โดย. วิไล อักขระสมชีพ
ปีนี้เดือนสิงหาคมจัดเป็นเดือนที่มีความคึกคักสุด ๆในรอบปีทีเดียว หลังผ่านเมฆหมอก "การเมืองกีฬาสี" มาได้ ก็เพิ่งจะเห็นเดือนนี้ที่จุดพลุ "ความสุขคนไทย" ติดขึ้นมาได้
เพราะเป็นเดือนแห่งเทศกาลวันแม่ ถือเป็นเดือนแห่งการทำยอดขายกันทีเดียว หวังชดเชยยอดขายช่วงครึ่งปีแรกที่หงอยเหงา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ถึงผู้คนจะพาแม่และครอบครัวไปทานอาหารนอกบ้านกัน ทำให้เม็ดเงินจะสะพัดสู่ธุรกิจร้านอาหารถึงราว 1,120 ล้านบาท ในช่วงวันหยุดยาว 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-12 สิงหาคม 2557
ขณะที่ด้านโซเซียลมีเดียก็ถูกใช้เป็นเวทีแสดงความรู้สึกระหว่างครอบครัวกันอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะ "แม่-ลูก" ซึ่งแต่ละคู่ก็จะมีเรื่องราวสายใยผูกพันว่ากันไปมากมาย ยิ่งเวที "เฟซบุ๊ก" แม้เป็นพื้นที่สาธารณะแต่ก็ถูกใช้เป็นสื่อกลางถ่ายทอดผ่านตัวอักษรและภาพต่าง ๆ ที่มามอบให้กัน แม้จะมีบางเสียงที่บอกทำทุกวันอยู่แล้ว แต่พอถึง "วันแม่" วันที่ 12 ส.ค. ก็ไม่วายที่จะต้องทำไหลตามกระแสนี้ไปเช่นกัน
นี่คือกระแสด้านบวกที่เกิดขึ้นของสังคมครอบครัวไทย
มองสวนกลับไปที่มุมมืดของสังคมไทย กระแสข่าวฉาว "อุ้มบุญ" ก็ถูกตีแผ่กันหลายสัปดาห์ ช่างคนละอารมณ์กันทีเดียว แถมกลายเป็นปัญหาที่บานปลายไปสู่ประเด็นการค้ามนุษย์ หลังจากที่เดือนก่อนหน้านี้ประเทศไทยเพิ่งถูกสหรัฐอเมริกาปรับลดอันดับการค้ามนุษย์ตกมาอยู่อันดับ 3 ซึ่งเกิดจากปมร้อนเรื่องแรงงานต่างด้าว มารอบนี้ก็มีการตีประเด็นโยงกระแส "อุ้มบุญ" เป็นการ "ขายชีวิตของเด็กทารก" เพื่อเชิงพาณิชย์หรือทำธุรกิจกันมากเกินไป เพราะอยากได้เงินคราวละเป็นหลักแสน ๆ บาททีเดียว
ขณะที่ล่าสุดทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย 15 ฉบับ เพื่อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งหนึ่งในร่างกฎหมายทั้งหมดนั้นจะมีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ...เป็นกฎหมายเร่งด่วน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ
แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ยิ่งสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำคนไทย ภายใต้สังคมที่ถูก "ทุนสามานย์" ครอบงำจนกัดกร่อนคุณภาพชีวิตคนไทยหายไปตามสังคมที่บริโภคความศิวิไลซ์ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่มุมหนึ่งของสังคมไทยจะเห็นกลุ่ม "ผู้หญิง" วัยทำงานยอมหันมารับจ้างอุ้มท้อง เพียงเพราะต้องการ "หาเงิน" โดยยอมแลกกับความรู้สึกผูกพันที่ตั้งครรภ์มายาวนาน 9 เดือน บางคนยอมรับจ้างอุ้มท้องหลายคน เพื่อเห็นว่าเป็นช่องทางหาเงินได้ง่ายและได้ก้อนโตด้วย
