--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศาลรับคำร้องค้านแก้ รธน.เพื่อไทย เมินลุยประชุมสภา จ่อหั่นจำนำข้าว เท่าตลาดโลก !!?

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมาก5ต่อ4รับคำร้อง"พธม.-ปชป."สั่งระงับแก้ไข รธน.ขัดมาตรา 68 ให้ผู้ถูกร้องยื่นแจงข้อกล่าวหาภายใน15วัน "เพื่อไทย"เมินศาล รธน.รับคำร้อง ยันเปิดประชุมสภา ส.ค.นี้ เดินหน้าแก้ รธน. "กกต."มีมติสั่งดำเนินคดีอาญา"อุกฤษณ์"ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล ฐานใช้เคเบิ้ลทีวีหาเสียง โดยไม่สั่งเลือกตั้งใหม่ "ปชป."ปูดมีคลิ๊บ"เสริมศักดิ์"เดินสายชี้แจงประชาชนเขตดอนเมืองเรื่องแจกแท็บเล็ตให้นักเรียน ส่อขัด พรบ.เลือกตั้ง เตรียมส่งหลักฐานให้ กกต.สอบ "นิด้าโพล"เผยประชาชน 92.95 % จี้เปิดข้อมูลรับจำนำข้าว เชื่อขาดทุน 2.6 แสนล้านจริง "กลุ่มคนไทยรักชาติ"บุก"ยูเอ็น"ยื่น 5 ล้านรายชื่อต้านศาลโลกพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร สั่งระดมพลสนามหลวงเพื่อยกระดับการชุมนุม 16 มิ.ย. พร้อมยื่นสำนักพระราชวังขอพึ่งบารมี 17 มิ.ย.นี้ ขณะที่"โต้ง"บอกอาจปรับราคาจำนำข้าวตามตลาดโลก ด้านประชุม"กขช."ยังไร้ข้อสรุป ประชุมอีกครั้ง 17 มิ.ย.นี้

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงสื่อมวลชนถึงผลการประชุมในวันนี้ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญมติเสียงข้างมาก5ต่อ4รับคำร้องของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม มาตรา 68 มาตรา237 ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ เนื่องจากเห็นว่ากรณีดังกล่าวต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง จึงมีมติรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยหลังจากนี้ให้ผู้ร้องทำสำเนาคำร้องส่งต่อศาลจำนวน 312 ชุด เพื่อส่งให้ผู้ถูกร้องและให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากไม่ยื่นภายในกำหนด ถือว่าไม่ติดใจ ส่วนคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ายังไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการชั่วคราว จึงให้ยกคำขอ
   
ที่พรรคเพื่อไทย นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตราว่าด้วยที่มาและการดำรงตำแหน่งของ ส.ว. กล่าวภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากรับคำร้อง นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเดินหน้าต่อไปตามปกติ การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็เหมือนกับคำร้องคัดค้านอื่นๆ ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ยืนยันว่า 312 ส.ส.และ ส.ว.ที่ออกเสียงสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะไม่ส่งคำชี้แจงใดๆ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ และจะเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ส.ค.นี้ เพื่อเดินหน้าพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 และ 3 ต่อไป
   
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่า ในการประชุม กกต. เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ได้มีการพิจารณาเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จ.ชลบุรี เขตเลือกตั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันที่ 6 ม.ค.56 กรณีกล่าวหาว่า นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ ส.ส. จ.ชลบุรี เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคพลังชล กระทำการโฆษณาหาเสียงด้วยวิธีใช้สื่อโฆษณาหาเสียงผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบเคเบิ้ลทีวี ของบริษัทเคเบิ้ลทีวี (ชลบุรี) จำกัด จึงเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เลือกตั้งส.ส. และส.ว. มาตรา 59 ประกอบ 60 และมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้ผู้สมัคร ส.ส.หาเสียงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์เอง ถ้าจะกระทำต้องเป็นกรณีที่ได้รับการจัดสรรจาก กกต.ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ จากเหตุดังกล่าวกกต.จึงมีมติสั่งดำเนินคดีอาญากับนายอุกฤษณ์ และบริษัทเคเบิ้ลทีวี โดยมิได้มีการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสั่งเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดโทษในกรณีดังกล่าวไว้
   
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงความเคลื่อนไหวโค้งสุดท้าย ในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพฯ เขต 12 เขตดอนเมือง ว่า ขณะนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่ามีการกระทำที่ส่อขัดต่อพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ในพื้นที่ดังกล่าว โดยมี 2 กรณีสำคัญ คือ กรณีที่ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ลงพื้นที่พบปะคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสีกันวัฒนานันท์อุปถัมภ์ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งมีผู้บันทึกเป็นคลิปวิดีโอเอาไว้ โดยในคลิปมีการพูดจาถึงนโยบายรัฐบาลในการแจกแทบเล็ตให้กับนักเรียน โดยทางพรรคประชาธิปัตย์ตั้งข้อสังเกต ว่า ขณะนี้เหลืออีกไม่กี่วัน ที่จะมีการเลือกตั้งแล้ว นายเสริมศักดิ์ มีเจตนาอย่างไรในลงพื้นที่ในเขตเลือกตั้ง เพื่อจะชี้แจงนโยบายดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือผู้สมัครคนใดคนหนึ่งหรือไม่ ซึ่งถือเป็นการเข้าข่ายว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบและเข้าข่ายว่าสัญญาว่าจะให้ตาม พ.ร.บ. มาตรา 53 (1)
   
ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง"โครงการรับจำนำข้าว กับการขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 มิ.ย.56 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.95 เห็นว่า รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าว ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า รัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาทนั้น พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.71 เชื่อว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทจริง
   
ที่สำนักงานสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ประจำประเทศไทย ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมคนไทยรักชาติ รักแผ่นดิน ประมาณ 50 คน นำโดย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำแนวร่วมคนไทยรักชาติ รักแผ่นดิน ได้เดินทางมายื่นรายชื่อประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ไข กรณีพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ในประเด็นประสาทพระวิหาร ด้วยการปฏิเสธอำนาจศาลโลก เป็นจำนวนกว่า 5ล้านรายชื่อ ต่อเลขาธิการสหประชาชาติ ตุลาการศาลโลก และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ดำเนินการตามหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและเพื่อให้จำหน่ายคดีออกจากศาลโดลก โดยไม่ต้องมีคำพิพากษา
   
จากนั้น นายไชยวัฒน์ ให้สัมภาษณ์ว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้จะไม่ใช่การยื่นครั้งสุดท้าย และขอให้คนไทยทีรักชาติรักแผ่นดินมารวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เวลา 18.00น. โดยเราจะขอยกระดับการเคลื่อนไหวการชุมนุม จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจต่อเรื่อง กรณีไทย-กัมพูชา ออกมารวมกันชุมนุมเพื่อเรียกร้องความถูกต้อง และจากนั้นจากในวันที่ 17 มิ.ย. เวลา 10.30น. เราจะไปที่สำนักพระราชวัง โดยจะนำรายชื่อดังกล่าว กว่า 5ล้านชื่อ ยื่นต่อองค์พระประมุข ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขขอคนไทย เพื่อขอพึ่งพระบารมี
   
วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการรับจำนำข้าว หลังจากที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร กำลังจะรายงานตัวเลขการขาดทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. โดยในส่วนของราคาจำนำอาจปรับลดลงจากตันละ 15,000 บาท ก็ได้ เพราะสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกในขณะนี้ ได้ปรับลดลง เปลี่ยนไปจากเมื่อครั้งที่ประกาศนโยบายในครั้งแรก ซึ่งในการบริหารเศรษฐกิจนั้น การปรับเปลี่ยนนโยบายสามารถเป็นไปได้ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ เหมือนเช่นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่รัฐบาลยืนยันจะพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะมีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ ส่วนจะมีการปรับลดราคาในการประชุม กขช. หรือไม่ ก็มีโอกาสความเป็นไปได้
   
ด้าน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. เปิดเผยภายหลังการประชุม กขช.ว่า ที่ประชุมมีมติรับทราบตามเอกสารที่ชี้แจง แต่ยังมีบางประเด็นที่ยังเห็นแตกต่างกัน จึงมีมติให้คณะกรรมการนำเอกสารกลับไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และให้นำกลับมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ เวลา 14.00 น.

ที่มา.สยามรัฐ
//////////////////////////////////////////////////

ข้อเขียนชิ้นสุดท้าย !!??

โดย.ประชา บูรพาวิถี

9 ปีที่แล้ว "เอกยุทธ อัญชันบุตร" เปิดตัวอย่างครึกโครม ด้วยบทบาท "นักเปิดโปง" และท้ารบ "นายกรัฐมนตรีประชานิยม"

แต่วันนี้ เขาจากไปแล้ว คงเหลือไว้เพียง "เรื่องเล่า" อันหลากหลาย

การเคลื่อนไหวของ "เอกยุทธ" ในห้วงเวลาปัจจุบันที่เรียกว่า "บ่มเพาะสถานการณ์" เขาไม่พลาดที่จะแสดงความคิดเห็นในหน้าเพจเมื่อ 26 พฤษภาคม 2556

"ใจ-ทุนพร้อม..รอเวลา รวมตัวไล่การเมืองระยำ ขอฝ่ายต้านลดแตกต่าง ทำกันไม่กี่คนชนะยาก"

เอกยุทธตระหนักดีว่า วันนี้ฝ่ายต้านทักษิณไม่เป็นเอกภาพ คิดแตกต่างกันเยอะ จึงเห็นแต่ขบวนการของ "ไชยวัฒน์-บรรณวิทย์" ขับเคลื่อนลงสู่ทุ่งพระเมรุอย่างเดียวดาย

ขณะเดียวกัน ข้อเขียนชิ้นสุดท้ายของเอกยุทธ ที่ใช้นามปากกาว่า "ไต่กอ" ในคอลัมน์ "ซุบซิบอินไซเดอร์" ทางเว็บไทยอินไซเดอร์ ได้ประเมินสถานการณ์ "สงครามชิงอำนาจ" ครั้งใหม่ว่า

"เริ่มเห็น "ปฏิบัติการหน้ากากขาว" V for Thailand ที่เวลานี้ ลามไปทั่วทุกจังหวัดแล้ว...และนี่คือ สัญญาณบ่งบอกว่า...จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้แล้ว...เพราะกลุ่มเป้าหมายต่างกัน...จึงจำต้องอาศัยพวกจูงจมูกง่าย มาชนกับ พวกมีความคิด จะเห็นว่า ปฏิบัติการหน้ากากขาวนี้...ที่นัดหมายกันแล้วจุดติดอย่างรวดเร็วนั้น...ล้วนเกิดจาก โลกสังคมออนไลน์ ที่คนมีความคิด-คนมีความรู้-คนรู้ผิด-คนรู้ชั่ว ต่างนัดรวมตัวกันโดยนัดหมาย...

