์คกล่าว

ด้านสิ่งที่พม่าจะต้องพัฒนาประเทศเพื่อรองรับ การเติบโต คือ การลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งระบบคมนาคม การเงิน และไฟฟ้า ขณะนี้เส้นทางถนนที่มีเพียง 1 ใน 5 ที่อยู่ในระดับมาตรฐาน ส่วนไฟฟ้ามีประชากรพม่าเพียง 1 ใน 4 ที่สามารถเข้าถึง ด้านบริษัทและโรงงานที่เข้าไปลงทุนก็ผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงเพื่อไว้ใช้เอง ซึ่งในย่างกุ้ง เมืองหลวงมีไฟฟ้าใช้ 70%

พร้อมกันนั้น พม่าก็ต้องดำเนินงานในด้านระบบการเงิน ซึ่งถือว่าจำนวนธนาคารยังขาดแคลนในด้านการรองรับการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ซึ่งยังน้อยกว่าจำนวนธนาคารในกัมพูชา จึงถือเป็นเรื่องท้าทายอีกอย่างหนึ่งในพม่าจำเป็นต้องมีการพัฒนา

นาง สาวปาร์กเพิ่มเติมว่า เอดีบีได้คาดการณ์ถึงการเติบโตของจีดีพีพม่า โดยในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 6% และปีหน้าอยู่ที่ 6.3% ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่ 6.2% และปี 2556 อยู่ที่ 6.3% ทั้งนี้ พม่ามีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 1,700-1,800 เหรียญสหรัฐต่อหัว ซึ่งต่ำสุดในบรรดาประเทศอาเซียนด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม นางสาวปาร์คได้กล่าวถึงศักยภาพด้านเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวของพม่า โดยเห็นว่าพม่าสามารถพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากเกษตรกรรมในพม่ามีระบบชลประทานที่ดีรองรับอยู่ ส่วนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของพม่าถือว่าปรับตัวดีขึ้น โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน ซึ่งพม่าจะได้รับผลดีจากการพัฒนาด้านท่องเที่ยว ทั้งการก่อสร้างอาคาร โรงแรม และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าประเทศ

นอกจากนี้ การที่พม่าตั้งอยู่ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและอินเดีย ซึ่งมีการบริโภคคิดเป็น 43% ของโลก หรือประมาณ 32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐนั้น ทำให้พม่าสามารถใช้โอกาสดังกล่าวในการพัฒนาเศรษฐกิจ จากการบริโภคของเพื่อนบ้านที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างประเทศในอาเซียน กับจีนและอินเดีย ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของพม่าในด้านการค้าและคมนาคม

ทั้งนี้ รายงาน "พม่าบนความเปลี่ยนแปลง : โอกาสและความท้าทาย" ของเอดีบี ได้กล่าวถึงโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจอันรุ่งเรืองของพม่า หากสามารถรักษากระบวนการปฏิรูปอย่างเข้มงวด

นายสตีเฟ่น กรอฟฟ์ รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออกระบุว่า หากพม่ารักษากระบวนการปฏิรูปได้ คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโต 7-8% ต่อปี ทำให้พม่ากลายเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง และจะมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า หรือประมาณ 2,000-3,000 ดอลลาร์ ภายในปี 2573 โดยข้อได้เปรียบสำคัญของพม่าคือ ที่ตั้งของประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ และจำนวนแรงงานที่มีมาก เหล่านี้จะส่งผลให้พม่าสามารถที่จะขยายตัวทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ของเอเชียได้

ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เอดีบีได้เปิดสำนักงานและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำการในกรุงย่างกุ้ง เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปประเทศของพม่า ก่อนหน้านี้ เอดีบีได้ยุติการปฏิบัติงานในพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 แม้ว่าพม่าจะเป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง และเข้าร่วมในกิจกรรมระดับภูมิภาคที่เอดีบีให้การสนับสนุนในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

ล่าสุด เอดีบีได้กล่าวถึงเงินกู้คงค้างที่พม่ายังมีต่อจากเอดีบีจำนวน 504 ล้านเหรียญสหรัฐว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่ายังไม่มีการชำระแต่อย่างใด แต่ได้มีการปรึกษาร่วมกับธนาคารโลก เอดีบี และรัฐบาลญี่ปุ่นถึงการชำระเงินคืนเม็ดเงินดังกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการ แล้ว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++