ขณะที่เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ฝากไว้ในกายเธอ" ของค่ายดัง GTH แม้จะมีกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ถึงความไม่สมจริงหรือไม่คุ้มค่าตั๋วหนัง อะไรก็ตามแต่ของมุมมองแต่ละคน
ทว่าสำหรับดิฉันได้มีโอกาสเดินเข้าไปดูหนังเรื่องนี้เพราะต้องการรู้และเห็นด้วยตัวเอง และได้ข้อคิดระหว่างดูถึงการใช้ชีวิตเด็กนักเรียนไทยยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ก ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากใจมีความต้องการ "ครอบครอง" เกิดขึ้น ขณะดูไปจู่ ๆ ก็นึกถึงคำสอนทางธรรมะ "ใจคน" ไวยิ่งกว่าแสง
เพราะพล็อตของเรื่องนี้คือ เด็กหนุ่มนักเรียนชายคนหนึ่งแย่งแฟนสาวจากเพื่อนสนิทมาครอบครอง ขณะที่ฝ่ายผู้หญิงที่เป็นแฟนสาวดูเหมือนจะมีจิตสำนึกว่ามีแฟนอยู่แล้ว แต่พอจี้ถูกจุดว่า "มีใจให้ตรงกัน" ก็ถึงกับทำให้ตัดสินใจเลือกเพื่อหันมาคบกันและเลยเถิดถึงขั้น "ท้อง" เมื่อทั้งคู่ก็ไม่สามารถรับผิดชอบ "เด็ก" ที่เกิดขึ้นได้ ก็นำมาสู่การทำแท้งเด็ก หลังทำแท้งเสร็จ แฟนสาวก็ตัดสินใจบอกเลิกเพื่อจะกลับไปหาคนเดิม อุ๊ตะ !! เปลี่ยนใจไวยังกะปรอททีเดียว แต่สุดท้ายแฟนสาวก็ต้องตายในมือตัวเอง แม้ตอนจบเด็กนักเรียนที่ทำผิดจะลอยนวล แต่ก็อยู่กับตราบาปที่หลอนตลอดชีวิต
คนพล็อตเรื่องนี้กำลังสะท้อน "จุดบอด" ของคุณภาพเด็กไทยที่กำลังจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
ที่น่าห่วงอย่างยิ่ง คนที่เข้าไปดูเป็นเด็กวัยรุ่นกันจำนวนมาก ขณะที่หนังกำลังตั้งเป้าหมาย "เชิงธุรกิจ" ที่อยากจะโกย "เงินร้อยล้าน" เพราะผู้กำกับคาดหวังว่าจะบอกกันปากต่อปากเข้าไปชมหนังเรื่องนี้ ซึ่งยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเหล่านี้อินหรือซึมซาบไปกับเรื่องราวพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เห็นในหนังเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง
ขณะที่เป็นที่รู้กันว่า ระบบการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายของโลก และวิธีการเรียนการสอนก็ยังไม่ได้พัฒนาให้เด็กรู้จักการคิด-วิเคราะห์เท่าที่ควร ซึ่งผู้เขียนเข้าใจได้ว่า ผู้กำกับหนัง GTH ต้องการยกระดับการสร้าง "หนัง" ของวงการภาพยนตร์ไทย
แต่อีกด้าน ค่าย GTH ก็ไม่ควรละทิ้งการสร้างสรรค์สังคมไทยที่ดีให้เด็กรุ่นใหม่ด้วย ไม่ใช่พล็อตเรื่องแรง ๆ แล้วปล่อยปมปริศนาไว้ให้ "คนดู" คิดไปหลาย ๆ ทาง เพียงเพราะค่าย GTH จะเลียนแบบหนังฝรั่งหรือไร อย่าลืมว่า "หนัง" ก็หล่อหลอมความคิดคนได้ระดับหนึ่ง และจะนำมาสู่ผลลัพธ์ "ด้านลบ" อีกมากมายอย่างไรในสังคมไทยที่คุณเองก็ยังต้องใช้ชีวิตอยู่เหมือนกัน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////
