--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิตติรัตน์ ณ ระนอง อัดแบงก์ชาติไร้คำตอบขาดทุนสะสม !!?


กิตติรัตน์.จี้แบงก์ชาติตอบข้อดี ข้อเสียดำเนินนโยบายเรื่อง"ดอกเบี้ย" อัดไร้คำตอบแก้ภาระขาดทุนสะสม5.3แสนล้านบาท

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวในรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน"ว่า ในระยะสั้นที่ผ่านมานี้การแข็งค่าของเงินบาท มีสาเหตุสำคัญมาจากเงินทุนไหลเข้า เนื่องจากมีความมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศไว้สูง จนทำให้เกิดการเก็งกำไร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 2.75% นั้น มีความแตกต่างที่ทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุน เพราะถ้าดอกเบี้ยไม่ต่างกันมาก เงินจากต่างประเทศคงไม่ไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้มากอย่างที่ผ่านมา

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า หากจะทบทวนนโยบายนี้ จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ขอฝากคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย(กนง.) และธปท.พิจารณาเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งฝากเรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงที่ดอกเบี้ยนโยบายสูง กว่า 3% และตอนนี้เห็นชัดมากขึ้นว่ามีเงินไหลเข้ามาลงทุน เพื่อหวังส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมากขึ้

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า จากที่ประเทศไทยมีการกู้เงินจากต่างประเทศนั้น หากสามารถชำระคืนเงินกู้ได้ก่อนกำหนดในช่วงระยะเวลานี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการแข็งค่าเงินบาทลงได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังประสานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เพื่อให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และจะได้นำเข้าสู่การพิจาณาอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

"เรามีเงินกู้ต่างประเทศอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าเราชำระคืนก่อนกำหนดได้ โดยใช้เงินกู้บาทมาแทน ก็จะทำให้อุปสงค์อุปทานของเงินตราต่างประเทศ สวนทางกันกับการไหลเข้า ทำให้ค่าเงินไม่แข็งค่ามากเท่าที่เป็นอยู่ กระทรวงการคลังกำลังขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และประสานกับรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ที่มีเงินตราต่างประเทศว่าถ้าอนุมัติจากครม.แล้ว และด้วยความเห็นชอบจากรัฐวิสหกิจเหล่านั้น กระทรวงการคลังในฐานะที่ดูแลหนี้ของหน่วยงานเหล่านี้พร้อมให้ความร่วมมือ" นายกิตติรัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ การที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ จะต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากการเข้าไปดูแลนโยบายต่างๆ ทางการเงิน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และถือเป็นหน้าที่ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ถ้าดูแลแล้วเป็นภาระ เป็นจำนวนมากขึ้น และเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยที่ยังไม่มีคำตอบว่าจะดำเนินการเพื่อไม่ให้ภาระนั้นสะสมมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาได้อย่างไรนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องดูแล

"การออกพันธบัตรที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตอบแทนผู้ถือพันธบัตรไว้แทนและส่งเงินมาให้ธปท.นำไปเก็บรักษาก็มีดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยสูงต้นทุนก็สูง ในขณะที่ผลตอบแทนจากเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในความดูแลนั้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงเกิดส่วนต่าง ซึ่งปี 55 มีส่วนต่างที่เป็นผลขาดทุนเกิน 1 แสนล้านบาท ปีก่อนนั้นก็มีแต่น้อยกว่า สิ่งที่ผมกังวลคือ เมื่อมีนานขึ้นอีกปีและมีจำนวนมากขึ้น ผลขาดทุนสะสมจะมากขึ้นตามลำดับ หากคิดตั้งแต่ตอนนี้จะไม่เป็นปัญหารุนแรง แต่หากปล่อยให้ปี 56 มีปัญหาเดียวกัน มียอดขาดทุนสะสมเพิ่มอีก ก็จะกลายเป็นปัญหา" นายกิตติรัตน์ กล่าว

รองนายกฯและรมว.คลัง กล่าวว่า กนง. ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลนโยบายการเงิน และการกำหนดดอกเบี้ยนโยบาย จำเป็นจะต้องพิจารณาและไตร่ตรองในเรื่องนี้ เพราะหากดำเนินการแล้ว เป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจก็ควรต้องรับผิดชอบ แต่หากทำแล้วเป็นผลดี แม้จะเสียบ้างแต่คุ้มค่าก็ไม่ต้องรับผิด

" ที่ทำหนังสือเพื่อแสดงความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าวไปถึงแบงก์ชาติอย่างเป็นทางการนั้น ไม่ใช่เป็นการเข้าไปแทรกแซง แต่เป็นการดำเนินการตามสิทธิ และหน้าที่ของรมว.คลังตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย"นายกิตติรัตน์ กล่าวย้ำ

รองนายกฯและรมว.คลัง ยังกล่าวอีกว่า การประชุมกนง.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.พ.นี้สิ่งที่รัฐบาลอยากเห็นคือ การดำเนินนโยบายที่พิจารณาข้อดีข้อเสีย พิจารณาประโยชน์ต่อเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความเข้มแข็งขององค์กรที่มีหน้าที่กำกับนโยบายทางการเงินถ้าหากคำนึงแล้ว มีคำตอบชัดเจนว่าการดำเนินงานจะใช้เวลาเท่านี้ เป็นจำนวนเท่านี้ และสามารถดูแลได้ ก็สบายใจขึ้น แต่ขณะนี้ผมไม่มีคำตอบ และตั้งแต่ที่ผมได้แสดงความกังวลไปทางวาจา ปัญหานั้นก็ยังไม่ลดลง ดูจะเพิ่มมากขึ้น ทิศทางที่เคยเป็นห่วงว่า ส่วนต่างของดอกเบี้ยที่มากจะเป็นตัวดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามา ก็เกิดขึ้นจริงเห็นชัดเจนขึ้น

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
------------------------------------------------------

ดร.ทนง พิทยะ เตือน รมว.คลังก้าวก่ายแบงก์ชาติไม่ได้ !!?


อดีตขุนคลัง เตือน คลังจะไปก้าวก่ายหน้าที่แบงก์ชาติไม่ได้ มีสิทธิเพียงแต่บอกว่า ท่านผู้ว่าการต้องระวังเรื่องเงินทุนไหลเข้าหน่อย

ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนและ"เห็นด้วย"ให้คณะกรรมการนโบายการเงินหรือกนง.ลดอัตราดอกเบี้ยลง ในการประชุม 20 ก.พ.นี้ เหตุเพราะเชื่อว่าจะช่วยลดความร้อนแรงของเงินทุนไหลเข้าได้ โดยไม่ต้องวิตกปัญหาฟองสบู่ เหตุยังไม่เห็นสัญญาณ และไม่ต้องห่วงปัญหาเงินเฟ้อ เพราะยังอยู่ระดับต่ำ แต่ถึงกระนั้น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "ไม่เห็นด้วย" กับแนวทางที่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทำหนังสือถึงประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) วีรพงษ์ รามางกูร เพราะถือว่า"ไม่เหมาะสม"ขณะที่ตัวเลขการขาดทุนทางบัญชีของ ธปท.5.3 แสนล้านบาทนั้น"ไม่น่าห่วง"

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มต้นระบุว่าประเทศไทยปีที่ผ่านมามีปรากฏการณ์หลายอย่าง ที่สำคัญหลักๆ 2 ประเด็น เรื่องแรก คือ เรื่องของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มองในแง่ลบบ้าง เพราะห่วงว่าธุรกิจเล็กๆ ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ ทั้งๆที่อัตราค่าแรงของไทยยังต่ำ เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้ขยับเลย พอกระโดดจาก 220 กว่าบาทมาเป็น 300 บาท ต้องมีธุรกิจที่กระทบบ้าง บางส่วนก็เลยช็อกแต่เชื่อว่าจะไม่รุนแรงมาก

เรื่องที่ 2 คือ เรื่องการลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% มา 23% และมาถึง 20% ก็ถือว่ารุนแรงเหมือนกัน ภาพการทำกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ที่เคยทำกำไรสุทธิอยู่ประมาณเกือบ 10% ก็กลายเป็น 17% ถือว่าเพิ่มขึ้นมหาศาล เห็นได้จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีรายงานกำไรสูงมากๆ โดยเฉพาะธนาคารเป็นต้น ในธุรกิจต่างๆ ผลัก ดันให้นักลงทุนมองตลาดหลักทรัพย์ไทย เป็นตลาดที่น่าลงทุน และจากลดภาษีเหลือ 20% ปีนี้ เพราะฉะนั้นโอกาสทำกำไร เพราะเพียงแค่ขายสินค้าเท่าเดิม ผลดำเนินงานสามารถเพิ่มขึ้นอีก 3% ทำให้นักลงทุนต่างประเทศมองภาพว่าประเทศไทยขณะนี้มีช่องที่จะทำกำไรได้ ประเมินแค่นี้เงินทุนจากต่างประเทศ ก็ไหลเข้ามาอย่างมากแล้ว

นอกจากนั้นการที่ กนง. เฝ้าระวังเรื่องเงินเฟ้อ กลัวว่าจะเกิดเงินเฟ้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ยอดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.75% ถือเป็นความเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่หนุนให้เงินทุนไหลเข้า

คงดอกเบี้ยสูงอันตรายเสี่ยง"ฟองสบู่"

ดร.ทนง พิทยะ เห็นว่า การที่ กนง. รักษาอัตราดอกเบี้ยไว้สูงกว่าประเทศอื่นนั้นจะทำให้เงินไหลเข้ามา เป็นสภาพคล่องอยู่ในประเทศไทย ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์เอง สามารถที่จะปล่อยในระดับ MLR ลบ ได้เพราะต้นทุนเงินฝากต่ำมากๆ เพราะฉะนั้น การรับเงินจากเมืองนอก มาแลกเป็นเงินบาท กลายเป็นสภาพคล่องในเงินบาทอีกยิ่งบวกกับ รัฐบาลเองก็ใช้งบประมาณขาดดุลอีก กลายเป็นว่าการที่ให้ดอกเบี้ยเงินบาทในระดับที่สูงกว่าคนอื่น อาจจะสร้างฟองสบู่ได้ เพราะเมื่อดอกเบี้ยสูงยิ่งเพิ่มแรงจูงใจไหลเข้ามา

"เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ป้องกันเงินทุนไหลเข้าได้ยากมาก เนื่องจากเศรษฐกิจก็เริ่มฟื้น เงินทุนเข้ามาเนื่องจากการค้าดี เงินบาทก็แข็งขึ้น เมื่อเข้ามาลงทุนก็ได้หลายเด้ง ทั้งค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ก็ดีขึ้น จึงฟันกำไร 2 ด้าน ทั้งจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างพักเงินไม่ได้เข้าถือหุ้น ยังได้กำไรจากดอกเบี้ยด้วย กำไรจึง 3 เด้ง ตรงนี้ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย น่าจะพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบว่า การรักษาอัตราดอกเบี้ยควรจะเกี่ยวข้องหรือเปรียบเทียบกับ สกุลเงินที่กำลังไหลเข้ามา หรือแหล่งที่ไหลเข้ามาว่า อัตราดอกเบี้ยที่นั่นต่ำกว่าต้องการเงินให้ไหล เข้าแบบนั้นหรือไม่ ถ้าเงินไหลเข้ามาเพื่อมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เรายังพอเข้าใจได้ว่าไม่เป็นไร ก็ยังถือว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยเราดี และอัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะสูงเงินเฟ้อขึ้นพื้นฐานก็ทำท่าจะลดลงเช่นกัน"

