--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ท่าเรือไทยใน เออีซี !!??

โดย ณกฤช เศวตนันทน์

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศสมาชิกอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเปิดเสรีทางด้านการค้าการลงทุนทั้งภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งหากเราพิจารณากันตามความเป็นจริงแล้วการค้าทั่วโลกพึ่งพาการขนส่งทางทะเลเป็นหลักราว 90% ของปริมาณขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมด



ส่งผลให้ ท่าเรือ มีความสำคัญในฐานะ ประตู เปิดรับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ดังนั้น ความพร้อมและศักยภาพของท่าเรือในอาเซียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของความสำเร็จของ AEC ในคอลัมน์นี้เราจะนำเสนอเกี่ยวกับแนวนโยบายการขนส่งของไทยใน AEC

สำหรับประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีท่าเรือสินค้าถึง 147 แห่ง แต่มีท่าเรือสินค้าเพียง 10 กว่าแห่งเท่านั้นที่มีกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่บริหารจัดการ ได้แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชน ทั้งนี้ แต่ละหน่วยงานมีวัตถุประสงค์ในการสร้างท่าเรือที่ต่างกันไปตามประเภทสินค้าและผู้ใช้บริการ

ในการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือนั้น นอกเหนือจากการให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งได้แก่ การให้บริการเรือและการขนส่งสินค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังประกอบด้วยงานพิธีการศุลกากร การตรวจตรา

สินค้า กฎระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่นี้เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้รวมกันว่า สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งตัวท่าเรือเอง ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าสู่ท่าเรือ กฎระเบียบทางด้านศุลกากรที่เอื้ออำนวยต่อการนำเข้า/ส่งออกสินค้า การปฏิบัติงานที่โปร่งใสและสอดคล้องกับข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน



ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไทยสามารถดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุน สถาบันการขนส่งแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือระหว่างประเทศของไทย เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้มีการสำรวจท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สำคัญรวม 9 แห่ง ทั้งของการท่าเรือและของเอกชนเอง

โดยพิจารณาท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปริมาณสูง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือ BMTP ท่าเรือ TPT ท่าเรือ UNITHAI ท่าเรือศรีราชา ฮาร์เบอร์ ท่าเรือเคอรี่ สยามซีพอร์ต ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือน้ำลึกสงขลา รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ได้แก่ ผู้บริหารท่าเรือ/ศุลกากร สายเรือ ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออก และบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมกว่า 60 หน่วยงาน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลที่ท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือต้นแบบมีปริมาณการขนส่งสินค้าสูง และมีศักยภาพในการดำเนินงานอันดับต้นในภูมิภาคอาเซียนมาเปรียบเทียบด้วย

ผลการสำรวจคณะวิจัย พบว่าท่าเรือที่อยู่ภายใต้การดูแลของการท่าเรือฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาลในด้านงบประมาณการก่อสร้างตัวท่าเรือเอง หรือระบบสาธารณูปโภค (เช่น ถนน ทางรถไฟ ไฟฟ้าต่าง ๆ) สำหรับการใช้งานท่าเรือจะเป็นท่าเรือที่สำคัญ มีปริมาณสินค้าผ่านท่าจำนวนมาก มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่อง X-ray ตู้สินค้าภายในท่าเรือ

แต่ทว่าท่าเรือของการท่าเรือฯก็ยังมีจุดอ่อนในการประสานงานร่วมกับศุลกากรที่ไม่ดีเท่ากับท่าเรือเอกชน

เนื่องจากติดปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ ทำให้การปรับปรุงสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งนั้นใช้เวลานาน นอกจากนี้ การพัฒนาต่าง ๆ ก็ยังขึ้นกับนโยบายของภาครัฐซึ่งขาดความชัดเจน

สำหรับท่าเรือเอกชนนั้น เนื่องจากต้องลงทุนหาพื้นที่เองไม่สามารถเวนคืนที่ดินได้ จึงมีขนาดเล็กและมีปริมาณการขนส่งสินค้าที่น้อยกว่าการพัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค (ถนนสาธารณะ ทางแยกต่าง ๆ ไฟฟ้า)

สำหรับท่าเรือเอกชนก็ต้องใช้งบฯลงทุนของบริษัทเองทั้งหมด ในด้านศุลกากรนั้นท่าเรือเอกชนยังไม่มีเครื่อง X-ray ตู้สินค้าในท่าเรือ ทำให้เสียเวลาและเพิ่มต้นทุนขนส่งหากต้องเปิดตรวจตู้สินค้า

อย่างไรก็ตาม ท่าเรือเอกชนมีความยืดหยุ่นต่อผู้ใช้บริการมากกว่า ทั้งด้านราคาและบริการที่ครบวงจร มีการประสานงานร่วมกับศุลกากรดีกว่า โดยพบว่าท่าเรือเอกชนจะดูแลเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำท่าเป็นอย่างดี และมีความรวดเร็วในการดำเนินงานตามที่ศุลกากรร้องขอเพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC อย่างเต็มที่ ภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับท่าเรือ กระตุ้นให้ทุกฝ่ายปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานของระบบท่าเรือให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ทั้งของรัฐกับเอกชน นอกจากนั้น รัฐควรวางแผนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างท่าเรือ ศุลกากรและท่าเรือของประเทศสมาชิก AEC ด้วยกัน

เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ขนส่งสินค้าในภูมิภาค และเพิ่มความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเมื่อ AEC เปิดแล้ว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////

1ปีรัฐบาลประชานิยม ภาระคลังกว่า 5.4 แสนล้าน !!??


ประชานิยม,1ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์,กมธ.การเงินวุฒิสภา

กมธ.การเงินวุฒิสภา เผยรายงานสอบรัฐบาลยิ่งลักษณ์ครบ 1 ปี ทำ 10 โครงการประชานิยมสร้างภาระการคลังกว่า 5.4 แสนล้านบาท

คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ที่มีนายวิทวัส บุญญสถิ่ตย์ ส.ว.สรรหา เป็นประธานกรรมาธิการฯ ได้จัดทำรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “ความห่วงใยนโยบายประชานิยม ต่อหนี้สาธารณะสาธารณะของประเทศ" และมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อรอพิจารณา

สำหรับสาระสำคัญของรายงานดังกล่าวเป็นการศึกษาและติดตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่มีผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2554 โดยในรอบ 1 ปีแรกของการเข้ามาบริหารประเทศ สรุปได้ว่า การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ต่างๆ อาทิ ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ออกพ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินที่ใช้ไปในโครงการประชานิยมต่างๆ ทำให้นโยบายการคลังของรัฐบาลเข้าสู่ทางตัน จึงต้องหันไปพึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุนอยู่บ่อยครั้งซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นว่านโยบายการคลังใกล้หมดประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการประชานิยมที่มีเป้าหมายเน้นไปยังเพิ่มโอกาสให้คนจนเข้าถึงแหล่งทุนอาทิ การพักชำระหนี้และปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหแก่เกษตรกร เป็ฯเวลา 5-10 ปี, การปรับโครงสร้างหนี้วงเงินเกิน 0.5-1 ล้านบ้าน ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 3 ต่อปี หรือออกบัตรเครดิตชาวนา ทำให้มาตรการทางการคลังมีข้อจำกัดและกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุน และลดหนี้ภาคครัวเรือน ขณะที่นโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอัตราเดียวทั่วประเทศ 300 บาทต่อวัน แม้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำแต่มีผลเข้าไปแทรกแซงการประกอบธุรกิจของเอกชน ส่งผลให้มีการบิดเบือนกลไกตลาด ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงและกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศระยะยาว เพราะการเพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทท ตามผลการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า จะทำผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงานจำนวนมาก มีกำไรลดลงร้อยละ 35 ขณะที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีกว่าร้อยละ 98 ของผู้ประกบการทั้งหมดได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้นการใช้นโยบายประชานิคมได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ เพราะระบบเลือกตั้งที่คำนึงถึงเฉพาะการได้มาซึ่ง ส.ส.จำนวนมากเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ แทนการคำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบอบการเมืองการปกครองด้วย

ทั้งนี้กรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลโดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ ช่วงที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงกับวิกฤษเศรษฐกิจโลก ทำให้ไทยไม่สามารถพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศได้ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลจะใช้นโยบายประชานิยมต้องมีการวางยุทธศาสตร์เพื่อรองรับและต้องสนับสนุนการบริหารเศรษฐกิจมหภาคด้วย คือ 1.ต้องสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่อเศรษฐกิจไทยและต้องกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนำร่องไปก่อน เช่น การใช้จ่ายเงินเพื่อระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อสร้างอนาคตของประเทศ ทำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนจากภาครัฐกับภาคเอกชน 2.นโยบายประชานิยมต้องรักษาเสถียรภาพทางการคลังและเศรษฐกิจ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในแง่ดีถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่แง่ลบคือการลดความสำคัญของภาษีอากรที่เป็นเครื่องมือทางการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.การใช้จ่ายในโครงการประชานิยมต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และกลุ่มเป้าหมาย 4.นโยบายประชานิยมต้องสนับสนุนการออมของประเทศ เพื่อเป็นการชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

