ไม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ขัดมาตรา 68 อย่างไร แต่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กลับไม่ให้ค่าการวินิจฉัยเลย จาตุรนต์ เชื่อว่า ผลการวินิจฉัย จะออกมาทางใดก็ไม่มีความเป็นธรรม เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำขัดรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง “การที่ศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตั้งแต่รับคำร้องโดย ตรง สั่งประธานสภาให้ชะลอการลง มติก็ดี ล้วนเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น” อารมณ์ของจาตุรนต์ไม่แตกต่าง จากอารมณ์สองแกนนำคนสำคัญของ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) คือ “จตุพร พรหมพันธุ์ กับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ที่ประกาศแข็งกร้าวว่า ไม่เชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกัน ดังนั้นการเดินสายต่อต้านศาล รัฐธรรมนูญของจตุพรจึงยกระดับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ราวกับส่งสัญญาณทางใจเบื้องลึกว่า “ไม่เอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ต้องปฏิรูป”
การปฏิรูปนั้น มาจากศาลรัฐธรรมนูญทำขัดรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง รวมแล้วอย่างน้อย 6 ข้อกล่าวหา คือ หนึ่ง รับเรื่องข้ามขั้นตอนการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดโดยมิชอบ ซึ่งผิดกับระเบียบปฏิบัติตามมาตรา 68 สอง ไม่มี อำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นอำนาจชอบธรรมของรัฐสภา สาม แสดงเจตนารมณ์มุ่งหมายกล่าวร้ายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยไม่มีมูลความจริง สี่ ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติโดยมีคำสั่ง ให้เลขาธิการสภาแจ้งต่อประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ห้าประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วยการชี้นำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะล้มล้างการปกครองก่อนมีคำวินิจฉัยตามกระบวนการและหก ริเริ่มถอดประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่อศาลอาญา โดยไม่ผดุง ความยุติธรรม
แน่นอนว่า ข้อกล่าวหาการทำผิดต่อเนื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีลู่ทางให้นำเรื่อง ยื่นคำร้องกล่าวโทษไปสู่องค์กรใดมาตัด สิน นอกจากเสนอวุฒิสภาให้ “ถอดถอน” ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นการยากอย่างยิ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รู้สึกหนักใจกับข้อกล่าวหาเหล่านั้น คณะตุลาการยังเดินหน้าไปตามปกติผู้ร้องยื่นข้อกล่าวหาล้มการปกครองต่อศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 5 พวก แต่เมื่อพิจารณารายชื่ออย่างรัดกุมแล้ว ล้วนมาจากกลุ่มเดียว คือ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจเบื้องหลังพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา วันธงชัย ชำนาญกิจ บวร-ยสินทร และ วรินทร์ เทียมจรัส โดยทั้งหมดเสนอพยานรวมกัน 16 ชื่อ ซึ่ง จำแนกที่มา 3 กลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ส.ว. ในสังกัดกลุ่ม 40 ส.ว. สอง พรรคประชาธิปัตย์ และสาม สายวิชาการ ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อเชื่อมโยงรายชื่อผู้ยื่นคำร้องกับพยานในขั้นการไต่สวนแล้ว ล้วนมีที่มาและอดีตเป็น กลุ่มต่อต้าน เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ อย่าง เข้มข้นมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เมื่อผนวกเข้ากับศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา “รับคำร้อง” ตามมาตรา 68 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยแล้ว ข้อสรุปทางการเมืองจึงมีความ ชัดเจนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีท่าทีเล่น งาน พ.ต.ท.ทักษิณ กับพรรคการเมืองสนับสนุน “ทักษิณ” คือ พรรคเพื่อไทย ดังนั้น มีการคาดการณ์ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่วงหน้ามาตลอด ว่า เป็นไปได้สูงกับคำตัดสินว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68” นั่นบ่งบอกถึงสภาพพรรคเพื่อไทยได้ตกอยู่ในแดน “Killing Zone” มีโอกาสถูกเล่นงาน “ยุบพรรค” ซ้ำเติมเข้าไปอีก
แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายเริ่มเปลี่ยนไปสู่สิ่งดีขึ้น...เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เก็บอาการอยู่ เธอเฉยๆ ก้มหน้าก้มตาทำงาน และนัดกินข้าวมื้อเที่ยงกับ “ผู้นำเหล่าทัพ” เต็มไปด้วยรสชาติอาหารถูกปาก ผสมอารมณ์ชื่นมื่น นั่นสะท้อนสัมพันธภาพยัง “แน่นปึ้ก” จึงมีส่วนพลิกสถานการณ์จากแดนติดลบ ค่อยๆ กลับขึ้นมาอยู่ “แดนบวก” ประกอบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เป็นพี่ชายกลับ “นิ่งผิดปกติ” จึงมีส่วนให้ฝ่ายต่อต้านบางส่วนผ่อนคลายการ “รุก” ขั้นแตก หักลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถอนตัวจากพยานปากสำคัญอย่าง “นายอานันท์” ย่อมประเมินถึงผลการ วินิจฉัยได้บ้างว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังอยู่ในอาการ “ถอย” มากกว่าใช้การเด็ดขาดเพื่อนำไปสู่การเผชิญหน้าแตกหัก นับเป็นปัจจัยดีๆ ที่ส่งสัญญาณถึงพรรคเพื่อไทยว่า ผลคำวินิจฉัยของศาลคงไม่เลวร้ายเกินกว่าการรับมือ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ผลการวินิจฉัย โดยเชื่อมั่นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะ “ยกคำร้อง” ซึ่งเท่ากับทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปสู่การ ลงมติวาระ 3 ได้เร็วขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงความเห็นของ “เฉลิม” นักการเมืองผู้มากประสบการณ์ถึงที่สุดแล้ว ในวันไต่สวนพยาน ผู้ร้องเริ่มต้นขึ้น การทยอยถอนตัวจาก พยานคนสำคัญย่อมบ่งบอกถึงบรรยากาศการเมืองได้ผ่อนคลายไปมาก คำถามง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเผชิญหน้าขั้นแตกหักกับพลังประชาชนที่ลุกฮือขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่กล้า” เพราะพลังอำนาจที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังยังไม่ชนะเด็ดขาด ดังนั้นโอกาสที่จะ “ถอยอย่างมีเชิง” จึงย่อมเกิดขึ้นสูงยิ่ง
ถอยอย่างมีเชิงของศาลรัฐธรรมนูญคือ ให้พรรคเพื่อไทยหลุดจาก ข้อหาล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องเป็นโมฆะ ทำไม่ได้การประเมินเช่นนี้ อาจพลิกอีก เนื่องจากศาลแห่งนี้เคยมีประวัติการสร้างบรรทัดฐานเหนือการหยั่งรู้ด้วยหลักวิชาการมาแล้วในกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช หลุดจากเก้าอี้นายก รัฐมนตรี แต่ที่แน่ๆ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไม่รอดจากคำวินิจฉัยของพรรคเพื่อไทยให้หลุด จากตำแหน่ง เนื่องจากคลิปเสียงเป็นพิษค่อนข้างฟันธง คอนเฟิร์มเลยทีเดียว
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ส่องปรองดองสยามประเทศ ผ่านเลนส์หม่อง !!?
โจทย์การปรองดองในประเทศไทย ณ ขณะนี้ถือว่ายังเปรียบเป็นแสงตะเกียงริบหรี่น่าหวั่นใจ ไม่ว่าจะทาง ออกทั้งในสภาที่ยังต้อง รอท่ากันอีกเป็นเดือนคือ 1 สิงหาคม และยังน่าหวั่นใจเพราะแม้จะมีสภาพไม่ต่างจากทะเลที่เรียบสงบ หากแต่คลื่น ใต้น้ำที่มาตามแรงอาฟเตอร์ช็อกการเมืองอยู่ เป็นระลอกๆ
อีกหนึ่งตัวแปรที่จะวางตา วางใจเสียไม่ได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะตีความออกมาอย่างไร.. หมู่หรือจ่า!! แม้ว่าจะเปิดสภาก็ยังต้องเจอกับการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ กลไกทางการเมืองที่ฝ่ายค้านจะใช้หักล้างรัฐบาลแบบ ในเกม และรัฐบาลหมดสิทธิยุบสภาแน่นอนหันมามองปัจจัยนอกสภาระยะนี้ต่างฝ่ายต่างเดินสายแสดงคอนเสิร์ตคิว แน่นเอี้ยด..เนื้อหาของทั้งเสื้อแดง..เสื้อฟ้า ก็หาได้แตกกันในประเด็น แก้รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ปรองดอง ศาลรัฐธรรมนูญ ..แต่แปลกที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่หยิบตำราคนละเล่ม พูดกันคนละด้าน ฝ่ายหนึ่งหนุน ฝ่ายหนึ่งต้าน
กลเม็ดเด็ดพรายก็ต่างสรรหาหยิบจับมามัดใจแฟนคลับของแต่ละสี แต่ละเผ่าทั้งตัวยืนฝ่ายแดง อย่างคู่หูตู่-เต้น..บินไปขึ้นเวทียิ่งกว่า “สายัณห์ สัญญา” สมัยก่อน..อีกด้านหนึ่งก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน..ทีมงานสายล่อฟ้าจากบลู สกาย “ศิริโชค, ชวนนท์ และเทพไท”..ทั้งรุ่นใหญ่อย่าง “เทพเทือก โอบามาร์ค” เนื้อหาก่อให้เกิดแนวความคิดในเชิงแตกแยกทั้งสิ้น จนยากจะมอง เห็นแนวทางจะปรองดองมองไปรอบบ้านผ่านเมืองใกล้เคียง ที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเราถึง 50 ปีอย่างพม่า..
พม่าหันหน้ากลับมาเช็กแฮนด์กันเฉยระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารกับฝ่าย ค้านอย่างพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันกับชน กลุ่มน้อยมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่าและนางอองซาน ซูจี สามารถหันหน้า เข้าหากัน และตกลงกันได้ คือผลประโยชน์ของประเทศ เช่นเรื่องการ เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนจำนวนมาก เพราะเห็นว่า ปิดประเทศมานาน ถ้าจะเปิดให้มี การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าเน้นปริมาณ หรือเม็ดเงิน ลงทุน
ประเทศพม่าในตอนนี้จึงเป็นประเทศกรณีศึกษาอีกประเทศหนึ่งที่น่า สนใจ และเรียนรู้เพราะเขากลับมามีแนวคิดในเชิงปรองดอง ซึ่งต่างจากเพื่อนบ้านที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งมังค่า อย่างสาระขันประเทศแต่หากวิเคราะห์ในเบื้องลึกก็จะเห็นเงื่อนไขของการปรองดองว่าหาใช่ง่ายดายอย่างที่คิด บาดแผลที่กรีดลึกลงในสังคมนานนับสิบปีจะประสานกันได้จะมีแผลเป็นหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ว่า แผลนั้นหายสนิทหรือเปล่า
“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะไว้ถึงเงื่อนไขเชิงกลไกทางการเมืองของการปรองดองในประเทศพม่าว่า “เราต้องไม่ลืมไปว่านางอองซาน ซูจี ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2558 ซึ่งนางอองซาน ซูจีจะมีอายุ 70 ปี เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พม่า อีกทั้งความต่างของคนหนุ่มสาวกับ คนอายุ 70-80 ปีทำให้เธอดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าใดนัก”
นอกจาก “อองซาน ซูจี” จะดิ้นรน แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเข้าข้างตนเอง และพวกพ้อง ว่าอายุ 70 ปีก็ยังเป็นประธานาธิบดี ได้ หรือการมีคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญหากจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครทำกัน และนางก็คง ไม่เคยมีความคิดประเภทนั้น..!!!
จากประวัติซูจีไม่ได้มีแนวคิดทาง การเมืองแจ่มชัดมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยชาติกำเนิดที่เป็นลูกสาวนายพลอองซาน ประกอบกับช่วงที่กลับประเทศ เธอมาด้วยเหตุผลเพราะต้องการมาพยาบาลมารดาซึ่งป่วยหนัก จนกระทั่งได้เห็นสถานการณ์การเมืองในพม่าที่มีความ รุนแรง การสังหารนิสิตนักศึกษา เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเรียกร้อง ลักษณะนี้เหมือนการตกกระไดพลอยโจน ไม่ใช่เจตนาหลักที่จะเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งคล้ายกับนายกฯ ของประเทศไทยคนปัจจุบัน แต่แน่นอนว่ามีจุดต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งที่มา และแรงผลักดันที่ดูต่างกันบ้าง
ในชั่วโมงนี้ที่ประเทศพม่ากำลังก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง การเปิดประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคม โลก..ส่วนนี้อาจทำให้รัฐบาลทหารพม่าลดความเกรี้ยวกราดลง และมีความอดทนอดกลั้นในแนวคิดแบบที่คุ้นชินมาจากระบอบเผด็จการทหารมากขึ้น
ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ คือนาง อองซาน ซูจีควรจะอยู่ในฐานะอะไรซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ในตำแหน่งผู้นำประเทศแน่ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “รัฐธรรมนูญของพม่าได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติผู้เป็นประธานาธิบดีไว้หลายเรื่อง เช่น ห้ามสมรสกับชาวต่างชาติอายุเกิน 70 ปี” ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าปิดทางเข้าออกทั้งหมดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเทศของนางอองซาน ซูจี อย่างเบ็ดเสร็จตามเกมที่ทหารวางไว้เรายังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ นอนได้ว่าอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร เหมือนกับที่เราเองก็ยังคิด ไม่ออกถึงแนวทางการปรองดองประประเทศไทย..แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ของประเทศพม่าในตอนนี้คือ เกมรุก เกมถอย ของฝ่ายต่างๆ ทาง การเมืองของพม่าซึ่งแม้ว่าลึกๆจะตั้งอยู่บนเหตุผลของอำนาจ หากแต่เงื่อนไขหลักที่น่าสนใจคือ..ผลประโยชน์ของประเทศ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อีกหนึ่งตัวแปรที่จะวางตา วางใจเสียไม่ได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะตีความออกมาอย่างไร.. หมู่หรือจ่า!! แม้ว่าจะเปิดสภาก็ยังต้องเจอกับการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ กลไกทางการเมืองที่ฝ่ายค้านจะใช้หักล้างรัฐบาลแบบ ในเกม และรัฐบาลหมดสิทธิยุบสภาแน่นอนหันมามองปัจจัยนอกสภาระยะนี้ต่างฝ่ายต่างเดินสายแสดงคอนเสิร์ตคิว แน่นเอี้ยด..เนื้อหาของทั้งเสื้อแดง..เสื้อฟ้า ก็หาได้แตกกันในประเด็น แก้รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ปรองดอง ศาลรัฐธรรมนูญ ..แต่แปลกที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่หยิบตำราคนละเล่ม พูดกันคนละด้าน ฝ่ายหนึ่งหนุน ฝ่ายหนึ่งต้าน
กลเม็ดเด็ดพรายก็ต่างสรรหาหยิบจับมามัดใจแฟนคลับของแต่ละสี แต่ละเผ่าทั้งตัวยืนฝ่ายแดง อย่างคู่หูตู่-เต้น..บินไปขึ้นเวทียิ่งกว่า “สายัณห์ สัญญา” สมัยก่อน..อีกด้านหนึ่งก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน..ทีมงานสายล่อฟ้าจากบลู สกาย “ศิริโชค, ชวนนท์ และเทพไท”..ทั้งรุ่นใหญ่อย่าง “เทพเทือก โอบามาร์ค” เนื้อหาก่อให้เกิดแนวความคิดในเชิงแตกแยกทั้งสิ้น จนยากจะมอง เห็นแนวทางจะปรองดองมองไปรอบบ้านผ่านเมืองใกล้เคียง ที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเราถึง 50 ปีอย่างพม่า..
พม่าหันหน้ากลับมาเช็กแฮนด์กันเฉยระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารกับฝ่าย ค้านอย่างพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันกับชน กลุ่มน้อยมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่าและนางอองซาน ซูจี สามารถหันหน้า เข้าหากัน และตกลงกันได้ คือผลประโยชน์ของประเทศ เช่นเรื่องการ เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนจำนวนมาก เพราะเห็นว่า ปิดประเทศมานาน ถ้าจะเปิดให้มี การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าเน้นปริมาณ หรือเม็ดเงิน ลงทุน
ประเทศพม่าในตอนนี้จึงเป็นประเทศกรณีศึกษาอีกประเทศหนึ่งที่น่า สนใจ และเรียนรู้เพราะเขากลับมามีแนวคิดในเชิงปรองดอง ซึ่งต่างจากเพื่อนบ้านที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งมังค่า อย่างสาระขันประเทศแต่หากวิเคราะห์ในเบื้องลึกก็จะเห็นเงื่อนไขของการปรองดองว่าหาใช่ง่ายดายอย่างที่คิด บาดแผลที่กรีดลึกลงในสังคมนานนับสิบปีจะประสานกันได้จะมีแผลเป็นหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ว่า แผลนั้นหายสนิทหรือเปล่า
“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะไว้ถึงเงื่อนไขเชิงกลไกทางการเมืองของการปรองดองในประเทศพม่าว่า “เราต้องไม่ลืมไปว่านางอองซาน ซูจี ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2558 ซึ่งนางอองซาน ซูจีจะมีอายุ 70 ปี เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พม่า อีกทั้งความต่างของคนหนุ่มสาวกับ คนอายุ 70-80 ปีทำให้เธอดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าใดนัก”
นอกจาก “อองซาน ซูจี” จะดิ้นรน แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเข้าข้างตนเอง และพวกพ้อง ว่าอายุ 70 ปีก็ยังเป็นประธานาธิบดี ได้ หรือการมีคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญหากจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครทำกัน และนางก็คง ไม่เคยมีความคิดประเภทนั้น..!!!
จากประวัติซูจีไม่ได้มีแนวคิดทาง การเมืองแจ่มชัดมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยชาติกำเนิดที่เป็นลูกสาวนายพลอองซาน ประกอบกับช่วงที่กลับประเทศ เธอมาด้วยเหตุผลเพราะต้องการมาพยาบาลมารดาซึ่งป่วยหนัก จนกระทั่งได้เห็นสถานการณ์การเมืองในพม่าที่มีความ รุนแรง การสังหารนิสิตนักศึกษา เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเรียกร้อง ลักษณะนี้เหมือนการตกกระไดพลอยโจน ไม่ใช่เจตนาหลักที่จะเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งคล้ายกับนายกฯ ของประเทศไทยคนปัจจุบัน แต่แน่นอนว่ามีจุดต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งที่มา และแรงผลักดันที่ดูต่างกันบ้าง
ในชั่วโมงนี้ที่ประเทศพม่ากำลังก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง การเปิดประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคม โลก..ส่วนนี้อาจทำให้รัฐบาลทหารพม่าลดความเกรี้ยวกราดลง และมีความอดทนอดกลั้นในแนวคิดแบบที่คุ้นชินมาจากระบอบเผด็จการทหารมากขึ้น
ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ คือนาง อองซาน ซูจีควรจะอยู่ในฐานะอะไรซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ในตำแหน่งผู้นำประเทศแน่ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “รัฐธรรมนูญของพม่าได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติผู้เป็นประธานาธิบดีไว้หลายเรื่อง เช่น ห้ามสมรสกับชาวต่างชาติอายุเกิน 70 ปี” ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าปิดทางเข้าออกทั้งหมดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเทศของนางอองซาน ซูจี อย่างเบ็ดเสร็จตามเกมที่ทหารวางไว้เรายังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ นอนได้ว่าอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร เหมือนกับที่เราเองก็ยังคิด ไม่ออกถึงแนวทางการปรองดองประประเทศไทย..แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ของประเทศพม่าในตอนนี้คือ เกมรุก เกมถอย ของฝ่ายต่างๆ ทาง การเมืองของพม่าซึ่งแม้ว่าลึกๆจะตั้งอยู่บนเหตุผลของอำนาจ หากแต่เงื่อนไขหลักที่น่าสนใจคือ..ผลประโยชน์ของประเทศ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เส้นทาง :อำนาจพิเศษ ชักใย มวลชนหลากสี’สู่สัญญาณ รัฐประหารเงียบ !!?
เมื่อแนวรบทางการเมืองสงบไปชั่วคราว ก็มีเวลาให้ “รัฐบาล” ได้พักหายใจหายคอ อย่างน้อยก็ชั่วระยะปิดสมัย ประชุมสภา 6 สัปดาห์ ก่อนจะรูดม่านกันใหม่ราวสิงหาคมนี้ ซึ่งแน่นอนว่า “อุณหภูมิ” การเมืองไทยจะกลับมาทะลุองศาเดือดอีกครั้ง!
