--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จาตุรนต์โพสต์ไม่ฝ่าฝืน รธน.เพื่อยอมการขู่เข็ญเเบบนี้ !!?


นายจาตุรนต์ ฉายเเสง รักษาการรมว.ศึกษาธิการ โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัวช่วงเที่ยงวันนี้ว่า "สวัสดีครับทุกท่าน เห็นมีประเด็นเรื่องรัฐบาลรักษาการกับสภาประชาชน ก็เลยจะขอให้ความเห็นสั้นๆก่อนครับ รัฐธรรมนูญมาตรา 180 บัญญัติว่า เมื่อยุบสภาแล้วรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้นจะลาออกอีกก็ไม่ได้แล้ว จะลาออกต้องลาออกตอนยังมีตำแหน่งอยู่คือก่อนยุบสภาเท่านั้นครับ

รัฐธรรมนูญมาตรา 181 บอกต่อไปว่า"คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่" รัฐธรรมนูญใช้คำว่า"ต้อง"ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ไม่ได้บอกว่าควรจะหรืออาจจะ หมายความว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้เป็นอย่างนั้น การเสนอให้ครม.ทั้งคณะไม่ปฏิบัติหน้าที่แล้วให้หาคนอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน หรือมาเป็นรัฐมนตรีใหม่จึงเป็นความจงใจให้เกิดการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

ถ้าจะมีการตัดสินใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน เช่น ป่วยหรืออยู่ในสภาพที่ไม่อาจทำงานได้ แต่ก็จะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจะตัดสินใจแทนกันไม่ได้ เช่นครม.จะมีมติให้ครม.ทั้งคณะไม่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก็ไม่ได้ ไม่มีผลบังคับแก่รัฐมนตรีเพราะเป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ สมมุตินายกฯไม่ปฏิบัติหน้าที่ รองนายกฯก็ต้องปฏิบัติหน้าที่แทน ไม่ใช่จะต้องหานายกฯใหม่จากคนนอกครม. ถ้ารองนายกฯไม่ปฏิบัติหน้าที่อีกก็ไล่เรียงไปทีละคน จนกว่าจะหมดทุกคน จะหาครม.ใหม่ก็ไม่ได้

สิ่งที่เสนอกันอยู่เวลานี้คือ จงใจให้เกิดการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การมีสภาประชาชน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ทำไม่ได้แล้วเพราะยุบสภาแล้ว หากจะมีสภาประชาชนขึ้นก็เหลือแต่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ควรทำในขณะนี้คือควรจะมีการหารือหลายฝ่ายๆเพื่อให้แน่ใจ สบายใจกันว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายให้มากที่สุดดีที่สุด ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่ามาถึงขั้นนี้ผู้ที่ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยยังทำอะไรกันได้อีกหลายอย่างเพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ถึงแม้จะยากลำบากมากก็ตาม แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญเสียเองเพียงเพื่อยอมตามการการบังคับขู่เข็ญตามอำเภอใจที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้"

ที่มา.เนชั่น
////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรม.. ไทยแชมป์นำเข้าเครื่องจักรไฮเทค !!?

ซังซุง. ของเกาหลีใต้เคยเป็นแบรนด์ล้าหลังถูกวางซุกตามซอกมุม ท่ามกลางการอวดโฉมอย่างสง่างามของโซนี่ พลัน! เมื่อ ลี คุน ฮี ประธานบริษัท ซัมซุงไปพบสินค้าของเขาถูกซุกซ่อนอยู่อย่างเหนียมอาย แทนการสิ้นหวัง ท้อแท้ ห่อเหี่ยว เขาคิดกลับด้าน ถึงเวลาต้องผ่าตัดครั้งใหญ่

เขานำนวัตกรรมมาปลุกความอับเฉา เปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ จากเดิมวิศวกรออกแบบวงจรเสร็จ ฝ่ายดีไซน์ต้องทำแพ็กเกจจิ้งครอบวงจรที่ถูกออก แบบมาเปลี่ยนเป็นฝ่ายดีไซน์ออกแบบก่อน แล้วให้วิศวกรหาทางนำวงจรมากมาย ยัดใส่เข้าไปในทีวีบางเฉียบให้ได้ ดีไซน์กลายเป็นจุดขายของซัมซุง พลิกแบรนด์ที่เกือบจะถูกลืมให้กลับมาผงาดอย่างยิ่งใหญ่ ประดุจนกฟีนิกซ์ฟื้นคืนชีพจากกองไฟ

นวัตกรรมคืออาวุธใหม่ที่จะถูกนำมาห้ำหั่นในสงครามการค้าแห่งศควรรษที่ 21 ใครมีนวัตกรรมเหนือกว่าคู่แข่ง คนนั้นคือผู้ชนะ

กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัด การใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า สินค้าอุตสาห-กรรมจะไม่ใช่แค่สินค้าพื้นฐาน (Commodity) ที่มีอยู่ทั่วไปอีกต่อไป แต่จะเป็นสินค้า ที่มีคุณสมบัติสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ การวิจัยและพัฒนาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เขายกตัวอย่างนวัตกรรมสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน อาทิ นวัตกรรมบ้านแห่งอนาคตที่ช่วยลดการใช้พลังงานในบ้าน ให้ความสบายด้วยระบบป้องกันและระบายความร้อนออกจากตัวอาคาร ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลัง งานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งจ่ายกระแส ไฟให้กับบ้านในเวลาปกติ และมีระบบไฟฟ้า สำรองที่ผลิตจาก Fuel Cell ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าหลักดับ  

นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในชีวิต เช่น พลาสติก สำหรับบรรจุภัณฑ์ช่วย เก็บรักษาคุณภาพสินค้าให้คงความสดสะอาดได้ยาวนานและปลอดภัยมากขึ้น ขวดน้ำที่มีส่วนผสมจากพืชสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง นวัตกรรม พลาสติกในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการประหยัดพลังงาน ด้วยคุณสมบัติพิเศษคือน้ำหนักเบา เมื่อนำมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จึงทำให้ประหยัด น้ำมันได้มากขึ้น นวัตกรรมเม็ดพลาสติก PE สำหรับท่อทนแรงดันสูงใช้ในระบบขนส่งน้ำ ก๊าซ และแร่ ใช้งาน 100 ปี รีไซเคิลได้เอง พลาสติกผลิตท่อน้ำแรงดันสูงสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีน้ำที่สะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

ในงาน METALEX 2013 งานแสดงสินค้าเครื่องจักรระดับโลก ก็จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Innovation & Integration for Excellence นวัตกรรม และการบูรณาการสู่ความเป็นเลิศ" มีผู้ประกอบการต่างชาตินำสินค้ามาโชว์มากมาย หนึ่งในนั้นคือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน

เบอร์ตัน ชิว ที่ปรึกษาอาวุโส สำนัก งานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) กล่าวว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา ไต้หวันคือผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และคาดว่าในปี 2558 ไต้หวัน จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่อง จักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่ารวมกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองจากญี่ปุ่น และเยอรมนี

แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือคำกล่าว ของ จัสติน ไต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทยที่บอกว่า "ในบรรดาประเทศแถบอาเซียน ทั้งหมด ประเทศไทยนับเป็นประเทศส่งออกหลักของไต้หวันในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องจักร"

เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ไทยปัจจุบันให้การส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีการค้า การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ล้วนส่งผลดีต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างเสริมให้ไทยคงความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภาคการผลิตของไทยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรมและอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา

ด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ คงพออุ่นใจได้บ้างว่า แม้จะมีปัญหาการ เมือง ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขีดความ สามารถของอุตสาหกรรมไทยน่าจะยังแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------

เออีซี กับบทบาท SMEs ของไทยในอนาคต.

โดย เวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย


ประเด็น ที่น่าจับตามองของกิจการ SMEs ไทยในอีกไม่ถึง 2 ปีข้างหน้า คงหนีไม่พ้นเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างแน่นอน

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเสรีทางการค้าและลดอุปสรรคในด้านต่าง ๆ อาทิ การลดอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ การบริการ การลงทุน และแรงงาน เป็นต้น ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่พ้นSMEs มีส่วนสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย โดยการสร้างผลผลิตและการจ้างงานของประเทศ

ในอดีตจุดแข็งของ SMEs ไทยคือการเข้าถึงในตลาดท้องถิ่นได้ดี มีทักษะและความเชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจบริการ หัตถกรรม ท่องเที่ยว และอาหารค่อนข้างสูง ประกอบกับค่าจ้างแรงงานมีอัตราที่ต่ำ ตลอดจนง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ แต่ทว่าในอนาคตข้างหน้าจุดแข็งดังกล่าวจะเริ่มไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง และยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นแหล่งแรงงานราคาถูก กลุ่มประเทศเหล่านี้จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่น่าสนใจของภูมิภาค

ดังนั้น สิ่งที่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมและบริการจะต้องริเริ่มปรับกระบวนการเชิงกลยุทธ์ให้ขับ เคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อให้ตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต อาทิ

1) ผู้ประกอบการควรเริ่มมีการขายสินค้าในตลาดที่ใหญ่ขึ้น และเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ จากกลุ่มประเทศสมาชิก

2) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง

3) การเปิดและเจาะตลาดกลุ่มประเทศสมาชิกและคู่ค้าของอาเซียน

4) ปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองต่อกลุ่มประเทศ CLMV เสียใหม่

5) ลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการบริการให้ได้มาตรฐาน

6) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation) หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็น "นวัตกรรม (Innovation)" ควบคู่ไปกับการชูนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม กิจการ SMEs ไทยก็ต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือผลกระทบ หลังจากการเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน เช่น

1) การเปิดเสรีทางการค้าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจบางสาขาที่มีความอ่อนไหว จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการลดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง

2) ออกมาตรการรับมือ กรณีเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า

3) เรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาประสิทธิภาพด้านภาษา เทคโนโลยี บริการ และระบบโลจิสติกส์

4) ขยายช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก จากการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ และหน่วยงานของรัฐ

จะเห็นได้ว่า SMEs ไทยในอนาคต ยังสามารถเพิ่มบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้นได้อีก

ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันลดอุปสรรคและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการขยายตัวของ SMEs ตลอดจนออกกฎระเบียบต่าง ๆ

อย่าง รัดกุมและชัดเจน เพื่อปกป้องและส่งเสริมกิจการ SMEs ไทย และพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมเพื่อสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้กับตัวสินค้าและตอบสนอง ความต้องการความหลากหลายของผู้บริโภคให้สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเข้า สู่ AEC ในอนาคต

