ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) จัดเสวนาในหัวข้อ เรื่อง “การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงตามหลักสากล” โดยได้เปิดเผยรายงานฉบับที่ 2 พร้อมข้อเสนอแนะถึง รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โดยตอนหนึ่งนายสมชาย หอมละออ กรรมการ คอป. เปิดเผยว่า มีผู้ร่วมชุมนุม โดนตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพนักงานสอบสวนถูกกดดันจากผู้บริหารระดับนโยบาย ชี้ชัดตั้งข้อหาก่อการร้ายเกินกว่าเหตุผลการเมืองสั่ง แต่กลับไม่ดำเนินคดีทหารฆ่า
นายสมชาย หอมละออ กรรมการ คอป. ในฐานะประธานอนุกรมการค้นหาข้อเท็จจริง ในงานด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ที่ถูกคุมขังนั้น ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาที่เกินเลยจากความเป็นจริง ซึ่งมีมากถึง 53 คน ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย และวางเพลิง ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษถึงประหารชีวิต
ทั้งนี้จากการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน คือตำรวจ-DSI และพนักงานอัยการพบว่า การตั้งข้อหาดังกล่าวนั้นเกิดจากแรงกดดันของผู้บริหารระดับนโยบาย อีกทั้งการจับกุมและตั้งข้อกล่าวหายังเป็นในลักษณะของการเหวี่ยงแห ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ทั้งนี้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการยังไม่สามารถพิสูจน์พยานหลักฐาน
“จากการตรวจสอบพบว่ามูลเหตุสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงดำรงอยู่ คือ ความรู้สึกของผู้ที่ชุมนุมที่เห็นว่าตนเองตกเป็นเหยื่อของการกระทำ และกระบวนการยุติธรรมเพียงฝ่ายเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เชื่อว่ามีส่วนกระทำความผิดทางอาญาไม่มากก็น้อย ยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม” นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้ คอป.จัดเวทีเสวนาในวันนี้เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคนักวิชาการ ผู้แทนองค์กรด้านการต่างประเทศ เรื่อง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความนรุนแรงตามหลักสากล ก่อนนำข้อมูลไปจัดทำรายงาน คอป.ฉบับที่ 2 นำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
เผยยังโดนขังคุก105คน เครียดสูง10%มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย2
นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการการเยียวยา ฟื้นฟู และ ป้องกันความรุนแรง คอป. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจผู้ที่เป็นเหยื่อของเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง รวมถึงประชาชนและเจ้าหน้าที่ พบว่าส่วนใหญ่ยังมีความเครียดสูง อีกทั้งยังไม่ได้รับการเยียวยา และการชดเชย
สำหรับผู้ที่ร่วมชุมนุมและเกี่ยวข้อง ที่ถูกคุมขัง จำนวน 105 คน นั้น จากการเข้าไปสำรวจ ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 54 พบว่า ร้อยละ 10 มีอาการเครียดสูงมาก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมี 2 คนที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย
นพ.รณชัย กล่าวต่อว่าจากผลสำรวจดังกล่าว ทางอนุกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะเบื้องต้นไปยังรัฐบาล จำนวน 8 ข้อ ได้แก่
1. เร่งเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจเหยื่อการชุมนุมให้มีความเข้มแข็งในใช้ชีวิต
2. รัฐบาลต้องเร่งรัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจ เป็นศูนย์กลางด้านงบประมาณพื่อเยียวยาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพราะจากการสำรวจพบว่าครอบครัวผู้ที่ถูกคุมขัง ต้องไปกู้เงินนอกระบบจำนวนมากเพื่อนำมาประกันตัว
3.รัฐบาลควรประเมินตัวเลขความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รวมถึงครอบครัว
4.รัฐบาลควรขยายขอบเขตการเยียวยา ฟื้นฟู ไปยังสังคมด้านอื่นๆ เช่น แหล่งที่อยู่ , แหล่งการค้า
5. ต้องจัดทำข้อเท็จจริง เผยแพร่ไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ให้อภัย เกิดความเห็นใจ รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณให้กับทุกฝ่าย
6. เร่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขัง ตามแนวทางของกฎหมาย เพราะบางรายมีภาวะของความเครียด ซึมเศร้า และมีแนวโน้มฆ่าตัวตาย
7. รัฐบาลต้องเร่งรัดการประกันสิทธิ์ ผู้ที่ถูกคุมขัง รวมถึงตรวจสอบ จำแนกโทษที่แท้จริง
8. ควรประสานความร่วมมือไปยังองค์กร หน่วยงานและทุกภาคส่วน และร่วมกับบูรณาการการทำงานภายใต้องค์กรกลางที่ดูแลข้อพิพาททางการเมือง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพี่อให้การทำงานเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