"จากเดิมที่ "พรรคเก่าแก่" เล่นบทนวดทุกวันเสาร์ในเวที "ผ่าความจริง" ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งเวลานี้ก็ปาเข้าไป 50 กว่าจังหวัดแล้ว...พอมาเจอปฏิบัติการหน้ากากขาว เล่นบทนวดทุกวันอาทิตย์...ที่ลามกันไปหลายจังหวัด ตามสถานที่ต่างๆ ก็เป็นการบ่งบอกได้ดีว่า "การทวงคืนความยุติธรรม" กำลังกลับคืนมา เพื่อมิให้คนตระกูลหนึ่งกินรวบประเทศไทยอีกต่อไป"

เอกยุทธในนาม "ไต่กอ" เชื่อมั่นในปรากฏการณ์หน้ากากขาว และด้วยความสัมพันธ์อยู่กับฟากฝ่ายเดิม เขาจึงฟันธงว่า

"งานนี้ "ผู้คุมเกมฝั่งอำมาตย์แท้" แอบกระซิบ "ไต่กอ" ว่า ศึกรอบนี้วัดกันที่ "ใครอึดกว่ากัน"...ถ้าอยากอยู่นานๆ ก็อยู่ไป...แต่ถ้าคิดว่า จะชิงความได้เปรียบจากเรื่องเงิน ก็คอยดูกัน...ว่าผลลัพธ์ จะเป็นอย่างไร??? "ไต่กอ" ได้ฟังเช่นนี้...บอกได้คำเดียวว่า "ผู้คุมเกมฝ่ายไหน" อึดกว่ากัน...มีความได้เปรียบสูง"

จากข้อเขียนชิ้นสุดท้ายข้างต้น สะท้อนว่า เอกยุทธจุดยืนไม่เปลี่ยน ยังดำรงเป้าหมาย "โค่นล้มระบอบทักษิณ"
9 ปีที่แล้ว เอกยุทธกับคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งเดินเกม "น็อกเอาต์ทักษิณ" อันเป็นจุดเริ่มของการเคลื่อนไหวต้านระบอบทักษิณครั้งใหญ่ในปี 2548-2549

ฝ่ายต่อต้านฉวยจังหวะ "ทักษิณ" นายกฯสมัยนั้นไปปฏิบัติภารกิจเยือนประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 22-25 กันยายน 2547 โดยคณะผู้ก่อการจัดประชุมขยายวง โดยมีตัวแทนองค์กรประชาธิปไตย, สหภาพรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมด้วยภายในโรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2547

ตามแผนการที่กำหนดไว้ 02.00 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 24 กันยายน ด้วยกำลังพนักงานรัฐวิสาหกิจจากต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ นับหมื่น จะออกมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ก่อนเคลื่อนขบวนสู่ทำเนียบรัฐบาล

สุดท้ายแผนการชุมนุมก็ไม่บรรลุตามเป้าประสงค์ เพราะองค์กรประชาธิปไตย และสหภาพรัฐวิสาหกิจ ไม่พร้อมที่จะเคลื่อนกำลัง ด้วยประเมินสถานการณ์ว่า ยังไม่ถึงขั้นสุกงอม

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2547 เวทีการชุมนุมมวลชน จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างรีบเร่ง ณ บริเวณทิศเหนือของสนามหลวง บนฉากหลังของเวทีอภิปรายมีป้ายผ้าคำขวัญ "ประชาชนเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และสมบัติชาติ"

ท่ามกลางผู้ชุมนุมพันกว่าคน ไม่ใช่หลักหมื่นดังที่หวัง คณะผู้ก่อการได้เผยโฉมบนเวทีในนาม "คณะประชาชนเพื่อชาติ และราชบัลลังก์"

เป้าหมายหรือ "ธง" ที่คณะผู้ก่อการชักขึ้นสู่เวทีทุ่งพระเมรุ คือการกดดันให้นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง และขอพระราชทานรัฐบาลแห่งชาติ

กล่าวอย่างที่สุด "ม็อบสนามหลวง 2547" เป็นกลุ่มพลังที่มาก่อนกาล และเป็นอีกบทเรียนหนึ่งของ "เอกยุทธ" คือนัดแล้วไม่มา?

"ม็อบสนามหลวง 2556" จะตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับ "ม็อบสนามหลวง 2547" หรือไม่? แต่เอกยุทธทิ้งท้ายก่อนตายว่า ศึกนี้วัดกันที่ใครอึดกว่ากัน?

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จำนำข้าว...ต้องทบทวนกันใหม่ !!?

สังคมพยายามกดดันให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลว่าโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดนั้น  รัฐ(ซึ่งก็คือประชาชน)ขาดทุนไปแล้วจำนวนเท่าใด  มีข้าวเก็บสต๊อกไว้เท่าใด  รัฐสามารถขายข้าวได้เท่าใด
   
ชาวนาที่ยากจนได้รับประโยชน์จากโครงการจำนำเท่าใด เงินจำนวน 3 แสนล้านบาท ที่นำมาใช้ในโครงการจำนำข้าวตกไปอยู่ในมือใครบ้าง โครงการจำนำข้าวมีการรั่วไหลอย่างไรบ้าง และประเทศสูญเสียอะไรจากโครงการจำนำ
   
ประการแรก ในบรรดาชาวนาที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการจำนำข้าว มีหลักฐานชัดเจนว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับชาวนาที่มีฐานะร่ำรวย และฐานะปานกลาง ชาวนารายเล็กที่ยากจนซึ่งเป็นชาวนาส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากโครงการน้อยมาก ชาวนายากจนที่ปลูกข้าวนาปี เพื่อเก็บข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน หรือไม่มีผลผลิตเหลือขาย จะไม่ได้ประโยชน์แม้แต่บาทเดียวจากโครงการรับจำนำ ชาวนาที่ต้องซื้อข้าวกินมี 7.4 แสนครัวเรือน และชาวนาที่ปลูกข้าวไว้กินในบ้านมีจำนวน 1.3 ล้านครัวเรือน ฉะนั้นชาวนาที่ยากจนจึงมิได้ประโยชน์ใดๆจากการจำนำ ยกเว้นว่าต้องซื้อข้าวบริโภคในราคาแพงขึ้น
   
เรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดคือ ชาวนาส่วนใหญ่เป็นคนจน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงว่า ในบรรดาครัวเรือนคนไทยทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนสูงสุด 40% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด ปรากฎว่าเป็นครัวเรือนชาวนาจำนวน 1.185 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนเหล่านี้ได้ประโยชน์จากการจำนำมากที่สุด เพราะมีผลผลิตข้าวเหลือขายให้รัฐบาลมากที่สุดถึงร้อยละ 52 ของผลผลิตที่ชาวนาทั่วประเทศนำออกขายในตลาด ดังนั้นโครงการรับจำนำจึงเป็นการนำเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนทุกคน (รวมทั้งคนจน) ไปแจกจ่ายให้เกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวยและฐานะปานกลาง นโยบายแบบนี้เป็นการเพิ่มความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้ ซึ่งสวนทางกับวัตถุประสงค์ของรัฐบาล
   
ประการที่สอง โครงการจำนำข้าวต้องใช้เงินภาษีประชาชนในการแทรกแซงตลาดข้าวเป็นจำนวนมาก นอกจากเงินกู้ที่ใช้ซื้อข้าวแพงกว่าราคาตลาดจำนวนกว่า 3 แสนล้านบาทในปี 2554/55 แล้ว รัฐบาลยังต้องใช้เงินเป็นจำนวน 20,644 ล้านบาท ในการจ้างโรงสีเพื่อสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร จ่ายค่าเช่าโกดังและค่ารักษาสภาพข้าว จ้าง surveyors เพื่อตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าว ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ปีละ 5,516 ล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงานตามนโยบายรวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่าอีก 5,946 ล้านบาท และการที่ข้าวเสื่อมคุณภาพอีกปีละ 5,532 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ยังไม่นับรวมผลขาดทุนจากการขายข้าว    โครงการจำนำข้าวจึงก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล
   
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาจากเงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ทำไมเราจึงไม่เอาเงินส่วนต่างราคาข้าว 72,246 ล้านบาท จ่ายให้ชาวนาทั่วประเทศจำนวน 4 ล้านครัวเรือน โดยให้ธกส.โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรเท่าๆกันทุกคน ทำไมต้องควักเงินภาษีจากทุกคนอีก 40,275-63,535 ล้านบาท ไปแจกจ่ายให้บรรดาโรงสี เจ้าของโกดังและเซอร์เวย์เยอร์ที่เป็นคนมีฐานะดี
   
ประการที่สาม โครงการจำนำข้าวก่อให้เกิดการรั่วไหลและความสูญเปล่าจำนวนมหาศาล
   
ขอเน้นย้ำอีกทีว่า  ไม่มีใครต่อต้านการช่วยเหลือชาวนา  ที่ผู้คนเขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคือโครงการรูปธรรมที่ รับจำนำข้าวทุกเมล็ดŽ อย่างไม่จำแนก , ชาวนากลางชาวนารวยได้ประโยชน์  แต่ชาวนารายย่อยไม่ได้รับประโยชน์  , การทำงานอย่างคอร์รัปชั่น , การนำข้าวจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์ , การงุบงิบขายข้าวให้กับพรรคพวก  ฯลฯ
   
ความเรียกร้องต้องการของชาวนารายย่อยนั้น  สะท้อนชัดเจนโดยนายประสิทธิ์ บุญเฉย  นายกสมาคมชาวนาไทย  ซึ่งสรุปว่า  ชาวนาพอใจราคารับจำนำข้าวตันละหนึ่งหมื่นบาท  , ให้รับจำนำข้าวรายละไม่เกิน 25 ตัน  และ จ่ายเงินให้ชาวนาเร็วขึ้น   เท่านี้เองก็จะแก้ปัญหาให้ชาวนาได้ในชั้นต้น
   
และอย่าไปถล่มวิพากย์พวกรัฐมนตรีกันเลย   นั่นระดับลิ่วล้อเท่านั้น
   
และถ้าหากมูดี้ส์ลดระดับเครดิตของเศรษฐกิจไทยจริง ๆ   ก็อย่ามัวเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกันอีก

ที่มา.สยามรัฐ
////////////////////////////////////////////

ก้าวใหม่ ของ ลาว !!?

