โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐสวัสดิการเหมือนหรือแตกต่างจากประชานิยมอย่างไร"
ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย, นายกฤษฎา อุทยานิน ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และนายสมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า รัฐสวัสดิการไม่ได้มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนคำว่า "ประชานิยม" นั้น คงมาจากช่วงที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาบริหารประเทศเศรษฐกิจเกิดวิกฤติ จำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่มีปัญหากำลังซื้อหาย ตลาดต่างประเทศซบเซา ประกอบกับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 จัดทำไปเสร็จแล้ว มีงบประมาณเหลืออยู่เฉพาะงบกลางปีเพิ่มเติม 1 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลสามารถนำมาใช้ฟื้นกำลังซื้อและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อเพิ่มกำลังซื้อในระยะสั้น เช่น โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท และลดรายจ่ายด้านการศึกษาเพื่อช่วยประชาชนกว่า 12 ล้านคน จึงเป็นตัวจุดประกายให้เกิดคำว่า "ประชานิยม"
"ตอนนั้นรัฐบาลไม่ได้มองว่าประชานิยมหรือไม่ประชานิยม คิดแต่เพียงว่าจะแก้ปัญหาเฉพาะ เพื่อฟื้นกำลังซื้อให้เร็วที่สุด วงจรเศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้ และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนมากที่สุด ทำให้มีการจ้างงาน ท้ายสุดคือ ลดความเหลื่อมล้ำคนจนกับคนรวย สถานการณ์ช่วงนั้นไม่เหมือนรัฐบาลชุดก่อน หากทำช้าจะมีปัญหาว่างานตามมาอีกมาก ซึ่งประเมินว่าอาจถึง 2 ล้านคนด้วยซ้ำ แต่มีนโยบายนี้มีผู้ว่างงานเพียง 1% หรือแสนกว่าคนเท่านั้น"
นายกอร์ปศักดิ์ มองว่าช่องว่างทางสังคมมีมานานแล้ว ถูกนำมาเป็นประเด็นไปเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ได้รับการแก้ไขน้อยมาก การแก้ไขที่ชะงัด คือต้องทำให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคงและมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรต้องทำนาแล้วไม่ขาดทุน และการลดรายจ่ายของประชาชน จึงถูกมองว่าพยายามทำตัวเป็นรัฐสวัสดิการ จริงๆ แล้วเป็นสังคมสวัสดิการมากกว่า เช่น ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี ไม่เกิน 90 หน่วย มีผู้ได้ประโยชน์ถึง 10 ล้านครอบครัว หรือ 30 ล้านคน หรือเรียนฟรี รัฐบาลต้องการให้คนส่วนใหญ่มีภาระค่าใช้จ่ายลดลง
"นโยบายเฟส 2 ต่อไปจะไม่ใช่การให้เงินโดยตรง แต่เป็นการให้เงินสมทบ เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการต่างๆ เพราะอยากให้เป็นสังคมที่ช่วยตัวเองได้ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า"
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะเดินถูกทาง แต่ผลที่ออกมา คนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังจนต่อไป คนรวยที่เป็นส่วนน้อยก็ยังรวยเหมือนเดิม แล้วจะช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ของประเทศได้อย่างไร
ถ้าต้องการเห็นผลต่างออกไป ก็ต้องกล้าทำสิ่งที่คิดนอกกรอบ เช่น ให้กรมสรรพากรเก็บภาษี 20-25% ของจีดีพี คงทำไม่ได้ เพราะโครงสร้างภาษีเก็บจากมนุษย์เงินเดือน 5 ล้านคน แต่สังคมไทยยังมีคนรวยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้กินเงินเดือน และไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นถ้าต้องการเม็ดเงินมาใช้ประโยชน์สูงสุด ก็ต้องเก็บภาษีคนรวย เป็นภาษีใช้จ่ายซื้อของฟุ่มเฟือย หรือการอุปโภคบริโภค
"คนเล่นหุ้น ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ได้รับยกเว้นภาษี บางคนขายหุ้นได้ 3-4 พันล้านไม่ต้องเสียภาษี โดยเฉพาะเจ้าของบริษัทที่นำหุ้นออกมาขายได้กำไรจำนวนมาก แต่เราไม่เคยมองจุดนี้ หรือให้เอกชนสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ตั้งแต่ราคา 2-3 ดอลลาร์ จนราคาน้ำมันขึ้นมาหลายสิบดอลล์ แต่รัฐไม่ได้ประโยชน์ จึงน่าจะถึงเวลาที่ต้องมองภาษีจากรายได้ส้มหล่น หรือ Wind Fall Tax หากไม่เริ่มคิดตอนนี้ ในอนาคตไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล ฐานะการคลังก็อยู่ไม่ได้ การผลักดันภาษีที่ดินออกมาก่อนจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี"
ขณะที่ นายอำพน มองว่ารัฐบาลชุดก่อนดำเนินนโยบายประชานิยม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาหนักกว่าวิกฤติปี 2540 จึงมองไปที่ปัญหาระยะยาว เช่น แก้ปัญหาหนี้สิน สานต่อกองทุนหมู่บ้าน จ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา ประชาชนได้ประโยชน์ไม่ว่าจะเรียกนโยบายอะไร รัฐบาลชุดนี้พยายามเดินสายกลางเพื่อให้เกิดความสมดุล เช่น เปลี่ยนการจำนำข้าวมาเป็นประกันรายได้ เพื่อนำไปสู่หลักพื้นฐานคือให้เกษตรกรพอมี พอกินและอยู่ได้
"การจ่ายเบี้ยคนชรา 500 บาทใน กทม.อาจจะมองว่าน้อย แต่ต่างจังหวัดมีความหมายมาก เห็นด้วยให้รัฐอุดหนุนไปตลอดชีพ เพราะเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนควรได้รับ เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพ รัฐยังใช้เงินมุ่งไปที่รักษามากกว่าป้องกัน ในอนาคตควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม"
นายอำพน เห็นด้วยว่าการกระจายรายได้ ยังมีปัญหาอยู่มาก สวนทางกับการเติบโตเศรษฐกิจที่จีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 4.9 ล้านล้านบาท เมื่อปี 2543 เป็นเกือบ 10 ล้านล้านบาทในปีนี้ แต่รายได้ต่อหัวของคนอีสานกลับลดลง ขณะที่คน กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้น การลงทุนไม่สมดุลสะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้ดูไส้ในของการเติบโต
ทั้งนี้ความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างเศรษฐกิจเห็นได้จาก เราทำแค่เรื่องเติบโตอย่างมั่นคง แต่ลืมมองการสูญเสียมลภาวะเป็นพิษ สูญเสียทางสังคม เกิดปัญหาสังคมรุนแรง แต่ความจริงเราต้องให้เศรษฐกิจโตอย่างสมดุล (Balance Grow) ต้องปฏิรูปภาษี ปรับการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ ต้องเติบโตอย่างมีคุณภาพ (Includsion Grow) แม้จะโตเพียง 3-4% แต่ช่วยชนชั้นกลางมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่ม
"วันนี้หัวใจสำคัญ คือถ้าไม่สร้างความเป็นธรรม แรงเสียดทานในสังคมจะเกิดขึ้น สามารถปลุกระดมได้ง่าย เราต้องให้ความหวังว่ากำลังจะเดินไปตามแนวทางนี้"
เอกชนแนะเพิ่มประสิทธิภาพ ใช้งบบริหาร'รัฐสวัสดิการ'
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายให้ฟรี ใครก็ชอบ แต่สิ่งสำคัญรัฐบาลต้องมีเป้าหมายชัดว่า ต้องการให้ประเทศเดินไปทางไหน เพราะประชานิยมกับรัฐสวัสดิการไม่เหมือนกัน คำว่าประชานิยมเหมือนลัทธิ ในอดีตเคยมี แต่ทำไม่สำเร็จ เราจึงต้องจัดระเบียบสังคมให้อยู่ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมก่อน ตอนนี้จะเห็นว่ามีการใช้ปนกันจนสับสน หากเทียบกับประเทศนอร์เวย์หรือประเทศอื่นในยุโรป มีระบบรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง แต่ประเทศไทยคงต้องดูว่าจะทำระดับใด เพราะเป็นเรื่องที่มีต้นทุน แต่นโยบายนี้มีข้อดีคือ คนจนได้ประโยชน์
"หลายนโยบายเป็นเรื่องที่ดี ต้องทำ แต่ต้องมีขั้นมีตอน ภาคเอกชนพร้อมสนับสนุน เพราะยังไงเราต้องจ่ายภาษีอยู่แล้ว อยากให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้เอกชนจะมีต้นทุนสูงขึ้น ก็ไม่มีปัญหา เพียงแต่ขอให้การจัดการของภาครัฐมีประสิทธิภาพ ขณะนี้มองว่า ยังเป็นปัญหาที่น่าห่วง"
นายพรศิลป์มองว่า ระบบทุนนิยมทำให้เกิดช่องว่างของคนรวยและคนจน ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ปัญหาอยู่ที่การกระจายรายได้ ภาครัฐต้องคิดว่าจะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ผ่านกลไกภาษี ที่ผ่านมาไทยมีปัญหาแม้จะมีเครื่องมือ แต่ติดขัดที่การปฏิบัติ ถ้าไม่แก้จะยิ่งมีปัญหา เอกชนต้องการเห็นการใช้เงินไม่รั่วไหล และเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้โครงสร้างสังคมเปลี่ยนทำให้ประเทศเก่งขึ้นและยั่งยืน
แม้บางครั้งจะมีประชานิยมปนบ้างก็ไม่แปลก เพราะทุกรัฐบาลก็ใช้ผสมกับรัฐสวัสดิการอยู่แล้ว ขึ้นอยู่ที่ต้นทุนดำเนินนโยบายมากกว่า ที่น่ากลัวคือ มองว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมดา จะเป็นบ่อเกิดคำว่า "ดับเบิลสแตนดาร์ด"
นายสมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน พร้อมสนับสนุนปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะประชานิยมหรือไม่ประชานิยม แต่ขอให้เป็นสิ่งที่ดีกับประชาชน ขณะที่ภาคเอกชนต้องแข่งขันกันเองและทั่วโลก ถ้าคุณภาพชีวิตคนในองค์กรสามารถรักษาคุณภาพการผลิตไว้ได้ รัฐบาลจะทำอะไรเอกชนก็ต้องไว้ใจ เพราะเลือกให้เข้ามาบริหารประเทศ แต่ขอให้ทำงานรัดกุม รอบคอบ ไม่รั่วไหลและใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การศึกษาถือว่าต้องพิจารณาลงไปถึงบุคลากร เพราะขณะนี้ถือว่าระดับอาชีวะ มีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์มาก หรือ จบปริญญาตรีบางครั้งก็ยังทำงานไม่เป็น
"รัฐสวัสดิการเป็นปัจจัยพื้นฐานที่รัฐบาลทุกประเทศต้องสนองความต้องการประชาชน แต่ละประเทศจะต่างกัน หากมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ก็มักถูกต่อต้าน รัฐบาลจึงต้องทนต่อแรงเสียดทานให้ได้ เช่น ภาษีที่ดินที่จะออกมา อยากเชียร์ให้เปลี่ยนแปลง"
นายกฤษฎา อุทยานิน ที่ปรึกษา สศค. กล่าวถึงคำนิยามของ "รัฐสวัสดิการ" ว่าหมายถึงการดูแลตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงเสียชีวิต เป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและช่วยเหลือยามตกยาก แม้ปราชญ์ชุมชนจะมองต่างออกไป แต่หลักการไม่ต่างกัน ส่วน "ประชานิยม" อยู่ที่การมอง ถ้ามองในแง่ผู้ให้ เมื่อให้แล้วต้องได้คะแนนนิยมกลับมา ถ้ามองในแง่ผู้รับ ถ้าไม่รับก็ไม่ได้คะแนนนิยม
ส่วนหลักคิดของ สศค.มองว่าต้องดูแลทุกคนไม่ใช่ความผิดที่เกิดมาจน ต้องดูที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้ว่าขณะนี้การเก็บภาษีเพิ่มจะทำได้ยาก ปัจจุบันเก็บภาษีได้เพียง 17% ของจีดีพี จึงต้องเน้นเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน และภาคเอกชนมากกว่า
"ภาครัฐพยายามลดช่องว่างทางสังคมให้ได้ โดยมุ่งไปที่กลุ่มคนรากหญ้าหรือฐานราก ซึ่งเป็นกลุ่มคนจน แต่จริงๆ แล้วหมายรวมไปถึงคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ให้อยู่ด้วยความสงบสุขมากกว่า นำไปสู่การผลักดันกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชน 20-30 ล้านคน มีเงินไว้ใช้หลังเกษียณ โดยรัฐจ่ายเงินสมทบปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท คิดเป็นเพียง 2% ของงบประมาณถือว่าคุ้มค่า"
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
เมื่อรัฐบาลไทยพยายามตีสนิทกับผู้นำเผด็จการ
บทความล่าสุดของผมที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Huffington Post ได้กล่่าวถึงเรื่องที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวประเทศจากประชาคมโลก ซึ่งเป็นผลมาจากที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ในขณะนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยกำลังร้อนตัว เป็นที่น่าเสียดายว่า การตอบโต้ในรูปแบบเดียวที่รัฐบาลไทยใช้คือการสร้างความคลุมเครือ และรัฐบาลอภิสิทธิ์และกลุ่มกองทัพที่สนับสนุนรัฐบาลสร้างใช้เวลาสี่ปีในการช่องโหว่เอื้อต่อการใช้อำนาจเผด็จการของกลุ่มตน และแทนที่จะตอบโต้นโยบายกดดันของประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างประเทศเยอรมัน และประเทศพันธมิตรอันยาวนาน อย่างประเทศสหรัฐ โดยการแสวงหาความชอบธรรมในโดยการเลือกตั้ง ดำเนินกระบวนการปรองดองสมานฉันท์อย่างจริงจัง หรือ/และ ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รัฐบาลไทยเลือกที่จะประจบสอพลอประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นประชาธิปไตย
โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กดดันให้สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยยกเลิกกำหนดการในวันที่ 13 กันยายน ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์สิทธิมนุษยชน (IFHR) ที่ตั้งอยู่ ณ.กรุงปารีส และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเวียดนาม (VCHR) โดยจะมีการสัมมนาเกี่ยวกับรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนขององค์กรภายใต้หัวข้อ “From ‘Vision’ to Facts: Human Rights in Vietnam under Its Chairmanship of ASEAN.”
เริ่มแรกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้พยายามระรานให้ทางสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยใช้วิธีสกปรก โดยการใช้ชื่อองค์กรประกาศ “ยกเลิกการประชุมดังกล่าว เพราะอาจจะมีการแถลงข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหารแก่ประเทศเพื่อนบ้าน” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้อธิบายถึงเหตุผลอันน่าทึ่งแก่สื่อมวลชน ดังนี้
“ผมอยากจะกว่าถึงการประชุมที่จัดขึ้นโดยสมาพันธ์สิทธิมนุษยชน (IFHR) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเวียดนาม (VCHR) ในวันที่จันทร์ที่ 13กันยายน 2553 ณ.สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โดยการประชุมดังกล่าวจะมีการแถลงรายงานขององค์กรภายใต้หัวข้อ ‘From Rhetoric to Reality: HUMAN RIGHTS IN VIETNAM, Under its Chairmanship of ASEAN in 2010′ ว่า
“แม้รัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญอย่างมากกับหลักเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และความหลากหลายทางความคิด แต่รัฐบาลไทยมีนโยบายอันยาวที่จะไม่อนุญาตให้กลุ่มองค์กรหรือบุคคลใดใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอื่น ดังนั้นผมจึงหวังว่าสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศจะเคารพจุดยืนอันนี้ และไม่อนุญาตให้มีการใช้สถานที่ขององค์กรในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
“ผมขอขอบคุณทุกท่านสำหรับความเข้าใจและความร่วมมือ”
และจากความน่าเชื่อถือขององค์กร ทางสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ขัดขืนรัฐบาลไทย โดยปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตนเสมือนหน่วยเสริมกำลังของรัฐแห่งการปกปิดข่าวสารอันไร้สาระนี้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้บังคับให้มีการยกเลิกการประชุมอย่างไม่สะทกสะท้าน โดยการปฏิเสธให้สององค์กรเดินทางเข้าประเทศ
หากพิจารณาดูตารางกิจกรรมของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศอย่างคร่าวๆแล้วจะพบว่าการจัดการประชุมครั้งนี้เป็นการดำเนินกิจกรรมปกติทั่วไปที่ของทางสมาคม โดยมาคมมักจะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถานการณ์อันน่าอัปยศของสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เรื่อยมา ดังนั้นจึงน่าสงสัยว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์กลัวว่าข้อมูลเหล่านั้นอาจจะทำลายภาพลักษณ์ในเรื่องที่ไม่สำคัญของประเทศไทย หรือต้องการที่จะปกป้องประเทศคอมมิวนิสต์อย่างเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในปิศาจร้ายในจินตนาการของประเทศไทยมายาวนานกันแน่
หรืออาจจะเป็นไปได้ว่านายอภิสิทธิ์และเหล่าพวกพ้องอาจจะกำลังมองหาสถานที่ลี้ภัยในประเทศเวียดนามหลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ถูกขับไล่ลงจากอำนาจ มีบางสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ และแน่นอนว่าแนวทางในการปฏิบัติของรัฐบาลไทยในแง่ของสิทธิมนุษยชนนั้นมีความคล้ายคลึงกับผู้นำเผด็จการที่ดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนาม ลาว พม่าและสิงค์โปร์มากขึ้นทุกวัน การกระทำดังกล่าวเป็นแผนการที่จะเชิญชวนประเทศดังกล่าวให้ตกลงให้ความช่วยเหลือบางอย่าง เมื่อประเทศไทยกำลังเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับประเทศประชาธิปไตยในประเทศตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยจึงแสดงหากลุ่มพวกพ้องเผด็จการในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน
เราคงต้องดูต่อไปว่าประเทศเวียดนามหรือประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะร่วมมือกันในการควบคุมองค์กรหรือบุคคลในภูมิภาคที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเสื่อมถอยของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยหรือไม่ การกระทำอันน่าตำหนิของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแสดงในเห็นถึงความปวดร้าวที่ประเทศไทยกำลังตกอยู่ภายใต้การนำของเหล่าผู้นำเผด็จการที่ไร้ความสามารถอย่างนายอภิสิทธิ์และกลุ่มอำมาตย์ผู้หนุนหลัง
ไม่เกิน 10ปีที่แล้ว ประเทศไทยเคยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในหลายประเทศเผด็จการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา.ประเทศไทย Robert Amsterdam
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ในขณะนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยกำลังร้อนตัว เป็นที่น่าเสียดายว่า การตอบโต้ในรูปแบบเดียวที่รัฐบาลไทยใช้คือการสร้างความคลุมเครือ และรัฐบาลอภิสิทธิ์และกลุ่มกองทัพที่สนับสนุนรัฐบาลสร้างใช้เวลาสี่ปีในการช่องโหว่เอื้อต่อการใช้อำนาจเผด็จการของกลุ่มตน และแทนที่จะตอบโต้นโยบายกดดันของประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างประเทศเยอรมัน และประเทศพันธมิตรอันยาวนาน อย่างประเทศสหรัฐ โดยการแสวงหาความชอบธรรมในโดยการเลือกตั้ง ดำเนินกระบวนการปรองดองสมานฉันท์อย่างจริงจัง หรือ/และ ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รัฐบาลไทยเลือกที่จะประจบสอพลอประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นประชาธิปไตย
โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กดดันให้สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยยกเลิกกำหนดการในวันที่ 13 กันยายน ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์สิทธิมนุษยชน (IFHR) ที่ตั้งอยู่ ณ.กรุงปารีส และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเวียดนาม (VCHR) โดยจะมีการสัมมนาเกี่ยวกับรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนขององค์กรภายใต้หัวข้อ “From ‘Vision’ to Facts: Human Rights in Vietnam under Its Chairmanship of ASEAN.”