ปีนี้เดือนสิงหาคมจัดเป็นเดือนที่มีความคึกคักสุด ๆในรอบปีทีเดียว หลังผ่านเมฆหมอก "การเมืองกีฬาสี" มาได้ ก็เพิ่งจะเห็นเดือนนี้ที่จุดพลุ "ความสุขคนไทย" ติดขึ้นมาได้
เพราะเป็นเดือนแห่งเทศกาลวันแม่ ถือเป็นเดือนแห่งการทำยอดขายกันทีเดียว หวังชดเชยยอดขายช่วงครึ่งปีแรกที่หงอยเหงา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ถึงผู้คนจะพาแม่และครอบครัวไปทานอาหารนอกบ้านกัน ทำให้เม็ดเงินจะสะพัดสู่ธุรกิจร้านอาหารถึงราว 1,120 ล้านบาท ในช่วงวันหยุดยาว 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-12 สิงหาคม 2557
ขณะที่ด้านโซเซียลมีเดียก็ถูกใช้เป็นเวทีแสดงความรู้สึกระหว่างครอบครัวกันอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะ "แม่-ลูก" ซึ่งแต่ละคู่ก็จะมีเรื่องราวสายใยผูกพันว่ากันไปมากมาย ยิ่งเวที "เฟซบุ๊ก" แม้เป็นพื้นที่สาธารณะแต่ก็ถูกใช้เป็นสื่อกลางถ่ายทอดผ่านตัวอักษรและภาพต่าง ๆ ที่มามอบให้กัน แม้จะมีบางเสียงที่บอกทำทุกวันอยู่แล้ว แต่พอถึง "วันแม่" วันที่ 12 ส.ค. ก็ไม่วายที่จะต้องทำไหลตามกระแสนี้ไปเช่นกัน
นี่คือกระแสด้านบวกที่เกิดขึ้นของสังคมครอบครัวไทย
มองสวนกลับไปที่มุมมืดของสังคมไทย กระแสข่าวฉาว "อุ้มบุญ" ก็ถูกตีแผ่กันหลายสัปดาห์ ช่างคนละอารมณ์กันทีเดียว แถมกลายเป็นปัญหาที่บานปลายไปสู่ประเด็นการค้ามนุษย์ หลังจากที่เดือนก่อนหน้านี้ประเทศไทยเพิ่งถูกสหรัฐอเมริกาปรับลดอันดับการค้ามนุษย์ตกมาอยู่อันดับ 3 ซึ่งเกิดจากปมร้อนเรื่องแรงงานต่างด้าว มารอบนี้ก็มีการตีประเด็นโยงกระแส "อุ้มบุญ" เป็นการ "ขายชีวิตของเด็กทารก" เพื่อเชิงพาณิชย์หรือทำธุรกิจกันมากเกินไป เพราะอยากได้เงินคราวละเป็นหลักแสน ๆ บาททีเดียว
ขณะที่ล่าสุดทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย 15 ฉบับ เพื่อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งหนึ่งในร่างกฎหมายทั้งหมดนั้นจะมีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ...เป็นกฎหมายเร่งด่วน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ
แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ยิ่งสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำคนไทย ภายใต้สังคมที่ถูก "ทุนสามานย์" ครอบงำจนกัดกร่อนคุณภาพชีวิตคนไทยหายไปตามสังคมที่บริโภคความศิวิไลซ์ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่มุมหนึ่งของสังคมไทยจะเห็นกลุ่ม "ผู้หญิง" วัยทำงานยอมหันมารับจ้างอุ้มท้อง เพียงเพราะต้องการ "หาเงิน" โดยยอมแลกกับความรู้สึกผูกพันที่ตั้งครรภ์มายาวนาน 9 เดือน บางคนยอมรับจ้างอุ้มท้องหลายคน เพื่อเห็นว่าเป็นช่องทางหาเงินได้ง่ายและได้ก้อนโตด้วย