ทว่า...ได้มีรายการคั่นเวลา ที่ว่ากันถึงโมเดลใหม่ “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นความต่อเนื่องจากปม “2 สตรีสูงศักดิ์” และ “บุรุษสักยันต์ห้าแถว” ที่กลายเป็นปริศนาเขย่าการเมืองไทยในพลันที่อดีตผู้จัดการ “เทพประทาน” ออกมาปูดข่าวว่า “ตัวละคร” ที่กล่าวมานี้ เข้ามารับหน้าที่ “ม้าใช้” ให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เพื่อส่งสารลับ สุดยอด! เปิดหมากกาวใจระหว่าง 2 พรรค การเมืองใหญ่ หวังให้ “ประชาธิปัตย์” หยุด-ละ-เลิก! เกมคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ “วาระ 3” และสงบศึกปรองเดือด แลกกับ การดึงเข้าร่วมรัฐบาล หรือร่วมกันเข็นโมเดล “รัฐบาลแห่งชาติ”
แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง จะยิ่งดูชัดเจนว่า เป็นการจงใจปล่อยข่าว มุ่งสาด กระสุนถล่มใส่ “คนเสื้อแดง” และรัฐนาวา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ในเวลาเดียวกัน นั่นเพราะสิ่งที่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ต้องการ สื่อ ย่อมมิใช่การเปิด “ตัวละคร” ในฐานะโซ่ข้อกลาง หากแต่เป็นการ “แบ่งแยก” ทัพเสื้อแดงกับ “เพื่อไทย” ให้ขาดออกจาก กัน นำมาซึ่งความเคลือบแคลงใจต่อกันอย่างที่สุด
เหนืออื่นใด ยังเป็นการบ่อนทำลาย ความสัมพันธ์ระหว่าง “แกนนำรัฐบาล” และพรรคร่วมฯ ก่อกำเนิดความขัดแย้ง-แตกคอกันเอง แต่จะบานปลายจนถึงขั้น “ย้ายขั้ว” เปลี่ยนสูตรตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่หมากกลของกลุ่มอำนาจพิเศษ! ซึ่งเคยสนับสนุนการรัฐประหาร และการเปลี่ยนแปลงแบบ “เฉพาะกิจ”
แม้ในทีแรก “คณะอำนาจ” กลุ่มนี้ยังเก็บเนื้อเก็บตัว เล่นมุกปรองดองไปตาม บท แต่เมื่อรัฐนาวากำลังรุกคืบเข้ามาใกล้ “กล่องดวงใจ” ไม่ว่าจะปมแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และโมเดลปรองดอง รวมทั้ง การที่มวลชนซีกรัฐบาล “หันคมดาบ” เข้าใส่คณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ “กลุ่มอำนาจพิเศษ” คิดเอาคืนทันควัน! และมีปฏิกิริยาผ่านเครือข่ายฯ มีการเปิดเกมโต้ตอบ ทั้งบนดิน-ใต้ดิน ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นระยะจวบจนล่าสุดได้มีการปูดกระแส “รัฐประหารเงียบ” และมีการเปิด “โมเดล งูเห่า” ภาคใหม่ ในมุ้งค่ายเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล สิ่งที่น่ากลัว...! และหลายคนกำลังหวาดวิตก นั่นคือการรัฐประหารเงียบที่มา จาก “อำนาจพิเศษ” ซึ่งเป็นไปในรูปของการ “เกี้ยเซียะ” กันทางการเมือง โดยมี “คนกลาง” มาจับขั้วให้เป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” เหมือนเมื่อครั้งการตั้งรัฐบาลในค่ายทหารเมื่อปี 2551 ซึ่งแน่นอน หากดำเนิน หมากไปตาม “งูเห่าโมเดล” ของกลุ่มอำนาจพิเศษนี้ ย่อมทำให้เกิดอาการ “แข็งขืน” โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ที่คงจะเปิดหน้าแลกหมัด เอากันให้ตายไปข้าง!!! เช่นที่เห็นและเป็นไป...! ข่าวการล้อมกรอบศาลรัฐธรรมนูญของ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ที่ให้เหตุผลว่า...ศาลรัฐธรรมนูญถือเป็น “ศาลพิเศษ” และเป็น “อำนาจมืดนอกระบบ” โดยมีการระบุไว้ในชุดเอกสารและจดหมายเปิดผนึก ซึ่งได้มีข้อสังเกตอยู่มากว่า อำนาจพิเศษนี้ส่งผลหรือ มีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติ หรือเลวร้ายอย่างที่กลุ่มคนดังกล่าวตั้งโจทย์ไว้หรือไม่?!!
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล กูรูด้านรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ให้จำกัดความถึง “อำนาจพิเศษ” ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง...ว่าอำนาจเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่จะออกมาแสดงบทบาท เมื่อประชาชนยังขัดแย้งกันอยู่ อำนาจส่วนอื่นก็ออกมา “ละลาย” หรือก็คือกลุ่มความคิดทางการเมืองในสังคม อาทิ สถาบันผู้สูงศักดิ์ หรือ ผู้มีอิทธิพล ซึ่งในทางรัฐศาสตร์เรียกกันว่า “ชนชั้นนำแบบจารีต” ที่ยังมีคนให้ความนับถือ หรือให้ความสำคัญ และยังเชื่อว่า การเมืองในประเทศไทยต้องมีผู้ชี้นำ กระนั้นแล้ว เส้นทางของอำนาจพิเศษเหล่านี้ นอกเหนือจาก “สถาบันหลัก” คือตุลาการ-นิติบัญญัติ และกองทัพ ยังคง มีการขับเคลื่อนผ่าน “กลไกภาคประชาชน” ด้วยการทำให้หลายกลุ่มเชื่อถือ เห็นด้วยกับความคิด ซึ่งในปัจจุบันมีการ “ใช้” พลังมวลชนหลายกลุ่ม ทั้งคนเสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี ตลอดจนเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหว อันเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนทางการเมือง สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือการต่อต้าน ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐ ซึ่ง เท่ากับเป็นการ “ปฏิวัติเงียบ” เป็นอารยะขัดขืน และในที่สุดรัฐบาลก็ปกครองไม่ได้ บริหารไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น รัฐบาล ก็ไม่จัดการดูแล มีการแตกกลุ่มขยายความ คิดออกไปมากมาย และเท่าที่เห็นในขณะนี้ คือกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ เป็นกลุ่มที่ต้องการ ขายไอเดีย สร้างเครือข่ายใหม่เพื่อใช้โค่น ล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และต่อต้านกลุ่ม เสื้อแดง “นปช.” และนั่นคือ มุมแห่งวิพากษ์ของกูรูรัฐศาสตร์ มสธ.ท่ามกลางกระแสข่าว “พลิกขั้ว-รัฐประหารเงียบ” ด้วยผลข้างเคียงในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันเป็นการ “ขยำกล่องดวงใจ” ของฝ่ายอำนาจนอกระบบ ตลอดจนการเดินหน้า “โมเดลปรองดอง” ซึ่งได้สร้างความขัดแย้งรอบใหม่ให้แก่สังคมไทย
มีความเป็นไปได้ว่า “รัฐบาล” อาจจะใช้ “ยาแรง” เพื่อระงับอาการเจ็บไข้ของสังคมไทย ทว่าหากไม่สามารถควบคุม ผลข้างเคียงได้แล้ว ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงเกินไป หากเลือกใช้ยาแรงขนานนี้ ยิ่งในยุคที่ “มวลชนกลุ่มใหญ่” และคณะอำมาตย์ ยังฝักใฝ่...เรียกร้อง “อำนาจพิเศษ” และยังมุ่งจะ “ผูกขาด” การกำหนด สถานการณ์บ้านเมืองอยู่เช่นนี้แล้ว แน่นอน ว่า “ความเสี่ยง” ที่จะถูกต่อต้านทั้งในและนอกระบบ ดูจะยิ่งบานปลายจนกลายเป็น สงครามการเมืองรอบใหม่...ในไม่ช้าไม่นาน?!!
ทั้งหมดทั้งปวง...ย่อมไม่มีทางลัดใด! ที่จะนำพาชาติบ้านเมืองให้เติบใหญ่-ก้าวไกลไปข้างหน้า นอกเสียจากการก้าว เดินอย่างมั่นคงตามกรอบกติกาประชาธิปไตย ทว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ “ยอมรับ” ในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ทว่า...ได้มีรายการคั่นเวลา ที่ว่ากันถึงโมเดลใหม่ “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นความต่อเนื่องจากปม “2 สตรีสูงศักดิ์” และ “บุรุษสักยันต์ห้าแถว” ที่กลายเป็นปริศนาเขย่าการเมืองไทยในพลันที่อดีตผู้จัดการ “เทพประทาน” ออกมาปูดข่าวว่า “ตัวละคร” ที่กล่าวมานี้ เข้ามารับหน้าที่ “ม้าใช้” ให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เพื่อส่งสารลับ สุดยอด! เปิดหมากกาวใจระหว่าง 2 พรรค การเมืองใหญ่ หวังให้ “ประชาธิปัตย์” หยุด-ละ-เลิก! เกมคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ “วาระ 3” และสงบศึกปรองเดือด แลกกับ การดึงเข้าร่วมรัฐบาล หรือร่วมกันเข็นโมเดล “รัฐบาลแห่งชาติ”
แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง จะยิ่งดูชัดเจนว่า เป็นการจงใจปล่อยข่าว มุ่งสาด กระสุนถล่มใส่ “คนเสื้อแดง” และรัฐนาวา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ในเวลาเดียวกัน นั่นเพราะสิ่งที่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ต้องการ สื่อ ย่อมมิใช่การเปิด “ตัวละคร” ในฐานะโซ่ข้อกลาง หากแต่เป็นการ “แบ่งแยก” ทัพเสื้อแดงกับ “เพื่อไทย” ให้ขาดออกจาก กัน นำมาซึ่งความเคลือบแคลงใจต่อกันอย่างที่สุด
เหนืออื่นใด ยังเป็นการบ่อนทำลาย ความสัมพันธ์ระหว่าง “แกนนำรัฐบาล” และพรรคร่วมฯ ก่อกำเนิดความขัดแย้ง-แตกคอกันเอง แต่จะบานปลายจนถึงขั้น “ย้ายขั้ว” เปลี่ยนสูตรตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่หมากกลของกลุ่มอำนาจพิเศษ! ซึ่งเคยสนับสนุนการรัฐประหาร และการเปลี่ยนแปลงแบบ “เฉพาะกิจ”
แม้ในทีแรก “คณะอำนาจ” กลุ่มนี้ยังเก็บเนื้อเก็บตัว เล่นมุกปรองดองไปตาม บท แต่เมื่อรัฐนาวากำลังรุกคืบเข้ามาใกล้ “กล่องดวงใจ” ไม่ว่าจะปมแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และโมเดลปรองดอง รวมทั้ง การที่มวลชนซีกรัฐบาล “หันคมดาบ” เข้าใส่คณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ “กลุ่มอำนาจพิเศษ” คิดเอาคืนทันควัน! และมีปฏิกิริยาผ่านเครือข่ายฯ มีการเปิดเกมโต้ตอบ ทั้งบนดิน-ใต้ดิน ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นระยะจวบจนล่าสุดได้มีการปูดกระแส “รัฐประหารเงียบ” และมีการเปิด “โมเดล งูเห่า” ภาคใหม่ ในมุ้งค่ายเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล สิ่งที่น่ากลัว...! และหลายคนกำลังหวาดวิตก นั่นคือการรัฐประหารเงียบที่มา จาก “อำนาจพิเศษ” ซึ่งเป็นไปในรูปของการ “เกี้ยเซียะ” กันทางการเมือง โดยมี “คนกลาง” มาจับขั้วให้เป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” เหมือนเมื่อครั้งการตั้งรัฐบาลในค่ายทหารเมื่อปี 2551 ซึ่งแน่นอน หากดำเนิน หมากไปตาม “งูเห่าโมเดล” ของกลุ่มอำนาจพิเศษนี้ ย่อมทำให้เกิดอาการ “แข็งขืน” โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ที่คงจะเปิดหน้าแลกหมัด เอากันให้ตายไปข้าง!!! เช่นที่เห็นและเป็นไป...! ข่าวการล้อมกรอบศาลรัฐธรรมนูญของ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ที่ให้เหตุผลว่า...ศาลรัฐธรรมนูญถือเป็น “ศาลพิเศษ” และเป็น “อำนาจมืดนอกระบบ” โดยมีการระบุไว้ในชุดเอกสารและจดหมายเปิดผนึก ซึ่งได้มีข้อสังเกตอยู่มากว่า อำนาจพิเศษนี้ส่งผลหรือ มีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติ หรือเลวร้ายอย่างที่กลุ่มคนดังกล่าวตั้งโจทย์ไว้หรือไม่?!!
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล กูรูด้านรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ให้จำกัดความถึง “อำนาจพิเศษ” ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง...ว่าอำนาจเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่จะออกมาแสดงบทบาท เมื่อประชาชนยังขัดแย้งกันอยู่ อำนาจส่วนอื่นก็ออกมา “ละลาย” หรือก็คือกลุ่มความคิดทางการเมืองในสังคม อาทิ สถาบันผู้สูงศักดิ์ หรือ ผู้มีอิทธิพล ซึ่งในทางรัฐศาสตร์เรียกกันว่า “ชนชั้นนำแบบจารีต” ที่ยังมีคนให้ความนับถือ หรือให้ความสำคัญ และยังเชื่อว่า การเมืองในประเทศไทยต้องมีผู้ชี้นำ กระนั้นแล้ว เส้นทางของอำนาจพิเศษเหล่านี้ นอกเหนือจาก “สถาบันหลัก” คือตุลาการ-นิติบัญญัติ และกองทัพ ยังคง มีการขับเคลื่อนผ่าน “กลไกภาคประชาชน” ด้วยการทำให้หลายกลุ่มเชื่อถือ เห็นด้วยกับความคิด ซึ่งในปัจจุบันมีการ “ใช้” พลังมวลชนหลายกลุ่ม ทั้งคนเสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี ตลอดจนเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหว อันเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนทางการเมือง สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือการต่อต้าน ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐ ซึ่ง เท่ากับเป็นการ “ปฏิวัติเงียบ” เป็นอารยะขัดขืน และในที่สุดรัฐบาลก็ปกครองไม่ได้ บริหารไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น รัฐบาล ก็ไม่จัดการดูแล มีการแตกกลุ่มขยายความ คิดออกไปมากมาย และเท่าที่เห็นในขณะนี้ คือกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ เป็นกลุ่มที่ต้องการ ขายไอเดีย สร้างเครือข่ายใหม่เพื่อใช้โค่น ล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และต่อต้านกลุ่ม เสื้อแดง “นปช.” และนั่นคือ มุมแห่งวิพากษ์ของกูรูรัฐศาสตร์ มสธ.ท่ามกลางกระแสข่าว “พลิกขั้ว-รัฐประหารเงียบ” ด้วยผลข้างเคียงในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันเป็นการ “ขยำกล่องดวงใจ” ของฝ่ายอำนาจนอกระบบ ตลอดจนการเดินหน้า “โมเดลปรองดอง” ซึ่งได้สร้างความขัดแย้งรอบใหม่ให้แก่สังคมไทย
มีความเป็นไปได้ว่า “รัฐบาล” อาจจะใช้ “ยาแรง” เพื่อระงับอาการเจ็บไข้ของสังคมไทย ทว่าหากไม่สามารถควบคุม ผลข้างเคียงได้แล้ว ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงเกินไป หากเลือกใช้ยาแรงขนานนี้ ยิ่งในยุคที่ “มวลชนกลุ่มใหญ่” และคณะอำมาตย์ ยังฝักใฝ่...เรียกร้อง “อำนาจพิเศษ” และยังมุ่งจะ “ผูกขาด” การกำหนด สถานการณ์บ้านเมืองอยู่เช่นนี้แล้ว แน่นอน ว่า “ความเสี่ยง” ที่จะถูกต่อต้านทั้งในและนอกระบบ ดูจะยิ่งบานปลายจนกลายเป็น สงครามการเมืองรอบใหม่...ในไม่ช้าไม่นาน?!!
ทั้งหมดทั้งปวง...ย่อมไม่มีทางลัดใด! ที่จะนำพาชาติบ้านเมืองให้เติบใหญ่-ก้าวไกลไปข้างหน้า นอกเสียจากการก้าว เดินอย่างมั่นคงตามกรอบกติกาประชาธิปไตย ทว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ “ยอมรับ” ในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สนตะพาย รูจมูก !!?
ดึงประชาชน มาเป็นแก๊งค์ข้างถนน เพื่อล้มล้างประชาธิปไตยเต็มใบ เป็นสิ่งไม่ถูก
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารงานไม่เข้าตาชาวบ้านร้านตลาด ..เธอก็ถูกตะเพิดไล่
กฎกติกามารยาท กำหนดเทอม วาระการเป็น “นายกรัฐมนตรี” เอาไว้คอร์สละ ๔ ปี ..ฉะนั้น จงยอมรับกฎหมายสูงสุด ที่ “รัฐธรรมนูญ” ตรากันเอาไว้
เล่นไปล้างสมอง เพื่อพาคนมาตาย...เหมือนที่เคยประณาม “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง..เวรกรรมต้องนี้ จะย้อนศรไปเล่นงาน พรรคกลิ้งกลอก
“จำลอง”มิได้พาคนไปตาย...แต่มันเป็นการไส้ไคล้..ป้ายสีจนแก้ข้อหานี้ไม่ออก
++++++++++++++++++++++++++++
สถานการณ์ร้อนปรอทแตก
เลวร้ายยิ่งกว่า “สงครามครั้งสุดท้าย” ...กลยุทธ์ทุกมุกทุกไม้ แผนใต้ดินมีตรงไหนบ้าง เขางัดมาเต็มแม็ก เพื่อทำให้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แหลก
เพราะเมื่อ “ศาลโลก” รับคดีสังหารฆ่าประชาชน ๙๘ ศพ เอาไว้เสร็จสรรพ
“ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ต้องใช้หนทางเลววิธีชั่ว เพื่อให้กลับมามีอำนาจอีกขอรับ
ขืนยอมสวัสดีภาพโดยดี เดินไปสู่ตะแลงแกลง ที่ “ศาลโลก” จะพิพากษา..ไม่วายต้องใช้เครื่องประหารสุนัข ตัดหัวเป็นร้อย ๆ ครั้ง
“ผู้นำที่บ้าอำนาจ”..สุดท้ายก็ขี้ขลาด?..ไม่เหลือความเป็นทรราชย์ เพราะเกรงศาลโลกสั่ง
++++++++++++++++++++++++
ผิดฝาผิดตัว
เฟสบุ๊ค มีแต่โอ็คของ“พานทองแท้ ชินวัตร”..ของแท้ที่เอา “ความจริง” มาแฉ จน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ต้องหดหัว
แต่ละเนื้อหา จัดมาแบบจัดหนัก จัดเต็ม ..เพื่อแฉตัวตน ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ทั้งดุ้น
ใช้น้ำลายพิษน้ำปน ว่า “โอ็คเทียม” สร้างสรรค์ประดิษฐ์ถ้อยคำ จึงฟังไม่ขึ้น ดอกคุณ
ใครกันแน่ ที่เป็น “หุ่นยนต์” ให้เขาชักใยอยู่เบื้องหลัง..จนกลายเป็น “อดีตนายกรัฐมนตรี” ที่เหยียบลงพื้นที่ไหน คนก็ตามประจาน
เป็น “หุ่นยนต์”แท้ ๆ ...ถูกเขาชักใยจนแย่?..นี่ยังทะร่อทะแร่ ไม่กล้ารับอีกหรือนั่น
++++++++++++++++++++++++
อ้างส่งเดช
เมื่อ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน” ไม่ยอมรับลูก เป็นพยานในศาลรัฐธรรมนูญ..เราจึงเห็นธาตุแท้ความทุเรศ
เพียงเพื่อที่จะเอาคน ที่สังคมชั้นสูงยอมรับ ว่าเป็นพยาน เพื่อโค่น “รัฐบาลปู”ให้บุบสลาย
เมื่อ “เจ้าตัว” สารภาพต่อคนทั้งประเทศ.. “ไม่รู้-ไม่ทราบ-ไม่เกี่ยว” และไม่รับนิมนต์ไปเป็นพยาน เพื่อโค่นล้มใคร
คิดจะใช้ภาพลักษณ์แห่งความอินเตอร์ ที่ทั่วโลกพากันยอมรับในตัว “ท่านอานันท์” เพื่อมาดับรัศมี นารีขี่ม้าขาว “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้กลายเป็นนายกฯ ที่ตกกระป๋องเสร็จสรรพ
คนสู้วางแผนเอาไว้หมด..แต่ก็สู้ฟ้ากำหนด...ไม่ยอมให้พวกโป้ปดทำลาย “นายกฯปู”หรอกครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทางออกประเทศ
ต้องยอมรับว่า “พ่อใหญ่” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ทำอย่างสุดเดช
ท่านแนะทางออก ให้ตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อดับทุกข์ของชาติ ที่ก่อมรสุมไม่หยุด
ได้ “รัฐบาลสายกลาง” มี “คนกลาง” มาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ถือเป็นทางออกของประเทศ ที่ดีที่สุด
จากนั้นค่อยให้ “พรรคการเมือง” ลงมามะรุมมะตุ้มเลือกตั้ง เพื่อชิงอำนาจการเป็น “นายกรัฐมนตรี”
ข่าวว่า “บิ๊กจิ๋ว” คนซื่อ...ก็แอบไปแตะมือ..เสร็จสรรพแล้วหรือ กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” เพื่อกลับมาลงเลือกตั้ง อีกที
โดย:คอมลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารงานไม่เข้าตาชาวบ้านร้านตลาด ..เธอก็ถูกตะเพิดไล่
กฎกติกามารยาท กำหนดเทอม วาระการเป็น “นายกรัฐมนตรี” เอาไว้คอร์สละ ๔ ปี ..ฉะนั้น จงยอมรับกฎหมายสูงสุด ที่ “รัฐธรรมนูญ” ตรากันเอาไว้
เล่นไปล้างสมอง เพื่อพาคนมาตาย...เหมือนที่เคยประณาม “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง..เวรกรรมต้องนี้ จะย้อนศรไปเล่นงาน พรรคกลิ้งกลอก
“จำลอง”มิได้พาคนไปตาย...แต่มันเป็นการไส้ไคล้..ป้ายสีจนแก้ข้อหานี้ไม่ออก
++++++++++++++++++++++++++++
สถานการณ์ร้อนปรอทแตก
เลวร้ายยิ่งกว่า “สงครามครั้งสุดท้าย” ...กลยุทธ์ทุกมุกทุกไม้ แผนใต้ดินมีตรงไหนบ้าง เขางัดมาเต็มแม็ก เพื่อทำให้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แหลก
เพราะเมื่อ “ศาลโลก” รับคดีสังหารฆ่าประชาชน ๙๘ ศพ เอาไว้เสร็จสรรพ
“ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ต้องใช้หนทางเลววิธีชั่ว เพื่อให้กลับมามีอำนาจอีกขอรับ
ขืนยอมสวัสดีภาพโดยดี เดินไปสู่ตะแลงแกลง ที่ “ศาลโลก” จะพิพากษา..ไม่วายต้องใช้เครื่องประหารสุนัข ตัดหัวเป็นร้อย ๆ ครั้ง
“ผู้นำที่บ้าอำนาจ”..สุดท้ายก็ขี้ขลาด?..ไม่เหลือความเป็นทรราชย์ เพราะเกรงศาลโลกสั่ง
++++++++++++++++++++++++
ผิดฝาผิดตัว
เฟสบุ๊ค มีแต่โอ็คของ“พานทองแท้ ชินวัตร”..ของแท้ที่เอา “ความจริง” มาแฉ จน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ต้องหดหัว
แต่ละเนื้อหา จัดมาแบบจัดหนัก จัดเต็ม ..เพื่อแฉตัวตน ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ทั้งดุ้น
ใช้น้ำลายพิษน้ำปน ว่า “โอ็คเทียม” สร้างสรรค์ประดิษฐ์ถ้อยคำ จึงฟังไม่ขึ้น ดอกคุณ
ใครกันแน่ ที่เป็น “หุ่นยนต์” ให้เขาชักใยอยู่เบื้องหลัง..จนกลายเป็น “อดีตนายกรัฐมนตรี” ที่เหยียบลงพื้นที่ไหน คนก็ตามประจาน
เป็น “หุ่นยนต์”แท้ ๆ ...ถูกเขาชักใยจนแย่?..นี่ยังทะร่อทะแร่ ไม่กล้ารับอีกหรือนั่น
++++++++++++++++++++++++
อ้างส่งเดช
เมื่อ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน” ไม่ยอมรับลูก เป็นพยานในศาลรัฐธรรมนูญ..เราจึงเห็นธาตุแท้ความทุเรศ
เพียงเพื่อที่จะเอาคน ที่สังคมชั้นสูงยอมรับ ว่าเป็นพยาน เพื่อโค่น “รัฐบาลปู”ให้บุบสลาย
เมื่อ “เจ้าตัว” สารภาพต่อคนทั้งประเทศ.. “ไม่รู้-ไม่ทราบ-ไม่เกี่ยว” และไม่รับนิมนต์ไปเป็นพยาน เพื่อโค่นล้มใคร
คิดจะใช้ภาพลักษณ์แห่งความอินเตอร์ ที่ทั่วโลกพากันยอมรับในตัว “ท่านอานันท์” เพื่อมาดับรัศมี นารีขี่ม้าขาว “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้กลายเป็นนายกฯ ที่ตกกระป๋องเสร็จสรรพ
คนสู้วางแผนเอาไว้หมด..แต่ก็สู้ฟ้ากำหนด...ไม่ยอมให้พวกโป้ปดทำลาย “นายกฯปู”หรอกครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทางออกประเทศ
ต้องยอมรับว่า “พ่อใหญ่” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ทำอย่างสุดเดช
ท่านแนะทางออก ให้ตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อดับทุกข์ของชาติ ที่ก่อมรสุมไม่หยุด
ได้ “รัฐบาลสายกลาง” มี “คนกลาง” มาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ถือเป็นทางออกของประเทศ ที่ดีที่สุด
จากนั้นค่อยให้ “พรรคการเมือง” ลงมามะรุมมะตุ้มเลือกตั้ง เพื่อชิงอำนาจการเป็น “นายกรัฐมนตรี”
ข่าวว่า “บิ๊กจิ๋ว” คนซื่อ...ก็แอบไปแตะมือ..เสร็จสรรพแล้วหรือ กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” เพื่อกลับมาลงเลือกตั้ง อีกที
โดย:คอมลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
จรัญ. ถอนตัวตัดสินคดีแก้รัฐธรรมนูญยันต้องทำ รายมาตรา !!?