ในอนาคตความต้องการพลังงานจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ว่ากันว่าภายใน 15 ปีข้างหน้าความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 3 เท่าตัว หรือ 300%

การแสวงหาพลังงานทางเลือกใหม่ๆ จึงเป็นความหวังของมนุษยชาติ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว คือหนึ่งในประเทศความหวัง เนื่อง จากมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ในขณะที่ความต้องการพลังงานในประเทศค่อนข้างน้อย เพราะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน

พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศลาวจึงเป็นการผลิตเพื่อป้อนให้กับประเทศเพื่อน บ้านเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย การเข้าไปตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟในลาวจึงเกิดขึ้น ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม น้ำงึม 1 และน้ำงึม 2 คือที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำเป็นพลังงาน หรือโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

สำรวจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเขื่อนน้ำงึม 2 ของ บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด หรือ SEAN ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาว ปัจจุบันการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 615 เมกะวัตต์ ทำ สัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี

ที่น่าสนใจคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้สร้างเสร็จก่อนกำหนดถึง 3 เดือน สร้างความพอใจ ให้กับรัฐบาลลาวอย่างมาก ถึงขนาดเซ็นสัญญาให้สัมปทานเพิ่มอีก 2 โครงการคือโรงไฟฟ้าน้ำบาก ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และโรงไฟฟ้าไชยะบุรี แขวงไชยะบุรี ทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

สาเหตุที่กลุ่ม SEAN สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้เสร็จก่อนกำหนด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทนี้เปรียบเสมือนบริษัทในเครือ ช.การช่าง บริษัทรับเหมารายใหญ่ของ ไทย เพราะบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ช.การช่าง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN

CKP ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เข้าไปถือหุ้นในบริษัท พลังงานต่างๆ ซึ่ง SEAN เป็นหนึ่งในบริษัทที่ CKP เข้าไปถือหุ้นใหญ่จำนวน 56% และ SEAN ถือหุ้นในโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 จำนวน 75% อีก 25% ถือ โดยรัฐบาลลาว เท่ากับว่าโรงไฟฟ้า น้ำงึม 2 อยู่ภายใต้ การบริหารจัด การของ SEAN หรืออยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ CKP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั่นเอง

โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 จะสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานให้กับไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในช่วงที่ประเทศ พม่าปิดซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติ ไม่สามารถส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระไฟฟ้าให้กับไทยช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน ก็ได้กระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม 2 ช่วยกู้วิกฤติ

นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 แล้ว รัฐบาลลาวซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ได้เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงอีก 11 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการปากแบ่ง กำลังการผลิต 1,230 เมกะวัตต์ 2.โครงการหลวง พระบาง กำลังการผลิต 1,410 เมกะวัตต์ 3.โครงการไชยะบุรี กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ 4.โครงการปากลาย กำลังการผลิต 1,320 เมกะวัตต์ 5.โครงการสานาคาม กำลัง การผลิต 570 เมกะวัตต์ 6.โครงการปากชม กำลังการผลิต 1,079 เมกะวัตต์ 7.โครงการ บ้านกุ่ม กำลังการผลิต 2,000 เมกะวัตต์ 8.โครงการลาดเสือ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ 9.โครงการดอนสะหง กำลังการผลิต 360 เมกะวัตต์ 10.โครงการสะตึงเตร็ง กำลังการผลิต 980 เมกะวัตต์ 11.โครงการซัมบอร์ กำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 11,494 เมกะวัตต์

ทั้ง 11 โครงการเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า จากน้ำหรือไฮโดรเพาเวอร์ โดยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาปั่นกระแสไฟ ปัจจุบันมี 1 โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คือ โครงการไชยะบุรี โดยกลุ่ม SEAN นั่น เอง ส่วนโครงการที่เหลืออีก 10 โครงการ รัฐบาลลาวจะพิจารณาให้สัมปทานก็ต่อเมื่อ โครงการไชยะบุรีสร้างแล้วเสร็จ หากการพัฒนาโครงการทั้ง 11 แห่งเดินหน้าได้ตาม แผน จะทำให้สปป.ลาวกลายเป็นแบตเตอรี่ แห่งเอเชียอย่างสมบูรณ์แบบ

หันกลับมามองบริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAN ก็กำลังระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่ง ดร.สุภามาศ ตรีวิศว-เวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKP กล่าวว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชน (IPO) จำนวน 20 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 5 บาทภายในเดือนนี้

"ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวที่แน่นอนกับ กฟผ. และ กฟภ. ส่งผลให้มีรายได้แน่นอนและสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทมีการเติบโตในอนาคตที่ดี"

ไม่ใช่เฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำเท่านั้น แต่ CKP ยังทำธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในเมือง ไทยอีก 5 แห่ง นับเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจ ผลิตไฟฟ้าของอาเซียน

เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของอาเซียนอย่างแท้จริง!!

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////

พัฒนาการทางความคิด ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน !!?

เขตแดนธรรมชาติทางเศรษฐกิจ หรือ NET ที่ว่านี้ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว อย่างน้อยก็มีรูปแบบทำกันอยู่ในประเทศสมาชิกของอาเซียน ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมความเติบโต" (Growth Triangles) สี่รูปแบบที่เชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียน ห้าประเทศที่ตั้งอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ด้วยกัน สามเหลี่ยมความเติบโตที่ว่านี้ คือ

1) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ (The Indonesia-Malaysia-Singapore Growth Triangle) ใช้อักษรย่อว่า IMS-GT หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งใช้แทนว่า SIJORI

เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-สิงคโปร์นี้ เป็นข้อตกลงทางการเมืองของสามประเทศที่ทำ กันอย่างเป็นทางการในระดับรัฐบาล ที่เรียกอีกชื่อย่อหนึ่งว่า SIJORI นั้น ก็เพราะจะเห็นว่าเขตเศรษฐกิจที่ว่านี้ คือสิงคโปร์นั้น เชื่อมอยู่ยาวนานมาตลอดกับเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของรัฐยะโฮร์ของมาเลเซีย และกับหมู่เกาะรีเยา ของอินโดนีเซีย

สิงคโปร์มีเงินทุน มีเทคโนโลยี และมีทักษะในการประกอบการ ส่วนหมู่เกาะยะโฮร์นั้นก็มีที่ดิน มีแรงงาน มีน้ำ โดยเฉพาะที่เกาะบาดัน สิงคโปร์ เป็นศูนย์ของเศรษฐกิจในเขตดินแดนด้านในของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางแถบนี้ ซึ่งไม่ได้เชื่อมกับเขตเศรษฐกิจขอบนอก จึงทำให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเศรษฐกิจที่ครอบงำเศรษฐกิจในเขตภูมิศาสตร์แถบนี้โดยปริยาย

แม้ว่า รูปแบบเศรษฐกิจของ IMS-GT จะถูกจำกัดด้วยกรอบทางภูมิศาสตร์ (คือมีเพียงรัฐยะโฮ รีเยา กับ สิงคโปร์ เท่านั้น) แต่การเมืองของท้องถิ่นก็เรียกร้องต้องการ ให้ขยายตัวให้มากขึ้นไปอีก ในบันทึกความเข้าใจแต่เดิมที่ทำกันในปี ค.ศ.1994 (2537) นั้น ก็รวมเอาสุมาตราตะวันตกเข้ามาด้วย ทำให้ IMS-GT มีรูปแบบทางการเมืองขึ้นมา

ในปี ค.ศ.1996 (2539) มาเลเซีย มาละกา เนกรีเซม บีลัน และรัฐปะหัง ก็ถูกรวมเข้ามาในเขตนี้อีก และอีกหนึ่ง ปีต่อมา คือในปี ค.ศ.1997 (2540) (ขอให้สังเกตด้วยว่า เป็นปีเดียวกันกับที่เกิดเหตุวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นจากประเทศ ไทย) รัฐต่างๆ ในอินโดนีเซียมีถึง 5 แห่งด้วยกัน ที่จะเข้ามาร่วมด้วย คือ จัมบี เบงกูรู สุมาตราใต้ ลัมปุง และ กาลิมัน ตันตะวันตก

รูปแบบความเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่าโดยทางเศรษฐกิจแล้ว IMS-GT ก็ยังคงเป็น SIJORI ในรูปแบบที่เป็นกรอบการ เมืองเท่านั้นเอง คือไม่เพียงแต่ยอมรับว่า เขตแดนเหล่านี้หลอมรวมข้ามเขตแดนไปอยู่กับศูนย์กลางอย่างสิงคโปร์ แต่ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับสิงคโปร์ ก็เป็นเพียงเกิด การร่วมกันทางเศรษฐกิจเท่านั้น เชื่อมรวมประเทศเข้าด้วยกัน โดยที่ในทางการเมืองแล้ว ไม่ได้ลงรอยอะไรกันนักเลย

2) สามเหลี่ยมความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (The Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle ใช้ชื่อย่อว่า IMT-GT)

เขตความเติบโตระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย นี้ ดูจะเป็นเขตที่จัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของพลังทางเศรษฐกิจเท่าไรนัก ไม่ทราบว่าเป็นแนวความคิดที่ผิดหรือเปล่า กับความเชื่อที่ว่า ถ้าหากการเมืองนำหน้าแล้ว การลงทุนและการพัฒนาจะเกิด ตามมา ข้อที่จะเห็นว่าต่างกัน IMS-GT ก็คือ IMT-GT นี้ ไม่มีตัวช่วยหนุน ไม่มีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงินและการ คมนาคมขนส่ง เช่นใน IMS-GT นั่นเอง

เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่า ในทางภูมิศาสตร์ของ IMT-GT นี้เอง ให้ประโยชน์กับจังหวัดสองจังหวัดของอินโดนีเซีย คือสุมาตราเหนือ กับ อาเจะห์ และให้ประโยชน์กับอีกสี่จังหวัด ด้านเหนือของมาเลเซีย คือ เคดาห์ ปีนัง บาร์กู และ ปะลิส ส่วน 5 จังหวัดของประเทศไทย คือ นราธิวาส ปัตตานี สตูล ยะลา สงขลา ก็จะได้ประโยชน์จากเขตสามเหลี่ยมความเติบโต IMT-GT ที่ว่านี้

ทางฝ่ายมาเลเซียเปิดทางให้เกิดสามเหลี่ยมทางเศรษฐกิจด้านเหนือขึ้น เพื่อที่จะได้ถ่วงดุลด้านการพัฒนาที่สิงคโปร์ ครอบงำอยู่ใน "สามเหลี่ยมด้านใต้" ซึ่งขยายรวมเอาอีกสิบจังหวัดบนเกาะสุมาตราเข้ามาด้วย รวมสิบสี่จังหวัดในประเทศไทย กับอีกแปดรัฐในมาเลเซีย

โครงการนี้เริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1993 (2536) ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นไม่ปรากฏว่าทั้งไทยและอินโดนีเซีย ให้ความสนใจในแง่การเมืองมากนัก จึงไม่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยดึงดูดความสนใจให้เกิด การลงทุนของภาคเอกชนแต่อย่างใด และแม้แต่ธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ก็ไม่ได้แสดงความกระตือรือร้น แต่อย่างใด มากไปกว่าชาติที่ช่วยอยู่ในโครงการนี้

