--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

นิวัฒน์ธำรงฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกรัฐมนตรี.



หมายเหตุ : ตัดบางตอนจากรายงานพิเศษ เรื่อง 2 พ่อบ้านจาก ชินคอร์ป บัณฑูร-นิวัฒน์ธำรง แสงและลมใต้ปีก ยิ่งลักษณ์ ในตึกไทยคู่ฟ้า จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

ภายหลังที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต.ที่เกี่ยวข้องโยกย้าย "นายถวิล เปลี่ยนศรี" อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ้นสภาพนายก และรมต.เฉพาะตัว

ครม.จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 10 ให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฎิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฎิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เขาเป็น "ลูกหม้อ" ของตระกูล "ชินวัตร" มาตั้งแต่ปี 2544

เคยเป็นผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด และดูแลบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี), บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด บริษัท มูฟวิ่งซาวนด์ จำกัด บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด บริษัท เอสซี แมทช์บอกซ์ จำกัด และได้รับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น

งาน (สื่อ) มวลชน-งานภาพลักษณ์ และกิจกรรมสัมพันธ์ ล้วนเคยเป็นหน้าที่ของ "นิวัฒน์ธำรง" ในฐานะอดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป)

ยุคหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เขาหลบมรสุมการเมืองเข้าสู่ร่มพระธรรม ด้วยการไปบวชที่วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จ.ลำพูน

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ปรากฏตัวเคียงข้าง "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ตั้งแต่ก้าวแรกที่ก้าวออกจากตึกชินวัตรจนถึงทำเนียบรัฐบาล

ข้าราชการในทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า ตั้งแต่เขาชนะการเลือกตั้ง "นิวัฒน์ธำรง" นั่งหัวโต๊ะประชุมกับข้าราชการระดับสูงไปแล้ว 3 ครั้ง

ทั้งตระเตรียมพิธีการรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

ทั้งแจกแจงงานที่เป็นนโยบายของพรรคที่อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี

ทั้งพิจารณางานบุคคล-นักบริหาร ระดับซี 10 ขึ้นไปในทำเนียบ ที่บางคนอาจต้องเก้าอี้ร้อน บางคนอาจต้องสลับ-ปรับตำแหน่งใหม่

 "นิวัฒน์ธำรง"ต้องสวมบทคล้าย "นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์" เลขาฯส่วนตัว-คนสนิทของ "พ.ต.ท.ทักษิณ"

ในตอนนั้น นิวัฒน์ธำรง ถือว่าเป็นดั่งลมใต้ปีกที่คอยประคองนกเหล็กที่ชื่อ "ยิ่งลักษณ์" ที่ตอนนี้โดนหักปีกเสียแล้ว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
------------------------------------

ทำความ (ไม่) เข้าใจ คดี ปลดนายกฯ เหตุ ย้าย ข้าราชการ..



สัมภาษณ์ : วรเจตน์ ภาคีรัตน์

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 จากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งมีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ก.ย.54 สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว

ประชาไทกุมขมับไปสัมภาษณ์ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่ากันตั้งแต่ เนื้อหาคดี ปัญหาว่าด้วยการดำรงตำแหน่งและพ้นตำแหน่ง ความพยายามสร้างสุญญากาศทางการเมือง ไปจนถึงเรื่องการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ (อีกแล้ว)

อาจารย์เห็นอย่างไรกับคำวินิจฉัยของศาลวันนี้
ศาลวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ยุติการปฏิบัติหน้าที่ และวินิจฉัยให้รัฐมนตรีรักษาการที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดแรกต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ด้วย กรณีของยิ่งลักษณ์ก็คงต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่วินิจฉัย แต่คนอื่นๆ จะเป็นปัญหา เพราะคณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 กับชุดที่ 5 เป็นคนละชุดกัน

รัฐมนตรีในชุดยิ่งลักษณ์ 1 ส่วนใหญ่เขาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เพราะมีพระบรมราชโอการแต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อมาหลายครั้ง บางคนพ้นไปแล้วไปเป็นตำแหน่งอื่น บางคนพ้นไปแล้วไม่มีตำแหน่งอีกเลย ปัญหาคือ อย่างคุณยิ่งลักษณ์เองพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็จริง แต่ปัญหาว่า คุณยิ่งลักษณ์มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในภายหลัง เป็นตำแหน่งที่รับหลังจากการโยกย้ายคุณถวิล จึงเป็นปัญหาให้ตีความว่า ตอนนี้คุณยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่พ้นจากตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีกลาโหมหรือไม่

แต่ศาลระบุว่า รัฐมนตรีคนใดที่มีส่วนร่วมในการลงมติให้พ้นตำแหน่งด้วย?
มันมีแต่คณะรัฐมนตรีที่ประชุมกัน ในทางข้อเท็จจริงก็มีปัญหาคือ ในคณะรัฐมนตรีชุดนั้นมีใครบ้างที่เข้าประชุม คนที่ไม่ได้เข้าประชุมจะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยหรือเปล่า

โดยผลของคดีคือ ให้คนที่ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่ง อย่างเช่นกรณีคุณสมัคร สุนทรเวช คราวนี้พอศาลวินิจฉัยให้ใครพ้นจากตำแหน่งแล้ว มันไม่ได้มีการห้ามไม่ให้เขาคนนั้นดำรงตำแหน่งอีก คดีนี้ไม่ได้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง มันเป็นการพ้นตำแหน่งอย่างเดียว อย่างเช่น พอคุณสมัครพ้นจากตำแหน่งไป คุณสมัครก็สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ถ้าหากสภาเลือก เพราะมันไม่มีการห้ามการกลับมาดำรงตำแหน่งอีก

ทีนี้คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 ก็เหมือนกัน หลายคนได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วในตอนที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีในอดีต แล้วมีการแต่งตั้งเขาเข้ามาสู่ตำแหน่งใหม่ ปัญหาคือ ก็เขาพ้นตำแหน่งนั้นไปแล้ว แล้วเขาจะพ้นอีกได้อย่างไร

ปัญหาคือ คำวินิจฉัยวันนี้ให้พ้นเมื่อไหร่ ถ้าให้พ้นวันนี้มันก็ประหลาด เนื่องจากว่า เมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว

ตอนนี้มีความเข้าใจเป็นสองแบบ คือ หนึ่ง เป็นเรื่องเฉพาะตัวคน คือให้ทุกๆ คนที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ตอนนั้นนั้นพ้นไป ถ้านับว่าใครอยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 และมาอยู่ในยิ่งลักษณ์ 5 ด้วยก็คือจะดำรงตำแหน่งต่อไปไม่ได้ ซึ่งคนทั่วๆ ไปคงเข้าใจแบบนี้ และแม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะเข้าใจแบบนี้

สอง ในสายตาของนักกฎหมาย การพ้นตำแหน่งครั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่ได้เป็นเรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของการให้พ้นจากตำแหน่งในขณะนั้น ถ้าเกิดเขาเคยมีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 แล้ว ต่อมามีพระบรมราชโองการให้เขาพ้นตำแหน่งไปแล้ว แล้วอาจมีการแต่งตั้งกลับมาในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 2, 3, 4, 5  มันเป็นตำแหน่งใหม่แล้ว จะมาตีความว่า ให้พ้นไปตอนนี้ก็ไม่ได้

ถ้าเกิดตีความอย่างหลังก็แปลว่า คุณยิ่งลักษณ์จะพ้นเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นตำแหน่งเดียวที่ต่อเนื่องมาตลอด ไม่เคยมีการแต่งตั้งใหม่เลย คุณยิ่งลักษณ์ไม่เคยพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเลยจนกระทั่งยุบสภา แต่ในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมนั้นมาทีหลัง คุณยิ่งลักษณ์ในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมนั้นไม่ได้ร่วมมีมติตอนที่มีการโยกย้ายคุณถวิล เพราะฉะนั้นคุณยิ่งลักษณ์ก็พ้นไปเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ยังต้องอยู่รักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมต่อไป

ถ้าเป็นแบบแรก คือ ถือว่า พ้น จะเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองเลยนะ ไม่ใช่เรื่องการให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตัดสิทธิทางการเมืองกับบุคคลในกรณีแบบนี้ มาตรา 266 เป็นเรื่องการให้พ้นจากตำแหน่งอย่างเดียว ไม่ใช่การตัดสิทธิทางการเมือง หรือการตัดสิทธิการดำรงตำแหน่ง เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดเอาแบบศาลรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะบอกว่า รัฐมนตรีที่อยู่ในยิ่งลักษณ์ 1 ที่ย้ายคุณถวิล เปลี่ยนศรีให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งในรัฐบาลภายหลัง ที่กำลังตีความกันอยู่เป็นแบบนี้ แต่ในทางกฎหมายมันไม่ใช่

คำวินิจฉัยนี้หวังผลทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน
หวังผลทางการเมืองหรือไม่ ไม่รู้ แต่มีผลทางการเมืองแน่ๆ  แม้ไม่สามารถล้ม ครม.ได้หมดทั้งคณะ แต่ทำให้รัฐมนตรีที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย ถ้านับแบบให้พ้นเป็นคนก็เหลือสิบกว่าคนมั้ง แต่ถ้านับแบบให้พ้นไปตามตำแหน่ง อาจจะเหลือเยอะกว่านั้น

จากกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้สถาปนาอำนาจตัวเองในเรื่องการวินิจฉัยคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งของบุคคลขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าคนๆ นั้นจะพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีไปแล้วก็ตาม

ในทางการเมือง ก็อาจจะมองได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามายุ่งเกี่ยวกับดุลพินิจในเรื่องของการโยกย้ายและสามารถเอา ครม.รักษาการออกจากตำแหน่งได้ แต่อย่างที่บอกว่า ประเด็นอยู่ที่ตัวตำแหน่งกับตัวคน ว่าคุณจะมองอย่างไร ซึ่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่เคลียร์หรอกเรื่องนี้ เราตีความไปเองว่าศาลรัฐธรรมนูญเขียนว่าให้พ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว แต่คำถามคือ พ้นตอนไหน จะพ้นตอนนี้ได้อย่างไร เมื่อการกระทำของเขากระทำอยู่ในอดีตแล้ว และพ้นไปแล้ว

ในความเห็นผม การพ้นตำแหน่งตามคำวินิจฉัยนี้เป็นเรื่องตำแหน่ง ไม่ใช่ตัวบุคคล เพราะฉะนั้นจึงหมายความว่า ยิ่งลักษณ์ยังคงเป็นรักษาการรัฐมนตรีกลาโหม ส่วนเฉลิมยังคงเป็นรักษาการรัฐมนตรีแรงงาน

อาจารย์เห็นว่า วินิจฉัยครั้งนี้ชอบธรรมหรือไม่
ผมว่ามันไม่ชอบธรรมทั้งในทางเนื้อหาซึ่งมีประเด็นให้วิจารณ์อีกหลายเรื่อง บางส่วนก็ไปพันกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งมีความเห็นแย้งด้วย และศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นฐานในการอ้างด้วย

ประเด็นในศาลปกครองสูงสุดเป็นกรณีของคุณถวิลเป็นหลัก แต่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไปอยู่ที่ประเด็นของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นหลัก ซึ่งมันแตกต่างกัน เพราะกรณีการย้ายคุณถวิล มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาอ้างได้ว่าเอื้อประโยชน์  ที่มาอ้างได้ว่า ไปพันกับการย้ายพล.อ.วิเชียร มาแทนที่คุณถวิลเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มาเป็น ผบ.ตร.  เพราะประเด็นของศาลรัฐธรรมนูญ ไปอยู่ที่ประเด็นของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ การที่คณะรัฐมนตรีไปย้าย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นการเอื้อประโยชน์ไหม? ซึ่งต้องไปดูตรงนั้นว่า มันชอบธรรมในการขึ้นตำแหน่งนั้นไหม?  นายกรัฐมนตรีมีความเกี่ยวพันมากแค่ไหน มันเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ หรือเป็นแค่นายกรัฐมนตรีคนเดียวที่สั่งย้าย รวมถึงนายกรัฐมนตรีจะสั่งย้ายได้ไหม ไม่งั้นต่อไป นายกรัฐมนตรีก็สั่งย้ายใครไม่ได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องของตำแหน่ง มันมองได้หลายมุม มันไม่ใช่แต่งตั้งเพียงญาติพี่น้องที่ไม่มีสิทธิในตำแหน่งนั้นเลยมาดำรงตำแหน่ง แต่เป็นการแต่งตั้งบุคคลซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวพันกันนั่นแหละแต่เขามีสิทธิจะขึ้นมาครองตำแหน่ง แล้วจะบอกว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ได้อย่างไร

ถ้าเกิดว่า ตำแหน่งพลตำรวจหรือผู้กำกับ แล้วย้ายข้ามมาเลย อย่างนี้มันชัด แต่อันนี้ต้องดูภูมิหลังว่า เขามีตำแหน่งอะไรมาก่อน หน้าที่ของเขาเป็นอย่างไร ตำแหน่งตอนรัฐประหารถูกใครข้ามมา แป๊กอะไรยังไง แล้วต้องคืนความเป็นธรรมให้เขาไหมเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอันนี้ผมคิดว่า ศาลท่านไม่ได้วินิจฉัยประเด็นนี้ แล้วประเด็นนี้ของศาลรัฐธรรมนูญไม่เหมือนกับศาลปกครอง กรณีศาลปกครองวินิจฉัยเรื่องย้ายคุณถวิล แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดไปดูประเด็นตอนที่ตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์มา เพราะฉะนั้นถ้าเกิดกลับไปดูประเด็นนั้น ต้องดูความเป็นธรรมในคดีนั้นด้วย แล้วที่สำคัญคือต้องเคารพดุลพินิจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอันเป็นอำนาจของ ครม. ซึ่งศาลไม่ได้คำนึงตรงนี้ อ้างเพียงแต่ว่าเป็นพี่ชายของอดีตภรรยาของอดีตนายกฯทักษิณ และบอกว่าเป็นลุงของหลานอา ซึ่งมันไกลเกินไปในแง่นี้

ในความเห็นของผม ผมจึงมองว่าในทางเนื้อหามันไม่ชอบธรรม เพราะจะมองในแง่ที่ว่า เป็นความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนตัวบุคลากรในระบบราชการก็ได้ และในด้านหนึ่งก็เยียวยาให้เกิดความเป็นธรรมในกรณีของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ก่อนหน้านั้นก็ได้ ซึ่งอันนี้คนไม่ค่อยพูดกัน คืออาจจะต้องไปดูหลังรัฐประหารว่าเป็นอย่างไร คือปัญหานี้จึงต้องมีความเกี่ยวพันกับรัฐประหาร 2549  อยู่นั้นเอง