ขณะที่เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง "ฝากไว้ในกายเธอ" ของค่ายดัง GTH แม้จะมีกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ถึงความไม่สมจริงหรือไม่คุ้มค่าตั๋วหนัง อะไรก็ตามแต่ของมุมมองแต่ละคน
ทว่าสำหรับดิฉันได้มีโอกาสเดินเข้าไปดูหนังเรื่องนี้เพราะต้องการรู้และเห็นด้วยตัวเอง และได้ข้อคิดระหว่างดูถึงการใช้ชีวิตเด็กนักเรียนไทยยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ก ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากใจมีความต้องการ "ครอบครอง" เกิดขึ้น ขณะดูไปจู่ ๆ ก็นึกถึงคำสอนทางธรรมะ "ใจคน" ไวยิ่งกว่าแสง
เพราะพล็อตของเรื่องนี้คือ เด็กหนุ่มนักเรียนชายคนหนึ่งแย่งแฟนสาวจากเพื่อนสนิทมาครอบครอง ขณะที่ฝ่ายผู้หญิงที่เป็นแฟนสาวดูเหมือนจะมีจิตสำนึกว่ามีแฟนอยู่แล้ว แต่พอจี้ถูกจุดว่า "มีใจให้ตรงกัน" ก็ถึงกับทำให้ตัดสินใจเลือกเพื่อหันมาคบกันและเลยเถิดถึงขั้น "ท้อง" เมื่อทั้งคู่ก็ไม่สามารถรับผิดชอบ "เด็ก" ที่เกิดขึ้นได้ ก็นำมาสู่การทำแท้งเด็ก หลังทำแท้งเสร็จ แฟนสาวก็ตัดสินใจบอกเลิกเพื่อจะกลับไปหาคนเดิม อุ๊ตะ !! เปลี่ยนใจไวยังกะปรอททีเดียว แต่สุดท้ายแฟนสาวก็ต้องตายในมือตัวเอง แม้ตอนจบเด็กนักเรียนที่ทำผิดจะลอยนวล แต่ก็อยู่กับตราบาปที่หลอนตลอดชีวิต
คนพล็อตเรื่องนี้กำลังสะท้อน "จุดบอด" ของคุณภาพเด็กไทยที่กำลังจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
ที่น่าห่วงอย่างยิ่ง คนที่เข้าไปดูเป็นเด็กวัยรุ่นกันจำนวนมาก ขณะที่หนังกำลังตั้งเป้าหมาย "เชิงธุรกิจ" ที่อยากจะโกย "เงินร้อยล้าน" เพราะผู้กำกับคาดหวังว่าจะบอกกันปากต่อปากเข้าไปชมหนังเรื่องนี้ ซึ่งยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเหล่านี้อินหรือซึมซาบไปกับเรื่องราวพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เห็นในหนังเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง
ขณะที่เป็นที่รู้กันว่า ระบบการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายของโลก และวิธีการเรียนการสอนก็ยังไม่ได้พัฒนาให้เด็กรู้จักการคิด-วิเคราะห์เท่าที่ควร ซึ่งผู้เขียนเข้าใจได้ว่า ผู้กำกับหนัง GTH ต้องการยกระดับการสร้าง "หนัง" ของวงการภาพยนตร์ไทย
แต่อีกด้าน ค่าย GTH ก็ไม่ควรละทิ้งการสร้างสรรค์สังคมไทยที่ดีให้เด็กรุ่นใหม่ด้วย ไม่ใช่พล็อตเรื่องแรง ๆ แล้วปล่อยปมปริศนาไว้ให้ "คนดู" คิดไปหลาย ๆ ทาง เพียงเพราะค่าย GTH จะเลียนแบบหนังฝรั่งหรือไร อย่าลืมว่า "หนัง" ก็หล่อหลอมความคิดคนได้ระดับหนึ่ง และจะนำมาสู่ผลลัพธ์ "ด้านลบ" อีกมากมายอย่างไรในสังคมไทยที่คุณเองก็ยังต้องใช้ชีวิตอยู่เหมือนกัน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น