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-----------------------------------

ถนนยุทธศาสตร์ เออีซี

โดย ณกฤช เศวตนันท์

บทความฉบับที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเส้นทางสายเศรษฐกิจ R 9 (East-West Economic Corridor : EWEC) หรือแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกไปแล้ว ฉบับนี้จะขอพูดถึงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเส้นทางภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเช่นกัน (Greater Mekong Subregion : GMS) อันได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน



เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ หรือเส้นทาง R3A (North South Economic Corridor : NSEC) เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมการขนส่งทางบกระหว่างนครคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน กับกรุงเทพมหานครของไทย มีระยะทางยาว 1,800 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า ลดต้นทุนในการขนส่ง สร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนรายได้ต่ำ กับทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ชนบทและชายแดน รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ด้วย

เส้นทาง R3A จะช่วยลดระยะเวลาเดินทางระหว่างนครคุนหมิงของจีน กับกรุงเทพมหานคร จากเดิม 48 ชั่วโมงเหลือเพียง 20 ชั่วโมงเท่านั้น

เส้นทางเศรษฐกิจ R3A นี้ตัดผ่าน 3 ประเทศ คือ จีนตอนใต้ สปป.ลาว และประเทศไทย มีต้นทางเริ่มจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย ต่อด้วยเมืองบ่อแก้ว หลวงน้ำทา บ่อเต็นของประเทศลาว บ่อหาน เชียงรุ่ง หรือจิ่งหง ในนครคุนหมิง มณฑลยูนนานของประเทศจีน ทั้ง 3 ประเทศได้กำหนดนโยบายการพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจจากเส้นทางดังกล่าว

ประเทศไทยได้กำหนดการจัดตั้ง เขตนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดเชียงรายและการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน ส่วน สปป.ลาว อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่จุดแวะพัก (Rest Areas) บนเส้นทางที่แขวงบ่อแก้วและหลวงน้ำทา และก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ในฝั่ง สปป.ลาว ที่ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 90 เหลือเพียงการทำถนนเชื่อมตัวอาคารด่านตรวจพรมแดน ไปยังสะพานและสะพานย่อยอีก 2 จุดเท่านั้น

ส่วนประเทศจีนกำหนดนโยบายมุ่งใช้ประโยชน์จากเส้นทาง R3A เพื่อกระจายสินค้าทางการเกษตรจากจีนตอนใต้และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวสินค้าหลักที่มีการทำการค้าของแต่ละประเทศบนเส้นทาง R3A มีอยู่จำนวนมาก

สำหรับสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดลาวและจีน ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน สินค้าอุปโภคบริโภค ผลไม้สดและวัสดุก่อสร้าง สปป.ลาวจะส่งออกถ่านหินลิกไนต์ ผลิตภัณฑ์เกษตร อะไหล่รถยนต์ และยาปฏิชีวนะมายังประเทศไทย และส่งออกไม้แปรรูปไปยังประเทศจีน

สำหรับประเทศจีนส่งออกพืชผัก เช่น บร็อกโคลี ผักกาดแก้ว ดอกไม้อย่างกุหลาบ กล้วยไม้ และผลไม้อย่างแอปเปิล ลูกพีช ส้ม และลูกพลับมายังประเทศไทย โดย นายหลี่ ซือ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เขตปกครองพิเศษโมฮาน มณฑลยูนนาน ได้กล่าวว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีปริมาณสินค้าผ่านถนน R3A ถึงด่านเมืองโมฮาน มณฑลยูนนาน ประมาณ 70,000 ตันต่อปี

แต่ปรากฏว่าในปี 2555 ที่ผ่านมามีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1.27 ล้านตันแล้ว มูลค่าทั้งหมดประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ มีรถเข้าออกกว่า 270,000 คัน ซึ่งหากสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เปิดใช้ก็จะทำให้มูลค่าการค้ายิ่งเพิ่มขึ้นอีกมาก

หากดูกันในด้านสถิติการค้าชายแดน ผ่านอำเภอเชียงของไปยัง สปป.ลาว ผ่านเส้นทางสาย R3A ที่ผ่านมาในปี 2554 มีการนำเข้า 2,000 กว่าล้านบาท ส่งออกเกือบ 6,000 ล้านบาท ปี 2555 นำเข้า 3,000 กว่าล้านบาท ส่งออก 9,000 กว่าล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี 2556 จนถึงเดือนมิถุนายน 2556 มีการค้าเกิดขึ้นมากกว่า 12,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30

การเปิดเส้นทางเศรษฐกิจ R3A นี้จะเห็นได้ว่าทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคอาเซียนและมีความเจริญมากขึ้น ถือเป็นการกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน ให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมกับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ ด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์บนพื้นฐานของความร่วมมือได้

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------------

สงครามกลางเมืองที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ .

บทความ"พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์"วิพากษ์สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทยเรื่อง"สงครามกลางเมืองที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้"

ฝ่ายจารีตนิยมได้ก่อการรุกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีมานี้ โดยระดมองคาพยพทั้งหมดของตนออกมาล้อมกรอบขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ฉวยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยกระทำความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ที่ผลักดันนิรโทษกรรมเหมาเข่ง

การใช้เล่ห์เพทุบายทางสภาผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเหมาเข่งโดยพรรคเพื่อไทยได้สร้างความโกรธอย่างรุนแรงทั้งในหมู่มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและในหมู่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯที่มีจุดยืนที่เป็นปฏิปักษ์กับพรรคเพื่อไทยอยู่ก่อนแล้ว พวกจารีตนิยมได้ฉวยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยตกในสถานะโดดเดี่ยวจากมวลชนของตนและจากความโกรธของชนชั้นกลาง ก่อกระแสคลื่นการเคลื่อนไหวมวลชนขนาดใหญ่ขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลโดยอ้างวาทกรรม “ต่อต้านนิรโทษกรรมคนโกง” มีเป้าหมายที่จะโค่นล้มนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำลายล้างตระกูลชินวัตรและขบวนประชาธิปไตยทั้งหมดในคราวเดียว

นี่เป็น “สงครามเผด็จศึกครั้งใหญ่” ของพวกจารีตนิยม พวกเขาจึงระดมสรรพกำลังออกมาอย่างเป็นระบบ ทั้งอธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการ โรงพยาบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนและลูกจ้าง ไปจนถึงข้าราชการในกระทรวงทบวงกรม และสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งหมด จนกลายเป็นกระแสการรุกที่มีลักษณะชนชั้นและลักษณะปฏิกิริยาถอยหลังอย่างชัดเจน

การปะทะกันทางการเมืองครั้งนี้มีลักษณะทางชนชั้นอย่างเด่นชัด พลังมวลชนที่เป็นหลักของฝ่ายจารีตนิยมก็คือ คนชั้นกลางในกรุงเทพฯและหัวเมือง ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในการขับไล่นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูรเมื่อพฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พวกจารีตนิยมตระหนักถึงพลังทางการเมืองของคนกลุ่มนี้ และนับแต่นั้นมา ก็ได้ดำเนินการอย่างแยบยลเข้าครอบงำและแบ่งปันผลประโยชน์ให้คนกลุ่มนี้อย่างเป็นระบบทั้งในมหาวิทยาลัย สื่อมวลชนกระแสหลัก และองค์กรธุรกิจใหญ่ ทำให้คนชั้นกลางเหล่านี้ได้ประโยชน์มากที่สุดจากระบอบการปกครองและการพัฒนาเศรษฐกิจนับแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

แต่การพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2535 ก็ทำให้ประชาชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทได้เข้าสู่ระบบตลาดของทุนนิยมอย่างเต็มตัว สามารถยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของตนขึ้น ประกอบกับการมีรัฐธรรมนูญ 2540 และนโยบายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย ทำให้พวกเขาเกิดการตื่นตัวทางประชาธิปไตยจนสามารถเข้ามากำหนดผลของการเลือกตั้งและกำหนดการจัดตั้งรัฐบาลในกรุงเทพฯได้อย่างเด็ดขาด แบ่งปันอำนาจบริหาร ทรัพยากรและงบประมาณไปพัฒนาเศรษฐกิจหัวเมืองและชนบทได้เป็นครั้งแรก บางคนจึงเรียกประชาชนเหล่านี้ว่า ชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งแตกต่างจากชนชั้นกลางเก่าที่กลายเป็นหางเครื่องของศักดินาและจารีตนิยม

การปรากฏขึ้นของประชาชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบทในฐานที่เป็นพลังการเมืองแบบใหม่ เข้ามาท้าทายและแบ่งปันอำนาจในระบบการเมืองแบบเลือกตั้งนี้เองที่ได้สร้างความตกใจอย่างมากในหมู่ชนชั้นกลางในเมืองที่ไม่ต้องการแบ่งปันอำนาจ สถานะ ผลประโยชน์ ทรัพยากรและงบประมาณกับคนชนชั้นล่างเหล่านี้

ความขัดแย้งทางการเมืองนับแต่ต้นปี 2549 ถึงปัจจุบัน เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นที่ยืดเยื้อระหว่างประชาชนชั้นล่างทั้งในเมืองและชนบท (หรือ “ชนชั้นกลางใหม่”) ฝ่ายหนึ่งซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นตัวแทนและมีสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือ กับกลุ่มเผด็จการจารีตนิยม กลุ่มทุนเก่าที่เกาะกินอยู่กับจารีตนิยมมานับร้อยปี และประชาชนชั้นกลางในกรุงเทพฯและหัวเมือง (หรือ “ชนชั้นกลางเก่า”) อีกฝ่ายหนึ่ง ที่มีกลไกรัฐ ทั้งกองทัพ ศาล ตุลาการ ข้าราชการ และพรรคประชาธิปัตย์เป็นเครื่องมือ

กระแสการรุกของฝ่ายเผด็จการครั้งนี้ยังมีลักษณะปฏิกิริยาถอยหลัง เพราะนอกจากจะมุ่งทำลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและขบวนประชาธิปไตยทั้งหมดแล้ว พวกเขายังจะทำลายระบบการเลือกตั้งและระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ของพวกเขาเองอีกด้วย แทนที่ด้วยระบอบการปกครองที่ให้ “คนดีมาปกครองบ้านเมือง” ที่เป็นเผด็จการของพวกจารีตนิยมอย่างเต็มรูปแบบ เป็นการฝืนกระแสประชาธิปไตยและกระแสเสรีนิยมอันเป็นที่ต้องการของประชาชนไทยส่วนใหญ่ที่สุดและที่กำลังเป็นกระแสสะพัดไปทั่วโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน การปะทะกันในปัจจุบันจึงเป็นการต่อสู้สองแนวทางระหว่างประชาธิปไตยเสรีนิยมแห่งโลกาภิวัฒน์ กับเผด็จการจารีตนิยมที่ล้าหลังเข้าคลองอีกด้วย