กรรมาธิการฯ ยังได้สรุปนโยบายประชานิยมรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ กับภาระทางการคลัง ในรอบปีแรกของการบริหารราชการแผ่นดิน 1.ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก มีผลตั้งแต่ 22 ก.ย. 54 - 31 ธ.ค.55 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท , 2.คืนภาษีรถยนต์คันแรก มีผลตั้งแต่ 16 ก.ย.54 - 31 ธ.ค.55 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 3 หมื่นล้านบาท , 3.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 5.2 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ 2555 , 4.ลดภาษีน้ำมันดีเซล มีผลตั้งแต่ 21 ส.ค.54- ก.ย.55 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 9,000 ล้านบาทต่อเดือน , 5.ปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็น 15,000 บาท มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.55 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาทในปีงบประมาณ 2555 และ 2.3 หมื่นล้านบาทในปีงบประมาณ 2556

6.แจกแท็บเล็ตฟรี ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลตั้งแต่เดือนต.ค.2555 ทำให้เกิดภาระการคลัง จำนวน 1,600 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2555 และจำนวน 1,200 บาทในปีงบประมาณ 2556, 7.พักชำระหนี้เกษตรกร ที่มียอดเงินกู้ค้างชำระ 5แสนบาท มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย.55 - 31 ส.ค. 58 โดยรัฐบาลใช้งบสนับสนุนปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท แต่ทางปฏิบัติรัฐบาลและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจะรับภาระ 50:50 แต่ในที่สุดคาดว่ารัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้แก่สถาบันการเงินโดยลำพัง 8.โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ช่วงทำโครงการ 7 ต.ค. 54 -15 ก.ย.55 มีประมาณการค่าใช้จ่าย 3 แสนล้านบาทหรือร้อยละ 2.6 ของจีดีพีในปี 2555 ทั้งนี้จำนวนภาระทางการคลังจะเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวที่รัฐบาลจะขายได้

9.การปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.55 ภาระทางการคลังภาคธุรกิจเอกชนเป็นผู้รับภาระโดยตรง และ 10.กองทุนพัฒนาสตรี เปิดรับสมัครตั้งแต่ 18 ก.ย. 55 ภาระทางการคลัง อยู่ที่จังหวัดละ 100 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 7,700 ล้านบาท โดยรวมเป็นเงินที่ประเมินภาระทางการคลังได้ จำนวน 544,300 ล้านบาท

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก ลดภาวะเศรษฐกิจอ่อนแรงจาก สเตียรอยด์อีโคโนมิก !!??



โดย.รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ออกมาระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้(2556) จะลดลงเหลือ 3 % จากปีก่อนอยู่ที่ 6.8 % สร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก จนหลายฝ่ายต้องออกให้ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยยังไปได้ดีอยู่

เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายเรื่องตัวเลข GDP ที่ต่ำลง เพราะหากไม่ทำความเข้าใจอาจกระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุนได้ เพราะเพียงครึ่งปีแรกที่มีการประกาศตัวเลข GDP ออกมาว่าต่ำกว่าเป้าหมาย ตลาดก็วิตก และซวนเซ

การถดถอยของตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้เป็นผลจาก “การอัดฉีดนโยบายประชานิยมที่เร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือสเตียรอยด์อีโคโนมี” ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรถคันแรก บ้านหลังแรก หรือค่าแรง 300 บาท/วัน ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในปีนี้ถูกนำไปใช้ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคที่มีสัดส่วน 55 % ของ GDP ขยายตัวได้เพียง 3% จากที่คาดว่าน่าจะขยายตัวได้ถึง 6 %

แต่สำหรับค่าแรง 300 บาท ถือเป็นสเตียรอยด์ที่ดี เพราะถ้าเราไม่มีเรื่องค่าแรง 300 บาท ปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงกว่านี้มาก ภาคอุตสาหกรรมในเมืองจะดึงแรงงานไว้ไม่ได้ เพราะคนจะกลับชนบทไปทำนา เนื่องจากข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ซึ่งในปัจจุบันนี้คนในภาคเกษตรมีประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนแรงงานทั้งหมด สร้างจีดีพีได้ไม่เกิน 10 % ฉะนั้นถ้าคนไหลเข้าไปในภาคเกษตรมากๆ ในระยะยาวจะไม่เป็นผลดีกับประเทศ

การใช้นโยบายประชานิยมของรัฐไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนนโยบายประชานิยมหลายประการที่อาจมีผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ และหันมาพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง 3 ภาคธุรกิจหลัก คือ ภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว

ดังนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงมากในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงอาจจะเป็นปีหน้า คือ การดูแลสภาวะเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มากกว่าการเร่งความเจริญเติบโต

เพราะตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า จะเกิดสภาวะความไม่แน่นอนที่สูงมาก ทั้งระดับในและต่างประเทศ

ในต่างประเทศจะมีความไม่แน่นอนในลักษณะที่เรียกว่า Triple uncertainty คือความไม่แน่นอนแบบ 3 จังหวะ

1. Economic uncertainty เป็นผลจากการถอนตัวออกจากคิวอีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ปลายปีนี้ไปเป็นต้นไป รวมถึงปีหน้าอาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ย ฉะนั้นเมื่อเกิดการกลับทิศของเศรษฐกิจโลก คืออเมริกาเริ่มถอนตัวออกจากคิวอี เสริมด้วยปัญหาของยุโรปที่ยังแก้ไม่ตก ยังไม่รวมเรื่องเศรษฐกิจอเมริกาและยุโรปที่ยังอยู่ในสภาวะที่ยังไม่มีพัฒนาการอย่างเห็นชัดเจนมาก ทำให้เกิดความไม่แน่นอนที่สูง เนื่องจาก GDP ของทั้ง 2 ประเทศรวมกันเท่ากับครึ่งหนึ่งของโลก

ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่ง คือ ตอนนี้ทั่วโลกเกิดสภาวะ ที่เรียกว่า economic paradox(ความขัดแย้งของตัวแปรทางเศรษฐกิจ) เช่น ประเทศพัฒนาแล้วมีความกลัวปัญหาตรงกันข้ามกับประเทศกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กลัวปัญหาเงินฝืด ญี่ปุ่นภายใต้อาเบ้โนมิกจึงต้องการเร่งให้เงินเฟ้อขึ้นมาอีก 2 % จึงอัดฉีดเงินออกมามาก ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างอินเดีย อินโดนีเซียและอีกหลายๆ ประเทศ กลัวปัญหาเงินเฟ้อ

เช่นเดียวกัน ประเทศพัฒนาแล้วกลัวค่าเงินแข็ง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนากลัวค่าเงินอ่อน สิ่งเหล่านี้นำไปสู่นโยบายที่แตกต่างกัน ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมยากขึ้น

2. Political uncertainty ปีหน้าในหลายประเทศจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในอินโดนีเซีย อินเดีย เยอรมันนี จึงเกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง

3.Security uncertainty เช่น ปัญหาซีเรีย จะนำไปสู่ปัญหาบานปลายสู่อิหร่านหรือไหม ถ้าไปถึงอิหร่าน น้ำมันถูกกระทบแน่นอน

จากการที่เราอยู่ Triple uncertainty รัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างไร? องค์กรธุรกิจต้องเตรียมตัวเองอย่างไร? ประชาชนต้องเตรียมตัวอย่างไร? ตรงนี้คือ คำถามใหญ่ที่เราต้องคำนึงถึง เพราะนอกจาก Triple uncertainty ในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังมี Double uncertainty หรือความไม่แน่นอนในหลายด้าน เช่น political uncertainty ตอนนี้มีปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญ ปัญหาเรื่องนิรโทษกรรม ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทำให้การบริหารจัดการด้านการเมืองในประเทศไทยเริ่มแกว่งตัวมากกว่าช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ economic uncertainty แกว่งตัวมากขึ้น การแก้ไขปัญหาจึงยากลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะการแก้ไขปัญหา economic uncertainty ซึ่งเป็นผลการลดทอน จากเตียลอยด์อีโคโนมี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความเข้มแข็งทางการเมืองซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการด้านนโยบายที่มีความน่าเชื่อถือ

สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่า การหาทางเร่งสารเนื้อแดงใหม่

แนวทางการตั้งรับจึงต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันแล้ววางยุทธศาสตร์ชาติให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา แล้วใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ ประเทศไทยต้องวางตัวเองให้เป็นศูนย์กลาง 3 ด้าน คือ

1. ศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร (Agriculture Supply Chain) วางตัวเองไม่ใช่แค่ประเทศผู้ผลิต แต่ต้องขยับไปเป็นผู้แปรรูปและส่งออกไปยังตลาดโลก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้การผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดประโยชน์

2. ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์ จักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยเหนือกว่าประเทศในอาเซียนจึงสามารถพัฒนาต่อยอดด้วยนวัตกรรมที่ส่งไปขายในอาเซียนได้ เมื่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนพัฒนาก็จะต้องการสินค้ากลุ่มนี้มากขึ้น รวมถึงด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ตู้เย็น หม้อหุงข้าว และโทรทัศน์ เมื่อเพื่อนบ้านเติบโตทางเศรษฐกิจหมายถึงความต้องการการสินค้ากลุ่มนี้ก็เพิ่มขึ้นด้วย

และ 3. ศูนย์กลางด้านการบริการตั้งแต่ท่องเที่ยว โลจิสติกส์, บริการสุขภาพ, ธุรกิจกีฬา, การศึกษา และด้านค้าปลีกค้าส่ง เนื่องจากประเทศไทยถือได้ว่ามีความโดดเด่นด้านนี้อย่างสูง

ต่อไปทิศทางเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะอิงภาคการเงินมากขึ้น เราต้องใช้ความได้เปรียบของประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงและความพร้อมสูงกว่าหลายประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รองรับการไหลเวียนทางการเงินโลกที่เข้ามาลงทุน เพราะตรงนี้ถือเป็นจุดสำคัญที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ในอนาคตอันใกล้ เศรษฐกิจไทยก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น

ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อย่าภูมิใจที่ได้เปรียบ ดุลการค้าชายแดน !!??