แต่ก็แน่นอน คดีนี้ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่สะท้อนความขัดแย้งของการต่อสู้ทางการเมืองของชนชั้นนำในสังคมไทยเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ ในส่วนของเนื้อหา ยังมีการนำข้อเท็จจริงบางอย่างมายืนยันในคดีซึ่งอาจไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้สิ้นสงสัยอย่างเช่น ศาลอ้างเรื่องการลงวันที่ในหนังสือราชการไม่ตรงกัน และยังไม่มีการพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด ศาลก็เอามาใช้อ้างในทางที่เป็นผลร้ายกับฝ่ายผู้ถูกร้อง

อีกปัญหาหนึ่งคือ คนที่ฟ้องคดี เขาฟ้องให้คุณยิ่งลักษณ์พ้นตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง แต่ศาลให้คนที่มีชื่ออยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 พ้นจากตำแหน่ง ปัญหาคือ เราไม่รู้หรอกว่า วันนั้นใครประชุม ใครไม่ประชุม สองคือ คนที่เป็นรัฐมนตรีคนอื่น ถ้าเกิดตีความเป็นชื่อคน เขาไม่มีโอกาสเข้าไปโต้แย้งในคดีเลย เขาไม่ได้เข้าไปชี้แจงเลย แต่ศาลก็ไปตัดสินให้เขาพ้นจากตำแหน่งไปด้วย เพราะเหตุว่า เขามีชื่ออยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 เขาเข้าประชุมหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าเขาเข้าประชุม เวลาประชุมเขามีความเห็นอย่างไรก็ไม่รู้อีก ไม่มีการใช้สิทธิที่จะได้รับการรับฟังในคดี ซึ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของนักกฎหมาย ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมายว่ามันเป็นยังไง ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่มีใครเชื่อถือหรอก ไม่ได้พูดถึงว่า มันถูกใจใคร ไม่ถูกใจใคร แต่จะบอกว่ามันประหลาดมากๆ เพราะเป็นการวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่ได้พ้นไปก่อนหน้านั้นแล้วในครั้งเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี แม้แต่ตัวคุณยิ่งลักษณ์ก็พ้นจากตำแหน่งแล้ว ด้วยการยุบสภาแล้ว ก็แค่รอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เท่านั้นเองโดยสภาพ เราต้องคิดว่า การพ้นจากตำแหน่งในกรณีธรรมดาเขาสามารถกลับสู่ตำแหน่งนั้นได้เลยโดยทันที เพราะมันไม่ได้มีลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง ความจริงตอนคุณสมัครพ้นจากตำแหน่ง นั่นก็ตลกไปทีหนึ่งแล้ว เพราะท่านก็เลิกทำกับข้าวไปแล้ว อันนี้ก็คล้ายๆ กันอีก

มีความพยายามอธิบายว่า ตอนนี้การเมืองไทยเป็นสุญญากาศ?
ไม่เป็นหรอกครับ แม้จะตีความแบบชื่อก็ยังมีคนอื่นเหลืออยู่อีกหลายคน และก็ยังสามารถประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีต่อไป ไม่เกิดเป็นสุญญากาศ

ทีนี้ ทางที่ต้องเดินต่อไป คือไปสู่การเลือกตั้ง ในแง่ของการปฏิรูปการเมืองในอนาคตนั้น การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังที่นิติราษฎร์เคยเสนอประเด็นเรื่องการยุบศาลรัฐธรรมนูญ โดยลักษณะของการวินิจฉัยเช่นนี้ ศาลเข้ามาวินิจฉัยจนถึงขั้นตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีไปเลย แล้วยังมีการย้อนเวลากลับไปในอดีต เพื่อที่จะทำให้เกิดผลในปัจจุบันดังคำพิพากษาครั้งนี้

โดยผลของการตีความ ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายความอำนาจของตนเองออกไปจนกลายเป็นรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งเป็นและทำมาหลายครั้งแล้ว มักจะมีคนอ้างคำวินิจฉัยตามมาตรา 256 วรรคห้าว่า ผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร คนจะชอบอ้างแบบนี้ ตัดสินว่ามีภาระผูกพันทุกองค์กร แต่ผมมองว่า มันจะต้องดูด้วยว่า คำวินิจฉัยนั้นจะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญด้วยมันถึงจะผูกพันกับองค์กรทุกองค์กร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง มันก็ไม่มีผลผูกผัน เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับองค์กรในทางการเมืองที่จะยอมรับคำวินิจฉัยแค่ไหน

ผมยกตัวอย่าง อย่างวันนี้มีคำวินิจฉัยมาแค่นี้ ในทางการเมืองก็เหมือนจะยอมรับเพราะไม่ถึงขนาดเอาคณะรัฐมนตรีไปทั้งคณะ องค์กรทางการเมืองก็ยอมตาม แต่ผมไม่ได้บอกว่า ฐานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกต้อง แต่ด้วยเพราะองค์กรทางเมืองไม่อยากมีเรื่อง ก็เลยต้องยอมตาม และถ้าเกิดศาลมีคำวินิจฉัยว่า ให้คณะรัฐมนตรีหมดทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง อาจจะทำให้องค์กรทางการเมืองไม่ยอมรับแน่นอน เพราะคงบอกว่า มันตัดสินไปขัดกับมาตรา 197 เพื่อสร้างให้เกิดสุญญากาศตามความต้องการของคนบางพวก เพราะฉะนั้นเวลาใครที่อ้าง 256 วรรคห้า ต้องเข้าใจคำวินิจฉัยจะผูกพันกับทุกองค์กรได้นั้นจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมาย  แล้วถามว่าใครจะเป็นคนบอกว่ามันขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายไหม?  คงไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนบอกแน่ ก็ต้องเป็นองค์กรทางการเมืองอื่นเป็นคนบอกว่ามันขัด ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะเห็นว่ามันขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายรุนแรงแค่ไหน  ซึ่งในเรื่องทางการเมืองมันเป็นเรื่องที่มีองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจทางการเมืองตอบโต้ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีองค์กรทางการเมืองไหนของไทยทำ ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ไม่เคยทำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทำไม่ได้

กปปส. มักอ้างว่า รัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐบาลนี้ขาดความชอบธรรม
ผมไม่เห็นด้วยแบบนั้น ผมเห็นในอีกทางหนึ่งว่า การอ้างแค่นี้ยังไม่พอ คือรัฐบาลเขาไม่ได้อ้างว่า ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ หรืออย่างตัวผมเอง ผมก็ไม่ได้อ้างว่าผมไม่เคารพรัฐธรรมนูญ แต่เพราะเขาเคารพรัฐธรรมนูญ เอารัฐธรรมนูญเป็นหลัก และถ้าเขาเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เขาก็มีสิทธิที่จะรักษารัฐธรรมนูญไว้โดยการปฏิเสธคำวินิจฉัยดังกล่าว

ความเห็นของ กปปส.  เป็นความเห็นที่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับรัฐธรรมนูญ ผมเคยบอกแล้วว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ คนหลายคนพยายามบอกว่า ต้องผูกผันกับรัฐธรรมนูญ และพยายามให้คำวินิจฉัยคือรัฐธรรมนูญ

ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลเป็นยังไง แต่ผมพยายามจะบอกว่า รัฐบาลต้องแย้งว่า รัฐบาลนั้นเคารพรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลเห็นศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่เขาเป็นองค์กรทางการเมืองหนึ่งก็ต้องรักษารัฐธรรมนูญไว้เหมือนกันตามมาตรา 197 เมื่อเขาเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีแล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง รัฐบาลย่อมไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งไม่เห็นเป็นเรื่องที่ผิดปกติหรือน่ากลัวตรงไหน

ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอะไร จะผิดขนาดไหนก็ต้องเคารพหมด  เกิดอยู่ดีๆ ศาลรัฐธรรมนูญบ้าจี้ตัดสินประหารชีวิตคนโดยไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น แล้วมีคนคิดว่า คำวินิจฉัยต้องผูกพันกับทุกองค์กรของรัฐ เราควรเคารพหรือ? ดังนั้น โดยหลักแล้ว เราก็ต้องเคารพศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละ มันอาจจะถูกอาจจะผิดรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน เราก็ยอมกันบ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมันถึงขั้นฝ่าฝืนต่อระบบกฎหมายอย่างรุนแรง เป็นคำวินิจฉัยที่ทำลายรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง เช่น มีคำวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นทั้งคณะเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง แบบนี้ก็เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่มีใครเคารพได้หรอก เพราะถ้าถึงจุดนั้นต้องถือว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลายรัฐธรรมนูญเสียเอง แล้วเราจะต้องไปเคารพศาลรัฐธรรมนูญที่ทำลายรัฐธรรมนูญเองหรือ? ซึ่งกว่าจะถึงจุดๆ นั้น มันเป็นเรื่องการประเมินทางการเมืองขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกรณีวันนี้ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น เขาก็ทำตาม

ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ลุ้น ยิ่งลักษณ์. พรุ่งนี้ อยู่หรือไป !!?


ศาลรัฐธรรมนูญ,คดีโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี
จากกรณีไต่สวน4พยานปากปมโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช."ส.ว.ไพบูลย์"ขอศาลสั่งตั้งนายกฯ ภายใน 7 วัน หากฟันนายกฯพ้นเก้าอี้ ด้าน"ยิ่งลักษณ์" ยันโยกย้าย"ถวิล"ไม่ได้ทำเพื่อเครือญาติ ส่วน"ถวิล"เชื่อถูกเด้ง เพื่อเปิดทางให้"เพรียวพันธ์"นั่งผบ.ตร. ขณะที่"จรัญ"ตาดีพบเอกสารวันที่ลักลั่น เชื่อต้องมีฉบับปลอม "อดีตผบ.ตร."ยันเต็มใจให้เด้งพ้นเก้าอี้ผบ.ตร. เหตุน้อยใจ"เฉลิม" ตำหนิเป็นตำรวจคุมบ่อน

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์เพือไต่สวนพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผบ.ตร. และอดีตเลขาธิการสมช.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช. ในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นสมาชิกวุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้กล่าวกำหนดประเด็นการไตร่สวนไว้ 3 ประเด็น ดังนี้ 1.เมื่อมีการยุบสภา ปัญหาพิจารณามีว่า ผู้ถูกต้องพ้นจากตำแหน่งแล้ว ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ 2.เมื่อการกระทำของผู้ถูกร้องต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำให้ความเป็นรัฐมนตรี ทั้งคณะสิ้นสุดลงหรือไม่ และ 3.เมื่อความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงจะเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลงหรือไม่

ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการขอเพิ่มพยานของน.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ศาลไม่อนุญาต เนื่องจากเห็นว่าพยานมีเพียงพอแล้ว ซึ่งทางฝ่ายผู้ร้องก็มีการขอเพิ่มพยานมาเช่นเดียวกัน แต่ศาลก็ไม่อนุญาต

จากนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า ศาลปกครองเห็นว่าผู้ถูกร้องกระทำให้ตำแหน่งผบ.ตร.ว่างลง เพื่อให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ขึ้นเป็นผบ.ตร.แทน โดยการโยกพล.ต.อ.วิเชียร มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมช. เพื่อเอื้อต่อเครือญาติ ถือเป็นการใช้สถานะความเป็นนายกฯ เข้าไปแทรกแซงให้นายถวิล พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสมช. เพื่อผลักดันพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ซึ่งไม่ได้กระทำตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และเป็นการกระทำที่ไม่ใช่ตามที่กฎหมายกำหนด

"เมื่อผู้ถูกร้องถูกวินิจฉัยแล้วตำแหน่งจึงว่าลง จึงต้องแต่งตั้งนายกฯทันที ซึ่งการแต่งตั้งนายกฯแทนนายสมัคร สุนทรเวชร ได้ใช้เวลาแค่ 9 วัน และการแต่งตั้งนายกฯแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช้เวลา 14 วัน จึงเห็นว่าการแต่งตั้งนายกฯคนใหม่ควรกระทำทันที ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้รัฐบาลไม่สมประกอบ สุ่มเสี่ยงที่เศรษฐกิจเสียหาย จึงจำเป็นเร่งด่วน ไม่ควรเกิน 7 วัน " นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ขอใคร่ควรให้วินิจฉัยตามมาตรา 268 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว จึงไม่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีตามมาตรา 181 จึงเป็นเหตุให้ครม.ทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 181 และครม.จึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 171 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน และวินิจฉัยให้แต่งตั้งนายกฯคนใหม่ทันที โดยนำรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องมาใช้โดยอนุโลม

จากนั้นนายจรูญ อินจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ซักถามเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการแทรกแซง พร้อมทั้งขอให้อธิบายให้ชัดว่า ความหมายเรื่องเครือญาติเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร

โดยนายไพบูลย์ กล่าวว่า การแทรกแซงคือการเข้าไปเกี่ยวข้องกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง เป็นกระบวนการที่กระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง องค์ประกอบแทรกแซงต้องป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ การแทรกแซง คือการเข้าไปกระทำ เพื่อผลประโยชน์ตนเอง แต่การโอนย้ายครั้งนี้เห็นชัดเจนว่าเป็นการโอนย้าย เพื่อให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ มาดำรงตำแหน่งผบ.ตร. แต่เมื่อพล.ต.อ.วิเชียร ยังอยู่ในตำแหน่ง ก็ต้องย้ายพล.ต.อ.วิเชียร และย้ายนายถวิล ออก ถือว่าเป็นวิธีการเตรียมการเป็นขั้นตอน เป็นการแทรกแซงทุกชั้นทกุตอน ส่วนความเป็นเครือญาติกัน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นพี่ชายของพี่สะใภ้ของนายกฯ ถือเป็นเครือญาติกัน ถึงแม้จะมีการหย่าร้างกันไปแล้วระหว่างพี่ชายของนายกฯ(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และน้องสาว(คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์)ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ การเป็นเครือญาติจึงเป็นเรื่องที่ปรากฎขึ้นประจักแล้ว

ต่อมานายสุพจน์ ไข่มุกข์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ซักถามว่านายกฯจะได้ประโยชน์อะไรจากการย้ายนายถวิล เพื่อให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นั่งเป็นผบ.ตร. นายไพบูลย์ ได้กล่าวย้ำว่า เพื่อเป็นประโยชน์แก่เครือญาติ เพราะพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ใกล้จะเกษียรอายุ เพื่อประโยชน์ตนเอง และประโยชน์พวกพ้อง