เริ่มแรกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้พยายามระรานให้ทางสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยใช้วิธีสกปรก โดยการใช้ชื่อองค์กรประกาศ “ยกเลิกการประชุมดังกล่าว เพราะอาจจะมีการแถลงข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหารแก่ประเทศเพื่อนบ้าน” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้อธิบายถึงเหตุผลอันน่าทึ่งแก่สื่อมวลชน ดังนี้
“ผมอยากจะกว่าถึงการประชุมที่จัดขึ้นโดยสมาพันธ์สิทธิมนุษยชน (IFHR) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเวียดนาม (VCHR) ในวันที่จันทร์ที่ 13กันยายน 2553 ณ.สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โดยการประชุมดังกล่าวจะมีการแถลงรายงานขององค์กรภายใต้หัวข้อ ‘From Rhetoric to Reality: HUMAN RIGHTS IN VIETNAM, Under its Chairmanship of ASEAN in 2010′ ว่า
“แม้รัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญอย่างมากกับหลักเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และความหลากหลายทางความคิด แต่รัฐบาลไทยมีนโยบายอันยาวที่จะไม่อนุญาตให้กลุ่มองค์กรหรือบุคคลใดใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอื่น ดังนั้นผมจึงหวังว่าสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศจะเคารพจุดยืนอันนี้ และไม่อนุญาตให้มีการใช้สถานที่ขององค์กรในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
“ผมขอขอบคุณทุกท่านสำหรับความเข้าใจและความร่วมมือ”
และจากความน่าเชื่อถือขององค์กร ทางสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ขัดขืนรัฐบาลไทย โดยปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตนเสมือนหน่วยเสริมกำลังของรัฐแห่งการปกปิดข่าวสารอันไร้สาระนี้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้บังคับให้มีการยกเลิกการประชุมอย่างไม่สะทกสะท้าน โดยการปฏิเสธให้สององค์กรเดินทางเข้าประเทศ
หากพิจารณาดูตารางกิจกรรมของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศอย่างคร่าวๆแล้วจะพบว่าการจัดการประชุมครั้งนี้เป็นการดำเนินกิจกรรมปกติทั่วไปที่ของทางสมาคม โดยมาคมมักจะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถานการณ์อันน่าอัปยศของสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เรื่อยมา ดังนั้นจึงน่าสงสัยว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์กลัวว่าข้อมูลเหล่านั้นอาจจะทำลายภาพลักษณ์ในเรื่องที่ไม่สำคัญของประเทศไทย หรือต้องการที่จะปกป้องประเทศคอมมิวนิสต์อย่างเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในปิศาจร้ายในจินตนาการของประเทศไทยมายาวนานกันแน่
หรืออาจจะเป็นไปได้ว่านายอภิสิทธิ์และเหล่าพวกพ้องอาจจะกำลังมองหาสถานที่ลี้ภัยในประเทศเวียดนามหลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ถูกขับไล่ลงจากอำนาจ มีบางสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ และแน่นอนว่าแนวทางในการปฏิบัติของรัฐบาลไทยในแง่ของสิทธิมนุษยชนนั้นมีความคล้ายคลึงกับผู้นำเผด็จการที่ดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนาม ลาว พม่าและสิงค์โปร์มากขึ้นทุกวัน การกระทำดังกล่าวเป็นแผนการที่จะเชิญชวนประเทศดังกล่าวให้ตกลงให้ความช่วยเหลือบางอย่าง เมื่อประเทศไทยกำลังเดินไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับประเทศประชาธิปไตยในประเทศตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยจึงแสดงหากลุ่มพวกพ้องเผด็จการในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน
เราคงต้องดูต่อไปว่าประเทศเวียดนามหรือประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะร่วมมือกันในการควบคุมองค์กรหรือบุคคลในภูมิภาคที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเสื่อมถอยของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยหรือไม่ การกระทำอันน่าตำหนิของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแสดงในเห็นถึงความปวดร้าวที่ประเทศไทยกำลังตกอยู่ภายใต้การนำของเหล่าผู้นำเผด็จการที่ไร้ความสามารถอย่างนายอภิสิทธิ์และกลุ่มอำมาตย์ผู้หนุนหลัง
ไม่เกิน 10ปีที่แล้ว ประเทศไทยเคยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในหลายประเทศเผด็จการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา.ประเทศไทย Robert Amsterdam
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไร้น้ำยาหยุดระเบิดป่วนเมือง
บทบรรณาธิการ ไทยโพสต์
ยังคงเกิดเหตุระเบิดป่วนเมืองไม่เลิกรา ท่ามกลางเสียงเตือนจากหลายฝ่ายว่าการวางระเบิดข่มขู่และสร้างสถานการณ์ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น นนทบุรี จะมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2553 อันเป็นวันสัญลักษณ์สำคัญทางการเมืองคือวันครบรอบรัฐประหาร 19 กันยายน ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หลังจากล่าสุดมีคนร้ายวางระเบิดสามจุดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 ที่ผ่านมาคือ 1.หน้าโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เขตพญาไท ถนนศรีอยุธยา ท้องที่ สน.พญาไท 2.ลานจอดรถเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ท้องที่ สภ.เมืองนนทบุรี และ 3.ลานจอดรถข้างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท้องที่ สภ.เมืองนนทบุรี
ซึ่งก็เป็นเหมือนทุกครั้งที่เกิดเหตุ ทางฝ่ายรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะตำรวจก็จะต้องแสดงท่าทีแข็งขันว่าจะต้องเร่งติดตามสอบสวนจับกุมผู้ต้องสงสัยมาดำเนินคดี แต่สุดท้ายหลายต่อหลายครั้งก็ไม่เคยมีอะไรคืบหน้า เอาแค่เหตุการณ์ที่ผ่านไปไม่นาน เช่น การยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่อาคารคิงเพาเวอร์ ซอยรางน้ำ และเหตุคนร้ายวางระเบิดไว้บริเวณหน้าอาคารคิงเพาเวอร์ หรือเหตุระเบิดหน้าเซ็นทรัล ราชดำริ ที่อยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ หรือการยิงเอ็ม 79 ใส่บริเวณลานจอดรถ ที่ทำการของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ ย่านวิภาวดีรังสิต
ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการสาวไปถึงตัวผู้วางแผนลงมือได้ ยิ่งเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสักอาทิตย์สองอาทิตย์พอสื่อมวลชนไปทำข่าวอย่างอื่น ตำรวจและทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินก็เลิกที่จะเกาะติด แต่พอเกิดเหตุระเบิดขึ้นก็จะทำเป็นทีท่าว่าจะเอาจริงเอาจัง จนสุดท้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องมาบาดเจ็บล้มตายไปโดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถให้หลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนได้เลย
เรื่องนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันหลากหลาย บนท่าทีเหมือนกับแสดงความแข็งขัน แต่ก็เกิดคำถามเหมือนกันแล้วว่า เหตุใดจึงไม่ร่วมมือร่วมใจกันให้มากกว่านี้ในการหยุดระเบิดทำลายประเทศชาติ เช่น คำกล่าวของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกที่บอกเรื่องนี้ไว้ล่าสุดว่า กองทัพเคยนำทหารออกมาเต็มเมืองไปหมดและลดระดับลงมา ซึ่งหน้าที่หลักเป็นของตำรวจ และสถานีตำรวจในพื้นที่ กทม.ที่มี 88 สถานี ซึ่งหากไม่พอเราจะจัดเจ้าหน้าที่ทหารไปช่วยพร้อมกับเครือข่ายภาคประชาชน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ประชาชนจะต้องเข้าใจ เพราะถ้าพื้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ดูแลเข้มงวดเขาก็ไม่ทำ แต่ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีเจ้าหน้าที่เขาก็จะไปทำ ดังนั้น โดยตรรกะเราอาจจะต้องดูทุกจุด ถ้า 500 เมตรดูไม่เพียงพอก็จะต้องดูทุก 100 เมตร แต่ทำไม่ได้ การที่มีคนทำอยู่ถือเป็นการทำร้ายคนทั้งประเทศ ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและสังคม รัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพ ประชาชนก็อยู่ไม่ได้ เศรษฐกิจไปไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคนทำไม่น่าจะทำ เพราะเป็นการทำร้ายคนทั้งประเทศ ถ้ามีคนบาดเจ็บล้มตายจะยิ่งทำให้สถานการณ์บ้านเมืองย่ำแย่
ขณะที่ฝ่ายตำรวจ ทาง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ที่เพิ่งรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อ 7 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา มีภารกิจสำคัญในการป้องกันและปราบปรามเรื่องนี้ อันเป็นสิ่งที่ ผบ.ตร.จะต้องแสดงฝีมือให้สังคมเห็นโดยเร็ว เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานและมีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นต่อไป อันทำให้ประชาชนต่างต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังมีคำขู่จากบางฝ่ายว่าอาจจะเกิดเหตุระเบิดรุนแรงตามย่านชุมชน เช่น สถานีรถไฟใต้ดิน ซึ่งตอนแรกดูเหมือนประชาชนจะไม่ค่อยเชื่อ แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกฝ่ายก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากยังเกิดเหตุแบบนี้ต่อไป โดยที่รัฐบาล ตำรวจ กองทัพ ศอฉ. ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องพิจารณาทบทวนตัวเองได้แล้วว่าจะลอยตัวแบบนี้อยู่ได้อย่างไร.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยังคงเกิดเหตุระเบิดป่วนเมืองไม่เลิกรา ท่ามกลางเสียงเตือนจากหลายฝ่ายว่าการวางระเบิดข่มขู่และสร้างสถานการณ์ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น นนทบุรี จะมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2553 อันเป็นวันสัญลักษณ์สำคัญทางการเมืองคือวันครบรอบรัฐประหาร 19 กันยายน ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หลังจากล่าสุดมีคนร้ายวางระเบิดสามจุดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 ที่ผ่านมาคือ 1.หน้าโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เขตพญาไท ถนนศรีอยุธยา ท้องที่ สน.พญาไท 2.ลานจอดรถเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ท้องที่ สภ.เมืองนนทบุรี และ 3.ลานจอดรถข้างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท้องที่ สภ.เมืองนนทบุรี
ซึ่งก็เป็นเหมือนทุกครั้งที่เกิดเหตุ ทางฝ่ายรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะตำรวจก็จะต้องแสดงท่าทีแข็งขันว่าจะต้องเร่งติดตามสอบสวนจับกุมผู้ต้องสงสัยมาดำเนินคดี แต่สุดท้ายหลายต่อหลายครั้งก็ไม่เคยมีอะไรคืบหน้า เอาแค่เหตุการณ์ที่ผ่านไปไม่นาน เช่น การยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่อาคารคิงเพาเวอร์ ซอยรางน้ำ และเหตุคนร้ายวางระเบิดไว้บริเวณหน้าอาคารคิงเพาเวอร์ หรือเหตุระเบิดหน้าเซ็นทรัล ราชดำริ ที่อยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ หรือการยิงเอ็ม 79 ใส่บริเวณลานจอดรถ ที่ทำการของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ ย่านวิภาวดีรังสิต
ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการสาวไปถึงตัวผู้วางแผนลงมือได้ ยิ่งเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสักอาทิตย์สองอาทิตย์พอสื่อมวลชนไปทำข่าวอย่างอื่น ตำรวจและทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินก็เลิกที่จะเกาะติด แต่พอเกิดเหตุระเบิดขึ้นก็จะทำเป็นทีท่าว่าจะเอาจริงเอาจัง จนสุดท้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องมาบาดเจ็บล้มตายไปโดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถให้หลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนได้เลย
เรื่องนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันหลากหลาย บนท่าทีเหมือนกับแสดงความแข็งขัน แต่ก็เกิดคำถามเหมือนกันแล้วว่า เหตุใดจึงไม่ร่วมมือร่วมใจกันให้มากกว่านี้ในการหยุดระเบิดทำลายประเทศชาติ เช่น คำกล่าวของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกที่บอกเรื่องนี้ไว้ล่าสุดว่า กองทัพเคยนำทหารออกมาเต็มเมืองไปหมดและลดระดับลงมา ซึ่งหน้าที่หลักเป็นของตำรวจ และสถานีตำรวจในพื้นที่ กทม.ที่มี 88 สถานี ซึ่งหากไม่พอเราจะจัดเจ้าหน้าที่ทหารไปช่วยพร้อมกับเครือข่ายภาคประชาชน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ประชาชนจะต้องเข้าใจ เพราะถ้าพื้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ดูแลเข้มงวดเขาก็ไม่ทำ แต่ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีเจ้าหน้าที่เขาก็จะไปทำ ดังนั้น โดยตรรกะเราอาจจะต้องดูทุกจุด ถ้า 500 เมตรดูไม่เพียงพอก็จะต้องดูทุก 100 เมตร แต่ทำไม่ได้ การที่มีคนทำอยู่ถือเป็นการทำร้ายคนทั้งประเทศ ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและสังคม รัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพ ประชาชนก็อยู่ไม่ได้ เศรษฐกิจไปไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคนทำไม่น่าจะทำ เพราะเป็นการทำร้ายคนทั้งประเทศ ถ้ามีคนบาดเจ็บล้มตายจะยิ่งทำให้สถานการณ์บ้านเมืองย่ำแย่
ขณะที่ฝ่ายตำรวจ ทาง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ที่เพิ่งรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อ 7 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา มีภารกิจสำคัญในการป้องกันและปราบปรามเรื่องนี้ อันเป็นสิ่งที่ ผบ.ตร.จะต้องแสดงฝีมือให้สังคมเห็นโดยเร็ว เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานและมีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นต่อไป อันทำให้ประชาชนต่างต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังมีคำขู่จากบางฝ่ายว่าอาจจะเกิดเหตุระเบิดรุนแรงตามย่านชุมชน เช่น สถานีรถไฟใต้ดิน ซึ่งตอนแรกดูเหมือนประชาชนจะไม่ค่อยเชื่อ แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกฝ่ายก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากยังเกิดเหตุแบบนี้ต่อไป โดยที่รัฐบาล ตำรวจ กองทัพ ศอฉ. ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องพิจารณาทบทวนตัวเองได้แล้วว่าจะลอยตัวแบบนี้อยู่ได้อย่างไร.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นิติรัฐ-พลเมือง?
ที่มา.สยามธุรกิจ
“DOUBLE STANDARD” จับประเด็นในฝันแห่งประชาธิปไตย สะท้อนผ่านมุมมอง 2 นักวิชาการ “ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ “เสรี สุวรรณภานนท์” อดีต ส.ว.กทม. ถ่ายทอดมิติแห่งนิติรัฐและพลเมือง อันเป็นหนึ่งในเงื่อนไข ที่จะนำประเทศนี้ออกจากความขัดแย้ง
‘ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ต้องตั้งคำถามแรกว่า การใช้ประชาธิปไตยในประเทศไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ในเมื่อเรามีเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไล่ตั้งแต่ตุลาฯ 16 จนถึงล่าสุด พ.ค.53 รวมแล้วเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีชนวนจากการเมืองมาแล้ว 4 ครั้ง ในรอบ 78 นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน เราก็มีรัฐประหารถึง 11 ครั้ง ไม่นับกบฏอีก 11 ครั้ง เรามีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ ฉะนั้น จึงบอกได้ว่า ในรอบ 68 ปีที่ผ่านมา เราไม่สามารถมีนิติรัฐได้”
“จากนั้นเราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่า เหตุใดประชาธิปไตยจึงไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย และจะแก้ไขอย่างไร และก็มามองว่า เรารู้จักประชาธิปไตยว่า เราคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชนแค่ไหน รู้หรือไม่ว่าเราเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่เป็นในลักษณะ ผู้อาศัยเหมือนประเทศที่ไม่ได้ปกครองโดยระบบประชาธิปไตย ซึ่งเขามีสิทธิเสรีภาพเท่าที่ประเทศเขาจะให้”
“นอกจากนี้ ก็ต้องมองด้วยว่า ทำไมประชาธิปไตยต้องมีกติกา ทำไมประชาธิปไตย ต้องมีนิติรัฐ ยกตัวอย่างฟุตบอล ที่ผลประโยชน์ ของคนสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มา แข่งขันกันภายใต้กติกา ผู้เล่นทุกคนต้องเคารพ กติกา เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยก็จำเป็นต้อง มีกติกา แต่ความแตกต่างและความขัดแย้งก็เป็นเรื่องปกติของสังคม ในเมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนก็มีอำนาจใน ประเทศ และมีสิทธิเสรีภาพตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายมาห้าม ขณะที่ผู้บริหารประเทศหรือเจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรได้ก็ต้องมี กฎหมาย ฉะนั้น อำนาจกับสิทธิเสรีภาพ เป็นสิ่งที่สวนทางกัน หากท่านต้องการ ให้มีสิทธิเสรีภาพ ต้องจำกัดอำนาจให้มีเท่าที่จำเป็นและอยู่ใต้กฎหมาย”
“กฎหมายที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตย ต้องมาจากประชาชน โดยเป็นหน้าที่ของสภา ผู้แทนราษฎรไม่ใช่ที่เราสอนกันตามโรงเรียนกฎหมายหรือในคณะนิติศาสตร์ว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้มีอำนาจ ฉะนั้น กฎหมายตาม ระบอบประชาธิปไตยคือ การตกลงร่วมกันของประชาชนว่าจะใช้กติกาอะไรในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งในเมื่อเราไม่สามารถไปตกลงกัน เองได้ ก็ต้องตกลงกันโดยผ่านผู้แทน ถ้าเรา เข้าใจเช่นนี้ ก็จะมีมุมมองในเรื่องนิติรัฐอีกมุม หนึ่ง การใช้กฎหมายก็จะไม่ใช่การทำที่ปลาย ทางเช่นที่ผ่านมา”
“สำหรับการแบ่งแยกอำนาจ ต้องมีการ แบ่งแยกฝ่ายนิติบัญญัติออกมาจากฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาล เพราะถ้าฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มีอำนาจออกกฎหมายด้วย ถ้าต้องการอำนาจ ใดก็สามารถออกกฎหมายได้ตลอดเวลา เหมือนยิ่งรัฐบาลมีอำนาจมากเท่าไร ประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพน้อยลงเท่านั้น นั่นแปลว่าประชาชนยินยอมที่จะถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการ ขณะที่ฝ่ายตุลาการ ก็มีหน้าที่แยกอำนาจตีความกฎหมายออกมาจากผู้ใช้ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รัฐบาลตีความอำนาจเข้าข้างตัวเอง ทุกฝ่ายต้องถ่วงดุลซึ่งกันและ กัน นี่คือการปกครองระบอบประชาธิปไตย”
“ปัญหาเรื่องนิติรัฐในประเทศไทย ประการแรกเราชอบอ้างหลักนิติศาสตร์มายกเว้น กติกา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนเข้าใจกันน้อยมาก แม้แต่คนที่อยู่ในวงการกฎหมาย เราชอบเข้าใจว่ากฎหมายเป็นแค่หลักนิติศาสตร์ สามารถยกเว้นได้ ทั้งที่จริงประชาธิปไตยต้องใช้การปกครองโดยกฎหมาย ซึ่งเมื่อมีการนำหลักนิติศาสตร์มาใช้เขียนกฎหมายแล้ว ก็ต้องมีการบังคับใช้โดยเสมอกัน และต่อเนื่อง เพื่อให้คนเคารพกฎหมาย และนอกจากกติกาจะงดเว้นได้แล้ว เรายังยกเลิกกติกาได้ เห็นได้จากการยกเลิกรัฐธรรมนูญมาแล้ว 8 ครั้ง เนื่องจากระบบกฎมายและกระบวนการยุติธรรม ยอมรับให้ฉีกรัฐธรรมนูญได้ โดยให้อำนาจกับ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ถ้ายึดอำนาจสำเร็จศาลจะนำมาใช้บังคับเป็นกฎหมายให้ ซึ่งขัดกับการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ เราจึงต้องมานั่งคุยกันในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยจำกัด”
“เราชอบมองว่าอำนาจแก้ปัญหาได้ ยกตัวอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เราใช้มากว่า 40 ปี แล้วก็ยังคงใช้ตามแบบเดิม โดยมีคำจำกัดความว่า ใช้เท่าที่จำเป็น แต่ปัญหาคือ ใครเป็น คนตีความคำว่าเท่าที่จำเป็น การมีกฎหมายไม่ใช่แปลว่าเราเป็นนิติรัฐแล้ว กฎหมายในนิติรัฐนั้นแตกต่างจากกฎหมายในระบอบเผด็จการ คือ ถ้าเป็นกฎหมายในนิติรัฐ ต้องให้อำนาจเท่าที่จำเป็น เพราะอำนาจนั้นสวนทาง กับสิทธิเสรีภาพ แต่บ้านเราก็มีมาตรา 16 งดเว้นไว้ ทำให้ผู้มีอำนาจทำอะไรก็ได้ในขณะที่คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”
“ปัญหาต่อมาคือ กฎหมายต้องบังคับใช้โดยเสมอกัน ซึ่งนี่คือเรื่องที่ออกจากความรู้สึกจริงๆ ของคนกลุ่มหนึ่ง ลองมองภาพนักบอล ทีมหนึ่งทำฟาวล์ยังไงกรรมการก็ไม่เป่า การแข่งขันก็ดำเนินต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้น เป้าหมาย ของความปรองดองไม่ใช่ทำให้สองฝ่ายมารัก กัน แต่ถ้าได้ก็ดี เป้าคือจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับใช้กฎหมายโดยเสมอกัน แล้วการบังคับใช้กฎหมายที่ดีที่สุดคือ การให้คนเคารพกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา เรามีนิติรัฐแต่ไม่ได้สร้างให้คนเคารพกฎหมาย ประชาธิปไตยจึงล้มเหลว ในอนาคตเราจึงจำเป็นต้องสร้างพลเมืองให้มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ ซึ่งเคารพผู้อื่นแล้วเคารพกติกา ลำพังมีกฎหมายที่ดี รัฐธรรมนูญที่ดี แต่ คนไม่เคารพกฎหมาย เราก็ไม่ประสบผลสำเร็จในการปกครองระบอบประชาธิปไตย”
‘เสรี สุวรรณภานนท์’ อดีต ส.ว.กทม.
