ผู้เขียน: เรืองยศ จันทรคีรี
หากจะว่าโดยเนื้อหาแล้ว สนช. หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เคยถูกมองว่าแท้จริงแล้วคงเป็นส่วนหนึ่งของ คสช. นั่นเอง! มุมมองเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร หรือนักวิชาการประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งจะว่าไปแล้วการเฝ้ามองเช่นนี้มีเหตุมีผลของมันอยู่เหมือนกัน ดังเราจะเห็นได้ว่าในช่วงที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลนั้น ได้มีกระแสเสียงโจมตีเกี่ยวกับระบบรัฐสภาของไทย เป็นทั้งข้อหาและวาทกรรมว่า “สภาทาส” จนกลายเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นมีเผด็จการระบบรัฐสภา
ฉะนั้นเมื่อพิจารณาจากเหตุผลเรื่องสภาทาส สำหรับกลุ่มฝ่ายที่เห็นดีด้วยกับวาทกรรมนี้ เมื่อมีโอกาสที่จะเข้าสู่วงจรอำนาจ และเป็นวงจรอำนาจที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา ย่อมจำเป็นมากที่จะต้องกวาดล้างไม่ให้มีระบบสภาทาส ดุจเดียวกับการกวาดล้างระบอบทักษิณให้หมดไปจากประเทศไทย
เรื่องทั้งเรื่องนั้นถ้าจะพูดแบบภาษาไทยเก่าๆก็ต้องว่า “เมื่อเราว่าเขาก็ขอให้อิเหนาอย่าเป็นเอง” หากเป็นเพียงว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองก็ไม่ต่างจากการกลืนน้ำลายลงคอ หรืออาจจะเลวร้ายกว่านั้นคือ เป็นการขากเสลดและไม่ถ่มออกมา แต่กลืนลงไปในกระเพาะอาหารตนเอง ลองพิจารณาแล้วกันว่าจะเป็นเรื่องเลวร้ายแค่ไหน อาจทำให้สังคมเกิดตั้งคำถามขึ้นมาได้ว่า แล้วระบอบที่เข้ามาแทนระบอบทักษิณจะดีกว่าระบอบทักษิณตรงไหนกัน?
ผมได้อ่านรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งมีอยู่บทหนึ่งที่เขียนโดย น.ส.นิรัญ ดอนสุวรรณ นับว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจมาก เป็นมุมมองจากข้อสังเกตที่เกี่ยวเนื่องมาจากการทำบทบาทของ สนช. ที่ น.ส.นิรัญยกตัวอย่างออกมาให้เห็นชัดๆจาก 2 กรณี
เรื่องแรกนั้นคือ การยกมือผ่านการพิจารณางบประมาณแผ่นดินด้วยเสียง 183 ต่อ 0 และข้อที่ 2 ซึ่งผ่านไปหมาดๆคือ การยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย โดยมติของ สนช. ที่ออกมามีเสียงสนับสนุนถึง 194 เสียง และมีบางเสียงงดออกเสียง
ในสภาวะที่เป็นอยู่จริง น.ส.นิรัญบอกว่าเป็นเรื่องที่พอเข้าใจกันได้สำหรับการที่เราต้องพยายามมีรัฐบาลซึ่งมีอำนาจเต็ม และเป็นการสิ้นสุดของอำนาจรัฐประหาร! แต่จากความจริงที่เราพยายามเข้าใจนี้ก็มีอีกคำถามตามมาว่า แม้กระทั่งหน้าที่ของ สนช. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยสำทับว่าขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ให้มีการตรวจสอบอย่างเต็มที่ แต่อาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม พอจะมองอีกได้ว่า สนช. นั้นมีพิมพ์เขียวที่ต้องยกมือของตัวเองหรือไม่? หรือพูดอีกทีนึงว่าสภาบล็อกโหวตหรือไม่? และมีแนวโน้มที่พอจะเข้าใจได้ว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้น นี่จึงเป็นจุดอ่อนประการสำคัญที่จะต้องแก้ไข แก้ไขด้วยเหตุผลที่ว่าอย่าให้ประชาชนไทยไปคิดและเข้าใจเอาเองว่า สนช. นั้นแท้จริงแล้วมีสภาวธรรมไม่ต่างจากวาทกรรมเรื่องสภาทาสที่เคยถูกใช้โจมตีในการบริหารงานของรัฐบาลเท่าที่ผ่านมา