การต่อสู้ทางชนชั้นและการต่อสู้สองแนวทางนี้ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน จึงนับเป็นสงครามกลางเมืองอย่างแท้จริงเมื่อประเทศแตกแยกออกเป็นสองค่ายที่ฝ่ายหนึ่งมีมวลชนทั้งประเทศ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมีกลไกรัฐและพลังทางเศรษฐกิจ เพียงแต่ยังเป็น “สงครามกลางเมืองที่ไม่หลั่งเลือด” เพราะถึงแม้จะมีการปะทะใหญ่ด้วยกำลังแล้วสองครั้งคือ กรณีสงกรานต์เลือด 2552 และการสังหารหมู่ประชาชนเมษายน-พฤษภาคม 2553 แต่รูปแบบหลักของการต่อสู้ถึงปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นการใช้กลไกทางการเมืองที่ไม่รุนแรงคือ การเลือกตั้ง การระดมมวลชน พรรคการเมือง และตุลาการ

ในการปะทะครั้งล่าสุดนี้ ฝ่ายจารีตนิยมกำลังผลักดันความขัดแย้งให้คลี่คลายขยายตัวไปสู่ “สงครามกลางเมืองที่หลั่งเลือด” อย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวคนชั้นกลางในเมืองออกมาขับไล่รัฐบาล การให้สื่อมวลชนกระแสหลักเร่งปั่นกระแสอนาธิปไตยและจลาจล การติดอาวุธให้กลุ่มมวลชนที่บ้าคลั่งเข้ายึดสถานที่ราชการ ทำร้ายบุคคลและประชาชนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย การใช้ตุลาการเข้ามาบิดเบือนหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญที่พวกตนร่างขึ้นมาเอง ตลอดจนการใช้อันธพาลติดอาวุธก่อกวนและทำร้ายประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และท้ายสุดคือ การใช้กองทัพเข้ามาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ในครั้งนี้ ฝ่ายประชาธิปไตยได้เติบใหญ่เข้มแข็ง มีฐานมวลประชาชนอยู่ทั่วประเทศจะไม่ยินยอมให้ดำเนินไปได้โดยง่ายอีกต่อไป หนทางข้างหน้าจึงเป็นการปะทะแตกหักระหว่างสองชนชั้นและสองแนวทางอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

ประสบการณ์ในประเทศที่เป็นอารยะและเป็นประชาธิปไตยแล้วคือบทเรียนที่เราจะต้องศึกษา ประเทศไทยไม่ได้แปลกพิเศษและไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด การได้มาซึ่งประชาธิปไตยในหลายประเทศทั่วโลก ที่เรียกว่า “การปฏิวัติประชาธิปไตย” ล้วนผ่านการต่อสู้ทางชนชั้นและการต่อสู้สองแนวทางที่ยืดเยื้อ รุนแรง และนองเลือดมาแล้วทั้งสิ้น ระหว่างประชาชนส่วนข้างมากที่ต้องการสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางการเมือง กับอีกฝ่ายที่เป็นคนส่วนข้างน้อยที่ต้องการผูกขาดอำนาจ สถานะอันเป็นอภิสิทธิ์ และโภคทรัพย์ไว้ในมือตน ฝ่ายหนึ่งมีจำนวนคนมากกับสองมือเปล่า ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งมีจำนวนคนน้อย แต่สองมือเต็มไปด้วยอาวุธร้ายแรง

ปัจจัยชี้ขาดว่า ความขัดแย้งจะกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่หลั่งเลือดหรือไม่นั้น ถูกกำหนดโดยผู้ปกครองที่มีกำลังอาวุธอยู่ในมือ หากเขาไม่ยินยอมให้สิทธิเสรีภาพและเสมอภาคแก่ประชาชนส่วนใหญ่ แล้วมิหนำ ยังใช้กำลังรุนแรงเข้าปราบปรามประชาชน กดหัวให้ยอมจำนนแล้ว เมื่อนั้น สงครามกลางเมืองที่หลั่งเลือดก็มิอาจหลีกเลี่ยงได้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
------------------------------------

หุ้นดิ่ง บาทอ่อน วิตกการเมือง ถอนคิวอี !!?

ต่างชาติขายหุ้นกดดัชนีร่วง15จุด บาทอ่อนค่าสุดรอบ3เดือนแตะ32.33บาท นักค้าเงินระบุนักลงทุนกังวลการเมือง-สหรัฐฯถอนคิวอีเร็วขึ้น

สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ท่ามกลางภาวะซื้อขายเบาบาง โดยเฉพาะเงินบาท และเปโซร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เพราะนักลงทุนยังคงระมัดระวัง ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (คิวอี) เมื่อใด

ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศ เริ่มกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังเกิดการปาประทัด และยิงการ์ด จนได้รับบาดเจ็บในกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณกระทรวงการคลัง และบริเวณราชดำเนิน

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า เงินบาทเทียบดอลลาร์เปิดตลาดที่ 32.24-32.26 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวขึ้นลงตามแรงซื้อขายที่เข้ามา โดยอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่าสุดรอบ 3 เดือน จากก่อนหน้านี้ที่ทำระดับอ่อนค่าสุดที่ 32.47 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนจะมาปิดตลาดที่ 32.32-32.33 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทวานนี้ มาจากปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ทำให้เกิดความกังวลว่าเฟด จะปรับลดมาตรการคิวอีลงในเร็ววันนี้เป็นประเด็นที่ต้องจับตา และจะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์หน้า

แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์หน้า ต้องจับตาตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศ และการเมืองในประเทศ โดยมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้อีก และอาจไปทดสอบระดับการอ่อนค่าในระดับ 32.47-32.48 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นสถิติเดิมที่ทำไว้ก่อนหน้านี้

“ขณะนี้ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐว่าจะออกมาเท่าไร และดีกว่าที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ แต่ที่เห็นเงินบาทอ่อนค่าวานนี้ เป็นผลจากการเมืองในประเทศมากกว่า ที่เริ่มกลับมาชุมนุมต่อและดูเหมือนจะร้อนแรงขึ้น เห็นได้ว่าค่าเงินในภูมิภาคยังเคลื่อนไหวในทางแข็งค่า ซึ่งตลาดยังจับตาดูสถานการณ์การเมืองช่วงเสาร์อาทิตย์นี้ด้วยว่า จะพัฒนาการไปอย่างไร เพราะจะมีการนัดรวมตัวกันอีกครั้งของทั้งสองฝ่ายในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ด้วย”

ในสัปดาห์นี้ สกุลเงินส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย นำโดยรูปีพุ่งขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ผลสำรวจ เอ็กซิทโพลล์คาดว่า พรรคฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในการเลือก ตั้งระดับรัฐเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านถูกมองว่ามีความเป็นมิตรต่อภาคธุรกิจมากกว่า และตั้งใจที่จะทำการปฏิรูป ขณะที่การเลือกตั้งทั่วประเทศ จะมีขึ้นในต้นปีหน้า ในสัปดาห์นี้หยวนแข็งค่าขึ้น 0.2% และดอลลาร์สิงคโปร์ปรับตัวขึ้น 0.1% ขณะที่วอนและดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่าเช่นกัน แต่บาทร่วงลง 0.7% และเปโซอ่อนค่าลง 0.5%

ขณะเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าว ยังมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ดัชนีปรับลดลงอยู่ในแดนลบตลอดวัน และดัชนีปรับลดลงต่ำสุดที่ระดับ 1,355.02 จุด ปรับสูงสุดที่ระดับ 1,376.71 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 1,361.57 จุด ลดลง 15.06 จุด หรือ 1.09% มูลค่าการซื้อขาย 30,147 ล้านบาท โดยต่างชาติขาย 3,726.01 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขาย 815.11 ล้านบาท สถาบันซื้อสุทธิ 121.44 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 4,419.68 ล้านบาท

คิวอี-การเมืองกดหุ้นดิ่ง-บาทอ่อน

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัย เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่อ่อนค่า และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงวานนี้ จะเป็นทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศผสมกัน เพราะปัจจัยนอกประเทศ ตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นของสหรัฐ ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้กำหนดกรอบเวลาการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี 3 ได้แล้ว ทำให้นักลงทุนมองการปรับลดมาตรการคิวอี น่าจะเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนนี้ รวมไปถึงปัจจัยการเมืองที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกต่อเนื่อง หากยังยืดเยื้อส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกไปได้อีก

จากการสังเกต พบว่า ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่มองว่าค่าเงินบาท จะอ่อนค่าแตะระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางเดือน แต่กลับอ่อนค่าในช่วงต้นเดือน แสดงให้เห็นถึงเงินทุนต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่อง ซึ่งฝั่งตลาดทุน นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มถือหุ้นสั้นลง เพราะคาดการณ์มาตรการคิวอี จะถูกปรับลดลงช่วงสั้น ทำให้การถือหุ้นไม่ยาวอย่างที่คาด

การชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้าง ทั้งความเชื่อมั่น และการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเริ่มปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ใช้เวลาในกรุงเทพฯน้อยลง และออกไปยังหัวเมืองอื่นๆ และหากการเมืองยืดเยื้ออาจจะกระทบถึงการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2557 ด้วย

ทั้งนี้มาตรการที่รัฐบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะทำออกมาตามบัญชาของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีมาตรการอย่างไรในการกระตุ้นเศรษฐกิจและจะช่วยการเติบโตในปีหน้าได้อย่างไรบ้าง

การเมืองไร้ข้อยุติกดหุ้นไทยดิ่ง

นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้บริหารสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดแรงช่วงบ่ายของวันกว่า 20 จุด ซึ่งมองเป็นการตอบสนองปัจจัยการเมืองล่วงหน้า โดยนักลงทุนกังวลว่าการชุมนุมทางการเมืองมีโอกาสที่จะปะทะกันได้อีก จึงสร้างแรงกดดันให้ตลาด และยังมีปัจจัยจากต่างประเทศคือ นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการลดขนาดมาตรการคิวอีของสหรัฐ

สอดคล้องกับ บล.ฟิลลิป วิเคราะห์ว่า หุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าภูมิภาค สาเหตุหลักมาจากปัจจัยการเมือง ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ รวมถึงปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้หลายตัว ก็กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะสั้นๆ จากความกังวลเรื่องการลดคิวอี จะเริ่มเร็วกว่าที่คาดไว้