จรัญ . ถอนตัวจากการเป็นองค์คณะตัดสินคดีแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพราะมีส่วนได้ส่วนเสีย ชี้แจงที่เคยพูดให้รับไปก่อนแล้วแก้ไขภายหลัง เพราะต้องการให้พ้นจากระบอบรัฐประหาร ย้ำการแก้ไขทำได้แต่ต้องทำรายมาตราไม่ใช่ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ “เรืองไกร” เผยศาลรับคำร้องเอาผิดผู้มีส่วนร่วมแปรญัตติไว้พิจารณาแล้ว หากผิดต้องยุบหมดทุกพรรค “ยิ่งลักษณ์” ระบุรัฐบาลใช้ข้อเท็จจริงต่อสู้ ไม่รู้สึกกังวลใจและเสียสมาธิทำงาน “วรวัจน์” ชี้จะเอาเรื่องที่ยังไม่เกิดมาตัดสินเป็นความผิดไม่ได้ “สมศักดิ์” เครียดเก็บตัวเงียบหลังคลิปเสียงหลุด
+++++++++++++++++++
ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มไต่สวนพยานแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 หรือไม่แล้วในวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยตั้งประเด็นการพิจารณาเอาไว้ 4 ประเด็น ประกอบด้วย อำนาจการฟ้องร้องตามมาตรา 98 การแก้มาตรา 291 เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และหากผิดจะเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองหรือไม่
“วัฒนา” นำทีมซักค้าน
พยานฝ่ายผู้ร้องที่ขึ้นให้การในชั้นไต่สวน 7 คน ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายวันธงชัย ชำนาญกิจ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายวรินทร์ เทียมจรัส นายบวร ยสินธร นายสุรพล นิติไกรพจน์ และนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ โดยมีผู้สนับสนุนเดินทางมาให้กำลังใจจำนวนมาก รวมทั้งมีการชุมนุมของประชาชนที่สนับสนุนด้านหน้าศาลด้วย ในขณะที่มีตัวแทนฝ่ายผู้ถูกร้องมาร่วมฟังการไต่สวนและซักค้าน เช่น นายวัฒนา เซ่งไพเราะ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายพิชิต ชื่นบาน และนายวีรภัทร ศรีโชค
การเบิกความของพยานฝ่ายผู้ร้องต่างให้การไปในทิศทางเดียวกันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญและเป็นการยึดอำนาจอีกรูปแบบหนึ่ง
“จรัญ” ถอนตัวไม่ร่วมตัดสิน
ทั้งนี้ หลังพักการไต่สวนพยานในช่วงเช้า เมื่อเริ่มพิจารณาในช่วงบ่าย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งให้ฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากการเป็นองค์คณะตุลาการทั้ง 5 สำนวน เนื่องจากถูกร้องว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี ที่ประชุมตุลาการมีมติอนุญาตตามขอเพื่อความเป็นกลาง (การถอนตัวของนายจรัญทำให้องค์คณะพิจารณาเหลือ 8 คน จาก 9 คน)
ยันต้องแก้รายมาตรา
ก่อนหน้านี้นายชูศักดิ์ได้ถามนายจรัญเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ในอดีต เรื่องที่ขอให้รับรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปก่อนแล้วค่อยแก้ไขในภายหลัง โดยแก้มาตราเดียวเพื่อตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งนายจรัญได้ชี้แจงในห้องพิจารณาคดีว่า “ผมพูดตอนนั้นว่าถ้าไม่ได้รัฐธรรมนูญ 2550 เราจะไม่พ้นจากระบอบปฏิวัติรัฐประหาร ดังนั้น น่าจะต้องรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อน แล้วถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมไม่ควรก็แก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ได้บอกว่าแก้มาตราเดียวแบบยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งคนละประเด็นกับคดีนี้ ดังนั้น แก้ไขมาตรานั้นมาตรานี้หรือ 100 มาตราก็ไม่มีปัญหา เพราะสังคมจะได้ตรวจสอบแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขแต่ละประเด็นแต่ละมาตราได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ”
“ปู” ไม่เสียสมาธิทำงาน
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า แม้จะมีปัญหาทางการเมืองรุมเร้ารัฐบาลหลายเรื่องในตอนนี้แต่ไม่ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน ตราบใดที่ยังอยู่ในตำแหน่งก็ต้องทำงานให้ประชาชนต่อไป ส่วนการชี้แจงเรื่องต่างๆเป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งมีผู้ทำหน้าที่อยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์นำคลิปเสียงของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกมาเผยแพร่นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ต้องให้นายสมศักดิ์ชี้แจงเอง ในส่วนของรัฐบาลยืนยันว่าการทำงานต่างๆเป็นไปตามขั้นตอนตามกรอบกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับว่าใครสั่งให้ทำหรือไม่ทำอะไร
“สมศักดิ์” เครียดคลิปเสียง
ที่รัฐสภา นายพินิจ จันทรสมบูรณ์ เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสมศักดิ์เกิดความเครียดหลังจากมีคลิปเสียงหลุดออกมา แต่ขณะนี้ยังไม่อยากพูดอะไร
“ความจริงการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรเป็นเรื่องของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล คนเป็นประธานไม่ได้มีอำนาจสั่งให้ใครทำหรือไม่ทำอะไร มีหน้าที่แค่ควบคุมการประชุมในสภาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเท่านั้น”
เชื่อศาลใช้เวลาไม่นานตัดสิน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นตัวแทนรัฐบาลไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เท่าที่ฟังข้อกล่าวหาของฝ่ายผู้ร้องเป็นเรื่องการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิด เป็นแค่ความกังวล คงไม่สามารถเอาเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดมาลงโทษคนในปัจจุบันได้
“ผมเชื่อว่าหลังการไต่สวนแล้วศาลคงใช้เวลาพิจารณาไม่นานก็จะมีคำตัดสินออกมา เพราะข้อเท็จจริงต่างๆเป็นเรื่องที่ยุติแล้ว”
ปล่อยคลิปหวังผลการเมือง
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์นำคลิปเสียงนายสมศักดิ์มาเปิดเพื่อหวังผลทางการเมือง และต้องการชี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เบื้องหลังการแก้รัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ปรองดอง
“ถ้าฟังคลิปดีๆจะรู้ว่าประชาธิปัตย์พลาด เพราะในเนื้อหานายสมศักดิ์บอกว่าเป็นคนกล่อม พ.ต.ท.ทักษิณให้ชะลอร่างรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ปรองดอง แสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถบงการหรือสั่งการได้อย่างที่อ้าง”
ศาลรับถอดถอน ส.ส.-ส.ว.
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวก ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของสมาชิกรัฐสภา (ส.ส.-ส.ว.) 416 คน ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณา พร้อมกับส่งหนังสือให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามายังรัฐสภาแล้วตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. โดยให้ชี้แจงภายใน 15 วัน
ทั้งมี มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้วินิจฉัย ส.ส. ส.ว. จำนวน 317 คน ที่ร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญและผู้แปรญัตติ ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาว่าเข้าข่ายกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ด้วย
ถ้าผิดต้องยุบทุกพรรค
นายเรืองไกรกล่าวว่า คำร้องของ พล.ต.จำลองถือเป็นความผิดของผู้เสนอร่างและผู้ลงมติรับหลักการ จึงได้เพิ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่ร่วมแปรญัตติเข้าไปด้วย เพราะถือว่ามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไข ถ้าผิดก็ต้องผิดด้วยกันทั้งหมด ถ้าต้องยุบพรรคก็ต้องยุบทุกพรรค นอกจากนี้กำลังพิจารณาว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เตรียมของบประมาณจัดตั้ง ส.ส.ร. ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดด้วยหรือไม่ รวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินที่เสนอความเห็นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาที่รัฐสภา และนักกฎหมายที่เป็นคณะที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินที่ทำข้อเสนอเรื่องนี้ด้วย
ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++
ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มไต่สวนพยานแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 หรือไม่แล้วในวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยตั้งประเด็นการพิจารณาเอาไว้ 4 ประเด็น ประกอบด้วย อำนาจการฟ้องร้องตามมาตรา 98 การแก้มาตรา 291 เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และหากผิดจะเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองหรือไม่
“วัฒนา” นำทีมซักค้าน
พยานฝ่ายผู้ร้องที่ขึ้นให้การในชั้นไต่สวน 7 คน ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายวันธงชัย ชำนาญกิจ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายวรินทร์ เทียมจรัส นายบวร ยสินธร นายสุรพล นิติไกรพจน์ และนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ โดยมีผู้สนับสนุนเดินทางมาให้กำลังใจจำนวนมาก รวมทั้งมีการชุมนุมของประชาชนที่สนับสนุนด้านหน้าศาลด้วย ในขณะที่มีตัวแทนฝ่ายผู้ถูกร้องมาร่วมฟังการไต่สวนและซักค้าน เช่น นายวัฒนา เซ่งไพเราะ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายพิชิต ชื่นบาน และนายวีรภัทร ศรีโชค
การเบิกความของพยานฝ่ายผู้ร้องต่างให้การไปในทิศทางเดียวกันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญและเป็นการยึดอำนาจอีกรูปแบบหนึ่ง
“จรัญ” ถอนตัวไม่ร่วมตัดสิน
ทั้งนี้ หลังพักการไต่สวนพยานในช่วงเช้า เมื่อเริ่มพิจารณาในช่วงบ่าย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งให้ฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบว่า นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากการเป็นองค์คณะตุลาการทั้ง 5 สำนวน เนื่องจากถูกร้องว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี ที่ประชุมตุลาการมีมติอนุญาตตามขอเพื่อความเป็นกลาง (การถอนตัวของนายจรัญทำให้องค์คณะพิจารณาเหลือ 8 คน จาก 9 คน)
ยันต้องแก้รายมาตรา
ก่อนหน้านี้นายชูศักดิ์ได้ถามนายจรัญเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ในอดีต เรื่องที่ขอให้รับรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปก่อนแล้วค่อยแก้ไขในภายหลัง โดยแก้มาตราเดียวเพื่อตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งนายจรัญได้ชี้แจงในห้องพิจารณาคดีว่า “ผมพูดตอนนั้นว่าถ้าไม่ได้รัฐธรรมนูญ 2550 เราจะไม่พ้นจากระบอบปฏิวัติรัฐประหาร ดังนั้น น่าจะต้องรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อน แล้วถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมไม่ควรก็แก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ได้บอกว่าแก้มาตราเดียวแบบยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งคนละประเด็นกับคดีนี้ ดังนั้น แก้ไขมาตรานั้นมาตรานี้หรือ 100 มาตราก็ไม่มีปัญหา เพราะสังคมจะได้ตรวจสอบแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขแต่ละประเด็นแต่ละมาตราได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ”
“ปู” ไม่เสียสมาธิทำงาน
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า แม้จะมีปัญหาทางการเมืองรุมเร้ารัฐบาลหลายเรื่องในตอนนี้แต่ไม่ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน ตราบใดที่ยังอยู่ในตำแหน่งก็ต้องทำงานให้ประชาชนต่อไป ส่วนการชี้แจงเรื่องต่างๆเป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งมีผู้ทำหน้าที่อยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์นำคลิปเสียงของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกมาเผยแพร่นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ต้องให้นายสมศักดิ์ชี้แจงเอง ในส่วนของรัฐบาลยืนยันว่าการทำงานต่างๆเป็นไปตามขั้นตอนตามกรอบกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับว่าใครสั่งให้ทำหรือไม่ทำอะไร
“สมศักดิ์” เครียดคลิปเสียง
ที่รัฐสภา นายพินิจ จันทรสมบูรณ์ เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสมศักดิ์เกิดความเครียดหลังจากมีคลิปเสียงหลุดออกมา แต่ขณะนี้ยังไม่อยากพูดอะไร
“ความจริงการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรเป็นเรื่องของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล คนเป็นประธานไม่ได้มีอำนาจสั่งให้ใครทำหรือไม่ทำอะไร มีหน้าที่แค่ควบคุมการประชุมในสภาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเท่านั้น”
เชื่อศาลใช้เวลาไม่นานตัดสิน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นตัวแทนรัฐบาลไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เท่าที่ฟังข้อกล่าวหาของฝ่ายผู้ร้องเป็นเรื่องการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิด เป็นแค่ความกังวล คงไม่สามารถเอาเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดมาลงโทษคนในปัจจุบันได้
“ผมเชื่อว่าหลังการไต่สวนแล้วศาลคงใช้เวลาพิจารณาไม่นานก็จะมีคำตัดสินออกมา เพราะข้อเท็จจริงต่างๆเป็นเรื่องที่ยุติแล้ว”
ปล่อยคลิปหวังผลการเมือง
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์นำคลิปเสียงนายสมศักดิ์มาเปิดเพื่อหวังผลทางการเมือง และต้องการชี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เบื้องหลังการแก้รัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ปรองดอง
“ถ้าฟังคลิปดีๆจะรู้ว่าประชาธิปัตย์พลาด เพราะในเนื้อหานายสมศักดิ์บอกว่าเป็นคนกล่อม พ.ต.ท.ทักษิณให้ชะลอร่างรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ปรองดอง แสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถบงการหรือสั่งการได้อย่างที่อ้าง”
ศาลรับถอดถอน ส.ส.-ส.ว.
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวก ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของสมาชิกรัฐสภา (ส.ส.-ส.ว.) 416 คน ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณา พร้อมกับส่งหนังสือให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามายังรัฐสภาแล้วตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. โดยให้ชี้แจงภายใน 15 วัน
ทั้งมี มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้วินิจฉัย ส.ส. ส.ว. จำนวน 317 คน ที่ร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญและผู้แปรญัตติ ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาว่าเข้าข่ายกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ด้วย
ถ้าผิดต้องยุบทุกพรรค
นายเรืองไกรกล่าวว่า คำร้องของ พล.ต.จำลองถือเป็นความผิดของผู้เสนอร่างและผู้ลงมติรับหลักการ จึงได้เพิ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่ร่วมแปรญัตติเข้าไปด้วย เพราะถือว่ามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไข ถ้าผิดก็ต้องผิดด้วยกันทั้งหมด ถ้าต้องยุบพรรคก็ต้องยุบทุกพรรค นอกจากนี้กำลังพิจารณาว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เตรียมของบประมาณจัดตั้ง ส.ส.ร. ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดด้วยหรือไม่ รวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินที่เสนอความเห็นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาที่รัฐสภา และนักกฎหมายที่เป็นคณะที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินที่ทำข้อเสนอเรื่องนี้ด้วย
ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ปรองดอง หรือ นองเลือด !!?
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นระยะที่มีการฉลองการครองราชย์ครบรอบ ๖๐ ปี สมเด็จพระบรมราชินีอลิซาเบธที่ ๒ แห่งอังกฤษ ได้ทรงทำสิ่งที่โด่งดังไปทั่วโลก นั่นคือ...
ทรงทำสิ่งที่คนทั่วไป เห็นว่าทรง “ปรองดองเพื่อประชาชน””
โดยเมื่อเสด็จฯ ไปเยือนกรุงดับลิน เมืองหลวงของไอร์แลนด์ ทรงสัมผัสมือกับ นายมาร์ติน แม็กกินเนส รองนายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ ผู้มีอดีตเป็นผู้บัญชาการกองทัพสาธารณรัฐไอริชหรือไออาร์เอ ที่ทำสงครามกับกองทัพอังกฤษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ล
ใช้วิธีการทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหาร อุ้มฆ่า วางระเบิด กราดยิง
สงครามที่ดำเนินไปเป็นเวลา ๔๐ ปีได้ทำลายชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง ลอร์ด เมาท์แบตเท่น พระญาติของสมเด็จพระราชินีด้วย
โลกมองว่า...การที่ทรงจับมือกับนายแม็กกินเนส เป็นการช็อคประวัติศาสตร์และเป็นสัญญลักษณ์ของการปรองดองที่กระเดื่องโลก
พร้อมๆ กับข่าวข้างต้นก็มีข่าวว่า คุณสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา มีความเห็นว่า...
เมื่อเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญในวันที่ ๑ สิงหาคมควรจะมีการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เพราะสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม
ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างการพิจารณาอยู่นั้น ประกอบด้วยร่างที่เสนอโดย พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน กับของ สส.พรรครัฐบาล รวม ๔ ฉบับ
มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า...หากยังยืนยันการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองดังกล่าวต่อไปแล้ว รัฐบาลจะต้องล้มครืน...เพราะถูกยึดอำนาจอย่างแน่นอน
มันน่าเวทนาเสียจริงๆ ในขณะที่องค์ประมุขของเครือจักรภพทรง “ปรองดอง” จนกระหึ่มโลก แต่ของเราคิดจะฆ่ากันต่อไป
เหตุที่มีการคัดค้านต่อต้าน พ.ร.บ.ปรองดองอย่างรุนแรงเพราะมีการมองว่า จะเป็นการฟอกตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากความผิดที่ศาลตัดสินไปแล้ว และสามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้แบบ “เท่ๆ”
รวมทั้งจะได้เงินที่ถูกยึดจำนวน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาทกลับคืนไปด้วย ทั้งๆ ที่ในร่าง พรบ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับไม่มีบทบัญญัติเช่นนั้นเลย
กล่าวโดยสรุปก็คือ...จนถึงวันนี้จะไม่มีการปรองดองกันในประเทศไทยมองเห็นแต่วี่แววที่จะมีการฆ่าฟันกันใหม่
และสิ่งที่ รองศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข กล่าวไว้น่าจะเป็นความจริง
ทั้งนี้ ดร.สุรชาติ กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งของการเมืองไทย ได้ “ผ่านเลยโอกาสของการประนีประนอมไปแล้ว” และ “การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่สถานการณ์สู้รบ หนีไม่พ้นความขัดแย้งอย่างรุนแรงจนอาจกลายเป็น “สงครามกลางเมือง” ได้ไม่ยากนัก”
อนิจจาประเทศไทย
โดย:ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทรงทำสิ่งที่คนทั่วไป เห็นว่าทรง “ปรองดองเพื่อประชาชน””
โดยเมื่อเสด็จฯ ไปเยือนกรุงดับลิน เมืองหลวงของไอร์แลนด์ ทรงสัมผัสมือกับ นายมาร์ติน แม็กกินเนส รองนายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ ผู้มีอดีตเป็นผู้บัญชาการกองทัพสาธารณรัฐไอริชหรือไออาร์เอ ที่ทำสงครามกับกองทัพอังกฤษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ล
ใช้วิธีการทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหาร อุ้มฆ่า วางระเบิด กราดยิง
สงครามที่ดำเนินไปเป็นเวลา ๔๐ ปีได้ทำลายชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง ลอร์ด เมาท์แบตเท่น พระญาติของสมเด็จพระราชินีด้วย
โลกมองว่า...การที่ทรงจับมือกับนายแม็กกินเนส เป็นการช็อคประวัติศาสตร์และเป็นสัญญลักษณ์ของการปรองดองที่กระเดื่องโลก
พร้อมๆ กับข่าวข้างต้นก็มีข่าวว่า คุณสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา มีความเห็นว่า...