ขณะที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซักถามว่าจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว กระบวนการโยกย้ายนายถวิล พบว่าเอกสารการแจ้งโอนจากหน่วยงานต้นสังกัด ไปยังหน่วยงานรับโอนลงวันที่ 4 ก.ย. 54 ถูกต้องไหม เป็นวันอาทิตย์ ใช่หรือไม่ และหนังสือจาเลขาธิการสำนักนายกฯแจ้งไปยังพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อขอความเห็นชอบแจ้งไปยังวันอาทิตย์ 4 ก.ย.54 ได้ระบุว่าน.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายก ในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า รัฐมนตรีสำนักนายกลงวันที่ 5 ก.ย. เป็นซึ่งตรงกับวันจันทร์ เป็นเอกสารฉบับเดียวกัน เนื้อความเดียวกัน แต่ลงวันที่ต่างกัน นายไพบูล กล่าวว่า วันที่ 4 ก.ย. 54 เป็นวันอาทิตย์ เนื่องจากมีการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 6 ก.ย. 54 อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นประเด็นความเร่งรัดอย่างผิดปกติ ไม่เป็นกระบวนการตามขั้นตอนปกติ ซึ่งส่วนตัวไม่ทราบว่า เอกสารทั้ง 2 ฉบับที่มีเนื้อหาเดียวกันแต่ลงวันที่ต่างกัน

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ขึ้นชี้แจงโดยขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ยืนยันว่าตนได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ที่ได้ดำรงตำแหน่งนายก ต้องรับผิดชอบในการบริหารประเทศ คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ขั้นตอนการโยกย้ายยึดหลักบริหารราชการแผ่นดิน และในฐานะนายกฯ ตนได้มอบอำนาจในรองนายกฯ รัฐมนตรี ในการสั่งการ กำหนดแผนงาน บุคคลากร เพื่อรับผิดชอบผลการปฏิบัติงานที่แถลงไว้ในรัฐสภา เรื่องนี้ตนได้มอบให้พล.ต.อ.โกวิท ดูแลความมั่นคง รับผิดชอบงานในสภาความมั่นคง(สมช.) ส่วนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้มอบหมายให้ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ส่วนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้น.ส.กฤษณา รับผิดชอบ

" ดิฉันไม่ได้รับผิดชอบในเรื่องการโยกย้าย ไม่ได้แทรกแซง การทำงานต่างๆ จึงขอปฏิเสธพฤติการต่างๆ เพราะได้มอบอำนาจในการโยกย้ายให้รองนายกฯรับผิดชอบ ยืนยันว่าไม่ได้เข้าแทรกแซงบริหารแต่อย่างใด ไม่มีพฤติกรรมที่วางแผนเป็นระบบเป็นตอน ไม่ได้ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม ได้ยึดถึงประโยชน์ประชาชนและประโยชน์ของประเทศ ไม่ได้คำนึงถึงเครือญาติ ขอบอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ได้อย่าขาดกับคุณหญิงพจมาน เรียบร้อยแล้ว และการหย่าร้างก็ไม่ได้มีผลในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้าย ซึ่งพิสูจได้ว่า แม้วันนี้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะเกษียรแล้ว ก็ไม่มีชื่อพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มานั่งเป็นรัฐมนตรีแต่อย่างใด"น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวและว่า ยืนยันว่าไม่มีการเร่งโยกย้าย แต่เป็นเพราะนโยบายในด้านความมั่นคง เป็นนโยบายแเร่งด่วน ขณะเดียวกันเข้ามารับตำแหน่งก็ประสบอุทกภัย ปัญหาความเดือดร้อนประชาชน ปัญหายาเสพติด ความรุนแรงชายแดน จึงต้องมีคนมาดูแลรับผิดชอบ จึงมอบหมายให้รองนายกฯไปดูแล

จากนั้น นายไพบูลย์ ได้ซักถามว่าการที่นายกรัฐมนตรี อ้างว่าการเป็นรัฐมนตรีของตนสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา180 แล้ว ดังนั้นจะให้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 ไม่ได้ หมายความว่าอย่างไร และรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจะต้องรักษาการอยู่ในตำแหน่งนายกต่อไป

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงว่า ประเด็นนี้เห็นว่า ตนได้ประกาศยุบสภาไปแล้ว คืนอำนาจให้ประชาชนไปแล้ว ตนจึงไม่มีสถานะเป็นรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีปัจจุบันอีกแล้ว ดังนั้น การยุบสภา นายกรัฐมนตรีจึงได้พ้นจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการบริหารราชการแผ่นดินเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องให้คณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไป

ด้านนายจรูญ ซักถามว่าในฐานะประธานนโยบายคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ(กตช.) ได้โยกย้ายพล.ต.อ.วิเชียร ไปเป็นเลขาฯสมช. ดูความมั่นคง แต่ต่อมาทำไมถึงย้ายไปเป็นปลัดคมนาคม ใช้ดุลพินิจอะไรในการพิจารณา

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นดุลพินิจของพล.ต.อ.โกวิท ในการโยกย้าย ทุกครั้งที่มีการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายไม่ได้มีการพูดถึงตำแหน่งข้างหน้า ตนได้ทราบล่วงหน้าว่าพล.ต.อ.โกวิท ได้ทาบทามแล้ว เนื่องจากเป็นคนคุ้นเคยกัน เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา จึงอยากให้มาดูแลความมั่นคง ตามนโยบายที่แถลงไว้ในรัฐสภา และมีเรื่องความไว้วางใจด้วยในการพิจารณา เพื่อให้งานบรรลุผล ซึ่งพล.ต.อ.โกวิท บอกว่าที่ขอย้ายตำแหน่งเลขาฯสมช. เพราะนายถวิล เคยทำงานร่วมกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะการที่จะให้ใครมาเป็นเลขาฯสมช. ก็ต้องพิจารณาในเรื่องความไว้วางใจด้วย ส่วนตนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องโยกย้ายแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้ลงนามเสนอเข้าครม.เท่านั้น นอกจากนี้ ได้ทราบจากพล.ต.อ.โกวิท ว่าพล.ต.อ.วิเชียร ก็มีความสมัครใจในการย้ายมาเป็นเลขาสมช. ถือว่าการสมัครใจแล้ว ไม่ว่าจะขู่เข็ญอย่างไรก็คงทำไม่ได้ โดยพล.ต.อ.โกวิท ก็เคยบอกว่าเคยโดนโยกย้ายในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนำไปสู่การร้องศาลปกครองในที่สุด ส่วนการย้ายไปเป็นปลัดคมนาคม เกิดจากการทาบทามของรมว.คมนาคม ในขณะนั้น ซึ่งตนก็ให้ดุลพินิจของรมต.แต่ละท่านไปแล้ว ในการมอบหมายงาน หรือการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายบุคคล และการโยกย้ายครั้งนี้ก็เป็นการโยกย้ายตามฤดูกาล

ต่อมา นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรในการโยกย้ายนายถวิล และทราบเหตุผลหรือไม่ว่านายถวิลไม่ดีอย่างไร และพล.ต.อ.วิเขียร เหมาะสมอย่างไร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขั้นตอนการโยกย้ายเป็นเรื่องฝ่ายปฏิบัติที่รองนายกดำเนินการ ส่วนเหตุผลการโยกย้าย พล.ต.อ.โกวิท ชี้แจงว่าได้พิจารณาโดยดุลพินิจของท่าน บนหลักความไว้ใจ และบนหลักนโบายที่แถลงต่อสภา สรุปว่ารองนายกตั้งเรื่องมาอย่างไร คณะรัฐมนตรีก็เห็นด้วยตามนั้น การบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ที่รับมอบอำนาจาก็ให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาแต่งตั้ง ส่วนการโยกย้ายเป็นไปตามฤดูการ และเราเห็นว่าทุกตำแหน่งมีความสำคัญ ในปีแรกเรามี 16 นโยบาย พร้อมทั้งประสบกับปัญหาอุกภัย เราจึงต้องเร่งนำนโยบายเหล่านี้ไปปฏิบัติ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการต่างๆต้องรับนโยบายไปปฏิบัติ

ต่อมานายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ซักถามว่าในฐานะนายกรัฐมนตรี ในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีการระมัดระวังในการพิจารณาในเรื่องเครือญาติ ถึงแม้จะไม่ใช่นามสกุลเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงว่า ในการบริหารราชการแผ่นดิน ยึดหลักปรโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ต้องในความเป็นธรรมแก่ข้าราชการทุกคน ในฐานะปธ.กตช. ที่ไม่สามารถมอบหมายให้ใครไม่ได้ ซึ่งแซกแทรกไม่ได้ การพิจารณาพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นึกถึงความอาวุโส ผลงาน ปราบปรามยาเสพติด ขณะเดียวกันนโบยบายปราปรามยาเสพติด เป็นโยบาเร่งด่วน เพราะก่อนที่จะมารับตำแหน่งก็มีปัญหายาเสพติดเข้ามามากมาย ขณะที่เสนอก็ไม่ได้มองความเป็นญาติ มองในเรื่องความเหมาะสม ผลงาน และมติกตช. ก็เห็นชอบโดยเอกฉันท์ และพล.ต.อ.วิเชียร ก็เห็นชอบด้วย

"แม้ตนจะเสนอตำแหน่งผบ.ตร. แต่ถ้าคณะกรรมการกตช. ไม่เห็นด้วย ก็ต้องตกไป เช่นเดียวกับสมัยนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอให้พล.ต.อ.ประทีบ ตันประเสริฐ เป็นผบ.ตร. แต่คณะกรรการกตช. ไม่เห็นด้วยก็ต้องตกไป นอกจากนี้การแต่งตั้งโยกย้าย พล.อ.อักษรา เกิดผล ซึ่งเป็นลูกชายของพล.อ.สายหยุด เกิดผล ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน ตนก็พิจารณาตามความเหมาะสม ได้เห็นชอบในการเสนอพล.อ.อักษรา เป็นเสนาธิการทหารบก และเป็นเลขากอ.รม.ได้ " น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

ขณะที่นายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายนายกรัฐมนตรี ได้สักถามว่าเหตุใดต้องเข้าประชุมกตช. ทำไมไม่มอบอำนาจให้รองนายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตามระเบียบกตช. นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกตช.จะมอบหมายให้บุคคลอื่นไม่ได้ เพราะนายกในฐานะประธานกตช. ต้องเป็นผู้เสนอชื่อผู้ที่ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. ให้คณะกรรมการกตช.พิจารณาเท่านั้น

จากนั้น นายถวิล กล่าวชี้แจงว่า เหตุผลที่แท้จริงในการย้ายตนออกจากตำแหน่งเรื่องมาจากสตช. เพราะก่อนที่จะมีมติครม.โอนย้ายตน มีเรื่องของสตช.โดยร.ต.อ.เฉลิม ออกมาพูดเรื่องบ่อนการพนัน ซึ่งมีความบกพร่องของพล.ต.อ.วิเชียร ซึ่งดำรงตำแหน่งผบ.ตร.ที่ปล่อยให้มีบ่อนการพนัน และมีข่าวออกมาบ่อยครั้ง ห้วงปลายเดือนส.ค. 54 ว่ามีการบีบบังคับให้พล.ต.อ.วิเชียร ได้ลุกขึ้นออกจากตำแหน่ง

"พล.อ.วิเชียร เคยพูดกับผมตอนที่มีข่าวจะย้ายมาสมช. ว่าท่านไม่มาตำแหน่งที่ผมขอให้ผมสบายใจได้ ท่านใช้คำว่าพี่ถวิลสบายใจได้ ผมไม่มาสมช. ผมจะต่อสู้ที่สตช. ผมก็บอกแล้วว่าดีแล้ว ซึ่งผมไม่เคยเปิดเผยข้อมูลที่ใดมาก่อน " นายถวิล กล่าว

นายถวิล กล่าวต่อว่า เมื่อจะทำให้ตำแหน่งที่สตช.ว่างลง จึงต้องเอาพล.ต.อ.วิเชียรออก จึงมาลงที่ตน เหตุที่ย้ายตนออกเพื่อรองรับพล.ต.อ.วิเชียร ก่อนแต่งตั้งพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อีกทั้งรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสตช. ก็บอกชัดเจนว่าไม่ไว้ใจตน เพราะทำงานในศอฉ.ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งตนเรียนว่าตนเป็นข้าราชการประจำ เป็นไปตามโครงสร้างตามกฎหมาย ตนต้องทำงานให้ทุกรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่มีการเปลี่ยนย้ายตามวาระของรัฐบาล

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ตอนย้ายพล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสมช. คุณถวิลดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสมช. ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ใช่หรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ใช่ครับ แต่เหตุผลที่ย้ายพล.ท.สุรพลผมไม่ทราบ ท่านนายกฯย้ายผม ตอนย้ายพล.ท.สุรพลผมจำได้ว่าย้ายประมาณเดือนกรกฎาคม ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาปี 2551 ให้พล.ท.สุรพลทำงานมา 8 - 9 เดือนแล้ว ”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า เคยขึ้นเวทีกปปส.หลายครั้ง นายถวิล กล่าวว่า "ถูกต้อง"

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ตอนขึ้นเวทีกปปส.ได้บอกว่าให้มวลชนไปขัดขวางการเลือกตั้ง นายถวิล กล่าวว่า "ผมจำได้ไม่เคยพูดให้ขัดขวางการเลือกตั้ง"

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ในศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยอำนาจถูกผู้ร้องว่ามีอำนาจโยกย้ายได้ ยกเว้นอย่างเดียวเรื่องดุลยพินิจ นายถวิล กล่าวว่า "ศาลปกครองวินิจฉัย แต่การใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ มีข้อเท็จจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าเร่งรีบดำเนินการ การย้ายต่างหน่วยต่างกรมต้องให้ความยินยอมกันก่อน ระหว่างหน่วยที่ให้โอนและหน่วยที่รับโอน เลขาธิการนายกฯมีหนังสือลงวันที่ 4 ก.ย. 54 มีไปถึงหน่วยที่กำกับดูแลผมอยู่ ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่ามีตำแหน่งพร้อมจะรับโอน และรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ปรากฏว่ารัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลได้ให้ความเห็นชอบในวันที่ 5 ก.ย. 54 ซึ่งเท่ากับว่ารัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยที่รับโอนยังไม่ได้เห็นชอบ ซึ่งไม่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยที่โอนและหน่วยรับโอน เป็นการปกติปิดข้อมูลบางอย่าง"

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา การโยกย้ายข้าราชการความไว้วางใจกับความสามารถ ฝ่ายบริหารจะต้องแยกจากกัน คนที่ไว้วางใจความอยู่ในตำแหน่ง เห็นด้วยหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ผมไม่เห็นด้วย”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า พยานเบิกความทั้งหมดดูแล้วเป็นสาระสำคัญในคดี เหตุใดจึงไม่ให้การกับศาลปกครอง นายถวิล กล่าวว่า น้ำหนักของผมที่ศาลปกครองคือกรณีที่นายกฯไม่ใช้วิธีการที่กฎหมายกำหนด กระบวนการต่อสู้ของผมรับผิดชอบแค่นี้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องสตช. ผมต่อสู้ในประเด็นของผมที่โยกย้ายไม่เป็นธรรม”