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า น่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงเดือนสุดท้ายของปี และมองว่าบทบาทต่างชาติในเดือนนี้ น่าจะน้อยลง หลังมีการขายอย่างหนักมาในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ตามสถิติย้อนหลัง พบว่าในเดือน ธ.ค. บทบาทการซื้อขายของต่างชาติต่อตลาดจะน้อยกว่าเดือนอื่นๆ ตรงกันข้ามกับทางนักลงทุนสถาบันที่จะมีบทบาทต่อตลาดในเดือน ธ.ค.มากกว่าเดือนอื่นๆ โดยเฉพาะแรงซื้อจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) จึงคาดว่าการปรับลงเป็นโอกาสให้ทยอยเข้าซื้ออยู่ โดยประเมินแนวรับเบื้องต้น ที่ 1,360 จุดก่อน

ลดเป้าดัชนีปี 2557 ตปท.ทิ้งตลาดเกิดใหม่

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า สมาคมฯ จะปรับเป้าดัชนีหุ้นไทยสิ้นปี 2557 ใหม่ เพราะปัจจัยที่เข้ามากระทบ มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบมากขึ้น จึงส่งแบบสำรวจให้สมาชิกทบทวนทั้งอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กำไรบริษัทจดทะเบียนและดัชนีสิ้นปี 2557 ซึ่งคาดว่าสมาชิกจะปรับลดเป้าดัชนีลงจากเดิมที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมาว่าอยู่ที่ 1,700 จุดในสิ้นปี 2557

ส่วนดัชนีสิ้นปีนี้ คงไม่มีการทบทวนใดๆ โดยจะให้น้ำหนักไปที่ปีหน้ามากกว่า เพราะการชุมนุมทางการเมืองยืดเยื้อยาวนาน ทำให้มีผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งปีนี้คาดเติบโตต่ำกว่า 3% ทำให้การลงทุนภาครัฐในหลายโครงการชะลอออกไป ยอดขายของเอกชนต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่งผลต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนและมูลค่าหุ้นลดลง

นอกจากนี้ ในปี 2557 สหรัฐจะเริ่มลดขนาดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ทำให้เชื่อว่า นักลงทุนต่างชาติยังมีแรงขายออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมทั้งตลาดหุ้นไทย แม้ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติจะขายสุทธิหุ้นไทยแล้ว 170,000 ล้านบาท แต่คาดว่ายังมีแรงขายออกมาอีก เพราะที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสะสมหุ้นไทยในระดับดัชนีที่ต่ำประมาณ 300,000 ล้านบาท

"หวังช่วงกลางเดือนนี้ จะมีแรงซื้อจากกองทุนแอลทีเอฟ และอาร์เอ็มเอฟอีกหลายหมื่นล้านบาท คงจะมีส่วนช่วยดัชนีในช่วงปลายปีให้ปรับตัวขึ้นได้บ้าง"

ชะลอคิวอีเสี่ยงตลาดเกิดใหม่

นายศรชัย สุเนต์ตา รองกรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การชะลอมาตรการคิวอีเร็วกว่าเดือนมี.ค.นั้นแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้น แต่ก็ยังเป็นเสียงส่วนน้อย เพราะสหรัฐยังมีปัญหาเพดานหนี้ที่ต้องจัดการก่อนช่วงกลางเดือนม.ค. 2557 จึงจะสามารถชะลอมาตรการคิวอีได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐได้ ดังจึงมองว่า การชะลอมาตรการคิวอี จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นก่อนแก้ปัญหาชะลอหนี้ ซึ่งควรจะปล่อยให้ประธานเฟดคนใหม่เป็นผู้จัดการปัญหา

เขายอมรับว่า การชะลอมาตรการคิวอี จะเป็นความเสี่ยงต่อตลาดใหม่โดยรวม แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว และดอลลาร์แข็งค่า จะทำให้ค่าเงินตลาดเกิดใหม่โดยรวมมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการเกิดภาวะเงินทุนไหลออก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเงินทุนไหลออกมาสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ถ้ามองแรงซื้อหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีการซื้อสุทธิ 188,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันได้ขายไปเกือบหมด หรือขายหุ้นไทยออกไปแล้ว 167,000 ล้าน โดยแรงขายรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. เป็นต้นมา โดยเดือนพ.ย. เดือนเดียวขายออก 63,000 ล้านบาท

"เหตุผลหลักที่ขายออกเพราะมีกำไรจากการลงทุนหุ้นไทย และหากคิดผลตอบแทน แม้ขายไปแล้ว ก็ยังมีกำไร 190% นับจากปี 2552 โอกาสจะขายหนักๆ หลังจากนี้เชื่อว่าจะเบาบาง เพราะหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ในระดับน่าสนใจสำหรับนักลงทุนระยะยาว ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนระยะยาว ทยอยซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่4 พร้อมเปิด11/12/56

รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อมระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ว่า  ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม   เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรเชียงของนำคนงานเร่งทำความสะอาดและตกแต่งที่ทำการด่านเพื่อรองรับพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4  หลัง 3 ประเทศคือไทยลาวและจีน ได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะมีกำหนดพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ธันวาคม 2556(11/12/13) โดยมีสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี

นายศรชัย สร้อยพงษ์พราย นายด่านศุลกากรเชียงของ กล่าวว่าขณะนี้ในส่วนของตัวสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4  โครงสร้างพื้นฐานและสะพานสร้างเสร็จแล้ว รวมถึงที่ทำการด่านศุลกากรเชียงของแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด่านเศรษฐกิจและให้บริการด่านศุลกากรอาทิอาคารด่านพรมแดนสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วพร้อมให้บริการ ตลอดจนได้เตรียมอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เรื่องอาคารสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือต่างๆประกอบด้วย เครื่องมือสื่อสาร ระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระบบการควบคุมทางศุลกากรเช่นCCTV เครื่องตรวจสอบสินค้า เครื่องเอกซเรย์ เครื่องตรวจสอบสัมภาระต่างๆ

นายศรชัยกล่าวด้วยว่าในปี 2555 การค้าขายผ่านด่านศุลกากรเชียงของมีมูลค่า 12,500 ล้านบาท และในปีนี้ 2556 เพิ่มขึ้น 8.93% มีมูลค่ากว่า 13,600 ล้านบาท เมื่อสะพานเปิดใช้แล้วจะช่วยทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกขึ้นทำให้ค่าขนส่งลดลงจากที่ต้องเสียค่าแพขนานยนต์ 1,800 บาทต่อตู้คอนเทนเนอร์จะเหลือเพียง 500 บาทซึ่งลดลงไปถึง 3 เท่าตัว เชื่อว่าจะทำให้มูลค่าส่งออกเพิ่มมากขึ้นโดยการพยากรณ์ของกรมศุลกากรคาดว่าจะมีการขยายตัวการค้าขายผ่านสะพานแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 17,000 ล้านบาท ในปี 2558 ถือเป็นการรองรับเศรษฐกิจอาเซียนพอดี

นายทรงฤทธิ์ แก้วสุทธิ นายอำเภอเชียงของ กล่าวว่า ทางอำเภอได้กำหนดเส้นทางเสด็จฯไว้ 3 จุดหลัก คือบริเวณหน้าบริษัทสินธานีฯสาขาเชียงของ บริเวณหน้าโรงเรียนเชียงของวิทยาคม-โลตัสเชียงของและบริเวณแยกเข้าสะพานฯหน้าสหกรณ์การเกษตรสาขาเชียงของ โดยเตรียมการรับเสด็จฯเป็นไปอย่างเรียบร้อยยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติฯ เพราะถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์และวันแห่งเกียรติยศของชาวเชียงของ โดยให้ประชาชนผู้ร่วมงานแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองชนเผ่าหรือชุดประจำถิ่น ชุดเมืองล้านนาเพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของเชียงของรวมทั้งต้อนรับผู้มาเยือนในฐานะเจ้าบ้านเพื่อเผยแพร่วิถีชาวเชียงของสู่สายตาคนทั้งประเทศและทั่วโลก

ขณะที่นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานโครงการประสานเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือกล่าวว่าสะพานข้ามน้ำโขงแห่งนี้จะทำให้ระบบจอลิสติกส์ของประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะผ่านถนนอาร์ 3 เอ ผ่าน สปป.ลาว ไปถึงเมืองสืบสองปันนาและเมืองซือเหมา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีประชากรหลายร้อยล้านคนได้ ซึ่งจะมีผลทำให้การค้าและการท่องเที่ยวผ่านสะพานและด่านเชียงของมีความคึกคักมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ที่สำคัญหากเปิดสะพานใช้อย่างเป็นทางการเชื่อว่าจะทำให้เป็นประตูเชื่อมระหว่างนานาประเทศ โดยมี จ.เชียงราย เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะมีผลทำให้การค้าชายแดนที่ปกติทั้ง 3 ด่านคือด่านแม่สาย ด่านเชียงแสน และด่านเชียงของมีประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท อาจทะลุขึ้นไปเป็นหลักแสนล้านบาทได้ อย่างยิ่งเมื่องมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี.ในปี 2558ที่จะถึงอีก 2 ปีข้างหน้า

ที่มา.มติชน
------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ก่อน ปฏิรูป !!?