โดย. ธีรภัทร เจริญสุข

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปนำทางให้นักวิจัยท่านหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลด้านการค้าชายแดนตามจุดผ่อนปรนการค้า ท่าเรือ ด่านศุลกากร และตรวจคนเข้าเมืองในเขตจังหวัดหนองคาย ก็ได้พบกับข้อมูลเพิ่มเติมหลายๆ อย่างในส่วนรับผิดชอบของทางราชการ ที่เพิ่มเติมจากความรู้เดิมที่มีมาในสายตาพ่อค้าและบุคคลทั่วไปที่น่านำมาเล่าสู่กันฟัง

จากสถิติการค้าชายแดนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว เป็นมูลค่าสูงมากในแต่ละปี ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงราชการและหอการค้า ก็นำมาเป็นประเด็นภาคภูมิใจและกล่าวขวัญถึงในทางที่ดี ว่าเราสามารถหาเงินเข้าประเทศจากการค้าชายแดนได้เป็นจำนวนมาก และเป็นข้อได้เปรียบในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แต่ที่จริงแล้ว หากเรามองกลับกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ประเทศเพื่อนบ้านย่อมไม่น่าจะพอใจในภาวะที่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศไทยจนขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้มาโดยตลอด

ที่ผ่านมา ประเด็นนี้ยังไม่ถูกจับตามองจากผู้บริหารภาครัฐของ สปป. ลาว เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าหลักที่มีมูลค่าสูง เป็นสินค้าทุน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล

ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม โดยสินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วนแล้วต่ำกว่ามูลค่าสินค้าทุนต่างๆ มาก เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่า การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการซื้อของประชาชนที่ข้ามชายแดนมาจับจ่ายรายครอบครัวแล้วขนเครื่องใช้ของกินเหล่านั้นกลับไปเองโดยไม่ผ่านระบบตรวจสอบภาษีศุลกากรของทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว

หลักฐานที่พบได้ว่าสินค้าและการบริโภคที่เกิดขึ้นจากการซื้อหาของประชาชนจากอีกฝั่งเห็นได้ชัดเจนจากการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จัดเก็บได้ในจังหวัดหนองคายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีกว่าปีละ 10% โดย VAT เหล่านี้แตกต่างจาก VAT ที่ได้จากการส่งออกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่มีการขอคืนภาษี (Tax Refund) ไม่ว่าจะเป็นการขอคืนภาษีเพื่อสนับสนุนการส่งออก (Export Tax Refund) หรือการขอคืนภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (Tourist Tax refund) ทำให้รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มเหล่านี้ส่งตรงเข้าสู่คลังของรัฐเต็มๆ

แน่นอนว่า หากเราเป็นผู้บริหารประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน คงเป็นเรื่องไม่น่าพิสมัยนัก ที่ประชาชนในประเทศนำเงินออกไปใช้จ่ายและเสียภาษีให้แก่ประเทศอื่นมากกว่าที่จะกินอยู่และใช้จ่ายในประเทศของตน

ดังนั้น ระยะหลังจึงเริ่มมีมาตรการจำกัดการค้าต่างๆ เกิดขึ้นจากฝั่ง สปป. ลาว เริ่มจากความเข้มงวดในการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยเฉพาะเงินบาทไทย ที่หากจะแลกเงินบาทจำนวนมากเพื่อมาซื้อสินค้าจากฝั่งไทย ก็ต้องผ่านการตรวจสอบและขออนุญาตจากทางรัฐมากขึ้น เริ่มมีมาตรการตรวจสอบการซื้อสินค้าของบุคคลธรรมดาที่ขับรถข้ามมาเที่ยวฝั่งไทยอย่างละเอียด รวมถึงการรณรงค์ให้ใช้เงินกีบและซื้อของที่ผลิตในประเทศ

คุณเผดิมเดช มั่งคั่ง นักวิชาการศุลกากร ด่านศุลกากรหนองคาย ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ต่อไปนี้เราต้องเลิกมองแค่ว่าคนลาวเป็นลูกค้า เพราะลูกค้าถึงวันหนึ่งเขาก็มีทางเลือกจะไปซื้อสินค้าของพ่อค้ารายอื่น แต่เราต้องมองให้เขาเป็นนักลงทุน มาลงทุนค้าขายหรือผลิตสินค้าร่วมกับเรา หากเขาได้มาเป็นเจ้าของร่วมกันกับเราแล้ว เงินของเขาที่มาใช้จ่าย ก็เหมือนได้กลับคืนไป และสามารถนำมาใช้จ่ายใหม่ได้ตลอด ไม่ใช่เพียงจ่ายเงินไปซื้อของๆ คนอื่น แต่เป็นการอุดหนุนสินค้าของตัวเอง

อีกวิธีการหนึ่งที่อาจช่วยลดความตึงเครียดของดุลการค้าชายแดนคือ การนำมูลค่าการซื้อไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้ามาคำนวณเป็นมูลค่าการค้าชายแดนด้วย เนื่องจากประเทศ ไทยได้พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนของประเทศลาวคิดเป็นมูลค่าซื้อไฟฟ้าจำนวนมากถึงปีละ 25,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งถ้านำมาหักลบกับมูลค่าส่งออกแล้ว จะช่วยลดตัวเลขได้เปรียบดุลการค้าได้หลายส่วน

สุดท้ายคือ เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแนวคิด จากการค้าเพื่อได้เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการค้าเพื่อเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน และร่ำรวยไปด้วยกันเพื่อสร้างความยั่งยืนของการค้าชายแดน

ที่มา.มติชน
////////////////////////////////////////////////////////////////

อุกฤษ มงคลนาวิน : ชี้คนทำรัฐประหารไม่มีแผ่นดินอยู่ !!??

"อุกฤษ"เผยทำงานแบบผู้ให้ ไม่มีผลประโยชน์ ย้ำการทำรัฐประหารปัจจุบันไม่ง่าย ชี้ประชาชนรู้ข่าวสารหมด ลั่นใครคิดทำจะไม่มีแผ่นดินอยู่

คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง "คอ.นธ. เพื่อประชาชน" โดยมีนายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคอ.นธ. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และเสวนาผลการดำเนินการของคอ.นธ.ว่า วันนี้เป็นวันที่คอ.นธ.ครบ 2 ปี แต่ต้องลบออก 3 เดือนเพราะติดช่วงสถานการณ์น้ำท่วม ส่วนคอ.นธ.รอบ 2 ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติคงไม่มีน้ำท่วม เพราะจะได้ทำงานเต็มที่ อย่างไรก็ตามการทำงานของคอ.นธ.เราเป็นคณะกรรมการชุดที่เป็นผู้ให้ ไม่ได้เป็นผู้รับ อาทิเช่น เราไม่มีการรับเบี้ยประชุม และเวลามีการประชุม หรือรับประทานอาหารก็จะใช้ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ทั้งนี้การปกครองด้วยระบบนิติธรรมอย่างเดียวในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต้องมีระบบทำนองครองธรรมด้วย ถึงอย่างไรก็ดีการทำงาน 2 ปีของคอ.นธ. ก็ให้รัฐบาลเป็นผู้ประเมินผล ซึ่งหลังจากครบ 2 ปี ก็ได้มีคนของรัฐบาล 6-7 คน มาขอร้องให้คณะกรรมการคอ.นธ.ชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อไปเพื่อช่วยบ้านเมือง

ถ้าเราทำให้ประชาชนมีความสุข มีความเรียบร้อย มีความยุติธรรม มีมาตรฐานเดียว เมื่อนั้นพวกเราจะนอนตายตาหลับ ซึ่งสิ่งที่คอ.นธ.ทำไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร แต่มีความสุขที่ได้ทำ ทั้งนี้เราใช้เงินน้อย เพราะไม่มีเงินตำแน่ง ไม่มีรถประจำตำแหน่ง ไม่มีเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นงบประมาณที่ตั้งไว้ให้แต่ละปีเหลือทุกปี เราไม่ใช่นักบริหาร จึงบริหารงบประมาณไม่เป็น อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่ขอให้นึกถึงประชาชน ขอให้ทุกคนเป็นผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ"นายอุกฤษ กล่าว

โดยภายลังเสร็จสิ้นงานเสวนา ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ กล่าวถึงการครบรอบ 7 ปีการรัฐประหาร 19 ก.ย. ว่า ในมุมมองของตนการรัฐประหารในเดือนก.ย.ในขณะนั้น ต่อมาในดือนพ.ย.-ธ.ค. ตนก็ได้ออกรายการทีวีให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำรัฐประหารไว้ชัดเจนแล้วว่า การทำรัฐประหารในครั้งนั้นทำให้บ้านเมืองเสียหายอย่างมาก เพราะเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม รวมถึงเรื่องระหว่างประเทศด้วย เพราะในปัจจุบันโลกเสรีเขาไม่ยอมรับการรัฐประหารแล้ว แต่ในขณะนั้นคงไม่มีใครกล้าพูดเท่าไหร่ แต่ตนก็ได้พูดเตือนแล้วว่าทีหลังอย่าทำอีก ถ้าทำบ้านเมืองจะเสียหายอีกเยอะ