สำหรับความห่วงใยเรื่องอัตราเงินเฟ้อนั้น เขาเห็นว่า ยังไม่น่าห่วง เพราะกำลังการผลิตยังมีเหลือ ยังผลิตได้ถูกลงด้วยซ้ำ การที่เกิดเงินเฟ้อจากการไม่เพียงพอของการผลิตสินค้า ไม่ค่อยน่ากลัว และสินค้าที่นำเข้าก็ถูกลง ส่วนแรงดันที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อจากพลังงาน ตอนนี้ก็เริ่มทรงตัว หรือว่าลดลงด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่า หากลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว เกิดสัญญาณเก็งกำไรในบางเซ็กเตอร์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ควรป้องกันเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ เช่นตัวอย่างมาตรการประเทศจีน ให้แบงก์สำรองมากขึ้น ทำให้แบงก์มีต้นทุนสูงขึ้น

"ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเครื่องมือเยอะแยะไม่ใช่แค่อัตราดอกเบี้ย กลายเป็นว่าในโลกใหม่ซึ่งทุนไหลเข้าออก ได้อย่างเสรี อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องที่จะไปใช้มัน ควรจะเป็นเครื่องมืออื่นที่จะมาดูแลภาคเศรษฐกิจที่ แท้จริง แต่ละภาคผ่านธนาคารพาณิชย์ซึ่งแบงก์ชาติกำกับดูแลอยู่แล้ว ทำได้เยอะแยะ

"กิตติรัตน์ ส่งหนังสือ"ไม่เหมาะ"

ดร.ทนง ยังตอบคำถามกรณีที่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ทำหนังสือถึงดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ กดดันให้ลดดอกเบี้ย ว่า"ผมว่าไม่ดี และยิ่งทำให้แบงก์ชาติมีปฏิกิริยาตอบโต้โดยที่ทำให้ลดดอกเบี้ยช้าลงด้วยซ้ำ เพื่อยืนยันความเป็นอิสระขององค์กรตัวเอง จะเป็นเรื่องของ ศักดิ์ศรีองค์กร มากขึ้น" และในอดีตก็ไม่เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านไหนทำกันแบบนี้

"ผมว่าควรจะคุยนอกรอบกันให้เข้าใจว่าอะไรคืออะไร และก็ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ไหน และมาตรการที่แบงก์ชาติกับ กระทรวงการคลังควรจะเห็นพ้องต้องกันคืออะไร คือแบงก์ชาติเองก็ต้องคอยดูปริมาณเงินบาทในระบบอยู่แล้ว ถ้าตอนนี้เงินมันไหลเข้ามารัฐบาลเองก็เอาเงินจากระบบออกไปใช้และอัดฉีดเข้ามาในระบบผ่านการที่งบประมาณขาดดุล แบงก์ชาติก็ต้องดูทั้ง 2 ด้านว่าตรงไหนเป็นอะไรและก็ความพอดีของปริมาณเงินอยู่ที่ไหน แต่ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ได้ชะลอปริมาณเงิน ไม่ได้ลดความต้องการเงินกู้ เพราะว่ามันมีเงินไหลเข้ามาทดแทนได้"

ดังนั้นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานร่วมกับผู้ว่าการแบงก์ชาติจะทำอย่างไร นั้นเขายกตัวอย่างว่า สมัยที่ตนเอง ทำงานร่วมกับอดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ก็ใช้วิธีโทรศัพท์หารือ พูดคุยกันตลอด บางทีตนเองก็แวะไปหาที่แบงก์ชาติ และบางครั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ก็มาหาตนที่กระทรวงการคลัง ซึ่งต่างคน ต่างก็ชี้แจงความจำเป็นและเสร็จแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็มีสิทธิชี้แจงสาธารณชน ฝั่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ก็มีสิทธิชี้แจงเช่นกัน

"แต่ก็ในที่สุดแล้วมันก็คุยกันได้ ถึงเวลามันเห็นปัญหาร่วมกันได้ เพราะข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจมันมี ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจโดยแบงก์ชาติก็ต้องมารายงานรัฐบาลอยู่ ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีก็รายงานรัฐบาล ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่สภาพัฒน์ทำก็รายงานรัฐบาล ฉะนั้นก็สามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าใครถูกใครผิด มันสามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละคนเห็นความสำคัญคนละด้าน ฉะนั้นความพอดีอยู่ตรงกลางทำยังไงดี มันก็มีสิทธิที่จะทำได้ แต่คลังจะไปก้าวก่ายหน้าที่แบงก์ชาติไม่ได้ มีสิทธิเพียงแต่บอกได้ว่าท่านผู้ว่าการต้องระวังเรื่องนี้หน่อยนะ และไม่ต้องไปบอกเขาว่าดอกเบี้ยควรจะลดลง เพียงแต่อาจจะบอกว่าท่านผู้ว่า ให้ระวังเรื่องการไหลเข้าของเงินทุนหน่อย เพราะว่าหากมันเข้ามามากเกินไปมันจะทำให้เศรษฐกิจกลายเป็นฟองสบู่ได้ เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติก็ต้องไปกลับดูว่านโยบายอะไรที่จะทำให้ได้ผล หรือท่านต้องระวังอย่าไปดูแลค่าเงินบาทแบบนี้ เพราะอาจจะขาดทุนมากขึ้นอีก และก็จะมีปัญหาในระยะยาวได้ เรามีสิทธิที่จะพูดได้อย่างนี้"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องสัปดาห์ที่แล้ว !!?


ผมได้ทำงาน  2  เรื่องใหญ่ในสัปดาห์ที่แล้ว จึงอยากแบ่งปันความรู้ให้ท่านผู้อ่าน เพื่อนำไปพิจารณาต่อยอดเป็นบทเรียน

เรื่องแรก คือ ได้รับเกียรติไปเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อนำไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในงานประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย สร้างสรรค์ทางการจัดการ ระดับ ปริญญาตรี ของชาติประจำปี 2556 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ประทับใจที่นักศึกษาจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัยมารวมตัวกันเสนองานวิจัยระดับปริญญาตรี และมหาวิทยาลัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากหลาย มหาวิทยาลัยมาวิจารณ์ทำให้ผมประทับใจมากมหาวิทยาลัย (มอ.) มีวิทยาเขตหลายแห่ง เช่นที่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และตรัง ขยายความรู้กว้างขวางมากขึ้น

ที่วิทยาเขตตรังมีคณะบริหารธุรกิจและคณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งเป็นคณะที่มีประโยชน์ต่ออาชีพและการจ้างงานที่สำคัญที่สุด คือ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ที่น่าสนใจคือ ผมมีลูกศิษย์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คือ คุณเชษฐา หรนจันทร์ ที่เป็นตำรวจที่จังหวัดสตูล ถือโอกาสไปเยี่ยมและหาความรู้ที่จังหวัดสตูล 1 วัน

สตูลมีชาวมุสลิมกว่า 90% สามารถใช้ชีวิตอย่างสันติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเลยทำให้ผมมีความมั่นใจว่า ปัญหาขัดแย้ง 3 จังหวัดภาคใต้จะสามารถแก้ไขได้ ถ้าใช้บทเรียนของจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ชายแดนติดกับมาเลย์เซียถ้าใครยังไม่เคยไป ผมขอแนะนำให้ไปเที่ยวและไปเกาะตะรุเตากับเกาะหลีเป๊ะด้วย ซึ่งผมยังไม่มีเวลาไปคราวนี้ เพียงแต่ได้แวะที่ท่าเรือ พบนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากจากต่างประเทศให้ความสนใจ

สรุป

1)     ได้เห็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการทำงานในระดับวิทยาเขต ซึ่งทำได้ดี ผมในฐานะกรรมการสภาฯ รู้สึกภูมิใจ

2)     มีความหวังเรื่องสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น โดยใช้สตูลเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญการบริหารความหลากหลาย ( Diversity) ระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ความหลากหลายไม่ใช่อุปสรรค ต้องสร้างประโยชน์จากความสามัคคีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะต้องเป็นองค์กรหลักในการดับไฟใต้ให้ได้

อีกเรื่องที่สำคัญ คือ ได้รับเชิญไปร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง ยุทธวิธีและทางออกที่เป็นไปได้ของ SME ไทย  .. เพื่อรองรับ ASEAN 2015 ที่ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งประธานฯ สนั่น อังอุบลกุล เป็นนักธุรกิจที่มีบทบาทสูง ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร บริษัท ศรีไทยฯ ปรับตัวเรื่องนวัตกรรมของสินค้าอย่างต่อเนื่อง สามารถอยู่รอดได้อย่างดีในอาเซียน มีการขยายโรงงานไปในอาเซียนหลายโรง คงจะช่วยกระตุ้นให้ SMEs ในประเทศไทยมีบทบาทเตรียมตัวรองรับการเปิดอาเซียนเสรีได้

แนวคิดของผมมีหลายข้อ สรุปสั้น ๆ ได้ดังต่อไปนี้

(1)   SMEs มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ต้องทำจุดอ่อนมาใช้และเน้นจุดแข็ง

จุดอ่อนของ SMEs คือ

-  มาตรฐานต่ำ

-  คุณภาพยังไม่ดีพอ

-  ทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพยังไม่เข้าสู่ SME

-  แหล่งเงินทุนไม่พอ

จุดแข็งของ SMEsคือ

-  คล่องตัว (Flexible)

-  เล็กและว่องไว (Agility)

-  ระบบ Silo ยังไม่มี

-  โครงสร้างไม่แข็งตัว ปรับตัวได้ง่าย

-  สายการบังคับบัญชาขึ้นไม่ยาว

แม้กระทั่ง Jack Welch ยังพูดว่าธุรกิจใหญ่ต้องมีพฤติกรรมเหมือนระบบครอบครัว และ SMEs เป็นวิธีการทำงานที่คล่องตัว

(2)   จะแก้ปัญหา SMEs เพื่อรองรับอาเซียนต้องทำอย่างต่อเนื่อง ชนิดกัดไม่ปล่อย เป็นการเดินทาง (Journey) และต้องเน้นกระบวนการ (Process) ไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ขั้นตอน

     (1) Where are we?เราอยู่ตรงไหน?

      (2) Where we want to go?เราต้องการไปถึงไหน? - Vision (วิสัยทัศน์)หรือ Goal เป้าหมายสูงสุดคืออะไร?

      (3) Strategic – How to get there? มียุทธศาสตร์ เราจะไปถึงจุดนั้นอย่างไร?

(4) Execution – ทำให้สำเร็จ วัดผล

(3)   การมียุทธศาสตร์เข้าสู่อาเซียน

-          ทำการบ้านอย่างรอบคอบเกี่ยวกับอาเซียน

-          ศึกษารายละเอียด รู้เขา - รู้เรา

-          กฎ ระเบียบที่ตกลงและยังไม่ตกลง

-          ศึกษาเชิงลึกในแต่ละภาคส่วนSectorsให้ดี

(4)   การปรับตัวของ SMEs

-          ต้องปรับ ทัศนคติว่ามาตรฐานที่สำคัญที่สุด คือ มาตรฐานโลก (World Standard) และต้องพัฒนาให้ไปสู่จุดนั้นให้ได้

-          ปรับความเป็นมืออาชีพ

-          ปรับการทำงานแบบสากลมากขึ้น รวมทั้งการสื่อสารภาษา

-          ปรับพื้นฐาน คือ จริยธรรมและความถูกต้อง (Integrity) ให้พร้อมเสียก่อน

(5)   การปรับตัวต้องรู้ว่าใช้เวลา เพราะต้องเน้นความสำคัญของคนหรือทุนมนุษย์เป็นหลัก แต่การเปิดเสรีเริ่มต้นแล้ว จำเป็นต้องรู้ว่าตลาดทำงานแล้ว แต่พฤติกรรมของคนใน SMEs ต้องใช้เวลา จะทำอย่างไร?