ความไม่ก้าวหน้าของโครงการนี้ ยังเกิดจากผลกกระทบ ทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ และการเงินเมื่อปี ค.ศ. 1997 (2540) ที่เรียกว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" อีกด้วย ทั้งยังเกิดสงครามในอินโดนีเซีย ในกรณีของอาเจะห์ ซึ่ง กระจายอยู่ทั่วเขตเศรษฐกิจในเขตรวมเหลี่ยมความเติบโตนี้อีกด้วย มีความขัดแย้งที่ตกลงกันไม่ได้หลายเรื่อง เช่นการลักลอบการเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างผิดกฎหมาย หรือเหตุก่อการร้ายในสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่ง ล้วนเป็นเหตุชะงักงันความเติบโตทางเศรษฐกิจทางแถบนี้

สภาพเหล่านี้เองที่พลอยทำให้ IMT-GT ทำท่าจะพังพาบลง โครงการนี้ดูแล้วก็ยังขาดกรรมการทำงานที่จะนำไปดำเนินการ และขาดยุทธศาสตร์ที่สอดประสานกัน ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการแข่งขันกัน แทนที่จะมีการเกื้อหนุนต่อกัน เช่น โครงการหลายโครงการที่แข่งขันกันระหว่างมาเลเซียกับไทย เช่น โครงการที่สองประเทศแข่งกันวาง ท่อน้ำมันเชื่อมระหว่างทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย เป็นต้น

โครงการของมาเลเซียนั้น กระทบกับโครงการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศไทย (Southern Seaboard Development Project) ซึ่งประเทศไทยต้องการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านปิโตรเคมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดหนึ่งที่ทางประเทศไทย ให้ความสนใจดำเนินการมากกว่าจะทุ่มเทไปทาง IMT-GT

ได้มีการประชุมนอกรอบ เพื่อฟื้นฟูโครงการนี้ เมื่อ มีการประชุมสุดยอดของประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยตกลงที่จะฟื้นฟูโครงการขึ้นมาใหม่ และหาจุดเน้นในการพัฒนากันใหม่ คือมีการประชุมสุดยอดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 (2550) รัฐบาลที่เข้าร่วมโครงการนี้ มีมติรับแผนปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ที่เรียกว่า (ADB Report On Action Plan for 2007-2011)

ถ้าดูอย่างนี้ ก็จะเห็นว่า แผนดำเนินงานที่ว่านี้ จนล่วงเลยมาถึงขณะนี้แล้ว น่าจะได้มีการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของ Action Plan ที่ว่านี้ออกมา แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะตามไปดูที่ไหนเพราะก็เห็นเงียบๆ กันอยู่ และดูเหมือนจะพยายามไม่เอ่ยเอื้อนถึงกันเลย เผลอๆ จะไม่มีผลปฏิบัติการอะไรเป็นมรรคผลอะไรมากนักก็ได้ เหมือนๆ กับรัฐบาลปัจจุบันของไทย ภายใต้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่รู้เกือบสองปีแล้ว ยังไม่สามารถ ทำรายงานการบริหารงานรัฐบาลเสนอสภาเลย เอ้า! ตอนหน้ามาคุยต่อก็แล้วกัน

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คลัง ส่งสัญญาณหั่นดอกเบี้ย !!?

กิตติรัตน์. ส่งสัญญาณแบงก์พาณิชย์หั่นดอกเบี้ยเงินกู้ หลังส่วนต่างเริ่มกว้างขึ้น แต่ดอกเบี้ยฝากอาจยังไม่ลด เพราะสภาพคล่องตึง ด้านแบงก์พาณิชย์แบงก์รัฐ เตรียมขยับตามทิศทาง กนง. ออมสินรอดูท่าทีอีก 2 สัปดาห์ ยันไม่มีนโยบายแข่งขันด้านดอกเบี้ย

หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวของธนาคารพาณิชย์ในการที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารลง

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐไม่ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยตามทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงตามได้ ถือเป็นเรื่องปกติที่ในการพิจารณาปรับลด หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ทางสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อปรับอัตรา ดอกเบี้ยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ กนง. แต่เชื่อว่า อีกไม่นานจะเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินปรับตัวลดลงบ้าง แต่ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น แม้ว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก (สเปรด) จะเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินจะดูแลไม่ให้มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อดูแลเรื่องการออมของประเทศ ขณะที่ภาครัฐจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการออมของประเทศให้มากขึ้น

ด้านนายไตรรงค์ บุตรากาศ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สาย GTS ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาในการปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าสภาพ คล่องในระบบค่อนข้างตึงตัว เพราะมีการปล่อย สินเชื่อสูง และธนาคารยังต้องการระดมเงินฝาก เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อระยะต่อไป หากดอกเบี้ยเงินฝากลดลงมาก็จะกระทบ แผนระดมเงินฝากได้ เพราะลูกค้าจะเลือกการออมในรูปแบบอื่นแทน

"แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายหลังจากนี้ คาดว่ายังมีการปรับลงอีก แต่คงไม่ใช่การประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ เพราะกนง.ต้องพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดก่อน หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้ ออกมาพบเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด ทั้งยังมีปัจจัยที่ทางการสหรัฐฯ อาจยุติการซื้อพันธบัตรเร็วกว่าที่กำหนด" นายไตรรงค์ กล่าว

ขณะที่ นายวรวิทย์ ชัยลิมปมาตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า คณะกรรมการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ย ซึ่งก็จะต้องพิจารณาทั้งสถานะการเงินของธนาคารและสถานการณ์ การแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยในระบบธนาคาร พาณิชย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ธนาคารไม่มีนโยบายที่จะเข้าไปแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ

ด้านนายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจะต้องคำนึงถึงการเงินของธนาคารส่วนใหญ่มาจากผู้ฝากเงินไม่ได้มาจากการกู้เงินในระบบ ซึ่งธนาคารจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ปรับลดลง 0.25% หรือไม่นั้น คณะกรรมการของธนาคารจะประชุมกันในเร็วๆ นี้ ซึ่งก็คงต้อง พิจารณาด้วยว่าต้นทุนทางการเงินของธนาคาร ได้รับผลกระทบแค่ไหนจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย

ด้านสำนักวิจัย บล.ทิสโก้ คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ในการประชุมวันที่ 10 ก.ค.นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพ.ค.ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยคาดว่า กนง. จะ พิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือน ประกอบการตัดสินใจเรื่องทิศทาง อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไป

ที่มา.สยามธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++

เกษตรแนวใหม่ !!?

คอลัมน์ สามัญสำนึก
โดย พิเชษฐ์ ณ นคร

แม้ คนในรัฐบาลจะประสานเสียงตอบโต้ทันควัน หลังมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำ ออกมาระบุตัวเลขขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวของไทยว่าอาจสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท

ขณะที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เร่งทำข้อมูลชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน ลดกระแสกดดันไม่ให้เผือกร้อนโครงการรับจำนำข้าวที่กำลังโถมใส่ถูกนำไปขยาย เป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง แต่เบื้องลึกแม้แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ก็ตระหนักดีว่า นโยบายประชานิยมรับจำนำข้าวทำให้รัฐบาลตกที่นั่งลำบาก เพราะหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการที่ประกาศรับจำนำข้าวทุกเม็ด ไม่จำกัดจำนวน ทำให้ต้องใช้วงเงินงบประมาณดำเนินการค่อนข้างสูง

ขณะ เดียวกันแม้จะมีการปรับรื้อเกณฑ์รับจำนำบางข้อ อาทิ ตรวจเข้มเกษตรกรที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เกินกว่า 20% ตรวจเข้มเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการเกินกว่า 5 แสนบาท/ราย/ครั้ง ฯลฯ ก็คงไม่ส่งผลให้ปริมาณข้าวที่เข้าสู่โครงการรับจำนำลดน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกรพากันแห่ปลูกข้าวเพิ่ม เพราะคาดหวังเรื่องรายได้จากโครงการนี้ มีแนวโน้มชัดเจนว่าโครงการรับจำนำข้าวจำเป็นต้องใช้งบฯดำเนินการเพิ่มสูง ขึ้นทุกปี กลายเป็นภาระหนักทางด้านการเงินการคลังของประเทศ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายรัดกุมมากยิ่งขึ้น พร้อมกับหามาตรการเพิ่มทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ทดแทนการคาดหวังรายได้จากโครงการรับจำนำ

ยุทธศาสตร์หลักที่รัฐบาล เลือกนำมาใช้ คือ การปรับโครงสร้างภาคการเกษตร เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวโดยเฉพาะในภาคกลาง และการจัดทำฐานข้อมูลการเกษตรรายแปลง เป้าหมายเพื่อบริหารจัดการการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น ถือเป็นการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ หากสามารถดำเนินการประสบความสำเร็จ นอกจากจะช่วยลดงบฯโครงการรับจำนำข้าวไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคตแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรที่หันไปประกอบอาชีพเกษตรอื่นนอกเหนือจากทำนาข้าวมีรายได้ จากแหล่งอื่นทดแทนการปลูกข้าว

โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการ ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้อนุมัติงบฯ 3,000 ล้านบาท จากงบฯเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ รวมทั้งสิ้น 350,000 ล้านบาท ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ

แบ่ง เป็น 1.การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวในภาคกลาง งบฯดำเนินการ 1,000 ล้านบาท โดยจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตรในพื้นที่ลุ่มภาคกลางตอนล่าง เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะปลูกข้าว เป็นสินค้าเกษตรอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงกว่า ซึ่งจากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า กิจกรรมทางการเกษตรทางเลือกอื่นที่เหมาะสม ได้แก่ การทำประมง เช่น การส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงปลาหมอ ปลานิล และปลาสลิด ทำปศุสัตว์ โดยเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์โคขุน การปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและเลี้ยงสัตว์ การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ร่องสวนหรือนาร้าง และการส่งเสริมปลูกมะพร้าวตัดยอด เป็นพืชยืนต้นและผลิตก๊าซชีวมวล

2.การ จัดทำฐานข้อมูลการเกษตรรายแปลง โดยใช้เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ งบฯดำเนินการ 2,000 ล้านบาท สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดในอนาคต

ถ้า หากการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ที่หลายหน่วยงานอยู่ระหว่างศึกษา เพื่อหาโมเดลการดำเนินการที่เหมาะสมบรรลุผลตามที่วางไว้ นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันทั้งด้านทางการเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้และภาระด้านการเงินการคลังจากโครงการรับจำนำข้าวลดน้อยลง แล้ว ยังตอบสนองนโยบายให้ทางเลือกและสร้างรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////

เส้นทางชีวิต เอกยุทธ อัญชันบุตร. !!