อย่างไรก็ตามจากการทำรัฐประหารในปี 2549 ผู้ที่ทำรัฐประหารก็ยอมรับแล้วว่า คิดผิดที่ทำรัฐประหาร เพราะทำให้บ้านเมืองเสียหายจริง และปัญหาความแตกแยกที่คิดว่าจะทำให้ดีขึ้นกลับทำให้แตกแยกระเอียดมากกว่าเดิม

ส่วนคนที่มองว่าไม่มีใครชอบการทำรัฐประหารแต่ในขณะนั้นถ้าไม่หยุดด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ นายอุกฤษ กล่าวว่า ไม่จริงเลย ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงภายหลังการรัฐประหารที่มีการเลือกตั้งทำไมคนไม่สนับสนุน แม้กระทั่งหัวหน้าการทำรัฐประหารเองที่มีการตั้งพรรคการเมือง นั้นก็แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่เอาด้วย

ส่วนสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดขึ้นอีก เพราะที่ผ่านมามีการปล่อยข่าวมาเป็นระยะจากฝ่ายการเมืองนายอุกฤษ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญคือเรื่องข่าวที่สื่อขยายข่าวออกไปเป็นวงกว้างมากขึ้น แต่ตนไม่ได้ตำหนิสื่อ แต่สื่อต้องฟังหูไว้หู และต้องศึกษาประวัติศาสตร์บ้าง และเวลาใครปล่อยข่าวอะไรออกมาก็ให้มีการกรองข่าวบ้าง เพราะการออกข่าวไปแบบไม่ได้มีการกรองข่าวก็เหมือนเป็นยาพิษให้แก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตามการรัฐประหารในปัจจุบัน ต่อไปใครที่คิดจะแก้ปัญหาด้วยการใช้กำลัง ประเทศไหนก็ตาม ไม่ง่ายเหมือนในอดีตแล้ว เพราะประชาชนรู้ข้อมูลทุกอย่างจากสื่อหมดแล้ว และถ้ามีการทำรัฐประหารก็จะมีคนต่อต้าน และผู้ที่ทำรัฐประหารจะไม่มีแผ่นดินอยู่แน่นอน

"ตั้งแต่ปี 2540 หมดสมัยไปแล้วที่จะมาใช้วิธีการทำรัฐประหาร ต้องเดินหน้าได้แล้ว เพราะเดี๋ยวนี้เราถอยหลังกลับไปอยู่หลังประเทศพม่า ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมาก เพราะเราเป็นคนนำ ทั้งนี้ถ้านักการเมืองบ้านเราเล่นการเมือง เหมือนกับเล่นกีฬา ที่ต้องทำตามกฎกติกามารยาท และไม่มีอคติ การเมืองก็จะเดินไปได้ และทุกปัญหาจะไม่เกิด บ้านเมืองเราตอนนี้เหมือนเราประคองสถานการณ์ไว้ ขอให้หวังดีกับบ้านเมือง หวังดีกับประชาชน และอย่าหวังว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยในเวลาอันรวดเร็ว แต่เมื่อทุกอย่างถึงจุดวิกฤติสุดแล้วทุกอย่างจะดีเอง.

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กนอ.ชงบอร์ดตั้งนิคม !!??

 กนอ.เล็งชงบอร์ดอนุมัติ 2 โครงการตั้งนิคมเอสเอ็มอีที่นครราชสีมาและนครพนม ภายในเดือน ก.ย.56 นี้ คาดมีมูลค่าลงทุนกว่า 2.4 แสนล้านบาท เผยความคืบหน้าการส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมาเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เริ่มแล้ว 15 แห่ง ยันภายในสิ้นปีนี้จะเป็น 18 แห่ง
   
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน ก.ย.นี้จะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กนอ.พิจารณากรณีที่เอกชนยื่นขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 13 โครงการ พื้นที่รวม 30,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าการจัดตั้งนิคมฯ แห่งใหม่จะทำให้มีเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวม 240,000 ล้านบาทในช่วง 2 ปี
   
โดยเฉพาะในส่วนของนิคมฯ พลังงานทางเลือกนั้น มีเอกชนเสนอมา 2 โครงการในจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ 1,000 ไร่ ลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาท เป็นพื้นที่พัฒนามันสำปะหลังครบวงจร ตั้งแต่โรงงานมันฯ โรงงานผลิตไฟฟ้า เอทานอล รวมแล้วจะมีกว่า 10 โรงงาน ส่วนอีกที่จังหวัดนครพนม พื้นที่ 470 ไร่ ใช้ยางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ
   
ทั้งนี้ 2 โครงการ เป็น 1 ใน 13 โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่ที่ภาคเอกชนเสนอ และผ่านการคัดเลือก ซึ่ง ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. - 13 พ.ค.2556 กนอ.ได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีทั่วประเทศ นิคมอุตสาหกรรมบริหารด้านโลจิสติกส์อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีผู้สมัคร 28 โครงการ แต่ผ่านเกณฑ์คัดกรอง 13 โครงการ แยกเป็นนิคมฯ เอสเอ็มอี 5 โครงการ นิคมฯ เชียงของ 2 โครงการ และนิคมฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 โครงการ
   
นายวีรพงศ์กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบ Eco Industrial Town หรือนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ว่า ปัจจุบันรณรงค์ไปแล้ว 15 แห่ง และภายในสิ้นปีนี้จะเป็น 18 แห่ง โดยมีเป้าหมายรณรงค์ปีละ 3 แห่ง จากนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 48 แห่ง นอกจากนี้ จะทบทวนนิมคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ดำเนินการไปแล้วจำนวน 10 แห่ง เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐานที่ดีมากขึ้น เนื่องจากการประเมินนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง 15 แห่ง พบว่ายังอยู่ในระดับ 2 ดาวจำนวน 3 แห่ง และระบดับ 3 ดาวจำนวน 12 แห่ง ดังนั้น กนอ.ต้องการให้นิคมอุตสาหกรรมขึ้นมาอยู่ในระดับ 5 ดาว โดยตั้งงบประมาณการยกระดับนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวไว้ที่ 8 ล้านบาท.

ที่มา.ไทยโพสต์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

อีโง่. ความอับจนปัญญาของ อภิสิทธิ์ !!??

โดย. นพคุณ ศิลาเณร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี ยังคงนิ่งเงียบ ไม่ต่อล้อ ต่อปากกับคำพูดเหน็บแนมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์

เธอคงไม่ใส่ใจคำพูดดูถูก แต่นำคณะ รัฐบาลและนักธุรกิจไปเยือนสมาพันธรัฐสวิส สาธารณรัฐอิตาลี นครรัฐวาติกัน และสาธารณรัฐมอนเตเนโกรอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-15 ก.ย.นี้

"อีโง่..." นายอภิสิทธิ์เน้นคำพูดเชิงด่า ไม่รู้ว่าหมายถึงใคร แต่สรรพนามคำนี้ บรรจุอยู่ในการพูดถึงบทบาทของ น.ส. ยิ่งลักษณ์

นายอภิสิทธิ์ พูดบนเวทีเดินหน้าผ่าความจริงที่โรงเรียนวัดดอกไม้ ถ.พระราม 3 เขตยานนาวา กรุงเทพฯ วันที่ 7 กันยายน 2556 ว่า

"นายกรัฐมนตรีก็หลบเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ผมก็ดูไม่ออกครับว่าที่อยู่ในประ- เทศมา 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ไปทำอะไรบ้าง เมื่อเช้าเห็นแว้บๆ มีข่าวไปทำอะไร โครง การอะไร Smart Lady แปลว่าอะไร ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมดหรอกครับ เหมือนกับว่า จะประกวดใช่มั้ย หา Smart Lady แปลว่าอะไร Smart lady นี่ผมถามอภิมงคล (ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ส.ส. ประชา ธิปัตย์) แล้ว แปลว่าผู้หญิงฉลาด แต่นี่ผม ก็ถามว่า อ้าว แล้วถ้าทำโครงการนี้เนี่ย ทำไมต้องทำ ทำไมต้องหาผู้หญิงฉลาด ทำไมต้องประกวดผู้หญิงฉลาด เพราะว่าเขาบอกว่า ถ้าแข่งขันหาอีโง่ ไม่มีใครไปแข่งได้"

"อีโง่" ในคำพูดเต็มๆของอภิสิทธิ์มีความหมายแอบแฝง แปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากระบุถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์

+ องค์กรสตรีเตือนนิ่มๆ

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล โดย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการออกโรงเตือนสติอภิสิทธิ์แบบนิ่มนวล ว่า คำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ ดูถูกผู้หญิงเกินไป พูดไม่ให้เกียรติผู้หญิง ผลที่ตามมาทำให้ภาพลักษณ์นายอภิสิทธิ์ดูไม่ดี เหมือน ไม่ให้เกียรติผู้หญิง เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นการดูถูกผู้หญิงทั้งหมด ซึ่งต้องระวัง

