คลังรื้อใหญ่ภาษีสรรพสามิต เก็บจากราคาขายปลีก แทนหน้าโรงงาน ยุบรวมกม.7ฉบับ คาดเสนอสนช.เดือนหน้า
สรรพสามิตเตรียมแก้กฎหมายครั้งใหญ่ ยับรวม 7 ฉบับ เหลือ ฉบับเดียว หวังใช้เป็นมาตรฐาน เล็งใช้"ราคาขายปลีก"เป็นฐานคำนวณ จากเดิมจัดเก็บ "ราคาหน้าโรงงาน" ค่ายเบียร์สิงห์ค้าน ชี้ให้อำนาจ"ร้านสะดวกซื้อ-โมเดิร์นเทรด"เป็นผู้กำหนดภาษี ขณะค่ายไฮเนเก้น รอประกาศจริงก่อนประเมินผลกระทบ คาดเสนอสนช.ในเดือนก.ย.นี้
กรมสรรพสามิตเตรียมแก้กฎหมายครั้งใหญ่ โดยยุบรวมกฎหมาย 7 ฉบับเหลือฉบับเดียว ถือว่าเป็นการปรับปรุงกฎหมายที่ทำได้ยากในรัฐบาลปกติที่มาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายอุตสาหกรรม โดยการแก้กฎหมายในครั้งนี้จะทำให้การจัดเก็บเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดในสินค้าทุกประเภท เหมือนประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร
การปรับภาษีดังกล่าว กรมสรรพสามิตมีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเร่งสรุปเพื่อเสนอรัฐบาลในเร็วนี้
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การแก้กฎหมายครั้งนี้จะรวมกฎหมายสรรพสามิตจำนวน 7 ฉบับ จะเหลือฉบับเดียว เรียกว่า ร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้โครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในสินค้าต่างๆมีความเป็นธรรม โปร่งใส และ เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
สำหรับกฎหมาย 7 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2497 , 2. พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 , 3.พ.ร.บ.ไพ่ 2486 ,4. พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2527 , 5.พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 , 6.พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต 2527 , 7.พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ.2527
นายสมชาย กล่าวว่า สาระสำคัญของการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว คือ จะได้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต กล่าวคือ ปัจจุบัน กรมฯได้ใช้ฐานในการคำนวณภาษีจากราคาหน้าโรงงานสำหรับทุกสินค้า ยกเว้น สินค้าสุราและเบียร์ ที่ปรับเปลี่ยนมาคำนวณจากราคาขายส่งช่วงสุดท้าย
"แต่กฎหมายใหม่จะทบทวนให้มีการคำนวณภาษีจาก ราคาขายปลีกแนะนำสำหรับทุกสินค้า"
นอกจากนี้ จะได้ปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณ จากเดิมใช้วิธีการคำนวณภาษีจากปริมาณ หรือ มูลค่า ของสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการจัดเก็บภาษีแบบใดจะสูงกว่ากัน โดยจะปรับเปลี่ยนเป็นนำทั้งปริมาณและมูลค่ามาคำนวณภาษี
ก่อนหน้านี้ กรมสรรพสามิตมอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ และกรมสรรพสามิตได้นำผลการศึกษามาพิจารณา จากนั้นก็ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการจากทั้งสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้า โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
“หลังจากเราได้ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว เราก็นำมาพิจารณา และ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ รวมถึง ผู้ประกอบการ คาดว่า จะสามารถสรุปได้เร็วๆนี้ และ จะจัดให้มีการแถลงให้ทราบเกี่ยวกับผลการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายสรรพสามิตด้วย”นายสมชาย กล่าว
ยันไม่กระทบผู้บริโภค
นายสมชาย ยืนยันว่าการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวจะไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งภายใต้ร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิตฉบับใหม่นี้ จะกำหนดให้อำนาจกรมฯในการตรวจสอบราคาสินค้าของผู้ประกอบการในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำที่ตรงกับความเป็นจริง
รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิตกล่าวว่า ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมักจะแจ้งราคาสินค้า ณ ราคาหน้าโรงงาน เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในอัตราต่ำ ขณะที่ ราคาขายที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูง จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่กรมฯต้องปรับปรุงฐานในการคำนวณภาษี
เบียร์สิงห์ค้านเกณฑ์คำนวณภาษีใหม่
ด้าน นายปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการบริหาร บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หากกรมสรรพสามิต จะนำ "ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย" และ "ราคาขายปลีก" มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีแทนการคำนวณจากราคา ณ โรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับคำนวณจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ในกรณีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เห็นว่า จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ให้กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ และยังขัดกับเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ต้องการเข้ามาแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
"ยืนยันว่าเกณฑ์การคำนวณภาษีแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมที่สุด คือการพิจารณาจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เกือบทั่วโลกใช้กัน"
ยันส่งผลกระทบผู้บริโภคแน่
นายปิติ กล่าวว่าการคำนวณภาษีจากราคาขายส่งช่วงสุดท้าย จะกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคเป็นห่วงโซ่ เพราะต้องยอมรับว่าราคาสินค้าที่จำหน่ายผ่านช่องทางร้านสะดวก หรือ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) จะมีราคาสูงกว่าร้านค้าทั่วไป (โชห่วย) เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (เอ็นทรานซ์ ฟี) รวมไปกับการจัดโปรโมชั่นหมุนเวียนกับแบรนด์ต่างๆ ในแต่ละเดือน
การคำนวณภาษีจากเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดการลักลั่น กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน เพราะแต่ละแบรนด์มียอดขายสินค้าต่างกันตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าขายดีอาจถูกตั้งราคาขายสูงขึ้น เพื่อนำไปชดเชยกับสินค้าที่ขายไม่ดี แต่สิ่งที่น่ากังวลต่อมาคือเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปลายปี 2558 จะทำให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเพิ่มอีก
ค้านใช้ราคาร้านสะดวกซื้อ-โมเดิร์นเทรด
"มีการหารือว่าจะใช้ ราคาขายปลีก จะใช้เกณฑ์การตั้งราคาขายในร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าปลีก มาเป็นบรรทัดฐานในการคำนวณภาษี หากเป็นเช่นนั้นความเป็นธรรมของผู้ประกอบการอยู่ตรงไหน เพราะหากห้างค้าปลีกจะเรียกเก็บค่าโปรโมชั่น ค่าวางสินค้า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ส่งผลให้ราคาจำหน่ายสินค้าปรับตัวสูงขึ้น กลายเป็นว่าโมเดริ์นเทรด และร้านสะดวกซื้อเป็นผู้กำหนดภาษี แทนที่จะคิดภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ไม่ได้คิดจากราคา ที่สำคัญรัฐจะเก็บภาษีแพงก็ไม่ว่ากันแต่ขอให้มีมาตรฐานเดียวกันและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเพื่อให้การแข่งขันอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน"
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คำนวณจาก 2 ฐาน คือคิดตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และราคา ณ โรงอุตสาหกรรมซึ่งไม่มีความเป็นสากล เพราะ 95% ของประเทศทั่วโลก จะคำนวณภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีกรีต่ำๆ
ไฮเนเก้นเชื่อเป็นธรรม-จัดเก็บภาษีง่ายขึ้น