โดย. วรศักดิ์ ประยูรศุข

เข้าสู่ห้วงเวลาของงานเฉลิมพระชนมพรรษา ความสุขสงบกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง

พักรบ 1 วัน แล้ววันที่ 6 ธ.ค. จะกลับมาเคลื่อนไหว

กันใหม่ เพื่อเผด็จศึกระบอบทักษิณ ปฏิรูปประเทศ

ปฏิรูปยังไง กำลังเป็นที่สนใจ

จากคำแถลง คำปราศรัยของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุว่า การปฏิรูปจะดำเนินการโดย "สภาประชาชน" ประกอบด้วยคนจากหลายอาชีพ

และ "รัฐบาลประชาชน" ซึ่งจะนำโดยนายกรัฐมนตรี  ที่จะได้มาภายใต้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ

มาตรา 7 บัญญัติว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรานี้จะให้กำเนิดนายกฯได้หรือไม่ยังสงสัย แต่คอการเมืองคงจำได้ว่า ในอดีตเมื่อปี 2549 มีการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีการขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7

โดยเปรียบเทียบย้อนไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ที่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เข้ามาเป็นนายกฯแทน จอมพลถนอม กิตติขจร ที่ลี้ภัยไปต่างประเทศ

ตอนนั้นเรียกอาจารย์สัญญาว่าเป็น "นายกฯพระราชทาน"

การเรียกร้องในปี 2549 ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งมาตรา 7 มีเนื้อความเหมือนรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราโชวาท ในเรื่องนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 นี้ ในวันที่ 25 เม.ย. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เมื่อ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ และ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

พระบรมราโชวาท กรณีมาตรา 7 นี้ รวมถึง "นายกฯพระราชทาน" เมื่อปี 2516 อ่านได้ที่ http://prachatai.com/journal/2006/04/8196

สำหรับในครั้งนี้ นายสุเทพกล่าวว่า มีฝ่ายกฎหมายยืนยันว่านายกฯ ม.7 ทำได้ แต่หลังจากมีข่าวออกไป มีนักกฎหมายออกมาทักท้วงกันเป็นแถวเหมือนกัน

และแนะนำว่าถ้าเดินหน้าเอากันจริงๆ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งมาตรา 171 ที่ให้นายกฯมาจากเลือกตั้ง และมาตรา 291 เพื่อให้มีสภาประชาชน

ดูแล้วก็ไม่ง่าย และเป็นเรื่องใหญ่

การปฏิรูปการเมืองตามแนวนี้ นายสุเทพ มั่นใจว่าจะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ การเมืองที่มีคุณภาพ ไม่มีการซื้อเสียง ไม่มีคอร์รัปชั่น และได้คนดีเข้ามาปกครองประเทศ

ก็เป็นเจตนาที่ดี แต่หลักสำคัญคือ หากเป้าหมายที่ต้องการคือการเมืองประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ วิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ว่านั้น ก็ต้องเป็นวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการสร้างประชาธิปไตยด้วยอำนาจพิเศษ ซึ่งไม่แน่ใจว่าผลจะเป็นยังไง

สังคมปัจจุบันนี้ ไม่อนุญาตให้คิดแทนกันแล้ว ยิ่งถ้าเชื่อในประชาธิปไตยทางตรง ยิ่งต้องฟังความเห็นให้กว้างๆ

ไม่อย่างนั้น ผลที่จะตามมา อาจเป็นหนังคนละเรื่องก็ได้

ที่มา.มติชนออนไลน์
-------------------------------------------

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจขาลง....!!?

โดย.วีรพงษ์ รามางกูร

ภาคธุรกิจบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ขณะนี้ต่างรู้สึกได้ว่าเศรษฐกิจของเรากำลังอ่อนกำลังลง หลาย ๆบริษัทกำลังทบทวนแผนการดำเนินงาน สำหรับปีหน้าที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากยอดขายทั้งที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศ และที่ขายภายในประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว งบประมาณสำหรับการตลาด เช่น งบโฆษณากำลังคน และอื่น ๆ รวมทั้งแผนลดการผลิตต้องนำมาพิจารณา

ความรู้สึกเช่นนี้ของภาคธุรกิจ สอดคล้องกับตัวเลขความเจริญเติบโตที่ธนาคารโลกก็ดี หน่วยงานของทางราชการ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจและการคลัง สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ดี ทุกสำนักต่างก็ทบทวนตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 4 และตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปีหน้าลง

ธนาคารโลกลดตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2556 จาก 4.5 เปอร์เซ็นต์ มาเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทบทวนอัตราการขยายตัวของปีนี้ลงจาก 3.7 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่คิดว่าอัตราการขยายตัวของปีนี้คงได้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากที่เคยประมาณการไว้ 3.8 เปอร์เซ็นต์

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะความต้องการสินค้าและบริการทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็วในครึ่งหลังของปีนี้

อัตราการขยายตัวของมูลค่าของการส่งออกปีนี้เกือบจะไม่มีคือคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ขยายตัวเลย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เท่าที่จำได้ การส่งออกของเราขยายตัวอย่างสม่ำเสมอในอัตรา 15-16 เปอร์เซ็นต์เรื่อยมา เหลือเพียงรายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนเท่านั้นที่ยังคงเป็นรายได้หลักของประเทศมองไปถึงปีหน้า ตลาดหลักของเราคืออเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน อนาคต
ก็ยังไม่ค่อยสดใส ข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนก็ไม่น่าจะเป็นความจริง

ข่าวว่าอเมริกาจะผลิตพลังงานใช้เองเพราะสามารถเจาะทะลุชั้นหินดาน เอาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันขึ้นมาใช้ได้ ก็แผ่วลง มาตรการคิวอี ใช้มาถึง 3 คิวอีแล้วก็ยังเลิกไม่ได้ แค่มีข่าวว่าจะผ่อนลงก็เกิดเรื่องทันที ยุโรปก็ยังอยู่ในอาการหนักถึงขนาดคนอดอยาก จี้ ปล้น อาชญากรรมเพิ่มขึ้น ยังไม่เห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ญี่ปุ่นนำเอามาตรการคิวอีมาใช้เพื่อให้ค่าเงินเยนอ่อนตัว ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นส่งออกได้มากขึ้น การผลิตในประเทศดีขึ้นการนำเข้าน้อยลง แต่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศคู่ค้านัก เพราะญี่ปุ่นส่งออกมากขึ้น ไม่ใช่นำเข้ามากขึ้นเศรษฐกิจของจีนมีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างรวดเร็ว จนพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องทบทวนแผน 5 ปี ประกาศลดเป้าหมาย

การขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือเพียงเฉลี่ยปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ในระยะ 5 ปีข้างหน้า แทนที่จะเป็นตัวเลข 2 หลักอย่างที่เราเคยได้ยินกัน

ตลาดสำคัญ ๆ ของสินค้าไทยมองดูในปีหน้ายังไม่เห็นมีใครคิดว่าจะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น อัตราการขยายตัวของการส่งออกของเราจึงอยู่ใกล้ศูนย์ หรืออาจจะติดลบก็เป็นไปได้

หลังจากเกิดภาวะน้ำท่วม อุตสาหกรรมหลายอย่างที่เราเคยผลิตเพื่อส่งออกก็หมดสมัยพอดี เพราะมีของใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เช่น Hard Disk และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างเขาเลิกใช้ หรือที่ยังใช้อยู่ก็ย้ายไปผลิตประเทศอื่น

สินค้าการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง นโยบายจำนำพืชผลการเกษตร ทำให้ราคาแพงเกินไป ขายไม่ออก
รัฐบาลต้องเก็บไว้เอง ขณะเดียวกัน คุณภาพก็เสื่อมลงเรื่อย ๆ ราคายางพาราก็ลดลง เพราะขยายการปลูกยางพาราทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมทั้งจีนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความต้องการจากประเทศจีนก็อิ่มตัว ราคายางคงไม่กลับไปที่เดิมแล้ว ปีหน้าก็คงจะลดลงกว่านี้อีก เพราะต้นยางใหม่ที่กรีดได้จะมากขึ้น
เมื่อการส่งออกสินค้าลดลง รายได้โดยส่วนรวมจากการส่งออกไม่เพิ่ม จึงทำให้กำลังซื้อในประเทศอ่อนตัวลงประกอบกับนโยบาย "รถยนต์คันแรก" ทำให้ชาวบ้านนำเงินออมมาดาวน์รถยนต์ นำรายได้มาผ่อนรถยนต์กันหมด ทำให้เหลือเงินที่จะบริโภคในปีต่อไปน้อยลง ขณะเดียวกัน ครัวเรือนก็มีหนี้เพิ่มขึ้นจากการซื้อรถยนต์ใหม่ การบริโภคในครัวเรือนจึงลดลง อันเป็นสาเหตุอันที่ 2 ที่ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่ำ

ขณะเดียวกัน การลงทุนขยายกิจการของภาคเอกชนก็ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการส่งออกและการบริโภคของครัวเรือนอ่อนตัวลง แต่หนี้สินของครัวเรือนขยายตัวสูงขึ้น เหตุการณ์เช่นนี้คงจะต่อเนื่องไปถึงปีหน้า

เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการบริหารจัดการน้ำ โดยการตราพระราชกำหนดให้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ผู้คนในระบบเศรษฐกิจก็คาดหวังว่าเม็ดเงินคงจะออกมาในเร็ววัน ภายในปีนี้และปีหน้าก็ปรากฏว่าไม่ได้ทำประชาพิจารณ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อาจจะเป็นเพราะลืมหรืออ่านกฎหมายผิดก็ไม่ทราบ ต้องมาเริ่มทำประชาพิจารณ์กันใหม่ ปีหน้าจะเสร็จทันประมูลได้ผู้รับเหมาหรือไม่ก็ไม่ทราบ การลงทุนต้องเลื่อนไปอีก

โครงการ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน ทางหลวง ทางด่วน ขนส่งมวลชน ระบบรางคู่และระบบรางรถไฟความเร็วสูง ก็ติดปัญหาการเมือง เพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญคงจะวินิจฉัยว่า
ขัดรัฐธรรมนูญแน่ หรือไม่ก็เก็บไว้ ถ้ามีการยุบสภา พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ตกไป โครงการก็คงจะไม่ได้เกิด ดังนั้น การลงทุนของภาครัฐบาลที่จะมาชดเชยการอ่อนตัวของภาคเอกชนก็คงจะไม่เกิด ในระยะยาวก็คงไม่มี เพราะติดปัญหาการเมืองอย่างที่กล่าวมาแล้ว

ถ้าจะใช้วิธีตั้งงบประมาณประจำปีก็คงไม่ได้ผล เพราะโครงการรถไฟรางคู่มีการอนุมัติโครงการมากว่า 10 ปีแล้ว ได้งบประมาณบ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะสภาท่านแปรญัตติไปใช้ทางอื่นเสียก็คงเหลือแต่เพียงรายได้จากการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ยังขยายตัวอย่างคงเส้นคงวาอยู่จำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากคนจีนรวยขึ้นจึงเดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น และก็ชอบมาเที่ยวเมืองไทย เพราะไทยกับจีนมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ อาหารการกินคล้ายคลึงกันมาก
ก็คงต้องรักษาตลาดจีนไว้ให้ดี การยกเลิกวีซ่าเข้าเมืองไทย เขาขอมาหลายปีแล้วก็เพิ่งจะอนุมัติเมื่อไม่นานมานี้เอง