นายจรูญ ถามว่า การย้ายในกรณีดังกล่าวเห็นว่าเป็นการย้ายตามปกติของระบบราชการหรือไม่ คิดว่าเป็นการแทรกแซงหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ผมไม่ทราบว่าเป็นการแทรกแซงก้าวก่ายหรือไม่ แต่ผมเห็นว่าเกี่ยวพันกัน เป็นการแบ่งงานกันทำ เพราะถ้าไม่เอาผมออกก็ไม่สามารถโอนพล.ต.อ.วิเชียร มาตำแหน่งผมได้ และถ้าไม่เอาพล.ต.อ.วิเชียรออกจาตำแหน่งผบ.ตร.ได้ ก็ไม่สามารถเอาพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็นผบ.ตร.ได้”

นายอุดมศักดิ์ ถามว่า ก่อนจะมีการย้ายได้มีการส่งคนมาทาบทามก่อนหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “นายกฯให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่าจะหาทางคุยกับผมก่อนวันที่ 6 ก.ย.54 โดยนายกฯได้มอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิท มาคุยกับผม ซึ่งพล.ต.อ.โกวิทแจ้งว่านายกฯ ถามผมว่าผมจะขัดข้องหรือไม่ ผมพิจารณาด้วยความถี่ถ้วนทุกอย่าง ผมจึงบอกไปด้วยความเกรงใจว่าจะขอต่อสู้ตามกฎหมาย ”

นายจรัญ ถามว่า วันที่ 4 ก.ย.54 เป็นวันอาทิตย์หรือวันทำการอะไร นายถวิล กล่าวว่า “วันที่ 4 ก.ย.54 เป็นวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดราชการตามปกติ”

นายจรัญ ถามว่า ในบันทึกข้อความของสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 4 ก.ย. 54 ซึ่งระบุว่าน.ส.กฤษณา สีหะลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยินยอมให้รับโอนแล้ว นายถวิล กล่าวว่า “หนังสือจากพล.ต.อ.โกวิท แจ้งว่าน.ส.กฤษณาเห็นชอบพร้อมรับโอนแล้ว แต่มีหนังสือลงวันที่ 5 ก.ย. 54 ของน.ส.กฤษณาว่าเห็นชอบการรับโอน ผมเห็นว่าถ้าพิจารณาให้ดีแล้วการโอนย้ายต้องให้เกิดประโยชน์ต่อทั้ง 2 หน่วย ก็เห็นว่ามันไม่สอดคล้องกัน เพียงแต่ว่าเรื่องนี้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้เห็นเป็นสาระสำคัญของการโอน ”

นายจรัญ ถามว่า พยานผ่านงานระดับสูงมาแล้ว เห็นว่าการลงวันที่ไม่เหมือนกัน เพราะเหตุใดจึงมีความแตกต่างกัน และต้องมีเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นของปลอม นายถวิล กล่าวว่า "ผมคิดว่ามีการแก้ไขวันที่ ผมถ่ายเอกสารที่อยู่ในมือผมตั้งแต่ต้น ผมเห็นว่าหนังสือมีความลักลั่น"

นายเฉลิมพล เอกอุรุ ถามว่า งานที่ปรึกษานายกฯ ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า "ผมทำหน้าที่เอกสารอย่างเดียว เป็นเรื่องที่น่าจะต่ำกว่าความรู้ความสามารถที่ผมมีอยู่ อย่างไรตาม มองว่า ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นเพียงตำแหน่งที่ทำให้การโอนย้ายปลัดกระทรวงสะดวกขึ้นเท่านั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด "

นายทวีเกรียติ ถามว่า ตอนย้ายพล.ท.สุรพล สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ใช้ขั้นตอนเร็วหรือช้า นายถวิล กล่าวว่า "ส่วนใหญ่การทำงานในสมช.มีการเลือกกันเองในกอง แต่พล.ท.สุรพลได้โอนย้ายจากทหารมาเป็นรองเลขาธิการสมช.ในปี 2548 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ และได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นเลขาธิการสมช.ในรัฐบาลสมัคร ก่อนมาพ้นตำแหน่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งไม่ได้ย้ายทันที แต่ได้ทำงานมา 7- 8 เดือน และพล.ท.สุรพลไม่ได้ฟ้องต่อศาล "

ขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวชี้แจงว่า เรื่องการโยกย้ายสืบเนื่องจากความเสียใจ ที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้ตำหนิติเตียนอย่างรุนแรง ว่า ตำรวจคุมบ่อนคุมซ่อง ซึ่งเป็นการทำลายศรัทธาของประชาชน ซึ่งเมื่อถูกตำหนิติเตียน ก็ได้มาปรึกษาพล.ต.อ.โกวิท บอกว่าไม่สามารถทำงานกับผู้บังคับบัญชาแบบนี้ได้แล้ว แต่ว่าจะย้ายให้ตนไปไหนก็ได้ ซึ่งพล.ต.อ.โกวิทก็บอกว่า จะย้ายไปเป็นเลขาฯสมช. ซึ่งตนยืนยันว่าเป็นความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ต่อรอง แต่อย่างใด ส่วนนายกรัฐมนตรี ก็ไม่เคยทาบาทม ไม่เคยยื่นเงื่อนไข และไม่เคยแทรกแซงการโยกย้ายแต่อย่างใด

นายไพบูลย์ ได้ขึ้นซักถามว่าก่อนที่จะย้ายมาเป็นเลขาฯสมช. ทราบหรือไม่ว่ามีการเสนอชื่อพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มาเป็นผบ.ตร.แทน พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า ตนไม่ทราบมาก่อน เพราะการแต่งตั้งผบ.ตร. ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน้าที่นายกฯที่จะเห็นว่าใครเหมาะสม ในการเสนอชื่อให้เป็นผบ.ตร. ตนไม่ยึดติดตำแหน่ง แต่เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่ก็พร้อมทำเต็มที่ ตนตั้งใจจริงที่จะเกษียณในตำแหน่งหัวหน้าตำรวจพระราชสำนัก ซึ่งตนไม่ได้ยึดกับตำแหน่ง แต่ตั้งใจจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนจะไปอยู่ตำแหน่งไหนก็ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา

นายไพบูลย์ ซักต่อว่า การที่ร.ต.อ.เฉลิม ในฐานะผู้บังคับบัญชาต่อว่าเป็นการข่มขู่คุกคามหรือไม่ และต่อมายังถูกย้ายไปในตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการคุกคาม แต่ตนสมัครใจเอง การที่ร.ต.อ.เฉลิมตำหนิการทำงาน ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจการโยกย้ายตำแหน่ง เพราะตนตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ได้ถูกข่มขู่คุกคาม และเมื่อย้ายไปเป็นเลขาฯสมช. ถือเป็นคณะกรรมกตร.โดยตำแหน่ง และได้เห็นชอบพล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ เป็นผบ.ตร.

นายไพบูลย์ ซักต่อว่าเคยพูดคุยกับนายถวิล ก่อนโยกย้ายหรือไม่ พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวชี้แจงว่า ตนเคยพูดคุยกับนายถวิล เคยคุ้นเคยกัน เนื่องจากเคยเรียนที่สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ด้วยกัน แต่ก่อนการโยกย้ายไม่ได้มีการปรึกษาในเรื่องดังกล่าว แต่เมื่อโยกย้ายมาแล้ว ก็ไม่เคยพูดคุยกัน ซึ่งตนก็เสียใจที่ทำให้นายถวิลเดือดร้อน แม้จะตนจะมีอายุมากกว่า แต่เมื่อเจอหน้ากันก็ได้ยกมือไหว้และขอโทษที่ทำให้เดือดร้อน

จากนั้น เมื่อเวลา 13.45 น. นายจรูญ ได้สั่งพักการประชุม 10 นาที ก่อนที่ในเวลา 14.05 น. ตุลากรศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนังบัลลังก์อีกครั้ง โดยนายจรูญ ได้อ่านกระบวนการวิธีพิจารณา โดยระบุว่ากรณีที่ผู้ถูกร้องขอให้สอบพยานเพิ่มพยาน ได้แก่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายนพดล เฮงเจริญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ นายสมชัย วัฒนการุณ และนายประวิตร บุญเทียม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ขอยื่นแถลงปิดคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตเนื่องจากเห็นว่าพยานหลักฐานครบถ้วนและกระบวนการไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอนัดคำฟังวินิจฉัยในวันที่ 7 พ.ค.เวลา 12.00 น.

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

น้ำคำเสียสละไม่ลงเลือกตั้ง หรือ ต้องห้ามสมัคร ส.ส. กันแน่ !!?

ข้อเสนอ “ทางออกประเทศ” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้รับการ “ปฏิเสธ” จากทุกฝ่ายอย่างพร้อมเพียง

โดยเฉพาะใน “ฝ่ายประชาธิปไตย” ที่หันหลังให้ทันที เพราะ เป็น “ข้อเสนอ” ที่ไม่ได้มีแนวทางของ “ประชาธิปไตย” ไม่ว่าจะเป็น “รัฐบาลคนกลาง” หรือ “ชะลอการเลือกตั้ง” เพราะทั้งสองอย่างล้วนแต่เป็น “ทางบังคับ” ให้ประเทศ “เว้นวรรคประชาธิปไตย” โดยสมบูรณ์แบบ

และสุดท้าย “ข้อเสนอ” ที่มี “ไม่เป็นประชาธิปไตย” ต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำลายตัวเอง และสูญสลายหายไปในที่สุด
แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ทิ้งเอาไว้ หลังการออกมาเสนอ “ทางออกประเทศ-ทางตันประชาธิปไตย” ก็คือ “คำประกาศ” ที่ระบุว่า “พร้อมจะเว้นวรรคทางการเมือง ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง หากทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอ” ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยดังกล่าว !!!
เพราะ “ข้อเท็จจริง” ในอีกมุมหนึ่ง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ถูก “ปลดออกจากราชการ” ตาม “คำสั่งกระทรวงกลาโหม” ซึ่งมีผลทำให้มีคุณสมบัติ “ต้องห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.” อยู่แล้ว
โดยพบว่า “กระทรวงกลาโหม”ได้มี “คำสั่งกระทรวงกลาโหม” ที่ 1163/2555 เรื่อง “ให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ” รายละเอียดระบุว่าโดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า เมื่อ 2 มิ.ย.31 ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รรก.อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. ได้ใช้เอกสารสำคัญ สด.9 แทนฉบับที่ชำรุดสูญหาย ลง 8 เม.ย.31 อันมีข้อความสาระสำคัญเป็นเท็จ (ถือเป็นเอกสารเท็จ)ไปประกอบการขึ้นทะเบียนกองประจำการ ณ จว.น.ย. จนทำให้เจ้าหน้าที่สัสดีผิดหลงออกใบสำคัญ สด.3 ลง 2 มิ.ย.31 ขึ้นทะเบียนกองประจำการ ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขทะเบียน ทบ.2531 ก.ท.10803 การกระทำดังกล่าวของว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการกระทำที่ละเมิดศีลธรรม จริยธรรมและแบบธรรมเนียมทหารของนายทหารสัญญาบัตร เป็นการกระทำไม่สุจริตเพื่อประโยชน์แห่งตน เป็นการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ผิดวินัยทหารร้ายแรง ไม่สมควรให้อยู่ในราชการต่อไป นับแต่วันกระทำผิด…
ฉะนั้นจึงให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขประจำตัว 1313310803 (เหล่า สบ.) รรก.อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร.ออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน



ซึ่งในเวลาต่อมา “กระทรวงกลาโหม” ก็ได้มี “คำสั่งถอดยศ” ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1/2556 ลงวันที่ 2 ม.ค. 2556 เรื่อง “เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม” ระบุว่า มีหลักฐานเป็นที่ยุติว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สมัครเข้ารับราชการในโรงเรียนนายร้อย จปร. โดยเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติบรรจุเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร อันมีมูลเหตุจากนายอภิสิทธิ์ เป็นบุคคลที่ไม่ผ่านการรับราชการทหารกองประจำการ ไม่ผ่าน (ขาด) การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการโดยไม่ได้รับการผ่อนผันตามกฎหมาย ไม่มีเอกสารใบสำคัญทางทหารหรือเอกสารผ่อนผัน
ดังนั้นคำสั่งให้บรรจุนายอภิสิทธิ์ เป็นข้าราชการพลเรือนชั้นสัญญาบัตร เป็นนายทหารสัญญาบัตรมียศ ว่าที่ ร.ต. เป็นคำสั่งที่ออกด้วยความผิดหลง และที่มาจากความไม่สุจริต จึงเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งที่ยังมีผลบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจำต้องปฏิบัติตามต่อไป อีกทั้งสิทธิและหน้าที่ประโยชน์ที่ได้รับจากคำสั่งมิชอบด้วยกฎหมายนั้นยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน และอนาคต ทำให้รัฐและราชการของกระทรวงกลาโหมเสียหาย จึงมีความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควรให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ประกอบด้วย
1.คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 720/30 ลงวันที่ 7 ส.ค.30 เรื่องบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เฉพาะในรายหมายเลขหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขประจำตัว 6302030807 คุณวุฒิ Bachelor of Arts (Philosophy , Politics, and Economics) แห่ง University of Oxford ประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร ตำแหน่ง รรก. อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. (ขกท.2701) (อัตรา พ.ต. ) รับเงินเดือน ระดับ น.1 ขั้น 3 (2,765 บาท)
2.คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 339/31 ลงวันที่ 26 เม.ย.31เรื่องแต่งตั้งข้าราชการกลาโหม พลเรือนเป็นนายการสัญญาบัตร เฉพาะในรายหมายเลข 1 ว่าที่ร้อยตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายเลขประจำตัว 6302030807 รรก. อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. (เหล่า สบ.)
ทั้งนี้ คำสั่งในข้อ 1 ตั้งแต่ 7 ส.ค.30 และข้อ 2 ตั้งแต่ 26 เม.ย.31



เหล่านี้คือ “ข้อเท็จจริง” อีกส่วน ที่อาจจะส่งผลให้ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ขาดคุณสมบัติและไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ได้
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ทางออกประเทศ หรือ วิกฤตการเมือง ใดๆ ทั้งสิ้น 

ที่มา.พระนครสาสน์
////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประชาธิปัตย์ !!?