อุ้มเอกยุทธ,เอกยุทธ อัญชันบุตร

โดย : สุพนธ์ ธนูกฤต

เส้นทางชีวิต "เอกยุทธ อัญชันบุตร" จากนักธุรกิจสู่เส้นทางการเมือง ผู้กล้าหาญประกาศทุ่ม 1 พันล้าน โค่น "ทักษิณ"

นายเอกยุทธ เกิดเมื่อเดือน มิ.ย.2502 เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 5 คนของ ร้อยโทแปลก อัญชันบุตร และ นางนันทา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ศึกษาที่โรงเรียนแม้นศรีวิทยา โรงเรียนเทพประสาทวิทยา และเรียนไฮสกูลที่เมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ก่อนกลับมาทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับพี่ชาย และไปเรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์การเงินการคลังที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก ฮาวาย สหรัฐอเมริกา

เมื่อจบการศึกษา นายเอกยุทธได้เริ่มทำธุรกิจซื้อขายคอมมอดิตี้ และซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า จากนั้นจึงเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายคอมมอดิตี้และเงินตราต่างประเทศ ชื่อ ชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์ เมื่อ พ.ศ.2525 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2526 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศสูงถึง 12% เอกยุทธคิดหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย โดยกู้เงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำประมาณ 3% มาฝากในสถาบันการเงินในประเทศเพื่อทำกำไร และนำกำไรที่ได้ไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม

บริษัทนายหน้าของเอกยุทธในระยะแรกมีเงินลงทุนจากนายทหารและนักการเมืองจำนวนมาก เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงจึงมีประชาชนทั่วไปนำเงินเข้าไปลงทุน และรุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อ พ.ศ.2527 เมื่อประชาชนสมัยนั้นนิยมการลงทุนเงินนอกระบบ เช่น แชร์แม่ชม้อย แชร์แม่นกแก้ว และแชร์ชาร์เตอร์ กระทั่งรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตราพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีการดำเนินคดีกับหัวหน้าวงแชร์ และมีข่าวเตรียมออกหมายจับนายเอกยุทธ ทำให้เขาเดินทางออกนอกประเทศเมื่อกลางปี พ.ศ.2528

เขาหายไปเกือบ 20 ปี กระทั่งกลับมาเป็นข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวันอีกครั้ง เมื่อได้เข้าไปที่พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมประกาศทุ่มเงิน 1 พันล้านบาทเพื่อล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากนั้นเขาก็เคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่อยมา โดยเปิดเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์และใช้เป็นฐานที่มั่น พร้อมๆ กับเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ ทั้งเฟสบุคและทวิตเตอร์ มีการโพสต์ข้อความต่างๆ ทุกวัน

ก่อนจะหายตัวไปเขามีคดีความฟ้องร้องกับบุคคลต่างๆ หลายคดี เช่น คดีทำร้ายร่างกายผู้จัดการคาราโอเกะซิตี้ เป็นต้น แต่ที่ฮือฮาที่สุดเห็นจะเป็นการเปิดภารกิจลับของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่น ถนนวิทยุ

ข้อความสุดท้ายที่เขาโพสต์เฟสบุค เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.56 เวลา 17.01 น. ว่า "ผมเตือนนักลงทุนทั่วไปเมื่อวันที่ 1-6-13 ถึงหุ้น 'ความจริง'...วันนั้นอยู่ที่ 11-12 บาท..และบอกไว้ว่าราคาที่เหมาะสมและเจ้ามือทุนอยู่ที่ประมาณ 6-8 บาท...วันนี้มาให้เห็นแล้ว.."

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
___________________________________

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลดปล่อยชาวนา !!?

ระหว่าง..การช่วยรับจำนำข้าวจากชาวนา..กับการรับประกันราคาข้าว..อันไหนจะถูกต้องมากกว่ากัน..ก็ต้องมามองกันทีละประเด็น

ประกันราคาข้าว..รัฐบาลก็ขาดอำนาจในการบริหารจัดการ..ไม่สามารถทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นหรือต่ำลงได้..เพราะกลไกการตลาดยังอยู่ในกำมือของพ่อค้าข้าวและนายธนาคารที่ผูกขาดสร้างกำไรจากการค้าข้าวมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี..

ดังนั้น..ประเทศจะต้องสูญเสียแต่เพียงอย่างเดียว..แต่จะไม่มีโอกาสทำกำไร..ในขณะที่ชาวนาคนปลูกข้าว..ก็จะตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับรัฐบาล..กล่าวคือ..

ข้าวจะมีราคาต่ำในระหว่างอยู่ในมือชาวนา..และจะมีราคาแพงขึ้นเมื่อพ้นไปจากมือชาวนา..เพราะชาวนาปลูกข้าวเป็น แต่ขายข้าวเองไม่ได้..จะสีเองก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไม่ได้..

คนรวยรายแรกก็คือ..นายธนาคารใหญ่..ที่กลายเป็นผู้กำหนดราคาข้าวตั้งแต่ยังเป็นต้นเขียวอยู่ในท้องนา..จนกลายมาเป็นข้าวพร้อมหุงในร้านสะดวกซื้อ

ส่วนการรับจำนำข้าว...โดยกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า..ชาวนาจะรู้แต่เบื้องต้นว่า..ราคาข้าวในมือเขาจะมีราคาเท่าไหร่เมื่อปลูกเสร็จ..ชาวนาจะวางแผนการเพาะปลูกและกำหนดจำนวนของข้าวที่เพาะปลูกได้..ตามกำลังความสามารถของเขา..รวมทั้งการลงทุนเพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น..

รัฐบาล..สามารถปรับปรุงและควบคุมราคาในตลาดโลกได้..จากการควบคุมการส่งออกและราคา...และสามารถเจรจากับชาติปลูกข้าวทั้งหลายได้..เพื่อทำให้เกิดการตลาดของผู้ขาย..ฯลฯ

แน่นอนว่า...สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในทันที..หรือในขวบปีของการเป็นรัฐบาล..

แน่นอนว่า...การกระทำเช่นนี้ย่อมได้รับการต่อต้านจากมาเฟียข้าวที่ครอบครองและควบคุมตลาดข้าวและเป็นจ้าวชีวิตของชาวนา..

ไปดูกันก็ได้ว่า..เงินกู้ในกิจการซื้อขายข้าวของประเทศไทย..ใช้เงินจากธนาคารแห่งใด..และที่น่าอดสูใจยิ่งกว่าก็คือ..ถึงวันนี้นายเก่าเจ้าของธนาคาร..ได้ให้ต่างชาติมาเป็นผู้ได้ประโยชน์..
คงต้องว่ากันอีก...กับสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวนา..

โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
_--------------------------------------

หลักการดี วิธีคิดเจ๋ง. แต่คนปฏิบัติ มือไม่ถึง !!?

หลักการดี วิธีคิดเจ๋ง... แต่ก็โดนจวกได้ หากว่าคนปฏิบัติมือไม่ถึง-ปล่อยให้มีคนรอบข้างรุมกัดแทะ
กรณี “โครงการรับจำนำข้าว” นวัตกรรมความคิดเพื่อผลงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยยุคที่ อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำรัฐบาล และเป็นผู้ที่ผลักดันโครงการรับจำนำข้าว โดยมุ่งหวังที่จะให้ชาวนาไทยลืมตาอ้อาปากได้จริงๆ

เพราะการประกันราคาข้าว หรือการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรนั้น ใช้กันมาเนิ่นนานเป็นแค่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือเป็นแค่การหาเสียงทางการเมืองเฉพาะกิจ ปีต่อปีไปเรื่อยๆไม่รู้จบ เพราะไม่ได้ช่วยให้ชาวนามีรายได้ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

ราคาข้าวตก ก็ประกันราคาพอไม่ให้ขาดทุน ไม่ให้ติดลบ จะได้ไม่มีม็อบชาวนามาลุยรัฐบาล
แต่ชาวนาไม่เคยได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่เคยกินดีอยู่ดีเพิ่มขึ้น ในขณะที่รัฐบาลก็ต้องตั้งงบประมาณเอาไว้เพื่อชดเชยการประกันราคาข้าว ราคาผลผลิตทางการเกษตรปีละหลายหมื่นล้านบาททุกปี เป็นวงจรแบบนี้ที่นักการเมืองชอบกันมาก

การเกิดขึ้นของโครงการรับจำนำข้าว ถือเป็นการแทรกแซงราคาข้าวในระดับที่จะทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้จริง เพราะราคาที่รับจำนำนั้นสูงมากพอที่จะช่วยให้ชาวนามีรายได้ที่ดี มีชีวิต ครอบครัวและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ถ้าราคาข้าวต่ำกว่าราคารับจำนำ ชาวนาก็จะไม่ไถ่ถอน เท่ากับขายข้าวได้ในราคาที่จำนำเอาไว้ แต่เมื่อใดที่ราคาข้าวในท้องตลาดสูงกว่าราคารับจำนำ ชาวนาก็จะไถ่ถอนข้าวเอาไปขาย ซึ่งก็จะได้รายได้เพิ่มขึ้น

ด้วยหลักการเช่นนี้พรรคเพื่อไทยจึงประกาศเป็นนโยบายไว้ในตอนหาเสียง ว่าจะใช้นโยบายรับจำนำข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนา ในขณะที่พรรคการเมืองคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ยึดติดกับแนวทางอนุรักษ์ ก็เลือกประกาศนโยบายรับประกันราคาข้าว

เพราะรู้ดีว่า เป็นโครงการที่บรรดานักวิชาการในเมืองไทยคุ้นเคยมานาน ยังไงก็ไม่ถูกด่า ไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์แน่ เพลย์เซฟเล่นเสมอตัวง่ายๆ กินนิ่มๆกับวิธีคิดเดิมๆไปชั่วกัปรชั่วกัลป์

และเพราะเป็นโครงการที่เป็นการแข่งขันทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์จึงตั้งป้อมถล่มโครงการรับจำนำข้าวหวังไม่ให้ได้ผุดได้เกิด เนื่องจากขนาดทุกวันนี้ยังแพ้ซ้ำซากมา 20 กว่าปี หากโครงการรับจำนำข้าวเกิดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ยิ่งจะแพ้ขาดดูไม่จืด ชนิดหาทางชนะยาก

ฉะนั้นระหว่างที่โครงการรับจำนำข้าวยังเตาะแตะอยู่ แถมมีพวกรอบข้างที่วิสัยทัศน์สั้นแต่ความโลภสูง คอยกัดแทะโครงการแบบกินเล็กกินน้อย ตอดไปเรื่อย จึงทำให้กลายเป็นจุดอ่อนที่ถูกถล่มยับทางการเมือง

จำนำข้าวทุจริตสูง!!! ประกาศย้ำเป็นแผ่นเสียงตกร่องทางการเมือง โดยไม่เคยมีใครพูดถึงเลยว่า แล้วการรับประกันราคาข้าวไม่มีการโกงกินไม่มีการทุจริตเลยอย่างนั้นหรือ ที่ผ่านมาการโกงกินโครงการรับประกันราคาข้าวนั้น รู้กันมาตลอดว่า โรงสีและผู้ส่งออกรวยกันพุงปลิ้น รวยกันมากพอที่จะจ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่นิยมการประกันราคาข้าว