ด้านนายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น กล่าวว่า ขณะนี้อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกฎหมายของกรมสรรพสามิต โดยที่ผ่านมามีกฎหมายหลายฉบับบังคับใช้ในการคำนวณภาษีสินค้าแต่ละประเภท ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ รัฐจึงต้องการยกเลิกกฎหมายฉบับเดิม และร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิตฉบับใหม่ขึ้นมาบังคับใช้กับการจัดเก็บภาษีสินค้าทุกประเภท
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวพยายามสร้างความโปร่งใส เป็นธรรม และง่ายต่อการจัดเก็บภาษีมากขึ้น กรมสรรพสามิตจึงประสานกับภาคเอกชน ภาคธุรกิจอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ให้ตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
ชี้ต้องรอดูประกาศจัดเก็บใช้จริง
นายปริญ กล่าวว่าการระบุว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีการคำนวณภาษีสินค้าโดยพิจารณาจากราคาขายปลีก ณ ร้านสะดวกซื้อแบรนด์หนึ่งนั้น เป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถอ้างอิงราคาขายจากแหล่งใดได้ เนื่องจากมีอุปสรรคหลายด้าน อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงร่างที่ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐจะเลือกวิธีคำนวณภาษีแบบใด ในฐานะผู้ประกอบการจึงไม่ต้องการตีตนไปก่อนไข้
"ก็ต้องรอดูว่าอัตราภาษีที่เก็บจะเป็นยังไง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายลูกด้วยว่าจะเก็บในอัตราเท่าไร ส่วนการนำราคาขายในร้านสะดวกซื้อมาเป็นเกณฑ์และมีการพูดถึงตอนนี้ เป็นแค่ตุ๊กตา หรือตัวอย่างที่ยกมาเท่านั้น ประกอบกับที่ผ่านมาการคำนวณภาษีไม่รู้จะอ้างอิงราคาจากที่ไหน ก็เลยคิดว่าอ้างจากราคาขายปลีกแล้วกัน และที่เสนออยู่ก็เป็นเพียงร่างเท่านั้น ยังไม่แล้วเสร็จ แต่คาดว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะเสนอต่อสนช.ภายในเดือนกันยายนนี้"
สหพัฒน์ระบุกระทบยอดขายช่วงสั้น
ด้านนายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า การที่กรมสรรพสามิตจะพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ ระยะแรกอาจทำให้สินค้าแต่ละรายการยอดขายลดลง
"การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีทุกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อการบริโภค และยอดขายสินค้าให้ลดลงเล็กน้อยเป็นเวลาหนึ่ง แต่ที่สุดแล้วก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นปกติ เป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อการบริโภคและยอดขายตกลง ก็ต้องมีการปรับขึ้น"
ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตขึ้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2557 ประกอบด้วย ผู้บริหารกรมสรรพสามิต ผู้แทนสอท. ผู้แทนสภาหอการค้าฯ และมีการประชุมครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 2 ก.ค. โดยรายละเอียดในการประชุมมีการพิจารณาการคำนวณภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากราคาขายส่งช่วงสุดท้ายและราคาขายปลีก
ทั้งนี้ การใช้ราคาขายปลีกเป็นฐานในการคำนวณภาษี สามารถตรวจสอบได้ 3 วิธี ได้แก่ พิจารณาจากราคาขายปลีกของห้างโมเดิร์นเทรด 2.พิจารณาจากราคาที่มีจำนวนของการขายมากที่สุด และ 3.พิจารณาจากผลต่างของกำไรกับต้นทุนราคาสินค้า
เอกชนส่งเรื่องเสนอ"ประจิน"
รายงานข่าวระบุว่า ผู้ประกอบการบางส่วนมองว่าไม่ควรนำราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของการควบคุมราคา ส่วนการกำหนดราคาขายปลีกนั้นก็ควรพิจารณาถึงความเป็นธรรมและความชัดเจนด้วย
แหล่งข่าวจากวงการเครื่องดื่ม กล่าวว่า ผู้ประกอบการได้หารือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้รับทราบถึงปัญหาและความไม่โปร่งใสในการจัดเก็บภาษีในอดีต เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อปลายปี 2556 กรมสรรพสามิตปรับโครงสร้างอัตราภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ คิดตามมูลค่า และตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ส่งผลให้สุราขาว สุรากลั่น เบียร์ ไวน์ สุรานำเข้า ปรับราคาขึ้นถ้วนหน้า
ที่มา.กรุงเพพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