เรื่องนี้อาจจะยังไม่สายเกินไป หรือจะบอกว่าบางครั้งอาจต้องทำผิดบ้างเพื่อผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าของประเทศไทย ตั้งแต่ผลประโยชน์เรื่องผ่านงบประมาณปี 2558 และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ แต่เมื่อผ่านเงื่อนไขและขั้นตอนเหล่านี้ไปแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงจากความเข้าใจผิดที่คนจะเห็นว่าตัวเองเป็นสภาทาสแล้วตีความ ก็เป็นสภาที่ไม่แตกต่างไปจากรัฐสภาในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา
ดังนั้น น.ส.นิรัญ ดอนสุวรรณ จึงสรุปว่า สนช. จำเป็นจะต้องตั้งต้นตัวเองและปฏิรูปบทบาทเสียใหม่ นั่นคือบทบาทของการเสนอกฎหมายและการตรวจสอบรัฐบาล คงมีความจำเป็นจะต้องว่ากันอย่างตรงไปตรงมาและมีเหตุมีผลกันมากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นการพยายามทำให้ประชาชนไทยมองเห็นว่าบทบาทของ สนช. ในฐานะรัฐสภาดีกว่ารัฐสภาในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นสภาทาส
หากไม่แก้ไขจุดอ่อนตรงนี้แล้วคนอาจจะเหมาเข่งเอาได้ว่าแท้จริงแล้วรัฐสภาของไทยมีทาส 2 ลักษณะคือ เป็นสภาทาสแบบเก่า และสภาทาสแบบใหม่ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปบทบาทตนเองให้ได้ ทำงานอย่างเต็มที่และให้มีความโปร่งใส อย่าให้คนเห็นว่า สนช. ไม่แตกต่างไปจากสภาทาสในระบอบทักษิณแต่อย่างใด?
เพราะถ้าเป็นไปเช่นนั้นแล้วจะมีเสียงถามตอบกลับมาว่า ระหว่างนายทาสเก่ากับนายทาสใหม่จะแตกต่างกันที่ตรงไหน
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
///////////////////////////////////////////////
หากจะว่าโดยเนื้อหาแล้ว สนช. หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เคยถูกมองว่าแท้จริงแล้วคงเป็นส่วนหนึ่งของ คสช. นั่นเอง! มุมมองเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร หรือนักวิชาการประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งจะว่าไปแล้วการเฝ้ามองเช่นนี้มีเหตุมีผลของมันอยู่เหมือนกัน ดังเราจะเห็นได้ว่าในช่วงที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลนั้น ได้มีกระแสเสียงโจมตีเกี่ยวกับระบบรัฐสภาของไทย เป็นทั้งข้อหาและวาทกรรมว่า “สภาทาส” จนกลายเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นมีเผด็จการระบบรัฐสภา
ฉะนั้นเมื่อพิจารณาจากเหตุผลเรื่องสภาทาส สำหรับกลุ่มฝ่ายที่เห็นดีด้วยกับวาทกรรมนี้ เมื่อมีโอกาสที่จะเข้าสู่วงจรอำนาจ และเป็นวงจรอำนาจที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบรัฐสภา ย่อมจำเป็นมากที่จะต้องกวาดล้างไม่ให้มีระบบสภาทาส ดุจเดียวกับการกวาดล้างระบอบทักษิณให้หมดไปจากประเทศไทย
เรื่องทั้งเรื่องนั้นถ้าจะพูดแบบภาษาไทยเก่าๆก็ต้องว่า “เมื่อเราว่าเขาก็ขอให้อิเหนาอย่าเป็นเอง” หากเป็นเพียงว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองก็ไม่ต่างจากการกลืนน้ำลายลงคอ หรืออาจจะเลวร้ายกว่านั้นคือ เป็นการขากเสลดและไม่ถ่มออกมา แต่กลืนลงไปในกระเพาะอาหารตนเอง ลองพิจารณาแล้วกันว่าจะเป็นเรื่องเลวร้ายแค่ไหน อาจทำให้สังคมเกิดตั้งคำถามขึ้นมาได้ว่า แล้วระบอบที่เข้ามาแทนระบอบทักษิณจะดีกว่าระบอบทักษิณตรงไหนกัน?
