--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ธปท.มึนคนไทยขาดวินัยหนี้ท่วม ยอดขอคำปรึกษาปรับโครงสร้างหนี้สูง !!?

ธปท.หู ชา ประชาชนหนี้ล้นพ้นตัว ขอคำปรึกษา ศคง.ปัญหาสินเชื่อ ปรับโครงสร้างหนี้พุ่ง 3 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เหตุเศรษฐกิจซบ คนไทยขาดวินัยการเงิน ตีคู่สถิติเรื่องร้องเรียนพฤติกรรมเจ้าหน้าที่แบงก์เพิ่มเท่าตัว

นาง ชนาธิป จริยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) หน่วยงานในสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการจัดเก็บข้อมูลการให้ข้อมูล คำปรึกษา และรับเรื่องร้องเรียนในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา พบว่าเรื่องที่ประชาชนขอข้อมูลและคำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการไถ่ถอน พันธบัตรตามที่ ธปท. ได้จัดส่งเอกสารคำขอรับคืนต้นเงินพันธบัตร ลำดับต่อมาคือเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ หลังจากมีภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล จากที่ขาดสภาพคล่อง มีรายได้ไม่เพียงพอ และเป็นประเด็นที่สอบถามขอคำปรึกษาในจำนวนมากทุกไตรมาส

"ปัญหา ปรับโครงสร้างหนี้มีทุกไตรมาส ในภาวะเศรษฐกิจชะลอ มีส่วนทำให้ความสามารถชำระหนี้ของประชาชนน้อยลง แต่อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากประชาชนใช้จ่ายเกินตัวและไม่มีวิธีรักษาสมดุล ระหว่างหนี้สินกับรายรับ ทำให้ยอดการรูดบัตรเครดิต กดบัตรเงินสดเพิ่มสูงขึ้น พอเต็มวงเงินก็ขาดสภาพคล่อง" นางชนาธิปกล่าว

อย่าง ไรก็ตาม จากสถิติปีนี้ยังพบด้วยว่า มีการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเครดิตบูโรเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนต้องการทำความเข้าใจและข้อมูล เพื่อแก้ไขหากติดแบล็กลิสต์ ส่วนแนวโน้มเรื่องร้องเรียนในไตรมาส 2 ก็ยังคาดว่าจะเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ จากปัญหาเรื่องไม่มีวินัยการเงิน

ทั้งนี้ จากรายงานของ ศคง.ที่เผยแพร่ล่าสุด พบว่าในไตรมาส 1/57 มีประชาชนขอข้อมูล คำปรึกษาและร้องเรียนผ่านช่องทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ ฯลฯ รวม 15,490 ราย โดยในจำนวนนี้มี 12,848 เรื่องที่ได้รับการบันทึกข้อมูล แบ่งเป็น เรื่องขอข้อมูลขอคำปรึกษา 12,093 เรื่อง ร้องเรียน 691 เรื่อง แจ้งเบาะแสข้อมูลภัยการเงิน 39 เรื่อง และให้คำเสนอแนะ ธปท. 25 เรื่อง ในจำนวนเรื่องร้องเรียน 691 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องเรียนบริการของสถาบันการเงิน พบว่า 444 เรื่อง อันดับ 1 คือ การร้องเรียนพฤติกรรมเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินเพิ่มเป็น 150 เรื่อง จากช่วงเดียวกันปีก่อนมี 75 เรื่อง นอกนั้นเป็นการร้องเรียนการบันทึกข้อมูลเงินต้น ยอดหนี้ ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาจากเงินฝากและตั๋วเงิน การขายพ่วงผลิตภัณฑ์การเงิน (cross sell) การถูกหลอกลวงทางอีแบงกิ้ง เครดิตบูโรไม่แก้ไขข้อมูลทั้งที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว เป็นต้น

ขณะ ที่มีการขอความอนุเคราะห์สถาบันการเงินในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้มาเป็น อันดับ 1 จำนวน 180 เรื่อง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีเพียง 61 เรื่อง นอกนั้นเป็นขอลดหรือยกเว้นดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม

นอกจากนี้ยังพบ เรื่องร้องเรียนด้านสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ เงินต้นและยอดหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดไม่ถูกต้อง ซึ่งสถาบันการเงินได้แก้ไขโดยปรับปรุงข้อมูลลูกค้า ออกหนังสือยืนยันชำระหนี้รวมทั้งแก้ไขข้อมูลเครดิตให้กับลูกค้า (ยกเว้นกรณีบัตรเครดิตที่ไม่มีการออกหนังสือยืนยัน) หรือเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่เหมาะสม การคิดดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามข้อตกลง ซึ่งบางกรณีเกิดจากลูกค้าไม่เข้าใจในข้อสัญญาและวิธีคิดดอกเบี้ย ขณะเดียวกันสถาบันการเงินได้ตอบชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยให้ ผู้ร้องเรียนแล้ว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น