เมื่อเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญในวันที่ ๑ สิงหาคมควรจะมีการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เพราะสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม
ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างการพิจารณาอยู่นั้น ประกอบด้วยร่างที่เสนอโดย พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน กับของ สส.พรรครัฐบาล รวม ๔ ฉบับ
มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า...หากยังยืนยันการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองดังกล่าวต่อไปแล้ว รัฐบาลจะต้องล้มครืน...เพราะถูกยึดอำนาจอย่างแน่นอน
มันน่าเวทนาเสียจริงๆ ในขณะที่องค์ประมุขของเครือจักรภพทรง “ปรองดอง” จนกระหึ่มโลก แต่ของเราคิดจะฆ่ากันต่อไป
เหตุที่มีการคัดค้านต่อต้าน พ.ร.บ.ปรองดองอย่างรุนแรงเพราะมีการมองว่า จะเป็นการฟอกตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากความผิดที่ศาลตัดสินไปแล้ว และสามารถเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้แบบ “เท่ๆ”
รวมทั้งจะได้เงินที่ถูกยึดจำนวน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาทกลับคืนไปด้วย ทั้งๆ ที่ในร่าง พรบ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับไม่มีบทบัญญัติเช่นนั้นเลย
กล่าวโดยสรุปก็คือ...จนถึงวันนี้จะไม่มีการปรองดองกันในประเทศไทยมองเห็นแต่วี่แววที่จะมีการฆ่าฟันกันใหม่
และสิ่งที่ รองศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข กล่าวไว้น่าจะเป็นความจริง
ทั้งนี้ ดร.สุรชาติ กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งของการเมืองไทย ได้ “ผ่านเลยโอกาสของการประนีประนอมไปแล้ว” และ “การเมืองไทยกำลังเดินเข้าสู่สถานการณ์สู้รบ หนีไม่พ้นความขัดแย้งอย่างรุนแรงจนอาจกลายเป็น “สงครามกลางเมือง” ได้ไม่ยากนัก”
อนิจจาประเทศไทย
โดย:ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชัยชนะกลางวงล้อมประชาชน !!?
การเมืองเดือนกรกฎาคมนี้ส่ออาการ ดุเดือด การเผชิญหน้าระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงแนวร่วมสนับสนุนแต่ละฝ่ายอยู่ในขั้น “เตรียมพร้อมแตกหัก” กันไปข้างหนึ่ง เอาเป็นว่า ทุกขุมอำนาจในสังคม ตั้งท่า “เปิดหน้าเล่น” ชนิดไม่อายฟ้าดิน แน่ละ...เมื่อเกมเปิดแบบนี้ หากฝ่ายใดพลาดเป็นเสร็จแน่
ตามปฏิทินอำนาจ ในต้นเดือนกรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญเริ่ม “เพาะเชื้อความรุนแรง” กำหนดการไต่สวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ในข้อหา “ล้มล้างการปกครอง” ตามมาตรา 68 จะเปิดฉากขึ้น การโหมประโคมยัดเยียดข้อกล่าว หาย่อมเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงครึ่งๆ กลางๆ ผสมด้วยเทคนิคนักโฆษณาชวนเชื่อมวลชนโน้มน้าวให้เกิดความสับสน
อารมณ์แห่งเดือนกรกฎาคมค่อนข้าง “ไร้ความสุข” ข้อกล่าวหาแบบ “ดี-ชั่ว” หรือ “มึงผิด-กูถูก” จะปกคลุมบรรยากาศการสื่อสารมวลชนเลือกข้างเพื่อเปิดฉากเชียร์กันอย่างเคร่งเครียด โดยเฉพาะพลังอำนาจการเมืองแต่ละฝ่ายจะถูกปลุกโหมเติมเชื้อไฟให้เดือดปุดๆ พร้อมอุ่นเครื่องสู่สมรภูมิ “แตกหัก” ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสภาจะเปิดประชุม “สมัยทั่วไป”
การประชุมสภาสมัยทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่น “ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ” เพื่อเล่นงานรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่นเท่ากับการเผชิญ หน้าค่อยๆ ถูกเติมเชื้อร้ายให้พัฒนา “เต็มรูปแบบ” มากขึ้น หากพรรคเพื่อไทยเกิด “อารมณ์เหลือทน” แล้วเปิดหน้าชนโดยใช้พลัง ส.ส.เสนอพิจารณาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ชนิดให้ “มันจบๆ กันไป” สถานการณ์แบบนี้เท่ากับผลักดันการ เมืองไปอยู่ใน “ภาวะไม่ปกติ” และสุ่มเสี่ยงถูกพลังอำนาจอำมาตย์แทรกแซง โอกาสเช่นนี้ มีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย
ในเบื้องต้น พลังอำนาจอำมาตย์จาก ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญได้สะท้อนการ “เล่นเกม” มากกว่าทำหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรมแห่งสังคม การไต่สวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ส่อแนวโน้มถูกตีตราว่า “ผิด” ตามการกล่าวหาว่า ล้มระบอบการปกครอง แต่ปัญหาย่อมเกิดตามมาเป็น สายธารแห่งพลังต่อต้านค่อนข้างจะหลีกเลี่ยงได้
สภาพการดื้อเพ่ง หรือรูปแบบการต่อสู้แบบ “อารยะขัดขืน” มีแนวโน้มลุกลาม ทั้งในฝ่ายนักการเมือง นักวิชาการและซีกมวลชนทั่วประเทศ แม้บนพื้นฐานความเชื่อ ของโครงสร้างทางสังคมให้คุณค่า “ระบบศาล” ไม่มีการตัดสินใจที่ “ผิด” แต่พลังมวลชนในเดือนกรกฎาคมนี้ จะแสดงออกเพื่อลบล้างความเชื่อเก่าๆ ตามโครงสร้างสังคมแบบอนุรักษนิยมทันที
นั่นคือ พลังประชาชนมีแนวโน้มไม่เชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญจะกระจายไปอย่างกว้างขวาง แล้วลากโยงไปสู่การทำลายความเชื่อถือของระบบศาลอื่นๆ ด้วย
ความเชื่อแบบ “กูไม่มีผิด” ย่อมถูกท้าทายด้วยเสียงตะโกนตอบกลับแบบ “ระบบสองมาตรฐาน” และเป็นองค์กรที่ไร้คุณค่า เมื่อตกเป็นเครื่องมือในการเล่นเกมการเมือง ถอดความง่ายๆ คือ ชัยชนะที่ศาล รัฐธรรมนูญเชื่อจะถูกประกาศขึ้นกลางวงล้อม ของประชาชนทันทีไม่มีข้อสงสัยอื่นใดอีกแล้ว ในการถกเถียงทาง “ข้อกฎหมาย” ว่า ศาลรัฐธรรมนูญเปิดหน้าออกมารับลูกเล่นเกมการ เมืองในกรณีตีความมาตรา 68 และออกคำสั่งให้ชะลอลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะความเชื่อสังคมทุกองค์กร ล้วนสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันว่า “ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ลุแก่อำนาจ” ประหนึ่ง เป็นพฤติกรรมอำนาจในการสร้าง “กฎกูเป็นกฎหมาย ไว้กดหัวพรรคเพื่อไทย” ซึ่งเป็นพฤติกรรมแห่งอำนาจที่ไม่สมควรเกิดขึ้น อย่างยิ่ง
ล่าสุด กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 (ส.ส.ร.40) ประมาณ 20 คนประชุมแลก เปลี่ยนความเห็นเมื่อ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ผลการหารือมีข้อสรุปเด่นชัดว่า การกระทำ ของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการล้มล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง
นายคณิน บุญสุวรรณ ตัวแทน ส.ส.ร.ปี 2540 วิจารณ์ตรงๆ ว่า “นอกจากศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจตีความแล้ว ยังมีอำนาจในการควบคุมรัฐสภา ควบคุมคณะรัฐมนตรี และควบคุมประชาชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด จนมิอาจพยากรณ์ได้ว่าสุดท้ายจะเกิดหายนะต่อบ้านเมืองอย่างไร”
เอาเถอะ ไม่ว่ากลุ่มใด พวกไหนจะชี้หน้าต่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันในสิ่งที่ตัดสินใจเชิงอำนาจไปด้วยความเชื่อมั่นว่า ได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่ดี ไม่เพียงเท่านั้น “นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับพยายามชี้แนวโน้มข้อกล่าว หา “ล้มล้างการปกครอง” มีความน่าเชื่อว่า “เป็นความจริง”
นายวสันต์ กล่าวว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ รับพิจารณาคำฟ้องกรณีรัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไป ดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกัน”
“เพราะรัฐสภาชุดนี้พิจารณากฎหมาย แบบขายขาด แล้วโยนภาระให้ ส.ส.ร. ก็ต้อง เสียเงินเลือกตั้ง ส.ส.ร.มาให้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบว่าไม่แตะต้อง หมวด 1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ต้องไม่แตะ นะ ถ้าเขาร่างมาแล้วแตะล่ะ ใครจะทำไม”
“อ๋อไม่เป็นไรมีประธานสภาเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าประธานสภาเห็นว่าให้ลงมติเลย เวลานั้นศาลรัฐธรรมนูญจะทำอะไรได้อีก เพราะเมื่อมีผลเป็นการลงประชามติไปแล้ว ผมขอย้ำเลยว่าถ้าเชื่อถือในบุคคล ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย”
แปลความง่ายๆ คือ แนวโน้มการวินิจฉัยจะอยู่บนความเชื่อว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผิด แล้วคำถามตามมามีว่า การตัดสินใจ ของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลอย่างไรกับการ ทำหน้าที่ของสภาฝ่ายนิติบัญญัติ และนั่นเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญโยนปัญหาทางการเมืองให้พรรคเพื่อไทยสะสางกันเอาเอง
พรรคเพื่อไทยมี ส.ส.มากถึง 265 เสียงเกินกึ่งของสภา มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็น ผู้นำฝ่ายบริหาร ต้องใช้ “ความกล้า” ครั้งสำคัญเพื่อตัดสินใจว่า “สู้หรือถอย” จึงจะได้ประโยชน์สูงสุดทางการเมืองร่องรอยการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย ส่อให้เห็นในหลายรูปแบบปัญหามาแล้ว ร่างกฎหมายปรองดองเมื่อถูกพรรคประชาธิปัตย์และมวลชนคนเสื้อเหลืองต่อต้าน ก็เกิดอาการใส่เกียร์ถอยไม่เป็นขบวน
เป็นไปได้ว่า “การถอย” ในการลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 คงเกิดขึ้นอีกเช่น เคย แต่พรรคเพื่อไทยจะอธิบายกับมวลชน เสื้อแดงและองค์กรทางวิชาการในสังคมอย่างไร เพราะการถอยก็คือ การสะท้อนถึง ต้องการรักษาพรรค อยากเป็นรัฐบาล มาก กว่าการปกป้องระบบของสังคมที่กำลังถูกศาลรัฐธรรมนูญแสดงอำนาจก้าวล่วง
ถึงที่สุดแล้ว การตัดสินใจ “สู้หรือถอย” ก็ตาม พรรคเพื่อไทยต้องมีหลังอิงกับ อำนาจมวลชนอยู่ดี โดยเฉพาะมวลชนเสื้อแดงที่ให้การสนับสนุนมาอย่างเหนียวแน่น พรรคเพื่อไทยต้องอธิบายกับแกนนำ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ แกนนำ นปช. เพื่อโยงไปสู่การทำความเข้าใจ กับมวลชนเสื้อแดง
แน่ละ...คนที่มีบทบาทในการทำหน้าที่ นี้คือ “จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำ นปช.คนสำคัญที่พรรคเพื่อไทยต้องเรียกใช้บริการให้ทำความเข้าใจกับมวลชน ไม่ว่าจะตัดสินใจสู้หรือถอยศาลรัฐธรรมนูญ
ดูเหมือนศาลรัฐธรรมนูญ อ่านขาดถึงกับกล้าเล่นเกม “ถอดประกัน” เพื่อให้ศาลอาญานำตัว “จตุพร” ไปขังคุก ราวกับยับยั้งให้ไปเคลื่อนไหวมวลชนมาล้อมกรอบ แสดงพลังบดขยี้ศาลรัฐธรรมนูญในเดือนกรกฎาคมนี้
“จตุพร” เข้าใจเกมอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เขามองทะลุและค่อนข้างตัดสินใจ จะสู้กับศาลรัฐธรรมนูญ แม้เขาอยากเป็นรัฐมนตรี และต้องการสมัคร ส.ส.เพื่ออาศัย เป็นเกราะป้องกัน แต่เมื่อระบบโครงสร้างดุลอำนาจสังคมกำลังถูกทำลาย การตัดสินใจสู้กำลังก่อรูปขึ้นในอนาคตอันใกล้ อย่างน่าสนใจ
และน่าสนใจยิ่งกว่าคือ การประกาศชัยชนะในการตัดสินร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คงมีขึ้นกลางวงล้อมของประชาชนอย่างแน่นหนา...
โปรดหลับตา นึกถึงผลกระทำ แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญคงจะรู้คำตอบด้วยเช่นกันว่า จะสู้หรือถอย!!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตามปฏิทินอำนาจ ในต้นเดือนกรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญเริ่ม “เพาะเชื้อความรุนแรง” กำหนดการไต่สวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ในข้อหา “ล้มล้างการปกครอง” ตามมาตรา 68 จะเปิดฉากขึ้น การโหมประโคมยัดเยียดข้อกล่าว หาย่อมเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงครึ่งๆ กลางๆ ผสมด้วยเทคนิคนักโฆษณาชวนเชื่อมวลชนโน้มน้าวให้เกิดความสับสน
อารมณ์แห่งเดือนกรกฎาคมค่อนข้าง “ไร้ความสุข” ข้อกล่าวหาแบบ “ดี-ชั่ว” หรือ “มึงผิด-กูถูก” จะปกคลุมบรรยากาศการสื่อสารมวลชนเลือกข้างเพื่อเปิดฉากเชียร์กันอย่างเคร่งเครียด โดยเฉพาะพลังอำนาจการเมืองแต่ละฝ่ายจะถูกปลุกโหมเติมเชื้อไฟให้เดือดปุดๆ พร้อมอุ่นเครื่องสู่สมรภูมิ “แตกหัก” ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสภาจะเปิดประชุม “สมัยทั่วไป”
การประชุมสภาสมัยทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์เตรียมยื่น “ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ” เพื่อเล่นงานรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่นเท่ากับการเผชิญ หน้าค่อยๆ ถูกเติมเชื้อร้ายให้พัฒนา “เต็มรูปแบบ” มากขึ้น หากพรรคเพื่อไทยเกิด “อารมณ์เหลือทน” แล้วเปิดหน้าชนโดยใช้พลัง ส.ส.เสนอพิจารณาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ชนิดให้ “มันจบๆ กันไป” สถานการณ์แบบนี้เท่ากับผลักดันการ เมืองไปอยู่ใน “ภาวะไม่ปกติ” และสุ่มเสี่ยงถูกพลังอำนาจอำมาตย์แทรกแซง โอกาสเช่นนี้ มีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย
ในเบื้องต้น พลังอำนาจอำมาตย์จาก ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญได้สะท้อนการ “เล่นเกม” มากกว่าทำหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรมแห่งสังคม การไต่สวนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ส่อแนวโน้มถูกตีตราว่า “ผิด” ตามการกล่าวหาว่า ล้มระบอบการปกครอง แต่ปัญหาย่อมเกิดตามมาเป็น สายธารแห่งพลังต่อต้านค่อนข้างจะหลีกเลี่ยงได้
สภาพการดื้อเพ่ง หรือรูปแบบการต่อสู้แบบ “อารยะขัดขืน” มีแนวโน้มลุกลาม ทั้งในฝ่ายนักการเมือง นักวิชาการและซีกมวลชนทั่วประเทศ แม้บนพื้นฐานความเชื่อ ของโครงสร้างทางสังคมให้คุณค่า “ระบบศาล” ไม่มีการตัดสินใจที่ “ผิด” แต่พลังมวลชนในเดือนกรกฎาคมนี้ จะแสดงออกเพื่อลบล้างความเชื่อเก่าๆ ตามโครงสร้างสังคมแบบอนุรักษนิยมทันที
นั่นคือ พลังประชาชนมีแนวโน้มไม่เชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญจะกระจายไปอย่างกว้างขวาง แล้วลากโยงไปสู่การทำลายความเชื่อถือของระบบศาลอื่นๆ ด้วย
ความเชื่อแบบ “กูไม่มีผิด” ย่อมถูกท้าทายด้วยเสียงตะโกนตอบกลับแบบ “ระบบสองมาตรฐาน” และเป็นองค์กรที่ไร้คุณค่า เมื่อตกเป็นเครื่องมือในการเล่นเกมการเมือง ถอดความง่ายๆ คือ ชัยชนะที่ศาล รัฐธรรมนูญเชื่อจะถูกประกาศขึ้นกลางวงล้อม ของประชาชนทันทีไม่มีข้อสงสัยอื่นใดอีกแล้ว ในการถกเถียงทาง “ข้อกฎหมาย” ว่า ศาลรัฐธรรมนูญเปิดหน้าออกมารับลูกเล่นเกมการ เมืองในกรณีตีความมาตรา 68 และออกคำสั่งให้ชะลอลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะความเชื่อสังคมทุกองค์กร ล้วนสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันว่า “ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ลุแก่อำนาจ” ประหนึ่ง เป็นพฤติกรรมอำนาจในการสร้าง “กฎกูเป็นกฎหมาย ไว้กดหัวพรรคเพื่อไทย” ซึ่งเป็นพฤติกรรมแห่งอำนาจที่ไม่สมควรเกิดขึ้น อย่างยิ่ง
ล่าสุด กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 (ส.ส.ร.40) ประมาณ 20 คนประชุมแลก เปลี่ยนความเห็นเมื่อ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ผลการหารือมีข้อสรุปเด่นชัดว่า การกระทำ ของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการล้มล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง
นายคณิน บุญสุวรรณ ตัวแทน ส.ส.ร.ปี 2540 วิจารณ์ตรงๆ ว่า “นอกจากศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจตีความแล้ว ยังมีอำนาจในการควบคุมรัฐสภา ควบคุมคณะรัฐมนตรี และควบคุมประชาชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด จนมิอาจพยากรณ์ได้ว่าสุดท้ายจะเกิดหายนะต่อบ้านเมืองอย่างไร”
เอาเถอะ ไม่ว่ากลุ่มใด พวกไหนจะชี้หน้าต่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันในสิ่งที่ตัดสินใจเชิงอำนาจไปด้วยความเชื่อมั่นว่า ได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่ดี ไม่เพียงเท่านั้น “นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับพยายามชี้แนวโน้มข้อกล่าว หา “ล้มล้างการปกครอง” มีความน่าเชื่อว่า “เป็นความจริง”
นายวสันต์ กล่าวว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ รับพิจารณาคำฟ้องกรณีรัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไป ดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกัน”
“เพราะรัฐสภาชุดนี้พิจารณากฎหมาย แบบขายขาด แล้วโยนภาระให้ ส.ส.ร. ก็ต้อง เสียเงินเลือกตั้ง ส.ส.ร.มาให้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบว่าไม่แตะต้อง หมวด 1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ต้องไม่แตะ นะ ถ้าเขาร่างมาแล้วแตะล่ะ ใครจะทำไม”
“อ๋อไม่เป็นไรมีประธานสภาเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าประธานสภาเห็นว่าให้ลงมติเลย เวลานั้นศาลรัฐธรรมนูญจะทำอะไรได้อีก เพราะเมื่อมีผลเป็นการลงประชามติไปแล้ว ผมขอย้ำเลยว่าถ้าเชื่อถือในบุคคล ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย”
แปลความง่ายๆ คือ แนวโน้มการวินิจฉัยจะอยู่บนความเชื่อว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผิด แล้วคำถามตามมามีว่า การตัดสินใจ ของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลอย่างไรกับการ ทำหน้าที่ของสภาฝ่ายนิติบัญญัติ และนั่นเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญโยนปัญหาทางการเมืองให้พรรคเพื่อไทยสะสางกันเอาเอง
พรรคเพื่อไทยมี ส.ส.มากถึง 265 เสียงเกินกึ่งของสภา มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็น ผู้นำฝ่ายบริหาร ต้องใช้ “ความกล้า” ครั้งสำคัญเพื่อตัดสินใจว่า “สู้หรือถอย” จึงจะได้ประโยชน์สูงสุดทางการเมืองร่องรอยการตัดสินใจของพรรคเพื่อไทย ส่อให้เห็นในหลายรูปแบบปัญหามาแล้ว ร่างกฎหมายปรองดองเมื่อถูกพรรคประชาธิปัตย์และมวลชนคนเสื้อเหลืองต่อต้าน ก็เกิดอาการใส่เกียร์ถอยไม่เป็นขบวน
เป็นไปได้ว่า “การถอย” ในการลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 คงเกิดขึ้นอีกเช่น เคย แต่พรรคเพื่อไทยจะอธิบายกับมวลชน เสื้อแดงและองค์กรทางวิชาการในสังคมอย่างไร เพราะการถอยก็คือ การสะท้อนถึง ต้องการรักษาพรรค อยากเป็นรัฐบาล มาก กว่าการปกป้องระบบของสังคมที่กำลังถูกศาลรัฐธรรมนูญแสดงอำนาจก้าวล่วง
ถึงที่สุดแล้ว การตัดสินใจ “สู้หรือถอย” ก็ตาม พรรคเพื่อไทยต้องมีหลังอิงกับ อำนาจมวลชนอยู่ดี โดยเฉพาะมวลชนเสื้อแดงที่ให้การสนับสนุนมาอย่างเหนียวแน่น พรรคเพื่อไทยต้องอธิบายกับแกนนำ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ แกนนำ นปช. เพื่อโยงไปสู่การทำความเข้าใจ กับมวลชนเสื้อแดง
แน่ละ...คนที่มีบทบาทในการทำหน้าที่ นี้คือ “จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำ นปช.คนสำคัญที่พรรคเพื่อไทยต้องเรียกใช้บริการให้ทำความเข้าใจกับมวลชน ไม่ว่าจะตัดสินใจสู้หรือถอยศาลรัฐธรรมนูญ
ดูเหมือนศาลรัฐธรรมนูญ อ่านขาดถึงกับกล้าเล่นเกม “ถอดประกัน” เพื่อให้ศาลอาญานำตัว “จตุพร” ไปขังคุก ราวกับยับยั้งให้ไปเคลื่อนไหวมวลชนมาล้อมกรอบ แสดงพลังบดขยี้ศาลรัฐธรรมนูญในเดือนกรกฎาคมนี้
“จตุพร” เข้าใจเกมอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เขามองทะลุและค่อนข้างตัดสินใจ จะสู้กับศาลรัฐธรรมนูญ แม้เขาอยากเป็นรัฐมนตรี และต้องการสมัคร ส.ส.เพื่ออาศัย เป็นเกราะป้องกัน แต่เมื่อระบบโครงสร้างดุลอำนาจสังคมกำลังถูกทำลาย การตัดสินใจสู้กำลังก่อรูปขึ้นในอนาคตอันใกล้ อย่างน่าสนใจ
และน่าสนใจยิ่งกว่าคือ การประกาศชัยชนะในการตัดสินร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คงมีขึ้นกลางวงล้อมของประชาชนอย่างแน่นหนา...