ผมได้อ่านรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งมีอยู่บทหนึ่งที่เขียนโดย น.ส.นิรัญ ดอนสุวรรณ นับว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจมาก เป็นมุมมองจากข้อสังเกตที่เกี่ยวเนื่องมาจากการทำบทบาทของ สนช. ที่ น.ส.นิรัญยกตัวอย่างออกมาให้เห็นชัดๆจาก 2 กรณี
เรื่องแรกนั้นคือ การยกมือผ่านการพิจารณางบประมาณแผ่นดินด้วยเสียง 183 ต่อ 0 และข้อที่ 2 ซึ่งผ่านไปหมาดๆคือ การยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย โดยมติของ สนช. ที่ออกมามีเสียงสนับสนุนถึง 194 เสียง และมีบางเสียงงดออกเสียง
ในสภาวะที่เป็นอยู่จริง น.ส.นิรัญบอกว่าเป็นเรื่องที่พอเข้าใจกันได้สำหรับการที่เราต้องพยายามมีรัฐบาลซึ่งมีอำนาจเต็ม และเป็นการสิ้นสุดของอำนาจรัฐประหาร! แต่จากความจริงที่เราพยายามเข้าใจนี้ก็มีอีกคำถามตามมาว่า แม้กระทั่งหน้าที่ของ สนช. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยสำทับว่าขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ให้มีการตรวจสอบอย่างเต็มที่ แต่อาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม พอจะมองอีกได้ว่า สนช. นั้นมีพิมพ์เขียวที่ต้องยกมือของตัวเองหรือไม่? หรือพูดอีกทีนึงว่าสภาบล็อกโหวตหรือไม่? และมีแนวโน้มที่พอจะเข้าใจได้ว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้น นี่จึงเป็นจุดอ่อนประการสำคัญที่จะต้องแก้ไข แก้ไขด้วยเหตุผลที่ว่าอย่าให้ประชาชนไทยไปคิดและเข้าใจเอาเองว่า สนช. นั้นแท้จริงแล้วมีสภาวธรรมไม่ต่างจากวาทกรรมเรื่องสภาทาสที่เคยถูกใช้โจมตีในการบริหารงานของรัฐบาลเท่าที่ผ่านมา
เรื่องนี้อาจจะยังไม่สายเกินไป หรือจะบอกว่าบางครั้งอาจต้องทำผิดบ้างเพื่อผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าของประเทศไทย ตั้งแต่ผลประโยชน์เรื่องผ่านงบประมาณปี 2558 และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ แต่เมื่อผ่านเงื่อนไขและขั้นตอนเหล่านี้ไปแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงจากความเข้าใจผิดที่คนจะเห็นว่าตัวเองเป็นสภาทาสแล้วตีความ ก็เป็นสภาที่ไม่แตกต่างไปจากรัฐสภาในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา
ดังนั้น น.ส.นิรัญ ดอนสุวรรณ จึงสรุปว่า สนช. จำเป็นจะต้องตั้งต้นตัวเองและปฏิรูปบทบาทเสียใหม่ นั่นคือบทบาทของการเสนอกฎหมายและการตรวจสอบรัฐบาล คงมีความจำเป็นจะต้องว่ากันอย่างตรงไปตรงมาและมีเหตุมีผลกันมากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นการพยายามทำให้ประชาชนไทยมองเห็นว่าบทบาทของ สนช. ในฐานะรัฐสภาดีกว่ารัฐสภาในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นสภาทาส
หากไม่แก้ไขจุดอ่อนตรงนี้แล้วคนอาจจะเหมาเข่งเอาได้ว่าแท้จริงแล้วรัฐสภาของไทยมีทาส 2 ลักษณะคือ เป็นสภาทาสแบบเก่า และสภาทาสแบบใหม่ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปบทบาทตนเองให้ได้ ทำงานอย่างเต็มที่และให้มีความโปร่งใส อย่าให้คนเห็นว่า สนช. ไม่แตกต่างไปจากสภาทาสในระบอบทักษิณแต่อย่างใด?
เพราะถ้าเป็นไปเช่นนั้นแล้วจะมีเสียงถามตอบกลับมาว่า ระหว่างนายทาสเก่ากับนายทาสใหม่จะแตกต่างกันที่ตรงไหน
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
///////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น