สิ่งที่ต้องช่วยกันประคับประคองไม่ให้นักท่องเที่ยวเกิดความวิตกว่าการเดินทางมาประเทศไทยนั้นไม่ปลอดภัย สถานที่ท่องเที่ยวที่โรงแรมที่พักหลายแห่ง หรือแม้แต่สนามบินไม่ปลอดภัย ขณะนี้ประเทศจีนก็ดีประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็ดี ญี่ปุ่น และสหรัฐ ต่างก็ออกประกาศเตือนประชาชนของตนให้ระมัดระวัง หากจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้เป็นแหล่งรายได้อันเดียวที่จะนำมาชดเชยการชะงักงันของรายรับจากการส่งออกสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากตัวเราเอง เป็นผลมาจากภาวะซบเซาของตลาดโลก และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ที่สำคัญคือผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเขามีทางเลือกที่จะซื้อสินค้าอย่างเดียวกันจากประเทศอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งของเราได้ด้วย หากเขาเห็นว่าการผลิตและการส่งมอบสินค้าของเราอาจจะมีปัญหา จากภาวะไม่แน่นอนทางการเมือง จากการปิดถนน จากการปิดสถานที่ราชการ และถ้ายิ่งระบบราชการทำงานไม่ได้ คำสั่งซื้อสินค้าของเราก็คงจะชะงักงันยิ่งขึ้นไปอีก

ยิ่งมองไปข้างหน้า ปัญหาความขัดแย้งจะคงดำรงอยู่ไปอีกนาน เพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม การลงทุนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่จะทำไม่ได้เลย ไม่ว่าฝ่ายใดรวมทั้งรัฐบาลจากการรัฐประหาร การคาดการณ์ของฝ่ายธุรกิจมองไปในแง่ร้าย การลงทุนทั้งจากทุนของเราเองและจากต่างประเทศก็คงจะชะงักงันไปด้วย ตามภาวะชะงักงันทางการเมืองภาพข้างหน้าทางเศรษฐกิจจึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
-------------------------------------------------

การใช้ความเป็นชาตินิยมของตนเองลดทอนสิทธิของชาติอื่น !!?


โดย กิตติภัต แสนดี

เอกสารลับพิเศษที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองสหรัฐอเมริกา กำลังทยอยเผยแพร่จนทำให้คำว่า NO FORN ที่ติดอยู่บนเอกสารกลายเป็นจุดน่าตลกขบขันนั้น ไม่ได้สร้างความสะเทือนให้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอเมริกาและเหล่าพันธมิตรที่อเมริกาแอบดักฟังข้อมูลการสนทนาของผู้นำและประชาชนของพวกเขาเท่านั้น เพราะความขัดแย้งขณะนี้ กำลังเลยเถิดไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาติอื่นๆ ด้วย

ล่าสุด รัฐบาลอินโดนีเซีย ตัดสินใจเรียกเอกอัครราชทูตของตนที่ประจำการอยู่ ณ ประเทศออสเตรเลียกลับประเทศ อันเป็นสัญญาณที่ตีความง่ายๆ ว่า เขากำลังลดระดับความสัมพันธ์กับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อตอบโต้ที่รัฐบาลออสเตรเลียตัดสินใจให้อเมริกายืมมือขอดักฟังข้อมูลการสื่อสารของผู้นำและประชาชนในประเทศอินโดนีเซีย

แต่เรื่องที่น่าตลกสำหรับเรื่องนี้คือความพยายามของรัฐบาลอเมริกา ที่จะแถลงต่อประชาชนในตอนที่เกิดเหตุช่วงกลางปีว่า “เป้าหมายการดักฟังนั้นไม่ได้พุ่งไปยังคนอเมริกัน” แล้วพยายามยกตัวอย่างคุณูปการของการดักฟังชาติอื่น ว่าทำให้หาข้อมูลป้องกันการก่อการร้ายได้แต่เนิ่นๆ ป้องกันชีวิตคนได้มากมาย



photo from the New York Times

ความตลกนี้ไม่ได้เกิดเพราะว่าเรื่องถูกเปิดเผยภายหลังว่า คนอเมริกันก็ตกเป็นเป้าหมายการสืบเสาะคัดกรองข้อมูลนี้ด้วย หากแต่มันเกิดจากความนัยระหว่างบรรทัดของคำกล่าวอ้างนี้เองคือ ถ้าโครงการนี้ไม่ได้พุ่งเป้าที่คนอเมริกา ก็ต้องนับว่าเป็นสิ่งที่รับได้ นั่นก็เท่ากับกำลังกล่าวว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวของคนในประเทศอื่นไม่สำคัญเท่าสิทธิส่วนบุคคลของคนในประเทศตนเอง

การเลือกปฎิบัติ (“ประติบัติ” ในภาษากฎหมายระหว่างประเทศ) ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปีสองปี เพราะเรามีแนวคิดเลือกปฎิบัติให้ความสำคัญกับคนในชาติตัวเองเหนือชาติอื่นฝังอยู่ในทุกมิติ เช่น ในเรื่องสิทธิของที่อยู่อาศัย ซึ่งแม้จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่กฎหมายไทยก็ยังห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ด้วยตัวเอง

ในเรื่องสิทธิการเดินทางนั้น คนต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย ก็จะถูกริดรอนสิทธินี้ไปอย่างร้ายแรง สมมุติว่าโครงการของอเมริกานี้ ไม่ได้มีเป้าหมายไปที่คนในชาติตัวเองจริงๆ เช่นนี้เราจะถือได้หรือไม่ว่า การกระทำนั้นๆ เป็นการลดทอนความสำคัญของสิทธิของคนในชาติอื่น ให้อยู่เหนือชาติตัวเองนั้นซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามจริยธรรมแล้ว หลายคนอาจมีประสบการณ์สุดจะไม่ประทับใจในบริการของลัทธิชาตินิยม พร้อมยกตัวอย่างอันไม่จรรโลงใจทั้งหลาย

เช่น การทำสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่หากเรามองอย่างเป็นธรรมแล้ว ความนิยมและภูมิใจในชาติตนเองแค่เงื่อนไขเดียวนี้ ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์สุดโต่งเหล่านั้นได้เลย มันกลับต้องอาศัยการปลุกปั่นยุยงจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เพียงเพราะเหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ได้พิสูจน์เพียงพอว่าชาตินิยมเดี่ยวๆ ในตัวมันเองนั้น เป็นความคิดที่บกพร่อง สิ่งที่เราต้องทำอันดับแรกคือการแยกแนวคิดชาตินิยมออกมาจากเหตุการณ์สุดโต่งเหล่านี้

หากเราจะต่อต้านแนวคิดการให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลของคนในชาติตัวเองก่อนนั้น ข้ออ้างแรกที่จะปรากฎขึ้นมา คือ สิทธิเหล่านี้เป็นของสากล การเลือกให้ความสำคัญกับสิทธินี้แก่คนกลุ่มหนึ่ง แล้วไปลดทอนสิทธิเดียวกันกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ย่อมเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในทางตรรกะ

แต่จะเป็นไปได้หรือที่เราจะรักษาสิทธิพื้นฐานของคนในชาติโดยไม่ต้องไปรบกวนสิทธิของคนในชาติอื่น หากเรากำลังพบว่ามีภัยร้ายที่กำลังเข้าแทรกแซงประเทศ และจะทำให้แม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานอย่างการใช้ชีวิตอย่างสงบสุขของคนในชาตินั้นจะไม่มีอยู่จริงเลยตั้งแต่แรก เช่นนี้เราจะไม่รีบเยียวยาแก้ไขเลยหรือ



photo from the Telegraph

เป็นไปได้หรือไม่หากเราจะมีคุณค่าบางอย่างที่ยึดถือ ที่จะได้รับการปกป้องก็ต่อเมื่อเราได้รวมกลุ่มเป็นชาติแล้วเท่านั้น และถ้าชาติไม่รีบใช้สิทธิการปกป้องนี้ ท้ายที่สุดสิทธิทุกอย่างก็อาจไม่ถูกปกป้องเลย นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลกว่าหรอกหรือ กล่าวอ้างแบบนี้ก็น่าฟัง เพราะการจะมีค่านิยมรักความเป็นส่วนตัว รักตัวรักชีวิตได้ อิทธิพลจากชุมชนที่อาศัยอยู่ก็เป็นเหตุสำคัญ

หากเราเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวบนเกาะร้างที่ไม่มีรูปแบบวัฒนธรรมร่วมกันใดๆ เรื่องสิทธิต่างๆ คงเป็นเรื่องไม่จำเป็นต้องคิดถึง และที่สำคัญคือ แม้หากเราจะคิดถึงความเป็นส่วนตัว ก็จะไม่มีกลไกใดๆ มารับรองปกป้องสนับสนุน ไม่มีกลไกใดๆ ที่มีความชัดเจนว่าจะเยียวยาฟ้องร้องกันได้อย่างไรหากมีการละเมิด

ดังนั้น หากไม่ให้ความสำคัญกับชาติตนเองก่อนแล้ว สิทธิพื้นฐานหลายอย่างก็จะบังคับใช้ไม่ได้จริง หรือร้ายแรงที่สุดก็อาจถึงขั้นไม่มีจริงในจินตนาการของทุกคนเลยก็ได้ แต่หากเราให้เหตุผลแบบนี้ เป็นไปได้หรือไม่ที่เราก็สามารถบอกได้อีกว่า สังคมนานาชาติก็ถือว่าเป็นกลุ่มชุมชนหนึ่งที่ต้องรวมตัวกัน เพื่อปกป้องรักษาสิทธิ หรือคุณค่าบางอย่างร่วมกันด้วย โดยเฉพาะในเรื่องความสงบระหว่างประเทศ ที่หากเรามีหรือไม่มีคุณค่าที่พื้นฐานที่สุดนี้แล้ว การจะรักษาสิทธิที่ซับซ้อนกว่าตามความเชื่อของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

จะมีสิ่งใดที่ทำลายความสงบสุขได้มากไปกว่าการสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐบาล เช่นการดักกรองข้อมูลการสื่อสารของเหล่าผู้นำนานาประเทศนี้ ดังนั้น การเข้าแทรกแซงสิทธิส่วนบุคคลของคนในชาติอื่น จะสั่นคลอนคุณค่าในเรื่องความสงบสุขที่ชุมชนนานาชาติมีหน้าที่ต้องร่วมกันปกป้อง และเมื่อคุณค่าพื้นฐานดังกล่าวถูกสั่นคลอน คุณค่าในเรื่องชีวิต ทรัพย์สินต่างๆ ของคนในชาติเอง ก็ยังตกอยู่ในแดนอันตรายไปด้วย

ดังนั้น นโยบายดักกรองข้อมูลที่แม้ไม่ได้พุ่งไปยังคนในชาติ ก็น่าจะไม่ชอบในแง่จริยธรรม ถ้าเราเชื่อว่าสิทธิความเป็นส่วนบุคคลเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ คนชาติอื่นเป็นมนุษย์ ดังนั้น คนชาติอื่นมีสิทธิเต็มที่ที่ควรได้รับความเคารพ แต่หากเราเชื่อในคุณค่าพื้นฐานที่ชุมชนต้องรวมหมู่กันปกป้อง เราก็ไม่ควรลืมชุมชนนานาชาติ ที่กำลังทำหน้าที่ปกป้องสภาวะพื้นฐานที่ทำให้ชาติแต่ละชาติสร้างคุณค่าแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนย่อยด้วย

โดยเฉพาะคุณค่าในเรื่องสันติภาพ ความสงบสุข ที่หากขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความคิดพื้นฐานอื่นๆ ของแต่ละชุมชนย่อย ก็จะเกิดเป็นจริงขึ้นมาไม่ได้

ทีมา.Siam Intelligence Unit
--------------------------------------------

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัยรามคำแหง: การเมืองเชิงอำนาจ !!?