สรรพสามิตเตรียมแก้กฎหมายครั้งใหญ่ ยับรวม 7 ฉบับ เหลือ ฉบับเดียว หวังใช้เป็นมาตรฐาน เล็งใช้"ราคาขายปลีก"เป็นฐานคำนวณ จากเดิมจัดเก็บ "ราคาหน้าโรงงาน" ค่ายเบียร์สิงห์ค้าน ชี้ให้อำนาจ"ร้านสะดวกซื้อ-โมเดิร์นเทรด"เป็นผู้กำหนดภาษี ขณะค่ายไฮเนเก้น รอประกาศจริงก่อนประเมินผลกระทบ คาดเสนอสนช.ในเดือนก.ย.นี้
กรมสรรพสามิตเตรียมแก้กฎหมายครั้งใหญ่ โดยยุบรวมกฎหมาย 7 ฉบับเหลือฉบับเดียว ถือว่าเป็นการปรับปรุงกฎหมายที่ทำได้ยากในรัฐบาลปกติที่มาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายอุตสาหกรรม โดยการแก้กฎหมายในครั้งนี้จะทำให้การจัดเก็บเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดในสินค้าทุกประเภท เหมือนประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร
การปรับภาษีดังกล่าว กรมสรรพสามิตมีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเร่งสรุปเพื่อเสนอรัฐบาลในเร็วนี้
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การแก้กฎหมายครั้งนี้จะรวมกฎหมายสรรพสามิตจำนวน 7 ฉบับ จะเหลือฉบับเดียว เรียกว่า ร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้โครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในสินค้าต่างๆมีความเป็นธรรม โปร่งใส และ เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
สำหรับกฎหมาย 7 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2497 , 2. พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 , 3.พ.ร.บ.ไพ่ 2486 ,4. พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2527 , 5.พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 , 6.พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต 2527 , 7.พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ.2527
นายสมชาย กล่าวว่า สาระสำคัญของการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว คือ จะได้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต กล่าวคือ ปัจจุบัน กรมฯได้ใช้ฐานในการคำนวณภาษีจากราคาหน้าโรงงานสำหรับทุกสินค้า ยกเว้น สินค้าสุราและเบียร์ ที่ปรับเปลี่ยนมาคำนวณจากราคาขายส่งช่วงสุดท้าย
"แต่กฎหมายใหม่จะทบทวนให้มีการคำนวณภาษีจาก ราคาขายปลีกแนะนำสำหรับทุกสินค้า"
นอกจากนี้ จะได้ปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณ จากเดิมใช้วิธีการคำนวณภาษีจากปริมาณ หรือ มูลค่า ของสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการจัดเก็บภาษีแบบใดจะสูงกว่ากัน โดยจะปรับเปลี่ยนเป็นนำทั้งปริมาณและมูลค่ามาคำนวณภาษี
ก่อนหน้านี้ กรมสรรพสามิตมอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาเรื่องการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ และกรมสรรพสามิตได้นำผลการศึกษามาพิจารณา จากนั้นก็ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการจากทั้งสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้า โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
“หลังจากเราได้ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว เราก็นำมาพิจารณา และ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ รวมถึง ผู้ประกอบการ คาดว่า จะสามารถสรุปได้เร็วๆนี้ และ จะจัดให้มีการแถลงให้ทราบเกี่ยวกับผลการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายสรรพสามิตด้วย”นายสมชาย กล่าว
ยันไม่กระทบผู้บริโภค
นายสมชาย ยืนยันว่าการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวจะไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งภายใต้ร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิตฉบับใหม่นี้ จะกำหนดให้อำนาจกรมฯในการตรวจสอบราคาสินค้าของผู้ประกอบการในการแจ้งราคาขายปลีกแนะนำที่ตรงกับความเป็นจริง
รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิตกล่าวว่า ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมักจะแจ้งราคาสินค้า ณ ราคาหน้าโรงงาน เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในอัตราต่ำ ขณะที่ ราคาขายที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูง จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่กรมฯต้องปรับปรุงฐานในการคำนวณภาษี
เบียร์สิงห์ค้านเกณฑ์คำนวณภาษีใหม่
ด้าน นายปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการบริหาร บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หากกรมสรรพสามิต จะนำ "ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย" และ "ราคาขายปลีก" มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีแทนการคำนวณจากราคา ณ โรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับคำนวณจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ในกรณีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เห็นว่า จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ให้กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจนี้ และยังขัดกับเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ต้องการเข้ามาแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
"ยืนยันว่าเกณฑ์การคำนวณภาษีแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมที่สุด คือการพิจารณาจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เกือบทั่วโลกใช้กัน"
ยันส่งผลกระทบผู้บริโภคแน่
นายปิติ กล่าวว่าการคำนวณภาษีจากราคาขายส่งช่วงสุดท้าย จะกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคเป็นห่วงโซ่ เพราะต้องยอมรับว่าราคาสินค้าที่จำหน่ายผ่านช่องทางร้านสะดวก หรือ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) จะมีราคาสูงกว่าร้านค้าทั่วไป (โชห่วย) เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (เอ็นทรานซ์ ฟี) รวมไปกับการจัดโปรโมชั่นหมุนเวียนกับแบรนด์ต่างๆ ในแต่ละเดือน
การคำนวณภาษีจากเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดการลักลั่น กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน เพราะแต่ละแบรนด์มียอดขายสินค้าต่างกันตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าขายดีอาจถูกตั้งราคาขายสูงขึ้น เพื่อนำไปชดเชยกับสินค้าที่ขายไม่ดี แต่สิ่งที่น่ากังวลต่อมาคือเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปลายปี 2558 จะทำให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเพิ่มอีก
ค้านใช้ราคาร้านสะดวกซื้อ-โมเดิร์นเทรด
"มีการหารือว่าจะใช้ ราคาขายปลีก จะใช้เกณฑ์การตั้งราคาขายในร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าปลีก มาเป็นบรรทัดฐานในการคำนวณภาษี หากเป็นเช่นนั้นความเป็นธรรมของผู้ประกอบการอยู่ตรงไหน เพราะหากห้างค้าปลีกจะเรียกเก็บค่าโปรโมชั่น ค่าวางสินค้า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ส่งผลให้ราคาจำหน่ายสินค้าปรับตัวสูงขึ้น กลายเป็นว่าโมเดริ์นเทรด และร้านสะดวกซื้อเป็นผู้กำหนดภาษี แทนที่จะคิดภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ไม่ได้คิดจากราคา ที่สำคัญรัฐจะเก็บภาษีแพงก็ไม่ว่ากันแต่ขอให้มีมาตรฐานเดียวกันและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเพื่อให้การแข่งขันอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน"
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คำนวณจาก 2 ฐาน คือคิดตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และราคา ณ โรงอุตสาหกรรมซึ่งไม่มีความเป็นสากล เพราะ 95% ของประเทศทั่วโลก จะคำนวณภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีกรีต่ำๆ
ไฮเนเก้นเชื่อเป็นธรรม-จัดเก็บภาษีง่ายขึ้น
ด้านนายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น กล่าวว่า ขณะนี้อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกฎหมายของกรมสรรพสามิต โดยที่ผ่านมามีกฎหมายหลายฉบับบังคับใช้ในการคำนวณภาษีสินค้าแต่ละประเภท ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ รัฐจึงต้องการยกเลิกกฎหมายฉบับเดิม และร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิตฉบับใหม่ขึ้นมาบังคับใช้กับการจัดเก็บภาษีสินค้าทุกประเภท
