ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการอังค์ถัด ชี้ไทยอยากรุ่งนำประเทศอาเซียนเร่งสปีดธุรกิจบริการ ชูโมเดล "เอาต์ซอร์ซ" ฟิลิปปินส์แบบอย่างเด่น พร้อมพัฒนาโลจิสติกส์ใน-นอกประเทศควบคู่ทั้งระบบ
รายงานจากสัมมนาในวาระครบรอบก่อตั้ง 50 ปี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "Thailand"s Future : How to Lead Trade and Investment in the ASEAN"s Frontier ? Lessons & Learns from My Whole Life Experience"
นายศุภชัยกล่าวว่า สินค้าบริการเป็นอนาคตของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเกี่ยวพันกับการค้า การออกไปลงทุนต่างประเทศ และการเดินทางติดต่อของโลกธุรกิจปัจจุบัน เพราะเมื่อนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศต้องพึ่งพาธุรกิจ บริการเสมอ กระทั่งปัจจุบันการใช้ธุรกิจบริการจากต่างประเทศขณะที่อยู่ในประเทศตัวเองก็ เป็นที่แพร่หลาย เป็นการบริการข้ามแดน ธุรกิจนี้จึงสำคัญมาก
"ทั้ง นี้ หากไทยมุ่งพัฒนาสินค้าบริการ จะทำให้ไทยเติบโตได้ในอนาคตอย่างดี เพราะสอดคล้องกับการเป็น "ฮับอาเซียน" ที่ไทยต้องการ และรองรับสิ่งที่ไทยจะทำในอนาคต อยากให้มองประเทศฟิลิปปินส์เพราะเป็นอีกประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากใน การพัฒนาธุรกิจบริการ โดยเฉพาะการเอาต์ซอร์ซจนช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น"
"ไทย ควรส่งเสริมธุรกิจนี้ด้วย เพราะฟิลิปปินส์เติบโตอย่างมากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะการรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ หรือ Business Process Outsourcing ที่ฟิลิปปินส์มุ่งพัฒนาเติบโตสูง ซึ่งหากต้องการพัฒนาในด้านนี้ต้องมีแรงงานจำนวนมาก ที่ต้องได้รับการอบรมด้านเทคโนโลยี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ นี่เป็นหนึ่งในสาขาธุรกิจบริการที่โดดเด่น กระทั่งประเทศในแถบแอฟริกาเริ่มพัฒนาเรื่องนี้แล้ว" นายศุภชัยกล่าว
นาย ศุภชัยกล่าวถึงภาพรวมธุรกิจสินค้าบริการของอาเซียนว่า ข้อตกลงด้านนี้มีมานาน แต่ไม่เดินหน้า ยังย่ำอยู่กับที่ และจำเป็นต้องปรับปรุงให้เกิดมาตรฐานกลางของอาเซียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนการถือหุ้นภายในอาเซียนควรเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่ให้เกิน 70% ในทุก ๆ สาขาบริการ โดยไม่มีการยกเว้น เพราะอุปสรรคสำคัญคือ ยังมีกฎระเบียบภายในของบางประเทศที่พยายามกีดกันและเลือกปฏิบัติไม่เท่า เทียมกัน
ทั้งนี้ การสร้างกฎหมายกลางระหว่างกันเป็นเรื่องยากที่จะบังคับใช้ แต่จำเป็นต้องมีอย่างยิ่งในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายทางการเงินที่ควรมีหน่วยงานกลางดูแล ทั้งยังต้องลดการกีดกันการค้าที่มีสูง โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและอินเดีย ที่ต้องเปิดมากกว่านี้
นายศุภชัยเพิ่มเติมว่า "รัฐบาลต้องมุ่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศเพื่อเชื่อมอาเซียนและประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยหากอ้างอิงจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) ของธนาคารโลกปีล่าสุด (2555) จะเห็นว่า CLMV และไทยยังต้องพัฒนาด้านนี้เทียบกับระดับโลก ขณะที่สิงคโปร์นั้นดีมากระดับโลกเช่นกัน"
ดัชนี LPI ปี 2555 ระบุว่า จากคะแนนเต็ม 5 สิงคโปร์อยู่ที่ 4.13, มาเลเซีย 3.49, ฟิลิปปินส์ 3.02, ไทย 3.18, อินโดนีเซีย 3.02, เวียดนาม 3.00, เมียนมาร์ 2.37, กัมพูชา 2.56 และลาว 2.50
อย่างไรก็ตาม นายศุภชัยเห็นว่า นักลงทุนต้องฉวยโอกาสจากเส้นทางถนนที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะเส้นทาง R3A ที่เชื่อมเมืองเชียงรุ้ง มณฑลคุนหมิงในจีนตอนใต้ ลงมาเมืองห้วยทรายในลาว และเชียงของ จ.เชียงรายในไทย ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 กำลังจะเปิดใช้ โดยภาครัฐประเทศต่าง ๆ ต้องดูแลภาพรวมกฎระเบียบ และข้อตกลงศุลกากรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
"เอกชน ไทยต้องเข้าถึงตลาดจีนให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันจีน-อาเซียนค้าขายระหว่างกันอยู่ที่ร้อยละ 16 และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่การค้าอาเซียน-ยุโรป และอาเซียน-อเมริกา ลดลงมาอยู่ราวร้อยละ 10-11 โจทย์ขณะนี้คือ ใครเข้าถึงจีนได้มากกว่าได้เปรียบ"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