โปรดหลับตา นึกถึงผลกระทำ แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญคงจะรู้คำตอบด้วยเช่นกันว่า จะสู้หรือถอย!!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เกมเขย่าขวัญ.. ต้านอำนาจ‘ยุบพรรค !!?
นาทีนี้ การเมืองเกิดอาการหน้ามืดตามัว งัดเกม ระดมมวลชนเตรียมพร้อมออกมาเผชิญหน้ากันชนิด “ไม่มีอะไรต้องเสีย” อีกแล้ว จึงส่งผลให้บรรยากาศการเมืองเริ่มร้อนแรงนับแต่ต้นเดือนกรกฎาคม พรรคเพื่อไทยกับแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตระเวนไปตะวันออก ตก เหนือ อีสาน เพื่อเปิดเวที “พรรคเพื่อ ไทยพบประชาชน”... แต่ขุนพล นปช. ปราศรัยบนเวทีกลับระเบิดอารมณ์ชำแหละศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเละเทะไม่เหลือชิ้นดี
พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนกันเดินสายเปิดเวทีประชาชนในชื่อ “เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้มรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายล้างผิดคนโกง” เพียงแค่หัวข้อ ย่อมบ่งบอกเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่ง...แน่ละ...เป็นเป้าหมายมุ่งโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ทรงอิทธิพลแห่งพรรคเพื่อไทยและนายใหญ่ของ นปช.
อีกทั้งยังเน้นโน้มน้าวให้ประชาชนแสดงพลังสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญให้ช่วยยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ของพรรครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีชัดเจนยิ่ง การเผชิญหน้าทาง การเมืองส่ออาการแตกหัก ไม่มีรอม ชอม ล้วนมีแกนกลางอยู่ที่บทบาทหน้าที่ขององค์กรอิสระทั้งสิ้น โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่ชื่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ซึ่งกำลังถูกฝ่ายการเมือง “จัดหนัก จัดเต็ม” ในขณะนี้
พรรคเพื่อไทยหวั่นเกรงจะกลาย เป็นเหยื่อและถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “ยุบพรรคครั้งที่ 3” จึงต้องปั่นพลังแนวร่วมมา “เขย่าขวัญ” ปรามการใช้อำนาจแบบ “กินเปล่า” มาย่ำยี ซ้ำเติมอย่างไม่รู้จบสิ้นการตระเวนพบประชาชนฐานเสียง จึงเท่ากับเป็นการปลุกพลังให้ “ลุกขึ้นสู้” ไม่ยอมเป็นคนชั้นล่างคอยถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาเนิ่นนานชั่วรุ่นชีวิตความเป็นคน
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ต้องการฉวยโอกาสสร้างเนื้องานให้เข้าตากลุ่มพลังอำนาจสังคม เพื่อดึงอำนาจนี้มาเป็นพวกคอยหนุนยันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแต่ที่สำคัญ การสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีความหมายถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของพลังชนชั้นสูง ที่พวกเขาต้องออกแรงปกป้องเอาไว้จนสุด ฤทธิ์เดชของทายาทพรรคอำมาตย์ถึงที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น องค์กรแกนหลักคอยจุดชนวนความแตก แยกในสังคมอีกแล้วอย่างนั้นหรือ...!!!
หลังการรัฐประหารเมื่อกันยายน 2549 องค์กรอิสระอย่างน้อย 3 แห่ง คือ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีบทบาทสัมพันธ์กับความขัดแย้งทาง การเมืองอย่างเข้มข้นและออกหน้าแบบแนบเนียนกับความชอบธรรม
องค์ประกอบขององค์อิสระเหล่านี้ ส่วนใหญ่และส่วนสำคัญมาจากกระบวนการยุติธรรมระดับสูงของสังคมเป็นหลัก เมื่อมีหน้าที่สัมพันธ์ทางการเมืองจึง ถูกเรียกอย่างมีนัยซ่อนเร้นเชิงประชดประชันว่า “คณะตุลาการภิวัฒน์” สามัคคีพลังตุลาการวิวัฒน์เปิด ฉากขึ้นด้วยการเล่นงาน “รัฐบาล ทักษิณ” แล้วขยายอิทธิพลทำลายล้างสั่ง “ยุบพรรคไทยรักไทย” เมื่อปี 2550 แล้วยุบพรรคพลังประชาชนกับพรรคอื่นๆ ที่มาตั้งรัฐบาลอีกครั้งเมื่อปลายปี 2551
จนทำให้นักการเมืองถูกตุลาการภิวัฒน์เขี่ยออกจากการเมืองมากถึง 220 คน แต่พ้นจากการถูกเว้นวรรค 5 ปีเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 111 คน
นักการเมือง 111 คนคือขุมพลังอันสำคัญที่จะมาช่วยงานการเมืองเพื่อผลักดันให้พรรคเพื่อไทยเติบใหญ่ยิ่งขึ้น นั่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ฝ่ายคนคอยต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่นิ่งๆ ได้ในสนามเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์แพ้ซ้ำซาก จนเป็นฝ่ายค้านแบบหัวฟัดหัวเหวี่ยง แต่ในทางการเมืองแล้ว กลับยืนแป้น “ผู้ชนะตลอดกาล”
ชัยชนะทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์มีจุดเด่นอยู่ที่การเป็น “แนวร่วมอำนาจ” ของพลังควบคุมสังคม ดังนั้น เกมรุกทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ จึงเต็มไปด้วย “ตัวช่วย” จากองค์กรอิสระมาเป็น แนวร่วมขย่มอำนาจพรรคเพื่อไทย โดยมีเป้าหมายเดิมๆ คือ ยุบพรรคเพื่อไทย
แต่การยุบพรรคเพื่อไทย ทำไม่ได้ง่ายๆ อย่างในอดีต ในปีนี้จะเกิดการต่อต้านครั้งใหญ่ เพราะ “ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว” พวกเขาจึงต้องสู้เพื่อ “วัดใจ” ศาลรัฐธรรมนูญ “จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำ นปช.ตระเวนปราศรัยหามรุ่งหามค่ำแทบทุกเวที “พรรคเพื่อไทยพบประชาชน” โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เช่นเดียวกับ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แกนนำนปช.อีกคนที่ได้ดีเป็นรมช. กระทรวงเกษตรฯ
เขาป่าวประกาศให้มวลชนเสื้อแดง “เตรียมพร้อม” กับการย่ำยีทาง การเมืองในอนาคตอันใกล้ ด้วยการ นำเหตุการณ์ถูกกระทำมาอธิบายเป็นรูปธรรมทุกเวที การป่าวประกาศปลุกพลังเกิดขึ้นในทำนองนี้ พวกเขาย้ำแล้ว ย้ำอีก เพื่อให้เตรียมพร้อมเตรียมพร้อมเพื่อมาแสดงพลังเล่นเกมเขย่าขวัญกับอำนาจที่ต้อง การ ยุบพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มแสดงผ่านการพิจารณาคำร้องกล่าวหาว่า “ล้มล้างการปกครอง” ซึ่งจะเปิดฉากขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ “ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว” สะท้อนถึงอารมณ์มุ่งมั่นเพื่อ “เขย่าขวัญ” ตามประสาพลังชาวบ้านทื่อๆ ได้ถ่องแท้ จนยากจะคาดเดาอนาคตเมื่อทุกพลังจากทุกฝ่ายมา บรรจบกัน!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนกันเดินสายเปิดเวทีประชาชนในชื่อ “เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้มรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายล้างผิดคนโกง” เพียงแค่หัวข้อ ย่อมบ่งบอกเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่ง...แน่ละ...เป็นเป้าหมายมุ่งโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ทรงอิทธิพลแห่งพรรคเพื่อไทยและนายใหญ่ของ นปช.
อีกทั้งยังเน้นโน้มน้าวให้ประชาชนแสดงพลังสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญให้ช่วยยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ของพรรครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีชัดเจนยิ่ง การเผชิญหน้าทาง การเมืองส่ออาการแตกหัก ไม่มีรอม ชอม ล้วนมีแกนกลางอยู่ที่บทบาทหน้าที่ขององค์กรอิสระทั้งสิ้น โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่ชื่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ซึ่งกำลังถูกฝ่ายการเมือง “จัดหนัก จัดเต็ม” ในขณะนี้
พรรคเพื่อไทยหวั่นเกรงจะกลาย เป็นเหยื่อและถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “ยุบพรรคครั้งที่ 3” จึงต้องปั่นพลังแนวร่วมมา “เขย่าขวัญ” ปรามการใช้อำนาจแบบ “กินเปล่า” มาย่ำยี ซ้ำเติมอย่างไม่รู้จบสิ้นการตระเวนพบประชาชนฐานเสียง จึงเท่ากับเป็นการปลุกพลังให้ “ลุกขึ้นสู้” ไม่ยอมเป็นคนชั้นล่างคอยถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาเนิ่นนานชั่วรุ่นชีวิตความเป็นคน
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ต้องการฉวยโอกาสสร้างเนื้องานให้เข้าตากลุ่มพลังอำนาจสังคม เพื่อดึงอำนาจนี้มาเป็นพวกคอยหนุนยันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแต่ที่สำคัญ การสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีความหมายถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของพลังชนชั้นสูง ที่พวกเขาต้องออกแรงปกป้องเอาไว้จนสุด ฤทธิ์เดชของทายาทพรรคอำมาตย์ถึงที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น องค์กรแกนหลักคอยจุดชนวนความแตก แยกในสังคมอีกแล้วอย่างนั้นหรือ...!!!
หลังการรัฐประหารเมื่อกันยายน 2549 องค์กรอิสระอย่างน้อย 3 แห่ง คือ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีบทบาทสัมพันธ์กับความขัดแย้งทาง การเมืองอย่างเข้มข้นและออกหน้าแบบแนบเนียนกับความชอบธรรม
องค์ประกอบขององค์อิสระเหล่านี้ ส่วนใหญ่และส่วนสำคัญมาจากกระบวนการยุติธรรมระดับสูงของสังคมเป็นหลัก เมื่อมีหน้าที่สัมพันธ์ทางการเมืองจึง ถูกเรียกอย่างมีนัยซ่อนเร้นเชิงประชดประชันว่า “คณะตุลาการภิวัฒน์” สามัคคีพลังตุลาการวิวัฒน์เปิด ฉากขึ้นด้วยการเล่นงาน “รัฐบาล ทักษิณ” แล้วขยายอิทธิพลทำลายล้างสั่ง “ยุบพรรคไทยรักไทย” เมื่อปี 2550 แล้วยุบพรรคพลังประชาชนกับพรรคอื่นๆ ที่มาตั้งรัฐบาลอีกครั้งเมื่อปลายปี 2551
จนทำให้นักการเมืองถูกตุลาการภิวัฒน์เขี่ยออกจากการเมืองมากถึง 220 คน แต่พ้นจากการถูกเว้นวรรค 5 ปีเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 111 คน
นักการเมือง 111 คนคือขุมพลังอันสำคัญที่จะมาช่วยงานการเมืองเพื่อผลักดันให้พรรคเพื่อไทยเติบใหญ่ยิ่งขึ้น นั่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ฝ่ายคนคอยต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่นิ่งๆ ได้ในสนามเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์แพ้ซ้ำซาก จนเป็นฝ่ายค้านแบบหัวฟัดหัวเหวี่ยง แต่ในทางการเมืองแล้ว กลับยืนแป้น “ผู้ชนะตลอดกาล”
ชัยชนะทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์มีจุดเด่นอยู่ที่การเป็น “แนวร่วมอำนาจ” ของพลังควบคุมสังคม ดังนั้น เกมรุกทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้ จึงเต็มไปด้วย “ตัวช่วย” จากองค์กรอิสระมาเป็น แนวร่วมขย่มอำนาจพรรคเพื่อไทย โดยมีเป้าหมายเดิมๆ คือ ยุบพรรคเพื่อไทย
แต่การยุบพรรคเพื่อไทย ทำไม่ได้ง่ายๆ อย่างในอดีต ในปีนี้จะเกิดการต่อต้านครั้งใหญ่ เพราะ “ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว” พวกเขาจึงต้องสู้เพื่อ “วัดใจ” ศาลรัฐธรรมนูญ “จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำ นปช.ตระเวนปราศรัยหามรุ่งหามค่ำแทบทุกเวที “พรรคเพื่อไทยพบประชาชน” โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เช่นเดียวกับ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แกนนำนปช.อีกคนที่ได้ดีเป็นรมช. กระทรวงเกษตรฯ
เขาป่าวประกาศให้มวลชนเสื้อแดง “เตรียมพร้อม” กับการย่ำยีทาง การเมืองในอนาคตอันใกล้ ด้วยการ นำเหตุการณ์ถูกกระทำมาอธิบายเป็นรูปธรรมทุกเวที การป่าวประกาศปลุกพลังเกิดขึ้นในทำนองนี้ พวกเขาย้ำแล้ว ย้ำอีก เพื่อให้เตรียมพร้อมเตรียมพร้อมเพื่อมาแสดงพลังเล่นเกมเขย่าขวัญกับอำนาจที่ต้อง การ ยุบพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มแสดงผ่านการพิจารณาคำร้องกล่าวหาว่า “ล้มล้างการปกครอง” ซึ่งจะเปิดฉากขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ “ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว” สะท้อนถึงอารมณ์มุ่งมั่นเพื่อ “เขย่าขวัญ” ตามประสาพลังชาวบ้านทื่อๆ ได้ถ่องแท้ จนยากจะคาดเดาอนาคตเมื่อทุกพลังจากทุกฝ่ายมา บรรจบกัน!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พฤติการณ์.. ซ้ำซาก !!?
มีพรสวรรค์เป็นเลิศ ในการสร้าง “ศัตรู” ให้กับประเทศชาติเป็นอันมากส์
สมัยนั่งเป็นนายกฯ “เดอะมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จุดชนวน ป่วนประเทศ เป็นอริกับผู้นำของ กัมพูชา พม่า ลาว เวียตนาม เป็นตับ
มานั่งงมโขง เป็น “ฝ่ายค้านถาวร” ก็ปากตำแย แหย่ “สหรัฐอเมริกา” ว่าใช้เครื่องบินตรวจอากาศนาซา “ยู ๒” หรือปีศาจจารกรรม สอดแนมพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ กันเสร็จสรรพ
ปากพล่อย ๆ เที่ยวไประราน “พี่เบิ้มโลก” ที่เป็นตัวช่วยตนได้เป็น “นายกรัฐมนตรี”มาทุกเที่ยว ..เช่นนี้ก็มี
เปิดหน้าเป็นศัตรูกับสหรัฐ....ต่อไปประชาธิปัตย์...คงไม่ได้แรงหนุน ให้จัดตั้งรัฐบาลแล้วล่ะพี่
+++++++++++++++++++++++++++++
ปิดประตูลงกลอน
“ประชาธิปัตย์” ตอกฝาโลง พับฐานไปแล้ว เรื่องที่ “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะกลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” แทน “ปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
“สิทธิ” แห่งความชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยไม่มี ..เพราะเสียงสวรรค์ประชาชนทั้งประเทศ ไม่เลือกไม่หนุน
ซ้ำร้ายมาเติบฟืนใส่ไฟ ว่ากราด “สหรัฐ” อีกสิคุณ
เกรงต่อไปภายภาคหน้า ชะตาชีวิตจะจบไม่สวย เหมือน “บิน ลาเดน” และ “ซัมดัม”ที่ต้องมุดอยู่ในรู
ปากแกว่งหาเสี้ยน...สร้างความสะอิดสะเอียน?..คลื่นเหียนอาเจียน มากไปแล้วล่ะหนู
+++++++++++++++++++++++++++++
มีชื่ออยู่ใน “พิมพ์เขียว”
ถูกตั้งตรรกะเอาไว้ด้วยว่า จะเข้ามาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” อีกเที่ยว
ในการตั้ง “รัฐบาลเทพประทาน ๒” นั้น..ขอบอกให้รู้ว่า “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่เอื้อยใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ ขอบาย...
ถึงจะมีอำนาจ แต่มาด้วยเส้นทางนอกระบบ คุม “กระทรวงปืน” แต่ก็ไร้ความหมาย
ที่เคยเสียความบริสุทธิ์ หลุดเข้ามาเป็น “รัฐมนตรี” เมื่อครั้งกระนั้น..ชีวิตปวดร้าวสุดขีด
ชาตินี้ขอปิดฉาก...ถึงใครจะมาลาก?...ก็ไม่อยากกลับไปเป็นรัฐมนตรี อีกสักนิด
+++++++++++++++++++++++++++++
ยอดคน-มนุษย์เก่ง
“การบูร” ยกหัวแม่โป้ง ให้ “ดร.มิ้ง” คุณพี่ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้อำนวยการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ฝีมือท่านสุดเจ๋ง
พัฒนาพื้นที่ไนซ์ซาฟารียกระดับเกินมาตรฐานโลก..จนเป็นที่ติดอกติดใจ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ให้คนป้อน อาหารกับสัตว์ ด้วยมือตัวเอง..อีกทั้งปรับปรุงพื้นที่จนแปลกตา..เป็นที่ชื่นชอบนิยมของนักท่องเที่ยวไปตาม ๆ จึงแห่มาเที่ยวกันคึกคักนับหมื่นคนต่อสัปดาห์..ดึงเงินเข้าประเทศ ปีละหลายพันล้านบาท
ทุกคนพากันยอมรับ “ดร.มิ้ง” ศราวุฒิ ศรีศกุน หัวไบร์ทปัญญาแหลม ที่ยกระดับไนท์ซาฟารีจนยิ่งใหญ่ ..ใครที่ว่าสิงคโปร์มีไนท์ซาฟารีที่ยอดเยี่ยม ยังทาบที่นี่ไม่ติด เสร็จสรรพ
ของเราใหญ่กว่าถึง ๓ เท่า....แสนอลังการกว่าเขา....ยิ่งยอดเยี่ยมไม่เบา เพราะการบริหารของ “ดร.มิ้ง” ด้วยซีครับ
+++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “คนขยัน” คุณภาพคับแก้ว
๗ โมงเช้า “คุณพี่สุรพร ดนัยตั้งตระกูล” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาฯ ก็เข้ามาถึงกระทรวงกันแล้ว
ทำงานชิล ๆ เข้ากับเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง อย่างสบาย
อีกทั้งทำงานเข้าขา กับ “ท่านกิตติรัตน์ ณ. ระนอง” รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทุกอย่างจึงเดินหน้า กระโดดแบบก้าวไกล
เป็น “คุณพี่สุรพร ดนัยตั้งตระกูล” ที่ปรึกษาที่เฉียบคมด้านความคิดและความอ่าน..จนทำให้ “ขุนคลังกิตติรัตน์ ณ .ระนอง” ทำงานเพื่อชาติและแผ่นดิน อย่างเต็มที่
ได้ที่ปรึกษาท็อปฟอร์ม..ทุกคนจึงยอม...พร้อมใจช่วยงานกันเป็นอย่างดี
โดย:คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สมัยนั่งเป็นนายกฯ “เดอะมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จุดชนวน ป่วนประเทศ เป็นอริกับผู้นำของ กัมพูชา พม่า ลาว เวียตนาม เป็นตับ
มานั่งงมโขง เป็น “ฝ่ายค้านถาวร” ก็ปากตำแย แหย่ “สหรัฐอเมริกา” ว่าใช้เครื่องบินตรวจอากาศนาซา “ยู ๒” หรือปีศาจจารกรรม สอดแนมพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ กันเสร็จสรรพ
ปากพล่อย ๆ เที่ยวไประราน “พี่เบิ้มโลก” ที่เป็นตัวช่วยตนได้เป็น “นายกรัฐมนตรี”มาทุกเที่ยว ..เช่นนี้ก็มี
เปิดหน้าเป็นศัตรูกับสหรัฐ....ต่อไปประชาธิปัตย์...คงไม่ได้แรงหนุน ให้จัดตั้งรัฐบาลแล้วล่ะพี่
+++++++++++++++++++++++++++++
ปิดประตูลงกลอน
“ประชาธิปัตย์” ตอกฝาโลง พับฐานไปแล้ว เรื่องที่ “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะกลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” แทน “ปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
“สิทธิ” แห่งความชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยไม่มี ..เพราะเสียงสวรรค์ประชาชนทั้งประเทศ ไม่เลือกไม่หนุน
ซ้ำร้ายมาเติบฟืนใส่ไฟ ว่ากราด “สหรัฐ” อีกสิคุณ
เกรงต่อไปภายภาคหน้า ชะตาชีวิตจะจบไม่สวย เหมือน “บิน ลาเดน” และ “ซัมดัม”ที่ต้องมุดอยู่ในรู
ปากแกว่งหาเสี้ยน...สร้างความสะอิดสะเอียน?..คลื่นเหียนอาเจียน มากไปแล้วล่ะหนู
+++++++++++++++++++++++++++++
มีชื่ออยู่ใน “พิมพ์เขียว”
ถูกตั้งตรรกะเอาไว้ด้วยว่า จะเข้ามาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” อีกเที่ยว
ในการตั้ง “รัฐบาลเทพประทาน ๒” นั้น..ขอบอกให้รู้ว่า “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่เอื้อยใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ ขอบาย...