โดย.พรชัย ยวนยี

หากพูดถึงสถานะการเมืองในหลายๆ พื้นที่ ในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ ที่ทุกคนล้วนอยากมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอำนาจ ยศ บรรดาศักดิ์ การงานที่ดีในอนาคต และผลประโยชน์ด้านรายได้ และการคุมพื้นที่อำนาจเสมือนมาเฟีย

เหล่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ฐานรากไปจนถึงระดับสูง เปรียบเสมือนพีระมิด ที่เหล่าผู้อยู่ใต้ฐานล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ส่วนบนของฐานซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในการเชื่อมโยงถึงผู้มีอำนาจในเครือข่ายอื่นๆ ต่อไปในสังคม เช่น นักการเมือง ทหาร ตำรวจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน

พื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ พื้นที่ ในสังคมไทย ที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้นได้แพร่กระจายและมีผลประโยชน์มากมายในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องด้วยมีหลายๆ เงื่อนไขให้ดำรงซึ่งสภาพความสัมพันธ์ดังกล่าว

โดยเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้อำนาจดำรงซึ่งสภาพเช่นนี้ ดังเช่น สภาพความเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ที่ไม่จำกัดอายุของผู้เข้าศึกษา และรับไม่จำกัดของเหล่านักศึกษาที่อยากเข้าศึกษา และการพัฒนาเป็นชุมชนอย่างรวดเร็วในพื้นที่ดังกล่าว และอื่นๆ อีกมากมาย โดยจะอธิบายต่อไป



แน่นอนว่าหากกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจข้างต้น เป็นสิ่งที่ยากอธิบาย เนื่องด้วยไม่มีเอกสารอ้างอิงที่เป็นชิ้นเป็นอัน เสมือนงานวิจัยความรู้อื่นๆ ทั่วไป หากแต่ใช้ความใกล้ชิด และความคุ้นเคยในพื้นที่ดังกล่าว และเป็นเรื่องที่น่าสนใจในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่ออธิบายให้กระจ่างชัด จึงขอแยกออกเป็นประเด็น ดังนี้
1. อำนาจที่แตกต่าง: การเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้านจำนวนนักศึกษา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีปริมาณนักศึกษาที่มากที่สุด กว่าสามแสนห้าหมื่นคน รวมทุกวิทยาเขต หากแต่ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งตั้งอยู่เขตหัวหมาก ก็มีนักศึกษากว่าแสนคน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แยกออกไปตั้งศูนย์ใหญ่อีกแห่ง คือ เขตบางนา ซึ่งเหล่านักศึกษาต้องเรียนทั้งสองแห่งตามรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน เนื่องด้วยปริมาณนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

ด้านหนึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ทำให้ไม่จำกัดจำนวนนักศึกษา ไม่จำกัดอายุนักศึกษา และสามารถเรียนได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดจำนวนปีในการศึกษา แม้ว่าจะมีระเบียบให้ศึกษาได้แค่ 8 ปี แต่ก็สามารถโอนหน่วยกิตที่เรียนผ่านมาแล้วเข้าเรียนในปี 1 ใหม่ได้ เปรียบเสมือนเรียนปี 9 ก็สามารถทำได้ ทำให้มีคนทุกรุ่นเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้

ด้านการเมือง ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการเลือกตั้งอธิการบดีเอง ตามสัดส่วนประชาคมในมหาวิทยาลัย คือ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ในสัดส่วน 1:1:1 และมีการเลือกตั้งประธานองค์การนักศึกษาเฉกเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่มีความเข้มข้นมากกว่า ดังจะอธิบายต่อไป

ด้านนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดการโดยแยกออกเป็นองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา พรรคนักศึกษา ชมรมนักศึกษากว่า 60 ชมรมและซุ้มนักศึกษากว่า1,000 ซุ้ม โดยชมรมนักศึกษาและซุ้มนี้ อาจแบ่งตามความสนใจของเหล่านักศึกษา เช่น ซุ้มตามบ้านเกิดของต้น ซุ้มตามภูมิภาคของตน หรือแบ่งตามความเชื่อและความสนใจของตน เช่น ชมรมพัฒนาค่ายอาสามหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรุมมุสลิม หรืออาจเป็นซุ้ม เช่น ซุ้มสุราษฎร์ธานี ซุ้มกลุ่มคนรักศิลปะ เป็นต้น

ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีงบประมาณมาก ทั้งจากการช่วยเหลือของรัฐบาลเหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่อีกด้านหนึ่งได้จากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งมีปริมาณเยอะมากเมื่อเข้าศึกษาแต่ละภาคการศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก

จากที่กล่าวมาข้างต้น ในอำนาจที่แตกต่างทั้งด้านการเมือง พื้นที่ นักศึกษา คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เพื่อพึ่งพากัน เช่น ในการเหลือกตั้งอธิการบดี พรรคนักศึกษาที่ได้คุมองค์การนักศึกษาคือตัวแปรสำคัญในการหาเสียงให้กับผู้สมัครในตำแหน่งอธิการบดี

และในขณะเดียวกันหลังได้เป็นอธิการบดีก็ต้องช่วยเกื้อหนุนทั้งด้านงบประมาณลับและด้านอื่นๆ ต่อกลุ่มที่ช่วยเหลือหลังได้เป็นอธิการบดี เสมือนการคอรัปชั่น ในขณะเดียวกันชมรมและซุ้มที่ให้การช่วยเหลือองค์การนักศึกษา ก็ได้ผลประโยชน์โดยการได้งบประมาณเยอะขึ้นในการทำกิจกรรมของชมรมหรือซุ้ม ในปีงบประมาณที่พรรคนักศึกษาที่กลุ่มตนให้การสนับสนุนหลังได้ควบคุมองค์การนักศึกษา

สิ่งเหล่านี้ คือลูกโซ่เชิงอำนาจของการเมืองในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ที่กล่าวมายังไม่พอ ยังมีการเมืองภายนอกพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป



2. อำนาจที่แตกต่าง: พื้นที่ย่อยล้อมรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง

หากพูดถึงการสร้างชุมชนในเขตหัวหมาก โดยเฉพาะถนนรามคำแหงนั้น ต้องยอมรับว่าสภาพความเป็นชุมชนใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นจุดหลัก ทำให้เกิดชุมชนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ผ่านศูนย์กลางอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดถนนเส้นนี้มีปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ด้าน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนธุรกิจ และวัฒนธรรม

ด้านภาครัฐ จะเห็นสภาพอำนาจที่เข้าไม่ถึงพื้นที่เขตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เช่น การไม่สามารถจัดการกับทางเดินเท้า ในการเปิดให้มีร้านขายของตลอดเส้นทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้เกิดปัญหาการจราจร ที่ถือว่าเป็นเส้นที่รถติดมากที่สุด โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนเย็นในวันและเวลาทำงาน และเป็นเส้นที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุด

ด้านภาคธุรกิจเอกชน ด้วยความเป็นชุมชนใหม่ มีปฏิสัมพันธ์ของผู้คนมาก ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ แบบไม่เป็นระเบียบ เช่น การสร้างตึกรามบ้านช่อง วินมอเตอร์ไซด์ หรือจะเป็นการสร้างหอพักในการบริการนักศึกษาที่เข้าเรียนในพื้นที่มหาวิทยาลัย และธุรกิจขนาดใหญ่ที่ดำเนินแบบเสมือนตามใจตัวเอง

ด้านวัฒนธรรม ด้วยการสร้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีจุดประสงค์ให้คนมีรายได้น้อยได้ศึกษาเข้าเรียน ทำให้นักศึกษาส่วนมากมาจากต่างจังหวัด โดยเฉพาะจากภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งมีในปริมาณมากเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ทำให้มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมาก และมีการดูแลกลุ่มตนเองตามแบบฉบับของตน

จากความสัมพันธ์ทั้งสามด้านที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่าสภาวะที่ภาครัฐเข้าไม่ถึง และการโตขึ้นอย่างรวดเร็วของเอกชน ทำให้ความสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการจัดการโดยคนที่อาศัยล้อมรอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการเกิดผู้เจรจา ตัวแทน จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของมาเฟีย ผ่านการจ่ายส่วย

เช่น การขายของริมฟุตบาท ที่ภาครัฐไม่สามารถเจรจาได้ จึงปล่อยเลยตามเลย และเป็นหน้าที่ของเหล่ามาเฟีย ในการจัดการ หรือจะเป็นการสร้างหอพัก ที่ถึงแม้จะขออนุญาตจากภาครัฐแล้วยังต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่หรือมาเฟียนั้นเอง


3. พีระมิดการเมือง: จากฐานรากสู่ปลายส่วนบน: การเมืองนักศึกษา-มาเฟียท้องถิ่น-การเมืองระดับชาติ

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นความสัมพันธ์ที่มีมิติของการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันสูง ผ่านการจัดการที่ลงตัว ที่แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างแต่ก็ยังถือว่าเล็กน้อย เช่น การเลือกพรรคเข้าควบคุมองค์การนักศึกษา ล้วนได้รับการสนับสนุนจากมาเฟียท้องถิ่น หรือนักการเมืองระดับชาติ

ซึ่งมาเฟียท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์โดยการควบคุมองค์การรามคำแหงอีกทอดหนึ่ง เช่น คนที่เป็นประธานองค์การรามคำแหง อายุมากเมื่อเทียบกับวัยศึกษา ซึ่งคนที่เลือกอาจเป็นมาเฟียก็เป็นได้(ทัศนะของผู้เขียน) ผ่านการจัดการการเลือกตั้งอธิการบดี ที่จะได้งบประมาณหรือเงินใต้โต๊ะ หรืองบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์หรือตึกภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง

และฐานความถูกต้อง ปกป้องตัวเองจากกฎหมาย ของกลุ่มมาเฟีย ผ่านการให้การคุ้มครองโดยนักการเมืองท้องถิ่น หรือนักการเมืองที่เคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงในอดีต และปัจจุบันใหญ่โต ซึ่งเอื้องบประมาณให้กับพรรคในมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดในอดีตหรือชมรม ซุ้ม ซึ่งเอื้อผ่านการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองตนในระดับชาติ

การควบคุมกันเป็นชั้นๆ อย่างมีนัยยะนี้ น่าสนใจที่ว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยทีมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติเกือบทุกเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมาระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 1 ธันวาคม 2556 และเป็นสถาบันที่มีความใกล้ชิดทางการเมืองระดับชาติอย่างสูง เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสังคมไทย

แน่นอนว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีทั้งเป็นไปด้วยเจตนา บริสุทธิ์และน่าภาคภูมิใจ แต่บางกลุ่มบางพวกเจตนาแฝงไปด้วยผลประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเกื้อกูลกันเป็นลำดับชั้น เช่น ฐานพีระมิด ซึ่งคงสภาพปัญหาให้เป็นเช่นนี้ นี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรปฏิรูปเพื่อสร้างประชาสังคมมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทย

ที่มา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การค้าชายแดน ทะลุ1ล้าน ล.