เพื่อที่พรรคการเมืองเหล่านั้น จะได้เป็นรัฐบาลและทำโครงการประกันราคาข้าวไปเรื่อยๆ ทั้งโรงสี ผู้ส่งออก รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจะได้เป็นเสือนอนกิน เขมือบผลประโยชน์กันเต็มคราบ
สิ่งนี้แหละที่ทำให้โครงการรับจำนำข้าวต้องถูกถล่มหลักในวันนี้

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ถูกถล่มนั้น นอกเหนือจากเรื่องทุจริต ซึ่งในทางการเมืองก็รู้เช่นเห็นชาติกันอยู่ว่าไม่ได้มากมายเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาทอยู่แล้ว เพราะหากมีการทุจริต คอรัปชั่นโกงกินได้เป็นแสนล้านบาท ประเทศชาติก็คงพังพินาศอย่างแน่นอน

จึงต้องมีประเด็นโจมตีในเรื่องการขาดทุนและความเสียหายที่เกิดขึ้นตามมาซ้ำเป็นดาบ 2
ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นจุดอ่อนอีกจุดหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า โครงการรับจำนำข้าวนั้นสามารถที่จะเกิดความเสียหายขาดทุนได้ หากว่าคนดูแลรับผิดชอบดำเนินการ ไม่มีความสามารถพอ หรือว่ามือไม่ถึงพอที่จะดูแลโครงการ

จุดขาดทุนนั้นอยู่ที่ว่า หากรับจำนำข้าวมาในราคาตันละ 15,000 บาท หากขายได้ตันละ 16,000 บาท อันนี้รัฐบาลมีแต่กำไรกับกำไรเห็นๆ แต่หากขายได้แค่ตันละ 11,000 – 12,000 บาท ก็จะเท่ากับขาดทุนทันทีตันละ 3,000 – 4,000 บาท

ฉะนั้นตรงนี้แหละที่คนรับผิดชอบ จะต้องขายข้าวให้ได้ ในราคาที่ขาดทุนไม่มาก จะต้องหาทางขายข้าวส่งออกข้าวไปให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นั่นแหละโครงการถึงจะขาดทุนน้อยเสียหายน้อย หรือไม่ขาดทุนเลย... ขึ้นอยู่กับฝีมือของคนรับผิดชอบ ซึ่งก็คือนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นั่นเอง

ถ้ายังขายข้าวไม่ได้ ขายข้าวไม่ออก หรือขายไปแบบขาดทุนเยอะๆ นายบุญทรงก็จะต้องโดนถล่มทางการเมืองหนักอย่างที่กำลังโดนอยู่ในขณะนี้นั่นแหละ

เพราะเวลานี้ไม่ใช่เพียงแค่ พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ที่ถล่มเรื่องจำนำข้าวอย่างหนักทั้งเรื่องทุจริต และเรื่องความเสียหาย แต่พรรคภูมิใจไทย ก็เข้ามาร่วมวงถล่มด้วยแล้วเช่นกัน เพราะไม่ว่าอย่างไรพรรคภูมิใจไทย ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรคนั้น ก็ยังเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่ หากไม่ทำอะไรเลยก็คงดูไม่ดี

รวมทั้งล่าสุด นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ก็ร่วมวงสหบาทา ด้วยการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชูวิทย์ I'm No.5 อัดแหลก นายบุญทรง และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ว่ามีหน้าที่โดยตรงค้าขายข้าวของประเทศ แต่กลับบอกว่ารู้ว่าขาดทุน แต่ะกลับไม่รู้ว่าขาดทุนเท่าไหร่
พร้อมกับเหน็บนายบุญทรงว่าโกหกหน้าตายมืออาชีพ และแขวะพ่วงไปด้วยว่าไม่เหมือนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ที่โกหกไม่เก่ง ไม่ค่อยเป็น เวลาโกหกสมัยเรียนหนังสือด้วยกัน โดนนายชูวิทย์จับโกหกได้มาโดยตลอด

ตรงนี้สะท้อนว่าทำไมเรื่องจำนำข้าวจึงเป็นประเด็นที่หอมหวนทางการเมือง และเป็นเป้าถล่มเชือดนิ่มๆรัฐบาลได้อย่างสบายไปแล้ว จึงเป็นสิ่งที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ควรจะต้องลงมาเคาะให้ทั้งนายบุญทรง และนายกิตติรัตน์ ทำงานให้สมกับที่ได้รับมอบหมายให้นั่งเก้าอี้สำคัญหน่อย

ยิ่งเมื่อเจอรายงานตัวเลขผลการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวจาก น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลฤดูการผลิต 2554/55 ว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทเข้าให้ด้วย ยิ่งเหมือนโดนถล่มซ้ำด้วยตอปิโดเลยทีเดียว
กระทรวงพาณิชย์ได้แต่บอกว่าตัวเลขไม่ตรงกัน ตัวเลขไม่ใช่ แต่กลับไม่มีการชี้แจงว่าทำไม รวมทั้งไม่มีการชำแหละตัวเลขของน.ส.สุภา ออกมาด้วยว่า ได้มีการไปรวมอะไรเอาไว้บ้าง จึงได้ขาดทุนมโหฬารขนาดนั้น

ซึ่งหากตัวเลขของ น.ส.สุภา เป็นตัวเลขของนักบัญชีที่ใช้เกณฑ์รับรู้รายได้ขาดทุนล่วงหน้า คือลงตัวเลขขาดทุนเอาไว้ก่อน เพราะรัฐบาลรับจำนำข้าวมาแล้ว มีเงินจ่ายออกไปแล้ว แต่ยังขายข้าวไม่ได้ จึงต้องลงรับรู้ขาดทุนไว้ก่อน ขายได้เมื่อไหร่ค่อยเอารายได้จริงมาลงบัญชีหักออก หากใช้เกณฑ์ทางบัญชีแบบนี้ ยังไงก็เจ๊ง

ตรงนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องมีความเป็นมืออาชีพให้มากพอ จะต้องมีผู้บริหารที่มือถึง และต้องได้นักบัญชีมืออาชีพมาช่วยดูว่า เกณฑ์ตัวเลข 2.6 แสนล้านบาทของ น.ส.สุภา นั้นมาอย่างไร แล้วก็ชี้แจงออกมา

ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายค้านเอาตัวเลขของ น.ส.สุภา มาถล่มจนเละ แล้วทำได้แค่ส่ายหัวด็อกแด็กไปมา ก่อนที่จะหลบหน้าหลบตาอย่างที่เกิดขึ้น

เพราะในความเป็นจริง แค่คิดง่ายๆว่า หากรับจำนำมา 15,000 บาท ขายไปเอาแค่ 10,000 บาท เท่ากับขาดทุนตันละ 5,000 บาท รัฐบาลต้องขายข้าว 10 ล้านตัน ถึงจะขาดทุน 50,000 ล้านบาท หากจะให้ขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท ก็ต้องขายข้าวมากถึง 50 ล้านตันในราคาที่ขาดทุนตันละ 5,000 บาท นั่นแหละถึงจะขาดทุน 2.5 แสนล้านบาทได้

แล้วถามว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มีการขายข้าวขาดทุนจำนวนมหาศาลแบบโง่ๆเช่นนั้นหรือไม่ หากไม่มีก็ต้องเอาตัวเลขออกมาสู้ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ให้ฝ่ายค้านไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้กล่าวหาได้อย่างเลื่อนลอยอีก ซึ่งตรงนี้แหละคือการบ้านที่นายบุญทรงต้องเร่งทำ ต้องเร่งปิดจุดอ่อนให้ได้

เพราะจุดอ่อนของนายบุญทรงในวันนี้ กำลังกลายเป็นจุดอ่อนของโครงการรับจำนำข้าวไปแล้ว
และหากจะให้ดี ทั้งนายบุญทรง และนายกิตติรัตน์ ต้องมือถึงและรอบรู้พอที่จะรับมือเกมการเมือง ด้วยการชี้ให้เห็นว่า ทุกประเทศในโลกเขาดูแลชาวไร่ชาวนาเกษตรกรเป็นอย่างดี เกษตรกรไร่ถั่ว อย่าง จิมมี่ คาร์เตอร์ ยังร่ำรวยจนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐได้มาแล้ว

หรือชาวนาของญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่ารัฐบาลญี่ปุ่นดูแล ให้งบประมาณอุดหนุน รับซื้อข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดอ จนถือเป็นชาวนาที่มีรายได้สูงที่สุดในโลก มีเวลาพักผ่อนที่จะบินไปท่องเที่ยวได้ทั่วโลก

ผิดกับชาวนาของไทย ตลอดมาแม้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่จนทุกวันนี้ก้เป็นได้แค่กระดูกสันหลังผุๆ

อย่าว่าแต่จะเที่ยวเมืองนอกเลย ขนาดจะเที่ยวในประเทศ ก็ต้องพึ่งพา อบต. หางบ จัดรถทัวร์ให้นั่ง รถต้องออกกลางค่ำกลางคืน ไปถึงทะเลตอนเช้า ได้ไปเล่นน้ำทะเลครึ่งวัน แล้วก็ต้องตะลอนทัวร์กลับบ้านตอนค่ำ ทำได้แค่นั้น เพราะ อบต. การเมืองท้องถิ่นจัดงบแค่ซื้อใจให้เป็นครั้งคราว

ไม่ได้คิดจะให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้จริงๆ... แต่ชาวนาไทยก็บอกว่ามีความสุขแล้ว ติดค้างบุญคุณ อบต.แล้ว นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น

ดังนั้นในหลักการแล้ว โครงการรับจำนำข้าว จึงเป็นหนทางที่จะยกระดับคุณภาพชาวนาไทยได้จริงๆ และหากจะเกิดการขาดทุนบ้างเพื่อให้รายได้ผลประโยชน์ตกกับชาวนาจริงๆ งบประมาณที่ขาดทุนก็ไม่ได้ต่างจากการตั้งงบประกันราคาเลยสักนิด

ถือเป็นการใช้งบประมาณขาดทุนเพื่ออนับสนุนชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ จะผิดตรงไหน
ซึ่งชาวนาเองก็รู้ ดังนั้นจะเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีชาวนาคนไหนคัดค้านโครงการจำนำข้าว

ที่ค้านเหยงๆก็มีแต่ พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออก แล้วก็พรรคฝ่ายค้าน... ซึ่งทั้งหมดถามว่าค้านเพราะผลประโยชน์ตัวเอง หรือค้านเพราะทำเพื่อชาวนา

ถึงได้บอกว่า จุดอ่อนของโครงการรับจำนำข้าวจริงๆ อยู่ที่การขาดมือบริหารเก่งๆมาทำงานให้ได้ผล และป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหล ไม่ให้มีเหลือบมีปลิงรอบข้างมาโกงกิน

ถ้าทำได้ โครงการรับจำนำข้าวก็จะผ่านฉลุย แต่ถ้ายังปล่อยให้มีจุดอ่อนอย่างทุกวันนี้ ก็โดนถล่มแหลกอย่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั่นแหละ

ที่มา.บางกอกทูเดย์
=========================================

พิษจำนำข้าวลาม ปรับ ครม.อื้ออึง !!?