ที่มา.บางกอกทูเดย์
----------------------------------------------------------------------
โดยตอนหนึ่งนายสมชาย หอมละออ กรรมการ คอป. เปิดเผยว่า มีผู้ร่วมชุมนุม โดนตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพนักงานสอบสวนถูกกดดันจากผู้บริหารระดับนโยบาย ชี้ชัดตั้งข้อหาก่อการร้ายเกินกว่าเหตุผลการเมืองสั่ง แต่กลับไม่ดำเนินคดีทหารฆ่า
นายสมชาย หอมละออ กรรมการ คอป. ในฐานะประธานอนุกรมการค้นหาข้อเท็จจริง ในงานด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ที่ถูกคุมขังนั้น ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาที่เกินเลยจากความเป็นจริง ซึ่งมีมากถึง 53 คน ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย และวางเพลิง ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษถึงประหารชีวิต
ทั้งนี้จากการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน คือตำรวจ-DSI และพนักงานอัยการพบว่า การตั้งข้อหาดังกล่าวนั้นเกิดจากแรงกดดันของผู้บริหารระดับนโยบาย อีกทั้งการจับกุมและตั้งข้อกล่าวหายังเป็นในลักษณะของการเหวี่ยงแห ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ทั้งนี้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการยังไม่สามารถพิสูจน์พยานหลักฐาน
“จากการตรวจสอบพบว่ามูลเหตุสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงดำรงอยู่ คือ ความรู้สึกของผู้ที่ชุมนุมที่เห็นว่าตนเองตกเป็นเหยื่อของการกระทำ และกระบวนการยุติธรรมเพียงฝ่ายเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เชื่อว่ามีส่วนกระทำความผิดทางอาญาไม่มากก็น้อย ยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม” นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้ คอป.จัดเวทีเสวนาในวันนี้เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคนักวิชาการ ผู้แทนองค์กรด้านการต่างประเทศ เรื่อง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความนรุนแรงตามหลักสากล ก่อนนำข้อมูลไปจัดทำรายงาน คอป.ฉบับที่ 2 นำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
เผยยังโดนขังคุก105คน เครียดสูง10%มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย2
นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการการเยียวยา ฟื้นฟู และ ป้องกันความรุนแรง คอป. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจผู้ที่เป็นเหยื่อของเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง รวมถึงประชาชนและเจ้าหน้าที่ พบว่าส่วนใหญ่ยังมีความเครียดสูง อีกทั้งยังไม่ได้รับการเยียวยา และการชดเชย
สำหรับผู้ที่ร่วมชุมนุมและเกี่ยวข้อง ที่ถูกคุมขัง จำนวน 105 คน นั้น จากการเข้าไปสำรวจ ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 54 พบว่า ร้อยละ 10 มีอาการเครียดสูงมาก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมี 2 คนที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย
นพ.รณชัย กล่าวต่อว่าจากผลสำรวจดังกล่าว ทางอนุกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะเบื้องต้นไปยังรัฐบาล จำนวน 8 ข้อ ได้แก่
1. เร่งเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจเหยื่อการชุมนุมให้มีความเข้มแข็งในใช้ชีวิต
2. รัฐบาลต้องเร่งรัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจ เป็นศูนย์กลางด้านงบประมาณพื่อเยียวยาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพราะจากการสำรวจพบว่าครอบครัวผู้ที่ถูกคุมขัง ต้องไปกู้เงินนอกระบบจำนวนมากเพื่อนำมาประกันตัว
3.รัฐบาลควรประเมินตัวเลขความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รวมถึงครอบครัว
4.รัฐบาลควรขยายขอบเขตการเยียวยา ฟื้นฟู ไปยังสังคมด้านอื่นๆ เช่น แหล่งที่อยู่ , แหล่งการค้า
5. ต้องจัดทำข้อเท็จจริง เผยแพร่ไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ให้อภัย เกิดความเห็นใจ รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณให้กับทุกฝ่าย
6. เร่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขัง ตามแนวทางของกฎหมาย เพราะบางรายมีภาวะของความเครียด ซึมเศร้า และมีแนวโน้มฆ่าตัวตาย
7. รัฐบาลต้องเร่งรัดการประกันสิทธิ์ ผู้ที่ถูกคุมขัง รวมถึงตรวจสอบ จำแนกโทษที่แท้จริง
8. ควรประสานความร่วมมือไปยังองค์กร หน่วยงานและทุกภาคส่วน และร่วมกับบูรณาการการทำงานภายใต้องค์กรกลางที่ดูแลข้อพิพาททางการเมือง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพี่อให้การทำงานเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
ที่มา.บางกอกทูเดย์
----------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น