"การพูดในลักษณะเช่นนี้หลายครั้ง ทำให้ไม่สามารถคาดหวังถึงการตรวจสอบ โครงการต่างๆ ของรัฐบาลจากพรรคฝ่าย ค้านได้ นอกจากนี้การวิจารณ์เช่นนี้ยังสะท้อน ถึงวุฒิภาวะของคนพูดว่าใช้สติปัญญาในการพูดมากน้อยขนาดไหน ยิ่งพูดต่อหน้าคนจำนวนมากยิ่งต้องระวัง" นายจะเด็จระบุ

เมื่อกลุ่มสตรีนำ "วิถีเพศ" มาขยายผลวิจารณ์คำพูดของ "ชาย" ชื่ออภิสิทธ์ที่ดูถูก "หญิง" ว่าไม่เหมาะสม แต่เขากลับ ลอยหน้าลอยตาโต้กลับว่า พูดตามที่เห็นในกูเกิล ไม่ได้พูดถึงใคร และไม่ทราบว่ามีใครร้อนตัวหรือไม่

"การประกวดสมาร์ท เลดี้ แปลว่า ผู้หญิงฉลาด ก็ถูกแล้ว เขาคงไม่ประกวด อีโง่ ดังนั้นจึงไม่ทราบว่าเกี่ยวอะไรกับการ ดูถูกผู้หญิง"

"อีโง่" ไม่ต้องระบุตรงๆ ก็ได้ว่าใครเดือดร้อน เพราะ "อี" เป็นคำพูดเชิง "ดูถูก" ที่กระทำต่อ "หญิง"

และหญิงประเภท "แม่" ย่อมเดือด ร้อนกันทุกคน สิ่งที่หญิงออกมาประณาม "อภิสิทธิ์" หนุ่มนักเรียนนอก ผู้มากความ ฉลาด เคยเป็นนายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรม แบบอย่างให้สังคมยึดถือ ไม่สมควรพูดในสิ่ง "โง่ๆ" ออกจากปาก

เรื่องแค่นี้ "อภิสิทธิ์" ยังไม่รู้ แล้วยังมาลอยหน้าลอยตา ทำเป็น "ดื้อตาใส" ไม่ได้ว่าใครเฉพาะเจาะจงกระนั้นหรือ?

อภิสิทธิ์อ้างพูดตามกูเกิล และในกูเกิลเต็มไปด้วยคำด่ายิ่งลักษณ์ว่า อีโง่ และ ลีน่า จัง คือคนที่โดดเด่นที่สุดในกระบวนการด่านั้น

ตรรกง่ายๆ มีว่า อภิสิทธิ์ได้เดินมาถึงจุดที่มีระดับสมองเท่ากับ "ลีน่า จัง" เสียแล้ว น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับพรรคประชาธิปัตย์

+ "โอ๊ค" ป้อง "อาปู"

ในสื่อสารโลกออนไลน์ นำคำพูดของ อภิสิทธิ์ไปวิจารณ์ โจมตีถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง เต็มไปด้วยรสชาติมันๆ

การตอบโต้คำพูดที่ไร้วุฒิภาวะเช่นนั้น ถึงกับระบุว่า "ถ้ายิ่งลักษณ์โง่ แต่อภิสิทธิ์แพ้เลือกตั้ง แล้วจะเรียกว่าอะไร"

คำตอบล้วนอยู่ในใจ และย่อมเข้าใจ ตรงกันแน่แท้...

"โอ๊ค" พานทองแท้ ชินวัตร ตัวช่วย "อาปู-ยิ่งลักษณ์" ตอบโต้อภิสิทธิ์ในเพจทันท่วงที เขาระบุว่า ผู้ที่ชอบตีโพยตีพาย คิดไปเองว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น ฉลาดล้ำ กว่าคนอื่น เป็นผู้แพ้แต่ดันไปกระแหนะกระแหนผู้ชนะว่าโง่นั้น ต้องระวังความโง่มันจะย้อนเข้าตัว

"ถ้าหากคนชนะไปเยาะเย้ยคนแพ้ว่าโง่ สังคมก็จะประณามครับ ถือว่าไม่ใช่ลูกผู้ชาย ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา แต่เหตุ การณ์นี้กลับยิ่งตาลปัตรหนักกว่าเดิมอีก คนชนะอยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ก้มหน้าก้มตาตั้งใจทำงาน แต่คนแพ้กลับมาพูดจาเยาะเย้ยถากถางคนชนะว่าโง่ ถ้าเขา ย้อนกลับมาว่า ถ้าคนชนะยังเรียกว่าโง่ แล้วคนแพ้จะเรียกว่าอะไรดี"

อีโง่จึงถูกลากไปสู่อารมณ์เก็บกดทางการเมือง เหมือนเด็กน้อยเต็มไปด้วยปัญหาทางใจ อยากได้ "เก้าอี้นายกรัฐมนตรี" มาครอง แต่กลับจนด้วยปัญญา

ว่ากันด้วยอารมณ์การเมืองแล้ว ช่วง หลังๆ อภิสิทธิ์และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์หลายคน ล้วนออกอาการผิดสำแดง ในจุดยืน 66 ปีของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างยิ่ง

จุดยืนพรรคประชาธิปัตย์ ในทางเปิดแล้ว เมื่อเป็นฝ่ายค้าน จะค้านชนิดหัวชนฝาในสภา เมื่อไม่ชนะ จะเดินเกมการ เมืองในทางลับ แอบหนุนพลังอำนาจมวล ชนนอกสภา และกลุ่มอำนาจนอกระบบมา จัดการโค่นรัฐบาล

แต่ในช่วงนี้อภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์ ไม่มีการเมืองในด้านลับเสียแล้ว เพราะกลุ่ม พลังมวลชนไม่มีใครเล่นด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงเปิดหน้าเล่นโต้งๆ ไม่มีเหนียมอายกับการต่อสู้ข้างถนน ลืมตามแบบฉบับผู้ดีที่ยึดถือ เชื่อมั่นระบอบรัฐสภาไปสิ้น

อภิสิทธิ์-ชวน หลีกภัย-สุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนำคนสำคัญ ออกมาเล่น การเมืองข้างถนน เดินนำหน้ามวลชนเข้า สภา จนสร้างความตกตะลึงให้ผู้นำประเทศ ประชาธิปไตยทั่วโลกมึนงงกัน

ในห้องประชุมสภา ส.ส.ประชาธิปัตย์ออกอาการอารมณ์เถื่อนดิบ ถ่อย ทุ่ม เก้าอี้ระบายความโกรธ ฉีกเอกสาร โยน กองหนังสือ ใช้คำพูดด่ากราดประธานสภา ถูกอุ้ม บีบคอ ต่อยหน้าตำรวจสภา ขึ้นเวที ม็อบกองทัพประชาชนที่สวนลุมพินี ปลุกมวลชนนอกสภามาโค่นรัฐบาล ตระเวนกล่อมกลุ่มมวลชนมาตั้งเวทีปฏิรูประบอบทักษิณ...

กระทั่งถึง "อีโง่" ดูถูกผู้หญิง สารพัดที่พวกเขากระทำต่อรัฐบาล ราวกับมีปัญหาเก็บกดทางใจ

+ ทักษิณเปลี่ยน-ปชป.อับจนปัญญา

พฤติกรรมห่ามๆ สะท้อน "ความอับจนทางปัญญา" เช่นนั้น เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แกนนำพรรคไม่ตำหนิ ส.ส.ของพรรค และนับวันมีแต่หนักข้อขึ้นไปทุกขณะ

ประชาธิปัตย์เกิดมาแล้ว 66 ปี ไม่คิดเปลี่ยนแปลง ให้เข้ากับสังคมเปลี่ยนใหม่ พรรคเก่าแก่พรรคนี้มีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากนักการเมืองที่กิน "มรดก" ไปวันๆ จึงออกอาการล้าหลังไปเรื่อยๆ

ประชาธิปัตย์ ยากจะชนะทางการเมืองในอนาคตอันใกล้นี้ได้อีกแล้ว หากไม่เปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้สอดคล้อง กับสังคมไทยที่เปลี่ยนไปไกลหลายช่วงตัว พวกเขาเอาแต่จมปลัก หมกมุ่นต่อต้านระบอบทักษิณ โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ด้วย ปากที่ไม่เชื่อมโยงกับสมอง

วันนี้ยิ่งลักษณ์เอาแต่เงียบ ทักษิณเปลี่ยนการต่อสู้ทางการเมืองหนีไปไกล จน ประชาธิปัตย์มองไม่เห็นฝุ่นแล้ว

โปรดสังเกต ขณะนี้ทักษิณเงียบสงบ ไม่พูดพร่ำเพรื่อเหมือนเดิม ไม่ตอบโต้ข้อกล่าวหาของประชาธิปัตย์

ประชาธิปัตย์จะถ่อย กักขฬะในสภา ขนาดไหน ม็อบการเมืองสวนยางต้อง การโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างไร

ทักษิณยังเงียบ ไม่มีความเห็นใดหลุดจากปากเหมือนเดิมอีกแล้ว

นี่คือ ยุทธวิธีใหม่ของทักษิณที่เปลี่ยนไป แต่ประชาธิปัตย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว จะตามทันได้เช่นใด

เพจของทักษิณในขณะนี้มีคนติดตามกว่าล้านคน เนื้อหาในเพจมีแต่การรายงานภารกิจเดินหน้าหาลู่ทางทำให้ประเทศ เจริญอย่างเดียว

ล่าสุด ทักษิณเขียนในเพจถึงการเดิน ทางไปประเทศอิตาลี ไปประชุมกับทีมงาน ที่จ้างด้วยเงินส่วนตัวเพื่อหาลู่ทางว่า "จะใช้ศักยภาพคนไทยให้ผลิตของสู่ตลาดโลก โดยมีคุณภาพสูง มี design ที่ดี และในที่สุดมี Brand Name ระดับโลก...."