ถึงจะมีอำนาจ แต่มาด้วยเส้นทางนอกระบบ คุม “กระทรวงปืน” แต่ก็ไร้ความหมาย
ที่เคยเสียความบริสุทธิ์ หลุดเข้ามาเป็น “รัฐมนตรี” เมื่อครั้งกระนั้น..ชีวิตปวดร้าวสุดขีด
ชาตินี้ขอปิดฉาก...ถึงใครจะมาลาก?...ก็ไม่อยากกลับไปเป็นรัฐมนตรี อีกสักนิด
+++++++++++++++++++++++++++++
ยอดคน-มนุษย์เก่ง
“การบูร” ยกหัวแม่โป้ง ให้ “ดร.มิ้ง” คุณพี่ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้อำนวยการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ฝีมือท่านสุดเจ๋ง
พัฒนาพื้นที่ไนซ์ซาฟารียกระดับเกินมาตรฐานโลก..จนเป็นที่ติดอกติดใจ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ให้คนป้อน อาหารกับสัตว์ ด้วยมือตัวเอง..อีกทั้งปรับปรุงพื้นที่จนแปลกตา..เป็นที่ชื่นชอบนิยมของนักท่องเที่ยวไปตาม ๆ จึงแห่มาเที่ยวกันคึกคักนับหมื่นคนต่อสัปดาห์..ดึงเงินเข้าประเทศ ปีละหลายพันล้านบาท
ทุกคนพากันยอมรับ “ดร.มิ้ง” ศราวุฒิ ศรีศกุน หัวไบร์ทปัญญาแหลม ที่ยกระดับไนท์ซาฟารีจนยิ่งใหญ่ ..ใครที่ว่าสิงคโปร์มีไนท์ซาฟารีที่ยอดเยี่ยม ยังทาบที่นี่ไม่ติด เสร็จสรรพ
ของเราใหญ่กว่าถึง ๓ เท่า....แสนอลังการกว่าเขา....ยิ่งยอดเยี่ยมไม่เบา เพราะการบริหารของ “ดร.มิ้ง” ด้วยซีครับ
+++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “คนขยัน” คุณภาพคับแก้ว
๗ โมงเช้า “คุณพี่สุรพร ดนัยตั้งตระกูล” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาฯ ก็เข้ามาถึงกระทรวงกันแล้ว
ทำงานชิล ๆ เข้ากับเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง อย่างสบาย
อีกทั้งทำงานเข้าขา กับ “ท่านกิตติรัตน์ ณ. ระนอง” รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทุกอย่างจึงเดินหน้า กระโดดแบบก้าวไกล
เป็น “คุณพี่สุรพร ดนัยตั้งตระกูล” ที่ปรึกษาที่เฉียบคมด้านความคิดและความอ่าน..จนทำให้ “ขุนคลังกิตติรัตน์ ณ .ระนอง” ทำงานเพื่อชาติและแผ่นดิน อย่างเต็มที่
ได้ที่ปรึกษาท็อปฟอร์ม..ทุกคนจึงยอม...พร้อมใจช่วยงานกันเป็นอย่างดี
โดย:คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วีรพงษ์ รามางกูร : ตุลาการในระบอบประชาธิปไตย !!?
คอลัมน์ คนเดินตรอก
เมื่อไม่นานนี้มีข่าวว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ส่งตัวแทนของตนไปร้องต่อศาลอาญาให้ถอนประกันผู้ต้องหาคดี "ก่อการร้าย" ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ "เหลือเชื่อ" ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของศาล
เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใด ๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใด ๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสม มีวุฒิภาวะสูงในสายตาของประชาชน
การวางตัวให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับตุลาการ เพราะจะต้องได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือ ยิ่งเรียกร้องว่าตัวเองต้องอิสระ ไม่ถูกตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกเลย ยิ่งต้องมีขันติธรรม คือความอดกลั้นสูง ไม่โอนเอนไปตามอารมณ์ของตน ต้องมีอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลางว่างจากอคติและอุปาทานของตน อย่างน้อยก็ต้องไม่ให้ประชาชนเห็น เพราะจะทำให้ผู้คนคิดไปไกลว่าไม่อาจเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติโดยส่วนรวม
การที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร้องต่อศาลอาญา ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะกล่าวว่าตนไม่รู้ไม่เห็น ทางสำนักงานเขาทำกันไปเองไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็เท่ากับตนไม่มีความหมายอะไร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำเรื่องใหญ่ขนาดนี้ได้โดยไม่ปรึกษาประธานศาล

แต่ผู้คนเขากลับมองว่าประธานศาลไม่พูดความจริง เป็นการพูด "แก้ตัว" ปัดเรื่องออกจากตัวมากกว่า ยิ่งออกมาพูดว่าที่ไปร้องต่อศาลอาญาก็เพื่อความปลอดภัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะใช้ข้อหา "ผู้ก่อการร้าย" เพื่อให้ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้ประกันตัวได้ก็เป็นข้ออ้างทางการเมือง ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องกล่าวหากันทางการเมือง แม้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาบอกประชาชนว่าตนได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ ถ้าแค่ถูกโทรศัพท์ข่มขู่ก็หวั่นไหวในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว ก็ต้องคิดให้หนักว่าจะทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมได้หรือไม่
ศาลเป็นสถาบันเดียวในสามสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจประชาอธิปไตยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่เคยมีการปฏิรูปเลยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ศาลผู้ใช้อำนาจตุลาการก็ยังไม่ถูกแตะต้องเลย แถมคณะราษฎร์ยังไปขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา อดีตผู้พิพากษามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกด้วย การที่คณะราษฎร์ไปดึงเอาผู้พิพากษามาทำงานการเมืองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มหลวในเวลาต่อมา เพราะพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ได้มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยเลย
ความไม่มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยของศาลนั้นน่าจะยังมีสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะการเรียนการสอนก็ไม่ได้ตัดตอนฐานะของผู้พิพากษาในระบบที่แตกต่างกันก่อนปี 2475 กับหลังปี 2475 ว่าตนทำหน้าที่แทนใคร ควรวางตัวอย่างไร วิธีคิดควรเปลี่ยนไปอย่างไร
เมื่อมีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ได้มีการยอมรับมานานแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ศาลซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในสามที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจแทนประชาชนทางศาล ดังนั้นศาลจึงทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนเหมือน ๆ กับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่นิติบัญญัติและบริหารแทนปวงชนชาวไทยแล้ว ต้องตระหนักให้มากว่าตนได้รับเกียรติให้มาทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนโดยไม่ได้มีอะไรยึดโยงกับประชาชนเลย ทั้งในการคัดเลือก ควบคุม ตรวจสอบ ถอดถอน ดังนั้นตนต้องเคร่งครัดในหลักการและจรรยาบรรณ
กล่าวคือต้องควบคุมและตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอเป็นนิตย์ ว่าตนยังทำหน้าที่แทนเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชนอยู่หรือไม่
ยิ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการได้รับการคัดเลือกมาตอนที่อำนาจอธิปไตยถูกยึดจากปวงชนชาวไทยโดยคณะรัฐประหาร อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ออกมาสารภาพขอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติที่ตนแต่งตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องยิ่งถ่อมเนื้อถ่อมตน และตระหนักว่าตนมิได้มาตามวิถีทางปกติ วันหนึ่งเจ้าของอำนาจอธิปไตยเขาก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากเขา แม้เขาจะเป็นผู้ลงประชามติรับก็ด้วยมีเหตุจำยอม เพราะถ้ายิ่งไม่รับก็ยิ่งต้องใช้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ด้วยความเชื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และเชื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าให้รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ถ้าตนตระหนักว่าตนทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนชาวไทย ตุลาการรุ่นเก่าที่สอนกฎหมายอยู่ระหว่างประเทศปกครองโดยรัฐบาลทหาร
ในห้องเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ท่านก็พร่ำสอนถึงความเป็นตุลาการในระบอบประชาธิปไตย อดีตประธานศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยสอนว่า "แม้จะรู้ว่าเมื่ออ่านคำพิพากษาจบฟ้าจะถล่มดินจะทลาย คำพิพากษาก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง" ยังจำติดหูอยู่จนทุกวันนี้ ไม่ใช่ออกมาแสดงความหวั่นไหวเมื่อมีโทรศัพท์มาข่มขู่ ซึ่งจริงหรือไม่ก็ยังไม่แน่ใจ มิฉะนั้นเราคงจะไม่เห็นพลเอกผู้ร่วมปฏิวัติกับจอมพลสฤษดิ์ถูกตัดสินจำคุกเพราะภรรยาไปรับเพชรเป็นสินบน
แม้จะยึดหลักทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่า"ผู้ที่ยึดอำนาจสำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์" สามารถตรากฎหมายให้ศาลใช้ได้ ก็ยังต้องตระหนักว่าตนใช้กฎหมายนั้นแทนประชาชน ไม่ใช่แทนคณะรัฐประหารที่เป็นองค์อธิปัตย์ เพราะคณะรัฐประหารก็ประกาศว่า "ตนกระทำการบริหารประเทศแทนประชาชน ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
โดยทั่วไปสังคมยอมรับว่าผู้พิพากษาเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น"คนดี" แต่ก็มีภาษิตทางรัฐศาสตร์อยู่เหมือนกันว่า "คนดีที่ควบคุมไม่ได้อันตรายเสียยิ่งกว่าคนเลวที่ควบคุมได้" เรื่องนี้เคยพิสูจน์มาแล้วจากประวัติศาสตร์ในยุคที่บ้านเมืองเคยถูกปกครองโดยคนที่ประชาชนนึกว่าเป็นคนดี ผู้ที่ถือค้อนนาน ๆ เข้าก็จะเห็นศีรษะของมนุษย์เป็นหัวตะปูไปหมด ถ้าไม่มีการควบคุมหรือถ่วงดุล อำนาจทุกอย่างจึงต้องมีการควบคุมและถ่วงดุล การควบคุมและการถ่วงดุลจึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการบริหารประเทศทุกระดับ เราควรจะตรวจสอบดูว่าองค์กรทุกองค์กรมีระบบถ่วงดุลและควบคุมเพียงพอหรือไม่ ไม่ควรคิดว่า "ถ้าเลือกคนดีทุกอย่างก็จะดีเอง" อย่างที่บางคนชอบพูดฟังดูดี แต่ไม่สู้จะมีประโยชน์ กลับไปทำให้สังคมคิดผิด ๆ และหลงทาง ไม่สนใจระบบและโครงสร้างของอำนาจ ไปสนใจหาคนดีหรือทำคนให้ดีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าและพระศาสดาองค์อื่นพยายามมากว่า 2-3,000 ปีแล้วก็ยังทำไม่ได้
มาสนใจระบบดีกว่าว่าจะสร้างอย่างไรจึงจะควบคุมทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่ให้เอาคุณค่าและความคิดของตนไปใช้อำนาจบังคับให้คนอื่นต้องคิดตาม
ขณะนี้ทั้งโลกยอมรับกันแล้วว่า"ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด" เพราะเป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนผู้ปกครองได้โดยสันติวิธี สามารถควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลได้ไปในตัว ไม่มีชนชั้นใดโง่หรือฉลาดกว่าชนชั้นใด ขณะนี้คนชนบทไม่มีแล้ว มีแต่คนเมืองกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีได้เปลี่ยนโลกใบนี้ให้แตกต่างจากเมื่อ 20-30 ปีก่อนไปแล้ว องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายควรจะเลิกสับสนเสียทีว่าตนเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐแทนใครและเพื่อใคร ควรตระหนักได้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ผู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดมากที่สุด อาจจะเป็นตุลาการนั่นเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใด ๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใด ๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสม มีวุฒิภาวะสูงในสายตาของประชาชน
การวางตัวให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับตุลาการ เพราะจะต้องได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือ ยิ่งเรียกร้องว่าตัวเองต้องอิสระ ไม่ถูกตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกเลย ยิ่งต้องมีขันติธรรม คือความอดกลั้นสูง ไม่โอนเอนไปตามอารมณ์ของตน ต้องมีอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลางว่างจากอคติและอุปาทานของตน อย่างน้อยก็ต้องไม่ให้ประชาชนเห็น เพราะจะทำให้ผู้คนคิดไปไกลว่าไม่อาจเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติโดยส่วนรวม
การที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร้องต่อศาลอาญา ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะกล่าวว่าตนไม่รู้ไม่เห็น ทางสำนักงานเขาทำกันไปเองไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็เท่ากับตนไม่มีความหมายอะไร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำเรื่องใหญ่ขนาดนี้ได้โดยไม่ปรึกษาประธานศาล
แต่ผู้คนเขากลับมองว่าประธานศาลไม่พูดความจริง เป็นการพูด "แก้ตัว" ปัดเรื่องออกจากตัวมากกว่า ยิ่งออกมาพูดว่าที่ไปร้องต่อศาลอาญาก็เพื่อความปลอดภัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะใช้ข้อหา "ผู้ก่อการร้าย" เพื่อให้ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้ประกันตัวได้ก็เป็นข้ออ้างทางการเมือง ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องกล่าวหากันทางการเมือง แม้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาบอกประชาชนว่าตนได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ ถ้าแค่ถูกโทรศัพท์ข่มขู่ก็หวั่นไหวในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว ก็ต้องคิดให้หนักว่าจะทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมได้หรือไม่
ศาลเป็นสถาบันเดียวในสามสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจประชาอธิปไตยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่เคยมีการปฏิรูปเลยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ศาลผู้ใช้อำนาจตุลาการก็ยังไม่ถูกแตะต้องเลย แถมคณะราษฎร์ยังไปขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา อดีตผู้พิพากษามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกด้วย การที่คณะราษฎร์ไปดึงเอาผู้พิพากษามาทำงานการเมืองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มหลวในเวลาต่อมา เพราะพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ได้มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยเลย
ความไม่มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยของศาลนั้นน่าจะยังมีสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะการเรียนการสอนก็ไม่ได้ตัดตอนฐานะของผู้พิพากษาในระบบที่แตกต่างกันก่อนปี 2475 กับหลังปี 2475 ว่าตนทำหน้าที่แทนใคร ควรวางตัวอย่างไร วิธีคิดควรเปลี่ยนไปอย่างไร
เมื่อมีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ได้มีการยอมรับมานานแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ศาลซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในสามที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจแทนประชาชนทางศาล ดังนั้นศาลจึงทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนเหมือน ๆ กับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่นิติบัญญัติและบริหารแทนปวงชนชาวไทยแล้ว ต้องตระหนักให้มากว่าตนได้รับเกียรติให้มาทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนโดยไม่ได้มีอะไรยึดโยงกับประชาชนเลย ทั้งในการคัดเลือก ควบคุม ตรวจสอบ ถอดถอน ดังนั้นตนต้องเคร่งครัดในหลักการและจรรยาบรรณ
กล่าวคือต้องควบคุมและตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอเป็นนิตย์ ว่าตนยังทำหน้าที่แทนเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชนอยู่หรือไม่
ยิ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการได้รับการคัดเลือกมาตอนที่อำนาจอธิปไตยถูกยึดจากปวงชนชาวไทยโดยคณะรัฐประหาร อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ออกมาสารภาพขอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติที่ตนแต่งตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องยิ่งถ่อมเนื้อถ่อมตน และตระหนักว่าตนมิได้มาตามวิถีทางปกติ วันหนึ่งเจ้าของอำนาจอธิปไตยเขาก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากเขา แม้เขาจะเป็นผู้ลงประชามติรับก็ด้วยมีเหตุจำยอม เพราะถ้ายิ่งไม่รับก็ยิ่งต้องใช้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ด้วยความเชื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และเชื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าให้รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ถ้าตนตระหนักว่าตนทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนชาวไทย ตุลาการรุ่นเก่าที่สอนกฎหมายอยู่ระหว่างประเทศปกครองโดยรัฐบาลทหาร
ในห้องเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ท่านก็พร่ำสอนถึงความเป็นตุลาการในระบอบประชาธิปไตย อดีตประธานศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยสอนว่า "แม้จะรู้ว่าเมื่ออ่านคำพิพากษาจบฟ้าจะถล่มดินจะทลาย คำพิพากษาก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง" ยังจำติดหูอยู่จนทุกวันนี้ ไม่ใช่ออกมาแสดงความหวั่นไหวเมื่อมีโทรศัพท์มาข่มขู่ ซึ่งจริงหรือไม่ก็ยังไม่แน่ใจ มิฉะนั้นเราคงจะไม่เห็นพลเอกผู้ร่วมปฏิวัติกับจอมพลสฤษดิ์ถูกตัดสินจำคุกเพราะภรรยาไปรับเพชรเป็นสินบน
แม้จะยึดหลักทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่า"ผู้ที่ยึดอำนาจสำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์" สามารถตรากฎหมายให้ศาลใช้ได้ ก็ยังต้องตระหนักว่าตนใช้กฎหมายนั้นแทนประชาชน ไม่ใช่แทนคณะรัฐประหารที่เป็นองค์อธิปัตย์ เพราะคณะรัฐประหารก็ประกาศว่า "ตนกระทำการบริหารประเทศแทนประชาชน ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
โดยทั่วไปสังคมยอมรับว่าผู้พิพากษาเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น"คนดี" แต่ก็มีภาษิตทางรัฐศาสตร์อยู่เหมือนกันว่า "คนดีที่ควบคุมไม่ได้อันตรายเสียยิ่งกว่าคนเลวที่ควบคุมได้" เรื่องนี้เคยพิสูจน์มาแล้วจากประวัติศาสตร์ในยุคที่บ้านเมืองเคยถูกปกครองโดยคนที่ประชาชนนึกว่าเป็นคนดี ผู้ที่ถือค้อนนาน ๆ เข้าก็จะเห็นศีรษะของมนุษย์เป็นหัวตะปูไปหมด ถ้าไม่มีการควบคุมหรือถ่วงดุล อำนาจทุกอย่างจึงต้องมีการควบคุมและถ่วงดุล การควบคุมและการถ่วงดุลจึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการบริหารประเทศทุกระดับ เราควรจะตรวจสอบดูว่าองค์กรทุกองค์กรมีระบบถ่วงดุลและควบคุมเพียงพอหรือไม่ ไม่ควรคิดว่า "ถ้าเลือกคนดีทุกอย่างก็จะดีเอง" อย่างที่บางคนชอบพูดฟังดูดี แต่ไม่สู้จะมีประโยชน์ กลับไปทำให้สังคมคิดผิด ๆ และหลงทาง ไม่สนใจระบบและโครงสร้างของอำนาจ ไปสนใจหาคนดีหรือทำคนให้ดีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าและพระศาสดาองค์อื่นพยายามมากว่า 2-3,000 ปีแล้วก็ยังทำไม่ได้
มาสนใจระบบดีกว่าว่าจะสร้างอย่างไรจึงจะควบคุมทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่ให้เอาคุณค่าและความคิดของตนไปใช้อำนาจบังคับให้คนอื่นต้องคิดตาม
ขณะนี้ทั้งโลกยอมรับกันแล้วว่า"ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด" เพราะเป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนผู้ปกครองได้โดยสันติวิธี สามารถควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลได้ไปในตัว ไม่มีชนชั้นใดโง่หรือฉลาดกว่าชนชั้นใด ขณะนี้คนชนบทไม่มีแล้ว มีแต่คนเมืองกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีได้เปลี่ยนโลกใบนี้ให้แตกต่างจากเมื่อ 20-30 ปีก่อนไปแล้ว องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายควรจะเลิกสับสนเสียทีว่าตนเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐแทนใครและเพื่อใคร ควรตระหนักได้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ผู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดมากที่สุด อาจจะเป็นตุลาการนั่นเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผลไม้พิษ..องค์กรอิสระ !!?