สัมภาษณ์พิเศษ 'สุรศักดิ์ เรียงเครือ' อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีบทบาทสำคัญในการจัดระเบียบและบริหารการนำเข้า-ส่งออกสินค้า แก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อ กีดกันทางการค้า เพื่อทำให้ผู้ส่งออกมีช่องทางการส่งออกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปกป้องไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้ามาอย่างผิดกฎ ระเบียบจนทำลายผู้ประกอบการภายใน ประเทศ สุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศถึงทิศทางในอนาคตก่อนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- เห็นว่ากรมฯจะโฟกัสการค้าชายแดนมากขึ้น?

เราจะให้น้ำหนักการค้าชายแดนมากขึ้น หากช่วงไหนมีเรื่องพิเศษเข้ามาก็ว่ากันไป แต่ถ้าไม่มีอะไรเข้ามาเราก็เอาการค้าชายแดนเป็นหลัก

- ดำเนินการเรื่องอะไรบ้าง?

ปกติเรามีหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้านำเข้า-ส่ง ออกระหว่างประเทศไทยกับทั่วโลก การค้าชายแดน เป็นสวนหนึ่งที่เราต้องดูแล สินค้าไหนที่ผ่านเข้า-ออก ประเทศไทย เราต้องมอนิเตอร์ใกล้ชิด บางสินค้าเป็น สินค้านอกอาเซียนแต่มาสวมสิทธิประเทศอาเซียน ส่งเข้ามาดัมพ์ตลาดเราก็ต้องมีเครื่องมือโต้ตอบ หรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหากจะนำเข้ามาเราก็มีพระราชบัญญัติควบคุมว่าต้องมาขออนุญาตจากเรา

- หมายความว่าแม้จะเป็นเออีซีปี 58 ก็ไม่เสรี 100%?

หลักการเออีซีคือไม่มีอุปสรรคในเรื่องภาษี แต่ว่ายังมีข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพและปริมาณการส่งออก-นำเข้า ซึ่งทุกประเทศจะพยายามขจัดให้น้อยลง แต่ต้องไม่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศ เดือดร้อนจนอยู่ไม่ได้ เช่น สินค้าบางชนิดประเทศที่ผลิตได้มากก็ส่งเข้ามามาก จนเข้าข่ายดัมพ์ตลาด เราก็ต้องใช้กฎหมายแอนตี้ดัมปิ้ง กฎหมายเซฟการ์ด หรือกฎหมายซีวีดี ปกป้องการนำเข้า เหมือนที่เราเคยดำเนินการกับเหล็กและกระเบื้องที่นำเข้ามาจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศที่เขาเล่นงานสินค้าส่งออกของเรา ทั้งที่ไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบ เราก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ

- เปิดเออีซีการค้าใต้ดินจะเป็นยังไง?

นับวันจะหมดไปเรื่อยๆ เพราะว่าถ้าเราเปิดเสรีและลดอุปสรรคทางการค้า ทุกอย่างจะขึ้นมาบนดินหมด ไม่มีใครอยากค้าขายใต้ดินหรอก แต่ในอดีตกฎระเบียบไม่ชัดเจน ปัญหาอุปสรรคมาก มาย เขาจึงต้องหาวิธีหลบเลี่ยง

- มีโอกาสเปิดด่านชายแดนเพิ่มขึ้นหรือเปล่า?

เราทำเรื่องขอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้มีการเปิดด่านมากขึ้น อนาคต อันใกล้ด่านถาวรจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ด่านชั่วคราวจะกลายเป็นด่านถาวร ด่านที่เปิดบ้างปิดบ้างก็จะเป็นด่านชั่วคราวที่มั่นคงมากขึ้น ปัจจุบันถ้ารวมด่าน ทั้งหมดรอบประเทศเรามีเกือบ 100 ด่าน ต่อไปเป็นเออีซี ไม่มีชายแดนเลย จะเป็นผลดีกว่านี้

- ปี 57 มิติใหม่จะเห็นอะไรก่อน?

ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ปัจจุบันเรามีสำนักงานในแนว ชายแดนประมาณ 10 แห่ง ผมวางแผนจะเอากำลัง คนไปลงมากขึ้น ซึ่งเริ่มทำแล้ว

- มูลค่าการค้าชายแดนเติบโตมากน้อยแค่ไหน?

ปีนี้มูลค่าการค่าเติบ โตในภาวะที่น่าพอใจ แม้จะไม่มากเท่าไหร่แต่ถือว่าน่า พอใจในภาวะแบบนี้ เนื่องจากการค้าต้องอิงกับเศรษฐกิจโลก ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ขยายตัว เศรษฐกิจ อื่นก็ถึงกันหมด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาถึงแม้จะมีปัญหาชายแดนการขัดแย้งต่างๆ แต่ดูแล้วไม่มีอะไรมาก บรรยากาศยังเป็นไปตามปกติ ประชาชน ที่ค้าขายกันอยู่เขาก็ไม่ได้ตระหนกตกใจ

- มูลค่าปีนี้จะทะลุ 1 ล้านล้านบาทไหม?

เป็นเป้าที่เราตั้งไว้ ถ้าไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจโลก ถึงไปตั้งนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเรานับสินค้าเข้า-ออกที่ไม่ได้แจ้งทางการตัวเลขทะลุ 1 ล้านล้านบาท แล้ว แต่ผมพูดถึงมูลค่าการค้าที่แจ้งตัวเลขอย่างเป็นทางการ

- เมื่อไหร่จะทะลุ 2 ล้านล้านบาท?

ปีนี้ทะลุ 1 ล้านล้านก่อน หลังจากนั้นอีก 3-4 ปี น่าจะทำได้

- ไทยทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ มีคนมาใช้สิทธิหรือ เปล่า?

ปัจจุบันเรามีเอฟทีเอประมาณ 10 ข้อ ตกลงกับทั่วโลก หน้าที่ของกรมฯคือทำยังไงให้ผู้ประกอบการมาใช้สิทธิมากขึ้น ตอนนี้น่าจะอยู่ประมาณ 70% แต่ก็มีการส่งออกไปบางประเทศยังใช้ไม่ถึง 70% เอฟทีเอ เป็นประโยชน์มหาศาล ถ้าไม่มีข้อตกลงเอฟทีเอต้องเสียภาษี 10-20% พอมีข้อตกลงเหลือ 0-5% ซึ่งอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จะรู้ แต่อุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อมบางแห่งไม่รู้ว่ามีข้อตกลง หลงจ่ายภาษีเท่าเดิมมาตั้งนาน บางแห่งคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เลยไม่มาใช้ กรมฯ ก็ต้องทำอุปสรรคที่เขาคิดว่ายุ่งยากให้น้อยที่สุด เช่น ขยายพื้นที่ บริการให้มากขึ้น

- เอฟทีเอไทย-อียูจะเรียบร้อยเมื่อไหร่?

พยายามให้เร็วที่สุด เพราะอียูจะตัดสิทธิภาษี จีเอสพีกับสินค้าไทยหลายรายการ เนื่องจากเราไม่มี คุณสมบัติที่จะได้รับจีเอสพีแล้ว เพราะเป็นประเทศ ที่มีรายได้ต่อหัวปานกลางขึ้นมาแล้ว พูดง่ายๆ คือเริ่มรวย สิทธิจีเอสพีเขาจะให้กับประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งถ้ามีเอฟทีเอเราก็หันมาใช้สิทธิทางภาษีจากข้อตกลง เอฟทีเอแทน ตอนนี้มีสินค้าบริการบางประเภทเท่า นั้นที่ยังเจรจาไม่ลงตัว ใช้เวลาไม่นานคงจะเรียบร้อย

- รู้สึกยังไงกับตัวเลขส่งออกปีนี้ของไทย?

ผมไม่อยากให้มองว่าปีนี้ส่งออกเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ถ้าไม่ถึง 7% แสดงว่าไม่ได้เรื่อง ไม่ใช่อย่างนั้น ควร มองสัมพันธ์ในเชิงเปรียบมากกว่า ถ้าเศรษฐกิจโลก ไม่ดี ผู้ซื้อไม่มีกำลังซื้อ เราทำงานเก่งแค่ไหนก็บังคับ ให้เขาซื้อไม่ได้ ในขณะเดียวกันต้องดูประเทศอื่นเปรียบเทียบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ติดลบทั้งนั้น ถ้าเราทำได้แค่ 0% หรือ 0.5% ก็ชนะทุกคนแล้ว เป้าก็คือเป้า แต่ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง

- การระบายข้าวจะทำยังไง?

เหมือนที่ท่านรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าเราเร่งระบายอย่างต่อเนื่อง มีการลงนามกับจีนและอีกหลายประเทศ ทั้งซื้อเป็นเงินสด ทั้งบาเตอร์เทรดเช่นข้าวแลกรถไฟฟ้า

- โครงการข้าวแลกน้ำมันเป็นไปได้หรือเปล่า?

ผมมองว่าอะไรก็ตาม ถ้าเราได้ประโยชน์ก็น่า จะทำ แต่ที่ผ่านมาทำไม่ได้อาจเป็นเพราะตกลงราคา กันไม่ได้ หรือเป็นเรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยทำให้คนสงสัย ถ้าทำอย่างโปร่งใส ทุกคนรู้หมด มีหน่วยงานกลางเข้ามาตรวจสอบก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------------