“ที่ผ่านมาทางออกของประเทศไทยขึ้น อยู่กับกระแสและกระสุน เวลาเกิดเหตุการณ์ ในบ้านเมืองก็จะมีกระแสออกมา เหมือนกับคำ พิพากษาว่า ใครไม่ทำตามกระแสสังคมเหมือน จะกลายเป็นคนผิด กระแสสังคมที่ทำออกมา คนที่ทำตามกฎหมาย คนที่ทำถูกต้องกลับกลาย เป็นคนผิดไป เราอยู่ในสภาวะอย่างนี้มาตลอด ไม่อยู่บนหลักกฎหมาย เหตุผล และข้อเท็จจริง มิเช่นนั้น เราก็จะเกิดความเสียหายอย่างที่ปรากฏ”
“อีกเรื่องคือ เรื่องของกระสุน เลือกตั้ง ครั้งไหนหากไม่มีกระสุนก็แพ้ทุกครั้ง นี่คือทางออกอีกทาง การที่เราบอกอยากได้ผู้บริหาร บ้านเมืองที่ดี เราต้องเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ แต่สุดท้ายคนดีที่ช่วยเหลือสังคม ดูแลสังคม และเสียสละ เมื่อลงเลือกตั้งกลับแพ้ทุกครั้ง เพราะไม่มีกระสุน เราก็พยายามสร้าง กติกา สร้างองค์กร สร้างกลไก เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการทุจริตโกงการเลือกตั้ง แต่มาจนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประเทศได้ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ได้คนที่ดีจริงเข้ามา แต่เราจะได้คนแสวงหาประโยชน์เข้ามาตลอด”
“ทางออกของประเทศไทยที่ดีที่สุดที่เรามองเห็นหรือเป็นสากลก็คือ กฎหมายและ กติกาของบ้านเมือง อย่างในเกมฟุตบอล คนที่ได้ใบเหลืองใบแดงจากกรรมการเขาก็รับได้ กับกติกา แต่บ้านเรากติกาเดียวกัน แข่งแล้ว กลับตีกัน นี่คือสังคมไทย ที่เราไม่ยอมรับกติกา ทำให้เป็นปัญหา นอกจากนั้น การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาคกัน ทางออกที่แท้จริง เราต้องมามองดูว่ากฎหมายที่บังคับใช้เป็นกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนหรือยัง ไม่ให้ประชาชนเหมือนถูกบังคับใช้กฎหมาย เหมือนถูกรังแก ในขณะที่สังคมเรากลับชาชินกับกระบวนการที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย”
“กฎหมายที่ออกมาบางฉบับมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แต่บางฉบับออกโดยซ่อนปม ซ่อนเงื่อนเอาไว้ และสุดท้ายกฎหมายเหล่านี้ ก็เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์มาทำร้ายประชาชนเอง ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่เคยหาทางออก หาทางแก้ เพราะเราชาชินกันไปแล้ว กลายเป็นว่ายอมเสียเงินเพื่อความสะดวก นี่แสดงให้เห็นว่า ที่ผ่านมากฎหมายไม่ได้เอื้อประโยชน์ เป็นธรรม และให้บริการกับประชาชนอย่างเต็มที่ เมื่อใดถ้าประชาชนพึงพอใจ กับการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นั่นก็คือ ความผาสุกและทางออกของประเทศ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ต้องไม่เกี่ยงงานกันในหน้าที่ใกล้เคียงกัน”
“ที่สำคัญเราต้องหาคนออกกฎหมายที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันกฎหมายที่บังคับ ใช้ต้องมีคุณภาพ และการบังคับใช้ต้องมีคุณภาพ ซึ่งบ้านเราขาดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเมื่ออำนาจอยู่มือ ข้าราชการหรือฝ่ายบริหาร ประชาชนก็ออกมาไล่ เมื่อออกมาไล่เรื่องก็บานปลายจนสร้าง ความเดือดร้อน จนในที่สุดก็เป็นวัฏจักรของปัญหา อย่างที่เราเห็นขณะนี้ “
ประตูทางออกประเทศไทยเปิดแง้มรอ ไว้ทุกเมื่อ สุดท้ายรอเพียงประชาชนคนไทย ก้าวย่างอย่างพร้อมเพรียงเพื่อไปให้ถึงหลักชัยแห่งนิติรัฐ!!!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“DOUBLE STANDARD” จับประเด็นในฝันแห่งประชาธิปไตย สะท้อนผ่านมุมมอง 2 นักวิชาการ “ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ “เสรี สุวรรณภานนท์” อดีต ส.ว.กทม. ถ่ายทอดมิติแห่งนิติรัฐและพลเมือง อันเป็นหนึ่งในเงื่อนไข ที่จะนำประเทศนี้ออกจากความขัดแย้ง
‘ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“ต้องตั้งคำถามแรกว่า การใช้ประชาธิปไตยในประเทศไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ในเมื่อเรามีเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไล่ตั้งแต่ตุลาฯ 16 จนถึงล่าสุด พ.ค.53 รวมแล้วเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีชนวนจากการเมืองมาแล้ว 4 ครั้ง ในรอบ 78 นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน เราก็มีรัฐประหารถึง 11 ครั้ง ไม่นับกบฏอีก 11 ครั้ง เรามีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ ฉะนั้น จึงบอกได้ว่า ในรอบ 68 ปีที่ผ่านมา เราไม่สามารถมีนิติรัฐได้”
“จากนั้นเราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่า เหตุใดประชาธิปไตยจึงไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย และจะแก้ไขอย่างไร และก็มามองว่า เรารู้จักประชาธิปไตยว่า เราคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชนแค่ไหน รู้หรือไม่ว่าเราเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่เป็นในลักษณะ ผู้อาศัยเหมือนประเทศที่ไม่ได้ปกครองโดยระบบประชาธิปไตย ซึ่งเขามีสิทธิเสรีภาพเท่าที่ประเทศเขาจะให้”
“นอกจากนี้ ก็ต้องมองด้วยว่า ทำไมประชาธิปไตยต้องมีกติกา ทำไมประชาธิปไตย ต้องมีนิติรัฐ ยกตัวอย่างฟุตบอล ที่ผลประโยชน์ ของคนสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มา แข่งขันกันภายใต้กติกา ผู้เล่นทุกคนต้องเคารพ กติกา เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยก็จำเป็นต้อง มีกติกา แต่ความแตกต่างและความขัดแย้งก็เป็นเรื่องปกติของสังคม ในเมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนก็มีอำนาจใน ประเทศ และมีสิทธิเสรีภาพตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายมาห้าม ขณะที่ผู้บริหารประเทศหรือเจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรได้ก็ต้องมี กฎหมาย ฉะนั้น อำนาจกับสิทธิเสรีภาพ เป็นสิ่งที่สวนทางกัน หากท่านต้องการ ให้มีสิทธิเสรีภาพ ต้องจำกัดอำนาจให้มีเท่าที่จำเป็นและอยู่ใต้กฎหมาย”
“กฎหมายที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตย ต้องมาจากประชาชน โดยเป็นหน้าที่ของสภา ผู้แทนราษฎรไม่ใช่ที่เราสอนกันตามโรงเรียนกฎหมายหรือในคณะนิติศาสตร์ว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้มีอำนาจ ฉะนั้น กฎหมายตาม ระบอบประชาธิปไตยคือ การตกลงร่วมกันของประชาชนว่าจะใช้กติกาอะไรในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งในเมื่อเราไม่สามารถไปตกลงกัน เองได้ ก็ต้องตกลงกันโดยผ่านผู้แทน ถ้าเรา เข้าใจเช่นนี้ ก็จะมีมุมมองในเรื่องนิติรัฐอีกมุม หนึ่ง การใช้กฎหมายก็จะไม่ใช่การทำที่ปลาย ทางเช่นที่ผ่านมา”
“สำหรับการแบ่งแยกอำนาจ ต้องมีการ แบ่งแยกฝ่ายนิติบัญญัติออกมาจากฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาล เพราะถ้าฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มีอำนาจออกกฎหมายด้วย ถ้าต้องการอำนาจ ใดก็สามารถออกกฎหมายได้ตลอดเวลา เหมือนยิ่งรัฐบาลมีอำนาจมากเท่าไร ประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพน้อยลงเท่านั้น นั่นแปลว่าประชาชนยินยอมที่จะถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการ ขณะที่ฝ่ายตุลาการ ก็มีหน้าที่แยกอำนาจตีความกฎหมายออกมาจากผู้ใช้ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รัฐบาลตีความอำนาจเข้าข้างตัวเอง ทุกฝ่ายต้องถ่วงดุลซึ่งกันและ กัน นี่คือการปกครองระบอบประชาธิปไตย”
“ปัญหาเรื่องนิติรัฐในประเทศไทย ประการแรกเราชอบอ้างหลักนิติศาสตร์มายกเว้น กติกา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนเข้าใจกันน้อยมาก แม้แต่คนที่อยู่ในวงการกฎหมาย เราชอบเข้าใจว่ากฎหมายเป็นแค่หลักนิติศาสตร์ สามารถยกเว้นได้ ทั้งที่จริงประชาธิปไตยต้องใช้การปกครองโดยกฎหมาย ซึ่งเมื่อมีการนำหลักนิติศาสตร์มาใช้เขียนกฎหมายแล้ว ก็ต้องมีการบังคับใช้โดยเสมอกัน และต่อเนื่อง เพื่อให้คนเคารพกฎหมาย และนอกจากกติกาจะงดเว้นได้แล้ว เรายังยกเลิกกติกาได้ เห็นได้จากการยกเลิกรัฐธรรมนูญมาแล้ว 8 ครั้ง เนื่องจากระบบกฎมายและกระบวนการยุติธรรม ยอมรับให้ฉีกรัฐธรรมนูญได้ โดยให้อำนาจกับ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ถ้ายึดอำนาจสำเร็จศาลจะนำมาใช้บังคับเป็นกฎหมายให้ ซึ่งขัดกับการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ เราจึงต้องมานั่งคุยกันในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยจำกัด”
“เราชอบมองว่าอำนาจแก้ปัญหาได้ ยกตัวอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เราใช้มากว่า 40 ปี แล้วก็ยังคงใช้ตามแบบเดิม โดยมีคำจำกัดความว่า ใช้เท่าที่จำเป็น แต่ปัญหาคือ ใครเป็น คนตีความคำว่าเท่าที่จำเป็น การมีกฎหมายไม่ใช่แปลว่าเราเป็นนิติรัฐแล้ว กฎหมายในนิติรัฐนั้นแตกต่างจากกฎหมายในระบอบเผด็จการ คือ ถ้าเป็นกฎหมายในนิติรัฐ ต้องให้อำนาจเท่าที่จำเป็น เพราะอำนาจนั้นสวนทาง กับสิทธิเสรีภาพ แต่บ้านเราก็มีมาตรา 16 งดเว้นไว้ ทำให้ผู้มีอำนาจทำอะไรก็ได้ในขณะที่คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”
“ปัญหาต่อมาคือ กฎหมายต้องบังคับใช้โดยเสมอกัน ซึ่งนี่คือเรื่องที่ออกจากความรู้สึกจริงๆ ของคนกลุ่มหนึ่ง ลองมองภาพนักบอล ทีมหนึ่งทำฟาวล์ยังไงกรรมการก็ไม่เป่า การแข่งขันก็ดำเนินต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้น เป้าหมาย ของความปรองดองไม่ใช่ทำให้สองฝ่ายมารัก กัน แต่ถ้าได้ก็ดี เป้าคือจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับใช้กฎหมายโดยเสมอกัน แล้วการบังคับใช้กฎหมายที่ดีที่สุดคือ การให้คนเคารพกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา เรามีนิติรัฐแต่ไม่ได้สร้างให้คนเคารพกฎหมาย ประชาธิปไตยจึงล้มเหลว ในอนาคตเราจึงจำเป็นต้องสร้างพลเมืองให้มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ ซึ่งเคารพผู้อื่นแล้วเคารพกติกา ลำพังมีกฎหมายที่ดี รัฐธรรมนูญที่ดี แต่ คนไม่เคารพกฎหมาย เราก็ไม่ประสบผลสำเร็จในการปกครองระบอบประชาธิปไตย”
‘เสรี สุวรรณภานนท์’ อดีต ส.ว.กทม.
“ที่ผ่านมาทางออกของประเทศไทยขึ้น อยู่กับกระแสและกระสุน เวลาเกิดเหตุการณ์ ในบ้านเมืองก็จะมีกระแสออกมา เหมือนกับคำ พิพากษาว่า ใครไม่ทำตามกระแสสังคมเหมือน จะกลายเป็นคนผิด กระแสสังคมที่ทำออกมา คนที่ทำตามกฎหมาย คนที่ทำถูกต้องกลับกลาย เป็นคนผิดไป เราอยู่ในสภาวะอย่างนี้มาตลอด ไม่อยู่บนหลักกฎหมาย เหตุผล และข้อเท็จจริง มิเช่นนั้น เราก็จะเกิดความเสียหายอย่างที่ปรากฏ”
“อีกเรื่องคือ เรื่องของกระสุน เลือกตั้ง ครั้งไหนหากไม่มีกระสุนก็แพ้ทุกครั้ง นี่คือทางออกอีกทาง การที่เราบอกอยากได้ผู้บริหาร บ้านเมืองที่ดี เราต้องเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ แต่สุดท้ายคนดีที่ช่วยเหลือสังคม ดูแลสังคม และเสียสละ เมื่อลงเลือกตั้งกลับแพ้ทุกครั้ง เพราะไม่มีกระสุน เราก็พยายามสร้าง กติกา สร้างองค์กร สร้างกลไก เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการทุจริตโกงการเลือกตั้ง แต่มาจนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประเทศได้ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ได้คนที่ดีจริงเข้ามา แต่เราจะได้คนแสวงหาประโยชน์เข้ามาตลอด”
“ทางออกของประเทศไทยที่ดีที่สุดที่เรามองเห็นหรือเป็นสากลก็คือ กฎหมายและ กติกาของบ้านเมือง อย่างในเกมฟุตบอล คนที่ได้ใบเหลืองใบแดงจากกรรมการเขาก็รับได้ กับกติกา แต่บ้านเรากติกาเดียวกัน แข่งแล้ว กลับตีกัน นี่คือสังคมไทย ที่เราไม่ยอมรับกติกา ทำให้เป็นปัญหา นอกจากนั้น การบังคับใช้กฎหมายต้องเสมอภาคกัน ทางออกที่แท้จริง เราต้องมามองดูว่ากฎหมายที่บังคับใช้เป็นกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนหรือยัง ไม่ให้ประชาชนเหมือนถูกบังคับใช้กฎหมาย เหมือนถูกรังแก ในขณะที่สังคมเรากลับชาชินกับกระบวนการที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย”
“กฎหมายที่ออกมาบางฉบับมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แต่บางฉบับออกโดยซ่อนปม ซ่อนเงื่อนเอาไว้ และสุดท้ายกฎหมายเหล่านี้ ก็เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์มาทำร้ายประชาชนเอง ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่เคยหาทางออก หาทางแก้ เพราะเราชาชินกันไปแล้ว กลายเป็นว่ายอมเสียเงินเพื่อความสะดวก นี่แสดงให้เห็นว่า ที่ผ่านมากฎหมายไม่ได้เอื้อประโยชน์ เป็นธรรม และให้บริการกับประชาชนอย่างเต็มที่ เมื่อใดถ้าประชาชนพึงพอใจ กับการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นั่นก็คือ ความผาสุกและทางออกของประเทศ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ต้องไม่เกี่ยงงานกันในหน้าที่ใกล้เคียงกัน”
“ที่สำคัญเราต้องหาคนออกกฎหมายที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันกฎหมายที่บังคับ ใช้ต้องมีคุณภาพ และการบังคับใช้ต้องมีคุณภาพ ซึ่งบ้านเราขาดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเมื่ออำนาจอยู่มือ ข้าราชการหรือฝ่ายบริหาร ประชาชนก็ออกมาไล่ เมื่อออกมาไล่เรื่องก็บานปลายจนสร้าง ความเดือดร้อน จนในที่สุดก็เป็นวัฏจักรของปัญหา อย่างที่เราเห็นขณะนี้ “
ประตูทางออกประเทศไทยเปิดแง้มรอ ไว้ทุกเมื่อ สุดท้ายรอเพียงประชาชนคนไทย ก้าวย่างอย่างพร้อมเพรียงเพื่อไปให้ถึงหลักชัยแห่งนิติรัฐ!!!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผ่า ! ลานจอดรถฉาวสุวรรณภูมิ"ปาร์คกิ้ง-แป้งร่ำ" ซ่อนเงาบิ๊กการเมืองยึด ทอท.
ประชาชาติธุรกิจ
ปัญหาของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เกี่ยวกับการแจกสัมปทานบริษัทเอกชนเข้ามาใช้พื้นที่ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิทำกิจกรรมเพื่อหารายได้ โดยลงนามสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วน แต่เกือบจะทุกโครงการล้วนมีเรื่องราวซ่อนเงื่อนปมถูกตรวจสอบเสมอ
เกือบ 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเปิดให้บริการตั้งแต่ 28 กันยายน 2549 การช่วงชิงสัมปทานพื้นที่ชิ้นใหญ่ในอาคารผู้โดยสารไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ลงตัว ก็มาถึงการจัดสรรพื้นที่รอบนอกอาคารเริ่มร้อนแรงขึ้นทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลานจอดรถซึ่งกระจายอยู่เกือบ 3 แสนตารางเมตร
นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ กล่าวว่า การเปิดสุวรรณภูมิในระยะแรก 1-3 ปีนั้น ทอท.บริหารพื้นที่ลานจอดรถเองทั้งหมด บริเวณอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร จอดรถได้วันละประมาณ 5,000 คัน โดยใช้วิธีเหมาจ้าง (outsource) พนักงานจากบริษัทเอกชนทำหน้าที่ผู้จัดเก็บค่าบริการ แต่ละวันมีรายได้จากลูกค้าที่นำรถเข้ามาจอด 8 แสน-1 ล้านบาท จากนั้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เปลี่ยนนโยบายเปิดให้บริษัทเอกชนยื่นประมูลสัมปทานไปทำ มีสัญญา 5 ปี
ผู้บริหารสนามบินพาณิชย์เมืองไทยกล่าวว่า ตามแผนธุรกิจสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งมีโครงการจะนำพื้นที่ว่างเปล่ามาพัฒนาเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (non-aero) เป็นแนวคิดที่ถูกต้องแต่วิธีการ ต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพราะสุวรรณภูมิเป็นขุมทรัพย์ที่ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ และอีกหลายกลุ่มอาชีพพยายามเข้ามาใช้ประโยชน์
กรณีการให้สัมปทานพื้นที่ลานจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด บริเวณอาคารเอและบี ขนาดพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร สัญญา 5 ปี เริ่ม 30 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2558 ประกันรายได้ขั้นต่ำ 15.7 ล้านบาท ซึ่ง ลดลงเกือบ 50% ต่างจากเดิมที่ ทอท.จัดเก็บรายได้เอง 3 ปีแรก แต่ฝ่ายบริหารก็ยังอนุมัติให้เอกชนทำ
ทันทีที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด รับงาน มีปัญหา ตามมาทันทีตลอด 4 เดือน เมษายน-กันยายน 2553 ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ทอท.โดยตรง 2 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นแรก กรรมการปาร์คกิ้งทะเลาะ ฟ้องศาล ข่มขู่ กล่าวหา ส่งคำร้องทุกข์ไปให้กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบ ร้องเรียนกรณีมีกรรมการปลอมแปลงเอกสารลายเซ็นเพื่อเข้าทำสัญญา กับ ทอท.
เนื่องจากกรรมการกลุ่มเดียวกันถือหุ้นโยงใยกันอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด ของนายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับนายธนกฤต เจตกิตติโชค เป็นผู้ชนะประมูลสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อ 16 มีนาคม 2553 ในสัญญากำหนดให้ นำเงินค้ำประกันมาวาง 105,930,000 บาท พร้อมกับหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่อีก 13,568,880 บาท
ระหว่างรอแสดงเงินค้ำประกันและหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่ รวมกว่า 135 ล้านบาทนั้น กรรมการบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด แจ้ง ทอท.ว่า จะขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เมื่อ 31 มีนาคม 2553 เพื่อเข้ามาดูแลสัมปทานลานจอดรถพื้นที่ ดังกล่าวในวันที่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป
มีการตั้งข้อสังเกตว่า การจดทะเบียนเปิดบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัดนั้น กรรมการกลุ่มเดิมได้นำผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่คือ นายธรรศ พจนประพันธ์ เข้ามาเป็นนายทุนทางการเงินและหลักทรัพยทำตามเงื่อนไข ทอท. ผลสุดท้ายทั้ง 3 คนก็ขัดแย้งกัน
ถึงขั้นทำหนังสือร้องเรียนไปยัง นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ 26 สิงหาคม 2553 รวมทั้งฟ้องคดีอาญาและแพ่ง นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ และ นางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ
ขณะเดียวกันก็ไม่ได้นำรายได้ที่จัดเก็บค่าบริการส่งให้ ทอท.ตามสัญญา เดือนละ 15.7 ล้านบาท เป็นเวลากว่า 4 เดือน ทางฝ่ายบริหารสุวรรณภูมิต้องหาทางออกโดยแจ้งธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้ค้ำประกัน เพื่อขอหักเงินตอบแทนรายได้จากบัญชี เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553 ได้เพียง 66 ล้านบาทเท่านั้น ขณะนี้เงินค้ำประกันของปาร์คกิ้งฯในธนาคารนั้นเหลือให้หักได้ถึงกันยายนนี้เท่านั้น
แต่สัญญาสัมปทานทั้งหมด ทอท.ยังไม่มีท่าทีจะยกเลิกทั้งที่เอกชนถูกตั้งข้อสังเกตว่า กระทำผิดเงื่อนไขสัญญาทุกประการ หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ไม่เพียงพอ ไม่จัดส่งรายได้ ทอท.ที่เก็บเงินสดจากลูกค้า รวมถึงค่าสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานการบินและพนักงานบริษัทต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิ อีกเดือนละ 4-5 ล้านบาท
ความเสียหายและสูญเสียรายได้ที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่ง ทอท.เป็นผู้ให้สัมปทานได้สร้างปัญหาขึ้นมามากมายนั้น จนถึงขณะนี้กระทรวงคมนาคม บอร์ด ทอท. และกระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจ ทอท. ยังรีรอดูท่าทีต่อไป
เช่นเดียวกับสัมปทานลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ในสุวรรณภูมิ ที่คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. เร่งรีบอนุมัติภายใน 10 วัน ให้แก่ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็น เจ้าของสัมปทานพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร เป็นเวลา 15 ปี เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ "สุวรรณภูมิสแควร์" ปล่อยเช่าแก่ร้านค้ารายย่อย แต่แป้งร่ำฯเสนอค่าตอบแทนรายได้ ให้ ทอท.เพียงเดือนละ 2,207,610 บาทเท่านั้น
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ย้ำว่า หลังบอร์ดเมื่อ 6 กันยายน 2553 มีมติยกเลิกสัมปทานสัญญากับบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวนั้น เนื่องจากเหตุผล 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก บริษัทดังกล่าวไม่เคยมีผลงานบริหารใด ๆ คุณสมบัติ ขีดความสามารถ ทุนจดทะเบียน ไม่เหมาะทุกประการ แถมผลการ ดำเนินงานมีรายได้แค่ปีละ 5,000 กว่าบาท จะมารับผิดชอบ โปรเจ็กต์การลงทุนขนาด 350-450 ล้านบาท ได้อย่างไร ประเด็นที่ 2 ไม่ไว้ใจการทำงานของคณะกรรมการพิจารณารายได้ซึ่งเร่งรีบทำ พร้อมทั้งอนุมัติ ขัดระเบียบองค์กร อีกทั้งไม่เสนอบอร์ดพิจารณา
จากนั้นนายปิยะพันธ์ก็ขอมติบอร์ดให้ย้ายนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. จากประธาน คณะกรรมการพิจารณารายได้ เหลือแค่ตำแหน่งกรรมการ แล้วแต่งตั้งบอร์ดไปทำหน้าที่แทน คือ นายมานิตย์ วัฒนเศรษฐ์ ปลัดมหาดไทย กับ นายฉกรรจ์ แสงรักษาการ อัยการสูงสุด
แต่บอร์ดทั้ง 2 คนก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นคนใกล้ชิด "นายเนวิน ชิดชอบ" พรรคภูมิใจไทย
ขณะที่บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่ชวดสัมปทานบริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมินั้น มีรายงานว่า เส้นทางที่เข้ามาเสนอขอรับบริหารพื้นที่เพื่อพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์นั้น ก็มีกลุ่มบุคคลอดีตผู้ติดตามนักการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งกับเจ้าของสัมปทาน บริการด้านสุขภาพในสุวรรณภูมิเกี่ยวข้องอยู่ด้วยกับฝ่ายบริหารบางคนของ ทอท. เรื่องราวทั้งหมดจึงอนุมัติกันง่ายดายและรวดเร็ว
พอสัมปทานถูกยกเลิก นายพีรยศ วงศ์วิทวัส กรรมการผู้จัดการ แป้งร่ำ รีเทล พยายามเดินสายอธิบายต่อสื่อมวลชนถึงการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท แต่นายปิยะพันธ์และบอร์ดหลายคนย้ำว่า ประเด็นหลักคือ แป้งร่ำมีผลงานอะไรมาแสดง ผลการดำเนินงานปีละไม่กี่พันบาท เหตุใดถึงเป็นเพียงบริษัทเดียวที่เสนอชื่อเข้ามาโดยไม่มีคู่แข่ง แล้วได้สิทธิบริหารถึง 15 ปี
การช่วงชิงสัมปทานเพื่อหารายได้จากพื้นที่ลานจอดรถสุวรรณภูมิเกือบ 3 แสนตารางเมตร ทั้ง 3 องค์กรคือ กระทรวงการคลัง เจ้าของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงคมนาคม ผู้กำกับดูแล หน่วยงาน และ ทอท. เจ้าของสนามบิน จะยังผลประโยชน์ชาติ และ/หรือทำเพื่อสนองเฉพาะเพียงบางกลุ่ม โดยนำสุวรรณภูมิ สมบัติของชาติเป็นข้อแลกเปลี่ยนเช่นนั้นหรือ ?
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปัญหาของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เกี่ยวกับการแจกสัมปทานบริษัทเอกชนเข้ามาใช้พื้นที่ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิทำกิจกรรมเพื่อหารายได้ โดยลงนามสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วน แต่เกือบจะทุกโครงการล้วนมีเรื่องราวซ่อนเงื่อนปมถูกตรวจสอบเสมอ
เกือบ 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเปิดให้บริการตั้งแต่ 28 กันยายน 2549 การช่วงชิงสัมปทานพื้นที่ชิ้นใหญ่ในอาคารผู้โดยสารไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ลงตัว ก็มาถึงการจัดสรรพื้นที่รอบนอกอาคารเริ่มร้อนแรงขึ้นทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลานจอดรถซึ่งกระจายอยู่เกือบ 3 แสนตารางเมตร
นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ กล่าวว่า การเปิดสุวรรณภูมิในระยะแรก 1-3 ปีนั้น ทอท.บริหารพื้นที่ลานจอดรถเองทั้งหมด บริเวณอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร จอดรถได้วันละประมาณ 5,000 คัน โดยใช้วิธีเหมาจ้าง (outsource) พนักงานจากบริษัทเอกชนทำหน้าที่ผู้จัดเก็บค่าบริการ แต่ละวันมีรายได้จากลูกค้าที่นำรถเข้ามาจอด 8 แสน-1 ล้านบาท จากนั้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เปลี่ยนนโยบายเปิดให้บริษัทเอกชนยื่นประมูลสัมปทานไปทำ มีสัญญา 5 ปี
ผู้บริหารสนามบินพาณิชย์เมืองไทยกล่าวว่า ตามแผนธุรกิจสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งมีโครงการจะนำพื้นที่ว่างเปล่ามาพัฒนาเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (non-aero) เป็นแนวคิดที่ถูกต้องแต่วิธีการ ต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพราะสุวรรณภูมิเป็นขุมทรัพย์ที่ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ และอีกหลายกลุ่มอาชีพพยายามเข้ามาใช้ประโยชน์
กรณีการให้สัมปทานพื้นที่ลานจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด บริเวณอาคารเอและบี ขนาดพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร สัญญา 5 ปี เริ่ม 30 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2558 ประกันรายได้ขั้นต่ำ 15.7 ล้านบาท ซึ่ง ลดลงเกือบ 50% ต่างจากเดิมที่ ทอท.จัดเก็บรายได้เอง 3 ปีแรก แต่ฝ่ายบริหารก็ยังอนุมัติให้เอกชนทำ
ทันทีที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด รับงาน มีปัญหา ตามมาทันทีตลอด 4 เดือน เมษายน-กันยายน 2553 ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ทอท.โดยตรง 2 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นแรก กรรมการปาร์คกิ้งทะเลาะ ฟ้องศาล ข่มขู่ กล่าวหา ส่งคำร้องทุกข์ไปให้กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบ ร้องเรียนกรณีมีกรรมการปลอมแปลงเอกสารลายเซ็นเพื่อเข้าทำสัญญา กับ ทอท.