ถ้าต้องกลับไปเข้าคุกอีก จะเดินเท้าจากอนุสาวรีย์ประชา ธิปไตยไปเรือนจำ และจะอดอาหารในเรือนจำ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ยืนยันหากศาลอาญาถอนประกันตัวตามที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งยังเดินทางไปศาลรัฐธรรม นูญ โดยยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการกระทำของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจโดยมิชอบและกระ ทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนอย่างมาก
นายจตุพรยืนยันว่า ไม่ได้กดดันศาล แต่ศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่กดดันตนตลอดเวลา การยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นหนังสือเถื่อน เพราะหน้าที่การขอยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวต้องเป็นของอัยการที่เป็นโจทก์ในคดี ศาลรัฐธรรมนูญเหมือนจงใจที่จะขยายอาณาเขต เช่น กรณีกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และการที่ศาลรัฐธรรมนูญงดการชี้แจงเรื่องการถอนประกันตัวก่อนหน้านี้ โดยอ้างว่าจะเป็นการล่วงอำนาจของศาลอาญานั้น นายจตุพรกลับเห็นว่าการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่เป็นการล่วงอำนาจศาลอาญา
“จตุพร” ตั้งคำถามศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนหนังสือที่นายจตุพรยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ถาม 3 ประเด็นคือ 1.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจใดในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวของตนต่อศาลอาญา เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่พยานในคดีที่ตนขอปล่อยตัวชั่วคราว และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นคู่ความในคดีที่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งโดยทั่วไปต้องยื่นโดยพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีตามกฎหมายอาญา
2.อยากทราบว่ามีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่คุก คามสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการปราศรัยหน้ารัฐสภาตามที่ปรา กฏในหนังสือพิมพ์และการให้สัมภาษณ์ไม่ได้มีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่หรือยุยงปลุกปั่นให้บุคคลที่ชุมนุมทางการเมืองไปคุกคามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่มีข้อความส่วนใดเป็นการคุกคามสิทธิส่วนบุคคลของตุลาการและครอบครัวแต่อย่างใด
3.กรณีที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้แจ้งความดำเนินคดีกับตน และต่อมาเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อกองปราบปราม ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และคณะตุลาการที่มีมติดังกล่าวได้นั่งพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้ตนพ้นจากการเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 จึงมีความเคลือบแคลงสงสัยในความยุติธรรมและความเป็นกลางในการพิจารณาคดีและวินิจฉัยคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าปราศจากอคติหรือไม่
ศาลอาญายันไม่มีการตั้งธง
อย่างไรก็ตาม นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้ความเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นขอถอนประกันตัวนายจตุพรว่า ศาลอาญาได้รับ คำร้องไว้และให้ออกหมายเรียกนายจตุพรมาสอบถามข้อเท็จจริงในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ โดยยืนยันว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติหรือตั้งธงว่าจะถอนประกันนายจตุพร เพราะการถอนประกันอาจเกิดปัญหาตามมา อย่างกรณีที่เคยถอนประกันแล้วนายจตุพรติดคุกและออกมาเลือกตั้งไม่ได้จนโดนตัดสิทธิ แต่ศาลจะพิจารณาข้อแม้ในการประกันตัวและผลกระทบต่อสังคมว่าเกิด ความเสียหายหรือไม่ แม้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีคำร้องมา ศาลอาญาก็มีสิทธิเรียกตัวมาสอบสวนได้
สังคมอยู่ในขั้นพิการ
ในขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐ มนตรี ให้ความเห็นว่า รู้สึกงงและไม่เข้าใจว่าศาลรัฐ ธรรมนูญเกี่ยวข้องอะไรด้วย เพราะการจะยื่นถอนประกันตัวต้องมีพฤติกรรมผิดเงื่อนไขตามที่ศาลอาญา บันทึกไว้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ หากนายจตุพรไปข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นความผิดในคดีใหม่
“วันนี้ยุ่งไปหมดแล้ว ไม่รู้อะไรบ้าง ผมวิจารณ์ก็ได้แค่พูด แต่พอตุลาการภิวัฒน์มีคำสั่งเราก็ต้องปฏิ บัติตาม เป็นรองกันอยู่ตรงนี้ เป็นรองชนิดอะไรก็ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้สังคมไทยก็หนักใจ ตอนรับคำร้องร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญก็สาหัสแล้ว แต่ครั้งนี้ยื่นถอนประกันตัวอีก ในความรู้สึกของนักกฎหมายถือว่าถึงขั้นพิการเลย”
ความเห็นของ ร.ต.อ.เฉลิมสอดคล้องกับนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีต ส.ส.ร ปี 2540 ที่ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมวาระ 3 ว่าทำให้หลักการคานอำนาจถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงโดยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถือว่าเป็นบาปของ ส.ส.ร. ปี 2540 ที่ให้กำเนิดอำนาจที่ 4 มาใช้อำนาจเหนือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทั้งที่เจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อเป็นเปาบุ้นจิ้นปราบนักการเมืองที่ได้อำนาจมาโดยมิชอบ ทำให้การเมืองใสสะอาด แต่ปัจจุบันกลับเหมือนการสร้างระบบขุนนางขึ้นมา และยังไม่ได้ผ่านความเห็นดีเห็นงามจากประชาชน เพราะกระบวนการสรรหาล้วนมาจากอำมาตย์
องค์กรอิสระภายใต้เผด็จการ?
ที่สำคัญปัญหาขององค์กรอิสระที่มีผลกระทบต่อการเมืองก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ชัดเจนและส่งผลรุนแรงเหมือนในปัจจุบัน เพราะในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่กระบวน การสรรหาที่ “ล็อกสเปก” โดยใช้อิทธิพลเหนือวุฒิสภานั้น วันนี้กลับมีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรอิสระว่าเลวร้ายและอัปยศยิ่งกว่าในอดีตเสียอีก
เพราะการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) สั่งให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง แต่บรรดาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกลับยังให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทั้งที่ตามหลักการในรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลง องค์กรเหล่านี้ต้องถือว่าสิ้นสุดลงเช่นกัน
“ป.ป.ช.-กกต.” ผิดกฎหมาย?
ที่สำคัญนอกจากองค์กรอิสระทั้งหมดจะดำรงอยู่แล้ว ประกาศ คปค. ยังต่ออายุองค์กรอิสระทั้ง ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต. ให้ทำงานต่อ 6 ปี หรือ 9 ปี ซึ่งเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการเหมือนการหมกเม็ดมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญปี 2550
โดยเฉพาะประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ที่แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ 9 ปี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 แต่ ป.ป.ช. ชุดนี้ไม่มีการลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งแต่อย่างใด จึงถูกตั้งคำถามว่าถือเป็นการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งด้วยการก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ ต่อมากลับมีการทำหนัง สือขอโปรดเกล้าฯย้อนหลังหลังจากเข้าทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2549 โดยเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานและกรรม การ ป.ป.ช. จำนวน 9 คน ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายกล้า
นรงค์ จันทิก หนึ่งใน ป.ป.ช. ชุดนี้ ยืนยันว่าการแต่งตั้งของ คปค. ไม่มีปัญหา แต่สุดท้ายกลับยื่นหนังสือทูลเกล้าฯภายหลัง ซึ่งเท่ากับการแต่งตั้งผิดกฎหมายและไม่มีความชอบธรรมใช่หรือไม่?
กรณีดังกล่าวของ ป.ป.ช. จึงทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ปลดออกจากตำแหน่งจากภาคประชาชนและเครือข่ายการเมืองต่างๆ อย่างนายคณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร. ปี 2540 ในฐานะประธานสภาประชาชน เคลื่อนไหวให้ปลด ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่ามีที่มาจากเผด็จการ และยังขัดรัฐธรรมนูญและส่อละเมิดพระราชอำนาจอีกด้วย ขณะที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ก็แสดงความเห็นว่าการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ไม่น่าจะถูกต้อง
แม้แต่ กกต. ก็ถูกกดดันจากนักวิชาการถึงที่มาและการทำงานเพื่อให้พิจารณาลาออก แต่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ตอบโต้ว่า กกต. ทั้ง 5 คน มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ตามกระบวนการสรรหาโดยวุฒิสภาตามขั้นตอน แต่โชคร้ายเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงทำให้กระบวนการทุกอย่างล้มเลิก แต่เมื่อ คปค. ตั้ง กกต. ทั้ง 5 คน ให้ทำหน้าที่ต่อก็ถือว่าถูกต้อง แต่หากไม่ชอบ ส.ส. และ ส.ว. ที่ กกต. ให้การรับรองก็ต้องถือว่าไม่ชอบด้วย
พิษองค์กรอิสระ!
ความกลัวหรือวิตกว่าองค์กรอิสระคือการสืบ ทอดอำนาจเผด็จการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกเปรียบเป็น “ตุลาการภิวัฒน์” เพราะในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาเห็นได้จากการวินิจฉัยนายสมัคร สุนทรเวช ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการรับจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” และรายการ “ยกโขยง 6 โมง เช้า” การวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทั้งการตัดสิทธิทาง การเมืองนักการเมือง 109 คน ซึ่งมีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังรับตำแหน่งต่อจากนายสมัครได้ไม่นาน
ขณะที่ปัจจุบันเพียงไม่กี่เดือน นอกจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ชะลอการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 การวินิจฉัยให้นายจตุพรพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ ฐานไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ และการยื่นศาลอาญาให้ถอนประกันตัวนายจตุพรแล้ว
ป.ป.ช. ยังมีความเห็นให้อัยการสูงสุดฟ้องศาลเพื่อ ดำเนินคดีกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคดีที่ดินอัล ไพน์ครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินก็มีความเห็นถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่แต่งตั้งนายณัฐวุฒิ ใสย เกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางนลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งล่าสุดกรณีนายณัฐวุฒิผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยว่าอาจขัดกฎหมายและขัดจริยธรรม เพราะศาลเคยมีคำสั่งว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
แต่นายณัฐวุฒิโต้ตอบว่า การดำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่มีสิทธิชี้ขาดว่าใครควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ เพราะตามรัฐธรรม นูญกำหนดว่าผู้ที่มีคดีทางแพ่งและอาญาที่ศาลยังไม่ตัดสินต้องถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมีนักการเมืองมาก มายที่ถูกกล่าวหาเช่นนี้ แม้แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีคดีติดตัวเช่นกัน
“อภิชาต” ออกเสียง “ดับเบิล” เด้ง “การุณ”!
แต่ที่เป็นข่าวฮือฮาในขณะนี้คือคำวินิจฉัยของ กกต. ที่ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งแจกใบแดงนายการุณ โหสกุล ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย ข้อหาใส่ร้ายป้ายสีนายแทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ในการหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้นายการุณต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเพื่อรอคำพิพากษาว่ามีความผิดหรือไม่ หากศาลมีความเห็นยืนตาม กกต. ก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
แต่ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดกลับเป็นการลงมติของ กกต. ซึ่งที่ประชุม กกต. มีเพียง 4 คน ขาดนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนและวินิจฉัย แต่ปรากฏว่าการลงมติมีเสียงเท่ากันคือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ที่เห็นควรสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กกต.ด้านการมีส่วนร่วม เห็นควรให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าการปราศรัยโจมตีกันเป็นเรื่อง ปรกติทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่น่าจะนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ อีกทั้งนายแทนคุณได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและทำสำนวนส่งไปยังอัยการ แต่ อัยการก็สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว จึงไม่น่าจะมีน้ำหนักอะไร
แต่นายอภิชาตได้นำเรื่องเข้าที่ประชุม กกต. อีกครั้ง และใช้อำนาจตามมาตรา 8 พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ระบุว่าหากมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพื่อชี้ขาด ซึ่งนายอภิชาตได้ออกเสียงเป็นมติ กกต. เสียงข้างมากสั่งเพิกถอนสิทธินายการุณในที่สุด
การลงมติ “ดับเบิล” ของนายอภิชาตจึงยิ่งทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความยุติธรรมและสองมาตรฐาน ของ กกต. เพราะก่อนหน้านี้นายอภิชาตถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบอย่างปาฏิหาริย์ กรณีใช้เงินบริจาค 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประ สงค์ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วยมติ 4 ต่อ 2 เนื่องจากประธาน กกต. ไม่ได้ทำความเห็นในฐานะนายทะเบียน พรรคการเมือง และยื่นคำร้องไม่ทันกำหนด 15 วันนับตั้งแต่ความปรากฏต่อนายทะเบียน ส่วนกรณีข้อเท็จจริงนั้น เมื่อยื่นคำร้องไม่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีก ขณะที่นายอภิชาตยอมรับว่าเป็นเพื่อนร่วมรุ่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปฏิรูปหรือยุบทิ้งองค์กรอิสระ?
จึงไม่แปลกที่จะมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง รวมถึงเครือข่ายประชาธิปไตยและนักวิชาการเสนอให้มีการยุบองค์กรอิสระหรือปฏิรูปครั้งใหญ่ไปพร้อมๆกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนมีปฏิกิริยาจากองค์กรอิสระและกลุ่มอำมาตย์ที่ได้ประโยชน์จากองค์กรอิสระออกมาโจมตีและขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยเฉพาะกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ จนถูกมองว่าเป็นการทำ “รัฐประหาร” โดย กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์”
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.พรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่า หากศาลบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้เป็นการทำลายล้างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส.ส. และ ส.ว. 300 กว่าคนก็จะถูกยื่นถอดถอน และถ้า ป.ป.ช. ชี้ว่ามีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เตรียมตัวถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ได้แล้ว
“ผมคิดว่าถ้ามีอำนาจได้จะขอแก้ไขเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ หลายคนรู้สึกว่าขณะนี้เลยขอบเขตที่ควร จะเป็นแล้ว และบอกว่าศาลเหล่านี้ไม่ใช่ศาลยุติธรรมเป็นศาลพิเศษ เมื่อเป็นศาลพิเศษ อำนาจหน้าที่ตามหลักแล้วกฎหมายให้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่มีกฎหมายก็ไม่มีอำนาจ อย่าตีความขยาย แล้วจะมีปัญหา ตอนที่ MOU สมัยรัฐบาลสมัครก็ไปตีความว่าสัญญานี้อาจทำให้เสียดินแดน การตีความขยายก็เหมือนกับการไปแก้รัฐธรรมนูญเสียเอง นี่ยังไม่นับกรณีคุณสมัครที่ถูกร้องว่าเป็นลูกจ้างจากการออกรายการทำกับข้าว”
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงมีเสียงเรียกร้องมากมายให้ปฏิรูปโครงสร้างขององค์กรอิสระต่างๆในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหรือยุบรวมเพื่อให้เป็นองค์กรอิสระทางปกครองที่ช่วยเหลืองานของรัฐสภา ไม่ใช่อำนาจที่ 4 ที่กำลัง “เผาประเทศ” ให้ลุกเป็นไฟ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทัก ษิณที่ถูกประณามว่าแทรกแซงองค์กรอิสระ
ถ้าไม่ยุบองค์กรอิสระก็ต้องปฏิรูปที่มาและอำนาจขององค์กรอิสระใหม่ทั้งหมดตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ที่ต้องการให้เป็นอำนาจการบริหารในทางปกครองเท่านั้น ไม่ใช่มาจากรากเหง้าเผด็จการ และรวบอำนาจเบ็ดเสร็จชี้เป็นชี้ตายอยู่เหนือ 3 อำนาจ หลักตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ “รัฐธรรมนูญ 2550” ต้นไม้พิษจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่กำหนดวิธีสรรหาผู้ที่มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆผิดแผกแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ 2540 โดยทำทุกอย่างให้ “ฝ่ายอำมาตย์” กลายเป็น “เสียงข้างมากในแทบทุกองค์กรอิสระ” อันเป็นที่มาของ “อำ นาจเหนือระบบรัฐสภา” ในคราบ “องค์กรจัดตั้ง” เพื่อภารกิจล้มล้างรัฐบาลที่ฝ่ายอำมาตย์ไม่ปลื้ม
การขยายขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ ผลไม้พิษจากรัฐธรรมนูญ 2550 ในขณะนี้จึงไม่ต่างกับ “รัฐประหาร” ที่พร้อมจะกวาดล้างและปราบปรามประชาชนและกลุ่มอำนาจที่ต่อต้านให้สิ้นซาก
คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยจึงไม่ควรปอดแหก แต่ต้องหาญกล้าอย่างมีสติและสุขุมรอบคอบ ไม่ตกหลุมพรางให้กลุ่มอำมาตย์ที่ยั่วยุให้เกิดการลุกฮือและอ้างความชอบธรรมในการปราบ ปรามครั้งใหญ่
เพราะครั้งนี้จะรุนแรงและโหดเหี้ยมยิ่งกว่า 6 ตุลาคม 2519 ยิ่งนัก!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ยืนยันหากศาลอาญาถอนประกันตัวตามที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งยังเดินทางไปศาลรัฐธรรม นูญ โดยยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการกระทำของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจโดยมิชอบและกระ ทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนอย่างมาก
นายจตุพรยืนยันว่า ไม่ได้กดดันศาล แต่ศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่กดดันตนตลอดเวลา การยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นหนังสือเถื่อน เพราะหน้าที่การขอยื่นถอนประกันตัวชั่วคราวต้องเป็นของอัยการที่เป็นโจทก์ในคดี ศาลรัฐธรรมนูญเหมือนจงใจที่จะขยายอาณาเขต เช่น กรณีกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และการที่ศาลรัฐธรรมนูญงดการชี้แจงเรื่องการถอนประกันตัวก่อนหน้านี้ โดยอ้างว่าจะเป็นการล่วงอำนาจของศาลอาญานั้น นายจตุพรกลับเห็นว่าการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่เป็นการล่วงอำนาจศาลอาญา
“จตุพร” ตั้งคำถามศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนหนังสือที่นายจตุพรยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ถาม 3 ประเด็นคือ 1.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจใดในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวของตนต่อศาลอาญา เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่พยานในคดีที่ตนขอปล่อยตัวชั่วคราว และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นคู่ความในคดีที่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งโดยทั่วไปต้องยื่นโดยพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีตามกฎหมายอาญา
2.อยากทราบว่ามีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่คุก คามสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการปราศรัยหน้ารัฐสภาตามที่ปรา กฏในหนังสือพิมพ์และการให้สัมภาษณ์ไม่ได้มีข้อความใดที่เป็นการข่มขู่หรือยุยงปลุกปั่นให้บุคคลที่ชุมนุมทางการเมืองไปคุกคามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่มีข้อความส่วนใดเป็นการคุกคามสิทธิส่วนบุคคลของตุลาการและครอบครัวแต่อย่างใด
3.กรณีที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้แจ้งความดำเนินคดีกับตน และต่อมาเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อกองปราบปราม ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และคณะตุลาการที่มีมติดังกล่าวได้นั่งพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้ตนพ้นจากการเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 จึงมีความเคลือบแคลงสงสัยในความยุติธรรมและความเป็นกลางในการพิจารณาคดีและวินิจฉัยคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าปราศจากอคติหรือไม่
ศาลอาญายันไม่มีการตั้งธง
อย่างไรก็ตาม นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้ความเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นขอถอนประกันตัวนายจตุพรว่า ศาลอาญาได้รับ คำร้องไว้และให้ออกหมายเรียกนายจตุพรมาสอบถามข้อเท็จจริงในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ โดยยืนยันว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติหรือตั้งธงว่าจะถอนประกันนายจตุพร เพราะการถอนประกันอาจเกิดปัญหาตามมา อย่างกรณีที่เคยถอนประกันแล้วนายจตุพรติดคุกและออกมาเลือกตั้งไม่ได้จนโดนตัดสิทธิ แต่ศาลจะพิจารณาข้อแม้ในการประกันตัวและผลกระทบต่อสังคมว่าเกิด ความเสียหายหรือไม่ แม้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีคำร้องมา ศาลอาญาก็มีสิทธิเรียกตัวมาสอบสวนได้
สังคมอยู่ในขั้นพิการ
ในขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐ มนตรี ให้ความเห็นว่า รู้สึกงงและไม่เข้าใจว่าศาลรัฐ ธรรมนูญเกี่ยวข้องอะไรด้วย เพราะการจะยื่นถอนประกันตัวต้องมีพฤติกรรมผิดเงื่อนไขตามที่ศาลอาญา บันทึกไว้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ หากนายจตุพรไปข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นความผิดในคดีใหม่
“วันนี้ยุ่งไปหมดแล้ว ไม่รู้อะไรบ้าง ผมวิจารณ์ก็ได้แค่พูด แต่พอตุลาการภิวัฒน์มีคำสั่งเราก็ต้องปฏิ บัติตาม เป็นรองกันอยู่ตรงนี้ เป็นรองชนิดอะไรก็ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้สังคมไทยก็หนักใจ ตอนรับคำร้องร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญก็สาหัสแล้ว แต่ครั้งนี้ยื่นถอนประกันตัวอีก ในความรู้สึกของนักกฎหมายถือว่าถึงขั้นพิการเลย”
ความเห็นของ ร.ต.อ.เฉลิมสอดคล้องกับนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีต ส.ส.ร ปี 2540 ที่ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมวาระ 3 ว่าทำให้หลักการคานอำนาจถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงโดยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถือว่าเป็นบาปของ ส.ส.ร. ปี 2540 ที่ให้กำเนิดอำนาจที่ 4 มาใช้อำนาจเหนือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทั้งที่เจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อเป็นเปาบุ้นจิ้นปราบนักการเมืองที่ได้อำนาจมาโดยมิชอบ ทำให้การเมืองใสสะอาด แต่ปัจจุบันกลับเหมือนการสร้างระบบขุนนางขึ้นมา และยังไม่ได้ผ่านความเห็นดีเห็นงามจากประชาชน เพราะกระบวนการสรรหาล้วนมาจากอำมาตย์
องค์กรอิสระภายใต้เผด็จการ?
ที่สำคัญปัญหาขององค์กรอิสระที่มีผลกระทบต่อการเมืองก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ชัดเจนและส่งผลรุนแรงเหมือนในปัจจุบัน เพราะในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงองค์กรอิสระตั้งแต่กระบวน การสรรหาที่ “ล็อกสเปก” โดยใช้อิทธิพลเหนือวุฒิสภานั้น วันนี้กลับมีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรอิสระว่าเลวร้ายและอัปยศยิ่งกว่าในอดีตเสียอีก
เพราะการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) สั่งให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง แต่บรรดาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกลับยังให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทั้งที่ตามหลักการในรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลง องค์กรเหล่านี้ต้องถือว่าสิ้นสุดลงเช่นกัน
“ป.ป.ช.-กกต.” ผิดกฎหมาย?
ที่สำคัญนอกจากองค์กรอิสระทั้งหมดจะดำรงอยู่แล้ว ประกาศ คปค. ยังต่ออายุองค์กรอิสระทั้ง ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต. ให้ทำงานต่อ 6 ปี หรือ 9 ปี ซึ่งเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการเหมือนการหมกเม็ดมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญปี 2550
โดยเฉพาะประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ที่แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ 9 ปี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 แต่ ป.ป.ช. ชุดนี้ไม่มีการลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งแต่อย่างใด จึงถูกตั้งคำถามว่าถือเป็นการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งด้วยการก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ ต่อมากลับมีการทำหนัง สือขอโปรดเกล้าฯย้อนหลังหลังจากเข้าทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2549 โดยเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานและกรรม การ ป.ป.ช. จำนวน 9 คน ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายกล้า
นรงค์ จันทิก หนึ่งใน ป.ป.ช. ชุดนี้ ยืนยันว่าการแต่งตั้งของ คปค. ไม่มีปัญหา แต่สุดท้ายกลับยื่นหนังสือทูลเกล้าฯภายหลัง ซึ่งเท่ากับการแต่งตั้งผิดกฎหมายและไม่มีความชอบธรรมใช่หรือไม่?