สรุปว่าการจ้างทีมงานชุดนี้ เพื่อช่วยประเทศไทย เตรียมตัวยกระดับธุรกิจ SMEs และ OTOP รวมทั้งเด็กไทยที่กำลังเรียนแล้วจะเป็นอนาคตของประเทศ ให้พร้อมเข้าสู่ Creative Economy หรือ เศรษฐกิจที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำมาหากินนั่นเอง

ทักษิณไปไกลแล้ว และเปลี่ยนยุทธวิธีการต่อสู้ทางการเมืองทิ้งห่างประชาธิปัตย์ไปไกลจนสุดกู่

ส่วนประชาธิปัตย์ ยังงมโข่งอยู่กับอารมณ์เถื่อนดิบ ราวกับอยู่ในยุคสังคมชนเผ่า ชอบออกแรงระบายแค้น ปลุกมวลชนออกมาต่อสู้ สะใจกับม็อบสวนยางปิดถนน ปิดทางรถไฟ และดูถูกสตรีว่า "อีโง่..."

มรดกพรรคการเมืองเก่าแก่ถูกใช้ไปทุกวัน จนแทบไม่มีเหลืออีกแล้ว ไม่คิดเปลี่ยนแปลงวิธีต่อสู้ทางการเมืองให้สอด คล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

เลือกตั้งกี่ครั้ง คงแพ้และสะสมแค้น แน่นอกไปเรื่อยๆ สักวันคงระเบิดแล้วจึงจะเกิดปัญญาว่า พลาดไปแล้ว

ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

นักท่องเที่ยว บนเส้นทาง R3A !!??

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ ณ นครคุนหมิง เปิดเผยถึงจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ชอบขับรถยนต์มาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่า ในปี 2556 จะมีจำนวนถึง 20,000 คน

+ R3A-คุนมั่น กงลู่

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ชอบขับรถยนต์เข้าประเทศไทย โดยใช้เส้นทาง R3A ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นมา "เส้นทาง R3A หรือ คุนมั่น กงลู่" คือเส้นทางเชื่อมคุนหมิง-กรุงเทพฯ มีต้นทางเริ่มจากนครคุนหมิง-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง-บ่อหาน ในแคว้นสิบสองปันนา เข้าสู่ประเทศลาวที่บ่อเต็น-หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว-จากนั้นเข้าสู่ประเทศไทยที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย เรื่อยมาจนกระทั่งถึงกรุงเทพฯ ระยะทางจากคุนหมิง ถึงกรุงเทพฯ รวมประมาณ 1,800 กิโลเมตร ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขับรถยนต์ผ่านเส้นทางนี้มีประมาณ 8,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 13,000 คน ในปี 2555 คาดว่าในปี 2556 จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 คน คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 40 ต่อปี

ด้วยความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ทำให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวในรูปแบบ ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ธรรมชาติที่สวยงามคุ้มค่ากับการเดินทางมา ตลอดจนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขาซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักท่องเที่ยว ใน 5 เดือนแรกของปี 2556 มีชาวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย แล้วกว่า 1.5 ล้านคน คาดว่าจะมีนักท่อง-เที่ยวจีนเดินทางมายังไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ในปีนี้ หรือประมาณ 3.3 ล้านคน

จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้น รัฐบาลจีนได้พัฒนามณฑลยูนนานให้เป็นเมืองเศรษฐกิจทางตอนใต้ของประเทศ เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มความ ร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของ 4 ประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือของไทย ลาว พม่า และภาคใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน) ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้าภายในภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อจีนได้บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายมูลค่าทางการค้าระหว่างภูมิภาคที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เช่น การค้าขายข้ามประเทศ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นเส้นทางการขนส่งที่น่าจับตามองมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย

+ สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 ใกล้ เสร็จแล้ว

เส้นทาง R3A คุนหมิง-บ่อหาน (จีน)-บ่อเต็น-ห้วยทราย (สปป.ลาว)-เชียงของ-กรุงเทพฯ (ไทย) อยู่ภายใต้กรอบเส้นทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) และขณะนี้การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ใกล้จะแล้วเสร็จ (ธันวาคม 2556) จะทำให้เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยในอนาคต โดยเฉพาะการขนส่งผักผลไม้จากไทยไปสู่เมืองคุนหมิงและกวางโจวของจีน รวมทั้งการขนส่งยางพาราจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยไปยังจีนตอนใต้ โดยเฉพาะเมืองฉงชิ่ง ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์และยางล้อรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน โดยการขนส่งจากกรุงเทพฯ สู่นครคุนหมิงจะใช้เวลาเพียง 30 ชั่วโมง เทียบกับการขนส่งผ่านแม่นํ้าโขงที่ใช้เวลาถึง 70 ชั่วโมง

ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////

อีโง่ !!??

โดย.ศรี อินทปันตี

เมื่อวันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ไปกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ ๒๔ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ปกติแล้วข่าวเรื่องนี้เป็นข่าวเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง โดยหากไม่ได้ดูถึงเนื้อหาที่นายกรัฐมนตรีพูดแล้ว ก็แทบจะไม่น่าสนใจอะไรนัก แต่ที่ต้องหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงก็เป็นเพราะว่า...

คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยไทย ที่ได้รับเกียรติจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติให้ไปกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมอันมีความสำคัญยิ่งระหว่างประเทศองค์กรนั้น

และมันก็บังเอิญประจวบเหมาะกับการ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอ่ยคำว่า “อีโง่” ออกมาอย่างตั้งอกตั้งใจและชัดถ้อยชัดคำ เมื่อกล่าวถึงภารกิจของนายกรัฐมนตรีในการไปเป็นประธานการประกวดสมาร์ทเลดี้ จนถูกสวดชยันโตไล่ผีป่ากันทั้งบ้านเมือง

เลยต้องสนใจมาวิพากษณ์วิจารณ์กันว่า...ทำไมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจึงเชิญคนโง่ๆ ไปกล่าวคำปราศรัย หรือว่าองค์กรระดับโลกดังกล่าวมันโง่กันถึงขนาดที่ไอคิวอยู่ในระดับแค่ ๓๕ (เท่ากับไอคิวควาย)

เพราะถ้าฉลาดแล้ว ทำไมจึงไม่เคยเชิญนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ของประเทศไทย รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปกล่าวคำปราศรัยกันบ้าง

ในคำปราศรัยต่อที่ประชุมดังกล่าวนั้น คุณยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของประชาธิปไตย และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องยึดหลักประชาธิปไตย ไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย รัฐบาลต้องคงไว้ซึ่งการสนับสนุนคุณค่าประชาธิปไตยด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

คำพูดของคุณยิ่งลักษณ์ มันทำให้นึกถึงการกระทำของ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหารและสั่งใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมมือเปล่าเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ อัน
เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งโลก

เหตุนี้กระมังเขาจึงไม่เคยเชิญคุณอภิสิทธิ์ไปกล่าวคำปราศรัย

เพราะมิฉะนั้นแล้วคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คงจะได้รับฟังตรรกะอันพิลึกพิลั่นเฉกเช่นเดียวกับตรรกะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนการที่รัฐบาลใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชนของตัวเอง

เป็นที่ยอมรับกันว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐหญิงที่ได้รับการยกย่องว่า “Beautiful and smart” คือ ทั้งสวยทั้งเก่ง

ทั้งนี้ ๒ ปีของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากคนที่เคยเป็นแค่นักธุรกิจและแม่บ้านที่รู้เรื่องการเมืองแบบงูๆปลาๆ คุณยิ่งลักษณ์ได้พิสูจน์ให้ถึงความสามารถในการเป็นผู้นำอย่างแท้จริง

นอกจากจะเป็นที่ยอมรับของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนแล้ว ผู้นำทั่วโลกก็ยอมรับความจริงข้อนี้ด้วย

ก็คงไม่ใช่คนโง่หรอก

ที่มา.บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////

นโยบายสินค้าเกษตร ที่ พท.หาเสียงไว้ ไปถึงไหนแล้ว !!??

ยังไม่ทันปรับโหมดจากการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ อยู่ระหว่างเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางด้วยการเปิดให้เกษตรกรมาลงทะเบียน ก่อนจ่ายเงินอุดหนุนปัจจัยการผลิต 2,520 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2556-มี.ค. 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 10 ก.ย.

ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดก็กำลังเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวโพดตกต่ำ และมีแนวโน้มว่าม็อบยางพาราจะถูกใช้เป็นโมเดลต้นแบบในการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ไม่รวมสินค้าเกษตรอื่นอีกหลายรายการที่อาจมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน

ทำให้คณะกรรมการนโยบายพืชผลทางการเกษตรที่มีอยู่หลายสิบชุด ทั้งคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่มีรายชื่อซ้ำซ้อน มีงานแก้โจทย์ราคาพืชผลตกต่ำล้นมือ ไม่ต่างจาก ฯพณฯ ท่านรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจที่นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายแทนนายกฯ เกือบทุกชุดก็ล้วนมีงานล้นมือ

แทนที่คณะกรรมการนโยบายจะได้ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ หรือวางแผน วางยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรในระยะยาว ซึ่งน่าจะเป็นภารกิจหลักสอดรับกับวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแต่ละชุด กลับต้องรับบทหนักคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สาละวนอยู่กับการแก้โจทย์ราคาพืชผลตกต่ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลให้หน้าที่หลักอย่างการปรับเปลี่ยนขับเคลื่อนแผนหรือยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นภารกิจรอง ต้องเร่งแก้ปัญหาปลายน้ำแทนการจัดระเบียบ บริหารจัดการสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น และน่าจะสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรได้ในระยะยาว

ขณะเดียวกัน การแก้ไขพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ซึ่งมักเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อลดแรงกดดันทางการเมือง และพยายามไม่ให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรขยายวงกระทบเศรษฐกิจ รัฐบาลมักใช้วิธีเจรจาต่อรอง และจบลงโดยรัฐต้องควักเงินงบประมาณอุดหนุนชดเชยเป็นประจำทุกฤดูการผลิต นับวันยิ่งกลายเป็นภาระหนัก ทำให้รัฐมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น จนน่าห่วงว่าถึงจุดหนึ่งภาระในการอุดหนุนแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรอาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้สาธารณะ ในส่วนนี้โครงการประชานิยมรับจำนำข้าวทุกเมล็ดน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างชี้ให้เห็นถึงความสุ่มเสี่ยงที่จะมีตามมาได้เป็นอย่างดี

เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรทั้งระบบในระยะยาว รัฐบาลจำต้องเร่งทบทวนบทบาทด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านการเกษตรทั้งระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การแปรูป การตลาด โดยจัดทำแผนและมาตรการส่งเสริมสนับสนุน ตลอดจนการป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นรายสินค้า ขณะเดียวกัน ก็เร่งพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำการประมง ก้าวสู่เป้าหมายการยกระดับรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย แทนที่จะมุ่งแก้โจทย์เฉพาะหน้า แต่สั่งสมปัญหาใหญ่ให้ต้องตามแก้ในระยะยาว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////

กิตติรัตน์ ชี้ลด EQ หนุนส่งออกไทย Kbank หั่นเป้าจีดีพีเหลือ 3.7% !!??

กิตติรัตน์.ชี้เฟดลดคิวอีสะท้อนเศรษฐกิจโลกฟื้น ช่วยส่งออกไทย "กสิกร"ลดเป้าจีดีพีปีนี้รอบ 4 เหลือ 3.7% ชี้หลายปัจจัยเสี่ยงพลิก สศค.ย้ำเงินเฟ้อต่ำ เอื้อ กนง.ลดดอกเบี้ย เชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงบาทอ่อน ยันแบงก์เข้มสินเชื่อ ช่วยคุมหนี้ครัวเรือน

นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 เหลือ 3.7% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 4 ในรอบปีนี้ เพราะมีหลายปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมากทั้งคิวอี เศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มถึงจุดต่ำสุด และกลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ มองว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังมีโอกาสเติบโต 4.5% ซึ่งมาจากด้านส่งออกเป็นสำคัญ

นางพิมลวรรณกล่าวว่า ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย แม้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจะไม่สูง แต่การขึ้นดอกเบี้ยในสถานการณ์ที่เงินทุนไหลออก และประเทศอื่นในภูมิภาคเริ่มขึ้นดอกเบี้ย จะส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาเรื่องลดดอกเบี้ยยาก ซึ่งการลดดอกเบี้ยอาจมีผลต่อการไหลออกของเงินทุนและภาวะหนี้ครัวเรือน โดยมองว่าในครึ่งปีหลังของปีหน้า หากสหรัฐฟื้นและเริ่มขึ้นดอกเบี้ย ดอกเบี้ยไทยอาจปรับขึ้นอีก 0.5%

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่ล่าสุดเดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.75% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.59% นับเป็นช่องว่างให้สามารถดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% กนง.สามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีก โดย กนง.จะมีการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 16 ตุลาคมนี้

นายเอกนิติกล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง จะยิ่งจูงใจให้คนกู้เงิน จนทำให้หนี้สินภาคครัวเรือนเร่งตัวขึ้นนั้น ขณะนี้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จนเริ่มเห็นแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อชะลอลง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่บทความอินเตอร์เนชันแนล สปิลล์โอเวอร์ส ของการดำเนินและยุติมาตรการคิวอี (มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ) โดย น.ส.ธนภรณ์ หิรัญวงศ์ เศรษฐกรอาวุโส และนายวิทิต สินสัตยกูล เศรษฐกรฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.ระบุว่า หากไทยสามารถรักษาบรรยากาศการลงทุนและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาวของประเทศได้ จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยได้

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด กล่าวว่า แม้ว่าตลาดจะรับข่าวการลดคิวอีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ตลาดทุนโลกยังต้องรับมือกับความผันผวนต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ตามสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าที่ระดับ 31.60 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงเช้าของวันที่ 16 กันยายน หลังจากปิดตลาดที่ระดับ 31.88 บาทต่อดอลลาร์ในปลายสัปดาห์ก่อน และคาดว่าช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์ โดยค่าความผันผวนของเงินบาทในปัจจุบันอยู่ที่ 6% มากกว่าปีก่อนหน้าที่มีค่าความผันผวนอยู่ที่ 4%

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะไทยดึงจีน รับมือราคายางตก !!??

อุตสาหกรรมยางพาราไทยน่าห่วง มาเลเซียประกาศเป้าหมายศูนย์กลางยางพาราโลกโค่นไทยหล่นแชมป์ อีกด้านจีนรุกคืบขยายพื้นที่ปลูกใน CLMV จับตาอนาคตลดนำเข้าจากไทยอื้อ นักวิชาการ-เอกชนประสานเสียงต้องเร่งขยายสัดส่วนปริมาณการใช้ในประเทศเป็นอย่างน้อย 20% ช่วยลดผลกระทบ ขณะเงินช่วยปัจจัยการผลิตยาง 2,520 บาทต่อไร่ยังชุลมุน รัฐสั่งตรวจเข้มเอกสารสิทธิ 46 ประเภท  ส่วนที่ไม่เข้าข่ายเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายแปลง

alt    จากที่ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางยางพาราของโลกใน ค.ศ. 2020 หรือ ปี 2563 โดยมีแผนงานยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ขณะที่ไทยในฐานะผู้ผลิต และส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์อันดับ 1 ของโลก (มูลค่าปี 2555 มูลค่ากว่า 6.5 แสนล้านบาท)ยังอยู่ในวังวนของการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

ชี้เด่นแค่ถุงมือยาง
   
ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า โดยศักยภาพของมาเลเซียแล้วไม่สามารถเป็นศูนย์กลางยางพาราของโลกได้ทุกด้าน ยกเว้นเป็นผู้นำด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทถุงมือยาง ที่ในปีที่ผ่านมาเลเซียสามารถส่งออกได้ถึงมูลค่า 1.06 แสนล้านบาท มีส่วนแบ่งในตลาดโลกสัดส่วนกว่า 50% และในปี 2563 มีเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดที่ 65% หรือจะมีมูลค่าส่งออกประมาณ 3 แสนล้านบาท ขณะที่จะส่งเสริมปลูกยางพาราเพิ่มเป็น 7.2 ล้านไร่ จากปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 6.3 ล้านไร่ การเพิ่มผลผลิตเป็น 314 กิโลกรัมต่อไร่ จากปัจจุบันมีผลผลิตเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้จะเพิ่มปริมาณผลผลิตยาง เป็น 1.8 ล้านตัน จากปีที่ผ่านมา มีผลผลิต 9.96 แสนตัน และเพิ่มการบริโภคยางในประเทศจาก 4.57 แสนตัน เป็น 1 ล้านตัน
   
มาเลเซียมีเพียงตัวเดียวที่ส่งออกได้เป็นอันดับ 1ของโลกคือถุงมือยางเท่านั้น ขณะที่ไทยส่งออกได้เป็นอันดับ 1 ของโลกหลายตัว ได้แก่  น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ถุงยางอนามัย และยางรถยนต์ ขณะที่พื้นที่ปลูก และผลผลิต และมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทยในปัจจุบันก็มากกว่า(ดูตารางประกอบ) แต่หากเราอยู่เฉยๆ จะได้รับผลกระทบแน่"
   
อย่างไรก็ดีสิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาคือ การเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ จากปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบยางในประเทศเพียง 13% (ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ปี 2556 ที่สัดส่วน 17%) และส่งออก 87%  และราคาส่งออกขึ้นกับตลาดโลก หากจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่(สัดส่วนประมาณ 40%ของการส่งออกโดยรวม) ไม่ซื้อ หรือลดการสั่งซื้อ รวมถึงตลาดโลกมีความผันผวนก็จะได้รับผลกระทบจากราคายางที่ลดลง และจะมีปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของเกษตรกรไม่รู้จบ ในเรื่องนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งผลักดันการเพิ่มปริมาณสัดส่วนใช้ยางในประเทศจาก 13% เป็นอย่างน้อย 20%  จากปีที่ผ่านมาใช้ในประเทศ 5 แสนตัน ให้เป็น 8 แสนตันในในอีก 5 ปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมได้อีก 8 แสนล้านบาท จากปัจจุบันทั้งห่วงโซ่อุปทานมีมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาท โดยต้องมุ่งสู่อุตสาหกรรมแปรรูปยางขั้นปลายที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดโลกให้มากขึ้น