เนื่องจากกรรมการกลุ่มเดียวกันถือหุ้นโยงใยกันอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด ของนายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับนายธนกฤต เจตกิตติโชค เป็นผู้ชนะประมูลสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อ 16 มีนาคม 2553 ในสัญญากำหนดให้ นำเงินค้ำประกันมาวาง 105,930,000 บาท พร้อมกับหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่อีก 13,568,880 บาท
ระหว่างรอแสดงเงินค้ำประกันและหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่ รวมกว่า 135 ล้านบาทนั้น กรรมการบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด แจ้ง ทอท.ว่า จะขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เมื่อ 31 มีนาคม 2553 เพื่อเข้ามาดูแลสัมปทานลานจอดรถพื้นที่ ดังกล่าวในวันที่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป
มีการตั้งข้อสังเกตว่า การจดทะเบียนเปิดบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัดนั้น กรรมการกลุ่มเดิมได้นำผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่คือ นายธรรศ พจนประพันธ์ เข้ามาเป็นนายทุนทางการเงินและหลักทรัพยทำตามเงื่อนไข ทอท. ผลสุดท้ายทั้ง 3 คนก็ขัดแย้งกัน
ถึงขั้นทำหนังสือร้องเรียนไปยัง นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ 26 สิงหาคม 2553 รวมทั้งฟ้องคดีอาญาและแพ่ง นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ และ นางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ
ขณะเดียวกันก็ไม่ได้นำรายได้ที่จัดเก็บค่าบริการส่งให้ ทอท.ตามสัญญา เดือนละ 15.7 ล้านบาท เป็นเวลากว่า 4 เดือน ทางฝ่ายบริหารสุวรรณภูมิต้องหาทางออกโดยแจ้งธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้ค้ำประกัน เพื่อขอหักเงินตอบแทนรายได้จากบัญชี เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553 ได้เพียง 66 ล้านบาทเท่านั้น ขณะนี้เงินค้ำประกันของปาร์คกิ้งฯในธนาคารนั้นเหลือให้หักได้ถึงกันยายนนี้เท่านั้น
แต่สัญญาสัมปทานทั้งหมด ทอท.ยังไม่มีท่าทีจะยกเลิกทั้งที่เอกชนถูกตั้งข้อสังเกตว่า กระทำผิดเงื่อนไขสัญญาทุกประการ หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ไม่เพียงพอ ไม่จัดส่งรายได้ ทอท.ที่เก็บเงินสดจากลูกค้า รวมถึงค่าสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานการบินและพนักงานบริษัทต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิ อีกเดือนละ 4-5 ล้านบาท
ความเสียหายและสูญเสียรายได้ที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่ง ทอท.เป็นผู้ให้สัมปทานได้สร้างปัญหาขึ้นมามากมายนั้น จนถึงขณะนี้กระทรวงคมนาคม บอร์ด ทอท. และกระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจ ทอท. ยังรีรอดูท่าทีต่อไป
เช่นเดียวกับสัมปทานลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ในสุวรรณภูมิ ที่คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. เร่งรีบอนุมัติภายใน 10 วัน ให้แก่ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็น เจ้าของสัมปทานพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร เป็นเวลา 15 ปี เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ "สุวรรณภูมิสแควร์" ปล่อยเช่าแก่ร้านค้ารายย่อย แต่แป้งร่ำฯเสนอค่าตอบแทนรายได้ ให้ ทอท.เพียงเดือนละ 2,207,610 บาทเท่านั้น
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ย้ำว่า หลังบอร์ดเมื่อ 6 กันยายน 2553 มีมติยกเลิกสัมปทานสัญญากับบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวนั้น เนื่องจากเหตุผล 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก บริษัทดังกล่าวไม่เคยมีผลงานบริหารใด ๆ คุณสมบัติ ขีดความสามารถ ทุนจดทะเบียน ไม่เหมาะทุกประการ แถมผลการ ดำเนินงานมีรายได้แค่ปีละ 5,000 กว่าบาท จะมารับผิดชอบ โปรเจ็กต์การลงทุนขนาด 350-450 ล้านบาท ได้อย่างไร ประเด็นที่ 2 ไม่ไว้ใจการทำงานของคณะกรรมการพิจารณารายได้ซึ่งเร่งรีบทำ พร้อมทั้งอนุมัติ ขัดระเบียบองค์กร อีกทั้งไม่เสนอบอร์ดพิจารณา
จากนั้นนายปิยะพันธ์ก็ขอมติบอร์ดให้ย้ายนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. จากประธาน คณะกรรมการพิจารณารายได้ เหลือแค่ตำแหน่งกรรมการ แล้วแต่งตั้งบอร์ดไปทำหน้าที่แทน คือ นายมานิตย์ วัฒนเศรษฐ์ ปลัดมหาดไทย กับ นายฉกรรจ์ แสงรักษาการ อัยการสูงสุด
แต่บอร์ดทั้ง 2 คนก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นคนใกล้ชิด "นายเนวิน ชิดชอบ" พรรคภูมิใจไทย
ขณะที่บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่ชวดสัมปทานบริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมินั้น มีรายงานว่า เส้นทางที่เข้ามาเสนอขอรับบริหารพื้นที่เพื่อพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์นั้น ก็มีกลุ่มบุคคลอดีตผู้ติดตามนักการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งกับเจ้าของสัมปทาน บริการด้านสุขภาพในสุวรรณภูมิเกี่ยวข้องอยู่ด้วยกับฝ่ายบริหารบางคนของ ทอท. เรื่องราวทั้งหมดจึงอนุมัติกันง่ายดายและรวดเร็ว
พอสัมปทานถูกยกเลิก นายพีรยศ วงศ์วิทวัส กรรมการผู้จัดการ แป้งร่ำ รีเทล พยายามเดินสายอธิบายต่อสื่อมวลชนถึงการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท แต่นายปิยะพันธ์และบอร์ดหลายคนย้ำว่า ประเด็นหลักคือ แป้งร่ำมีผลงานอะไรมาแสดง ผลการดำเนินงานปีละไม่กี่พันบาท เหตุใดถึงเป็นเพียงบริษัทเดียวที่เสนอชื่อเข้ามาโดยไม่มีคู่แข่ง แล้วได้สิทธิบริหารถึง 15 ปี
การช่วงชิงสัมปทานเพื่อหารายได้จากพื้นที่ลานจอดรถสุวรรณภูมิเกือบ 3 แสนตารางเมตร ทั้ง 3 องค์กรคือ กระทรวงการคลัง เจ้าของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงคมนาคม ผู้กำกับดูแล หน่วยงาน และ ทอท. เจ้าของสนามบิน จะยังผลประโยชน์ชาติ และ/หรือทำเพื่อสนองเฉพาะเพียงบางกลุ่ม โดยนำสุวรรณภูมิ สมบัติของชาติเป็นข้อแลกเปลี่ยนเช่นนั้นหรือ ?
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คดี 91 ศพ
ข่าวสดรายวัน
เหล็กใน
กรณี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ออกมาให้ข่าวความคืบหน้าการสอบสวนเหตุการณ์คนตาย 91 ศพ จากการปราบม็อบคนเสื้อแดงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า
ดีเอสไอจะออกหนังสือถึงกองทัพ
ขอเข้าสอบปากคำนายทหารที่มีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการกระชับพื้นที่ในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงทั้งที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ และสี่แยกราชประสงค์
เพื่อให้ได้ข้อมูลว่ามีการจัดวางกำลังและใช้กำลังพลเท่าไหร่ในการปฏิบัติการ มีการนำอาวุธออกไปใช้งานอย่างไร และจำนวนอาวุธที่ใช้ในปฏิบัติการใช้จริงไปเท่าไหร่
ฟังแล้วให้ความรู้สึกในแบบที่สำนวนหนังสือกำลังภายในกล่าวไว้ว่า
หัวร่อมิออก ร่ำไห้มิได้
ถึงแม้การสอบปากคำทหารและการตรวจสอบอาวุธ จะเป็นขั้นตอนสำคัญในการคลี่คลายคดี 91 ศพ ซึ่งทางดีเอสไอจำเป็นต้องทำ
แต่การปล่อยเวลาล่วงเลยไปนาน 4 เดือนกว่าจะเริ่มกระบวนการตรงนี้ได้
ทำให้ใครหลายคนสงสัยว่าจริงๆ แล้วดีเอสไอมีเจตนาอย่างไรแน่
ต้องการจะทำเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริง หรือทำไปแบบส่งเดชเพื่อเอาตัวรอดจากข้อครหา 2 มาตรฐาน
ยังไม่รวมถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการให้ข่าวของนายธาริต
เป็นการส่งสัญญาณล่วงหน้าให้เจ้าหน้าที่และ หน่วยงานของรัฐทำลายหลักฐาน ทำความสะอาดปืน เปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือคำสั่งต่างๆ
ไม่ว่าคำสั่งจัดวางกำลังพลหรือการเบิกจ่ายอาวุธหรือไม่
เพราะท่าทีของนายธาริต ก็แสดงถึงความเกรงอกเกรงใจฝ่ายทหารอยู่ไม่น้อย
อย่างตอนนักข่าวสอบถามนายธาริต กลัวหรือไม่ว่าถ้าไปสอบสวนทหารมากๆ ต่อไปเวลาเกิดเหตุความไม่สงบ ทหารจะไม่ยอมนำกำลังออกมาช่วยแก้ปัญหาอีก
นายธาริต เลยรีบตอบกลับอย่างฉาดฉานว่า
การดำเนินการของดีเอสไอนั้นไม่ได้เป็นการทึกทักว่าทหารผิด แต่ที่ต้องสอบถามทหารเพราะเป็นพยานที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์มากที่สุด
พินอบพิเทากันซะขนาดนี้
ทีกับคนเสื้อแดงที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เหมือนกัน ไม่เห็นมีใครมาเชิญไปเป็นพยาน
มีแต่ถูกข่มขู่ ไล่ล่า ฆ่าปิดปาก
ส่วนหนึ่งยังโดนตั้งข้อหาส่งฟ้องเป็นจำเลยคดีก่อการร้ายอีกต่างหาก
******************************************************************************
เหล็กใน
กรณี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ออกมาให้ข่าวความคืบหน้าการสอบสวนเหตุการณ์คนตาย 91 ศพ จากการปราบม็อบคนเสื้อแดงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า
ดีเอสไอจะออกหนังสือถึงกองทัพ
ขอเข้าสอบปากคำนายทหารที่มีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการกระชับพื้นที่ในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงทั้งที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ และสี่แยกราชประสงค์
เพื่อให้ได้ข้อมูลว่ามีการจัดวางกำลังและใช้กำลังพลเท่าไหร่ในการปฏิบัติการ มีการนำอาวุธออกไปใช้งานอย่างไร และจำนวนอาวุธที่ใช้ในปฏิบัติการใช้จริงไปเท่าไหร่
ฟังแล้วให้ความรู้สึกในแบบที่สำนวนหนังสือกำลังภายในกล่าวไว้ว่า
หัวร่อมิออก ร่ำไห้มิได้
ถึงแม้การสอบปากคำทหารและการตรวจสอบอาวุธ จะเป็นขั้นตอนสำคัญในการคลี่คลายคดี 91 ศพ ซึ่งทางดีเอสไอจำเป็นต้องทำ
แต่การปล่อยเวลาล่วงเลยไปนาน 4 เดือนกว่าจะเริ่มกระบวนการตรงนี้ได้
ทำให้ใครหลายคนสงสัยว่าจริงๆ แล้วดีเอสไอมีเจตนาอย่างไรแน่
ต้องการจะทำเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริง หรือทำไปแบบส่งเดชเพื่อเอาตัวรอดจากข้อครหา 2 มาตรฐาน
ยังไม่รวมถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการให้ข่าวของนายธาริต
เป็นการส่งสัญญาณล่วงหน้าให้เจ้าหน้าที่และ หน่วยงานของรัฐทำลายหลักฐาน ทำความสะอาดปืน เปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือคำสั่งต่างๆ
ไม่ว่าคำสั่งจัดวางกำลังพลหรือการเบิกจ่ายอาวุธหรือไม่
เพราะท่าทีของนายธาริต ก็แสดงถึงความเกรงอกเกรงใจฝ่ายทหารอยู่ไม่น้อย
อย่างตอนนักข่าวสอบถามนายธาริต กลัวหรือไม่ว่าถ้าไปสอบสวนทหารมากๆ ต่อไปเวลาเกิดเหตุความไม่สงบ ทหารจะไม่ยอมนำกำลังออกมาช่วยแก้ปัญหาอีก
นายธาริต เลยรีบตอบกลับอย่างฉาดฉานว่า
การดำเนินการของดีเอสไอนั้นไม่ได้เป็นการทึกทักว่าทหารผิด แต่ที่ต้องสอบถามทหารเพราะเป็นพยานที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์มากที่สุด
พินอบพิเทากันซะขนาดนี้
ทีกับคนเสื้อแดงที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เหมือนกัน ไม่เห็นมีใครมาเชิญไปเป็นพยาน
มีแต่ถูกข่มขู่ ไล่ล่า ฆ่าปิดปาก
ส่วนหนึ่งยังโดนตั้งข้อหาส่งฟ้องเป็นจำเลยคดีก่อการร้ายอีกต่างหาก
******************************************************************************
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553
บก.เรดพาวเวอร์ ยันจัดงานรำลึกรัฐประหาร
ที่มา.เนชั่น
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เรดพาวเวอร์ แถลงข่าวหลังมีการสั่งปิดโรงพิมพ์และจับปรับสายส่งว่า แม้จะมี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปิดโรงพิมพ์เอกชนที่จัดพิมพ์หนังสือให้เรา จนโรงพิมพ์ต้องเสียหายร่วม 10 ล้านบาท รวมทั้งจับปรับเงิน 10,000 บาท สายส่งหนังสือ แต่ยังยืนยันจะทำนิตยสารเรดพาวเวอร์ต่อไป โดยจะย้ายสำนักงานไปที่เชียงใหม่ ส่วนการสั่งปิดโรงพิมพ์ดังกล่าว จะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตวจสอบด้วย ทั้งนี้การจัดทำหนังสือพิมพ์เรดพาวเวอร์ในอนาคต ตนเองหวังจะระดมทุนเพิ่มและอาจเปลี่ยนจากหนังสือพิมพ์รายวันเป็นรายสัปดาห์ให้ได้ภายใน 1 ปี
นายสมยศ ยังกล่าวถึง การจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายนว่า จะยังจัดกิจกรรมตามกำหนดเดิมทั้งใน กทม.บริเวณแยกราชประสงค์ โดยมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ดูแล นอกจากนี้จะจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ซึ่งตนเองดูแลด้วย ขณะนี้กำลังติดต่อ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, นางดารณี กฤตบุญญาลัย ที่จะให้โฟนอินมายังสถานที่จัดงาน ทั้งนี้ยืนยันว่าการจัดงานไม่ใช่การรวมพลชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะออกมาเคลื่อนไหว แต่การจัดกิจกรรมภาคประชาชนทั้งสิ้น ขออย่าวิตกเกินไป เพราะเราแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง และเราแสดงความชัดเจนไม่ได้ปฏิเสธแผนปรองดอง แต่การปรองดองในแนวทางของเราคือต้องการให้ปฏิรูปประเทศ และกระบวนการยุติธรรม การปล่อยนักโทษการเมือง การปฏิรูปให้มีรัฐสวัสดิการ การลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7 เหลือ 5 % การจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า เป็นต้น ซึ่งเรื่องรัฐสวัสดิการ-ภาษีสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องเวลาเป็นปีที่จะดำเนินการ
นายสมยศ กล่าวย้ำว่า รัฐบาลอย่าพยายามที่จะใช้กฎหมายโดยเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาป้องกันตัวเองจนเป็นอันตรายทำร้ายคนอื่นเหมือนที่ใช้กฎหมายสั่งปิดโรงพิมพ์ ขณะที่ตนเห็นว่าแม้จะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่ยังมีระเบิดรายวันก็ไม่รู้ว่าการคงไว้ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ช่วยควบคุมอะไรได้บ้าง แต่กฎหมายนี้กลับกระทบทุกภาคส่วนและการท่องเที่ยวอย่างมาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เรดพาวเวอร์ แถลงข่าวหลังมีการสั่งปิดโรงพิมพ์และจับปรับสายส่งว่า แม้จะมี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปิดโรงพิมพ์เอกชนที่จัดพิมพ์หนังสือให้เรา จนโรงพิมพ์ต้องเสียหายร่วม 10 ล้านบาท รวมทั้งจับปรับเงิน 10,000 บาท สายส่งหนังสือ แต่ยังยืนยันจะทำนิตยสารเรดพาวเวอร์ต่อไป โดยจะย้ายสำนักงานไปที่เชียงใหม่ ส่วนการสั่งปิดโรงพิมพ์ดังกล่าว จะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตวจสอบด้วย ทั้งนี้การจัดทำหนังสือพิมพ์เรดพาวเวอร์ในอนาคต ตนเองหวังจะระดมทุนเพิ่มและอาจเปลี่ยนจากหนังสือพิมพ์รายวันเป็นรายสัปดาห์ให้ได้ภายใน 1 ปี
นายสมยศ ยังกล่าวถึง การจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายนว่า จะยังจัดกิจกรรมตามกำหนดเดิมทั้งใน กทม.บริเวณแยกราชประสงค์ โดยมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ดูแล นอกจากนี้จะจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ซึ่งตนเองดูแลด้วย ขณะนี้กำลังติดต่อ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, นางดารณี กฤตบุญญาลัย ที่จะให้โฟนอินมายังสถานที่จัดงาน ทั้งนี้ยืนยันว่าการจัดงานไม่ใช่การรวมพลชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะออกมาเคลื่อนไหว แต่การจัดกิจกรรมภาคประชาชนทั้งสิ้น ขออย่าวิตกเกินไป เพราะเราแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง และเราแสดงความชัดเจนไม่ได้ปฏิเสธแผนปรองดอง แต่การปรองดองในแนวทางของเราคือต้องการให้ปฏิรูปประเทศ และกระบวนการยุติธรรม การปล่อยนักโทษการเมือง การปฏิรูปให้มีรัฐสวัสดิการ การลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7 เหลือ 5 % การจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า เป็นต้น ซึ่งเรื่องรัฐสวัสดิการ-ภาษีสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องเวลาเป็นปีที่จะดำเนินการ
นายสมยศ กล่าวย้ำว่า รัฐบาลอย่าพยายามที่จะใช้กฎหมายโดยเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาป้องกันตัวเองจนเป็นอันตรายทำร้ายคนอื่นเหมือนที่ใช้กฎหมายสั่งปิดโรงพิมพ์ ขณะที่ตนเห็นว่าแม้จะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่ยังมีระเบิดรายวันก็ไม่รู้ว่าการคงไว้ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ช่วยควบคุมอะไรได้บ้าง แต่กฎหมายนี้กลับกระทบทุกภาคส่วนและการท่องเที่ยวอย่างมาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไพร่ ผู้ดี พื้นที่ และกาลเวลา
สาย สีมา
ความพ่ายแพ้ของคนเสื้อแดง และการสูญเสียชีวิตคนไทยด้วยกันเอง เป็นโอกาสอันสำคัญของนักมานุษยวิทยาทั้งมวล ซึ่ีงมีใจกลางของการศึกษาอยู่ที่มนุษย์ จะได้ทำความเข้าใจกับลักษณะที่แท้จริงของสังคมมนุษย์ไทย
คนเสื้อแดงอาจเข้าใจลักษณะสังคมไทยได้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว (จึงทำให้พ่ายแพ้อย่างยับเยิน) กล่าวคือคนเสื้อแดงเข้าใจถูกต้องว่า คู่ความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นคนขัดแย้งระหว่างไพร่ฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่น่าถูกต้องเลย ที่จะมองว่าอีกฝ่ายหนึ่งคืออำมาตย์ เพราะคู่ตรงข้ามของไพร่คือผู้ดี มิใช่อำมาตย์อย่างที่คนเสื้อแดงเข้าใจ
เมื่อคู่ขัดแย้งฝ่ายหนึ่งเป็นไพร่ อีกฝ่ายจึงเพียงแต่ทำตัวเป็นผู้ดี ไพร่ก็ย่อมต่อสู้ด้วยอย่างลำบากยิ่ง ก็เอ็งเป็นไพร่อ่ะ ผู้ดีอย่างพวกเราจะต้องไปเสียเวลาคุยหรือเกลือกกลั้วด้วยทำไม ผู้ดีย่อมมีภาษีเหนือกว่าไพร่วันยันค่ำ คืนย้นรุ่ง
จะเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากอิทธิพลของหนังสือสมบัติผู้ดี หรือเพราะเกิดการเบี่ยงเบนออกจากความหมายที่แท้จริงของหนังสือสมบัติผู้ดี หรือแม้แต่จะไม่เกี่ยวอะไรเลยกับหนังสือสมบัติผู้ดีก็ตาม สังคมการเมืองไทยปัจจุบันย่อมเห็นว่า ผู้ดีคือผู้กำความถูกต้องเอาไว้ ไพร่จะมีความถูกต้องชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อยกระดับตนเองเป็นผู้ดีเท่านั้น ปัญหาของไพร่จึงเป็นปัญหาความเหนือกว่าของผู้ดี มิใช่ปัญหาเรื่องอำมาตย์ หรืออำมาตยาธิปไตย แม้ว่าอำมาตย์/อำมาตยาธิปไตยจะเป็นปัญหาก็ตาม