รายงานจากสัมมนาในวาระครบรอบก่อตั้ง 50 ปี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "Thailand"s Future : How to Lead Trade and Investment in the ASEAN"s Frontier ? Lessons & Learns from My Whole Life Experience"
นายศุภชัยกล่าวว่า สินค้าบริการเป็นอนาคตของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเกี่ยวพันกับการค้า การออกไปลงทุนต่างประเทศ และการเดินทางติดต่อของโลกธุรกิจปัจจุบัน เพราะเมื่อนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศต้องพึ่งพาธุรกิจ บริการเสมอ กระทั่งปัจจุบันการใช้ธุรกิจบริการจากต่างประเทศขณะที่อยู่ในประเทศตัวเองก็ เป็นที่แพร่หลาย เป็นการบริการข้ามแดน ธุรกิจนี้จึงสำคัญมาก
"ทั้ง นี้ หากไทยมุ่งพัฒนาสินค้าบริการ จะทำให้ไทยเติบโตได้ในอนาคตอย่างดี เพราะสอดคล้องกับการเป็น "ฮับอาเซียน" ที่ไทยต้องการ และรองรับสิ่งที่ไทยจะทำในอนาคต อยากให้มองประเทศฟิลิปปินส์เพราะเป็นอีกประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากใน การพัฒนาธุรกิจบริการ โดยเฉพาะการเอาต์ซอร์ซจนช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น"
"ไทย ควรส่งเสริมธุรกิจนี้ด้วย เพราะฟิลิปปินส์เติบโตอย่างมากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะการรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ หรือ Business Process Outsourcing ที่ฟิลิปปินส์มุ่งพัฒนาเติบโตสูง ซึ่งหากต้องการพัฒนาในด้านนี้ต้องมีแรงงานจำนวนมาก ที่ต้องได้รับการอบรมด้านเทคโนโลยี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ นี่เป็นหนึ่งในสาขาธุรกิจบริการที่โดดเด่น กระทั่งประเทศในแถบแอฟริกาเริ่มพัฒนาเรื่องนี้แล้ว" นายศุภชัยกล่าว
นาย ศุภชัยกล่าวถึงภาพรวมธุรกิจสินค้าบริการของอาเซียนว่า ข้อตกลงด้านนี้มีมานาน แต่ไม่เดินหน้า ยังย่ำอยู่กับที่ และจำเป็นต้องปรับปรุงให้เกิดมาตรฐานกลางของอาเซียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนการถือหุ้นภายในอาเซียนควรเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่ให้เกิน 70% ในทุก ๆ สาขาบริการ โดยไม่มีการยกเว้น เพราะอุปสรรคสำคัญคือ ยังมีกฎระเบียบภายในของบางประเทศที่พยายามกีดกันและเลือกปฏิบัติไม่เท่า เทียมกัน
ทั้งนี้ การสร้างกฎหมายกลางระหว่างกันเป็นเรื่องยากที่จะบังคับใช้ แต่จำเป็นต้องมีอย่างยิ่งในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายทางการเงินที่ควรมีหน่วยงานกลางดูแล ทั้งยังต้องลดการกีดกันการค้าที่มีสูง โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและอินเดีย ที่ต้องเปิดมากกว่านี้
นายศุภชัยเพิ่มเติมว่า "รัฐบาลต้องมุ่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศเพื่อเชื่อมอาเซียนและประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยหากอ้างอิงจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) ของธนาคารโลกปีล่าสุด (2555) จะเห็นว่า CLMV และไทยยังต้องพัฒนาด้านนี้เทียบกับระดับโลก ขณะที่สิงคโปร์นั้นดีมากระดับโลกเช่นกัน"
ดัชนี LPI ปี 2555 ระบุว่า จากคะแนนเต็ม 5 สิงคโปร์อยู่ที่ 4.13, มาเลเซีย 3.49, ฟิลิปปินส์ 3.02, ไทย 3.18, อินโดนีเซีย 3.02, เวียดนาม 3.00, เมียนมาร์ 2.37, กัมพูชา 2.56 และลาว 2.50
อย่างไรก็ตาม นายศุภชัยเห็นว่า นักลงทุนต้องฉวยโอกาสจากเส้นทางถนนที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะเส้นทาง R3A ที่เชื่อมเมืองเชียงรุ้ง มณฑลคุนหมิงในจีนตอนใต้ ลงมาเมืองห้วยทรายในลาว และเชียงของ จ.เชียงรายในไทย ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 กำลังจะเปิดใช้ โดยภาครัฐประเทศต่าง ๆ ต้องดูแลภาพรวมกฎระเบียบ และข้อตกลงศุลกากรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
"เอกชน ไทยต้องเข้าถึงตลาดจีนให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันจีน-อาเซียนค้าขายระหว่างกันอยู่ที่ร้อยละ 16 และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่การค้าอาเซียน-ยุโรป และอาเซียน-อเมริกา ลดลงมาอยู่ราวร้อยละ 10-11 โจทย์ขณะนี้คือ ใครเข้าถึงจีนได้มากกว่าได้เปรียบ"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////