โดย.พญาไม้

เมื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ประชาธิปัตย์ก็เหลือทางเลือกอยู่เพียงสองทาง คือ จะประกาศยุบพรรคแล้วเลิกเล่นการเมือง หรือแยกทางเดินกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วกลับมารักษาพรรคให้คงอยู่ในระบอบรัฐสภาคืนสู่สนามเลือกตั้ง
นอกจาก ชวน หลีกภัย แล้ว..หมายเลข 2 ของการเป็นพรรคประชาธิปัตย์คือ สุเทพ เทือกสุบรรณ

เมื่อ สุเทพ ประกาศแนวทางใช้ปฏิวัติประชาชน..สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใหม่หรือเรียกร้องให้กองทัพออกมากระทำการปฏิวัติ..ประชาธิปัตย์จึงตกเป็นผู้ต้องหาว่าร่วมด้วยช่วยกัน..ถึงวันนี้ที่ตีบตันลงไปทุกวันคือ มวลมหาประชาชน ไม่ว่าด้วย จำนวนคน หรือ ทุนรอน

หากประเทศนี้สูญเสียพรรคประชาธิปัตย์..ก็ต้องนับว่าเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่สำหรับความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ..เพราะพรรคประชาธิปัตย์มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มีความเป็นสถาบันทางการเมือง

พรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยนั้น..ยังห่างจากความเป็นสถาบัน..เพราะไม่มีใครทายถูกว่าเมื่อไม่มีทักษิณแล้ว..อนาคตของพรรคจะเป็นเช่นไรและความยิ่งใหญ่ของพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ก็เพราะเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญ

ถ้าคุณปฏิเสธด้านหัวของเหรียญคุณก็ต้องไปอยู่ด้านก้อย

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พรรคประชาธิปัตย์ คุณประเมินทักษิณผิดไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่คุณประเมินประชาชนผิดคือเรื่องใหญ่

จำนวนกว่าครึ่งของประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยนั้น..ไม่สนใจว่าใครคือทักษิณใครคือชินวัตร..นั่นคือประชาชนที่ตื่นตัวแล้วและรู้แจ้งว่าเขาคือเจ้าของอำนาจเขาคือเจ้าของประเทศ

ยังมีประชาชนอีกมากมายที่หยัดยืนอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์..ยังมีประชาชนอีกมากที่พร้อมจะเทคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองที่เขามั่นใจ

อย่างที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศ รัฐบาลของประชาชนต้องไม่มีนักการเมืองนั้น..มันไม่ใช่ประชาธิปไตย..

มันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในโลกวันนี้

ที่มา.บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ดูเหตุผล : ทายาทสมัคร แย้งศาลปกครอง คดีจ่ายคืน กทม. 587 ล.ทำไมไม่ได้ !!?


PIC-สมคร---รถดบเพลง

ระเบียบดังกล่าวข้างต้นข้อ 17 วรรคห้า ประกอบด้วยข้อ 24 ที่กำหนดให้อำนาจผู้ฟ้องคดีมีอำนาจสั่งการ ในการมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรหากคดีจะขาดอายุความ โดยเฉพาะในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตายให้รีบดำเนินคดีอย่าให้ขาดอายุความมรดก แม้กระทรวงการคลังยังไม่ทำคำวินิจฉัยก็ตาม จึงเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำไปโดยชอบแล้ว

หมายเหตุ : เป็นคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในคดีที่กรุงเทพมหานคร ยื่นฟ้องคุณหญิงสุรัตน์ นางกาญจนากร และนางกานดา ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เสียชีวิตไปแล้ว ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่นายสมัคร กระทำความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง พร้อมกับอุปกรณ์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย หลังคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายสมัคร ร่วมกันกับบริษัท สไตเออร์ เอมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จำกัด ประเทศออสเตรีย กำหนดราคาซื้อขายสูงเกินจริง

ศาลปกครองกลาง วันที่ 30 เมษายน 2557 คดีหมายเลขดำที่ 1843/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 672/2557

ผู้ฟ้องคดี กรุงเทพมหานคร

ผู้ถูกฟ้องคดี คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (1), นางกาญจนากร ไชยลาโภ (2) และนางกานดา มุ่งถิ่น (3)

ข้อโต้แย้งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เนื่องจากเป็นคดีมรดกนั้น เห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับผิดชอบในฐานะทายาทในกองมรดกของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขณะดำรงตำแหน่งถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่ากทม.และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีปกครองตามนัยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542

กรณีหาใช่คดีมรกดอันเป็นคดีแพ่งสามัญพิพาทกันระหว่างเอกชนต่อเอกชนไม่ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงไม่อาจรับฟังได้

ส่วนข้อโต้แย้งว่าการสอบสวนไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 ประกอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539 ในส่วนการไม่ส่งรายงานไปยังกระทรวงการคลังก่อนนำคดีมาฟ้องและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามรับทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสคัดค้านนั้น

เห็นว่า ระเบียบดังกล่าวข้างต้นข้อ 17 วรรคห้า ประกอบด้วยข้อ 24 ที่กำหนดให้อำนาจผู้ฟ้องคดีมีอำนาจสั่งการ ในการมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรหากคดีจะขาดอายุความ โดยเฉพาะในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตายให้รีบดำเนินคดีอย่าให้ขาดอายุความมรดก แม้กระทรวงการคลังยังไม่ทำคำวินิจฉัยก็ตาม จึงเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำไปโดยชอบแล้ว

ส่วนการไม่ให้โอกาสผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานนั้น เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ อันจะต้องให้สิทธินั้นแก่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ตามพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2534 มาตรา 30 มาตรา 31 ประกอบระเบียบดังกล่าวข้อ 15 แต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาคดีดังกล่าว

“คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนขั้นตอนการเสนอขออนุมัติโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อจัดซื้อรถดับเพลิงฯ ต่อนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทย นายสมัคร ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับหลักการข้อเสนอจากนายสมศักดิ์ คุณเงิน เลขานุการรมช.มหาดไทย สรุปข้อหารือระหว่างนายประชา กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทย เรื่อง ความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัย รวมทั้งเสนอขายอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนายสมัครได้รับข้อเสนอ และยินดีรับการสนับสนุน พร้อมมอบหมายให้พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของผู้ฟ้องคดี จัดทำโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่จะใช้ในกิจการดับเพลิง เป็นรถดับเพลิงรวม 315 คัน เรือดับเพลิง 30 ลำ และครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัยตามคุณลักษณะและราคาที่บริษัท สไตเออร์ฯ ได้เคยเสนอต่อนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 และของบก่อสร้างศูนยน์ฝึกอบรมพร้อมเครื่องอุปกรณ์เป็นเงินประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งนายสมัครอนุมัติโครงการดังกล่าวและเสนอขออนุมัติต่อนายโภคิน กรณีของบอุดหนุนจากรัฐบาลที่มีวงเงินการซื้อพัสดุตั้งแต่ 32 ล้านบาทขึ้นไป หรือการซื้อโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินตั้งแต่ 16 ล้านบาท ขึ้นไป ให้ผู้ฟ้องคดีเสนอขอรับความเห็นชอบไปยังรมว.มหาดไทยก่อน

พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ผอ.สำนักงานป้องกันฯ ได้เตรียมร่าง A.O.U. ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งต้องจัดทำภายใต้กรอบกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนายสมัครควรต้องจัดทำร่าง A.O.U. ให้มีประเด็นที่ตกลงกับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียในเรื่องการค้าต่างตอบแทน (Counter Trade) ร้อยละ 100 และการซื้อสินค้าของผู้ฟ้องคดีซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการพัสดุในส่วนการจัดหาพัสดุที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในหน่วยงานและมีการสอบราคาเปรียบเทียบทางได้เสียเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการก่อนจัดทำ A.O.U. ในการจัดหารถดับเพลิงฯ

รวมทั้งต้องเสนอชื่อนายโภคิน รมว.มหาดไทย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยเพื่อให้รมว.ต่างกระเทศมอบอำนาจเป็นหนังสือมอบอำนาจ (FULL POWERS) และหากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการลงนามใน A.O.U. สำหรับการจัดหารถดับเพลิงไปก่อนก็สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขของมติครม.ข้างต้น

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท สไตเออร์ฯ เป็นผู้จัดทำร่าง A.O.U. โดยดัดแปลงร่าง A.O.U. ที่เสนอต่อผู้ฟ้องคดีมาจากร่าง A.O.U. ที่บริษัท สไตเออร์ฯ เคยทำกับกองบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย แล้วเสนอให้พล.ต.ต.อธิลักษณ์ พิจารณาก่อนเสนอนายสมัคร

แต่นายสมัครกลับไม่ตรวจสอบหลักการตามที่เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทย ได้ตกลงไว้กับรมว.มหาดไทยก่อนหน้าที่นายโภคินจะมาดำรงตำแหน่งรมว.มหาดไทย แต่กลับเร่งเสนออนุมัติโครงการดังกล่าวต่อนายโภคิน พร้อมแนบข้อเสนอของเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทย และใบเสนอราคารถดับเพลิง เรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย หมายเลข OFFER NO. 870/04/03/58 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ของบริษัท สไตเออร์ฯ รวม 15 รายการ มูลค่า 156,953,203 ยูโร เอกสารในสำนวนศาล ลำดับที่ 2/468 – 2/491 เพื่อเสนอครม.อนุมัติโครงการดังกล่าว และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยละเลยไม่เสนอให้นายโภคิน เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยแต่อย่างใด

ซึ่งนายโภคินต้องได้รับมอบอำนาจโดยหนังสือมอบอำนาจเต็มจากรมว.ต่างประเทศ ตามมติครม.ดังกล่าว พร้อมทั้งอ้างเหตุความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวอ้าง โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลและพยานเอกสาร ดังนี้

สำหรับพยานเอกสาร ประกอบด้วย บันทึกข้อความลงวันที่ 4 มีนาคม 2547 ที่นายสมัคร ในฐานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีบันทึกข้อความถึงนายโภคิน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้อนุมัติโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และขออนุมัติจัดซื้อรถดับเพลิงฯ จำนวน 315 คัน พร้อมเหตุผลและความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันอัคคีภัยและบรรเทาสาธารณภัย

โดยพล.ต.ต.อธิลักษณ์ ในขณะดำรงตำแหน่งผอ.สำนักป้องกันฯ เสนอให้พิจารณาเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องจัดซื้อรถดับเพลิงฯ โดยไม่มีข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมว่ามีเหตุผลและความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไร แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงจากพล.ต.ต.ชาตรี สุทัศน์ ณ อยุธยา เคยรับราชการกองบังคับการตำรวจดับเพลิงตรวจดูรายการจัดซื้อ 15 รายการ แล้วให้ความเห็นว่า ไม่สมควรซื้อทั้ง 15 รายการ เนื่องจากรถดับเพลิงที่ผู้ฟ้องคดีรับมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีเพียงพอ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีมีอุปกรณ์ทดแทนอยู่แล้ว และเรือดับเพลิงที่จัดซื้อมีความยาว 38 ฟุต ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงในคลอง ซึ่งมีความแคบ อีกทั้งบางสถานีมีจำนวนเจ้าพนักงานดับเพลิงน้อยกว่าจำนวนรถและอุปกรณ์

และนายนิยม กรรณสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากพล.ต.ต.อธิลักษณ์ ก็ยืนยันว่า ขณะนั้น ผู้ฟ้องคดีมีสถานีดับเพลิงจำนวน 35 สถานี ในสมัยของนายอภิรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่ากทม.จึงได้มีแผนขยายอีก 20 สถานี ภายใน 2 ปี และมีการของบสร้างอาคารสถาบันศูนย์ฝึกอบรมดับเพลิง 1 หลัง ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพสำนักป้องกันฯของผู้ฟ้องคดี ซึ่งอธิบดีกรมป้องกันฯ ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมดับเพลิงหรือโรงเรียนดับเพลิง เพราะควรเป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันฯ ที่เป็นหน่วยงานระดับชาติ โดยเฉพาะการฝึกอบรมและปฏิบัติต้องใช้เทคนิคและความเป็นผู้ชำนาญชั้นสูง ผู้ฟ้องคดีควรฝึกการดับเพลิงขั้นพื้นฐานเท่าที่จำเป็น ไม่น่าจะเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือชั้นสูง

และภายหลังคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันฯ ให้ข้อสังเกตกรณีการเปิด L/C ในฉบับภาษาไทย จะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน หลังจากลงนามในข้อตกลงของความไม่เข้าใจไม่น่าจะถูกต้อง และไม่มีการกล่าวถึงการทำการค้าต่างตอบแทน (COUNTER TRADE) แต่พล.ต.ต.อธิลักษณ์ และนายสมัคร หาได้แก้ไขข้อสังเกตดังกล่าวเพื่อหเกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียเสนอมาไม่

พฤติการณ์แห่งคดีจึงเชื่อได้ว่า การขออนุมัติโครงการฯเพื่อจัดหารถดับเพลิงดังกล่าว ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามที่นายสมัครกล่าวอ้างแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากภายหลังนายโภคินมีหนังสือถึงครม.ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 แล้วนายสมัคร ได้ขอตัดงบก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมและครุภัณฑ์ส่วนประกอบของอาคารออกรวม 3 รายการ อันแสดงให้เห็นว่านายสมัคร มิได้มีแผนรองรับในการดำนเนการให้มีสถานีรองรับการจัดซื้อรถดับเพลิง และเรือดับเพลิงในส่วนของที่จอดรถและที่จอดเรือ

จากพฤติการณ์การเสนอโครงการฯของพล.ต.ต.อธิลักษณ์ และนายสมัคร เป็นไปอย่างเร่งรีบโดยไม่จัดเตรียมแผนงานโครงการ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการฯ อย่างรอบคอบ ทั้งด้านแผนงาน แผนเงิน และแผนคน รวมทั้งการประเมินโครงการฯ อันเป็นหลักวิชาการในการจัดทำโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ไม่ปรากฏกรณีที่เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนสมดังกล่าวอ้างที่จะต้องรีบดำเนินการ หากเกิดความล่าช้าอาจก่อให้เกิดความเสียหายของแนวปฏิบัติตามมติครม.ดังกล่าวข้างต้น อันจะทำให้นายสมัครไม่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของมติครม.ดังกล่าวแต่อย่างใด

-----------

พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามในฐานะทายาทนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จำนวน 587,580,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้งนี้หากคดีที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องบริษัท สไตเออร์ฯ ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายเรียกทรัพย์สินคืน ตามคดีหมายเลขดำที่ กค.155/2552 โดยศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิม หรือคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของ ICC มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่กรณีตกลงกันด้วยดีทำให้ค่าความเสียหายลดลงเพียงใด ก็ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับผิดตามอัตราส่วนตามที่ศาลกำหนดให้นายสมัคร สุนทรเวช รับผิดชอบเพียงนั้น หากยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการซื้อของแพง ทั้งนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต้องรับผิดต่อสู้ฟ้องคดีเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ตกทอดแก่ตน และให้คืนค่าธรรมเนียมศาล บางส่วนตามส่วนของการชนะคดีแก่ผู้ฟ้องคดี”

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
-----------------------------------------------------

อำพราง ความยุติธรรม !!?

จากกรณีนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้ทำบันทึกข้อความไม่เป็นทางการไปถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว  ผบ.ตร.ขอการสนับสนุนให้ พ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงสกุล รอง ผกก.ป. สน.หัวหมาก เป็นผู้กำกับการ (ผกก.) โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพื่อนสนิทของหลานชายนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล  ประธานศาลปกครองสูงสุด และได้เข้ามาช่วยดูแลการปฏิบัติภารกิจของศาลปกครองสูงสุดในหลายโอกาส

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องความเหมาะสม และมองว่าเป็นการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจประจำปี 2556 จนมีการชี้แจงจากศาลปกครองว่าได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบแล้ว ซึ่งศาลปกครองจะเร่งรีบสอบสวนข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนอย่างเร่งด่วนในช่วงสัปดาห์นี้

เนื่องจากขณะนี้ปัญหาดังกล่าว มีผลต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นขององค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งมีการตั้งคำถามว่า ศาลปกครองซึ่งเป็นองค์กรอิสระพยายามใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้ามาแทรกแซงการบริหารของตำรวจหรือไม่ ทั้งที่ศาลปกครองมีหน้าที่ในการตัดสินคดีของการบริหารงานบุคคล ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ถือว่าไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกัน ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ก็ต้องเร่งรีบตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเฉกเช่นเดียวกัน ว่าหากมีการแต่งตั้งตามที่แนะนำมาให้ตำแหน่งสูงขึ้น ต้องมีเหตุผลชี้แจงให้ชัดเจนเช่นเดียวกันในการกระทำดังกล่าว

ทั้งนี้ การเร่งรีบตรวจสอบทำความกระจ่างอธิบายกับสาธารณะได้รวดเร็ว ชัดเจน โปร่งใสมากเท่าไร จากทั้งสองหน่วยงานอย่างศาลปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จะนำมาซึ่งความจริงต่อสังคม และลดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง อันเกิดจากบางกลุ่มหยิบกรณีนี้ไปใช้เป็นช่องทางโจมตีทางการเมืองกับฝ่ายตรงข้าม

เนื่องจากทั้งสององค์กร ถือเป็นแกนหลักของสังคมในกระบวนการยุติธรรม ยิ่งคลี่คลายเรื่องนี้ได้รวดเร็ว กระจ่าง ไร้ข้อกังขาต่อสังคมเท่าไร นั่นหมายถึงสังคมไทยจะยิ่งได้รับคุณูปการที่สำคัญ ในความเชื่อมั่นต่อการแสวงหาความจริงเพื่อไปสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง และยังเป็นไม้หลักสำคัญที่ค้ำยันสังคมอยู่ ทั้งศาลปกครอง-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้กระทั่ง ศอ.รส.เอง ต้องยุติการหาเศษหาเลยใช้เป็นช่องทางโจมตีองค์กรอิสระ แต่ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ต้องมุ่งเข็มทิศหาความจริงให้กระจ่าง ให้สังคมได้รับรู้ให้ได้ และเดินหน้าสู่หนทางแห่งการตรวจสอบไปพร้อมๆ กัน

เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือทำให้ความจริงปรากฏ ไขข้อข้องใจในพฤติกรรมข้างต้น เพราะไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากคิดหรือจงใจที่จะปล่อยให้เรื่องนี้เงียบหายไปเงียบๆ หรือมุ่งมั่นตั้งเป้าโจมตีทางการเมือง ก็หาได้ส่งผลดีแต่อย่างใดไม่ ยิ่งรังแต่จะสร้างความสั่นคลอนขององค์กร ภาพลักษณ์ และบั่นทอนความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่นในองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้ ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหลุดพ้นจากการถูกโจมตีเป็นเหยื่อทางการเมือง หรือถูกดิสเครดิตในการทำหน้าที่ หากถอยหลังไปสู่หนทางแห่งความเสื่อมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และอย่าให้เหตุการณ์นี้ได้ชื่อว่า   องค์กรยุติธรรมสร้างหลุมพรางความยุติธรรมเสียเอง ด้วยการปกปิด นิ่งเฉย เงียบงัน ซ่อนตัวอยู่ในวัฒนธรรมอุปถัมภ์ค้ำชูกันไม่จบสิ้น

ที่มา.ไทยโพสต์
--------------------------------

ยุทธศาสตร์ การปฏิวัติประชาธิปไตยของไทย !!?

โดย : รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (1)

การต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเผด็จการกับฝ่ายประชาธิปไตยที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นปี 2549 ผ่านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนถึงการปะทะกันครั้งล่าสุดกรณีนิรโทษกรรมเหมาเข่ง เป็นเวลาร่วม 8 ปีแล้ว ฝ่ายประชาธิปไตยได้เติบใหญ่เข้มแข็งขึ้น และได้เรียนรู้ประสบการณ์มาพอสมควร จนสามารถสรุปเป็นบทเรียนเพื่อใช้กำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และจังหวะก้าวของการต่อสู้เฉพาะหน้านี้ได้

ความขัดแย้งนี้มิใช่การต่อสู้ขัดแย้งกันเองภายในหมู่ผู้ปกครองล้วนๆ หากแต่เป็นการต่อสู้ระหว่างประชาชนไทยที่ต้องการประชาธิปไตยกับผู้ปกครองจารีตนิยมที่ผูกขาดอำนาจและโภคทรัพย์ของสังคมไทยตลอดมา เป็น “การปฏิวัติประชาธิปไตย” ในขอบเขตและบริบทของประเทศไทย เช่นเดียวกับการปฏิวัติประชาธิปไตยที่ได้เกิดขึ้นไปก่อนแล้วในประเทศที่เป็นอารยะ

ลักษณะสำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของไทย ได้แก่

ลักษณะที่หนึ่ง ประเทศไทยมีการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้โครงครอบของทุนนิยมขุนนาง-อุปถัมภ์อันจำกัดและล้าหลัง บัดนี้ได้มาเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกรากที่กดดันให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ทุนนิยมที่เสรีมากขึ้นและเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้น จึงก่อให้เกิดการปะทะขัดแย้งกันระหว่างพลังสังคม 2 พลัง ฝ่ายหนึ่งได้แก่ กลุ่มทุนจารีตนิยม ทุนเก่า และชนชั้นกลางในเมือง ที่เสวยผลประโยชน์อยู่กับระบอบทุนนิยมขุนนาง-อุปถัมภ์ กับอีกฝ่ายหนึ่งคือ กลุ่มทุนใหม่และชนชั้นล่างในเมืองและชนบท ที่ต้องการสลัดพันธนาการดังกล่าวออกไป และผลักดันให้เศรษฐกิจสังคมไทยก้าวหน้าไปสู่ทุนนิยมเสรีและโลกาภิวัตน์

ลักษณะที่สอง ความขัดแย้งระหว่างพลังเศรษฐกิจที่ล้าหลังกับพลังเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าข้างต้นได้สะท้อนออกเป็นความขัดแย้งระหว่างพลังทางการเมือง 2 ฝ่ายคือ ระบอบเผด็จการอันคับแคบ เสื่อมโทรม ล้าหลังของกลุ่มทุนจารีตนิยม ทุนเก่า และชนชั้นกลางในเมืองด้านหนึ่ง กับระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมที่เปิดกว้าง ก้าวหน้า และเป็นกระแสที่ถาโถมมากับโลกาภิวัตน์ของกลุ่มทุนใหม่และประชาชนชั้นล่างในอีกด้านหนึ่ง

ลักษณะที่สาม ในความขัดแย้งของพลังทางเศรษฐกิจและการเมืองนี้ ผู้ปกครองจารีตนิยมมีความใหญ่โตเข้มแข็งอย่างยิ่ง เพียบพร้อมไปด้วยมือเท้าและกลไกอำนาจรัฐ ทั้งทหาร ตำรวจ ศาล คุกตะราง ไปจนถึงพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มมวลชนเสื้อเหลือง และที่สำคัญที่สุดคือ การครอบงำทางความคิดและอุดมการณ์ที่ฝังรากลึกในหมู่บุคลากรของรัฐและประชาชนมายาวนานหลายสิบปี ทั้งหมดนี้มีลักษณะรวมศูนย์ในแนวตั้ง และมีความเข้มแข็งอย่างยิ่งในกรุงเทพฯและเขตเมืองใหญ่

ลักษณะที่สี่ ฝ่ายประชาธิปไตยนับแต่ได้รวมตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการก่อตัวจากล่างสู่บน จากเล็กสู่ใหญ่ จากอ่อนสู่แข็ง เข้ามามีส่วนร่วมโดยมวลชนอย่างเข้มข้น เหนียวแน่น ทุ่มเทอย่างน่าประหลาดใจ ในด้านการจัดตั้งมีลักษณะเป็นเครือข่ายแผ่กว้างในแนวนอน ฝ่ายประชาธิปไตยยังได้พัฒนาเครื่องมือของตนขึ้นมา ได้แก่ นักรบไซเบอร์ในสื่อออนไลน์ เครือข่ายวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม พรรคการเมืองในระดับชาติ และเครือข่ายนักการเมืองในท้องถิ่นทั่วประเทศ เครือข่ายนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย ตลอดจนเครือข่ายของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แต่ก็ยังมิอาจเทียบได้เลยกับเครือข่ายอำนาจรัฐในมือของพวกจารีตนิยม ยิ่งกว่านั้นคือ เครือข่ายและฐานกำลังของฝ่ายประชาธิปไตยมีลักษณะกระจายออกไปทั่วประเทศ และมีความเหนียวแน่นเข้มแข็งในเขตชนบทภาคเหนือ-อีสาน-กลาง

                ลักษณะสำคัญ 4 ประการนี้กำหนดหนทางของการปฏิวัติประชาธิปไตยของไทย ลักษณะที่หนึ่งและที่สองกำหนดว่ามีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะขยายตัวเติบใหญ่และเข้มแข็งจนสามารถเอาชนะเผด็จการได้ในที่สุด แต่ลักษณะที่สามและที่สี่กำหนดว่าการต่อสู้และชัยชนะดังกล่าวจะได้มาด้วยการต่อสู้ที่ยืดเยื้อ ซับซ้อน และยากลำบาก เพราะฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องใช้เวลาอันยาวนานในการเติบใหญ่เข้มแข็งขึ้น เข้ายึดกุมกลไกอำนาจรัฐมาจากพวกจารีตนิยมทีละน้อย และพัฒนาเครื่องมืออำนาจรัฐของตนเองขึ้นมาอย่างช้าๆ

ลักษณะที่สามและที่สี่ยังเป็นปัจจัยกำหนดยุทธศาสตร์และรูปแบบการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยอีกด้วย

ประการที่หนึ่ง การต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยเป็นการต่อสู้ทางการเมืองเป็นด้านหลัก และมีการต่อสู้ทางการทหารเป็นด้านรอง เพราะฝ่ายประชาธิปไตยที่อ่อนเล็กไม่สามารถเข้าปะทะทางกายภาพกับฝ่ายเผด็จการได้ในทันที จำต้องใช้ความชอบธรรมทางการเมืองเป็นอาวุธในการต่อสู้เพื่ออยู่รอด สะสมกำลัง ค่อยๆขยายตัวเข้มแข็งขึ้น ไปสร้างและพัฒนาพลังทางอำนาจรัฐและพลังทางทหารขึ้นมาอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเอาชนะฝ่ายเผด็จการในที่สุด

ประการที่สอง ในการต่อสู้อันยืดเยื้อนี้ ฝ่ายเผด็จการมีรูปแบบการต่อสู้หลักเป็นการรุก โดยใช้กลไกอำนาจรัฐอันเพียบพร้อมเข้า “ล้อมตีเพื่อทำลาย” ฝ่ายประชาธิปไตย ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยก็มีรูปแบบการต่อสู้หลักเป็นการรับ “ต่อต้านการล้อมตี” การล้อมตีและการต้านการล้อมตีแต่ละครั้งประกอบขึ้นเป็นการปะทะใหญ่ โดยที่ในการปะทะใหญ่แต่ละครั้ง ชัยชนะของพวกเผด็จการคือการแยกสลายหรือทำลายฝ่ายประชาธิปไตยให้หมดไป ส่วนชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยก็คือ การอยู่รอด รักษากำลัง และขยายตัวเข้มแข็งขึ้น

ประเทศไทยได้ผ่านการปะทะใหญ่มาแล้ว 2 ครั้งคือ ครั้งที่หนึ่ง รัฐประหาร 2549 ครั้งที่สอง รัฐบาลพรรคพลังประชาชน-พรรคประชาธิปัตย์ 2551-2553 และขณะนี้นับตั้งแต่ปลายปี 2554 เป็นการปะทะใหญ่ครั้งที่สาม

ประการที่สาม การที่ฝ่ายเผด็จการเป็นพลังที่ล้าหลัง ถอยหลังเข้าคลอง ทวนกระแสโลกาภิวัตน์และต้านกระแสประชาธิปไตยในสากล ตลอดจนมีกลไกอำนาจที่รวมศูนย์เข้มแข็งในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยมีลักษณะก้าวหน้า อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสประชาธิปไตยในสากล ขณะเดียวกันก็มีเครือข่ายและกลไกที่กระจายแต่เข้มแข็งในเขตชนบทภาคเหนือ-อีสาน-กลาง ทั้งหมดนี้ทำให้ฝ่ายเผด็จการมีฐานที่มั่นหลักในกรุงเทพฯและเขตเมืองใหญ่ ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยมีฐานอิทธิพลแผ่กระจายอยู่ในเขตชนบทภาคเหนือ-อีสาน-กลาง รวมทั้งการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากรัฐบาลเพื่อนมิตรในประชาคมนานาชาติ

นัยหนึ่งบนพื้นที่เฉพาะของการปะทะใหญ่ในแต่ละครั้ง ฝ่ายเผด็จการอยู่ “ด้านนอก” และเป็นฝ่ายรุกล้อมตี ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยอยู่ “ด้านใน” และเป็นฝ่ายรับ ต่อต้านการล้อมตี แต่ในทางยุทธศาสตร์ส่วนทั้งหมดแล้วฝ่ายเผด็จการอยู่ “ด้านใน” คือยึดกุมเขตกรุงเทพฯ-เมืองใหญ่

ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยอยู่ “ด้านนอก” ยึดกุมต่างจังหวัด-ชนบท และประชาคมนานาชาติในอีกด้านหนึ่ง กลายเป็น “ชนบทล้อมเมือง โลกล้อมประเทศไทย ประชาธิปไตยล้อมเผด็จการ

ที่มา.นสพ.โลกวันนี้
----------------------------------------

สงครามกลางเมือง ยิ่งใกล้ๆเข้ามา !!?