การเคารพสถานที่คือความเป็นผู้ดี การต้องเคารพสถานที่จึงเป็นความถูกต้อง การยึดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงผิด-เป็นการกระทำอย่างไพร่ ๆ คนเสื้่อแดงเข้าใจถูกต้องว่าบริเวณโดยรอบของราชประสงค์/สยามเซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลางของสยามประเทศ) เป็นพื้นที่สำคัญในทางเศรษฐกิจ แต่ความเป็นพื้นที่สำคัญในทางเศรษฐกิจหมายความด้วยว่า เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางเศรษฐกิจด้วย ดังมีผู้เปรียบเทียบกันบ่อย ๆ ว่า ศูนย์การค้าก็คือโบสถ์วิหารของศาสนาบริโภคนิยมในยุคนี้ ที่สาวกสาวิกาทั้งหลายต้องหมั่นเข้าไป "เช่า" หรือที่จริงก็คือ "ซื้อ" เครื่องรางของขลังประจำศาสนา (คือสินค้านานาชนิด) มาไว้ใช้สอยบูชาประจำตัว "โบสถ์วิหาร" ในบริเวณนี้ศักดิ์สิทธิ์เพียงใด ย่อมสะท้อนให้เห็นได้จากการมีเทพหรือมหาเทพฝ่ายฮินดูมาสถิตย์เป็นมิ่งเป็นขวัญประจำสถานที่เป็นจำนวนมาก กล่าวกันในหมู่ซินแสภูมิสถานทั้งหลายว่า ถ้ามิใช่พื้นที่/ตลาด/ศูนย์การค้าใหญ่ ๆ แล้ว ตั้งบูชาได้ก็แต่พระภูมิเจ้าที่เท่านั้น มิบังควรจะตั้งศาลพระพรหมเด็ดขาด ไหว้ไม่ถึง บูชาไม่ถึงหรอก โดยนัยนี้ บริเวณสยามเซ็นเตอร์/ราชประสงค์จึงศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
และไม่เพียง "โบสถ์วิหาร" ของศาสนาบริโภคนิยมจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเท่านั้น โรงพยาบาลก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะเป็นสถานที่ให้ผู้ดีได้อำนวยการรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสถานที่ีแห่งการแสดงทาน/เมตตาบารมี
การยึดหรือบุกเข้าไปสำรวจสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการกระทำที่ "อุกอาจ" ยิ่งนัก ในสายตาของผู้ดีไทย การยึดพื้นที่เยี่ยงนี้จึงชึ้ถึงความอ่อนด้อยของคนเสื้อแดงในการเข้าใจกระแสความคิดที่ครอบงำสังคมไทย
วัฒนธรรมผู้ดีไทยเห็นว่าพื้นที่เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงยิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไปอีก ศูนย์ที่เอะอะอ้างเอาแต่ความฉุกเฉินเฉพาะหน้า (ศอฉ) จึงไม่ต่างจากผู้ดีทั้งหลาย และจึงคอยตอกย้ำว่า พื้นที่ในสังคมวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ศอฉ.จึงขอคืนพื้นที่บ้าง ขอกระชับพื้นที่บ้าง ก็พื้นที่เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์อ่ะ ใครบังอาจมารบกวนสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ จงออกไป ถ้าไล่ไม่ไปก็สมควรรับโทษทัณฑ์
หากนักมานุษยวิทยาจะทำความเข้าใจสังคมมนุษย์ไทยอย่างถูกต้อง ก็คงจะต้องทำความเข้าใจว่าสังคมผู้ดีไทยเป็นสังคมที่เห็นว่าพื้นที่มีความสำคัญมากกว่าคน ในแง่นี้คงยากที่จะมีนักมานุษยวิทยาที่แท้คนใดสามารถสื่อสารกับสังคมไทยโดยทั่วไปได้รู้เรื่อง เพราะสังคมนี้เจรจาหรือ "คุย" กันเรื่องพื้นที่ ไม่ได้ "คุย" กันเรื่องคน (ส่วนที่จะชอบซุบซิบกันเรื่องคนนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะคนไม่สำคัญเท่าพื้นที่ จึงซุบซิบเอาก็พอแล้ว)
เมื่อผู้ดีเห็นว่าพื้นที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงพลอยทำให้เห็นไปว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของ "สถาบัน" เป็นความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงพื้นที่ไปด้วย วิธีปฏิบัติต่อ "สถาบัน" จึงเป็นวิธีที่ปฏิบัติต่อพื้นที่ คือ ต้องให้ความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ความคิดเช่นนี้ไม่มากก็น้อยย่อมบดบังความสามารถในการเข้าใจความคิดเห็นของไพร่ ไพร่มิได้พยายามทำความเข้าใจเรื่องพื้นที่ แต่ไพร่พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นคนของตน ("ไพร่") และของคนอื่น ๆ
การจำกัดให้ความรักต่อสถาบันมีอยู่เฉพาะในเชิงของความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ย่อมไม่อาจโอบคลุมถึงความรักเคารพในมิติอื่นของความเป็นมนุษย์ "ไพร่" หรือคนเสื้อแดงไม่อาจเอาชนะใจคนไทยได้สำเร็จ เพราะไม่เข้าใจกรอบความคิดที่ครอบงำสังคมวัฒนธรรมไทยอยู่ฉันใด "ผู้ดี"ก็ย่อมไม่อาจเอาชนะใจไพร่ได้ หากไม่เข้าใจความคิดของไพร่ทีี่ให้ความสำคัญกับคนฉันนั้น
สัจธรรมมีอยู่ว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์และตัวมันเอง แต่น่าแปลกใจว่า ทั้ง ๆ ที่ผู้ดีในยุคศอฉ.สามารถใช้ถ้อยคำ ใช้สื่อสาธารณะ และกระทำรุนแรงต่อคู่ขัดแย้งได้ "เนียน" (แต่โหดเหี้ยมมากน้อยกว่ากันหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) กว่าผู้ดีในยุค 6 ตุลาคม 2519 แต่ความเข้าใจต่อคู่ขัดแย้งมิได้พัฒนาให้มีความเข้าใจมากขึ้นหรือถูกต้องไปกว่าเดิมเลย การไม่เข้าใจความรักความเคารพในมิติอื่นที่นอกเหนือไปจากความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ อาจหมายถึงการไม่เข้าใจความเป็นจริงของโลก น่าเสียใจว่า สิ่งมีชีวิตใดมีพัฒนาการไปในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของโลก สิ่งมีชีวิตนั้นอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความพ่ายแพ้ของคนเสื้อแดง และการสูญเสียชีวิตคนไทยด้วยกันเอง เป็นโอกาสอันสำคัญของนักมานุษยวิทยาทั้งมวล ซึ่ีงมีใจกลางของการศึกษาอยู่ที่มนุษย์ จะได้ทำความเข้าใจกับลักษณะที่แท้จริงของสังคมมนุษย์ไทย
คนเสื้อแดงอาจเข้าใจลักษณะสังคมไทยได้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว (จึงทำให้พ่ายแพ้อย่างยับเยิน) กล่าวคือคนเสื้อแดงเข้าใจถูกต้องว่า คู่ความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นคนขัดแย้งระหว่างไพร่ฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่น่าถูกต้องเลย ที่จะมองว่าอีกฝ่ายหนึ่งคืออำมาตย์ เพราะคู่ตรงข้ามของไพร่คือผู้ดี มิใช่อำมาตย์อย่างที่คนเสื้อแดงเข้าใจ
เมื่อคู่ขัดแย้งฝ่ายหนึ่งเป็นไพร่ อีกฝ่ายจึงเพียงแต่ทำตัวเป็นผู้ดี ไพร่ก็ย่อมต่อสู้ด้วยอย่างลำบากยิ่ง ก็เอ็งเป็นไพร่อ่ะ ผู้ดีอย่างพวกเราจะต้องไปเสียเวลาคุยหรือเกลือกกลั้วด้วยทำไม ผู้ดีย่อมมีภาษีเหนือกว่าไพร่วันยันค่ำ คืนย้นรุ่ง
จะเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากอิทธิพลของหนังสือสมบัติผู้ดี หรือเพราะเกิดการเบี่ยงเบนออกจากความหมายที่แท้จริงของหนังสือสมบัติผู้ดี หรือแม้แต่จะไม่เกี่ยวอะไรเลยกับหนังสือสมบัติผู้ดีก็ตาม สังคมการเมืองไทยปัจจุบันย่อมเห็นว่า ผู้ดีคือผู้กำความถูกต้องเอาไว้ ไพร่จะมีความถูกต้องชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อยกระดับตนเองเป็นผู้ดีเท่านั้น ปัญหาของไพร่จึงเป็นปัญหาความเหนือกว่าของผู้ดี มิใช่ปัญหาเรื่องอำมาตย์ หรืออำมาตยาธิปไตย แม้ว่าอำมาตย์/อำมาตยาธิปไตยจะเป็นปัญหาก็ตาม
การเคารพสถานที่คือความเป็นผู้ดี การต้องเคารพสถานที่จึงเป็นความถูกต้อง การยึดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงผิด-เป็นการกระทำอย่างไพร่ ๆ คนเสื้่อแดงเข้าใจถูกต้องว่าบริเวณโดยรอบของราชประสงค์/สยามเซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลางของสยามประเทศ) เป็นพื้นที่สำคัญในทางเศรษฐกิจ แต่ความเป็นพื้นที่สำคัญในทางเศรษฐกิจหมายความด้วยว่า เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางเศรษฐกิจด้วย ดังมีผู้เปรียบเทียบกันบ่อย ๆ ว่า ศูนย์การค้าก็คือโบสถ์วิหารของศาสนาบริโภคนิยมในยุคนี้ ที่สาวกสาวิกาทั้งหลายต้องหมั่นเข้าไป "เช่า" หรือที่จริงก็คือ "ซื้อ" เครื่องรางของขลังประจำศาสนา (คือสินค้านานาชนิด) มาไว้ใช้สอยบูชาประจำตัว "โบสถ์วิหาร" ในบริเวณนี้ศักดิ์สิทธิ์เพียงใด ย่อมสะท้อนให้เห็นได้จากการมีเทพหรือมหาเทพฝ่ายฮินดูมาสถิตย์เป็นมิ่งเป็นขวัญประจำสถานที่เป็นจำนวนมาก กล่าวกันในหมู่ซินแสภูมิสถานทั้งหลายว่า ถ้ามิใช่พื้นที่/ตลาด/ศูนย์การค้าใหญ่ ๆ แล้ว ตั้งบูชาได้ก็แต่พระภูมิเจ้าที่เท่านั้น มิบังควรจะตั้งศาลพระพรหมเด็ดขาด ไหว้ไม่ถึง บูชาไม่ถึงหรอก โดยนัยนี้ บริเวณสยามเซ็นเตอร์/ราชประสงค์จึงศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
และไม่เพียง "โบสถ์วิหาร" ของศาสนาบริโภคนิยมจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเท่านั้น โรงพยาบาลก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะเป็นสถานที่ให้ผู้ดีได้อำนวยการรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสถานที่ีแห่งการแสดงทาน/เมตตาบารมี
การยึดหรือบุกเข้าไปสำรวจสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการกระทำที่ "อุกอาจ" ยิ่งนัก ในสายตาของผู้ดีไทย การยึดพื้นที่เยี่ยงนี้จึงชึ้ถึงความอ่อนด้อยของคนเสื้อแดงในการเข้าใจกระแสความคิดที่ครอบงำสังคมไทย
วัฒนธรรมผู้ดีไทยเห็นว่าพื้นที่เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงยิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไปอีก ศูนย์ที่เอะอะอ้างเอาแต่ความฉุกเฉินเฉพาะหน้า (ศอฉ) จึงไม่ต่างจากผู้ดีทั้งหลาย และจึงคอยตอกย้ำว่า พื้นที่ในสังคมวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ศอฉ.จึงขอคืนพื้นที่บ้าง ขอกระชับพื้นที่บ้าง ก็พื้นที่เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์อ่ะ ใครบังอาจมารบกวนสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ จงออกไป ถ้าไล่ไม่ไปก็สมควรรับโทษทัณฑ์
หากนักมานุษยวิทยาจะทำความเข้าใจสังคมมนุษย์ไทยอย่างถูกต้อง ก็คงจะต้องทำความเข้าใจว่าสังคมผู้ดีไทยเป็นสังคมที่เห็นว่าพื้นที่มีความสำคัญมากกว่าคน ในแง่นี้คงยากที่จะมีนักมานุษยวิทยาที่แท้คนใดสามารถสื่อสารกับสังคมไทยโดยทั่วไปได้รู้เรื่อง เพราะสังคมนี้เจรจาหรือ "คุย" กันเรื่องพื้นที่ ไม่ได้ "คุย" กันเรื่องคน (ส่วนที่จะชอบซุบซิบกันเรื่องคนนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะคนไม่สำคัญเท่าพื้นที่ จึงซุบซิบเอาก็พอแล้ว)
เมื่อผู้ดีเห็นว่าพื้นที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงพลอยทำให้เห็นไปว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของ "สถาบัน" เป็นความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงพื้นที่ไปด้วย วิธีปฏิบัติต่อ "สถาบัน" จึงเป็นวิธีที่ปฏิบัติต่อพื้นที่ คือ ต้องให้ความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ความคิดเช่นนี้ไม่มากก็น้อยย่อมบดบังความสามารถในการเข้าใจความคิดเห็นของไพร่ ไพร่มิได้พยายามทำความเข้าใจเรื่องพื้นที่ แต่ไพร่พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นคนของตน ("ไพร่") และของคนอื่น ๆ
การจำกัดให้ความรักต่อสถาบันมีอยู่เฉพาะในเชิงของความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ย่อมไม่อาจโอบคลุมถึงความรักเคารพในมิติอื่นของความเป็นมนุษย์ "ไพร่" หรือคนเสื้อแดงไม่อาจเอาชนะใจคนไทยได้สำเร็จ เพราะไม่เข้าใจกรอบความคิดที่ครอบงำสังคมวัฒนธรรมไทยอยู่ฉันใด "ผู้ดี"ก็ย่อมไม่อาจเอาชนะใจไพร่ได้ หากไม่เข้าใจความคิดของไพร่ทีี่ให้ความสำคัญกับคนฉันนั้น
สัจธรรมมีอยู่ว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์และตัวมันเอง แต่น่าแปลกใจว่า ทั้ง ๆ ที่ผู้ดีในยุคศอฉ.สามารถใช้ถ้อยคำ ใช้สื่อสาธารณะ และกระทำรุนแรงต่อคู่ขัดแย้งได้ "เนียน" (แต่โหดเหี้ยมมากน้อยกว่ากันหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) กว่าผู้ดีในยุค 6 ตุลาคม 2519 แต่ความเข้าใจต่อคู่ขัดแย้งมิได้พัฒนาให้มีความเข้าใจมากขึ้นหรือถูกต้องไปกว่าเดิมเลย การไม่เข้าใจความรักความเคารพในมิติอื่นที่นอกเหนือไปจากความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ อาจหมายถึงการไม่เข้าใจความเป็นจริงของโลก น่าเสียใจว่า สิ่งมีชีวิตใดมีพัฒนาการไปในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของโลก สิ่งมีชีวิตนั้นอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่จอดรถ"สุวรรณภูมิ"ฉาวอีก ทอท.ส่อชวดรายได้สัมปทาน300ล้าน/ปี
ประชาชาติธุรกิจ
ชำแหละธุรกิจ "ลานจอดรถสุวรรณภูมิ" เอกชนทึ้งกันแหลก หลังยกสัมปทานพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตรให้ "บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด" คุมผลประโยชน์เก็บเงินสดค่าบริการปีละกว่า 300 ล้านบาท ผ่านมา 4 เดือน ทอท.ไม่ได้รับเงินสักแดง ต้องใช้วิธียื่นหนังสือถึงแบงก์กสิกรไทยหักเงินค้ำประกันได้แค 66 ล้านบาท แถมเป็นคดีความฟ้องร้องกันนัว
นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเมื่อ 6 กันยายน 2553 ให้ฝ่ายบริหารยกเลิกสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิในพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาด 62,380.50 ตารางเมตร รวมทั้งจะเร่งสะสางพื้นที่ทำรายได้กิจกรรมเชิงพาณิชย์บริเวณอื่นเป็นรายโครงการ และอาจพิจารณาไปถึงปัญหาบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เจ้าของสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่รวมกว่า 1.6 แสนตารางเมตร
หลังแต่งตั้งบอร์ด 2 คน คือ นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.แทนนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. โดยเพิ่มนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ เข้าไปเป็นกรรมการชุดนี้ด้วย มีผลทันที 7 กันยายน 2553 เป็นต้นไป
แหล่งข่าวระดับสูงจาก ทอท.เปิดเผยว่า ขุมทรัพย์ผลประโยชน์พื้นที่ลานจอดรถสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาดใหญ่สุดปัจจุบันอยู่บริเวณอาคารเอและบีรวม 12 ชั้น พื้นที่ทั้งหมด 160,000 ตารางเมตร ช่วงเปิดสนามบินปีแรก ทอท.บริหารจัดการเองสามารถเก็บค่าบริการเป็นเงินสดได้เฉลี่ยวันละ 8 แสนบาท-1 ล้านบาท เดือนละ 28-30 ล้านบาท ปีละประมาณ 300-360 ล้านบาท แต่เมื่อกุมภาพันธ์ 2553 ได้เปิดประมูลให้สัมปทานแก่บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาบริหารจัดการลานจอดรถ ดังกล่าว เริ่ม 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป เป็นเวลา 5 ปี จ่ายผลตอบแทนเป็นค่าเช่าพื้นที่ 20 บาท/ตารางเมตร ประมาณเดือนละ 3.2 ล้านบาท และค่าส่วนแบ่งรายได้เฉลี่ยขั้นต่ำเดือนละ 15.7 ล้านบาท
ผลปรากฏว่าตั้งแต่ได้สัมปทานบริหารลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร โดยบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาดำเนินธุรกิจเก็บเงินสดจากผู้โดยสารและพนักงานที่นำรถมาจอดในสุวรรณภูมิทุกวัน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา พฤษภาคม-กันยายนนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้ ทอท.แม้แต่เดือนเดียว มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท สร้างความเสียหายแก่องค์กรเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายบริหารและบอร์ดไม่ได้เข้าจัดการอย่างจริงจัง
ล่าสุดเมื่อ 26 สิงหาคม 2553 กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท.ได้ทำหนังสือพร้อมกับแนบเอกสารร้องเรียนของนายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ส่งถึงปลัดกระทรวงคมนาคม (นาย สุพจน ทรัพย์ล้อม) อ้างได้สิทธิเป็นผู้ลงนามสัญญาในฐานะบริษัทเจ้าของสัมปทาน ลานจอดรถอาคารเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ถูกนายธรรศ พจนประพันธ์ กรรมการอีกคนนำบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาแย่งจัดเก็บค่าบริการลานจอดรถจากลูกค้า และบุกรุกเข้าไปยังสำนักงาน ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ ละเมิดสิทธิ์และสร้างความ เสียหาย จึงได้ยื่นฟ้องแพ่งเป็นเงิน 50 ล้านบาท เพราะตั้งแต่ 30 เมษายน-30 กรกฎาคม 2553 ได้ร้องเรียนไปยังนายนิรันดร์ ธีรนาทสิน ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิมาตลอด
พร้อมทั้งกล่าวหาว่า ระหว่างที่หุ้นส่วน 2 คนของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด คือนายธนกฤต กับนายธรรศ พจนประพันธ์ มีเรื่องขัดแย้งกันถึงขั้นอีกฝ่ายพกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่เขตพิเศษของ ทอท. นายนิรันดร์ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายกลับปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดกันขึ้น เนื้อหาโดยสรุประบุเป็นเหตุให้จัดเก็บเงินส่ง ทอท.ไม่ได้
หลังจากนั้นนายธรรศ พจนประพันธ์ ยังได้ทำหนังสือขอให้นายนิรันดร์กับนางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ระงับการจ่ายเงินค่าหลักประกันซอง 20 ล้านบาท ผู้บริหารทั้ง 2 คนกลับมีคำสั่ง เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว ดังนั้นนายธนกฤตจึงฟ้องต่อศาลว่า นายนิรันดร์ ผอ.สุวรรณภูมิ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกประเด็น
จากนั้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2553 นายนิรันดร์ได้มีหนังสือไปถึงธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสยามสแควร์ แจ้งให้ธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือเลขที่ 53-42-00008-0 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกัน ทอท. ด้วยเหตุผลที่ว่า บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจ เมนท์ จำกัด ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ที่ได้สัมปทานบริหารจัดการลานจอดรถอาคารเอและบี วงเงินรวมประมาณ 64,789,921.47 บาท พร้อมค่าปรับผิดนัดชำระเงินอีก 2,138,389.36 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66,928,310.83 บาท ต่อมาธนาคารกสิกรไทยได้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่ ทอท. เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553
นายธนกฤตยังอ้างอีกว่า ทอท.ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวได้ เพราะสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการอาคารจอดรถเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนค้างชำระจากเงินค้ำประกันสัญญาดังกล่าวได้เลย พร้อมทั้งอ้างข้อกล่าวหาว่า นายนิรันดร์ถูกฟ้องจากตนถึงการกระทำโดยเจตนาทุจริตต่อกรณีดังกล่าว
รวมถึงได้ยกเหตุผลเรื่องที่นายนิรันดร์ทราบเป็นอย่างดีว่า ตั้งแต่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นมา บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ ทอท.แต่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่ได้ทำสัญญาไว้ เพราะมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในปาร์คกิ้งและ ทอท.ไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ด้วย จึงเข้าไปเก็บเงินไม่ได้เลย
ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทกับกรมทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็น กลุ่มเดียวกัน มีผู้ถือหุ้นหลักคือ นายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับ น.ส.ฤชอร จันทรศุภาวงศ์
บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 22 กรกฎาคม 2545 ผลการดำเนินงานปี 2552 มีรายได้ 5,026,416.03 บาท กำไรสุทธิ 1,593,902.38 บาท ส่วนบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 31 มีนาคม 2553 จากนั้น เมื่อ 30 เมษายน 2553 ก็ลงนามเป็นคู่สัญญาได้สัมปทานเข้าบริหารลานจอดรถในสุวรรณภูมิจาก ทอท.