จำนำข้าวพ่นพิษส่อเขี่ย "บุญทรง" พ้นเก้าอี้ "ยิ่งลักษณ์" ปิดปากเงียบ ไม่ยอมตอบรัฐมนตรีพาณิชย์ยังเหมาะอยู่ในตำแหน่งต่อหรือไม่

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่ว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ หลังจากชี้แจงตัวเลขขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ชัดเจนจนถูกกดดันอย่างหนัก

นางสาวยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยย้ำว่า ตัวเลขขาดทุนที่ยังไม่มีความชัดเจนจะไม่เป็นผลลบต่อรัฐบาล เพราะตัวเลขก็คือตัวเลข แต่ทุกอย่างอยู่ในระบบบัญชีและระบบฐานข้อมูลของรัฐอยู่แล้ว เป็นเพียงการประมวลมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ซึ่งได้มอบหมายให้ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำข้อมูลไปรวมกันและชี้แจงอย่างเป็นระบบ พร้อมยืนยันว่าจะเดินหน้าโครงการต่อไป

แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงอนาคตของนายบุญทรง ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายกฯกลับปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวเพียงว่า "พอแล้ว" และเดินหนีกลุ่มผู้สื่อข่าวไปทันที

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าที่ครม.แต่งตั้งนายวราเทพ เป็นผู้ชี้แจงโครงการรับจำนำข้าว นั้นเพื่อเป็นคนกลางในกลางรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงาน เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ เพื่อที่จะได้มีข้อมูลเดียวกันในการสื่อสารต่อสาธารณะ แต่ไม่ได้มอบให้มาคุมโครงการจำนำข้าวแต่อย่างใด ซึ่งงานของหน่วยงานใดที่รับจำนำข้าว ก็ยังเป็นความรับผิดชอบของหน่วยนั้นๆ อยู่ รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ ก็รับผิดชอบการดำเนินโครงการจำนำต่อไปเหมือนเดิม

ทีมงานนายกฯเสนอเขี่ย "บุญทรง"

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เผยว่า ทีมงานของนายกรัฐมนตรีเห็นว่า นายกฯควรตัดสินแก้ไขปัญหาเรื่องจำนำข้าวที่กำลังถูกโจมตีอย่างหนัก โดยมีข้อเสนอให้นายกฯ ปรับ ครม.ในตำแหน่งของนายบุญทรง

"คาดว่าเรื่องนี้จะทำให้นายกฯ พิจารณาปรับ ครม.เร็วขึ้น จากเดิมที่วางไว้ว่าจะประเมินผลงานของรัฐมนตรีในช่วงเดือนส.ค. และรอให้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ผ่านสภาก่อน เพื่อไม่ให้เกิดแรงกระเพื่อมภายในพรรค แต่เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นต้องปรับ ครม.ก่อน" แหล่งข่าวระบุ และว่า เบื้องต้นนายกฯได้มอบหมายให้ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกฯ ไปติดตามตรวจสอบปัญหาของโครงการรับจำนำข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

"ทนุศักดิ์-จารุพงศ์-สุกำพล" ติดโผ

สำหรับรายชื่อรัฐมนตรีที่อยู่ในข่ายถูกปรับออก นอกจากนายบุญทรงแล้ว ยังมีชื่อของ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวโดยตรง คือดูแลทั้งองค์การคลังสินค้า (อคส.) และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

อย่างไรก็ดี ถึงที่สุดแล้วยังไม่แน่ว่าจะมีการปรับ ครม.ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ได้หรือไม่ เพราะทั้งนายบุญทรง และนายทนุศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีในโควตาของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย พี่สาวของนายกฯ

"แต่ถ้าไม่เปลี่ยนหรือไม่ทำอะไรเลย รัฐบาลพังแน่" หนึ่งในทีมงานของนายกฯ กล่าว และว่านายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อความรอบคอบ คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1-2 วัน

ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่มีโอกาสถูกเปลี่ยนตัว เพราะผลงานไม่เข้าตานั้น อาทิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก และ นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

พท.ร้องดีเอสไอสอบ "ประกันรายได้"

ด้าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่ทราบเกี่ยวกับกระแสข่าวที่ว่าจะมีการปรับ ครม.ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เนื่องมาจากปัญหาโครงการรับจำนำข้าว แต่ส่วนตัวไม่มีปัญหา เพราะเป็นคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เหมือนนักฟุตบอลที่ผู้จัดการทีมบอกว่าให้ลงเล่นนาทีที่เท่าไรก็ต้องลง บอกว่าออกมาพักนาทีที่เท่าไรก็ว่าไปตามนั้น คงไม่ไปก้าวล่วงดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี

วันเดียวกัน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และได้ยื่นหนังสือถึง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบโครงการประกันรายได้ชาวนาในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยระบุว่าคณะทำงานตรวจสอบของพรรคเพื่อไทยได้ตรวจสอบตัวเลขจากการปิดบัญชีโครงการประกันรายได้ พบว่าน่าจะมีตัวเลขขาดทุนสูงถึง 1.3 แสนล้านบาท ไม่ได้ขาดทุน 6 หมื่นล้านบาทตามที่พรรคประชาธิปัตย์อ้าง จึงอยากให้ดีเอสไอช่วยตรวจสอบต่อด้วย

"ยืนยันว่าการเข้าร้องทุกข์ครั้งนี้ไม่ใช่การแก้เกี้ยวกรณีที่รัฐบาลถูกโจมตีว่าขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวถึง 2.6 แสนล้านบาท" นายพร้อมพงศ์ กล่าว

"ธีระชัยชี้"ประกัน"ดีกว่า"จำนำ"

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัวระบุว่า นโยบายประกันรายได้ ส่งผลดีกว่านโยบายรับจำนำข้าว เพราะผลประโยชน์ถึงมือชาวนาเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า คือ รัฐขาดทุนเท่าไร ชาวนาก็ได้ประโยชน์เท่านั้น

แต่ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประกันหรือจำนำ ประเด็นหลัก คือ ต้องมีการประเมินตัวเลขขาดทุน และประเมินภาระต่อรัฐให้ถูกต้องน่าเชื่อถือ และต้องชี้แจงให้ชัดว่าภาระดังกล่าว รัฐบาลจะหาเงินจากไหนมาใช้รองรับโครงการ ถ้าไม่เปิดเผยตัวเลขหรือให้ตัวเลขที่ไม่น่าเชื่อถือ บริษัทจัดอันดับเครดิตและนักเศรษฐศาสตร์ก็จะประเมินกันเอง และหากขาดทุนถึงขั้นที่ประเทศถูกเตือนหนักๆ หรือถูกลดเครดิต ก็จะไม่ต่างอะไรกับสถาบันระดับโลกให้ vote of no confidence แก่รัฐบาล

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++

ครม.ไฟเขียวดึงเงิน รอบ 2 โปะ จำนำข้าว !!?



ครม.ไฟเขียวรวมปริมาณ-วงเงิน รับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 หวังดึงเงินรอบ 2 โปะรอบแรก พร้อมกำหนดวงเงินปิดบัญชีวันที่ 31 ธ.ค.56 ไม่เกิน 5 แสนล.

รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำลังมีปัญหาในโครงการจำนำข้าวอย่างหนัก โดยเฉพาะในเรื่องของเงินทุนในการทำโครงการ หลังจากใช้เงินไปกว่า 6.1 แสนล้าน และมีการประเมินตัวเลขขาดทุนสูงถึง 2.6 แสนล้าน จากคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรและการคาดการณ์ของสถาบันจัดอันดับเครดิต มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ว่า โครงการนี้จะขาดทุนถึง 2 แสนล้านบาท

ในการประชุมครม.วานนี้ (10 มิ.ย.) ที่ประชุมจึงได้ปรับเปลี่ยนโครงการ โดยเห็นชอบให้รวมโครงการรับจำนำข้าวปี 2555/56 ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 เข้าด้วยกัน เพื่อยืดหยุ่นในการใช้เงินโครงการ

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้รวมปริมาณและวงเงินของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ในครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เข้าด้วยกัน เพื่อให้การดำเนินการมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่กรอบปริมาณการรับจำนำ ภายใต้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 1 เกินกว่ากรอบที่ ครม.ได้เคยอนุมัติไว้ ให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอขยายกรอบปริมาณและกรอบวงเงิน ในการดำเนินโครงการดังกล่าว ต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เพื่อพิจารณาและเสนอครม.ทราบต่อไป แต่ทั้งหมดต้องไม่เกินกรอบปริมาณ 22 ล้านตัน และกรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท

ชี้รอบ1 ใช้เต็มกรอบเงิน 2.4 แสนล้าน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.ได้รับทราบผลการพิจารณา เรื่องโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 3 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานกรรมการพิจารณา ไปเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการอภิปรายถึงปัญหาที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/ 56 ครั้งที่ 1 ไปเกือบเต็มกรอบปริมาณรับจำนำจำนวน 15 ล้านตัน ในวงเงินที่อนุมัติ 2.4 แสนล้านบาท ตามมติ ครม. ทำให้ ธ.ก.ส.หยุดจ่ายเงินให้กับเกษตรกร

ขณะที่ผลการรับจำนำข้าวครั้งที่ 2 มีเพียง 4 ล้านตัน คิดเป็นวงเงินที่จ่ายไปกว่า 5หมื่นล้านบาทจากกรอบวงเงินที่ กขช.อนุมัติ 1.05 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าเมื่อโครงการสิ้นสุดปริมาณรับจำนำข้าวครั้งที่ 2 จะมีเพียง 7 ล้านตัน กขช.จึงมีมติอนุมัติให้รวมปริมาณรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เข้าด้วยกัน เพื่อให้การบริหารโครงการมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ดึงเงินจำนำรอบ 2 โปะรอบแรก

การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2554/55 และ 2555/56 ได้ใช้เงินหมุนเวียนเกือบเต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่เป็นกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ว่ามาจาก 2 แหล่งได้แก่ เงินทุน ของ ธ.ก.ส.จำนวน 9 หมื่นล้านบาท และเงินกู้จากสถาบันการเงิน จำนวน 4.1 แสนล้านบาท โดยวงเงิน 5 แสนล้านบาทนั้น มีการใช้ไปเกือบเต็มวงเงินแล้ว จึงอาจทำให้ในบางช่วงเวลาระหว่างที่รอเงินจากการระบายข้าว อาจทำให้มีการใช้เงินกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ และทำให้ ธ.ก.ส.ต้องสำรองจ่ายเงินกู้เพิ่มเติมไปก่อน