โดย.รศ.ดร.อภิชัย รัตนวราหะ

เงื่อนไขและปัญหาของวิกฤตประชาธิปไตยของไทยขณะนี้คือพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ได้ทิ้งหลักการของประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองจะพึงประพฤติปฏิบัติ การสวนกระแสโลกและ "ดูถูก" เสียงส่วนใหญ่ของคนชนบทอย่างไม่ยี่หระ การมีทัศนคติแบบ "สุดโต่ง" ถอยหลังเข้าคลอง ปัจจัยเหล่านี้คือเงื่อนไขและก่อให้เกิดวิกฤตประชาธิปไตยของเมืองไทย อันจะนำไปสู่ความรุนแรงคือสงครามกลางเมืองมากยิ่งขึ้น

ขบวนการของพวกขวาจัด เช่น องค์กรเก็บขยะ ทหารแก่ที่ตกยุค และเหตุการณ์ฆาตกรรมกวีฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อ 2-3 วันมานี้ คือตัวบ่งชี้ให้เห็นว่าอัตราเสี่ยงที่เมืองไทยจะเข้าสู่โหมดของการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

คนที่เป็นถึงหมอ (องค์กรเก็บขยะ) ได้ออกมาพูดทำนองว่าต้องกำจัดคนที่ "เห็นต่าง" จากตัวเองหรือพรรคพวกตัวเอง แล้วตามมาด้วยการฆาตกรรมกวี กลางเมืองหลวงของประเทศ ทหารแก่ที่หลงตัวเองได้ออกมายั่วยุให้สังคมกลับไปสู่ยุคไดโนเสาร์เต่าล้านปี...สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือการดูถูกคนที่เห็นต่างเหมือนกับไม่ใช่คน (เป็นขยะ) รวมทั้งความคิดที่สวนกระแสโลกของความเป็นจริง โดยขาดทั้งสติสัมปชัญญะและหิริโอตตัปปะ (คือการละอายต่อบาปทั้งการพูดและการกระทำ)

น่าสังเวชและน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่คนเหล่านี้...เป็นถึงบุคคลสำคัญมีชื่อเสียง และเคยสร้างคุณงามความดีให้กับบ้านเมืองมามิใช่น้อย แต่บุคคลเหล่านี้ได้ลืมตัวและหลงตัวโดยมิได้เกิดความกระดากอายในพฤติกรรมการแสดงออกแต่อย่างใดเลย

การขาดสติสัมปชัญญะโดยมิได้คำนึงถึงความสูญเสียของประเทศชาติที่จะตามมา...รวมทั้งบาปกรรมที่พวกตัวเองได้ก่อขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า...คนประเภทนี้จึงไม่ต่างไปจากคนที่กำลังเป็นบ้าและน่าทุเรศที่สุดที่ประวัติศาสตร์ของไทยจะต้องจารึกไว้อีกยาวนาน!

สังคมไทยขณะนี้จึงเป็นสังคมของ "คนป่วย" ดังที่พระท่านว่าไว้ และอาการกำลังน่าเป็นห่วงเป็นที่สุด วิธีการฆาตกรรมนักกวีกลางวันแสกๆ กลางเมืองหลวงของประเทศ คือวิธีการที่ป่าเถื่อนที่สุดที่ประเทศนี้เคยมีมา กฎหมายบ้านเมืองไม่มีความหมาย ไร้ขื่อแป คนที่รับผิดชอบทั้งรัฐบาลและตำรวจอ่อนแอและไร้ซึ่ง "ความรับผิดชอบ"

สภาพที่เป็นวิกฤตของบ้านเมืองเช่นนี้กำลังพาประเทศชาติเข้าสู่หุบเหวของความหายนะและย่อยยับมากเข้าทุกวัน!

สังคมไทยต่อไปนี้จะกลายเป็นสังคม "ตัวใครตัวมัน" เพราะเมื่อบ้านเมืองไร้ซึ่ง "ความเชื่อมั่น" ต่อรัฐบาล องค์กรที่จะเป็นที่พึ่งในขบวนการยุติธรรม...การดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดด้วยตัวเอง ด้วยการล้างแค้น และการโต้ตอบคนที่มาข่มเหงรังแกก่อนจะเป็นไปอย่างกว้างขวางและสะเปะสะปะมากขึ้น

ผมเชื่อมั่นว่า "ความรุนแรง" ที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีความรุนแรงมากกว่าทุกครั้งที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เพราะเหตุการณ์ของการล้อมปราบใหญ่ที่ "ราชประสงค์" ในปี 2553...บทเรียนเหล่านี้เป็นบทเรียนบทสำคัญที่คนเสื้อแดงได้รับมาอย่างเต็มที่

โปรดอย่าลืมว่าคนเสื้อแดงเขาก็เป็นคน มีมือมีตีน และมีสมองไม่ต่างไปจากทหาร คนเสื้อเหลือง และคนกรุงเทพฯ เขาคงจะไม่ยอมให้ทหาร คนเสื้อเหลืองและคนกรุงเทพฯ เที่ยวมาไล่ฆ่าง่ายๆ และโง่ๆ....เหมือนปี 2553 อีกต่อไปละครับ!!

ผมเตือนมาแบบนี้ไม่ใช่ท้าทาย หรือต้องการจะท้าตีท้าต่อย แต่ผมกำลังจะเตือนพวกท่านดังกล่าวไว้ว่า...ครั้งนี้อย่าได้ประเมินคนเสื้อแดงเขาต่ำจนเกินไป

ทหารแก่ๆ คุณหมอ (ที่ชอบมองคนอื่นที่เห็นต่างว่าเป็นขยะ) ท่านที่ชอบหลงตัวเองว่าเป็นคนดี อธิการบดี คณบดี (ที่ชอบดูถูกคนอื่นว่าชั้นต่ำกว่าตัวเอง และฉลาดน้อยกว่า) คนชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในกรุงเทพฯ (ที่ชอบดูถูกคนชนบทว่าเป็นคนด้อยการศึกษา ชอบขายเสียงให้แก่นักการเมืองที่ทักษิณสนับสนุน) ...ท่านเหล่านี้อย่าได้ประเมินคนอื่นที่เห็นต่างต่ำเกินไป

บทเรียนที่ประเทศเขมรเมื่อ "เขมรแดง" เข้าไปยึดกรุงพนมเปญได้...แล้วไล่ต้อนคนเมืองกรุงพนมเปญให้ออกไปอยู่ต่างจังหวัด ให้ทำงานกุลีใช้แรงงานทั้งวันทั้งคืน แล้วให้กินข้าวต้มเปล่าๆ ถ้วยเล็กๆ ถ้วยเดียว...ท่านทราบไหมครับว่าคนกรุงเมื่อเจอแบบนี้...ตายไปภายในอาทิตย์เดียวเป็นพันๆ คน...!

ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า...จะมีการซ้ำรอยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา...การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่นาซีฆ่ายิว (6 ล้านกว่าคน) รวันดาใช้เวลา 100 วัน เผ่าฮูตูฆ่าเผ่าทุตซี (800,000 คน)...และอีกหลายเหตุการณ์แบบนี้ที่ตามมา ฯลฯ อย่านึกว่าจะไม่เกิดขึ้นที่เมืองไทย ผมเตือนมาอีกครั้งหนึ่ง!!

คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พูดไว้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 ด้วยการเตือนสติไว้ว่าความรับผิดชอบ ต่อวิกฤตของบ้านเมืองขณะนี้ไม่ใช่ความรับผิดชอบของ "คนใดคนหนึ่ง"แต่ความรับผิดชอบนั้น...คนไทยทุกคน!! ต้องร่วมกันรับผิดชอบ

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง! และการที่ผมเขียนบทความขึ้นวันนี้ ผมก็คิดว่าผมได้ทำตามคำแนะนำของคุณณัฐวุฒิแล้วนะครับ!

ที่มา.มติชน
///////////////////////////////////////////////////////

อุกฤษ มงคลนาวิน แนะศาลรธน. หยุด ก่อนเลือดนองแผ่นดิน !!?

สัมภาษณ์พิเศษ:

โดย : เสถียร วิริยะพรรณพงศา

อุกฤษ มงคงนาวิน แนะศาลรัฐธรรมนูญหยุดทำหน้าที่ ก่อนเหตุเลือดนองแผ่นดิน

ยามนี้ ถือได้ว่าเป็นภาวะจนปัญญายิ่งนัก สำหรับการหาทางออกจากวิกฤตการเมือง เพราะนอกจากมีการวัดพลังด้วยกำลังพลแล้ว ยังมีการใช้กฎหมาย-บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตีความไปในทิศทางเพื่อประโยชน์แห่งตน ทำให้กฎหมายบางข้อ-บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกัน เมื่อยืนคนละฝั่ง ก็แปลเนื้อความไม่ตรงกัน แม้นักกฎหมายชั้นครู จะออกมาให้ความเห็น หวังคลี่คลาย แต่ท้ายสุดกลับเป็นการดึง ให้ปมปัญหามัดแน่น จนยากแก้ไขได้..

ในวังวนของเขาวงกตทางกฎหมาย"อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ในฐานะอดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประมุขสภาสูง-สภาล่างหลายสมัย ได้ชี้ทางออก โดยตั้งโจทย์ใหญ่อยู่ที่ “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่!! เพื่อหยุดเหตุที่นำไปสู่การเผชิญหน้าของ 2 กลุ่มการเมือง ที่อาจถึงขั้นเลือดนองแผ่นดิน

โดยจุดที่จะนำไปสู่ความรุนแรงที่ “ประธาน คอ.นธ.” มองคือ อารมณ์ของคนที่ไม่ยอมรับในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีการพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐมนตรี ของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ตามที่กลุ่มสมาชิกวุฒิสภายื่นเรื่องให้พิจารณา ว่าจะสิ้นสภาพเพราะได้ใช้อำนาจมิชอบในการโยกย้าย “ถวิล เปลี่ยนสี” หรือไม่ ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะสังคมรับรู้ในวงกว้างแล้วว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” มีธงนำในการตัดสินคดีอย่างไร และจะเป็นเส้นทางเดียวที่ทำให้มวลมหาประชาชนสมปรารถนา คือนำไปสู่“ภาวะสูญญากาศทางการเมือง”

แต่โดยทัศนะส่วนตัวต่อคดี “ดร.อุกฤษ” ให้ความเห็นไว้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรรับเรื่องไว้ตั้งแต่แรก เพราะกรณีของ “ถวิล เปลี่ยนสี” ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยจนจบไปแล้ว ส่วนสถานภาพขอนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีนั้น ได้จบไปแล้วเช่นกัน นับตั้งแต่ประกาศยุบสภา เมื่อเดือนธันวาคม 2556 แต่เหตุที่ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องอยู่ ก็เพื่อทำตามสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ คือ ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามา

"ผมยังงง ว่าทำได้อย่างไร จะไล่เขาให้ออกไป ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 บอกให้ ครม.ที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ามี ครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่มารับหน้าที่ ถ้าไล่เขาไม่ให้ทำหน้าที่ จะถือเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือเห็นว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไม่มีความหมายแล้ว นอกจากนั้นแล้วมีประเด็นที่อาจเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งหนัก คือ กรอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ไม่มี ส่วนข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ในรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราว เพียง 1 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2550 มีผลบังคับใช้ ดังนั้นถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวหมดอายุลงไปแล้ว ดังนั้นอาจจะเป็นปัญหาที่ตัวศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย แล้วจะบอกให้คนอื่นปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างไร มันอาจจะขัดกับความรู้สึกของคน"

ต่อประเด็นการเกิดภาวะสูญญากาศทางการเมืองที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องการนั้น “อดีตประธานสภานิติบัญญัติ” วิเคราะห์ผ่านประสบการณ์ที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญในช่วงสำคัญทางการเมือง ว่า ตามช่องทางกฎหมายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า “ยิ่งลักษณ์” ต้องพ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี ในกฎหมายยังให้รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทนได้ แต่หากเกิดกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่แทนไม่ได้ ก็มีรัฐมนตรีในคณะ ขึ้นปฏิบัติหน้าที่แทน

แต่ภาวะสูญญากาศอาจเกิดขึ้นได้จริง ในหนทางเดียว คือ รัฐประหารแล้วฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทิ้ง งานนี้ "อดีตประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ"ออกโรงเตือนไว้ว่า "ใครก็ตามที่คิดจะปฏิวัติ ไม่ว่าจะด้วย กำลังทหาร หรือ ตุลาการ ในยุคนี้ ระวังจะเป็นการฆ่าตัวตายทั้งเป็น!!"

ส่วนกรณีที่ฝ่ายกปปส. มีความเชื่อว่าหลังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นสภาพและส่งผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นไปด้วย จะเข้าสู่ภาวะสูญญากาศทันทีนั้น ไม่ทราบว่าใครไปให้คำปรึกษา รวมถึงการใช้ช่องทางของรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เรื่องการขอนายกฯพระราชทานด้วย ประเด็นพวกนี้ควรจบได้แล้ว เพราะใครทำแบบนี้ เท่ากับเป็นการละเมิดพระราชอำนาจ แต่หากภาวะบ้านเมืองถึงทางตันจริงๆ มาตรา 7 อาจถูกหยิบยกมาใช้ได้ เพราะถือว่าเป็นบทบัญญัติเพื่อใช้อุดช่องว่างทางกฎหมาย แต่ต้องใช้อย่างมีเงื่อนไข คือ เป็นไปตามประเพณีปฏิบัติและดูบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหลายมาตราประกอบ เช่น มาตรา 171 นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นส.ส. จะให้ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามการเทียบเคียงไม่ได้

สำหรับแนวทางออกของคนการเมืองที่แบ่งภาค เดินสายไปเจรจากับภาคส่วนต่างๆ “ดร.อุกฤษ” มองว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่เชื่อว่าจะเป็นทางออก เพราะการเดินสายเจรจาปัจจุบันไม่ระบุเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการอะไร หากเขาบอกว่าต้องการให้บ้านเมืองปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ต้องยอมรับก่อนว่าบ้านเมืองที่เจริญแล้วต้องมีการเลือกตั้ง และเมื่อเลือกตั้งแล้วต้องยอมรับเสียงข้างมากและเคารพเสียงข้างน้อย ไม่เอาแล้วที่ใช้เสียงข้างมากลากไป หรือเอาเสียงข้างน้อยลากไป เมื่อไม่ถูกใจ ก็ออกมาข้างถนน ที่พูดกันมากคือ อยากให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เขาจะใช้ฐานกฎหมายใดมาปฏิบัติ ดังนั้นทางที่เป็นไปได้ คือ จัดการเลือกตั้งให้เสร็จโดยเร็ว จากนั้นตั้งคณะกรรมการหลายๆ ชุดเพื่อทำเรื่องปฏิรูป มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชน มีส่วมร่วม ให้เวลาทำงาน 1 ปีครึ่งจากนั้นเมื่อทำเรื่องเสร็จก็ไปทำประชามติ เรื่องก็จบ

การออกมาให้ความเห็นของ"อุกฤษ"ที่ช่วงหลังถูกหน่วยงานของฝ่ายรัฐบาลรักษาการหยิบไปใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนแนวคิด ทำให้สังคมฝ่ายต่างๆ ตั้งคำถามว่า ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ ทำตัวเป็นแนวร่วมของรัฐบาลไปแล้วใช่หรือไม่.... ประเด็นนี้ “ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน” เพิกเฉยกับคำครหา และชี้แจงว่าจดหมายเปิดผนึกของ คอ.นธ.ที่ออกไปแล้ว 2 ฉบับไม่เคยเอาไปหารือกับ ศอ.รส. หรือฝ่ายรัฐบาลก่อนบอกประชาชน ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ฝ่ายใดๆ จะนำไปวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในประเด็นสำคัญที่เห็นบทบาทบ่อยครั้งช่วงนี้ไม่ใช่เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีสายสัมพันธ์กันมายาวนานร้องขอ ทั้งนี้ยอมรับว่าเคยทำงานร่วมกันในอดีต แต่การทำงานที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพื่อรัฐบาลขณะนั้น แต่เป็นเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง และที่สำคัญประวัติความสัมพันธ์ที่มีมาไม่ใช่ว่าจะทำให้ออกคำสั่งกับเขาได้

ในช่วงท้าย"ประธาน คอ.นธ."ได้ฝากคำแนะนำไปยังบรรดานักกฎหมายที่พยายามใช้กฎหมายมาเป็นอาวุธ จนสร้างความยุ่งเหยิงทางการเมืองว่า หลักการปกครองของบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยต้องยึดหลักนิติธรรม หลักกฎหมายและผู้ที่ใช้กฎหมายต้องมีความเป็นธรรม หากใช้อย่างไม่เป็นธรรม อย่างตุลาการจำนวนไม่น้อยนั้น ก็อาจถูกตำหนิติเตียนได้ ดังนั้นใครมีหน้าที่อย่างไร ก็ทำหน้าที่ไป อย่าละเว้นการทำหน้าที่ เพราะความโลค ในลาภ ยศ สรรเสริญ ยอมรับว่ากลุ่มนักกฎหมาย ที่เป็นลูกศิษย์ของเขามีจำนวนมาก แต่ลูกศิษย์ที่เติบโตในหน้าที่การงานปัจจุบัน มีอิสระในความคิด ดังนั้นเมื่อคิดเห็นอย่าไร เขาต้องรับผิดชอบตัวเขาเองด้วย ประเด็นสำคัญอย่าลืมว่าบ้านเมืองมีสิ่งที่กำกับไว้ หากใครทรยศต่อบ้านเมือง ต่อวิชาชีพ ไม่มีทางเจริญ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////

บทเรียน การเมือง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กรณี รัฏฐาธิปัตย์ !!?