กรณีดังกล่าวมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาอนุมัติสัมปทานลานจอดรถของ ทอท.ในสุวรรณภูมิซึ่งมี พื้นที่มหาศาลและเกี่ยวข้องกับเงินสดที่จัดเก็บจากผู้นำรถมาจอดคิดเป็นรายได้วันละเกือบ 1 ล้านบาทนั้น เพราะเหตุใดจึงเกิดข้อพิพาทและมีปัญหาซับซ้อนปรากฏ โดยที่ ทอท. เสียหายทั้งภาพลักษณ์และผลประกอบการอันเป็นผลมาจากการให้สัมปทานบริษัทที่มีปัญหาเข้ามาดำเนินการนานถึง 5 ปี
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และนายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ตอบคำถามนี้หลายครั้ง โดยระบุเหตุผลเหมือนกันคือ จะดูแลบริษัทคู่สัญญาของ ทอท.เป็นหลัก ไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งภายใน 2 บริษัทนี้ ถึงแม้จะมีบริษัทหนึ่งเป็นคู่สัญญาที่สร้างความเสียหายก็ตาม
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้บริษัท ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น (SSE) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยระบุจะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด พร้อมทั้งจะเพิ่มทุนจาก 5 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท ซึ่งก่อนและหลังเพิ่มทุนสัดส่วน ที่ร่วมถือหุ้นในบริษัทจะเปลี่ยนไป ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น 55% ต่อไปจะเหลือ 35% บริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด 40% หลังเพิ่มทุนจะเหลือ 5% นาย ธนกฤต เจตกิตติโชค 5% มีผู้ถือรายใหม่ เข้ามาร่วมคือ บริษัท อควา จำกัด 16.67% บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง 16.67% ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น 12.5% นายธีรพงษ์ บุญศรี 12.5% ประกาศใช้เงินทุนหมุนเวียนชำระเงินทุนภายในกรกฎาคมที่ผ่านมา
****************************************************
ชำแหละธุรกิจ "ลานจอดรถสุวรรณภูมิ" เอกชนทึ้งกันแหลก หลังยกสัมปทานพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตรให้ "บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด" คุมผลประโยชน์เก็บเงินสดค่าบริการปีละกว่า 300 ล้านบาท ผ่านมา 4 เดือน ทอท.ไม่ได้รับเงินสักแดง ต้องใช้วิธียื่นหนังสือถึงแบงก์กสิกรไทยหักเงินค้ำประกันได้แค 66 ล้านบาท แถมเป็นคดีความฟ้องร้องกันนัว
นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเมื่อ 6 กันยายน 2553 ให้ฝ่ายบริหารยกเลิกสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิในพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาด 62,380.50 ตารางเมตร รวมทั้งจะเร่งสะสางพื้นที่ทำรายได้กิจกรรมเชิงพาณิชย์บริเวณอื่นเป็นรายโครงการ และอาจพิจารณาไปถึงปัญหาบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เจ้าของสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่รวมกว่า 1.6 แสนตารางเมตร
หลังแต่งตั้งบอร์ด 2 คน คือ นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.แทนนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. โดยเพิ่มนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ เข้าไปเป็นกรรมการชุดนี้ด้วย มีผลทันที 7 กันยายน 2553 เป็นต้นไป
แหล่งข่าวระดับสูงจาก ทอท.เปิดเผยว่า ขุมทรัพย์ผลประโยชน์พื้นที่ลานจอดรถสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาดใหญ่สุดปัจจุบันอยู่บริเวณอาคารเอและบีรวม 12 ชั้น พื้นที่ทั้งหมด 160,000 ตารางเมตร ช่วงเปิดสนามบินปีแรก ทอท.บริหารจัดการเองสามารถเก็บค่าบริการเป็นเงินสดได้เฉลี่ยวันละ 8 แสนบาท-1 ล้านบาท เดือนละ 28-30 ล้านบาท ปีละประมาณ 300-360 ล้านบาท แต่เมื่อกุมภาพันธ์ 2553 ได้เปิดประมูลให้สัมปทานแก่บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาบริหารจัดการลานจอดรถ ดังกล่าว เริ่ม 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป เป็นเวลา 5 ปี จ่ายผลตอบแทนเป็นค่าเช่าพื้นที่ 20 บาท/ตารางเมตร ประมาณเดือนละ 3.2 ล้านบาท และค่าส่วนแบ่งรายได้เฉลี่ยขั้นต่ำเดือนละ 15.7 ล้านบาท
ผลปรากฏว่าตั้งแต่ได้สัมปทานบริหารลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร โดยบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาดำเนินธุรกิจเก็บเงินสดจากผู้โดยสารและพนักงานที่นำรถมาจอดในสุวรรณภูมิทุกวัน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา พฤษภาคม-กันยายนนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้ ทอท.แม้แต่เดือนเดียว มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท สร้างความเสียหายแก่องค์กรเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายบริหารและบอร์ดไม่ได้เข้าจัดการอย่างจริงจัง
ล่าสุดเมื่อ 26 สิงหาคม 2553 กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท.ได้ทำหนังสือพร้อมกับแนบเอกสารร้องเรียนของนายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ส่งถึงปลัดกระทรวงคมนาคม (นาย สุพจน ทรัพย์ล้อม) อ้างได้สิทธิเป็นผู้ลงนามสัญญาในฐานะบริษัทเจ้าของสัมปทาน ลานจอดรถอาคารเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ถูกนายธรรศ พจนประพันธ์ กรรมการอีกคนนำบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาแย่งจัดเก็บค่าบริการลานจอดรถจากลูกค้า และบุกรุกเข้าไปยังสำนักงาน ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ ละเมิดสิทธิ์และสร้างความ เสียหาย จึงได้ยื่นฟ้องแพ่งเป็นเงิน 50 ล้านบาท เพราะตั้งแต่ 30 เมษายน-30 กรกฎาคม 2553 ได้ร้องเรียนไปยังนายนิรันดร์ ธีรนาทสิน ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิมาตลอด
พร้อมทั้งกล่าวหาว่า ระหว่างที่หุ้นส่วน 2 คนของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด คือนายธนกฤต กับนายธรรศ พจนประพันธ์ มีเรื่องขัดแย้งกันถึงขั้นอีกฝ่ายพกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่เขตพิเศษของ ทอท. นายนิรันดร์ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายกลับปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดกันขึ้น เนื้อหาโดยสรุประบุเป็นเหตุให้จัดเก็บเงินส่ง ทอท.ไม่ได้
หลังจากนั้นนายธรรศ พจนประพันธ์ ยังได้ทำหนังสือขอให้นายนิรันดร์กับนางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ระงับการจ่ายเงินค่าหลักประกันซอง 20 ล้านบาท ผู้บริหารทั้ง 2 คนกลับมีคำสั่ง เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว ดังนั้นนายธนกฤตจึงฟ้องต่อศาลว่า นายนิรันดร์ ผอ.สุวรรณภูมิ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกประเด็น
จากนั้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2553 นายนิรันดร์ได้มีหนังสือไปถึงธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสยามสแควร์ แจ้งให้ธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือเลขที่ 53-42-00008-0 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกัน ทอท. ด้วยเหตุผลที่ว่า บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจ เมนท์ จำกัด ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ที่ได้สัมปทานบริหารจัดการลานจอดรถอาคารเอและบี วงเงินรวมประมาณ 64,789,921.47 บาท พร้อมค่าปรับผิดนัดชำระเงินอีก 2,138,389.36 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66,928,310.83 บาท ต่อมาธนาคารกสิกรไทยได้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่ ทอท. เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553
นายธนกฤตยังอ้างอีกว่า ทอท.ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวได้ เพราะสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการอาคารจอดรถเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนค้างชำระจากเงินค้ำประกันสัญญาดังกล่าวได้เลย พร้อมทั้งอ้างข้อกล่าวหาว่า นายนิรันดร์ถูกฟ้องจากตนถึงการกระทำโดยเจตนาทุจริตต่อกรณีดังกล่าว
รวมถึงได้ยกเหตุผลเรื่องที่นายนิรันดร์ทราบเป็นอย่างดีว่า ตั้งแต่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นมา บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ ทอท.แต่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่ได้ทำสัญญาไว้ เพราะมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในปาร์คกิ้งและ ทอท.ไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ด้วย จึงเข้าไปเก็บเงินไม่ได้เลย
ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทกับกรมทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็น กลุ่มเดียวกัน มีผู้ถือหุ้นหลักคือ นายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับ น.ส.ฤชอร จันทรศุภาวงศ์
บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 22 กรกฎาคม 2545 ผลการดำเนินงานปี 2552 มีรายได้ 5,026,416.03 บาท กำไรสุทธิ 1,593,902.38 บาท ส่วนบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 31 มีนาคม 2553 จากนั้น เมื่อ 30 เมษายน 2553 ก็ลงนามเป็นคู่สัญญาได้สัมปทานเข้าบริหารลานจอดรถในสุวรรณภูมิจาก ทอท.
กรณีดังกล่าวมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาอนุมัติสัมปทานลานจอดรถของ ทอท.ในสุวรรณภูมิซึ่งมี พื้นที่มหาศาลและเกี่ยวข้องกับเงินสดที่จัดเก็บจากผู้นำรถมาจอดคิดเป็นรายได้วันละเกือบ 1 ล้านบาทนั้น เพราะเหตุใดจึงเกิดข้อพิพาทและมีปัญหาซับซ้อนปรากฏ โดยที่ ทอท. เสียหายทั้งภาพลักษณ์และผลประกอบการอันเป็นผลมาจากการให้สัมปทานบริษัทที่มีปัญหาเข้ามาดำเนินการนานถึง 5 ปี
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และนายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ตอบคำถามนี้หลายครั้ง โดยระบุเหตุผลเหมือนกันคือ จะดูแลบริษัทคู่สัญญาของ ทอท.เป็นหลัก ไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งภายใน 2 บริษัทนี้ ถึงแม้จะมีบริษัทหนึ่งเป็นคู่สัญญาที่สร้างความเสียหายก็ตาม
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้บริษัท ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น (SSE) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยระบุจะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด พร้อมทั้งจะเพิ่มทุนจาก 5 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท ซึ่งก่อนและหลังเพิ่มทุนสัดส่วน ที่ร่วมถือหุ้นในบริษัทจะเปลี่ยนไป ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น 55% ต่อไปจะเหลือ 35% บริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด 40% หลังเพิ่มทุนจะเหลือ 5% นาย ธนกฤต เจตกิตติโชค 5% มีผู้ถือรายใหม่ เข้ามาร่วมคือ บริษัท อควา จำกัด 16.67% บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง 16.67% ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น 12.5% นายธีรพงษ์ บุญศรี 12.5% ประกาศใช้เงินทุนหมุนเวียนชำระเงินทุนภายในกรกฎาคมที่ผ่านมา
****************************************************
วิกฤตการเมือง จบที่"ปรองดอง"
ข่าวสดรายวัน
อุณหภูมิการเมืองปรับตัวลดลงทันที
เมื่อนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาแถลง 5 แนวทางปรองดอง เสนอต่อรัฐบาล
1. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการพูดจาหารือ แลกเปลี่ยนความคิด และความเชื่อระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันอย่างสันติวิธี
2. พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าความสงบ สามัคคี และความเป็นชาติจะกลับคืนมาได้ด้วยการที่ทุกฝ่ายให้อภัยซึ่งกันและกัน และตกลงว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เสมอภาคและมีความยุติธรรม โดยอาจจะพัฒนาจากคำพูดไปเป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งจากในอดีตที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติก็ต้องแก้ไขด้วยรูปแบบนี้
3. พรรคเพื่อไทย ขอเชิญชวนให้ทุกหมู่เหล่าหลีกเลี่ยงและละเว้นจากการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะจากวาจา การกระทำ หรือการใช้กฎหมายที่เกินความเหมาะสม
4. พรรคเพื่อไทยขอน้อมถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และให้ปวงชนทุกหมู่เทิดทูนถวายพระเกียรติ
5. พรรคเพื่อไทยหวังและเชื่อว่าจุดยืนและสัจจะวาจาของเราครั้งนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อความสงบได้คลายวิตก และเริ่มกระบวนการสมานฉันท์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการศึกษาใดๆ ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีก
"แถลงการณ์ฉบับนี้ถือว่าเป็นทั้งการทอดสันถวไมตรี และเป็นการยื่นคำขาดไปในตัว"
"หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากคนในรัฐบาลก็ต้องบอกว่าตัวใครตัวมัน เพราะเรียมก็เหลือทนแล้วเหมือนกัน"
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนท่าทีของพรรคเพื่อไทยจากหน้ามือเป็นหลังมือครั้งนี้
ถึงจะได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายฝ่ายในสังคมที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมายืดเยื้อยาวนานหลายปี
แต่ภายในพรรคประชาธิปัตย์แม้ปากจะบอกว่าเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุน แต่ในใจก็ยังมีความหวาดระแวงอยู่ไม่น้อยจนไม่กล้าผลีผลามตอบรับแนวทางปรองดองทั้ง 5 ข้อ
เพราะไม่รู้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมาไม้ไหน
+++++++++++++++++++
การเงียบหายไปในระยะหลังของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นกังวลเพราะไม่รู้ว่ากำลังแอบซุ่มวางแผนเคลื่อนไหวอะไรอีกหรือไม่
ส่งผลให้บรรดาลิ่วล้อพรรคประชาธิปัตย์ต้องออกมาปล่อยข่าวยุแหย่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังป่วยหนักทรุดโทรมถึงขั้นใกล้ตาย บางครั้งก็ลือกันหนักถึงขั้นว่าตายไปแล้วด้วยซ้ำ
เพื่อล่อให้พ.ต.ท.ทักษิณต้องแสดงตัวออกมา
เพราะเชื่อว่าถึงอย่างไรศัตรูในที่สว่างน่าจะอันตรายน้อยกว่าศัตรูในที่มืด
ซึ่งปรากฏว่าแผนล่อเสือออกจากถ้ำของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ได้ผล
พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกบดานอยู่นานได้กลับมาส่งทวิตเตอร์ถึงบรรดาแฟนคลับในไทยอีกครั้ง พร้อมทั้งเปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์ ล่าสุดคือมติชน-ข่าวสด
ประเด็นหลักๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการสื่อถึงแฟนคลับและรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
อย่างแรกคือการยืนยันว่าไม่ได้ล้มป่วย แต่ที่หายหน้าหายตาไปเพราะต้องเอาเวลาไปทำธุรกิจเหมืองเพชรพลอยที่เริ่มต้นลงทุนไว้หลายแห่งในประเทศแถบแอฟริกา
ที่สำคัญอย่างที่สองคือเพื่อแสดงเจตนาให้เห็นว่าต้องการให้ประเทศชาติเกิดความปรองดองอย่างแท้จริง
ถึงแม้พ.ต.ท.ทักษิณ จะปฏิเสธไม่ได้เป็นคนส่งสัญญาณให้นายปลอดประสพ ออกมาแถลงแนวทางการปรองดองทั้ง 5 ข้อที่เสนอแนะต่อรัฐบาล
แต่ในความเป็นจริงใครต่อใครต่างรู้ดีว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
จึงเป็นไปไม่ได้ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่รู้ไม่เห็นกับแนวทางปรองดองทั้ง 5 ข้อ
นอกจากนี้บทบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีอิทธิพลไปถึงการจัดทัพปรับเปลี่ยนโครงสร้างล่าสุดของพรรคเพื่อไทยอีกด้วย
เพราะทันทีที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ แถลงลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็มีข่าวแพร่สะพัดออกมาว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ติดต่อทาบทามพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เข้ามาทำหน้าที่แทนเรียบร้อยแล้ว
เพียงแต่ยังต้องรอผ่านพิธีกรรมการรับรองจากที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรควันที่ 14 ก.ย.นี้เท่านั้น
+++++++++++++++++++++++++
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผบ.ตร.ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ
ในช่วงปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 พล.ต.ท.โกวิท ถึงจะเป็นเพื่อนร่วมรุ่น "ตท.6" แต่ก็ถือเป็น "แกะดำ" ในหมู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช.
หลังจบเส้นทางราชการ ชีวิตก็พลิกผันเข้าสู่การเมือง ได้เป็นรองนายกฯ ควบเก้าอี้รมว.มหาดไทย ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และกลับเข้ามาเป็นรมว.มหาดไทยอีกครั้งในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
หลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล ชื่อพล.ต.อ.โกวิท จึงเงียบหายไป
กล่าวกันว่าด้วยสาเหตุที่พล.ต.อ.โกวิท เคยรับราชการเป็นตำรวจตระเวนชายแดนมานานกว่า 27 ปี คือเครื่องการันตีถึงความจงรักภักดีว่าไม่เป็นสองรองใคร
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว พล.ต.อ.โกวิท จึงเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการทาบทามเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เหนือกว่าพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
สถานการณ์มีส่วนคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ดึงเอานายสมัคร สุนทรเวช แทนที่จะเป็นพล.อ.ชวลิต เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน จนประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเดือนธ.ค.2550
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่สังคมต้องติดตามต่อไปว่าแผนปรองดอง 5 ข้อ
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และจังหวะการถอยของพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งยังผ่านการสร้างสรรค์จากบุคคลในแวดวงการเมืองทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงทูตต่างประเทศอีก 4-5 ประเทศ
จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
แต่ก็ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะยุติปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง
ซึ่งทุกฝ่ายในสังคมควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง
**********************************************************************
อุณหภูมิการเมืองปรับตัวลดลงทันที
เมื่อนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาแถลง 5 แนวทางปรองดอง เสนอต่อรัฐบาล
1. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการพูดจาหารือ แลกเปลี่ยนความคิด และความเชื่อระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันอย่างสันติวิธี
2. พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าความสงบ สามัคคี และความเป็นชาติจะกลับคืนมาได้ด้วยการที่ทุกฝ่ายให้อภัยซึ่งกันและกัน และตกลงว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เสมอภาคและมีความยุติธรรม โดยอาจจะพัฒนาจากคำพูดไปเป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งจากในอดีตที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติก็ต้องแก้ไขด้วยรูปแบบนี้
3. พรรคเพื่อไทย ขอเชิญชวนให้ทุกหมู่เหล่าหลีกเลี่ยงและละเว้นจากการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะจากวาจา การกระทำ หรือการใช้กฎหมายที่เกินความเหมาะสม
4. พรรคเพื่อไทยขอน้อมถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และให้ปวงชนทุกหมู่เทิดทูนถวายพระเกียรติ
5. พรรคเพื่อไทยหวังและเชื่อว่าจุดยืนและสัจจะวาจาของเราครั้งนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อความสงบได้คลายวิตก และเริ่มกระบวนการสมานฉันท์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการศึกษาใดๆ ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีก
"แถลงการณ์ฉบับนี้ถือว่าเป็นทั้งการทอดสันถวไมตรี และเป็นการยื่นคำขาดไปในตัว"
"หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากคนในรัฐบาลก็ต้องบอกว่าตัวใครตัวมัน เพราะเรียมก็เหลือทนแล้วเหมือนกัน"
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนท่าทีของพรรคเพื่อไทยจากหน้ามือเป็นหลังมือครั้งนี้
ถึงจะได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายฝ่ายในสังคมที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมายืดเยื้อยาวนานหลายปี
แต่ภายในพรรคประชาธิปัตย์แม้ปากจะบอกว่าเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุน แต่ในใจก็ยังมีความหวาดระแวงอยู่ไม่น้อยจนไม่กล้าผลีผลามตอบรับแนวทางปรองดองทั้ง 5 ข้อ
เพราะไม่รู้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมาไม้ไหน
+++++++++++++++++++
การเงียบหายไปในระยะหลังของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นกังวลเพราะไม่รู้ว่ากำลังแอบซุ่มวางแผนเคลื่อนไหวอะไรอีกหรือไม่
ส่งผลให้บรรดาลิ่วล้อพรรคประชาธิปัตย์ต้องออกมาปล่อยข่าวยุแหย่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังป่วยหนักทรุดโทรมถึงขั้นใกล้ตาย บางครั้งก็ลือกันหนักถึงขั้นว่าตายไปแล้วด้วยซ้ำ
เพื่อล่อให้พ.ต.ท.ทักษิณต้องแสดงตัวออกมา
เพราะเชื่อว่าถึงอย่างไรศัตรูในที่สว่างน่าจะอันตรายน้อยกว่าศัตรูในที่มืด
ซึ่งปรากฏว่าแผนล่อเสือออกจากถ้ำของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ได้ผล
พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกบดานอยู่นานได้กลับมาส่งทวิตเตอร์ถึงบรรดาแฟนคลับในไทยอีกครั้ง พร้อมทั้งเปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์ ล่าสุดคือมติชน-ข่าวสด
ประเด็นหลักๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการสื่อถึงแฟนคลับและรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
อย่างแรกคือการยืนยันว่าไม่ได้ล้มป่วย แต่ที่หายหน้าหายตาไปเพราะต้องเอาเวลาไปทำธุรกิจเหมืองเพชรพลอยที่เริ่มต้นลงทุนไว้หลายแห่งในประเทศแถบแอฟริกา
ที่สำคัญอย่างที่สองคือเพื่อแสดงเจตนาให้เห็นว่าต้องการให้ประเทศชาติเกิดความปรองดองอย่างแท้จริง
ถึงแม้พ.ต.ท.ทักษิณ จะปฏิเสธไม่ได้เป็นคนส่งสัญญาณให้นายปลอดประสพ ออกมาแถลงแนวทางการปรองดองทั้ง 5 ข้อที่เสนอแนะต่อรัฐบาล
แต่ในความเป็นจริงใครต่อใครต่างรู้ดีว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
จึงเป็นไปไม่ได้ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่รู้ไม่เห็นกับแนวทางปรองดองทั้ง 5 ข้อ
นอกจากนี้บทบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีอิทธิพลไปถึงการจัดทัพปรับเปลี่ยนโครงสร้างล่าสุดของพรรคเพื่อไทยอีกด้วย
เพราะทันทีที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ แถลงลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็มีข่าวแพร่สะพัดออกมาว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ติดต่อทาบทามพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เข้ามาทำหน้าที่แทนเรียบร้อยแล้ว
เพียงแต่ยังต้องรอผ่านพิธีกรรมการรับรองจากที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรควันที่ 14 ก.ย.นี้เท่านั้น
+++++++++++++++++++++++++
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผบ.ตร.ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ
ในช่วงปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 พล.ต.ท.โกวิท ถึงจะเป็นเพื่อนร่วมรุ่น "ตท.6" แต่ก็ถือเป็น "แกะดำ" ในหมู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช.
หลังจบเส้นทางราชการ ชีวิตก็พลิกผันเข้าสู่การเมือง ได้เป็นรองนายกฯ ควบเก้าอี้รมว.มหาดไทย ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และกลับเข้ามาเป็นรมว.มหาดไทยอีกครั้งในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
หลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล ชื่อพล.ต.อ.โกวิท จึงเงียบหายไป
กล่าวกันว่าด้วยสาเหตุที่พล.ต.อ.โกวิท เคยรับราชการเป็นตำรวจตระเวนชายแดนมานานกว่า 27 ปี คือเครื่องการันตีถึงความจงรักภักดีว่าไม่เป็นสองรองใคร
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว พล.ต.อ.โกวิท จึงเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการทาบทามเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เหนือกว่าพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
สถานการณ์มีส่วนคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ดึงเอานายสมัคร สุนทรเวช แทนที่จะเป็นพล.อ.ชวลิต เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน จนประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเดือนธ.ค.2550
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่สังคมต้องติดตามต่อไปว่าแผนปรองดอง 5 ข้อ
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และจังหวะการถอยของพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งยังผ่านการสร้างสรรค์จากบุคคลในแวดวงการเมืองทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงทูตต่างประเทศอีก 4-5 ประเทศ
จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
แต่ก็ถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะยุติปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง
ซึ่งทุกฝ่ายในสังคมควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง
**********************************************************************
พล.ต.อ.โกวิท ทางรอดเพื่อไทย
ที่มา.บางกอกทูเดย์
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
แกนนำยันคู่แข่งหนุนนั่งหัวหน้าพรรค
ทันทีที่มีข่าวแพร่สะพัดว่าจะมีการแต่งตั้งพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็กลายเป็นกระแสกระหึ่มสังคมการเมืองไทยในทันที
ทุกคนมองว่านี่คือความพยายามที่จะลบล้างข้อครหาความไม่จงรักภักดี และเป็นขบวนการล้มสถาบัน ซึ่งพรรคเพื่อไทยโดนกล่าวหาในเรื่องนี้มาโดยตลอด
หากเป็น พล.ต.อ.โกวิท ข้อกล่าวหาป้ายสีเรื่องสถาบัน ก็น่าจะยุติความคลางแคลงไปได้แน่
เพราะหากมองประวัติของ พล.ต.อ.โกวิท ก็ต้องบอกว่า เป็นการเดินแต้มคูทางการเมืองที่น่าทึ่งจริงๆ
พล.ต.อ.โกวิท นอกจากจะได้รับการการันตีในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันแล้ว ที่ผ่านมาต้องถือว่ามีความตรง มีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง และได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่ตรงไปตรงมาที่สุดคนหนึ่งของวงการสีกากี
ที่สำคัญชีวิตราชการส่วนใหญ่สังกัดตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จึงรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาโดยตลอด
ตั้งแต่สมัยสมเด็จย่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร
เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ ตชด. คือถวายการอารักขาอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ที่ผ่านมาก็ได้รับการยอมรับจากคนในแวดวงสีกากีและสังคมโดยรวม ว่าไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อย แม้ในวันที่ต้องถูกรัฐบาลเผด็จการทหารสั่งย้ายเพราะไม่ยอม ซ้ายหัน ขวาหัน ตามคำสั่ง
แม้ว่าการขึ้นเป็นผบ.ตร.จะอยู่ในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่จริงๆแล้วก็เป็นเพราะอาวุโสสูงสุด และไม่มีเรื่องเสียหาย ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังต้องแต่งตั้งให้เป็นผบ.ตร.