(6)   การปรับตัว นอกจากระดับบุคคลและองค์กรแล้ว ต้องดูว่านโยบายรัฐบาลจะประคับประคองให้ SMEs อยู่รอด เป็นอย่างไร? ตัวละครที่จะเล่นมีหลายตัว จึงต้องทำงานให้เป็นทีม อย่าขัดแย้ง อย่าเน้นระยะสั้นเพื่อเป้าหมายทางการเมืองเท้านั้นทำอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายในประเทศ ค่าแรง 300บาท จะกระทบการแข่งขันในอาเซียนหรือไม่ สำนักงาน สสว. มีประโยชน์แต่การเมืองยุ่งเกี่ยวน้อย ๆ เน้นมืออาชีพ ธนาคาร SMEs จะควบรวมกับธนาคารออมสินหรือเปล่า? การเงิน SMEs ใครจะดูแลอย่างจริงจัง ระดับนโยบาย SMEs ขาดความต่อเนื่อง และขาดความเป็นมืออาชีพถูกปัจจัยทางการเมืองกระทบมากเกินไป

(7)   การสร้างความสัมพันธ์ของ SMEs ไทย กับ SMEs ในอาเซียน+6 เป็นเรื่องสำคัญมาก การใช้ ทัศนศึกษาของสมาคมการค้าและวิชาชีพ และสร้างโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับ SMEs ในอาเซียน เป็น Business Matching ซึ่ง สสว. และกระทรวงพาณิชย์เคยทำ น่าจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นมาก เพราะ การเชื่อมโยงของ ASEAN คือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประชาชนกับนักธุรกิจ

(8)   ปัญหา SMEs กับความเป็นมืออาชีพของธุรกิจครอบครัว ต้องมีการศึกษาเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตอย่างมั่นคง ปัจจุบันยังมีการศึกษา SMEs กับธุรกิจครอบครัวน้อยเกินไป ต้องมีการฝึกอบรมให้ครอบครัวที่เป็นเจ้าของทำหน้าที่เป็นมืออาชีพ สร้างความสัมพันธ์กับพนักงานมืออาชีพเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ SMEs ในอนาคต

(9)   ปัญหาการบริหารทุนมนุษย์ใน SMEs  ไม่ว่าจะปลูกคุณภาพของคนหรือทุนมนุษย์ใน SMEs (8K’s+5K’s) ที่สำคัญ การบริหารคนได้จะต้องเน้น “เก็บเกี่ยว” ผมใช้แนวคิด

HRDS

-  Happiness

-  Respect

-  Dignity

-  Sustainability

เป็นหลัก คือ มองคนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ให้เกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ใช่แค่พนักงานกินเงินเดือน

(10)          และสุดท้าย จะต้องปรับให้ผู้นำ SMEs เป็นผู้ประกอบการให้สำเร็จ เพราะการเป็นผู้ประกอบการ คือ หัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มของ SMEs – 3V

-  Value Added

-  Value Creation

-  Value Diversity

ผมเชื่อว่า SMEs จะเป็นกำลังสำคัญในการเข้าสู่ ASEAN 2015 บริษัท ศรีไทยฯ ของคุณสนั่น ก็ต้องเติบโตมาจาก SMEsจึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ SMEs อื่น ๆ ได้นำไปพิจารณา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ชำแหละหนี้สาธารณะ : เราคงแก่ก่อนรวย !!?


สมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยการพัฒนา อย่างทั่วถึง กล่าวถึงเรื่องหนี้สาธารณะว่า โดยแนวคิดแล้ว หนี้สาธารณะเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อการลงทุนในระบบสวัสดิการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดูแลประชาชน แต่ต้องบริหารให้มี “พื้นที่การ คลัง” มากพอเพื่อรองรับความจำเป็นหรือวิกฤติในอนาคต โดยแนวทางการบริหารหนี้สาธารณะนั้น ทำได้โดยการ 1.เพิ่มรายได้รัฐ ทั้งการจัดระบบภาษีอัตราก้าวหน้า เพิ่มฐานภาษีใหม่ๆ เช่น ภาษีทรัพย์สิน 2.การวางแผนการใช้จ่าย อย่างระมัดระวัง นโยบายประชานิยมที่ พรรคการเมืองทำนั้นไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่ ในเมื่อจะเสียเงินทั้งทีก็ควรเป็นไปเพื่อ ให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำที่แท้จริง 3.บริหารหนี้สาธารณะอย่างโปร่งใส มีการวางแผน 5 ปีเป็นอย่างน้อย

สำหรับผลการประมาณการหนี้สาธารณะในช่วง 5 ปีข้างหน้านั้น สมชัย ระบุว่า หนี้สาธารณะในช่วง 5 ปีข้างหน้า ที่จะอยู่ที่ 70-80% ของจีดีพี ซึ่งเป็นกรณี ที่แย่ที่สุดและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น เพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวมากกว่า 4% ซึ่งเป็นค่าที่ตั้งสมมติฐานไว้ โดยสัดส่วนหนี้นี้ คำนวณรายจ่ายจากความสามารถในการคุมรายจ่ายประจำที่ระดับการขยายตัว 7 และ 10% (เฉลี่ยในอดีตปี 33-56 อยู่ที่ 9.7%), โครงการพิเศษต่างๆ ที่จะเกิดในช่วง 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นการขาดทุนจากโครง การรับจำนำข้าว-การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับ AEC-การลงทุนป้องกันน้ำท่วม-การลดลงของภาษีนิติบุคคลตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงนโยบายพิเศษอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ หนี้สาธารณะของไทยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากโครงการพิเศษที่ใช้งบประมาณมากแล้วยังเป็นเพราะแม้ในภาวะปกติ การคลังไทยก็มีโครงสร้างขาด ดุลโดยพื้นฐานอยู่แล้ว และยังมีภาระดอกเบี้ยทับถม การควบคุมรายจ่ายประจำจะมี ผลช่วยควบคุมการเพิ่มของหนี้สาธารณะได้ค่อนข้างดี

ภายใต้หนี้สาธารณะที่จะเกิดขึ้นนี้ ยังมีแนวทางการบริหารโอกาสเพื่อไม่ให้หนี้สูงเกินไปได้ เช่น การลงทุนโครงสร้าง พื้นฐาน 2 ล้านล้านจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจ ขยายตัว (อาจถึง 6%) ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้หนี้สาธารณะเพิ่มเกิน 60% จึงควรบริหารจัดการให้งบส่วนนี้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด และควรมีมาตรการอื่นๆ เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เช่น การพัฒนาแรงงาน พัฒนา เทคโนโลยี

ส่วนแนวโน้มหนี้สาธารณะในระยะยาวกรณีที่ไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ ปานกลาง โดยมีจีดีพีโต 6% ต่อเนื่องทุกปี กราฟของหนี้สาธารณะก็จะดิ่งหัวลงมาอยู่ที่ 20-40% ของจีดีพีเท่านั้น ซึ่งโดยทิศทางแล้วมีความเป็นไปได้ไม่มากนักและขึ้นอยู่กับความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจปรับตัวขึ้นภายใน 2 ปีข้างหน้า (จากปัจจุบันที่ติดลบ อยู่) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา ประกอบกับรัฐยังไม่มีแผนการปรับระบบภาษีที่ควรจะเป็น ดังนั้น ข้อเสนอแนะสำหรับช่วงนี้ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นคือ การควรมี “พื้นที่การคลัง” เพิ่มขึ้นในระยะ 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากยังมีความเสี่ยงหลายด้าน โดยแนวทางเพิ่ม พื้นที่การคลังที่เป็นรูปธรรมคือ พิจารณา ปรับลดโครงการพิเศษที่ใช้งบประมาณสูง เช่น โครงการรับจำนำข้าว, คุมการขยาย ตัวของรายได้ประจำ, ปรับเพิ่มภาษีบางประเภท เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษี VAT

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าสังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ แต่ด้วยสถานการณ์ ทางการเงินและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่นี้ทำให้คาดหวังได้ว่าเราจะหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และเป็นประเทศ ที่มีรายได้สูง อาจเรียกได้ว่า เราคงแก่ก่อนรวย

ที่มา.สยามธุรกิจ
------------------------------------------------------------

อัปยศ.. ฮั้วประมูลสร้างโรงพัก หมัดน็อก คู่กรรม แห่ง ปชป. !!?


กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในแวดวงสีกากีอีกครั้งกับปัญหาการก่อสร้าง สถานีตำรวจ (ทดแทน) จำนวน 396 แห่งทั่วประเทศ ที่ขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกเพียงเดือนเศษก็จะครบกำหนดตามสัญญาในวันที่ 14 มี.ค. แต่ความคืบหน้าการก่อสร้างในแต่ละหน้างาน กลับดำเนินการไปน้อยมาก ขณะที่หลายแห่งยังไม่เริ่มดำเนินการก่อสร้างด้วยซ้ำ บางแห่งมีปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน จึงอาจกล่าวได้ ว่า ห้วงระยะเวลาที่เหลือ บริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จอย่างแน่นอน
     
       ปัญหาที่ถูกกล่าวถึงอันดับแรก คือ ในการก่อสร้างมีการทุบทำลายสถานีตำรวจหลังเก่า เพื่อสร้างสถานีตำรวจหลังใหม่ทับในพื้นที่เดิม จนเป็นเหตุให้ตำรวจไม่มีสถานที่ทำงาน เพราะแม้จะมีการสร้างสถานีตำรวจชั่วคราว แต่นั่นก็ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน หลายแห่งมีการปลูกสร้างที่ทำการชั่วคราวในลักษณะของเต็นท์ หรือ เพิงพัก บางแห่งมีการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ ขณะที่บางโรงพักห้องควบคุมผู้ต้องหามีการก่อสร้างแบบชั่วคราวแบบตามมีตามเกิด หรือใช้บ้านพักตำรวจเป็นห้องขังจำเป็น ที่อนาถกว่านั้นในบางพื้นที่ถึงกับมีการนำผู้ต้องหาไปควบคุมในห้องน้ำก็มี
     
       และยิ่งการก่อสร้างล่าช้าออกไป ความเดือดร้อนของตำรวจยิ่งมากขึ้นไปอีก เรื่องนี้จึงส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญได้ทำให้ภาพลักษณ์ของตำรวจได้รับความเสียหาย และกระทบต่อความน่าความเชื่อถือ คนในแวดวงสีกากีหรือ แม้แต่ประชาชนทั่วไปถึงกับเบือนหน้าหนี เมื่อเห็นสภาพของสถานีตำรวจเหล่านี้
     
       อีกประเด็นที่ถูกจับตามองและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางไม่แพ้กัน คือ การประมูลงานจัดจ้างที่ดำเนินการโดยบริษัทผู้รับเหมาเพียงรายเดียว คือ บริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ทั้งๆ ที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 500 ล้านบาทแต่สามารถรับงานอภิมหาโปรเจ็กต์ ซึ่งมีไซต์งานก่อสร้างสถานีตำรวจที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมของประเทศได้
     
       ขณะเดียวกันหลังมีการตีแผ่ปัญหานี้ จึงเริ่มได้กลิ่นการทุจริต การฮั้วประมูล รวมทั้งความไม่ชอบมาพากลในการทำสัญญาที่เดิมทีมีการทำสัญญา 9 สัญญา ก่อนที่จะมีการรวบมาไว้เป็นสัญญาเดียว และให้บริษัทเดียวดำเนินการก่อสร้าง มิหนำซ้ำบริษัทแห่งนี้ ยังได้งานก่อสร้างแฟลตตำรวจทั่วประเทศกว่า 163 หลัง มูลค่ากว่า 3,800 ล้านบาท จนหลายฝ่ายเกิดความกังขาว่า บริษัทนี้ที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 500 ล้านบาท แต่กลับได้รับการว่าจ้างให้สร้างโปรเจ็กต์ยักษ์ถึง 2 โครงการ รวมมูลค่าของโครงการเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
     