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวพยายามสร้างความโปร่งใส เป็นธรรม และง่ายต่อการจัดเก็บภาษีมากขึ้น กรมสรรพสามิตจึงประสานกับภาคเอกชน ภาคธุรกิจอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ให้ตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
ชี้ต้องรอดูประกาศจัดเก็บใช้จริง
นายปริญ กล่าวว่าการระบุว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีการคำนวณภาษีสินค้าโดยพิจารณาจากราคาขายปลีก ณ ร้านสะดวกซื้อแบรนด์หนึ่งนั้น เป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถอ้างอิงราคาขายจากแหล่งใดได้ เนื่องจากมีอุปสรรคหลายด้าน อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงร่างที่ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐจะเลือกวิธีคำนวณภาษีแบบใด ในฐานะผู้ประกอบการจึงไม่ต้องการตีตนไปก่อนไข้
"ก็ต้องรอดูว่าอัตราภาษีที่เก็บจะเป็นยังไง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายลูกด้วยว่าจะเก็บในอัตราเท่าไร ส่วนการนำราคาขายในร้านสะดวกซื้อมาเป็นเกณฑ์และมีการพูดถึงตอนนี้ เป็นแค่ตุ๊กตา หรือตัวอย่างที่ยกมาเท่านั้น ประกอบกับที่ผ่านมาการคำนวณภาษีไม่รู้จะอ้างอิงราคาจากที่ไหน ก็เลยคิดว่าอ้างจากราคาขายปลีกแล้วกัน และที่เสนออยู่ก็เป็นเพียงร่างเท่านั้น ยังไม่แล้วเสร็จ แต่คาดว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะเสนอต่อสนช.ภายในเดือนกันยายนนี้"
สหพัฒน์ระบุกระทบยอดขายช่วงสั้น
ด้านนายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า การที่กรมสรรพสามิตจะพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ ระยะแรกอาจทำให้สินค้าแต่ละรายการยอดขายลดลง
"การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีทุกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อการบริโภค และยอดขายสินค้าให้ลดลงเล็กน้อยเป็นเวลาหนึ่ง แต่ที่สุดแล้วก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นปกติ เป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อการบริโภคและยอดขายตกลง ก็ต้องมีการปรับขึ้น"
ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตขึ้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2557 ประกอบด้วย ผู้บริหารกรมสรรพสามิต ผู้แทนสอท. ผู้แทนสภาหอการค้าฯ และมีการประชุมครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 2 ก.ค. โดยรายละเอียดในการประชุมมีการพิจารณาการคำนวณภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากราคาขายส่งช่วงสุดท้ายและราคาขายปลีก
ทั้งนี้ การใช้ราคาขายปลีกเป็นฐานในการคำนวณภาษี สามารถตรวจสอบได้ 3 วิธี ได้แก่ พิจารณาจากราคาขายปลีกของห้างโมเดิร์นเทรด 2.พิจารณาจากราคาที่มีจำนวนของการขายมากที่สุด และ 3.พิจารณาจากผลต่างของกำไรกับต้นทุนราคาสินค้า
เอกชนส่งเรื่องเสนอ"ประจิน"
รายงานข่าวระบุว่า ผู้ประกอบการบางส่วนมองว่าไม่ควรนำราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของการควบคุมราคา ส่วนการกำหนดราคาขายปลีกนั้นก็ควรพิจารณาถึงความเป็นธรรมและความชัดเจนด้วย
แหล่งข่าวจากวงการเครื่องดื่ม กล่าวว่า ผู้ประกอบการได้หารือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้รับทราบถึงปัญหาและความไม่โปร่งใสในการจัดเก็บภาษีในอดีต เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อปลายปี 2556 กรมสรรพสามิตปรับโครงสร้างอัตราภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ คิดตามมูลค่า และตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ส่งผลให้สุราขาว สุรากลั่น เบียร์ ไวน์ สุรานำเข้า ปรับราคาขึ้นถ้วนหน้า
ที่มา.กรุงเพพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น