แต่ในช่วงดำรงตำแหน่งผบ.ตร.ในยุคพ.ต.ท. ทักษิณนั้น พล.ต.อ.โกวิท ก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือหรือใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมเพื่อใครทั้งสิ้น
แม้แต่กระทั่งช่วงรัฐประหาร คมช.ขึ้นมามีอำนาจ และ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2549 หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.สุรยุทธ์ ก็สั่งย้ายผบ.ตร.มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ ซึ่งผู้คนในวงการสีกากี ต่างรู้ดีว่า พล.ต.อ.โกวิท เด้งเพราะหัวแข็งเกินไป และตรงเกินไป
ขนาดตอนที่เกิดการปฏิวัติใหม่ๆ มีขั้วอำนาจบางกลุ่มความพยายามเจรจาให้ลดความเข้มในการดำเนินคดีกับม็อบขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ แต่พล.ต.อ.โกวิท ก็ไม่ยอม แถมสั่งให้ดำเนินการไปตามหลักฐานที่ปรากฏอย่างเป็นกลาง และเป็นธรรมที่สุด
สุดท้าย พล.อ.สุรยุทธ์ ก็เลยใช้อำนาจย้ายพล.ต.อ.โกวิท ให้มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้พ้นเก้าอี้ผบ.ตร.อย่างเด็ดขาด แต่คำสั่งดังกล่าวกลายเป็นคำสั่งที่ขัดกับพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เพราะมีบัญญัติไว้ว่าการจะย้ายตำรวจออกนอกหน่วย ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว
พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อปกป้องมิให้ตำรวจถนักการเมืองครอบงำนั่นเอง
และทำให้ พล.ต.อ.โกวิท จึงต้องลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรี ปกป้องหลักการ รวมไปถึงวงการสีกากี เพื่อมิให้นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ ก้าวล่วงเข้ามาอย่างไม่ถูกต้องในอนาคต
แต่ค่อนข้างที่จะเป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยวมาก เพราะแม้แต่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ก็ยังแหยงอำนาจ คมช. จึงอ้อมแอ้มว่านายกฯ น่าที่จะมีอำนาจย้ายผบ.ตร.พ้นตำแหน่งได้
ทำให้ พล.ต.อ.โกวิท เดินหน้าสู้ ด้วยการฟ้องศาลปกครอง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา ทาง พล.อ.สุรยุทธ์ ก็เลยต้องอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองไปยังศาลปกครองสูงสุด
แต่ศาลปกครองสูงสุด ก็ยังคงมีความเห็นสอดคล้องกับศาลปกครอง จนศาลปกครองกลางที่พิจารณาคดีที่พล.ต.อ.โกวิท ฟ้องพล.อ.สุรยุทธ์ เดินหน้ามาใกล้ถึงบทสรุป เมื่อมีคำสั่งให้คู่กรณียื่นเอกสาร และหลักฐานคำร้องครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 กันยายน 2550 ก่อนนัดฟังคำพิพากษา
วันที่ 28 สิงหาคม 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จึงต้องชิงออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งเก่า และเป็นคำสั่งที่ให้มีผลย้อนหลังกลับไปยังวันที่ออกคำสั่งย้าย พล.ต.อ.โกวิทด้วย
เลยทำให้คดีนี้ยุติไปดื้อๆ ส่วน พล.ต.อ.โกวิท ก็จึงยังได้ชื่อว่าเป็นผบ.ตร.จนเกษียณอายุราชการ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ และรมว.มหาดไทย
ดังนั้นหากมองตามคุณสมบัติเช่นนี้ ก็บอกได้ว่า นี่คือการส่งสัญญาณพิเศษเพื่อมุ่งหวังผลในเรื่องปรองดอง โดยอาศัยมือของ พล.ต.อ.โกวิท นั่นเอง
ดังนั้นแม้ว่าช่วงแรกๆในพรรคเพื่อไทยอาจจะงง หรืออาจจะรับมุกไม่ทัน แต่สุดท้ายเสียงขานรับก็ดังกระหึ่ม
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สมาชิกพรรคหลายคนไม่ขัดข้องกับชื่อ พล.ต.อ.โกวิท เพราะเป็นนายตำรวจที่มีความซื่อสัตย์ มีประสบการณ์ในการบริหารองค์กรใหญ่ ซึ่งคนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ตราบใดที่ยังมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องยุบพรรค
ส่วนที่ว่า หาก พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จะเป็นการลดบทบาท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย หรือไม่ พ.อ.อภิวันท์ ชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และต้องการเข้ามาสร้างความปรองดอง รวมถึงแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
พ.อ.อภิวันท์ กล่าวถึงการเดินหน้าสร้างความปรองดองว่า แนวทางการสร้างความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะต้องชี้แจงให้ชัดเจน ว่าความขัดแย้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดจากสาเหตุใด และต้องทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานเดียว นอกจากนี้ การปรองดองจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูในวันที่ 14 ก.ย.ที่จะมีการประชุมพรรค ซึ่งไม่แน่ใจว่าคนที่จะมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรคจะเป็น พล.ต.อ.โกวิท หรือไม่ เพราะทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมพรรคด้วย แต่ส.ส.ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครขัดข้อง
ส่วนที่ว่า คนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ ทางพรรคจะชูให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปหรือไม่นั้น เป็นคนละเรื่องกัน และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำมาหารือกันภายในพรรคอีกครั้ง
และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในฐานะที่เป็นคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ คิดว่า พล.อ.ชวลิตมีปัญหาหรือไม่ หากทางพรรคจะเอา พล.ต.อ.โกวิทมานั่งเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งพ.อ.อภิวันท์ ยืนยันว่า พล.อ.ชวลิตก็ไม่มีปัญหาอะไรที่จะให้พล.ต.อ.โกวิทมานั่งในตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะเชื่อว่าในสถานการณ์การเมืองเช่นนี้จำเป็นต้องหาคนที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้
ดังนั้นจึงเชื่อว่าบรรยากาศทางการเมืองของไทยในอนาคตก็จะดีขึ้นกว่าที่เป็นที่อยู่
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธาน ส.ส.ภาค กทม.พรรคเพื่อไทย ระบุว่า จริงๆแล้วพรรคเพื่อไทยมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคอยู่ตลอด ดังนั้นคนใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำพาพรรคไปสู่เป้าหมายได้ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และสามารถแก้ปัญหาทางการเมืองให้เกิดความปรองดองได้
จึงเชื่อว่า พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หากเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะสามารถทำงานให้กับพรรคได้ เพราะเคยเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ทำงานดูแลปัญหาให้กับประชาชนและข้าราชการมาโดยตลอด
ซึ่งคงต้องรอดูการตัดสินใจของสมาชิกพรรคอีกครั้งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรควันที่ 14 กันยายน อย่างไรก็ตามจากที่เคยร่วมงานกับ พล.ต.อ.โกวิท ในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชนมาก่อน เป็นคนที่พูดอะไร ค่อนข้างเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติหน้าที่ งานไหนไม่ชัดเจนก็ไม่ดำเนินการ เรื่องใดที่รับปากก็จะทำงานให้สำเร็จ
และพล.ต.อ.โกวิท เป็นคนหนึ่งที่คนในกองทัพรู้จัก และมีความสนิทสนมกันมาตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการหยิบมาพิจารณา แต่การที่ พล.ต.อ.โกวิท จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เกี่ยวโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีการติดต่อหรือสั่งการมาที่พรรคแต่อย่างใด
ด้านนายพายัพ ชินวัตร ประธาน ส.ส. ภาคอีสาน กล่าวแค่ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องที่พรรคจะพิจารณาเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนหากมีการเสนอชื่อ พล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนตัวเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสม และคงไม่มีปัญหาอะไร
รวมทั้งนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยอมรับว่า ไม่ทราบรายละเอียดการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่จากข่าวและทวิตเตอร์ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าจะเป็นการส่งสัญญาณในการสร้างความปรองดอง และน่าจะทำให้พรรคมีความเป็นระบบมากขึ้น
แต่ผู้ที่จะเป็นหัวหน้าพรรค เมื่อไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมากนัก ก็ต้องให้หลายฝ่ายเข้ามาช่วยทำงาน ไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
และที่สำคัญพรรคเพื่อไทย ต้องปรับโครงสร้าง ปรับนโยบายให้เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งต้องรักษาบทบาทการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยต้องไม่ให้กลุ่มคนเสื้อแดงสั่งพรรคได้ เพราะจะสูญเสียความเข้มแข็งของพรรคไป แต่ขณะเดียวกัน พรรคต้องไม่ทิ้งการต่อสู้ของประชาชนแบบสันติวิธี ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญระหว่างพรรค และกลุ่มคนเสื้อแดง จึงเป็นเรื่องยากพอสมควร
นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากการหารือกันนอกรอบระหว่างส.ส.ในภาคต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานได้เห็นตรงกันว่า เมื่อมีสัญญานมาว่ามีชื่อของพล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็เท่ากับว่า ส.ส.ในพรรคต้องฟังสัญญานนี้ เพราะน่าจะมีการมองถึงการแก้ปัญหาทั้งในเรื่องภาพลักษณ์ของพรรคที่ถูกโจมตี
รวมทั้งการเตรียมเรื่องการปรองดองและเตรียมเลือกตั้งในอนาคต
จึงคาดว่าในวันอังคารที่ 14 กย.ที่จะมีการประชุมวิสามัญพรรค ซึ่งมีวาระพิเศษคือเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ พล.ต.อ.โกวิท น่าจะมาแรงที่สุด คือ ส.ส.ส่วนใหญ่จะโหวตเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแน่นอน
ส่วนรายชื่อบุคคลอื่นในพรรคที่มีส.ส.เสนอหลายคน เช่น พล.อ.ชวลิต นั้น เท่าที่ส.ส.สอบถามไปทางพล.อ.ชวลิต ล่าสุดนั้นได้มีการปฎิเสธว่าจะไม่รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากต้องการเข้ามาอยู่ในพรรคเพื่อไทยเพื่อทำประโยชน์ให้บ้านเมือง
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.)กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยกันในรายละเอียดต้องรอให้พล.ต.อ.โกวิท เข้ามาทำงานในพรรคจริงๆเสียก่อน โดยหลักการปรองดองใดๆ ต้องอยู่บนหลักของความเสมอภาค เท่าเทียม ถามว่าถ้าไม่มีการชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตจะปรองดองอย่างไร
ดังนั้นการปรองดองจะละเลย 91 ศพและผู้บาดเจ็บไม่ได้ จึงไม่ใช่ว่าใครมาเป็นหัวหน้าพรรคแล้วเรื่องเหล่านี้จะไม่มีแล้ว แต่เรื่องคนตายจะยังอยู่เพราะมีผู้บาดเจ็บและล้มตายจริง การปรองดองจึงไม่ใช่ยอมจำนวน ส่วนพรรคการเมืองก็ไม่ใช่การรวมศูนย์แต่รวมความคิดเห็น
“กรณีเสนอชื่อพล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยนั้น เป็นเรื่องของความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ทั้งหมดต้องรอให้มีความชัดเจน โดยพล.ต.อ.โกวิท เข้ามารับตำแหน่งจริงเสียก่อนแล้วค่อยพูดคุยกัน อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าคนที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยมีความจงรักภักดี และพล.ต.อ.โกวิทก็จงรักภักดี”
เพราะเหตุนี้แหละที่แม้แต่พรรคชาติไทยพัฒนา และแกนนำพรรคภูมิใจไทย ยังเชื่อว่าการเปลี่ยนตัว หน.พรรคเพื่อไทย จะส่งผลดีทางการเมือง
อย่างเช่น นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา มองว่า การเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทยน่าจะมีนัยทางการเมือง 2 ประเด็นคือ เตรียมการเลือกตั้งครั้งหน้า หรือ เพื่อสานต่อภารกิจการสร้างความปรองดองในชาติ แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้น่าจะส่งผลดีทางการเมือง เพราะพรรคเพื่อไทยจะได้มีทิศทางและภารกิจที่ชัดเจนมากขึ้นว่า จะมียุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนทางการเมืองอย่างไร
ซึ่งพรรคชาติไทยพัฒนาอยากฝากถึงหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ อย่าละทิ้งภารกิจเรื่องการสร้างความปรองดองในชาติ เพราะปัญหาความแตกแยกในสังคมมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาทางการเมือง ดังนั้นนักการเมืองต้องเป็นคนเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งเรื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความจริงใจจาก 2 พรรคใหญ่
และไม่อยากให้มองว่า ใครเริ่มเดินหน้าเรื่องนี้เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการเมือง เพราะการเอาชนะทิฐิของตัวเองนั้น ถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาพร้อมสนับสนุนกระบวนการนี้ ขณะเดียวกันพร้อมอ้าแขนรับสมาชิกพรรคอื่นที่จะมาร่วมงานการทางการเมืองด้วยกัน เพราะข้อดีของพรรคชาติไทยพัฒนาคือ ไม่เป็นศัตรูกับใคร
แม้แต่จอมกอด อย่างนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ก็ฉวยจังหวะออกมาระบุว่าเป็นความโชคดีของพรรคเพื่อไทยหากได้ พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ เป็นหัวหน้าพรรค เพราะพลตำรวจเอกโกวิท เป็นคนดี และมีความจงภักดีจริง
นี่แหละที่ทำให้ทุกฝ่ายมองว่า เป็นการเลือกหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ละเอียดลึกซึ้ง และเหนือชั้นจริงๆ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
แกนนำยันคู่แข่งหนุนนั่งหัวหน้าพรรค
ทันทีที่มีข่าวแพร่สะพัดว่าจะมีการแต่งตั้งพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็กลายเป็นกระแสกระหึ่มสังคมการเมืองไทยในทันที
ทุกคนมองว่านี่คือความพยายามที่จะลบล้างข้อครหาความไม่จงรักภักดี และเป็นขบวนการล้มสถาบัน ซึ่งพรรคเพื่อไทยโดนกล่าวหาในเรื่องนี้มาโดยตลอด
หากเป็น พล.ต.อ.โกวิท ข้อกล่าวหาป้ายสีเรื่องสถาบัน ก็น่าจะยุติความคลางแคลงไปได้แน่
เพราะหากมองประวัติของ พล.ต.อ.โกวิท ก็ต้องบอกว่า เป็นการเดินแต้มคูทางการเมืองที่น่าทึ่งจริงๆ
พล.ต.อ.โกวิท นอกจากจะได้รับการการันตีในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันแล้ว ที่ผ่านมาต้องถือว่ามีความตรง มีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง และได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่ตรงไปตรงมาที่สุดคนหนึ่งของวงการสีกากี
ที่สำคัญชีวิตราชการส่วนใหญ่สังกัดตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จึงรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาโดยตลอด
ตั้งแต่สมัยสมเด็จย่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร
เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ ตชด. คือถวายการอารักขาอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ที่ผ่านมาก็ได้รับการยอมรับจากคนในแวดวงสีกากีและสังคมโดยรวม ว่าไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อย แม้ในวันที่ต้องถูกรัฐบาลเผด็จการทหารสั่งย้ายเพราะไม่ยอม ซ้ายหัน ขวาหัน ตามคำสั่ง
แม้ว่าการขึ้นเป็นผบ.ตร.จะอยู่ในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่จริงๆแล้วก็เป็นเพราะอาวุโสสูงสุด และไม่มีเรื่องเสียหาย ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังต้องแต่งตั้งให้เป็นผบ.ตร.
แต่ในช่วงดำรงตำแหน่งผบ.ตร.ในยุคพ.ต.ท. ทักษิณนั้น พล.ต.อ.โกวิท ก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือหรือใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมเพื่อใครทั้งสิ้น
แม้แต่กระทั่งช่วงรัฐประหาร คมช.ขึ้นมามีอำนาจ และ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2549 หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.สุรยุทธ์ ก็สั่งย้ายผบ.ตร.มาช่วยราชการที่สำนักนายกฯ ซึ่งผู้คนในวงการสีกากี ต่างรู้ดีว่า พล.ต.อ.โกวิท เด้งเพราะหัวแข็งเกินไป และตรงเกินไป
ขนาดตอนที่เกิดการปฏิวัติใหม่ๆ มีขั้วอำนาจบางกลุ่มความพยายามเจรจาให้ลดความเข้มในการดำเนินคดีกับม็อบขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ แต่พล.ต.อ.โกวิท ก็ไม่ยอม แถมสั่งให้ดำเนินการไปตามหลักฐานที่ปรากฏอย่างเป็นกลาง และเป็นธรรมที่สุด
สุดท้าย พล.อ.สุรยุทธ์ ก็เลยใช้อำนาจย้ายพล.ต.อ.โกวิท ให้มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้พ้นเก้าอี้ผบ.ตร.อย่างเด็ดขาด แต่คำสั่งดังกล่าวกลายเป็นคำสั่งที่ขัดกับพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เพราะมีบัญญัติไว้ว่าการจะย้ายตำรวจออกนอกหน่วย ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว
พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อปกป้องมิให้ตำรวจถนักการเมืองครอบงำนั่นเอง
และทำให้ พล.ต.อ.โกวิท จึงต้องลุกขึ้นมาปกป้องศักดิ์ศรี ปกป้องหลักการ รวมไปถึงวงการสีกากี เพื่อมิให้นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ ก้าวล่วงเข้ามาอย่างไม่ถูกต้องในอนาคต
แต่ค่อนข้างที่จะเป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยวมาก เพราะแม้แต่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ก็ยังแหยงอำนาจ คมช. จึงอ้อมแอ้มว่านายกฯ น่าที่จะมีอำนาจย้ายผบ.ตร.พ้นตำแหน่งได้
ทำให้ พล.ต.อ.โกวิท เดินหน้าสู้ ด้วยการฟ้องศาลปกครอง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา ทาง พล.อ.สุรยุทธ์ ก็เลยต้องอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองไปยังศาลปกครองสูงสุด
แต่ศาลปกครองสูงสุด ก็ยังคงมีความเห็นสอดคล้องกับศาลปกครอง จนศาลปกครองกลางที่พิจารณาคดีที่พล.ต.อ.โกวิท ฟ้องพล.อ.สุรยุทธ์ เดินหน้ามาใกล้ถึงบทสรุป เมื่อมีคำสั่งให้คู่กรณียื่นเอกสาร และหลักฐานคำร้องครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 กันยายน 2550 ก่อนนัดฟังคำพิพากษา
วันที่ 28 สิงหาคม 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จึงต้องชิงออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งเก่า และเป็นคำสั่งที่ให้มีผลย้อนหลังกลับไปยังวันที่ออกคำสั่งย้าย พล.ต.อ.โกวิทด้วย
เลยทำให้คดีนี้ยุติไปดื้อๆ ส่วน พล.ต.อ.โกวิท ก็จึงยังได้ชื่อว่าเป็นผบ.ตร.จนเกษียณอายุราชการ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ และรมว.มหาดไทย
ดังนั้นหากมองตามคุณสมบัติเช่นนี้ ก็บอกได้ว่า นี่คือการส่งสัญญาณพิเศษเพื่อมุ่งหวังผลในเรื่องปรองดอง โดยอาศัยมือของ พล.ต.อ.โกวิท นั่นเอง
ดังนั้นแม้ว่าช่วงแรกๆในพรรคเพื่อไทยอาจจะงง หรืออาจจะรับมุกไม่ทัน แต่สุดท้ายเสียงขานรับก็ดังกระหึ่ม
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สมาชิกพรรคหลายคนไม่ขัดข้องกับชื่อ พล.ต.อ.โกวิท เพราะเป็นนายตำรวจที่มีความซื่อสัตย์ มีประสบการณ์ในการบริหารองค์กรใหญ่ ซึ่งคนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ตราบใดที่ยังมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องยุบพรรค
ส่วนที่ว่า หาก พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จะเป็นการลดบทบาท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย หรือไม่ พ.อ.อภิวันท์ ชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และต้องการเข้ามาสร้างความปรองดอง รวมถึงแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
พ.อ.อภิวันท์ กล่าวถึงการเดินหน้าสร้างความปรองดองว่า แนวทางการสร้างความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะต้องชี้แจงให้ชัดเจน ว่าความขัดแย้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดจากสาเหตุใด และต้องทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานเดียว นอกจากนี้ การปรองดองจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูในวันที่ 14 ก.ย.ที่จะมีการประชุมพรรค ซึ่งไม่แน่ใจว่าคนที่จะมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรคจะเป็น พล.ต.อ.โกวิท หรือไม่ เพราะทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมพรรคด้วย แต่ส.ส.ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครขัดข้อง
ส่วนที่ว่า คนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ ทางพรรคจะชูให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปหรือไม่นั้น เป็นคนละเรื่องกัน และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำมาหารือกันภายในพรรคอีกครั้ง
และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในฐานะที่เป็นคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ คิดว่า พล.อ.ชวลิตมีปัญหาหรือไม่ หากทางพรรคจะเอา พล.ต.อ.โกวิทมานั่งเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งพ.อ.อภิวันท์ ยืนยันว่า พล.อ.ชวลิตก็ไม่มีปัญหาอะไรที่จะให้พล.ต.อ.โกวิทมานั่งในตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะเชื่อว่าในสถานการณ์การเมืองเช่นนี้จำเป็นต้องหาคนที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้
ดังนั้นจึงเชื่อว่าบรรยากาศทางการเมืองของไทยในอนาคตก็จะดีขึ้นกว่าที่เป็นที่อยู่