       ขณะเดียวกันก็ได้มีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะว่ากรรมการของบริษัทพีซีซีฯ คือ นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล ประธานกรรมการ และนายวิษณุ วิเศษสิงห์ กรรมการ มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพ่อตาของนักการเมืองใหญ่ทางภาคอีสานจึงทำให้ได้งานดังกล่าว
     
       ที่สำคัญเรื่องนี้เป็นการเดินเกมของฝ่ายการเมือง เริ่มจากการเดินหน้าจี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจสอบปมการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ว่ามีการฮั้วประมูล หรือ มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ ขณะเดียวกันยังได้ยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ของบริษัทผู้รับเหมา และข้าราชการที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
     
       สอดรับกับท่าทีของ “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ออกโรงกำชับตำรวจให้ส่งข้อมูลการฮั้วประมูลกับดีเอสไอ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรื่องนี้
       
       การเดินเกมของพรรคเพื่อไทย ย่อมทำให้ถูกมองว่าเรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโครงการนี้ริเริ่มในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน
     
       หลังรับลูกจากฝ่ายการเมือง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ เดินหน้าเต็มสูบในการตรวจสอบ โดยเตรียมเรียกอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 3 คน ได้แก่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี มาให้ข้อมูลเรื่องนี้ โดยมีประเด็นสอบถาม พล.ต.อ.พัชรวาท ตั้งแต่การร่างสัญญาสัมปทาน ส่วน พล.ต.อ.ปทีป จะถูกสอบถามประเด็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา จากสัญญาที่แยกตามสำนักงานตำรวจ 9 ภาค และให้รวมเป็นสัญญาเดียว โดยมีบริษัทเดียวได้รับสัมปทาน และพล.ต.อ.วิเชียร จะถูกสอบถามประเด็นการลงนามสัญญาจ้าง และการติดตามงาน และสุดท้ายที่ถือเป็นไฺฮไลท์ของคดีนี้ คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามอนุมัติโครงการนี้ เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงด้วย
     
       ทั้งนี้ อธิบดี ดีเอสไอ ตั้งข้อสังเกต 6 ข้อ ว่าการสัญญาว่าจ้างครั้งนี้ เข้าข่ายฮั้วประมูล คือ การเสนอราคาประมูลที่ต่ำกว่าราคากลางถึง 540 ล้านบาท และยังพบว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่า หจก.สามประสิทธิ์ คู่แข่งถึง 247 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขผิดปกติ ประเด็นการรวบสัญญา จาก 9 สัญญาให้เป็นสัญญาเดียว การจ่ายเงินงวดแรกเต็มเพดานร้อยละ15 ซึ่งปกติ หลายหน่วยงาน จะจ่ายเพียง ร้อยละ 7-8 ของมูลค่าโครงการ รวมทั้ง ประเด็นการจ้างบริษัทอื่นทำงานแทน และการทิ้งงาน
     
       “เมื่อเห็นข้อมูลพิรุธทั้ง 6 กรณี จะเห็นว่าพฤติการณ์เรื่องนี้เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายฮั้วประมูล มาตรา 11, 13 และ 8 ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 11 ประเด็นเรื่องการกำหนดเงื่อนไข คือ มีเพียงบริษัทเดียว ไม่มีการแข่งขันกัน 9 ภาค ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าข่าย มาตรา 13”นายธาริตระบุ
     
       นอกจากนี้อธิบดีดีเอสไอ ยังได้ อนุมัติให้มีการสืบสวนในเรื่องของการฉ้อโกง เนื่องจากวิเคราะห์จากการกระทำทั้ง 6 ขั้นตอน ที่ผ่านมา ตั้งข้อสังเกตว่าทางบริษัทพีซีซีฯ รู้อยู่แล้วว่าไม่มีความสามารถที่จะสร้างสถานีตำรวจให้แล้วเสร็จตามสัญญา เพราะบริษัทเดียวรับผิดชอบงานก่อสร้างทั่วประเทศ ประกอบกับบริษัทมีทุนจดทะเบียนแค่ 500 ล้านบาท ไม่เคยรับงานใหญ่ขนาดนี้ แต่มีการสู้ราคาที่ต่ำมาก เพราะต้องการแค่ชนะ ให้ได้สัญญา เพื่อต้องการแค่สัญญา เบิกเงินล่วงหน้า และถ้ามีเรื่องเกิดขึ้นจะสู้ว่าเป็นความผิดทางแพ่ง เพราะมีการประมูลตามขั้นตอน เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย สร้างไม่ได้ หรือไม่ทันเวลา ก็ปล่อยบริษัทล้มละลาย ผู้บริหารไม่ต้องรับผิดทางอาญา ดังนั้น จึงสงสัยว่ามีเจตนาทุจริตหลอกลวงมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทำสัญญาทางแพ่งตามปกติ ทั้งนี้ คดีฉ้อโกงเป็นคดีเกี่ยวพัน พ.ร.บ.ฮั้ว ดีเอสไอ สามารถดำเนินการได้ทันที เพราะถือเป็นการอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง
     
       สำหรับโครงการนี้ย้อนไปเมื่อปี 2552 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการในโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน) จำนวน 396 หลัง วงเงินงบประมาณ 6,672,000,000 บาท แยกเป็นอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 88 หลัง ขนาดกลาง 136 หลัง และ ขนาดเล็ก 172 หลัง ซึ่งตรงกับสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. จากนั้นเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2552 มีการอนุมัติคำสั่งก่อสร้างครั้งแรกให้แยกเป็นรายกองบัญชาการ 1-9 แต่หลังจากนั้น 5 เดือน ในวันที่ 18 พ.ย. 2552 ในสมัย พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร. ได้มีการยกเลิกคำสั่งเดิมเป็นอนุมัติให้ประกวดราคารวมเข้าด้วยกันจากส่วนกลาง ก่อนมีการกำหนดประกวดราคาก่อสร้างด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (อีอ๊อคชั่น) โดยบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการประกวดราคาด้วยวงเงิน 5,848,000,000 บาท ต่ำ กว่าราคากลางถึง 540 ล้านบาท เอาชนะหจก.สามประสิทธิ์ จำกัด ที่เข้าร่วมเสนอราคา โดยเสนอราคาสู้ที่ 6,095 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางเพียง 293 ล้านบาท
     
       ในส่วนงบประมาณที่ใช้ดำเนินการก่อสร้าง สำนักงบประมาณ ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างเป็นงบผูกพัน ตั้งแต่ปี 2552-2555 แยกเป็น ปี 2552 จำนวน 311,500,000 บาท, ปี 2553 จำนวน 1,174,000,000 บาท, ปี 2554 จำนวน 2,199,852,800 บาท และปี 2555 จำนวน 2,162,647,200 บาท โดยสัญญาก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2554 สิ้นสุดวันที่ 17 มิ.ย. 2555 รวมเวลาก่อสร้างตามสัญญา 450 วัน แต่มีการขยายสัญญาเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยอ้างปัญหาน้ำท่วม ครั้งแรกขยายออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่ 2 ขยายไป 180 วัน และล่าสุดครั้งที่ 3 ขยายไป 60 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญา ในวันที่ 14 มี.ค. 2556 นี้
     
       ทั้งนี้ ตามสัญญากำหนดให้มีการจ่ายเงินล่วงหน้าให้บริษัทผู้รับเหมาร้อยละ 15 ของราคาค่าจ้างคิดเป็นเงินจำนวน 877,200,000 บาท รวมทั้งมีการเบิกเงินค่างวดไปแล้วทั้งสิ้น 656,251,000 บาท รวมเป็นเงินที่มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,533,451,000 บาท แต่จากข้อมูลของสำนักงานส่งกำลังบำรุง หรือ สกบ.ระบุความคืบหน้าการก่อสร้างของบริษัทผู้รับเหมามีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 280 หลัง แต่ยังไม่มีหลังใดก่อสร้างแล้วเสร็จ ส่วนอีก 116 หลัง ที่เหลือยังไม่ดำเนินการก่อสร้าง
     
       ขณะที่เรื่องนี้มีความเคลื่อนไหวในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา คณะกรรมการติดตามการดำเนินการโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ (ทดแทน) ที่มี พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. เป็นประธานได้มีมติให้ยกเลิกสัญญากับบริษัทผู้รับเหมา โดยให้เหตุผลว่าอีกฝ่ายมีการทำผิดสัญญาที่ชัดเจน 2 ประการ ได้แก่ การฝ่าฝืนข้อห้ามในสัญญาที่ระบุว่าห้ามมีการจ้างช่วง ที่สำคัญที่สุด คือ การไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา โดยมีแนวโน้มเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะบอกเลิกสัญญาหลังวันที่ 14 มี.ค.2555 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดตามสัญญา และเตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทพีซีซีฯ
     
       นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายอำนวยการดำเนินการเตรียมการทางธุรการเพื่อจัดการประมูลใหม่ ซึ่งครั้งนี้จะมีการกระจายสัญญา และเร่งดำเนินการก่อสร้างให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้สั่งการให้มีการจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงสถานีตำรวจชั่วคราวที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม ให้สามารถดำเนินการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     
       และที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือ เนื้อหาในหนังสือที่นายพิบูลย์ทำชี้แจงถึงผบ.ตร. มีใจความสำคัญ สรุปได้ว่า ประเด็นการรวมสัญญา ทางบริษัท พีซีซีฯไม่เห็นด้วยกับการประมูลโดยการรวมสัญญาทั้งประเทศ ทางบริษัทและพวกมีความประสงค์จะเข้าร่วมประกวดราคา โดยวิธีแยกประมูล จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯในขณะนั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯในขณะนั้น เพื่อขอให้ใช้วิธีแยกประมูลเป็นรายภาค
     
       คำชี้แจงดังกล่าวเมื่อผนวกรวมกับสิ่งที่ดีเอสไอตั้งเป็นประเด็น ก็ต้องบอกว่า ทำให้พลพรรคประชาธิปัตย์เต้นเป็นเจ้าเข้า ทั้งตัวหัวหน้าพรรคคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐตรีในขณะนั้นที่เป็นผู้ลงนามในการเปลี่ยนสัญญาจากวิธีแยกประมูลเป็นวิธีรวมประมูล ทั้ง 2 คนกลายเป็น “คู่กรรม” ที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จนต้องมีการเปิดโต๊ะแถลงข่าวตอบโต้
     
       เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ความฉาวโฉ่ที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในขณะนี้ได้ส่งผลกระเทือนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ไม่น้อย โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่ส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ลงชิงชัย เพราะไม่ว่าสุดท้ายแล้วข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร แต่นี่คือการดิสเครดิตทางการเมืองที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง
     
       ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา นายสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์จึงเปิดชี้แจงรายละเอียดถี่ยิบ
     
       “การพยายามดึงนายอภิสิทธิ์มาเป็นจำเลยในคดีนี้ เป็นการแสดงเจตนาชัดเจนว่าทำเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะนายอภิสิทธิ์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลย ถ้าตั้งข้อหาผมก็จะดำเนินคดีกับนายธาริตเพิ่มแน่นอน และเชื่อว่า พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.อ.ปทีป ก็ไม่เกี่ยวข้อง เพราะการประมูลเสร็จสิ้นในสมัย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็น ผบ.ตร. แต่ผมไม่ได้กล่าวหาว่าใครผิด เพียงแต่สงสัยว่าเหตุใดดีเอสไอจึงไม่มีการพิจารณาผู้ที่ต้องบริหารสัญญาว่าทำไมไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับเอกชน โดยเห็นว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีต ผบ.ตร.ในช่วงการบริหารสัญญาต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ผมจึงอยากให้มีการนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงต่อไป ผมฝากไปถึงนายธาริตด้วยว่า หากยังปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ หลังจากที่ผมชนะคดีอาญาแล้วจะดำเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินให้เท่ากับบ้านหรูราคาหลักสิบล้านของนายธาริตด้วย เพราะที่ผ่านมาการกระทำของนายธาริตจงใจทำลายภาพลักษณ์การเมืองของผมและนายอภิสิทธิ์ ซึ่งผมก็ทำใจแล้วว่ามีรัฐบาลอธรรมก็จะถูกเล่นงาน จึงต้องพร้อมต่อสู้ทุกอย่าง”นายสุเทพแจกแจง
     
       นี่คือสงครามการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในห้วงนี้
     
       อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสุดท้ายแล้วผลจะออกมาอย่างไร ข้าราชการหรือนักการเมืองคนไหนมีความผิด แต่ที่แน่ๆ คือ โครงการก่อสร้างสถานีตำรวจถือเป็นความอัปยศที่คนในแวดวงตำรวจไม่อาจลืมเลือน และเป็นประเด็นร้อนที่ประชาชนให้ความสนใจ ทั้งในเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งการดำเนินการทางแพ่งกับบริษัทผู้รับเหมาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการดำเนินการสอบสวนหาตัวคนผู้กระทำผิด ทั้งในส่วนข้าราชการประจำ และนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการดังกล่าว ของ ดีเอสไอ ขณะที่ในมุมของการเมือง โครงการนี้อาจถือเป็นรอยด่างพร้อยของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และกำลังถูกพรรคเพื่อไทยไล่บี้อย่างหนัก โดยฝ่ายหลังคาดหมายว่านี่จะเป็นหมัดเด็ดน็อก "สุเทพ เทือกสุบรรณ" คีย์แมนคนสำคัญของพรรค
     
       ส่วนใครอยู่ใครจะไปต้องติดตาม...