 ไม่ว่าจะ เจตนา ไม่ว่าจะมี ความตั้งใจ แต่กรณีที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกมา ปิดเกม ในเรื่อง พระบรมราชโองการ มีความลึกซึ้งยิ่งในทางการเมือง

 แม้จะไม่ได้ออกมาโดยตัว พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

 นั่นก็คือ เป็นการออกมายืนยันอย่างเฉียบขาดและมั่นคงโดย พล.ท.พิศณุ พุทธวงศ์ ซึ่งเป็นทั้งเลขาธิการสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ และ นายทหารคนสนิท

 นายทหารคนสนิท ประธานองคมนตรี

 หากมองจากเรื่องของ พระบรมราชโองการ อันเป็นของสูง มีความจำเป็นที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จักต้องยุติเรื่อง
 แม้จะทำให้ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เกิดความหงุดหงิด

 แม้จะทำให้บรรดา คณะรัฐบุคคล อันมี นายปราโมทย์ นาครทรรพ และ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นกำลังสำคัญในทางความคิด

 เพราะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบรมราชโองการ

 หากไม่เก็บรับบทเรียนจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในกรณีอันเกี่ยวกับ รัฏฐาธิปัตย์ มาศึกษาจะไม่เข้าใจในความร้อนใจของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้หรอก

 บทบาทของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการนี้มี 2 หน 2 ครา

 หนแรกแสดงออก ณ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเดือนธันวาคม 2556 โดยการประกาศให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง

 เป็นการประกาศโดยไม่เอ่ยคำว่า รัฏฐาธิปัตย์

 หน 2 เมื่อเดือนเมษายน 2557 เป็นการกล่าวถึงคำว่า รัฏฐาธิปัตย์ อย่างเต็มปากเต็มคำ โดยยืนยันตนเองจะเป็นผู้เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และตนเองจะเป็นผู้ ลงนาม รับสนอง พระบรมราชโองการ

 เสียง อื้อฮือ ก็ดังกระหึ่มประสานกับเสียง อะฮา

 อย่าลืมเป็นอันขาดว่า บรรดา นักรัฐประหาร ในการอดีต ไม่ว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่ว่า จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเคยทำอย่างที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พูด

 แต่ไม่เคยประกาศตนว่าเป็น รัฏฐาธิปัตย์

 แม้กระทั่งล่าสุด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งดำรงอยู่เหมือนกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลถนอม กิตติขจร ในสถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

 ก็ไม่กล้าใช้คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ แทนตน

 ฉะนั้น เมื่อ พล.อ.สายหยุด เกิดผล พยายามจะยัดเยียดสถานะแห่ง รัฏฐาธิปัตย์ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงรีบตัดบท

 ไม่ยอมไปอยู่ ณ จุดเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

 ไม่ทราบว่าเมื่อผ่านสถานการณ์ในวันที่ 30 เมษายนมาแล้ว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเป็นเช่นใด

 จะประสบชัยชนะอันรุ่งโรจน์พร้อมกับ มวลมหาประชาชน สามารถโค่นและกำจัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกไปให้พ้นจากวงจรแห่งอำนาจ

 หรือว่าจะเสมอเป็น ครั้งสุดท้าย แห่งครั้งสุดท้ายอีกหลายครั้ง


ที่มา ข่าวสดออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

พระสงฆ์ กับ สังคมไทย !!?


ต้องกล่าวว่า ในอดีต การควบคุมทางสังคม(Social control) และ การขัดเกลาทางสังคม(Socialization) ของสังคมไทยล้วนอยู่ในมือของ ระบบคู่ทางสังคมคือ ระบบอาณาจักรและระบบศาสนจักร
     
อาณาจักรคือระบบศักดินาสวามิภักดิ์แบบไทย(Thai  absolute monarchy)ส่วนศาสนจักรคือพุทธศาสนานิกายหินยานแบบไทย
     
โครงสร้างชั้นล่าง(Base structure)คือระบบอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองถูกกำหนดโดยชนชั้นปกครองคือท้าวพระยามหากษัตริย์ ส่วนโครงสร้างชั้นบนหรือวิถีแห่งวัฒนธรรมทั้งปวง(Super structure)มักถูกกำหนดโดยโดยหลักศาสนปฏิบัติเชิงพุทธผสมพราหมณ์ผสมระบบผีบรรพบุรุษ มีอิสลาม ขงจื้อ และคริสต์เจือปนผสมผสานในภายหลัง
     
ฐานรากทั้งหมดของระบบคุณค่า ทั้งในเรื่องระบบคุณธรรม จริยธรรมและคตินิยมความเชื่อ ล้วนได้รับอิทธิพลทั้งโดยตรง(ระบบการศึกษาแบบ ประสิทธิ์ประสาทและการ อบรมบ่มเพาะ) และ โดยอ้อม(คือกระแสคตินิยมทั้งหลาย) จึงมาจากศาสนจักรล้วนๆ
     
บุคลากรสำคัญของศาสนาพุทธคือพระสงฆ์
     
พระสงฆ์ในสังคมจึงมักมีบทบาททางสังคมสูงมาโดยตลอดทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งด้านบวกและด้านลบ
     
กล่าวแบบตรงไปตรงมาก็คือศาสนจักรจึงมักถูกใช้เป็นเครื่องมือของอาณาจักรโดยเจตนาทางการปกครอง หลายครั้งโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์, เราจึงพบว่าคณะสงฆ์ไทยมักมี สังฆราชŽ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางศาสนจักรเป็น คนในŽคือเป็นราชนิกูลชั้นสูงระดับพระองค์เจ้า(หรือต่ำกว่านั้น)อยู่เสมอมา
     
พูดให้เห็นภาพง่ายเข้าอีกก็คือ ชนชั้นศักดินาหรือกษัตริย์ ส่งคนของตัวเองเข้ามาดูแลควบคุม ผู้สร้างจิตวิญญาณและคตินิยมของสังคมŽ คือคณะสงฆ์โดยตรง วิธีดูง่ายๆก็คือ สังฆราชพระองค์ใดที่มีพระนามเรียกเริ่มต้นว่าสังฆราชเจ้า(แทนจะเรียก สังฆราชŽเฉยๆ) นั่นแหละคือพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นราชนิกูลละ
       
คงเป็นเพราะศาสนาพุทธนั้นมีเจตนาในการประกาศศาสนาของพระพุทธองค์อยู่ที่เพราะพระเมตตาต้องการช่วย สัตว์โลกŽ (ทั้งเวไนยสัตว์และอเวไนยสัตว์)ให้พ้นทุกข์เป็นเบื้องต้น หลายครั้งเราจึงพบว่ามีมหาสมณะในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากปฏิบัติตนเป็น พระโพธิสัตว์Ž โดยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจทางอาณาจักรของบรรดาคฤหัสถ์โดยตรง
       
หลายครั้งกิจเหล่าเป็นกิจŽเพื่อชาติเพื่อประชาชนŽล้วนๆ  เป็นเรื่องที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบรรดาชนชั้นปกครองโดยตรง
       
นอกจากบรรดามหาสงฆ์ในส่วนกลางแล้ว ยังพบว่า มีสงฆ์เรืองนามและเรืองบารมีในประวัติศาสตร์ของคามนิคมบ้านนอกชนบทหรือหัวเมืองเล็กๆไม่น้อยที่ประกอบกิจเช่นนั้น มีกรณีพระเมืองพัทลุงที่เป็นหัวเมืองเล็กๆทางปักษ์ใต้หลายรูป หลายสมัย ที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ กิจป้องชาติ-ปราบโจรŽ
       
ที่เห็นชัดๆและมีผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลไว้แล้วไม่น้อยจนพอยกเป็นตัวอย่างได้ชัดก็คือ กรณีของพระมหาช่วยแห่งวัดป่าลิไลย์ และกรณีของพระอธิการนุ้ย สหัสฺสเตโช แห่งวัดกุฎ(วัดสุวรรณวิชัยในปัจจุบัน)อำเภอควนขนุน
       
กรณีของพระมหาช่วย วัดป่าลิไลย์นั้น สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ (ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์-บรรณาธิการ)เขียนโดยอาจารย์ชัยวุฒิ พิยะกูล นักประวัติศาสตร์-โบราณคดีท้องถิ่นชาวพัทลุงคนสำคัญ สรุปได้ว่า พระสงฆ์เรืองนามท่านนี้ เป็นต้นตระกูล ศรีสัจจังŽและ สัจจะบุตรŽ เกิดที่บ้านน้ำเลือด ตำบลท่ามิหรำ(อยู่ในเขตอำเภอเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) บวชเรียนเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อซึ่งเล่าลือกันว่าเป็น ตักษิลาŽแห่งภาคใต้มาตั้งแต่ครั้งยุคกรุงศรียุธยา
      
เล่ากันว่า พระช่วยนั้นร่ำเรียนเก่งกาจสอบเป็น มหาŽ ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงเก่งบาลีเก่งปริยัติอย่างหาตัวเทียบยาก ขณะเดียวกัน ในด้านวิชาไสยศาสตร์ที่ลือลั่นทั้งหลายของสำนักเขาอ้อ ก็ร่ำเรียนปฏิบัติตามคำพระอาจารย์อย่างมิตกหล่น จึงกลายเป็นที่ระบือลือลั่นในความขลังมาตั้งแต่ครั้งนั้น เข้าทำนองที่มีนักกวีชาวพัทลุงบางคนเขียนเล่าไว้เป็นกลอนว่า
       
ตื่นเช้าทุกวันอาบน้ำว่าน/เพื่อคงกะพันทนทานต่อทุกอย่าง
       
ฟันแทงไม่เข้าระคายคาง/ตกบ่ายเรียนข้างคัมภีร์มนต์.
       
ด้วยเกียรติภูมิดังกล่าว ภายหลังพระมหาช่วยจึงได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าลิไลย์ ซึ่งเป็นวัดสำคัญตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกับตำบลลำปำที่ตั้งเมืองพัทลุงขณะนั้น ความโดดเด่นของท่านจึงยิ่งระบือลือขานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
       
ใครเคยอ่านหนังสือเล่มสำคัญของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยคนแรกของไทย ที่ชื่อ ไทยรบ-พม่าŽ คงจำได้ว่าท่านรจนาถึงเรื่อง สงครามเก้าทัพŽไว้อย่างละเอียดละออ โดยเฉพาะวีรกรรมของนักรบไทยที่ทุ่งลาดหญ้าเมืองกาญจนบุรีในครั้งนั้น ทุ่งลาดหญ้านั้นตั้งอยู่ห่างจากเมืองกาญจน์ฯไปเพียงประมาณ 10กิโลเมตร ใกล้ๆกับจุดที่แม่น้ำน้อยกับแม่น้ำตะเพินไหลมาบรรจบกัน
         
สงครามเก้าทัพนี้นับเป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรพม่า เป็นสงครามที่ต้องถือว่ามีความสำคัญกับราชอาณาจักรไทยมาก เพราะเมื่อวิเคราะห์ดู หากไทยแพ้สงครามครั้งนี้ ไทยก็ต้องถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรพม่า และภายภายหลังเมื่อพม่าต้องเสียเมืองเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ ไทยก็ย่อมถูกโยกไปเป็นเมืองขึ้นเป็น อาณานิคมŽ ของอังกฤษด้วยเช่นกันมิใช่หรือ
         
วีรกรรมยิ่งใหญ่ของพี่น้องไทย(ทั้งฝ่ายนำคือชนชั้นกษัตริย์และทหารกล้าที่มาจากชนชั้นประชาราษฎร์ธรรมดา)ในครั้งนั้นที่รบชนะพม่าจึงต้องถือว่ายิ่งใหญ่นัก
         
มี วาทกรรมŽ สำคัญที่คนไทยในยุคแห่งความขัดแย้งแตกสามัคคีอย่างปัจจุบันควรสำเหนียกจากสงครามเก้าทัพอยู่หลายชุด แต่ที่เห็นว่าน่าจะนำมา บอกต่อŽ ก็คือคำตรัสของสมเด็จพระอนุชาธิราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ที่สงครามทุ่งลาดหญ้าครั้งนั้น

วาทะดังกล่าวแม้จะเป็นเหมือน วาทะปลุกใจŽ แต่ก็สะท้อนสำนึกและสัจจะในความเป็นคนไทยได้อย่างดีเยี่ยม
            
พวกเจ้าเป็นไพร่หลวง ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้ เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่า เราหวงแหนแผ่นดินแค่ไหน...ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อเแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยเป็นสุขสืบไป...Ž
           
หรือใครว่าวาทะนี้ไม่เหมาะกับสยามยามนี้
           
โปรดติตามตอนต่อไปด้วยใจระทึก-พลัน.....

ที่มา.สยามรัฐ
--------------------------------------------