จีนส่งสัญญาณลดนำเข้า
   
ดร.อัทธ์ ยังได้แสดงความเป็นห่วงอุตสาหกรรมยางพาราของไทยที่นอกจากอาจได้รับผลกระทบจากเป้าหมายเป็นศูนย์กลางยางพาราโลกของมาเลเซียแล้วยังมีผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรม ประกอบด้วยจีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ที่เวลานี้อยู่ระหว่างขยายพื้นที่ปลูกยางรวมกันเกือบ 20 ล้านไร่ ประกอบด้วยจีนปลูกแล้ว 6.9 ล้านไร่ เวียดนาม 5 ล้านไร่ ลาว 3 ล้านไร่ กัมพูชา เกือบ 2 ล้านไร่ และเมียนมาร์อีก 3 ล้านไร่ ซึ่งหากพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดซึ่งเท่ากับพื้นที่ปลูกยางของไทยหนึ่งประเทศสามารถกรีดได้ทั้งหมดในระยะเวลาอันใกล้นี้จะมีความเสี่ยงต่อการส่งออกยางพาราของไทย เนื่องจากยางในลาวส่วนใหญ่ 70-80% ปลูกโดยนักธุรกิจชาวจีน และปัจจุบันได้ตั้งโรงงานแปรรูปในลาวแล้ว 20% และในเวียดนามบางส่วนก็ปลูกโดยจีน ดังนั้นวัตถุดิบ หรือสินค้ายางที่ผลิตในประเทศเหล่านี้ในอนาคตจะถูกส่งป้อนให้กับจีนเป็นหลัก
   
โอกาสที่จีนจะลดการนำเข้ายางพาราจากไทยในอนาคต มีความเป็นไปได้สูง หากไทยไม่ปรับตัว แนวทางหนึ่งมองว่าไทยอาจดึงจีนมาร่วมตั้งเมืองอุตสาหกรรมยางหรือรับเบอร์ซิตี เพื่อดึงโรงงานแปรรูปของจีนมาตั้งในไทยช่วยเพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น"

ห่วงสารพัดปัญหาตัวฉุด
   
ขณะที่นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่มาเลเซียจะเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก เนื่องจากเวลานี้ประเทศไทยยังติดหล่มในหลายปัญหา เช่นกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดมากเกินไป ทำให้การไปตั้งโรงงานแปรรูปยางของเอกชนในหลายพื้นที่มีอุปสรรคล่าช้า จากถูกต่อต้านจากองค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) อีกด้านหนึ่งถูกการเมืองท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางแห่งเรียกรับผลประโยชน์, ปัญหาด้านแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ,ปัญหา กฎระเบียบการนำเข้ายางพาราจากเพื่อนบ้านมาแปรรูปในไทยมีความยุ่งยาก การเรียกเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรกรจากผู้ส่งออกยาง(เงินเซสส์) ในอัตราสูงแบบขั้นบันได 3-5 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่มาเลเซียเก็บอัตราเดียวที่ 1.40 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนอินโดนีเซียไม่เก็บ อาจทำให้ต่างชาติหนีไปลงทุนประเทศอื่น
   
ตัวอย่างปัญหาเหล่านี้เราต้องเร่งแก้ไข  ไม่เช่นนั้นไทยอาจสูญเสียความเป็นศูนย์กลางยางพาราของอาเซียน และของโลกให้กับมาเลเซียได้ เวลานี้จะเห็นได้จากมีสินค้ายางพาราของไทยทั้งจากระยอง สงขลา หาดใหญ่เล็ดลอดส่งออกที่ท่าเรือปีนังของมาเลเซียส่วนหนึ่งเลี่ยงจ่ายเงินเซสส์ ขณะที่มาเลเซียอำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรแบบวันสต็อปเซอร์วิส มีท่าเรือที่พร้อมส่งออกได้อย่างรวดเร็ว เทียบแล้วมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าที่ส่งออกจากไทยในเรื่องนี้ต้องพิจารณาเงินเซสส์ใหม่อาจเก็บอัตราเดียวเหมือนมาเลเซีย"

ตั้งรับเบอร์ซิตีตัวอย่าง
   
ด้านนายหลักชัย  กิตติพล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นต่างว่า โอกาสที่มาเลเซียจะเป็นศูนย์กลางยางพาราโลกคงเป็นไปได้ยาก เพราะมาเลเซียโดดเด่นเพียงผลิตภัณฑ์เดียวคือถุงมือยาง ขณะที่ไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตยางล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องรองรับอีกเป็นจำนวนมาก ถ้ารัฐบาลเร่งผลักดันอย่างจริงจังก็จะเป็นโอกาสในการขยายตัว และต้องเร่งผลักดันในอุตสาหกรรมปลายน้ำเพื่อเพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงลดผลกระทบราคายางในตลาดโลกผันผวน
   
ล่าสุดในนามส่วนตัวได้จัดตั้งบริษัท ไทยเบก้า จำกัด ขึ้นโดยมีแผนการจัดตั้งนิคมยางพารา หรือนิคมสีเขียวร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อรองรับการลงทุนแปรรูปยางจากต่างประเทศที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง พื้นที่กว่า 2 พันไร่ คาดจะใช้เงินลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคประมาณ 2 พันล้านบาท และจะแล้วเสร็จสามารถตั้งโรงงานได้ในปีหน้า ขณะนี้ได้มีนักลงทุนจากจีน อินเดีย และจากสหภาพยุโรปติดต่อเข้ามาแล้วประมาณ 5 ราย เป็นนักลงทุนรายใหญ่ แต่ละรายจะใช้เงินลงทุน 5-8 พันล้านบาท ใช้พื้นที่อย่างน้อย 300 ไร่ต่อราย มีทั้งผู้ผลิตยางล้อรถเก๋ง รถสิบล้อ รวมถึงยางล้อเครื่องบิน หากแล้วเสร็จคาดจะช่วยเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศอีกไม่ต่ำกว่า 3 แสนตันต่อปี และช่วยเพิ่มยอดส่งออกของประเทศอีกหลายแสนล้านบาท

ตรวจเข้มก่อนจ่าย
   
นายยุคล  ลิ้มแหลมทอง  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเอกสารสิทธิในการใช้พื้นที่ปลูกยางพาราว่า เป็นที่ชัดเจนว่าประเภทเอกสารสิทธิที่ดินที่เข้าหลักเกณฑ์เพื่อใช้ยื่นรับสิทธิได้รับการช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ รายละไม่เกิน 25 ไร่ กรมส่งเสริมการเกษตรจะยึดตามประเภทเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งเป็นที่ยอมรับของกรมป่าไม้ทั้งหมด 46 รายการ แบ่งเป็น ประเภทที่ดินซึ่งได้มาตามเอกสารเกี่ยวกับที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ถูกต้องตามประมวลกฎหมายที่ดิน 17 รายการ เช่น โฉนดที่ดิน,ตราจอง,น.ส.4, น.ส.4ข, เป็นต้น และประเภทที่ดินที่มีสิทธิครอบครองหรือทางราชการให้ใช้ประโยชน์ 29 รายการ เช่น ที่ดินส.ป.ก. หนังสือรับรองของนิคมสหกรณ์, ก.ส.น.3, ก.ส.น.4,หนังสือรับรองของหน่วยราชการทหาร รวมถึงใช้ใบรับรองภาษีที่ดิน หรือ ภ.บ.ท.ก็สามารถใช้เป็นเอกสารเข้าร่วมโครงการได้ แต่จะต้องมีคำรับรองของกรมป่าไม้หรือส่วนราชการที่ที่ดินตั้งอยู่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้มาประกอบเป็นหลักฐาน
   
ส่วนกรณีเกษตรกรทำสวนยางในพื้นที่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีเกษตรกรเข้าไปทำสวนยางในพื้นที่ป่าสงวนประมาณ 3.3 ล้านไร่ และเขตอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 1 ล้านไร่  ก็จะเป็นอีกขั้นตอนที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องเข้าไปตรวจสอบและพิสูจน์สิทธิการถือครองที่ดินว่า เป็นไปตามกฎหมายของกรมป่าไม้และกฎหมายของอุทยานแห่งชาติหรือไม่ เพื่อดูว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างไรต่อไป

เผยเอกสารสิทธิ 46 ประเภท
   
สอดคล้องกับ นายวิทยา อธิปอนันต์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบขึ้นทะเบียนยางพารา   กล่าวถึงความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา ล่าสุด ณ วันที่ 12 กันยายน 2556 ได้มีเกษตรกรมาแจ้งขึ้นทะเบียนแล้ว  1 แสนราย
   
ซึ่งคาดว่าจะมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจพื้นที่ปลูกยางทุกแปลงที่จะเกิดความชัดเจนของพื้นที่การรับการช่วยเหลือรายละไม่เกิน 25 ไร่ เกษตรกรมีเอกสารสิทธิถูกต้อง จะต้องเปิดกรีดยางแล้ว อย่างไรก็ดีทางกรมจะได้เร่งด่วนทำข้อมูลเพื่อจัดทำขึ้นทะเบียนข้อมูล และจะมีการตรวจสอบทุกแปลง ไม่ใช้การสุ่มตรวจ ซึ่งจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัดประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริม องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น

ที่มา. นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////