ที่มา.ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ถอดรหัส 3ป.นิรโทษกรรม หูทวนลมกล เหนือเมฆ.แยกสลายมวลชน !!?


ถอดรหัสการเมืองไทย ที่ขยับเข้าสู่ “จุดสัมพัทธ์” ในเชิงอำนาจจากที่ “ฝ่ายการเมือง” และ “ชนชั้นนำ” เคยเป็น “คู่ขัดแย้ง” กันมาโดยตลอด แต่หลังปรากฏภาพแห่งความชื่นมื่นของ “3 ผู้ทรงอิทธิพล” ในงานเลี้ยงกองทัพบก เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ก็ทำให้บรรยากาศที่เคยเขม็งเกลียว เริ่มสลายหายไป ภาพการเดินเคียงคู่กันของ “พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์” ประธานองค์มนตรี และ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี รวมไปถึง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผู้บัญชาการทหารบก อาจถือได้ว่าเป็น “รหัส” ที่สะท้อนสัมพันธภาพครั้งใหม่ ระหว่างฝ่ายการเมือง กองทัพ และ “ชน ชั้นนำ” ยิ่งทำให้เชื่อว่า “รัฐบาล” มีความพยายามที่จะเปิดประตูไปสู่ “ปรองดอง” และสลายความขัดแย้งกับ “ชนชั้นนำ” ที่เกิดขึ้นมาตลอดหลายปีมานี้

การพบปะของ “แกนอำนาจ” ทั้ง 3 คนพร้อมกันนี้ เกิดขึ้นหลังจาก “ป๋าเปรม” ได้ให้โอวาท “ผู้นำเหล่าทัพ” ที่ตบเท้าเข้าอวยพรปีใหม่ โดยมีใจความที่ว่า...“ขณะนี้บ้านเมืองของเรามีการแบ่ง ฝ่ายกันเห็นได้อย่างชัดเจน มูลเหตุคืออะไร ก็รู้ๆ กันอยู่ ทำให้มีผลข้างเคียงไปถึงความ รัก ความสามัคคีของคนในชาติเรา เป็นข้อจำกัดต่อความสำเร็จ โดยมีความเห็นส่วนตัวว่าการที่มีความคิดเห็น ความเชื่อที่แตกต่างกัน ไม่เป็นอุปสรรคของการดำรงความรัก ความสามัคคีของคนไทยแม้ แต่น้อย ถ้าคนในชาติมุ่งประสงค์ในสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศเราคือ ความสงบ สุข ความร่มเย็น ความสันติ และความมั่นคง โดยแท้แน่นอน ความเห็นและความ เชื่อที่แตกต่าง จะไม่เป็นสิ่งกีดกันให้คนไทย รู้รักสามัคคีกัน...”

ด้วยวาทกรรม “สามัคคี..ไม่แตกแยก” ที่ฝากถึง “ลูกป๋า” ในครั้งนั้น ได้ถือเป็นมิติใหม่ และเป็นสัญญาณที่เปิดกว้างให้ แก่ “ทุกฝ่าย” ได้กลับมาเริ่มต้นกันใหม่ “ยิ่งลักษณ์” ในฐานะผู้นำรัฐบาล แม้จะเป็น “น้องสาว” ของ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ที่เคยเป็น “คู่ขัดแย้ง” กับ “ป๋า” ชนิดที่ว่า “ผีไม่เผา..เงาไม่เหยียบ” แต่เมื่อโอกาสเปิดกว้าง ก็ย่อมเล็งเห็นและหา ช่องทาง “ตอบสนอง” เพื่อคลายเกลียว “ในใจ..ป๋า” และสร้างสัมพันธภาพอันดีให้เกิดขึ้นภาพความชื่นมื่นของ “3ป.” ที่กอปรไปด้วย “ปู-ประยุทธ์” และ “ป๋าเปรม” ในค่ำคืนดังกล่าว จึงทรงความหมายยิ่งนัก!!!

แม้จะไม่ได้ส่งผลให้ความขัดแย้งหลักๆ ทางการเมือง จบสิ้นลงไปได้ แต่ก็ถือเป็นการนับหนึ่งที่ปูทางไปสู่ “สมานฉันท์” โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม หรือแนวทางปรองดอง ที่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อ “รัฐบาล” กำลังเผชิญกับปัญหามากมาย ก็ต้องแก้ปัญหาทั้งหมดอย่างมีเอกภาพ ฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีกับ “กองทัพ” และผู้ใหญ่อย่าง “ป๋าเปรม” ทั้งในแง่ “ภาพลักษณ์” และทั้งใน “แง่เนื้อหา” ก็ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยกลบร่องรอยแตกร้าวได้เป็น อย่างดี...!!!

ในอีกด้านหนึ่ง ท่าทียิ้มระรื่นเป็น “คนแก่ใจดี” ของ “ป๋า” ในงานเลี้ยงดังกล่าว ย่อมบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจที่สามารถลดทอน “ความแตกแยก” จนแทบจะหมดสิ้นจะว่าไปแล้วก็พอมองเห็น “สูตร” ที่สัมพันธ์เข้าด้วยกัน จนทำให้เกิด “ปฏิกิริยา” แบบลุกลี้ลุกลนของเหล่า “นักเคลื่อนไหวทางการเมือง” ทั้ง “มวลชน” ในซีกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือแม้แต่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตลอดทั้งกองเชียร์คนเสื้อแดง ที่ต่างช็อกไปกับ “ภาพ” สุดแสนชื่นมื่นที่ปรากฏ และยัง “ตีความ” ไกลถึงขั้นว่าเกิดอีเวนต์ “ปรองดอง” ในระดับนำเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะมี “เงื่อนไข” ที่สอดประสานเอาไว้อย่างลงตัว

กระทั่งมีการคาดเดาไปต่างๆ นานาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็น “หนทาง” ที่ระดับบนของแกนอำนาจ มีความพยายาม “สลัด เสี้ยนหนามทิ้ง” เพื่อนำไปสู่มิติใหม่ที่ว่า ... “คนไทยไร้เฉดสี” ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่ “ฝ่ายอำนาจ” จะเดินเกม “แยกสลายมวลชน” เพื่อแลกเปลี่ยนกับบางสิ่งบางอย่าง...

ขณะเดียวกัน อารมณ์ชื่นมื่นของ “ป๋าเปรม” กับ “หลานปู” ก็ยังบ่งบอกได้อีกว่า ทั้งพันธมิตรฯ และคนเสื้อแดง เริ่มจะหมดความหมายลงไปทุกที ท่าม กลาง “ความเจ็บปวด..ร้าวลึก” ที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องตกเป็น “เหยื่อสถานการณ์” บน กระดานหมากของ “ชนชั้นนำ” ?!! ทั้งนี้ หากทบทวนถึงบทบาททางการ เมืองของ “รัฐบาล” ในช่วงเกือบ 2 ปีมานี้ ย่อมจะเห็นภาพเดิมๆ ที่รัฐบาลพยายาม “รักษาระยะ” กับมวลชนเสื้อแดง อาการขบเกลียวที่เกิดขึ้นระหว่าง “คนเสื้อแดง” กับ “คนในพรรคเพื่อไทย” เกิดขึ้นบ่อยในระยะหลังมานี้ แม้ว่าขวัญใจ แม่ยกอย่าง “เดอะเต้น” ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จะพยายามไกล่เกลี่ย มุ่งสร้างภาพสมานฉันท์ ระหว่าง 2 ฝ่ายมาโดยตลอด พร้อมกับชี้ว่า “...แม้จะเดินกันคนละทิศทาง แต่เป้าหมายนั้นล้วนมีจุดหมายเดียวกัน คือสร้างสรรค์ประชาธิปไตย แล้วจะขัดแย้งกันทำไม”

ทว่าด้วยเป้าหมายของ “คนเสื้อแดง” อยู่ที่การ “เอาเพื่อนออกจากคุก..” เพราะเกือบ 3 ปีแล้วที่คนเหล่านี้ถูกคุมขังด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ก็ไม่ได้รับอิสรภาพ เสียที ทั้งที่ “อำนาจ” ก็ได้เปลี่ยนมือจาก “รัฐบาลประชาธิปัตย์” มาเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนานแล้วก็ตาม กอปรกับ “คนเสื้อแดง” เริ่มคิดต่างและเห็นต่างไปจากรัฐบาลมากขึ้น ทำให้เกิด “ศรัทธาถดถอย” อย่างไม่เคยปรากฏ จนเข้าสู่ห้วงอารมณ์ “เหินห่าง” เข้าไปทุกที โดยข้อเรียกร้องของ “คนเสื้อแดง” หลักๆ แล้ว ก็คือ เร่งทำคลอดร่างนิรโทษกรรม!! เพื่อให้นักโทษการเมืองทุกกลุ่มทุกสี ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำให้ได้รับการปล่อย ตัวเป็นอิสรภาพ ยกเว้นเพียง “แกนนำสีเสื้อ” และ “ผู้นำ” ที่มีอำนาจตัดสินใจกระทำการจะไม่ได้รับอานิสงส์จากกฎหมาย ร้อนฉบับนี้ เช่นที่ว่านี้ การเลือกห้วงเวลาในการ ผลักดัน “โมเดลนิรโทษกรรม” เพื่อหวังช่วยเหลือ “แกนนำ” และ “ผู้ชุมนุม” ในเหตุการณ์นองเลือดเมื่อปี 2553 รอบนี้นั้น ด้านหนึ่งเพราะเชื่อมั่นว่าฝ่ายตนเองมี “ขุมกำลัง” มากพอที่จะ “ขยับ” เพื่อต่อรอง

ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า “เดอะตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในหัวขบวน “เสื้อแดง” ก็พลาดหวังกับ “บำเหน็จ” ในการเคลื่อนไหว ทางการเมืองครั้งเก่า ซึ่งก็คาดเดาได้ยากว่า “ครม.ปู 4” จะมีแกนนำเสื้อแดงอยู่ในโผด้วยหรือไม่... แต่เหนืออื่นใด “อารมณ์เจ็บปวด” ของ “จตุพร” ก็สะท้อนด้วยปฏิกิริยา “แผ่น เสียงตกร่อง” หลังออกมาเตือนสติ “รัฐบาล” และ “พรรคเพื่อไทย” โดยเอามวลชนเสื้อแดงมาต่อรอง ให้ปลดปล่อยนักโทษการ เมืองออกจากคุก เพราะทุกคนคือ “เหยื่อสถานการณ์” ของฝ่ายการเมือง ที่ไม่ได้มี ส่วนได้-เสียกับความขัดแย้งของคนในระดับบน

“อีกไม่กี่เดือนจะครบรอบ 3 ปีของแนวร่วมที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งจะเป็นการคุม ขังนักโทษการเมืองที่ยาวนานที่สุดของ ประเทศ การเสนอ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ไม่ใช่ทำเพื่อ นปช.เท่านั้น แต่ทำเพื่อประชาชน...”

สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว การตกอยู่ท่ามกลาง “วงล้อม” จากทั้ง “ฝ่ายปฏิปักษ์” และพวกเดียวกันเองอย่าง “คนเสื้อแดง” ก็ย่อมแตกตื่นอยู่มิใช่น้อย แม้จะมีอำนาจบริหารเต็มมือ หรือคุมสภาไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเพียงพอที่จะ “ต่ออายุรัฐบาล” ให้อยู่จนครบเทอมได้อย่างราบรื่น

เมื่อมีแนวโน้มที่จะเกิด “บ่อนทำลาย” จากทั้งภายใน-ภายนอก “ยิ่งลักษณ์” และ “ผู้มากบารมีในรัฐบาล” ย่อมคิดหาหนทาง ใหม่เพื่อจัดการ “ปัญหา” ไม่ให้บานปลาย หรือส่งผลกระทบต่อรัฐบาล พลันให้รีบ ต่อท่อร้อยสาย...เชื่อมสัมพันธภาพกับ “กองทัพ” และ “ผู้นำชนชั้นสูง” อย่าง “ป๋า”

ทั้งหมดทั้งปวง เป็นหนังเรื่องยาว ที่ต้องลุ้นเหนื่อยในฉากจบ ว่าที่สุดจะเป็น ละครการเมืองที่มาแบบ “เหนือเมฆ” ที่ นำไปสู่ “เกมกระชับอำนาจ” หรืออาจเป็น ได้แค่ “นิรโทษกรรม..หูทวนลม” ที่ กลายเป็นมวยล้ม “ตุ๋น” คนเสื้อแดงจนเปื่อย?!!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////

Premium/Discount.


คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

หากพิจารณาตลาดหุ้นสำคัญและตลาดหุ้นภูมิภาค ณ สิ้นเดือนมกราคม จะพบว่ามีการเคลื่อนไหวในทิศทางบวกแทบทั้งสิ้น กล่าวคือ ตลาดหุ้นเวียดนาม +16% ฟิลิปปินส์ +7.4% ญี่ปุ่น +7.2% อเมริกา/ดาวโจนส์ +5.8% และจีน/เซี่ยงไฮ้ +5.1% มีเพียงตลาดหุ้นมาเลเซียเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนติดลบ -1.8%

ตลาดหุ้นไทยยังเต็มไปด้วยความความเชื่อมั่น จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เงินบาทแข็งค่า เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น

โดยดัชนี SET ปิด ณ สิ้นมกราคมที่ 1,474 จุด หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.9% โดยมีหมวดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 17.2% ตามด้วยหมวดปิโตรเคมี +11.9% และหมวดขนส่ง +11% ในเวลาเพียงหนึ่งเดือนแรกของปีเท่านั้น

การปรับตัวขึ้นของดัชนีและราคาหุ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้ตลาดหุ้นไทยเคยซื้อขายแบบมีส่วนลด (Discount) ที่ระดับ P/E ต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค หันมาซื้อขายในระดับ P/E ที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาหุ้นรายตัวจะพบว่า มีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่ได้รับ Price Premium (ส่วนเพิ่มของราคา) ในระดับที่สูงมาก แม้หุ้นเหล่านั้นมีปัจจัยบวกสนับสนุนราคา premium แต่นักลงทุนก็ควรตั้งคำถามตรวจสอบว่า หุ้นนั้นควรได้รับ Premium มากน้อยเพียงใด ตัวอย่างคำถามได้แก่

หนึ่ง มูลค่าทั้งหมดของกิจการ (Market Capitalization) มีขนาดเหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดอุตสาหกรรมหรือโอกาสทางธุรกิจโดยรวม และตำแหน่งทางการตลาด (Market Share) ของบริษัท การเลือกลงทุนกิจการที่มีโอกาสธุรกิจระดับพันล้านบาท แต่มูลค่ากิจการสูงหลายหมื่นล้านบาท หรือเปรียบเทียบกับในเชิงรายได้ เช่น หุ้นที่มียอดขายไม่กี่ร้อยล้านบาท แต่กลับมีมูลค่ากิจการสูงหลายพันล้านบาท แม้จะเป็นกิจการที่โดดเด่นและอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง แต่หุ้นเหล่านั้นอาจได้รับ premium สูงมากจนไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนเช่นในอดีต

สอง แม้กิจการมีความแข็งแกร่ง มีโอกาสการเติบโตของกำไรและ P/E to Growth (PEG) ที่ดีในอนาคต แต่ราคาซื้อขาย ณ ระดับ P/E สูงกว่า 40 - 50 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดโดยรวมที่ 14 -15 เท่า จะมีความเหมาะสมหรือไม่ นักลงทุนต้องคำนึงถึงความสมเหตุผลในการเข้าลงทุนในหุ้นที่ได้รับ premium ที่สูงมาก และต้องไม่ลืมว่า อาจยังมีกิจการที่แข็งแกร่งระดับใกล้เคียงกันแต่ซื้อขาย ณ ราคาที่มีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) มากกว่า

สาม ปริมาณมูลค่าการซื้อขายหุ้นเฉลี่ยต่อวันเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของหุ้นนั้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายมากผิดปกติ มีโอกาสที่ราคาและ Premium จะบิดเบือนจากระดับที่ควรเป็น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะกระแสการแย่งเข้าซื้อหุ้น ภาวะอารมณ์ ความลำเอียงจากข้อมูลที่ได้รับ นอกจากนี้ Premium ที่ได้รับอาจจะเป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อหุ้นได้รับความสนใจลดน้อยลง ปริมาณการซื้อขายกลับสู่ภาวะปกติ ราคาหุ้นอาจปรับตัวลดลงและสะท้อนจากผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ

นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องพิจารณาถึง Price Discount (ส่วนลดของราคา) ในกรณีที่กิจการนั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงหรือความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

หนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลง

กฎระเบียบจากภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงและการทดแทนทางเทคโนโลยี การหยุดชะงักของ Supply Chain เป็นต้น นักลงทุนควรศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และการบริหารจัดการของบริษัท แม้การประกันภัยจะช่วยป้องกันความเสี่ยงและช่วยบรรเทาความเสียหาย แต่การหยุดชะงักอาจทำให้สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างถาวรได้

สองปัจจัยเสี่ยงจากการดำเนินงาน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบและการขาดแคลน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย หนี้สูญ ค่าแรงและการขาดแคลน การพึ่งพาผู้ผลิตหรือผู้ซื้อน้อยราย การพึ่งพาผู้บริหารและบุคลากร เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหาร ในภาวะตลาดกระทิง นักลงทุนทุกคนล้วนมีความสุขกับผลกำไรจากการลงทุน สำหรับ Value Investor

นี่คือช่วงเวลาพิสูจน์การมีวินัยในหลักการและแนวทางการลงทุนของตน ไม่โลภ และใช้สติพิจารณาความสมเหตุสมผลของ Premium หรือ Discount ของกิจการ และหากคงยังยึดมั่นในแนวทางของตน ทั้งนี้ก็เพราะ "เราจะไม่เล่นในเกมที่เราไม่ถนัดนั่นเอง"

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ.

ตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเพื่อดูร่วมกันว่าจะมีประเด็นใดน่าสนใจบ้างครับ (ดูตารางประกอบ)








1. อาเซียนโดยรวมถือว่ามีขนาดใหญ่เมื่อใช้ประชากรเป็นตัววัดเพราะมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน (ผมเชื่อว่าเกิน 600 ล้านไปมากแล้ว เพราะมั่นใจว่าได้มีการประเมินขนาดประชากรของพม่าต่ำกว่าจริงมาก เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีปัญหากระทบกระทั่งกันระหว่างรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั้งโลกซึ่งมีอยู่กว่า 7 พันล้านคนก็สรุปได้ว่าอาเซียนมีประชากรคิดเป็นสัดส่วน 8.6% ของประชากรโลกทั้งหมด แต่ต้องยอมรับว่าประชากรอาเซียนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่มาก เพราะมีรายได้ต่อหัวเพียง 3,638 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าจีดีพีต่อหัวของทั้งโลกอย่างมาก เพราะจีดีพีของโลกเท่ากับ 71.28 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น จีดีพีต่อหัวของโลกจึงสูงถึง 10,143 ดอลลาร์ต่อปี อย่างไรก็ดี จีดีพีของอาเซียนโดยรวมน่าจะขยายตัวได้ปีละเกือบ 6% ในขณะที่จีดีพีโลกขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 3-4% ต่อปี

2. อาเซียนโดยรวมมีเศรษฐกิจที่ “เปิด” มากวัดจากสัดส่วนของการส่งออกเมื่อเทียบกับจีดีพี กล่าวคือการส่งออกทั้งหมดมีมูลค่า 1.23 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับจีดีพี 2.18 ล้านล้านดอลลาร์คิดเป็น 56.4% ของจีดีพี ทั้งนี้ ตัวเลขถูกฉุดในทางบวกโดยสิงคโปร์ที่การส่งออกสูงถึง 157.5% ของจีดีพี และในอีกด้านหนึ่งประเทศที่ยังไม่สามารถทำการค้าขายได้โดยปกติคือพม่า ก็ยังไม่สามารถส่งสินค้าออกได้ อีก 3 ประเทศที่ส่งออกน้อยคือ ลาว (ส่งออก 22.8% ของจีดีพี) ซึ่งเป็นประเทศไม่มีทางออกทางทะเล (land locked) ซึ่งตัวเลขการส่งออกน่าจะต่ำเกินจริงที่มีการค้า-ขายอย่างไม่เป็นทางการทางชายแดนเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับอินโดนีเซียที่มีการส่งออกเพียง 24% ของจีดีพีนั้นก็น่าจะเป็นเพราะว่าเป็นประเทศใหญ่ ซึ่งพึ่งตนเองได้มากกว่าประเทศเล็กและยังพัฒนาไปไม่มากนัก สำหรับรายที่ 3 คือฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการส่งออก 21.5% ของจีดีพี) นั้นก็มิได้สะท้อนความ “เปิด” ที่แท้จริงของประเทศซึ่งมีประชาชนชาวฟิลิปปินส์เดินทางไปประกอบอาชีพในต่างประเทศเป็นจำนวนหลายล้านคนและนำเงินกลับเข้าประเทศหลายพันล้านเหรียญ กล่าวคือแม้ฟิลิปปินส์จะส่งออกสินค้าไม่มากนัก แต่ส่งออกแรงงานเป็นจำนวนมาก จึงสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่าอาเซียนโดยรวมมีเศรษฐกิจที่เปิดและน่าจะเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือสัดส่วนการส่งออกต่อจีดีพีน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะพม่าเมื่อได้มีการยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในอนาคต

3. ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศของอาเซียนเป็นตัววัดเสถียรภาพตัวหนึ่งซึ่งสะท้อนว่าอาเซียนมีความมั่นคงทางการเงินพอสมควร เพราะโดยเฉลี่ยแล้วมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 749,000 ล้านดอลลาร์หรือ 34.4% ของจีดีพีของอาเซียนโดยรวม ทั้งนี้บางประเทศอาเซียนมีทุนสำรองสูงมาก เช่น สิงคโปร์ที่ 91.5% ของจีดีพี ไทยที่ 50.6% ของจีดีพีและมาเลเซียที่ 46.4% ของจีดีพี ในอีกด้านหนึ่งประเทศที่มีทุนสำรองน้อยมากคือพม่าและลาว ในขณะที่บางประเทศยังมีทุนสำรองไม่สูงมาก เช่น เวียดนาม ทุนสำรองเพียง 10% ของจีดีพี (ในขณะที่การนำเข้าประมาณ 78% ของจีดีพี) และบรูไนที่มีทุนสำรองประมาณ 10% ของจีดีพีเช่นกัน กล่าวโดยรวมนั้นประเทศที่ทุนสำรองสูงน่าจะมีเงินที่แข็งค่ามากขึ้นในอนาคตครับ

4. ในส่วนของการวัดคุณภาพชีวิต โดยอาศัยดัชนีการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของประชาชน หรือ UNDP Human Development Index (เช่นอัตราการเสียชีวิตตอนเกิด จำนวนประชากรต่อแพทย์หนึ่งคน ระดับการศึกษาของประชาชน ฯลฯ) นั้นก็สะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของประชาชน (คือรายได้ต่อหัว) เป็นหลัก คือสิงคโปร์มีระดับความเจริญสูงสุด (ที่ลำดับ 26) ตามด้วยบรูไน (ลำดับ 33) มาเลเซีย (61) ไทย (103) ที่แตกต่างกันคือ ฟิลิปปินส์ที่ตามมาติดๆ ที่ลำดับ 112 แต่จีดีพีต่อหัวเท่ากับ 2,346 ดอลลาร์ต่ำกว่าจีดีพีต่อหัวของอินโดนีเซียที่ 3,511 ดอลลาร์ค่อนข้างมาก ขณะที่คุณภาพชีวิตของคนอินโดนีเซียตกลงมาที่ลำดับ 124 สูงกว่าเวียดนาม (ลำดับ 128) ไม่มากนัก แม้ว่าจีดีพีต่อหัวของเวียดนามจะเพียง 1,375 เหรียญ และเป็นที่ชัดเจนว่าประเทศลาว เขมรและพม่าจะเป็นประเทศที่ยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชนอีกยาวนาน จึงจะทำให้มีระดับความเจริญใกล้เคียงกับประเทศไทย

5. หากดูตัวเลขโดยรวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเจริญกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่บนพื้นแผ่นดินเอเชียตะวันออกอย่างชัดเจนยกเว้นมาเลเซีย และโดยรวมประเทศไทยล้ำหน้ากว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เกือบทั้งหมดโดยประเทศไทยจะอยู่ที่ลำดับ 3-4 จาก 10 ประเทศอาเซียนครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

การรวมตัวอย่างเข้มแข็งของภาคเอกชน จะทำให้ประเทศสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีพลัง !!?




โดย.ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ในห้วงเวลาที่บ้านเมืองตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งจนภาครัฐยากที่จะขับเคลื่อนได้อย่างเต็มพลัง  และในยามที่ภาคประชาชนส่วนใหญ่ยังอ่อนแอและยากจน  ภาคเอกชนคือความหวังอันสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศสามารถพัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้  เพราะเพียบพร้อมทั้งทรัพยากรและความสามารถ

ในด้านหนึ่ง ภาคเอกชนสามารถเชื่อมโยงและร่วมมือกับภาครัฐในการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง   ประสานร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาความสามารถของภาคเอกชนทั้งเล็กและใหญ่ให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าในด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน  ความเข้าใจและความร่วมมือที่ใกล้ชิดจะทำให้ภาครัฐอาศัยพลังที่แข็งแกร่งของภาคเอกชนไทยเข้าจัดการกับปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญ   ในขณะเดียวกัน  ภาคเอกชนก็สามารถอาศัยภาครัฐในการริเริ่มและให้การสนับสนุนในกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งภาคเอกชนไม่อาจจะกระทำได้โดยลำพัง

ในอีกด้านหนึ่ง ภาคเอกชนที่แข็งแรงก็สามารถก้าวเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาภาคชนบทและภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง    ซึ่งลำพังแล้วภาครัฐไม่สามารถเข้าไปช่วยดูแลได้อย่างทั่วถึง บทบาทเชิงสร้างสรรค์ของภาคเอกชนต่อภาคประชาชนและภาคชนบท ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  การปฏิรูปการเกษตร  การยกระดับการพัฒนาสังคม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การดูแลสังคมเยาวชนและผู้ชราในชนบทที่ยากไร้   บทบาทเหล่านี้ภาคเอกชนสามารถทำได้อย่างมีพลังหากร่วมมือกันระหว่างเอกชนด้วยกัน และระหว่างเอกชนกับภาคประชาชนและสถาบันอื่น อาทิ สถาบันการศึกษา ทั้งในเรื่องของการพัฒนายุทธศาสตร์  การสนับสนุนทางการเงิน  และความช่วยเหลือในการบริหารจัดการ

ความใกล้ชิดของภาคเอกชนกับภาคประชาชนจะเป็นโอกาสให้สามารถถ่ายเทความรอบรู้ ประสบการณ์ และปลูกฝังแนวคิดที่ดีมีประโยชน์แก่ภาคประชาชน  ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  หรือปลูกฝังการต่อต้านคอร์รัปชั่นแก่สังคมหมู่มาก  อาจกล่าวได้ว่า  ไม่มียามใดอีกแล้วที่ประเทศกำลังต้องการบทบาทเชิงรุกของภาคเอกชนเพื่อสะสางปัญหาที่สั่งสมในประเทศ  และร่วมบุกเบิกโอกาสในต่างประเทศเพื่อสร้างอนาคตแก่ประเทศไทย

แต่ภาคเอกชนในปัจจุบันยังขาดการรวมตัวอย่างมีพลังที่แท้จริงในการผลักดันเชิงนโยบาย และการรวมตัวของทรัพยากรเพื่อให้นโยบายเป็นผลในเชิงปฏิบัติ    ในขณะเดียวกัน  ก็ยังขาดการเชื่อมโยงที่ดีและลึกซื้งพอกับภาครัฐ    บทบาทการนำของภาคเอกชนในการกำหนดทิศทางของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองจึงยังขาดพลัง   ในขณะที่บทบาทในการก้าวเข้าไปช่วยเหลือภาคประชาชนยังมีจำกัดยิ่ง

หากเป็นไปได้

….  อยากจะได้เห็นการรวมตัวที่เข้มแข็งของภาคเอกชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำธุรกิจที่มีความพร้อมและมั่นคงน่าจะก้าวออกมาเป็นแกนนำเพื่อพัฒนาภาคเอกชนด้วยกันเองและสามารถเชื่อมโยงประสานงานกับภาครัฐอย่างสร้างสรรค์  และก้าวเข้าไปพัฒนาภาคประชาชนได้อย่างมีพลัง          

….   อยากจะได้เห็นภาครัฐที่รู้จักใช้ความเป็นผู้นำสร้างความยอมรับและศรัทธา ใช้อำนาจการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ชี้นำและโน้มน้าวพลังของภาคเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บ้านเมืองในยามที่สำคัญเช่นนี้

ที่มา..thailandfuturefoundation
///////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คลัง-แบงก์ชาติ กับ บาทแข็ง !!?


 ยังแรงดีไม่มีตกสำหรับประเด็น “การแข็งค่าของเงินบาท” ที่กลายเป็นเรื่องเป็นราวถกเถียงกันไปมาระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับกรณี “จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
   
โดยเรื่องนี้ฝั่งกระทรวงการคลัง นำโดย “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เคยออกมาระบุว่า “ตนเคยพูดมาหลายครั้งแล้วว่าประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงเกินไป ดังนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงคือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงควรพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบ โดยการให้ความเห็นในส่วนของตนที่อยู่ในฐานะ รมว.คลังนั้น ไม่มีหน้าที่ตัดสินใจในส่วนนี้ เพื่อให้ช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อ่อนลง”
   
ขณะที่คู่กรณีอย่าง “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการ ธปท. ก็ออกมาชี้แจงต่อว่า “เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กนง. หากเห็นว่าเศรษฐกิจมีปัญหาและจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินประคับประคองเศรษฐกิจเพื่อให้ยังสามารถขยายตัวได้ต่อไปนั้น ดอกเบี้ยก็ควรจะสะท้อนเศรษฐกิจไทยมากกว่าจะไปสะท้อนภาวะเศรษฐกิจของต่างประเทศ ทั้งสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้สินเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ ธปท.กังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวด้วย”
   
จากเหตุการณ์ดังกล่าวร้อนรนถึง “ขุนคลัง” เล่นเอานั่งไม่ติดเก้าอี้ ถึงขั้นออกมาระบายผ่านสื่อว่า “ตนรู้สึกไม่พอใจภาพรวมการดูแลและการแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเห็นว่าควรจะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของไทยยังอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ซึ่งมีข้อเสียอยู่มาก แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่บ้างก็ตาม
   
“ที่ผ่านมาผมพูดเสมอว่าประเทศไทยควรจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพราะมันอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ซึ่งสิ่งที่ผมพูดก็เป็นเพียงการแสดงความเห็นเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้ และหากผู้ที่ดูแลเรื่องนี้ทั้งคณะเห็นว่าควรจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลง ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม ก็ควรจะดำเนินการตามนั้น ซึ่งเรื่องนี้ผู้รับผิดชอบควรจะรับฟังเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา” นายกิตติรัตน์กล่าว
   
ไม่เพียงเท่านั้น ถัดมาไม่กี่วัน “กิตติรัตน์” ยังคงแผลงฤทธิ์ไม่หยุด ด้วยการเดินหน้าร่อนหนังสือถึง ธปท. ผ่าน “วีรพงษ์ รามางกูร” ประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งเป้าประสงค์ก็คือเพื่อให้ “วีรพงษ์” และบอร์ดทุกคนได้ร่วมกันพิจารณาถึงอำนาจและความรับผิดชอบของ ธปท.ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะก่อนหน้านี้ “กิตติรัตน์” และ “วีรพงษ์” ได้เคยผนึกกำลังกันเสนอแนะให้ ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.75% เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศแคบลง และลดกระแสเงินทุนไหลเข้า ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาของเรื่องนี้คือ “เงินบาทแข็งค่า”
 
 “ธปท.ก็ยังมองข้ามข้อเสนอดังกล่าว เพราะผู้บริหารก็ยังคงให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนตลอดว่าจะพิจารณากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นหลัก สำหรับการกำหนดทิศทางการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ”
   
พร้อมทั้งยังยืนยันอีกว่า การกระทำดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้เป็นการแทรกแซงการทำงานของ ธปท. แต่เป็นการพูดในฐานะ รมว.การคลัง ซึ่งมีสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการแสดงความเป็นห่วงด้วยความ “บริสุทธิ์ใจ” และยืนยันอีกว่าสิ่งที่ทำไม่ได้หมายว่าต้องมีการปลด “ผู้ว่าฯ ธปท.” แต่อย่างใด
   
ขณะที่ “วีรพงษ์” เองก็ออกมาสับเละ ธปท. ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้สูงเกินไปว่า “การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้สูงเช่นนี้ ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก และส่งผลทำให้เงินบาทแข็งค่า อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ด้วย โดยนอกจากเงินจะแข็งค่าแรง ยังเป็นผลทำให้ ธปท.ต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อลดการแข็งค่า ด้วยการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่อง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลทำให้ ธปท.ต้องแบกรับผลขาดทุนจากการดำเนินการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพันธบัตรที่ออกมานั้นมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบาย
   
คำถามคือ “ธปท.” ยังจำเป็นต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่? และยังมีหลายฝ่ายที่ยังสงสัยในเรื่องนี้ว่า หากดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ทิศทางอัตราเงินเฟ้อของประเทศจะเป็นอย่างไร
   
เชื่อว่าทุกฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์ “การแข็งค่าของเงินบาท” เพราะนอกจากจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการกลุ่มส่งออกที่เคยได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักมาแล้วจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกถดถอย ก็อาจต้องมาบาดเจ็บจากสถานการณ์ค่าเงินอีกครั้ง รวมถึงยังมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ธปท.จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
   
ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปแบบห้ามคลาดสายตาถึงแนวทางในการแก้ปัญหา “การแข็งค่าของเงินบาท” ที่แม้ว่าในปัจจุบันก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ หรือจะเลยเถิดไปถึงจำเป็นต้องมีการ “ปลดผู้ว่าฯ ธปท.” หรือไม่ หากไม่มีการสนองนโยบายรัฐบาล!!!.