กรณีดังกล่าวของ ป.ป.ช. จึงทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ปลดออกจากตำแหน่งจากภาคประชาชนและเครือข่ายการเมืองต่างๆ อย่างนายคณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร. ปี 2540 ในฐานะประธานสภาประชาชน เคลื่อนไหวให้ปลด ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่ามีที่มาจากเผด็จการ และยังขัดรัฐธรรมนูญและส่อละเมิดพระราชอำนาจอีกด้วย ขณะที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ก็แสดงความเห็นว่าการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ไม่น่าจะถูกต้อง
แม้แต่ กกต. ก็ถูกกดดันจากนักวิชาการถึงที่มาและการทำงานเพื่อให้พิจารณาลาออก แต่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ตอบโต้ว่า กกต. ทั้ง 5 คน มาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ตามกระบวนการสรรหาโดยวุฒิสภาตามขั้นตอน แต่โชคร้ายเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงทำให้กระบวนการทุกอย่างล้มเลิก แต่เมื่อ คปค. ตั้ง กกต. ทั้ง 5 คน ให้ทำหน้าที่ต่อก็ถือว่าถูกต้อง แต่หากไม่ชอบ ส.ส. และ ส.ว. ที่ กกต. ให้การรับรองก็ต้องถือว่าไม่ชอบด้วย
พิษองค์กรอิสระ!
ความกลัวหรือวิตกว่าองค์กรอิสระคือการสืบ ทอดอำนาจเผด็จการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกเปรียบเป็น “ตุลาการภิวัฒน์” เพราะในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาเห็นได้จากการวินิจฉัยนายสมัคร สุนทรเวช ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการรับจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” และรายการ “ยกโขยง 6 โมง เช้า” การวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทั้งการตัดสิทธิทาง การเมืองนักการเมือง 109 คน ซึ่งมีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังรับตำแหน่งต่อจากนายสมัครได้ไม่นาน
ขณะที่ปัจจุบันเพียงไม่กี่เดือน นอกจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ชะลอการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 การวินิจฉัยให้นายจตุพรพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ ฐานไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ และการยื่นศาลอาญาให้ถอนประกันตัวนายจตุพรแล้ว
ป.ป.ช. ยังมีความเห็นให้อัยการสูงสุดฟ้องศาลเพื่อ ดำเนินคดีกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคดีที่ดินอัล ไพน์ครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินก็มีความเห็นถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่แต่งตั้งนายณัฐวุฒิ ใสย เกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางนลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งล่าสุดกรณีนายณัฐวุฒิผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยว่าอาจขัดกฎหมายและขัดจริยธรรม เพราะศาลเคยมีคำสั่งว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
แต่นายณัฐวุฒิโต้ตอบว่า การดำเนินการของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่มีสิทธิชี้ขาดว่าใครควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ เพราะตามรัฐธรรม นูญกำหนดว่าผู้ที่มีคดีทางแพ่งและอาญาที่ศาลยังไม่ตัดสินต้องถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมีนักการเมืองมาก มายที่ถูกกล่าวหาเช่นนี้ แม้แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีคดีติดตัวเช่นกัน
“อภิชาต” ออกเสียง “ดับเบิล” เด้ง “การุณ”!
แต่ที่เป็นข่าวฮือฮาในขณะนี้คือคำวินิจฉัยของ กกต. ที่ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งแจกใบแดงนายการุณ โหสกุล ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย ข้อหาใส่ร้ายป้ายสีนายแทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ในการหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้นายการุณต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเพื่อรอคำพิพากษาว่ามีความผิดหรือไม่ หากศาลมีความเห็นยืนตาม กกต. ก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
แต่ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดกลับเป็นการลงมติของ กกต. ซึ่งที่ประชุม กกต. มีเพียง 4 คน ขาดนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนและวินิจฉัย แต่ปรากฏว่าการลงมติมีเสียงเท่ากันคือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. และนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ที่เห็นควรสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กกต.ด้านการมีส่วนร่วม เห็นควรให้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าการปราศรัยโจมตีกันเป็นเรื่อง ปรกติทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่น่าจะนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ อีกทั้งนายแทนคุณได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและทำสำนวนส่งไปยังอัยการ แต่ อัยการก็สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว จึงไม่น่าจะมีน้ำหนักอะไร
แต่นายอภิชาตได้นำเรื่องเข้าที่ประชุม กกต. อีกครั้ง และใช้อำนาจตามมาตรา 8 พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ระบุว่าหากมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพื่อชี้ขาด ซึ่งนายอภิชาตได้ออกเสียงเป็นมติ กกต. เสียงข้างมากสั่งเพิกถอนสิทธินายการุณในที่สุด
การลงมติ “ดับเบิล” ของนายอภิชาตจึงยิ่งทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความยุติธรรมและสองมาตรฐาน ของ กกต. เพราะก่อนหน้านี้นายอภิชาตถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบอย่างปาฏิหาริย์ กรณีใช้เงินบริจาค 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประ สงค์ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วยมติ 4 ต่อ 2 เนื่องจากประธาน กกต. ไม่ได้ทำความเห็นในฐานะนายทะเบียน พรรคการเมือง และยื่นคำร้องไม่ทันกำหนด 15 วันนับตั้งแต่ความปรากฏต่อนายทะเบียน ส่วนกรณีข้อเท็จจริงนั้น เมื่อยื่นคำร้องไม่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีก ขณะที่นายอภิชาตยอมรับว่าเป็นเพื่อนร่วมรุ่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปฏิรูปหรือยุบทิ้งองค์กรอิสระ?
จึงไม่แปลกที่จะมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง รวมถึงเครือข่ายประชาธิปไตยและนักวิชาการเสนอให้มีการยุบองค์กรอิสระหรือปฏิรูปครั้งใหญ่ไปพร้อมๆกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนมีปฏิกิริยาจากองค์กรอิสระและกลุ่มอำมาตย์ที่ได้ประโยชน์จากองค์กรอิสระออกมาโจมตีและขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยเฉพาะกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ จนถูกมองว่าเป็นการทำ “รัฐประหาร” โดย กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์”
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.พรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่า หากศาลบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้เป็นการทำลายล้างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส.ส. และ ส.ว. 300 กว่าคนก็จะถูกยื่นถอดถอน และถ้า ป.ป.ช. ชี้ว่ามีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เตรียมตัวถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ได้แล้ว
“ผมคิดว่าถ้ามีอำนาจได้จะขอแก้ไขเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ หลายคนรู้สึกว่าขณะนี้เลยขอบเขตที่ควร จะเป็นแล้ว และบอกว่าศาลเหล่านี้ไม่ใช่ศาลยุติธรรมเป็นศาลพิเศษ เมื่อเป็นศาลพิเศษ อำนาจหน้าที่ตามหลักแล้วกฎหมายให้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่มีกฎหมายก็ไม่มีอำนาจ อย่าตีความขยาย แล้วจะมีปัญหา ตอนที่ MOU สมัยรัฐบาลสมัครก็ไปตีความว่าสัญญานี้อาจทำให้เสียดินแดน การตีความขยายก็เหมือนกับการไปแก้รัฐธรรมนูญเสียเอง นี่ยังไม่นับกรณีคุณสมัครที่ถูกร้องว่าเป็นลูกจ้างจากการออกรายการทำกับข้าว”
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงมีเสียงเรียกร้องมากมายให้ปฏิรูปโครงสร้างขององค์กรอิสระต่างๆในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหรือยุบรวมเพื่อให้เป็นองค์กรอิสระทางปกครองที่ช่วยเหลืองานของรัฐสภา ไม่ใช่อำนาจที่ 4 ที่กำลัง “เผาประเทศ” ให้ลุกเป็นไฟ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทัก ษิณที่ถูกประณามว่าแทรกแซงองค์กรอิสระ
ถ้าไม่ยุบองค์กรอิสระก็ต้องปฏิรูปที่มาและอำนาจขององค์กรอิสระใหม่ทั้งหมดตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ที่ต้องการให้เป็นอำนาจการบริหารในทางปกครองเท่านั้น ไม่ใช่มาจากรากเหง้าเผด็จการ และรวบอำนาจเบ็ดเสร็จชี้เป็นชี้ตายอยู่เหนือ 3 อำนาจ หลักตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ “รัฐธรรมนูญ 2550” ต้นไม้พิษจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่กำหนดวิธีสรรหาผู้ที่มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆผิดแผกแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ 2540 โดยทำทุกอย่างให้ “ฝ่ายอำมาตย์” กลายเป็น “เสียงข้างมากในแทบทุกองค์กรอิสระ” อันเป็นที่มาของ “อำ นาจเหนือระบบรัฐสภา” ในคราบ “องค์กรจัดตั้ง” เพื่อภารกิจล้มล้างรัฐบาลที่ฝ่ายอำมาตย์ไม่ปลื้ม
การขยายขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ ผลไม้พิษจากรัฐธรรมนูญ 2550 ในขณะนี้จึงไม่ต่างกับ “รัฐประหาร” ที่พร้อมจะกวาดล้างและปราบปรามประชาชนและกลุ่มอำนาจที่ต่อต้านให้สิ้นซาก
คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยจึงไม่ควรปอดแหก แต่ต้องหาญกล้าอย่างมีสติและสุขุมรอบคอบ ไม่ตกหลุมพรางให้กลุ่มอำมาตย์ที่ยั่วยุให้เกิดการลุกฮือและอ้างความชอบธรรมในการปราบ ปรามครั้งใหญ่
เพราะครั้งนี้จะรุนแรงและโหดเหี้ยมยิ่งกว่า 6 ตุลาคม 2519 ยิ่งนัก!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ครบ 1 ปี ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม !!?
วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 นี้ จะครบรอบ 1 ปีของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของพรรคเพื่อไทย และทำให้ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังถือเป็นความพ่ายแพ้อีกครั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคหลักของรัฐบาลก่อนหน้านี้และมีความมั่นใจไม่น้อยก่อนการยุบสภาว่าจะสามารถกลับมาจัดตั้งรัฐบาลได้อีกครั้ง
ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยแล้ว พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งติดต่อกันมาแล้วหลายครั้ง และถ้าพูดกันเป็นจำนวนปี พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในสมัยรัฐบาลชวน 1 ในปี 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และยังไม่เคยจัดตั้งรัฐบาลในฐานะพรรคอันดับหนึ่งอีกเลย นับถึงวันนี้เป็นเวลา 20 ปีแล้ว (อ่านบทความ แผนภาพแสดงประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2535-2554 ประกอบ)
พรรคประชาธิปัตย์เองก็ดูจะรับทราบปัญหานี้ดีว่า พรรคเองต้องปรับตัวให้พ้นภาพลักษณ์แบบเดิมๆ ที่ถูกวิจารณ์ว่าเชื่องช้า ดีแต่พูด มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในฐานะสถาบันทางการเมืองแห่งหนึ่งของไทย และเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยาวนานเป็นอันดับสองของเอเชีย

หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 เราจึงเห็นพรรคประชาธิปัตย์พยายามปรับปรุงตัวในหลายด้าน อย่างแรกสุดที่ชัดเจนคือการตั้ง “โรงเรียนการเมือง” ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเริ่มจากการนำสมาชิกของพรรคมาเข้าชั้นเรียนทฤษฎีพื้นฐานทางการเมืองการปกครอง กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ใหม่อีกครั้ง แนวคิดนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก และได้รับความสนใจไม่น้อยในช่วงแรก แต่กลับดูเงียบๆ ไปในช่วงหลัง
อย่างที่สอง คือการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการบริหารพรรคเสียใหม่ โดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดทางให้สมาชิกเลือกคณะกรรมการบริหารชุดใหม่หมด ถึงแม้คุณอภิสิทธิ์จะได้รับเลือกกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งแบบไร้คู่แข่ง แต่ตำแหน่งรองๆ ลงไปก็มีการเปลี่ยนตัวบุคคลเป็นจำนวนมาก ที่ชัดที่สุดคือได้เลขาธิการพรรคคนใหม่ คุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส่วนตำแหน่งอื่นก็เป็นทีมงานที่ใกล้ชิดกับคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมานั่งเก้าอี้กรรมการบริหารพรรคกันเป็นจำนวนมาก ในแง่การทำงานเรายังประเมินได้ยากว่าคณะกรรมการบริหารพรรคชุดนี้ทำงานได้ดีแค่ไหน แต่ในแง่ฝักฝ่ายภายในพรรค ก็ชัดเจนว่าตอนนี้คนของคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมากุมตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคเกือบหมดแล้ว
อย่างที่สาม พรรคประชาธิปัตย์มองว่าตัวเองเสียเปรียบทางการเมืองให้กับพรรคเพื่อไทย เพราะว่าไม่มีมวลชนเป็นของตัวเองอย่างเดียวกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงคอยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งตรงนี้จะต่างไปจากความสัมพันธ์แบบหลวมๆ ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มคนเสื้อเหลือง ซึ่งภายหลังก็เห็นแล้วว่ามีปัญหาแตกคอกัน ทำให้ฐานมวลชนที่ออกมาปกป้องพรรคประชาธิปัตย์มีจำนวนลดลง หลังการแพ้เลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์จึงเริ่มสร้างฐานมวลชน “คนเสื้อฟ้า” ของตัวเอง โดยเปิดทีวีดาวเทียมช่อง BlueSky มีรายการชูโรงอย่าง “สายล่อฟ้า” มาเป็นจุดขาย (อ่านบทความ พรรคประชาธิปัตย์เปิดสถานีทีวี Bluesky Channel อย่างเป็นทางการ) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่น้อย แถมพรรคประชาธิปัตย์ยังใช้เวทีการปราศรัยตามพื้นที่ต่างๆ ควบคู่ไปกับช่อง BlueSky สร้างฐานมวลชนของตัวเองอย่างต่อเนื่อง (ดูบทความ ถอดคำ
ปราศรัย ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ หยุดล้มรัฐธรรมนูญ-ออกฎหมายล้างผิดคนโกง ประกอบ)
สามประการที่ว่ามาเป็นความพยายามปรับตัวของพรรคประชาธิปัตย์ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นความพยายามในด้านบวก แต่ถ้าประเมินในภาพรวมทั้งหมดแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กล้าแตะปัญหาหลักของตัวเองเรื่องวัฒนธรรมองค์กรแบบข้าราชการประจำ เชื่องช้าในการตัดสินใจ และมีแนวทางการบริหารที่ไม่เน้นประสิทธิภาพและผลลัพธ์มากนัก
คำถามก็คือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กล้าจะเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของตัวเองอย่างนี้ต่อไป ในระยะยาวแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถแข่งขันกับพรรคเพื่อไทยที่ภาพลักษณ์ด้านการบริหารดีกว่าได้อย่างไร เพราะเหตุผลสำคัญที่คนไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งก่อน คงไม่ใช่เป็นเพราะอุดมการณ์ทางการเมือง หรือเหตุการณ์สลายการชุมนุม แต่เป็นเพราะประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์นั้นมีปัญหาต่างหาก
ดังนั้นต่อให้พรรคประชาธิปัตย์ปรับตัว สร้างฐานมวลชนของตัวเองที่เข้มแข็ง มีสื่อของตัวเองไม่ต้องพึ่งใคร ก็ยังไม่สามารถรวมเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้อยู่ดี ฐานมวลชนของพรรคจะเป็นเพียงแค่มวลชนที่เหนียวแน่นและเสียงดังเท่านั้น แต่เมื่อถึงเวลาหย่อนบัตรลงคะแนน พรรคก็จำเป็นต้องดึงเสียงจากกลุ่มคนกลางๆ หรือที่ภาษาเลือกตั้งเรียกว่า swing vote โดยจูงใจให้คนกลุ่มนี้เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและคนไทย เพราะการปล่อยให้พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคใหญ่พรรคเดียวที่ครองเสียงข้างมากอยู่เสมอ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก และเมื่อพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอ ก็ทำให้ต้องมีอำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงการเมืองไทยอยู่ตลอดเวลาแทน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อพัฒนาการของประชาธิปไตยในเมืองไทยแน่นอน
ที่มา:Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังถือเป็นความพ่ายแพ้อีกครั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคหลักของรัฐบาลก่อนหน้านี้และมีความมั่นใจไม่น้อยก่อนการยุบสภาว่าจะสามารถกลับมาจัดตั้งรัฐบาลได้อีกครั้ง
ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยแล้ว พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งติดต่อกันมาแล้วหลายครั้ง และถ้าพูดกันเป็นจำนวนปี พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในสมัยรัฐบาลชวน 1 ในปี 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และยังไม่เคยจัดตั้งรัฐบาลในฐานะพรรคอันดับหนึ่งอีกเลย นับถึงวันนี้เป็นเวลา 20 ปีแล้ว (อ่านบทความ แผนภาพแสดงประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2535-2554 ประกอบ)
พรรคประชาธิปัตย์เองก็ดูจะรับทราบปัญหานี้ดีว่า พรรคเองต้องปรับตัวให้พ้นภาพลักษณ์แบบเดิมๆ ที่ถูกวิจารณ์ว่าเชื่องช้า ดีแต่พูด มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในฐานะสถาบันทางการเมืองแห่งหนึ่งของไทย และเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยาวนานเป็นอันดับสองของเอเชีย
หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 เราจึงเห็นพรรคประชาธิปัตย์พยายามปรับปรุงตัวในหลายด้าน อย่างแรกสุดที่ชัดเจนคือการตั้ง “โรงเรียนการเมือง” ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเริ่มจากการนำสมาชิกของพรรคมาเข้าชั้นเรียนทฤษฎีพื้นฐานทางการเมืองการปกครอง กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ใหม่อีกครั้ง แนวคิดนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก และได้รับความสนใจไม่น้อยในช่วงแรก แต่กลับดูเงียบๆ ไปในช่วงหลัง
อย่างที่สอง คือการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการบริหารพรรคเสียใหม่ โดยคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดทางให้สมาชิกเลือกคณะกรรมการบริหารชุดใหม่หมด ถึงแม้คุณอภิสิทธิ์จะได้รับเลือกกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งแบบไร้คู่แข่ง แต่ตำแหน่งรองๆ ลงไปก็มีการเปลี่ยนตัวบุคคลเป็นจำนวนมาก ที่ชัดที่สุดคือได้เลขาธิการพรรคคนใหม่ คุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส่วนตำแหน่งอื่นก็เป็นทีมงานที่ใกล้ชิดกับคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมานั่งเก้าอี้กรรมการบริหารพรรคกันเป็นจำนวนมาก ในแง่การทำงานเรายังประเมินได้ยากว่าคณะกรรมการบริหารพรรคชุดนี้ทำงานได้ดีแค่ไหน แต่ในแง่ฝักฝ่ายภายในพรรค ก็ชัดเจนว่าตอนนี้คนของคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมากุมตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคเกือบหมดแล้ว
อย่างที่สาม พรรคประชาธิปัตย์มองว่าตัวเองเสียเปรียบทางการเมืองให้กับพรรคเพื่อไทย เพราะว่าไม่มีมวลชนเป็นของตัวเองอย่างเดียวกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงคอยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งตรงนี้จะต่างไปจากความสัมพันธ์แบบหลวมๆ ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มคนเสื้อเหลือง ซึ่งภายหลังก็เห็นแล้วว่ามีปัญหาแตกคอกัน ทำให้ฐานมวลชนที่ออกมาปกป้องพรรคประชาธิปัตย์มีจำนวนลดลง หลังการแพ้เลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์จึงเริ่มสร้างฐานมวลชน “คนเสื้อฟ้า” ของตัวเอง โดยเปิดทีวีดาวเทียมช่อง BlueSky มีรายการชูโรงอย่าง “สายล่อฟ้า” มาเป็นจุดขาย (อ่านบทความ พรรคประชาธิปัตย์เปิดสถานีทีวี Bluesky Channel อย่างเป็นทางการ) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่น้อย แถมพรรคประชาธิปัตย์ยังใช้เวทีการปราศรัยตามพื้นที่ต่างๆ ควบคู่ไปกับช่อง BlueSky สร้างฐานมวลชนของตัวเองอย่างต่อเนื่อง (ดูบทความ ถอดคำ
ปราศรัย ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ หยุดล้มรัฐธรรมนูญ-ออกฎหมายล้างผิดคนโกง ประกอบ)
สามประการที่ว่ามาเป็นความพยายามปรับตัวของพรรคประชาธิปัตย์ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นความพยายามในด้านบวก แต่ถ้าประเมินในภาพรวมทั้งหมดแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กล้าแตะปัญหาหลักของตัวเองเรื่องวัฒนธรรมองค์กรแบบข้าราชการประจำ เชื่องช้าในการตัดสินใจ และมีแนวทางการบริหารที่ไม่เน้นประสิทธิภาพและผลลัพธ์มากนัก
คำถามก็คือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กล้าจะเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของตัวเองอย่างนี้ต่อไป ในระยะยาวแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถแข่งขันกับพรรคเพื่อไทยที่ภาพลักษณ์ด้านการบริหารดีกว่าได้อย่างไร เพราะเหตุผลสำคัญที่คนไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งก่อน คงไม่ใช่เป็นเพราะอุดมการณ์ทางการเมือง หรือเหตุการณ์สลายการชุมนุม แต่เป็นเพราะประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์นั้นมีปัญหาต่างหาก
ดังนั้นต่อให้พรรคประชาธิปัตย์ปรับตัว สร้างฐานมวลชนของตัวเองที่เข้มแข็ง มีสื่อของตัวเองไม่ต้องพึ่งใคร ก็ยังไม่สามารถรวมเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้อยู่ดี ฐานมวลชนของพรรคจะเป็นเพียงแค่มวลชนที่เหนียวแน่นและเสียงดังเท่านั้น แต่เมื่อถึงเวลาหย่อนบัตรลงคะแนน พรรคก็จำเป็นต้องดึงเสียงจากกลุ่มคนกลางๆ หรือที่ภาษาเลือกตั้งเรียกว่า swing vote โดยจูงใจให้คนกลุ่มนี้เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและคนไทย เพราะการปล่อยให้พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคใหญ่พรรคเดียวที่ครองเสียงข้างมากอยู่เสมอ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก และเมื่อพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอ ก็ทำให้ต้องมีอำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงการเมืองไทยอยู่ตลอดเวลาแทน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อพัฒนาการของประชาธิปไตยในเมืองไทยแน่นอน
ที่มา:Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)