ดังนั้น เพื่อให้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีสภาพคล่องและมีการบริหารเงินได้มีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีการนำเงินที่ได้จากการระบายผลผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ปี 2554/55 เป็นต้นไป ไปชำระคืนเงินทุนแก่ ธ.ก.ส. จำนวน 9 หมื่นล้านบาท ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงค่อยชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน โดยเงินทุนของ ธ.ก.ส.สามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียน

สำหรับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ได้ และ ธ.ก.ส.สามารถสำรองจ่ายเงินกู้ชั่วคราวไปก่อน ระหว่างรอเงินจากการระบายข้าวได้ โดยให้คิดอัตราเงินชดเชยเงินต้นทุนและค่าบริหารโครงการให้กับ ธ.ก.ส.ในอัตราเดิมคือ FDR+1 (2.9875%) ของต้นเงินคงเป็นหนี้ รวมทั้งให้ค่าบริหารโครงการกับ ธ.ก.ส.ในอัตรา 2.25% ของเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปแล้ว โดยกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ทำความตกลงกับ ธ.ก.ส. เป็นคราวๆ ไป

ทั้งนี้ ควรระบุให้ชัดเจนด้วยว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2556 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 และปี 2555/56 ต้องอยู่ในกรอบวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังรับภาระชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย จากการกู้ยืมเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และผลขาดทุนทั้งหมด จากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ทั้งในส่วนที่กระทรวงการคลังจัดหาให้และในส่วนที่ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส.

สศช.จี้ปิดบัญชีไม่เกิน5แสนล้าน

ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ทำรายงานความเห็นประกอบเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม ครม. 3 ข้อเพื่อให้การบริหารโครงการฯมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1.การปิดบัญชีกรณีใดๆก็ตาม ซึ่งกรณีที่ต้องใช้เงินเพิ่มเติม จะต้องปิดบัญชีให้อยู่ในกรอบวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท ตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2556

2.กระทรวงพาณิชย์ควรจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน การระบายสต็อกข้าว และกระแสเงินสดของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่มีอยู่ ให้ ครม.รับทราบเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2555, 1 พ.ค. 2555 และ 31 มี.ค. 2555 เพื่อให้ ครม.มีข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ควรจัดทำระบบการกำกับการตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทั้งกระบวนการให้มีความรัดกุม

แนะจำกัดปริมาณจำนำ-พื้นที่ผลิต

และ 3.เพื่อให้มีการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพและลดภาระงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ กระทรวงพาณิชย์ ควรพิจารณาจำกัดปริมาณรับจำนำและพื้นที่การผลิตต่อครัวเรือนเกษตรกร โดยเน้นเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสม ตามประกาศเขตพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนกำหนดราคา ให้สอดคล้องกับราคาของตลาดโลก เพื่อให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้

นายกฯมึนพาณิชย์เสนอรวมโครงการ

แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า บรรยากาศในการประชุม ครม. จังหวัดกำเเพงเพชรวานนี้ มีเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ขอให้นำเสนอครม.พิจารณาทบทวนมติเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2556 ในเรื่องของวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 ซึ่งวาระดังกล่าวเสนอเข้ามาโดยฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 3 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) โดย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ได้ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ในการอธิบายสาเหตุของการนำเสนอวาระดังกล่าวเข้าครม. แต่ปรากฏว่า เมื่ออธิบายจบ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และครม.ก็ยังไม่เข้าใจ

"คือ นายกฯ ถามง่ายๆ ว่า ทำไมคุณต้องรวมข้าวนาปีกับนาปรัง แต่นายบุญทรงตอบไม่ได้ พูดประมาณเกือบ 10 นาที แต่ผลสรุปก็ตอบนายกฯ ไม่ได้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง จึงช่วยอธิบาย เพราะว่านายกิตติรัตน์เป็นประธานคณะกลั่นกรองฯ เรื่องนี้ และนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอดีตรมช.คลัง ก็ช่วยอธิบายอีกคน รวมทั้งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ก็ช่วยอีกหนึ่งแรง จนสรุปเป็นมติครม.ได้ และ นายกฯ จึงยิ้มได้" แหล่งข่าวครม. กล่าว

มอบ "วราเทพ" รวมข้อมูลชี้แจง

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า นายกฯถามในที่ประชุมครม.นายบุญทรง ก็ตอบไม่ได้ จึงได้มอบหมายให้นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวเพื่อช่วยชี้แจงอีกทาง โดยนายกฯ เน้นให้มีการพูดคุยถึงเรื่องโครงการรับจำนำข้าว เพราะยังมีประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนเข้าใจผิดอยู่ จึงมีการพูดถึงเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

"ปรีดิยาธร"ชี้ดันทุรังเจอหั่นเครดิตแน่

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตัวเลขขาดทุน 2 แสนล้านที่สถาบันจัดอันดับเครดิต มูดี้ส์ ประเมินนั้นถือว่าถูกต้อง แม้ว่าภายหลัง มูดี้ส์ จะออกมาบอกว่าไม่นำมาใช้ในการพิจารณาลดอันดับเครดิตไทยก็ตาม แต่หากรัฐบาลยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไปและขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นก็เป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อตัวเลขหนี้สาธารณะและ มูดี้ส์ ก็อาจจะนำมาใช้พิจารณาการจัดอันดับเครดิตไทย

"สิ่งที่คิดต่อไปได้ คือ ปีการผลิต 2555/2556 จะขาดทุนอีกเท่าไรหรือในอนาคตจะหยุดหรือไม่ ถ้ายังเดินต่อ มูดี้ส์ จะคิดได้เลยว่าต้องขาดทุนปีละ 2 แสนล้านบาท เป็นแบบนี้เรทติ้งก็จะตก ส่วนข้อมูลขาดทุน 2 แสนล้านบาทนั้น อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

จี้รัฐบาลเลิกโครงการจำนำทันที

เขาเสนอให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำ และหาโครงการอื่นๆ ที่สามารถทำให้ชาวนา ได้รับผลประโยชน์ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยและเป็นการยกระดับคุณภาพชาวนา เพราะว่าการเสียหายจากโครงการนี้ ส่งผลต่อคุณภาพข้าวเสื่อม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเสียหายอื่นๆ ซึ่งชาวนาจริงๆ ที่ได้ประโยชน์มีเพียง 1 ใน 3 หรือประมาณ 40% ของงบประมาณโครงการ

"ทางออกที่รัฐบาลจะลดราคาจำนำข้าว จะยิ่งทำให้ชาวนาได้ประโยชน์น้อยลงอีก เพราะส่วนที่สูญเสียจากข้าวที่เสื่อมคุณภาพ อัตราดอกเบี้ย ยังมีอยู่ เพราะข้าวก็ยังเข้ามากองอยู่ในมือรัฐบาล แนะนำว่าถึงเวลาที่ต้องเลิก ทิฐิ เพราะวิธีนี้ประเทศชาติเสียหายมาก หาวิธีอื่นที่ยกระดับชาวนา ถึงเวลาที่ต้องใช้สมองบ้างแล้ว"

เขาเห็นว่า การคำนวณผลการขาดทุนของโครงการ ระหว่างข้อมูลของกระทรวงการคลังและมูดี้ส์ว่า ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่แตกต่างกันและเป็นตัวเลขที่ถูกต้องทั้งคู่ มีเพียงสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดย มูดี้ส์ คำนวณรวมผลสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาหลัง จากการขายข้าวได้ทั้งหมด โดยประมาณการไว้ว่าจะหมดภายใน 4-6 ปี แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรคำนวณเพียงการรับจำนำข้าว ปี 2554/55 เพียงปีเดียว

ชี้ขาดทุนปีละ 2 แสนล้านบาท

การคำนวณของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร แบ่งเป็นส่วนของต้นทุน ประกอบด้วย วงเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.) จ่ายออกไปเพื่อใช้ในการรับจำนำข้าว ประมาณ 336,000 ล้านบาท รับจำนำข้าวปีการผลิต 2554/2555 ทั้ง ข้าวนาปีและนาปรัง 5,317,684 ล้านตันข้าวเปลือก รายจ่ายในการแปรสภาพข้าว รายจ่ายในการขนส่งข้าวสารไปยังโกดังกลาง รายจ่ายในการเก็บข้าวสาร จนถึงวันปิดบัญชีโครงการ
ดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้ที่ยังค้างอยู่จนถึงวันปิดบัญชีโครงการ และรายจ่ายอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หักจาก ส่วนของ รายรับ ประกอบด้วย รายได้จากการขายข้าวส่วนที่ขายออกไปแล้ว รวมกับส่วนของข้าวสารที่ยังไม่ได้ขายออก โดยอ้างอิงราคาข้าวในวันที่ปิดบัญชีโครงการ ซึ่งผลปรากฏว่ารายรับน้อยกว่าที่ต้นทุน ซึ่งเป็นผลขาดทุนประมาณ 136,800 ล้านบาท


มูดี้ส์ประเมินขายข้าวหมดใน 4 ปี

ขณะที่สมมติฐานของมูดี้ส์ที่ประเมินว่า การขาดทุนในโครงการจำนำข้าว ประมาณ 2 แสนล้านบาทนั้น ประกอบด้วยการขายข้าวที่เหลือตามราคาเดือนม.ค.-ก.พ. 2556 ขาดทุน 136,800 ล้านบาท รวมกับผลสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการขายข้าวทั้งหมด โดยประมาณการไว้ภายใน 4-6 ปี ในกรณีที่รัฐบาลรับจำนำข้าว 21.4 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 13-14 ล้านตันข้าวสาร รวมกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ปีละ 6,000-10,000 ล้านบาท ค่าเสื่อมสภาพข้าวทำให้ราคาข้าวลดลง เพราะน้ำหนักลดและคุณภาพเสื่อมอย่างน้อยปีละ 10% คิดเป็น 13,000-15,000 ล้านบาทต่อปี ส่งผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 19,000-25,000 ล้านบาท ดังนั้น ถ้าขายข้าวหมดภายใน 4-5 ปี ก็จะส่งผลขาดทุนถึง 200,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับค่าเก็บรักษาข้าวสารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

"ถึงเวลาเลิกหลอกประชาชน และขาดทุนขนาดนี้ก็ถึงเวลาทบทวน รัฐบาลควรแถลงข้อมูลให้ชัดเจน ถ้าไม่กลัวว่าคนอื่นจะหาว่าตัวเองทำอะไรผิดต่อประเทศชาติ ก็เปิดข้อมูลมา ว่าเหลือเท่าไร จะได้คำนวณว่าในที่สุดขาดทุนเท่าไร มันถึงเวลาพูดให้ชัดซะที"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////