ที่มา.ไทยโพสต์
***************************

กกต.ต้องเอาจริง : เชือดโพลล์เลือกข้าง !!?


การประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตของนายมานิจ สุขสมจิตร์สื่อมวลชนอาวุโส ทั้งๆ ที่ดำรงตำแหน่งมานานกว่า 30 ปี เนื่องจากอับอายต่อกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำโพลล์แบบชี้นำรับใช้ฝ่ายการเมืองอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการของสวนดุสิตโพลถือเป็นเรื่องใหญ่และสะท้อนให้เห็นถึงข้อน่ากังขาในความไม่ชอบมาพากลสำหรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมที่เริ่มมีมากขึ้นทุกขณะเกี่ยวกับพฤติกรรมของโพลล์บางสำนักที่ถูกจับตาตั้งข้อสงสัยว่าเป็น “โพลล์โสเภณี” หรือ “โพลล์รับจ้าง”

นายมานิจ ในวงการสื่อมวลชนแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์อาชีพอาวุโสซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในฐานะสื่ออาวุโสที่มีประวัติใสสะอาด ซื่อสัตย์สุจริตยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสื่ออย่างเคร่งครัดมาตลอดหลายสิบปีที่ทำอาชีพนี้โดย นายมานิจ จบการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และทำงานหนังสือพิมพ์มาตลอดจนเข้าสู่วัยชรา เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมามากมายนับไม่ถ้วนรวมทั้งตำแหน่งอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอดีตบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อาจารย์พิเศษด้านสื่อสารมวลชนและเคยได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสำคัญมาแล้วมากมาย การลาออกจากนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตครั้งนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงการหมดความอดทนต่อพฤติกรรมของสวนดุสิตโพลได้เป็นอย่างดี

สวนดุสิตโพลถูกตั้งข้อสงสัยมานานในพฤติกรรมส่อไปในทางรับใช้พรรคการเมืองบางพรรคโดยเฉพาะในศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.ครั้งล่าสุดนี้สวนดุสิตโพลถูกตั้งข้อสังเกตว่าทำโพลล์แบบชี้นำช่วยเหลือผู้สมัครจากบางพรรค และข้อน่าสงสัยก็คือ นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ผู้อำนวยการของสวนดุสิตโพล ได้รับจ้างจัดทำโพลล์โครงการสานเสวนา 108 เวทีของกระทรวงมหาดไทย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนสูงถึง 108 ล้านบาท นอกจากนี้ นายสุขุม ยังได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา

นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตว่า หลังสวนดุสิตโพลตกเป็นข่าวอื้อฉาวพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคเพื่อไทยออกมาแก้ต่างแทนสวนดุสิตโพลในทันทีว่าโพลล์ไม่มีผลต่อการชี้นำ

ไม่เพียงสวนดุสิตโพล สำนักโพลล์ชื่อดังอย่างเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่มี นายนพดล กรรณิกาเป็นผู้อำนวยการก็ถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องการชี้นำศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ตลอดจนพฤติการณ์ในช่วงที่ผ่านมา

การที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กทม. ออกมาเตือนการทำโพลล์ในลักษณะชี้นำไม่เป็นกลางพร้อมทั้ง คาดโทษว่าอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งซึ่งมีโทษทางอาญาและล่าสุดเตรียมเรียก นายสุขุม มาชี้แจงต่อกกต.กทม.น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า กกต.เอาจริงกับการทำโพลล์ที่มีเบื้องหลังผลประโยชน์ แอบแฝงจนทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์และยุติธรรม

อย่างไรก็ตามแค่การปรามคงไม่เพียงพอ แต่ประธานกกต.กทม.ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ใช่เป็นแค่เสือกระดาษ แต่ต้องเอาจริงด้วยการตรวจสอบทรัพย์สินของเจ้าสำนักโพลล์ทุกสำนักที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยในเชิงลึกอย่างเข้มข้นและให้อธิบายที่มาของทรัพย์สิน ซึ่งหากพบทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาดเพื่อไม่ให้โพลล์ชั่วร้ายประเภท “โสเภณี” หรือ “มือปืนรับจ้าง” ได้ใจหากินสร้างความร่ำรวยกับนักการเมืองเลวโดยไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพและทรยศต่องานทางวิชาการ

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
----------------------------------

แรงกดดัน พุ่งใส่ อภิสิทธิ์ !!?


เหลือเวลาอีกเพียงชั่วอึดใจเดียววันตัดสินชี้ขาดศึกสนามเล็ก เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำลังจะมาถึง ด้วยโมงยามที่ถูกจำกัด แต่ในขณะเดียวกัน ผู้สมัครทั้งค่ายใหญ่และในนามอิสระ ต่างต้องหาทาง"ปล่อยอาวุธ" กันอย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องรีรอแทงกั๊กกันอีกต่อไป!
     
ท่ามกลางการผลักดันภารกิจสำคัญของพรรคประชาปัตย์ในการรักษาแชมป์ ส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตรผู้สมัครของพรรค เข้าไปยึดครองเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. เอาไว้ให้ได้เป็นสมัยที่สอง อย่างเข้มข้น และตึงเครียด
     
เพราะนับวันกระแสของพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในฐานะตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ยิ่งทวีความแรงและโดดเด่นมากขึ้นทุกขณะ ยิ่งส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องหาทางปรับกลยุทธ์ เพื่อกวาดคะแนนตุนเอาไว้ในมือให้มากที่สุด
   
สำหรับการต่อสู้ของสองพรรคการเมืองใหญ่ บนศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. รอบนี้ ยังมีความน่าสนใจว่า คนที่อาจต้องเผชิญหน้ากับ "แรงกดดัน"ทั้งในและนอกพรรค คงไม่มีใครเกินไปกว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อย่าง"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"!
     
การต่อสู้ทางการเมืองวันนี้ ดูเหมือนว่าหลายสิ่งหลายอย่างมีความเกี่ยวเนื่อง โยงใยกันไปโดยปริยาย การเมืองในสนามเล็ก อย่างการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. กำลังสร้างแรงกระแทกและแรงเสียดทานขึ้นทั้งต่อในและนอกพรรคของแต่ละฝ่ายไปในคราวเดียวกัน
     
เมื่อโฟกัสการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแชมป์เก่าแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่จะรักษาเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. ซึ่งถือเป็น"ชัยภูมิหลัก"ทางการเมืองที่ทุกพรรคต่างหมายตา หวังได้ครอบครอง
     
ในเบื้องลึกวันนี้พบว่า ความวุ่นวายภายในพรรคประชาธิปัตย์เองยังคงรอจังหวะที่จะปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังเสร็จศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.รอบนี้จบลง!
     
เพราะมีข่าวว่าเวลานี้กำลังเกิดคำถามขึ้นภายในพรรค จาก"คนกันเอง"ว่าหากการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ครั้งนี้เมื่อผลออกมาม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไม่สามารถรักษา "เก้าอี้" เอาไว้ได้เป็นสมัยที่สอง
     
"ใคร" ควรที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบ
     
"ใคร" ควรที่จะแสดงสปิริต อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ ?
     
โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคที่ชื่ออภิสิทธิ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ กว่าที่พรรคจะเคาะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้เป็นตัวแทนพรรค ได้เกิดแรงกระเพื่อมจากคนในพรรคด้วยกันเอง เพราะมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อม
     
ทั้งตั้งคำถามว่าเหตุใด หัวหน้าพรรคไม่เลือกเปิดโอกาสให้แกนนำคนอื่นในพรรค เป็นตัวแทน ไม่ว่าจะเป็น"กรณ์จาติกวณิช"รองหัวหน้าพรรค หรือ"องอาจ คล้ามไพบูลย์"ส.ส.บัญชีรายชื่อ
     
อีกทั้งยังปล่อยให้เกิดความไม่ชัดเจนขึ้นภายในพรรค จนเป็นที่มาของความขัดแย้งระหว่างแกนนำด้วยกันเอง
     
และจากเหตุการณ์คลื่นใต้น้ำในวันวานที่ผ่านมา ที่เกิดขึ้นภายในประชาธิปัตย์ ได้มีความพยายามจากคนในพรรคด้วยกันเองเพื่อต้องการให้ทุกฝ่าย "สงบศึก" เพื่อร่วมกันผลักดันให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไปสู่เป้าหมายก็ตาม
     
แต่ทว่าสถานการณ์ภายในพรรควันนี้ ยังคงเต็มไปด้วยอาการคุกรุ่น อยู่ไม่น้อย ยิ่งพบว่ากระแสความนิยม ของคู่แข่งแซงหน้า ไปมากเท่าใด ยิ่งกลายเป็น "ชนวน" ทำให้เกิดคำถามตามมาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดและการตัดสินใจของหัวหน้าอภิสิทธิ์ ตั้งแต่แรกมากเท่านั้น
     
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและยังอาจสอดรับกับการปลุกคะแนน ให้กับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เพื่อให้ตีตื้นขึ้นมาในช่วงโค้งสุดท้าย นั่นคือการเปิดตัว"ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ"อดีตเลขาธิการอาเซียน ทีจะเข้ามารับบทบาทในฐานะ"ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย"ในวันที่ 8 ก.พ.นี้
     
พร้อมทั้งยังมีรายการดึงบุคคลสำคัญในแวดวงต่างๆ เข้ามาเสริมทัพเพื่อขับเคลื่อนสถาบันดังกล่าว ซึ่งหลายคนล้วนแล้วแต่เป็นอดีตคีย์แมนของพรรค ในรัฐบาลนายกฯชวน หลีกภัย มาแล้วทั้งสิ้น
     
การเปิดตัวสถาบันที่ว่านี้ ย่อมส่งผลต่อคะแนนของคนกรุงเทพฯ ที่จะมองเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นสามารถที่จะปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของตัวเองจากพรรคแนวอนุรักษนิยม ไปสู่อีกมิติหนึ่ง โดยมีบุคลากรสำคัญพร้อมเข้าร่วม
     
ว่ากันว่าแนวคิดการขับเคลื่อนสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย นั้นยิ่งเป็นรูปธรรมากเท่าใด ยิ่งเป็นคำตอบในวันข้างหน้าว่า ประชาธิปัตย์กำลังเปิดเกม "รุกกลับ" นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมากเท่านั้นหลังเกมสนามเล็กจบลง
   
และในขณะเดียวกันยังน่าสนใจด้วยว่า ผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันสถาบันดังกล่าวนี้ คือแกนนำพรรคที่ประเมินและมองเห็นแล้วว่า เส้นทางที่ทั้ง "หัวหน้าพรรค" และ สุเทพเทือกสุบรรณ ก้าวเดินที่ผ่านมานั้นดูจะยังไม่ใช่ "คำตอบ" ที่หลายคนในพรรคต้องการ!

ที่มา.สยามรัฐ
/////////////////////////////