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธาน ส.ส.ภาค กทม.พรรคเพื่อไทย ระบุว่า จริงๆแล้วพรรคเพื่อไทยมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคอยู่ตลอด ดังนั้นคนใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำพาพรรคไปสู่เป้าหมายได้ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และสามารถแก้ปัญหาทางการเมืองให้เกิดความปรองดองได้
จึงเชื่อว่า พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หากเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะสามารถทำงานให้กับพรรคได้ เพราะเคยเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ทำงานดูแลปัญหาให้กับประชาชนและข้าราชการมาโดยตลอด
ซึ่งคงต้องรอดูการตัดสินใจของสมาชิกพรรคอีกครั้งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรควันที่ 14 กันยายน อย่างไรก็ตามจากที่เคยร่วมงานกับ พล.ต.อ.โกวิท ในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชนมาก่อน เป็นคนที่พูดอะไร ค่อนข้างเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติหน้าที่ งานไหนไม่ชัดเจนก็ไม่ดำเนินการ เรื่องใดที่รับปากก็จะทำงานให้สำเร็จ
และพล.ต.อ.โกวิท เป็นคนหนึ่งที่คนในกองทัพรู้จัก และมีความสนิทสนมกันมาตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการหยิบมาพิจารณา แต่การที่ พล.ต.อ.โกวิท จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เกี่ยวโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีการติดต่อหรือสั่งการมาที่พรรคแต่อย่างใด
ด้านนายพายัพ ชินวัตร ประธาน ส.ส. ภาคอีสาน กล่าวแค่ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องที่พรรคจะพิจารณาเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนหากมีการเสนอชื่อ พล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนตัวเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสม และคงไม่มีปัญหาอะไร
รวมทั้งนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยอมรับว่า ไม่ทราบรายละเอียดการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่จากข่าวและทวิตเตอร์ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าจะเป็นการส่งสัญญาณในการสร้างความปรองดอง และน่าจะทำให้พรรคมีความเป็นระบบมากขึ้น
แต่ผู้ที่จะเป็นหัวหน้าพรรค เมื่อไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมากนัก ก็ต้องให้หลายฝ่ายเข้ามาช่วยทำงาน ไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
และที่สำคัญพรรคเพื่อไทย ต้องปรับโครงสร้าง ปรับนโยบายให้เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งต้องรักษาบทบาทการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยต้องไม่ให้กลุ่มคนเสื้อแดงสั่งพรรคได้ เพราะจะสูญเสียความเข้มแข็งของพรรคไป แต่ขณะเดียวกัน พรรคต้องไม่ทิ้งการต่อสู้ของประชาชนแบบสันติวิธี ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญระหว่างพรรค และกลุ่มคนเสื้อแดง จึงเป็นเรื่องยากพอสมควร
นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากการหารือกันนอกรอบระหว่างส.ส.ในภาคต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานได้เห็นตรงกันว่า เมื่อมีสัญญานมาว่ามีชื่อของพล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็เท่ากับว่า ส.ส.ในพรรคต้องฟังสัญญานนี้ เพราะน่าจะมีการมองถึงการแก้ปัญหาทั้งในเรื่องภาพลักษณ์ของพรรคที่ถูกโจมตี
รวมทั้งการเตรียมเรื่องการปรองดองและเตรียมเลือกตั้งในอนาคต
จึงคาดว่าในวันอังคารที่ 14 กย.ที่จะมีการประชุมวิสามัญพรรค ซึ่งมีวาระพิเศษคือเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ พล.ต.อ.โกวิท น่าจะมาแรงที่สุด คือ ส.ส.ส่วนใหญ่จะโหวตเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแน่นอน
ส่วนรายชื่อบุคคลอื่นในพรรคที่มีส.ส.เสนอหลายคน เช่น พล.อ.ชวลิต นั้น เท่าที่ส.ส.สอบถามไปทางพล.อ.ชวลิต ล่าสุดนั้นได้มีการปฎิเสธว่าจะไม่รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากต้องการเข้ามาอยู่ในพรรคเพื่อไทยเพื่อทำประโยชน์ให้บ้านเมือง
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.)กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยกันในรายละเอียดต้องรอให้พล.ต.อ.โกวิท เข้ามาทำงานในพรรคจริงๆเสียก่อน โดยหลักการปรองดองใดๆ ต้องอยู่บนหลักของความเสมอภาค เท่าเทียม ถามว่าถ้าไม่มีการชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตจะปรองดองอย่างไร
ดังนั้นการปรองดองจะละเลย 91 ศพและผู้บาดเจ็บไม่ได้ จึงไม่ใช่ว่าใครมาเป็นหัวหน้าพรรคแล้วเรื่องเหล่านี้จะไม่มีแล้ว แต่เรื่องคนตายจะยังอยู่เพราะมีผู้บาดเจ็บและล้มตายจริง การปรองดองจึงไม่ใช่ยอมจำนวน ส่วนพรรคการเมืองก็ไม่ใช่การรวมศูนย์แต่รวมความคิดเห็น
“กรณีเสนอชื่อพล.ต.อ.โกวิท เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยนั้น เป็นเรื่องของความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ทั้งหมดต้องรอให้มีความชัดเจน โดยพล.ต.อ.โกวิท เข้ามารับตำแหน่งจริงเสียก่อนแล้วค่อยพูดคุยกัน อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าคนที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยมีความจงรักภักดี และพล.ต.อ.โกวิทก็จงรักภักดี”
เพราะเหตุนี้แหละที่แม้แต่พรรคชาติไทยพัฒนา และแกนนำพรรคภูมิใจไทย ยังเชื่อว่าการเปลี่ยนตัว หน.พรรคเพื่อไทย จะส่งผลดีทางการเมือง
อย่างเช่น นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา มองว่า การเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทยน่าจะมีนัยทางการเมือง 2 ประเด็นคือ เตรียมการเลือกตั้งครั้งหน้า หรือ เพื่อสานต่อภารกิจการสร้างความปรองดองในชาติ แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้น่าจะส่งผลดีทางการเมือง เพราะพรรคเพื่อไทยจะได้มีทิศทางและภารกิจที่ชัดเจนมากขึ้นว่า จะมียุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนทางการเมืองอย่างไร
ซึ่งพรรคชาติไทยพัฒนาอยากฝากถึงหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ อย่าละทิ้งภารกิจเรื่องการสร้างความปรองดองในชาติ เพราะปัญหาความแตกแยกในสังคมมีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาทางการเมือง ดังนั้นนักการเมืองต้องเป็นคนเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งเรื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความจริงใจจาก 2 พรรคใหญ่
และไม่อยากให้มองว่า ใครเริ่มเดินหน้าเรื่องนี้เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการเมือง เพราะการเอาชนะทิฐิของตัวเองนั้น ถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาพร้อมสนับสนุนกระบวนการนี้ ขณะเดียวกันพร้อมอ้าแขนรับสมาชิกพรรคอื่นที่จะมาร่วมงานการทางการเมืองด้วยกัน เพราะข้อดีของพรรคชาติไทยพัฒนาคือ ไม่เป็นศัตรูกับใคร
แม้แต่จอมกอด อย่างนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ก็ฉวยจังหวะออกมาระบุว่าเป็นความโชคดีของพรรคเพื่อไทยหากได้ พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ เป็นหัวหน้าพรรค เพราะพลตำรวจเอกโกวิท เป็นคนดี และมีความจงภักดีจริง
นี่แหละที่ทำให้ทุกฝ่ายมองว่า เป็นการเลือกหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ละเอียดลึกซึ้ง และเหนือชั้นจริงๆ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553
ค่าธรรมเนียมธนาคารพาณิชย์ไทย
สมชัย จิตสุชน
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
“วิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ทำไมธนาคารพาณิชย์ของไทยกำไรเอา ๆ”
“ส่วนต่างดอกเบี้ยสูงเหลือเกิน”
“ธนาคารโขกค่าธรรมเนียมแพงมาก รายได้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้นตลอดเวลา ไม่ต้องหากำไรจากดอกเบี้ยก็กำไรบานอยู่แล้ว”
ระยะหนึ่งปีมานี้เราได้ยินเสียงบ่นเสียงวิจารณ์ธนาคารพาณิชย์ของไทยในทำนองข้างต้นหนาหูขึ้น บ่งบอกถึงความข้องใจของสังคมโดยรวมว่าธนาคารพาณิชย์ของไทยทำหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นธรรมต่อสังคมหรือไม่ ค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ฮั้วกันหรือไม่
แบงก์ชาติซึ่งมีหน้าที่กำกับสถาบันการเงินมีท่าทีในเรื่องนี้สองด้าน ด้านหนึ่งก็ออกมาปกป้องว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระดับปัจจุบันไม่สูงเกินไป ลดได้แต่ต้องใช้เวลาเมื่อมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการจัดการลง ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ลดค่าธรรมเนียมบางประการลง เช่นค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามเขต ค่าธรรมเนียมระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการโอนจ่ายเงินครั้งละหลาย ๆ ราย (bulk payment) เช่นจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือซื้อของคราวละมากราย (ที่เรียกว่าบริการ SMART) การโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การโอนเงินรายใหญ่ที่เรียกว่า BAHTNET เป็นต้น
ธนาคารพาณิชย์เองก็ออกมาแก้ต่างว่าธนาคารส่วนต่างดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมไม่สูงเกินไป โดยบอกต้องดูที่อัตรากำไรต่อทุนหรือที่เรียกว่า ROE (return on equity) ที่อยู่แถว ๆ 1% เท่านั้น ส่วนกำไรสูงในช่วงวิกฤติก็เป็นเพราะการปล่อยกู้มีความเสี่ยงสูง จึงต้องรักษาส่วนต่างดอกเบี้ยไว้ป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือหุ้นของธนาคารเอง หากไม่ทำก็ไม่เป็นการดูแลผู้ถือหุ้น ผิดหลักบรรษัทภิบาล นักการเมืองและนักวิชาการไม่เข้าใจการทำธุรกิจ จึงไม่ควรวิจารณ์ด้วยความไม่รู้ ในส่วนการโอนเงินข้ามเขตเหตุที่ต้องเก็บค่าธรรมเนียมก็เพราะธนาคารมีต้นทุนในการเคลื่อนย้ายเงินสดสูง เพราะคนไทยนั้นนิยมใช้เงินสดมากกว่าสื่อประเภทอื่น ๆ อย่างเทียบไม่ติด
ข้อถกเถียงเกือบทุกประเด็นที่แต่ละฝ่ายยกมามีส่วนจริง แต่จริงมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้นในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีปัญหาจริง ๆ แต่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ต้องการความร่วมมือกันในการแก้ไขมากกว่าการต่อว่าต่อขานกัน โดยหวังว่าอีกฝ่ายจะประพฤติตัวดีขึ้นหรือเข้าใจมากขึ้น
ขอใช้กรณีค่าธรรมเนียมการชำระเงินเป็นตัวอย่างในการขยายความข้อสรุปข้างต้นนี้ ปัญหาหลักของระบบการชำระเงินไทย คือการให้บริการที่มีการอุดหนุนข้าม (cross subsidization) ทั้งระหว่างประเภทการชำระเงิน เช่นไม่คิดค่าธรรมเนียมการใช้เงินสดหรือคิดค่าธรรมเนียมการใช้เช็คต่ำทั้งที่ต้นทุนการให้บริการสองประเภทนี้สูงมาก แล้วไปเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ แพงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ทำให้ประชาชนเลือกใช้สื่อชำระเงินที่บิดเบือนไม่สะท้อนต้นทุน และยังมีการอุดหนุนข้ามระหว่างลูกค้ารายใหญ่กับรายย่อย โดยลูกค้ารายย่อยเสียเต็มราคา ในขณะที่รายใหญ่มักได้ส่วนลดจากธนาคาร ปัญหา cross subsidization นี้เป็นปัญหาร่วมกันทั้งของธนาคารพาณิชย์และของแบงก์ชาติ ความต่างอยู่ที่ว่าแบงก์ชาติอยากให้แก้เรื่องนี้ทันทีและโดยเร็ว ส่วนธนาคารก็ลำบากใจว่าถ้าไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สื่อแบบเก่า (เงินสดและเช็ค) ตามต้นทุนได้ก็ไม่สามารถลดค่าธรรมเนียมสื่อแบบใหม่ได้ และถ้าเลิกเอาใจลูกค้ารายใหญ่โดยธนาคารคู่แข่งไม่เลิกด้วย ก็จะเสียลูกค้าไปซึ่งหมายถึงการเสียประโยชน์จากการให้บริการทางการเงินอื่น ๆ กับลูกค้านั้นด้วย
เมื่อเข้าใจปัญหาแล้ววิธีแก้ตามมา ประการแรก แบงก์ชาติและธนาคารพาณิชย์ต้องร่วมใจกันลดการอุดหนุนข้ามประเภทบริการสื่อการชำระเงิน โดยเพิ่มค่าใช้เช็ค (ต้นทุนการให้บริการเก็บเงินตามเช็คสูงกว่า 50 บาทต่อเช็คหนึ่งใบในขณะที่ราคาเช็ค 15 บาทและไม่มีค่าเรียกเก็บ) ริเริ่มการเก็บค่าใช้บริการเงินสด โดยเก็บจากผู้ที่เบิกถอนเงินสดครั้งละมาก ๆ เช่นเกิน 300,000 บาทต่อวันต่อลูกค้า (นับรวมทุกบัญชี) แต่ยังให้บริการฟรีสำหรับรายเล็ก วิธีนี้จะทำให้สามารถยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขตด้วย เพราะเมื่อคนถอนเงินสดน้อยลง การเคลื่อนย้ายเงินที่มีต้นทุนสูงก็ลดไปด้วย
ประการที่สอง ธนาคารทุกแห่งต้องพร้อมใจกันเลิกเอาใจลูกค้ารายใหญ่ ถ้าจะลดค่าธรรมเนียมให้ (รวมทั้งการลดส่วนต่างดอกเบี้ยด้วย) ก็ต้องไม่มากไปกว่าการประหยัดของต้นทุนต่อธุรกรรมเนื่องจากยอดเงินต่อธุรกรรมสูง เช่นไม่ควรให้บริการขนเงินสดฟรีกับลูกค้าห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องทำให้ห้างเหล่านั้นหันมาจูงใจลูกค้าของตนเองให้ใช้เงินสดน้อยลง (ในประเทศแคนาคาเมื่อสิบกว่าปีก่อน เวลาจ่ายเงินสดตอนซื้อของห้าง พนักงานจะถามทันทีและทุกครั้งว่าสนใจใช้บริการเดบิตการ์ดหรือไม่ ถามจนเรารำคาญและหันมาใช้บัตรเดบิตในที่สุด) เรื่องนี้ต้องทำทุกธนาคาร เพื่อไม่ให้มีการแย่งลูกค้ารายใหญ่กันด้วยวิธีนี้ แบงก์ชาติอาจออกเป็นระเบียบด้วยเลยก็ได้ (ถ้ามีอำนาจตามกฏหมาย)
แต่ปัญหาใหญ่สุดของเรื่องนี้คือระดับการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ของไทย จริงอยู่ที่ ROA ไม่สูงในภาวะปกติ แต่มิได้หมายความว่าธนาคารมีการแข่งขันกันมากเท่าที่ควรเป็น น่าจะสะท้อนความหย่อนประสิทธิภาพภายในเมื่อเทียบกับธนาคารต่างประเทศชั้นนำมากกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ต้องเผชิญการแข่งขันเต็มรูปแบบ ธนาคารต่างประเทศเองก็ยังมีข้อจำกัดการเปิดสาขาหรือไม่พร้อมจะเข้ามาแข่งเพราะตัวเองมีปัญหาที่บ้านจากวิกฤติแฮมเบอเกอร์ นโยบายในเรื่องนี้ชัดเจนว่าต้องส่งเสริมการแข่งขันในการให้บริการทางการเงินกับประชาชนทุกรูปแบบมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้แหล่งทุนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการทางการเงิน โดยไม่จำกัดเพียงระบบการชำระเงิน แต่อาจครอบคลุมเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าด้วย เช่นการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยครอบงำตลาดทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ลูกจนนำไปสู่ต้นทุนที่สูงของธุรกรรมในตลาดทุน และมีส่วนขัดขวางพัฒนาการตลาดทุนไทยในภาพรวมด้วย
*********************************************************************
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
“วิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ทำไมธนาคารพาณิชย์ของไทยกำไรเอา ๆ”
“ส่วนต่างดอกเบี้ยสูงเหลือเกิน”
“ธนาคารโขกค่าธรรมเนียมแพงมาก รายได้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้นตลอดเวลา ไม่ต้องหากำไรจากดอกเบี้ยก็กำไรบานอยู่แล้ว”
ระยะหนึ่งปีมานี้เราได้ยินเสียงบ่นเสียงวิจารณ์ธนาคารพาณิชย์ของไทยในทำนองข้างต้นหนาหูขึ้น บ่งบอกถึงความข้องใจของสังคมโดยรวมว่าธนาคารพาณิชย์ของไทยทำหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นธรรมต่อสังคมหรือไม่ ค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ฮั้วกันหรือไม่
แบงก์ชาติซึ่งมีหน้าที่กำกับสถาบันการเงินมีท่าทีในเรื่องนี้สองด้าน ด้านหนึ่งก็ออกมาปกป้องว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระดับปัจจุบันไม่สูงเกินไป ลดได้แต่ต้องใช้เวลาเมื่อมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการจัดการลง ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ลดค่าธรรมเนียมบางประการลง เช่นค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามเขต ค่าธรรมเนียมระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการโอนจ่ายเงินครั้งละหลาย ๆ ราย (bulk payment) เช่นจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือซื้อของคราวละมากราย (ที่เรียกว่าบริการ SMART) การโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การโอนเงินรายใหญ่ที่เรียกว่า BAHTNET เป็นต้น
ธนาคารพาณิชย์เองก็ออกมาแก้ต่างว่าธนาคารส่วนต่างดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมไม่สูงเกินไป โดยบอกต้องดูที่อัตรากำไรต่อทุนหรือที่เรียกว่า ROE (return on equity) ที่อยู่แถว ๆ 1% เท่านั้น ส่วนกำไรสูงในช่วงวิกฤติก็เป็นเพราะการปล่อยกู้มีความเสี่ยงสูง จึงต้องรักษาส่วนต่างดอกเบี้ยไว้ป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือหุ้นของธนาคารเอง หากไม่ทำก็ไม่เป็นการดูแลผู้ถือหุ้น ผิดหลักบรรษัทภิบาล นักการเมืองและนักวิชาการไม่เข้าใจการทำธุรกิจ จึงไม่ควรวิจารณ์ด้วยความไม่รู้ ในส่วนการโอนเงินข้ามเขตเหตุที่ต้องเก็บค่าธรรมเนียมก็เพราะธนาคารมีต้นทุนในการเคลื่อนย้ายเงินสดสูง เพราะคนไทยนั้นนิยมใช้เงินสดมากกว่าสื่อประเภทอื่น ๆ อย่างเทียบไม่ติด
ข้อถกเถียงเกือบทุกประเด็นที่แต่ละฝ่ายยกมามีส่วนจริง แต่จริงมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ดังนั้นในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีปัญหาจริง ๆ แต่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ต้องการความร่วมมือกันในการแก้ไขมากกว่าการต่อว่าต่อขานกัน โดยหวังว่าอีกฝ่ายจะประพฤติตัวดีขึ้นหรือเข้าใจมากขึ้น
ขอใช้กรณีค่าธรรมเนียมการชำระเงินเป็นตัวอย่างในการขยายความข้อสรุปข้างต้นนี้ ปัญหาหลักของระบบการชำระเงินไทย คือการให้บริการที่มีการอุดหนุนข้าม (cross subsidization) ทั้งระหว่างประเภทการชำระเงิน เช่นไม่คิดค่าธรรมเนียมการใช้เงินสดหรือคิดค่าธรรมเนียมการใช้เช็คต่ำทั้งที่ต้นทุนการให้บริการสองประเภทนี้สูงมาก แล้วไปเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ แพงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ทำให้ประชาชนเลือกใช้สื่อชำระเงินที่บิดเบือนไม่สะท้อนต้นทุน และยังมีการอุดหนุนข้ามระหว่างลูกค้ารายใหญ่กับรายย่อย โดยลูกค้ารายย่อยเสียเต็มราคา ในขณะที่รายใหญ่มักได้ส่วนลดจากธนาคาร ปัญหา cross subsidization นี้เป็นปัญหาร่วมกันทั้งของธนาคารพาณิชย์และของแบงก์ชาติ ความต่างอยู่ที่ว่าแบงก์ชาติอยากให้แก้เรื่องนี้ทันทีและโดยเร็ว ส่วนธนาคารก็ลำบากใจว่าถ้าไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สื่อแบบเก่า (เงินสดและเช็ค) ตามต้นทุนได้ก็ไม่สามารถลดค่าธรรมเนียมสื่อแบบใหม่ได้ และถ้าเลิกเอาใจลูกค้ารายใหญ่โดยธนาคารคู่แข่งไม่เลิกด้วย ก็จะเสียลูกค้าไปซึ่งหมายถึงการเสียประโยชน์จากการให้บริการทางการเงินอื่น ๆ กับลูกค้านั้นด้วย
เมื่อเข้าใจปัญหาแล้ววิธีแก้ตามมา ประการแรก แบงก์ชาติและธนาคารพาณิชย์ต้องร่วมใจกันลดการอุดหนุนข้ามประเภทบริการสื่อการชำระเงิน โดยเพิ่มค่าใช้เช็ค (ต้นทุนการให้บริการเก็บเงินตามเช็คสูงกว่า 50 บาทต่อเช็คหนึ่งใบในขณะที่ราคาเช็ค 15 บาทและไม่มีค่าเรียกเก็บ) ริเริ่มการเก็บค่าใช้บริการเงินสด โดยเก็บจากผู้ที่เบิกถอนเงินสดครั้งละมาก ๆ เช่นเกิน 300,000 บาทต่อวันต่อลูกค้า (นับรวมทุกบัญชี) แต่ยังให้บริการฟรีสำหรับรายเล็ก วิธีนี้จะทำให้สามารถยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขตด้วย เพราะเมื่อคนถอนเงินสดน้อยลง การเคลื่อนย้ายเงินที่มีต้นทุนสูงก็ลดไปด้วย
ประการที่สอง ธนาคารทุกแห่งต้องพร้อมใจกันเลิกเอาใจลูกค้ารายใหญ่ ถ้าจะลดค่าธรรมเนียมให้ (รวมทั้งการลดส่วนต่างดอกเบี้ยด้วย) ก็ต้องไม่มากไปกว่าการประหยัดของต้นทุนต่อธุรกรรมเนื่องจากยอดเงินต่อธุรกรรมสูง เช่นไม่ควรให้บริการขนเงินสดฟรีกับลูกค้าห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องทำให้ห้างเหล่านั้นหันมาจูงใจลูกค้าของตนเองให้ใช้เงินสดน้อยลง (ในประเทศแคนาคาเมื่อสิบกว่าปีก่อน เวลาจ่ายเงินสดตอนซื้อของห้าง พนักงานจะถามทันทีและทุกครั้งว่าสนใจใช้บริการเดบิตการ์ดหรือไม่ ถามจนเรารำคาญและหันมาใช้บัตรเดบิตในที่สุด) เรื่องนี้ต้องทำทุกธนาคาร เพื่อไม่ให้มีการแย่งลูกค้ารายใหญ่กันด้วยวิธีนี้ แบงก์ชาติอาจออกเป็นระเบียบด้วยเลยก็ได้ (ถ้ามีอำนาจตามกฏหมาย)
แต่ปัญหาใหญ่สุดของเรื่องนี้คือระดับการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ของไทย จริงอยู่ที่ ROA ไม่สูงในภาวะปกติ แต่มิได้หมายความว่าธนาคารมีการแข่งขันกันมากเท่าที่ควรเป็น น่าจะสะท้อนความหย่อนประสิทธิภาพภายในเมื่อเทียบกับธนาคารต่างประเทศชั้นนำมากกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ต้องเผชิญการแข่งขันเต็มรูปแบบ ธนาคารต่างประเทศเองก็ยังมีข้อจำกัดการเปิดสาขาหรือไม่พร้อมจะเข้ามาแข่งเพราะตัวเองมีปัญหาที่บ้านจากวิกฤติแฮมเบอเกอร์ นโยบายในเรื่องนี้ชัดเจนว่าต้องส่งเสริมการแข่งขันในการให้บริการทางการเงินกับประชาชนทุกรูปแบบมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้แหล่งทุนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการทางการเงิน โดยไม่จำกัดเพียงระบบการชำระเงิน แต่อาจครอบคลุมเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าด้วย เช่นการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยครอบงำตลาดทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ลูกจนนำไปสู่ต้นทุนที่สูงของธุรกรรมในตลาดทุน และมีส่วนขัดขวางพัฒนาการตลาดทุนไทยในภาพรวมด้วย
*********************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)